โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

ดัชนี การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

ซึดดอยท์เชอไซทุง (Süddeutsche Zeitung) ลงข่าว "คำพิพากษาในเนือร์นแบร์ค" ในภาพคือ: (แถวจากซ้ายไป - รูปจากบนลงมา) ''แถวที่หนึ่ง'' เกอริง, เฮสส์, ริบเบนทรอพ, โรเซนแบร์ก, ฟรังค์ และฟริก; ''แถวที่สอง'' ฟุงค์, ชไตเชอร์ และชัชท์; ''แถวที่สาม'' เดอนิทซ์, แรเดอร์ และชีรัช; ''แถวที่สี่'' เซาค์เคล, โยเดิล, พาเพิน, ไซซ์-อินควัร์ท, สเปร์, นอยรัท และบอร์มันน์ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน..

84 ความสัมพันธ์: ชัก เยเกอร์บัลดูร์ ฟอน ชีรัคชุทซ์ชทัฟเฟิลชตูร์มับไทลุงฟรันซ์ ฟอน พาเพินฟริทซ์ เซาค์เคิลฟือเรอร์พ.ศ. 2479พรรคนาซีกฎบัตรเนือร์นแบร์กการชุมนุมที่เนือร์นแบร์คการพิจารณาคดีแพทย์การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คการฆ่าตัวตายการประชุมพ็อทซ์ดัมการประชุมยัลตาการประชุมเตหะรานการประหารชีวิตอย่างรวบรัดกุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัคฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองฝ่ายอักษะมาร์ทิน บอร์มันน์มิวนิกยูลีอุส ชไตรเชอร์รัฐบาวาเรียรูดอล์ฟ เฮสส์ลอนดอนลักเซมเบิร์กลัทธิฟาสซิสต์วัลเทอร์ ฟุงค์วิลเฮล์ม ฟริควิลเฮล์ม ไคเทิลวินสตัน เชอร์ชิลศาลอาญาระหว่างประเทศสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสหภาพโซเวียตสงครามโลกครั้งที่สองสนธิสัญญาแวร์ซายอัลแบร์ท ชเปียร์อัลเฟรด โยเดิลอัลเฟรด โรเซินแบร์กอันชลุสส์อาชญากรรมสงครามอาชญากรรมต่อมนุษยชาติอาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ทอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อนุสัญญาเจนีวาฮยัลมาร์ ชัคท์ฮันส์ ฟรังค์...ฮันส์ ฟริซเชอธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศคอนชตันทิน ฟอน นอยรัทคาร์ล เดอนิทซ์ค่ายกักกันตราสารยอมจำนนของเยอรมนีปฏิญญามอสโกปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประธานาธิบดีเยอรมนีประเทศตุรกีประเทศเยอรมนีนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรนายกรัฐมนตรีเยอรมนีนาซีเยอรมนีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์แอริช แรเดอร์แอนสท์ คัลเทนบรุนเนอร์แฮร์มันน์ เกอริงแฮร์รี เอส. ทรูแมนแนวร่วมแรงงานเยอรมันโบฮีเมียโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพโยเซฟ เกิบเบลส์โรคระบบหัวใจหลอดเลือดโรแบร์ท ลายโจเซฟ สตาลินโทษประหารชีวิตไลพ์ซิชไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ไครเมียเกสตาโพเกาไลแตร์เวียนนาเนือร์นแบร์ค ขยายดัชนี (34 มากกว่า) »

ชัก เยเกอร์

ัก เยเกอร์ ชัก เยเกอร์ (Chuck Yeager) ในชื่อเต็มว่า ชาลส์ เอลวูด "ชัก" เยเกอร์ (Charles Elwood "Chuck" Yeager) เกิดเมื่อ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1923 เขาเริ่มงานในกองทัพอากาศสหรัฐ ในการเป็น ช่างเครื่อง และ ต่อมาเข้ามาเรียนเป็น นักบินขับไล่ พี 51 มัสแตง ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสมรภูมิภาคพื้นยุโรป ด้วยความที่เขามีสายตาที่ดีมากถึง 20 / 10 (คนปกติทั่วไปมองเห็นได้ 20 / 20) และความสามารถทางการบินที่ดี เขาจึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักบินทดสอบเครื่องบินใหม่ๆ หลังสงครามโลก เขายังเป็นนักบินของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา และในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1947 เขาได้ทำการบินด้วยเครื่องบินพลังงานจรวด เบลล์ เอกซ์ 1 ด้วยความเร็วที่มากกว่าความเร็วเสียงเป็นคนแรกของโลกที่ความสูง 45000 ฟุต ความเร็ว 1.07 มัค หมวดหมู่:ทหารอากาศชาวอเมริกัน หมวดหมู่:ทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:นักบินชาวอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและชัก เยเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

บัลดูร์ ฟอน ชีรัค

ัลดูร์ เบเนอดิคท์ ฟอน ชีรัค (Baldur Benedikt von Schirach) เป็นนักการเมืองนาซี ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำฝ่ายเยาวชนของพรรคนาซีโดยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าของยุวชนฮิตเลอร์ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและบัลดูร์ ฟอน ชีรัค · ดูเพิ่มเติม »

ชุทซ์ชทัฟเฟิล

ทซ์ชทัฟเฟิล (Schutzstaffel "ᛋᛋ" ที่เป็นอักษรรูน) หรือ เอ็สเอ็ส (SS) เป็นองค์กรกำลังกึ่งทหารสังกัดพรรคนาซีภายใต้คำสั่งของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เดิมมีชื่อองค์กรว่า ซาล-ซุทซ์ (Saal-Schutz) ซึ่งมีสมาชิกเป็นอาสาสมัครของพรรคนาซีเพื่อคุ้มกันและดูแลความปลอดภัยในการประชุมพรรคที่เมืองมิวนิก เมื่อไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์เข้าร่วมองค์กรในปี..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและชุทซ์ชทัฟเฟิล · ดูเพิ่มเติม »

ชตูร์มับไทลุง

ตูร์มับไทลุง (Sturmabteilung; ชื่อย่อ เอสเอ (SA);; แปลว่า "กองกำลังพายุ") เป็นหน่วยกองกำลังกึ่งทหารเดิมของพรรคนาซี หน่วยเอสเอมีบทบาทสำคัญในการก้าวขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในทศวรรษที่ 1920 ถึง 1930 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการคุ้มกันการเคลื่อนทัพและการระดมพลของนาซี เข้าก่อกวนการประชุมพรรคฝ่ายค้าน สู้กับหน่วยกึ่งทหารของฝ่ายตรงข้าม เช่น สันนิบาตนักสู้แนวหน้าสีแดง (Rotfrontkämpferbund) ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี รวมถึงสร้างความหวาดกลัวให้แก่ชาวสลาวิกและโรมัน กลุ่มลัทธิ และกลุ่มยิว เช่นในช่วงการคว่ำบาตรชาวยิวของนาซี กลุ่มเอสเอบ้างก็รู้จักในยุคสมัยนั้นว่าพวกชุดกากี (Braunhemden) ทำนองเดียวกับกลุ่มชุดดำของมุโสลินี กลุ่มเอสเอมียศกึ่งทหารเป็นของตนเองซึ่งนำไปใช้กับกลุ่มนาซีหลายกลุ่ม โดยกลุ่มที่เป็นหัวหน้าก็เช่นกลุ่มชุทซ์ชทัฟเฟิล ซึ่งเคยอยู่ภายใต้กลุ่มเอสเอก่อนแยกตัวออกมาภายหลัง เหตุที่ใช้ชุดกากีเพราะว่าในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีชุดเหล่านี้จำนวนมากและราคาถูก เพราะได้เคยมีการสั่งชุดนี้สำหรับทหารประจำอาณานิคมของดินแดนอาณานิคมของเยอรมัน กลุ่มเอสเอสูญเสียอำนาจหลังจากฮิตเลอร์สั่งให้มีการฆ่าล้างอย่างโหดเหี้ยมในเหตุการณ์คืนมีดยาว (die Nacht der langen Messer) และถูกแทนที่โดยกลุ่มเอสเอส แต่กลุ่มเอสเอก็ยังไม่ถูกเลิกถาวรจนกระทั่วอาณาจักรไรซ์ที่ 3 ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในปี 1945.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและชตูร์มับไทลุง · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซ์ ฟอน พาเพิน

ฟรันซ์ โยเซฟ แฮร์มัน ไมเคิล มาเรีย ฟอน พาเพิน ซู คอนนิเกน(Franz Joseph Hermann Michael Maria von Papen zu Köningen)(29 ตุลาคม ค.ศ.1879 – 2 พฤษภาคม ค.ศ.1969)เป็นขุนนางเยอรมัน,เจ้าหน้าที่เสนาธิการและนักการเมือง เขาทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีในปี..1932 และในฐานะรองนายกรัฐมนตรีภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในปี..1933–1934 เขาเป็นกลุ่มที่ปรึกษาใกล้ชิดกับประธานาธิบดีเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กในช่วงปลายของสาธารณรัฐไวมาร.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและฟรันซ์ ฟอน พาเพิน · ดูเพิ่มเติม »

ฟริทซ์ เซาค์เคิล

แอนสท์ ฟริซดิซ คริสตอฟ "ฟริทซ์" เซาค์เคิล(27 ตุลาคม ค.ศ. 1894 – 16 ตุลาคม ค.ศ. 1946) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมัน,เกาไลแตร์แห่งทูริงเกียและนายพลผู้มีอำนาจสูงสุดสำหรับโครงการการพัฒนาในการบังคับใช้แรงงานทาส ตั้งแต่เดือนมีนาคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและฟริทซ์ เซาค์เคิล · ดูเพิ่มเติม »

ฟือเรอร์

ฟือเรอร์ (Führer) ในภาษาเยอรมัน หมายถึง "ผู้นำ" โดยคำว่า "ฟือเรอร์" มักจะหมายถึง ฉายาของผู้นำนาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเป็นตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาลสมัยนาซีเยอรมนี และองค์กรกึ่งทหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยเอ็สเอ็ส) โดยคำดังกล่าวเป็นการเอาอย่างจากคำว่า อิลดูเช ในภาษาอิตาลี ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและฟือเรอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2479

ทธศักราช 2479 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1936.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและพ.ศ. 2479 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคนาซี

รรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei, ย่อ: NSDAP) หรือ พรรคนาซี เดิมมีผู้เข้าร่วมเพียง 7 คน เป็นพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศเยอรมนีช่วงไรช์ที่สาม ตั้งแต..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและพรรคนาซี · ดูเพิ่มเติม »

กฎบัตรเนือร์นแบร์ก

250px กฎบัตรคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศ แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการดำเนินคดีและลงโทษอาชญากรสงครามรายใหญ่ในอักษะยุโรป (Charter of the International Military Tribunal – Annex to the Agreement for the prosecution and punishment of the major war criminals of the European Axis) หรือ กฎบัตรลอนดอนว่าด้วยคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศ (London Charter of the International Military Tribunal) หรือ ธรรมนูญคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศ (Constitution of the International Military Tribunal) มักเรียก กฎบัตรลอนดอน (London Charter) หรือ กฎบัตรเนือร์นแบร์ก (Nuremberg Charter) เป็นกฤษฎีกาที่คณะกรรมการที่ปรึกษาแห่งยุโรป (European Advisory Commission) ออกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและกฎบัตรเนือร์นแบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค

"โทเทเนรุง" (สรรเสริญผู้ตาย) บนระเบียงหน้า "เอเรนฮัลเลอ" (หอเกียรติยศ) ในฉากหลังเป็นที่ชุมนุมนาซี "เอเรนทรีบือเน" (เวทีเกียรติยศ) รูปจันทร์เสี้ยว ในการชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค กันยายน ค.ศ. 1934 การชุมนุมใน ค.ศ. 1935 การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค (หรือ Reichsparteitag ซึ่งเป็นคำที่ทางการเยอรมนีใช้ หมายความว่า "การประชุมของพรรคชาตินิยม") ซึ่งเป็นการชุมนุมประจำปีของพรรคนาซี ระหว่างปี 1923-1938 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากฮิตเลอร์ก้าวขึ้นสู่อำนาจในปี 1933 แล้ว ในการชุมนุมจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อขนานใหญ่ Reichsparteitage นั้นถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่ ลานชุมนุมของพรรคนาซีในเมืองเนือร์นแบร์ค ตั้งแต่ปี 1933 เป็นต้นม.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและการชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

การพิจารณาคดีแพทย์

คาร์ล บรันท์ นักฟิสิกส์คนสนิทของฮิตเลอร์และเป็นกรรมาธิการสาธารณสุขและสุขาภิบาลไรช์ ขณะถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดี การพิจารณาคดีแพทย์เนือร์นแบร์ก (Nürnberger Ärzteprozess) หรือมีชื่อสำนวนอย่างเป็นทางการว่า คดีระหว่างสหรัฐอเมริกา กับคาร์ล บรันดท์ และพวก (United States of America v. Karl Brandt, et al.) เป็นการพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามของแพทย์ชาวเยอรมัน 12 คดีชุดแรกซึ่งทางการสหรัฐอเมริกาจัดในเขตยึดครองของตนในเนือร์นแบร์ก ประเทศเยอรมนี หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ การพิจารณาคดีเหล่านี้จัดในศาลทหารสหรัฐ มิใช่ในศาลทหารระหว่างประเทศ แต่จัดในบางห้องของวังสันติภาพ การพิจารณาคดีดังกล่าวเรียกรวมว่า "การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กลำดับหลัง" หรืออย่างเป็นทางการว่า "การพิจารณาคดีอาชญากรสงครามต่อศาลทหารเนือร์นแบร์ก" จำเลย 20 ใน 23 คนเป็นแพทย์ และถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องในการทดลองมนุษย์ของนาซีและการสังหารหมู่โดยอำพรางเป็นการุณยฆาต ผู้พิพากษาในคดีนี้ซึ่งนั่งพิจารณาต่อศาลทหาร 1 ได้แก่ วัลเทอร์ บี.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและการพิจารณาคดีแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

ซึดดอยท์เชอไซทุง (Süddeutsche Zeitung) ลงข่าว "คำพิพากษาในเนือร์นแบร์ค" ในภาพคือ: (แถวจากซ้ายไป - รูปจากบนลงมา) ''แถวที่หนึ่ง'' เกอริง, เฮสส์, ริบเบนทรอพ, โรเซนแบร์ก, ฟรังค์ และฟริก; ''แถวที่สอง'' ฟุงค์, ชไตเชอร์ และชัชท์; ''แถวที่สาม'' เดอนิทซ์, แรเดอร์ และชีรัช; ''แถวที่สี่'' เซาค์เคล, โยเดิล, พาเพิน, ไซซ์-อินควัร์ท, สเปร์, นอยรัท และบอร์มันน์ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าตัวตาย

การฆ่าตัวตาย หรือ อัตวินิบาตกรรม เป็นการกระทำให้ตนเองถึงแก่ความตายอย่างตั้งใจ การฆ่าตัวตายมักเกิดจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง โรคพิษสุรา หรือการใช้สารเสพติด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดเช่นความลำบากทางการเงิน หรือปัญหากับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็มีส่วนเช่นกัน ความพยายามป้องกันการฆ่าตัวตายหมายรวมถึงการจำกัดการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ปืน และสารพิษ การรักษาอาการทางจิตและการใช้สารเสพติด และการปรับปรุงสถานะทางการเงิน แม้ว่าบริการที่ปรึกษาสายด่วนจะมีทั่วไป แต่แทบไม่มีหลักฐานว่าวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพ วิธีการฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อยที่สุดแตกต่างกันไปตามประเทศและส่วนหนึ่งจะขึ้นกับความเป็นไปได้ วิธีการทั่วไปได้แก่ การแขวนคอ การวางยาด้วยสารฆ่าสัตว์รังควาน และอาวุธปืน การฆ่าตัวตายคร่าชีวิตคน 842,000 คนใน..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและการฆ่าตัวตาย · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมพ็อทซ์ดัม

"สามผู้ยิ่งใหญ่": อัตต์ลี, ทรูแมน, สตาลิน การประชุมพ็อทซ์ดัม (Potsdamer Konferenz) เป็นการประชุมระหว่างสามฝ่ายแห่งฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง,ได้แก่ สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต.ที่มีความเกี่ยวข้องกับการยึดครองทางทหารและทำการฟื้นฟูเยอรมนี, ชายแดน,สถานภาพของอดีตดินแดนตะวันออก, เขตแดนยุโรปทั้งหมดของสงคราม นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการทำให้ประเทศเยอรมนีปลอดทหาร, การชดใช้ค่าเสียหาย และการฟ้องร้องต่อเหล่าอาชญากรสงคราม โดยการประชุมจัดขึ้นที่ ตำหนักของเจ้าชายวิลเฮล์มในเมือง พ็อทซ์ดัม เยอรมนีภายใต้การยึดครอง ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 1945 หมวดหมู่:ผลที่ตามมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและการประชุมพ็อทซ์ดัม · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมยัลตา

แฟรงกลิน โรสเวลต์ และโจเซฟ สตาลิน การประชุมยัลตา บ้างเรียก การประชุมไครเมีย และชื่อรหัสว่า การประชุมอาร์โกนอต (Argonaut Conference) จัดระหว่างวันที่ 4 ถึง 11 กุมภาพัน..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและการประชุมยัลตา · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมเตหะราน

การประชุมเตหะราน(รหัสนามว่า ยูเรก้า) เป็นการประชุมทางยุทธศาสร์ของโจเซฟ สตาลิน, แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และวินสตัน เชอร์ชิล ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและการประชุมเตหะราน · ดูเพิ่มเติม »

การประหารชีวิตอย่างรวบรัด

วโปแลนด์ที่ถูกประหารชีวิตอย่างรวบรัดโดยทหารเยอรมนี การประหารชีวิตอย่างรวบรัด (Summary execution)คือการประหารชีวิตในพื้นที่หรือสถานการณ์ที่ไม่ได้ตัดสินด้วยกระบวนการยุติธรรมแบบปกติ โดยตำรวจ ทหารหรือกองทัพ ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในช่วงสงครามหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและการประหารชีวิตอย่างรวบรัด · ดูเพิ่มเติม »

กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัค

กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัค (Gustav Krupp von Bohlen und Halbach) เป็นผู้ดำเนินการกลุ่มอุตสาหกรรมหนักเยอรมัน เอจี ครุพพ์ ฟรีดริซ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและกุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัค · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายอักษะ

ฝ่ายอักษะ (Axis Powers; Achsenmächte; Potenze dell'Asse; Suujikukoku.) หรือชื่อ อักษะ โรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin-Tokyo Axis) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางการทหารซึ่งสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสามร่วมลงนามกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อเดือนกันยายน..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและฝ่ายอักษะ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ทิน บอร์มันน์

มาร์ติน บอร์มันน์ (Martin Bormann) เกิดวันที่ 17 มิถุนายน.ศ 1900 ที่รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์,จักรวรรดิเยอรมันเขาเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายในวันที่ 2 พฤษภาคม.ศ 1945ที่ฟือเลอร์บุงเกอร์กรุงเบอร์ลิน เขาเป็นเลขธิการของพรรคนาซีและเพื่อนของฮิตเลอร.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและมาร์ทิน บอร์มันน์ · ดูเพิ่มเติม »

มิวนิก

มิวนิก (Munich) หรือในภาษาเยอรมันว่า มึนเชิน (München) เป็นเมืองที่อยู่ทางใต้ของประเทศเยอรมนี และเป็นเมืองหลวงของรัฐบาวาเรีย ถือเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศรองจากเบอร์ลินและฮัมบวร์ค และเป็นหนึ่งในเมืองมั่งคั่งที่สุดของยุโรปตัวเมืองมีประชากร 1.3 ล้านคน และ 2.7 ล้านคนในเขตเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่บนแม่น้ำอีซาร์ เหนือเทือกเขาแอลป์ มิวนิกเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในประเทศเยอรมนี โครงการริเริ่ม “Neue Soziale Marktwirtschaft (INSM)” (เศรษฐกิจตลาดสังคมใหม่) และนิตยสาร “Wirtschafts Woche” (ธุรกิจรายสัปดาห์) ให้คะแนนมิวนิกสูงที่สุดในการสำรวจเปรียบเทียบ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 (เป็นครั้งที่สาม) มิวนิกยังเป็นอันดับหนึ่งในการจัดอันดับโดยนิตยสาร “Capital” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่จัดอันดับแนวโน้มเศรษฐกิจระหว่าง..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและมิวนิก · ดูเพิ่มเติม »

ยูลีอุส ชไตรเชอร์

ูลีอุส ชไตรเชอร์ (Julius Streicher) เป็นสมาชิกระดับแกนนำของพรรคนาซีในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นผู้ก่อตั้งและสำนักพิมพ์ของต่อต้านยิวหนังสือพิมพ์ Der Stürmer ซึ่งกลายเป็นองค์กรโฆษณาชวนเชื่อหลักของพรรคนาซี บริษัทสำนักพิมพ์ของเขายังปล่อยหนังสือสามเล่มที่มีเนื้อหาการต่อต้านยิวสำหรับเด็กรวมทั้ง Der Giftpilz ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานที่ได้แพร่หลายมากที่สุดของการโฆษณาชวนเชื่อซึ่งในเนื้อหานั้นได้กล่าวเตือนเกี่ยวกับอันตรายจากชาวยิวที่มีความร้ายกาจโดยใช้คำอุปมาของเห็ดพิษร้ายแรง.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและยูลีอุส ชไตรเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาวาเรีย

ตการปกครองในรัฐบาวาเรีย บาวาเรีย (Bavaria) หรือ ไบเอิร์น (Bayern) เป็นรัฐที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรประมาณ 12.5 ล้านคน มีพื้นที่ประมาณ 70,548 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือเมืองมิวนิก เชื้อสายประชากรเป็นชาวบาวาเรีย 6.4 ล้านคน, ฟรังโคเนีย 4.1 ล้านคน, และสวาเบีย 1.8 ล้านคน รัฐบาวาเรียเป็นหนึ่งในรัฐที่เก่าแก่ที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป ก่อตั้งขึ้นเป็นดัชชีในกลางคริสศตวรรษที่ 17 ดยุกแห่งบาวาเรียเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิสรรเจ้า (Prince-elector) แต่งตั้งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในช่วง ค.ศ. 1806 - ค.ศ. 1918 บาวาเรียมีสถานะเป็นราชอาณาจักรบาวาเรียต่อจากนั้นมากลายเป็นรัฐอิสระ (สาธารณรัฐ).

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและรัฐบาวาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

รูดอล์ฟ เฮสส์

รูดอล์ฟ วัลเทอร์ ริชาร์ด เฮสส์ (26 เมษายน 1894 – 17 สิงหาคม 1987) เป็นนักการเมืองคนสำคัญในนาซีเยอรมนี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองฟือเรอร์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในปี 1933 เขาดำรงตำแหน่งจนปี 1941 เมื่อเขาบินเดี่ยวไปประเทศสกอตแลนด์เพื่อพยายามเจรจาสันติภาพกับสหราชอาณาจักรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขาถูกจับเป็นนักโทษและสุดท้ายถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมต่อสันติภาพ รับโทษจำคุกตลอดชีวิต เฮสส์สมัครเข้าเป็นทหารในกรมทหารปืนใหญ่สนามบาวาเรียที่ 7 เป็นทหารราบเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติ เขาได้รับบาดเจ็บหลายครั้งระหว่างสงคราม และได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนเหล็ก ชั้นสองในปี 1915 ไม่นานก่อนสงครามยุติ เฮสส์ขึ้นทะเบียนเพื่อฝึกเป็นนักบิน แต่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทนี้ เขาออกจากกองทัพในเดือนธันวาคม 1918 ด้วยยศร้อยโทสำรอง (Leutnant der Reserve) ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1919 เฮสส์สมัครเรียนในมหาวิทยาลัยมิวนิก ที่ซึ่งเขาศึกษาวิชาภูมิรัฐศาสตร์กับคาร์ล เฮาโชแฟร์ ผู้สนับสนุนมโนทัศน์เลเบนซเราม์ ("ที่อยู่อาศัย") ซึ่งต่อมากลายเป็นเสาหลักของอุดมการณ์พรรคนาซี เฮสส์เข้าร่วมพรรคนาซีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1920 และร่วมกับฮิตเลอร์ก่อกบฏโรงเบียร์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 1923 อันเป็นความพยายามของนาซีที่ล้มเหลวเพื่อยึดรัฐบาลบาวาเรีย ระหว่างรับโทษจำคุกจากความพยายามรัฐประหารนี้ เฮสส์ช่วยฮิตเลอร์เขียนงานของเขา ไมน์คัมพฟ์ ซึ่งต่อมากลายเป็นรากฐานแนวนโยบายของพรรคนาซี เมื่อนาซียึดอำนาจในปี 1933 เฮสส์ได้รับแต่งตั้งเป็นรองฟือเรอร์ของพรรคนาซีและได้รับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของฮิตเลอร์ เขาเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดอันดับสามในประเทศเยอรมนี รองแต่เพียงฮิตเลอร์และแฮร์มันน์ เกอริง นอกเหนือจากการปรากฏตัวแทนฮิตเลอร์ในการปราศรัยและชุมนุม เฮสส์ลงนามผ่านกฎหมายหลายฉบับซึ่งรวมกฎหมายเนือร์นแบร์กปี 1935 ซึ่งถอดสิทธิของชาวยิวในประเทศเยอรมนีนำไปสู่ฮอโลคอสต์ เฮสส์ยังสนใจการบิน โดยเรียนบินอากาศยานที่ซับซ้อนขึ้นซึ่งมาพัฒนาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1941 เขาบินเดี่ยวไปประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งเขาหวังจัดการเจรจาสันติภาพกับดุ๊กแฮมิลตัน ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นคนสำคัญในฝ่ายค้านของรัฐบาลอังกฤษ เฮสส์ถูกจับกุมทันทีที่มาถึงและถูกอังกฤษควบคุมตัวจนสิ้นสงคราม(หลังจากฮิตเลอร์ได้ทราบการกระทำของเฮสส์ทำให้เขาโกรธมากและทำการปลดเขาออกจากรองฟือเรอร์และได้แต่งตั้งมาร์ติน บอรมันแทน) เมื่อเขากลับประเทศเยอรมนีเพื่อรับการไต่สวนในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กอาชญากรสงครามคนสำคัญในปี 1946 ตลอดการไต่สวน เขาอ้างว่าป่วยเป็นภาวะเสียความจำ แต่ภายหลังรับว่าเป็นอุบาย เฮสส์ถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมต่อสันติภาพและคบคิดกับผู้นำเยอรมันอื่นเพื่อก่ออาชญากรรมและถูกย้ายไปเรือนจำซแพนเดาในปี 1947 ซึ่งเขารับโทษจำคุกตลอดชีวิต ความพยายามซ้ำ ๆ ของสมาชิกครอบครัวและนักการเมืองคนสำคัญเพื่อให้ปล่อยตัวเขาถูกสหภาพโซเวียตขัดขวาง ขณะยังถูกควบคุมตัวในซแพนเดา เขาเสียชีวิตโดยดูเหมือนฆ่าตัวตายในปี 1987 เมื่ออายุ 93 ปี หลังเสียชีวิต เรือนจำถูกทำลายเพื่อมิให้กลายเป็นที่บูชาของนีโอนาซี หมวดหมู่:นาซี หมวดหมู่:นักการเมืองเยอรมัน หมวดหมู่:ทหารชาวเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง‎ หมวดหมู่:ทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:เชลยศึกสงครามโลกครั้งที่สองชาวเยอรมันที่ถูกจับโดยสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและรูดอล์ฟ เฮสส์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิฟาสซิสต์

ัญลักษณ์ลัทธิฟาสซิสต์ ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) เป็นชาติ-อำนาจนิยมมูลวิวัติรูปแบบหนึ่งTurner, Henry Ashby, Reappraisals of Fascism.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและลัทธิฟาสซิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

วัลเทอร์ ฟุงค์

วัลเทอร์ ฟุงค์ (Walter Funk) เป็นนักเศรษฐศาสตร์และเป็นเจ้าหน้าที่สมาชิกของนาซี ซึ่งทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีไรซ์ว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและวัลเทอร์ ฟุงค์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเฮล์ม ฟริค

วิลเฮล์ม ฟริค (12 มีนาคม 1877 - 16 ตุลาคม 1946) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมันที่โดดเด่นที่สุดของพรรคนาซีซึ่งทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแห่งไรซ์ในคณะรัฐมนตรีฮิตเลอร์ (1933-1943) และเป็นผู้สำเร็จราชการคนสุดท้ายของรัฐอารักขาแห่งโบฮีเมียและโมราเวี.หลังสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง,เขาได้ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินการรุกราน,อาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กและถูกพบว่ามีความผิดจริงจึงถูกพิพากษาโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ ด้วยอายุวัย 69 ปี.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและวิลเฮล์ม ฟริค · ดูเพิ่มเติม »

วิลเฮล์ม ไคเทิล

วิลเฮล์ม โยดีวิน โยฮันท์ กุสตาฟ ไคเทิล (Wilhelm Bodewin Johann Gustav Keitel) เป็นจอมพลเยอรมันซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งเวร์มัคท์ ตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ตำแหน่งของเขาเทียบได้กับรัฐมนตรีกลาโหม หลังสิ้นสุดสงคราม เขาถูกนำตัวเข้ารับการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กของสัมพันธมิตร เขาได้พยายามต่อสู้คดีแต่กลับถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ เขาถือเป็นหนึ่งในสามผู้บัญชาการทหารระดับสูงสุดของเยอรมันที่ถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดี.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและวิลเฮล์ม ไคเทิล · ดูเพิ่มเติม »

วินสตัน เชอร์ชิล

ซอร์วินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล (Winston Leonard Spencer-Churchill) เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ "วินสตัน" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล วินสตันเกิดในตระกูลชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายมาจากดยุกแห่งมาร์ลบะระ สาขาหนึ่งของตระกูลสเปนเซอร์ บิดาของเขาคือ ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ส่วนมารดาของเขาคือ เจนนี จีโรม นักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน ในขณะที่ยังเป็นทหารหนุ่ม เขาได้ปฏิบัติภารกิจในบริติชอินเดีย และซูดาน และในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิบัติการของเขา เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองแถวหน้ามาตลอดห้าสิบปี ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากมาย ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาเป็นหัวหน้ากรรมการการค้า, รัฐมนตรีปิตุภูมิ, และรัฐมนตรียุติธรรม ระหว่างสงคราม เขายังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม จนกระทั่งความพ่ายแพ้ของอังกฤษในการทัพกัลลิโพลี ทำให้เขาต้องออกจากคณะรัฐบาลและไปประจำการราชการทหารอยู่ที่แนวหน้าภาคตะวันตกในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพันลูกเสือที่ 6 จนกระทั่งเขาได้กลับคืนคณะรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรียุทธภัณฑ์ รัฐมนตรีว่าการสงคราม และ รัฐมนตรีน่านฟ้า และในปี 1921-1922 เป็นรัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และต่อมาในปี 1924-1929 เป็นรัฐมนตรีคลังหลวง โดยเขาได้กำหนดให้สกุลเงินปอนด์กลับไปอิงค่าทองคำเหมือนกับยุคก่อนสงคราม ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแพร่ไปทั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ภายหลังห่างหายจากงานการเมืองไปในทศวรรษที่ 1930 วินสตันก็ได้กลับมาทำงานการเมืองอีกครั้งเมื่อนาซีเยอรมนีเริ่มที่จะสั่งสมกำลังทหารและดูจะเป็นภัยคุกคามต่ออังกฤษ และแล้วการอุบัติขึ้นอย่างฉับพลันของสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรียุติธรรมอีกครั้ง และภายหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรี เนวิล เชมเบอร์ลิน ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 วินสตันก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี คำประกาศหนักแน่นของเขาที่จะไม่เป็นผู้ยอมแพ้ได้ช่วยกระตุ้นให้ชาวอังกฤษหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นสงครามซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากเย็นเมื่อสหราชอาณาจักรและอาณานิคมอังกฤษเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ลุกขึ้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ วินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ของเขาผ่านวิทยุกระจายเสียงปลุกขวัญกำลังใจชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของอังกฤษไปจนกระทั่งสามารถมีชัยเหนือนาซีเยอรมนีได้ แต่ทว่าการได้รับชัยชนะมาต้องแลกกับการสูญเสียการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกให้กับสหรัฐอเมริกาไป เหล่าประเทศอาณานิคมที่ยึดครองได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย พม่า เป็นต้นต่างก็ได้เรียกร้องเอกราชจนจำใจต้องยอมเป็นเหตุทำให้จักรวรรดิอังกฤษล่มสลายและกลายเป็นเครือจักรภพแห่งชาติแทน ภายหลังพรรคอนุรักษนิยมพ่ายการเลือกตั้งในปี 1945 เขาก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อรัฐบาลพรรคแรงงาน เขาได้ออกมาเตือนอย่างเปิดเผยถึงอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปผ่านมาตรการ "ม่านเหล็ก" และยังส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรป ภายหลังชนะเลือกตั้งในปี 1951 วินสตันก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในช่วงการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองนี้ รัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยข้อราชการต่างประเทศ ทั้งวิกฤตการณ์มาลายา, กบฎมาอูมาอูในเคนยา, สงครามเกาหลี ตลอดจนสนับสนุนการรัฐประหารในอิหร่าน ในปี 1953 เขาเริ่มเจ็บป่วยจากภาวะขาดเลือดในสมอง และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1955 แต่เขายังคงเป็นสมาชิกสภาสามัญชนไปจนถึงปี 1964 วินสตันถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 90 ปีในปี 1965 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานรัฐพิธีศพให้เป็นเกียรติ เขายังคงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ชื่อของเขาอยู่ในลำดับที่ 1 ของทำเนียบชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลจากการจัดอันดับในปี 2002.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและวินสตัน เชอร์ชิล · ดูเพิ่มเติม »

ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC/ICCt; Cour Pénale Internationale) เป็นศาลระหว่างประเทศซึ่งมีที่ทำการอยู่ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเขตอำนาจดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอาญาระหว่างประเทศ 3 ฐาน คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมนุษนชาติ, และอาชญากรรมสงคราม ก่อตั้งขึ้นโดยประสงค์จะให้เป็นส่วนเสริมของระบบยุติธรรมที่แต่ละประเทศมีอยู่ จึงมีเขตอำนาจเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขเท่านั้น เช่น เมื่อศาลระดับประเทศไม่สามารถหรือไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแล้ว หรือเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือรัฐหนึ่ง ๆ เสนอคดีมาให้พิจารณา ศาลนี้เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและศาลอาญาระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

มัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) เป็นองค์กรที่มีอำนาจมากที่สุดและเป็นหนึ่งในเสาหลักของสหประชาชาติ เป็นเพียงองค์กรเดียวของสหประชาชาติที่ตัวแทนของแต่ละประเทศสมาชิกมีสิทธิและฐานะเท่าเทียมกัน สมัชชาใหญ่มีหน้าที่ตรวจสอบงบประมาณและการใช้จ่ายในโครงการของสหประชาชาติ แต่งตั้งสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง รับรายงานจากทั่วทุกมุมโลกเพื่ออภิปรายและให้ความเห็น ตลอดจนจัดตั้งองค์กรลูกต่างๆมากมายของสหประชาชาติ การประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 10 มกราคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาแวร์ซาย

''The Signing of the Peace Treaty of Versailles'' สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนกลุ่มประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางอื่น ๆ ได้มีการตกลงยกเลิกสถานภาพสงครามด้วยสนธิสัญญาฉบับอื่น แม้จะได้มีการลงนามสงบศึกตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและสนธิสัญญาแวร์ซาย · ดูเพิ่มเติม »

อัลแบร์ท ชเปียร์

แบร์โทลด์ คอนราด แฮร์มันน์ อัลแบร์ท ชเปียร์ (Berthold Konrad Hermann Albert Speer;; 19 มีนาคม ค.ศ. 1905 – 1 กันยายน ค.ศ. 1981) เป็นสถาปนิกชาวเยอรมัน เป็นหัวหน้าสถาปนิกของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ก่อนได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสรรพาวุธของนาซีเยอรมนี ชเปียร์ยอมรับผิดในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ทำให้ได้รับฉายา "นาซีผู้กล่าวคำขอโทษ" (the Nazi who said sorry) อย่างไรก็ตาม ชเปียร์ปฏิเสธไม่รู้เห็นเกี่ยวกับฮอโลคอสต์ ชเปียร์เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอัลแบร์ท ชเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฟรด โยเดิล

อัลเฟรด โยเซฟ เฟอร์ดินานด์ โยเดิล (Alfred Josef Ferdinand Jodl; 10 พฤษภาคม 1890 - 16 ตุลาคม 1946) เป็นนายพลเยอรมันซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของกองบัญชาการสูงสุดแห่งเวร์มัคท์ และเป็นอาชญากรสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาได้เซ็นสัญญาการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อสัมพันธมิตรจากประธานาธิบดีคาร์ล เดอนิทซ์ ในปี 1945 หลังสงคราม โยเดิลมีความผิดในข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการกระทำอาชญากรรมต่อสันติภาพ, การวางแผนการเริ่มต้นและขับเคี่ยวสงครามรุกราน, อาชญากรรมสงคราม และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ในการพิจารณาคดีนูเรมเบิร์ก คำสั่งหลักของเขาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับลายเซ็นของเขาที่มีต่อคำสั่งคอมมานโดและผู้บังคับการตำรวจ พบว่ามีความผิดจริง จึงถูกตัดสินโทษให้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 1946 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2433 หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2489 หมวดหมู่:ทหารชาวเยอรมัน หมวดหมู่:ทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:อาชญากรสงครามชาวเยอรมัน หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอ หมวดหมู่:บุคคลในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอัลเฟรด โยเดิล · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฟรด โรเซินแบร์ก

อัลเฟรด แอนสท์ โรเซินแบร์ก (Alfred Ernst Rosenberg) เป็นนักทฤษฏีชาวเยอรมันและอุดมการณ์ที่มีอิทธิพลของพรรคนาซี.โรเซินแบร์กเป็นผู้ที่ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เป็นครั้งแรกโดย Dietrich Eckart และต่อมาเขาก็ได้จัดทำข้อความโพสต์ที่สำคัญหลายอย่างในรัฐบาลนาซี.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอัลเฟรด โรเซินแบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

อันชลุสส์

ตำรวจชายแดนเยอรมัน-ออสเตรียกำลังรื้อถอนที่กั้นชายแดนในเหตุการณ์อันชลุสส์ ปี 1938. อันชลุสส์ (Anschluss, Anschluß, ท. การผนวก หรือ การเชื่อมโยง) เป็นคำโฆษณาชวนเชื่อนาซีสำหรับการบุกครองและการรวมประเทศออสเตรียเข้ากับเยอรมนีในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอันชลุสส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาชญากรรมสงคราม

อาชญากรรมสงคราม (war crime) คือ การกระทำอันฝ่าฝืนกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง ทำให้ผู้กระทำต้องรับผิดทางอาญาเป็นการเฉพาะตัว เช่น การฆ่าพลเรือนหรือนักโทษโดยเจตนา, การทรมาน, การทำลายทรัพย์สินพลเรือน, การจับเป็นตัวประกัน, การล่อลวง, การข่มขืนกระทำชำเรา, การใช้เด็กทางทหาร, การปล้นทรัพย์, การไม่ไว้ชีวิต, และการละเมิดอย่างร้ายแรงซึ่งหลักการแยกแยะและหลักความได้สัดส่วน เป็นต้นว่า การทำลายประชากรพลเรือนด้วยระเบิดยุทธศาสตร์ แนวคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามปรากฏขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการประมวลกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ใช้บังคับได้สำหรับการทำสงครามระหว่างรัฐอธิปไตย การประมวลกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับชาติ เช่น การเผยแพร่ประมวลกฎหมายลีแบร์ในสหรัฐเมื่อ..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอาชญากรรมสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) เป็นการซึ่งกระทำลงโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง หรือการโจมตีแบบเอกเทศ ต่อบุคคลพลเรือนคนใด ๆ หรือต่อกลุ่มคนที่ระบุตัวได้ในหมู่ประชากรพลเรือน การดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเกิดขึ้นครั้งแรกในคดีเนือร์นแบร์ก และนับแต่นั้น การดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าวก็กลายเป็นหน้าที่ของศาลระหว่างประเทศ เช่น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย, และศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่การดำเนินคดีโดยศาลในประเทศก็มีบ้าง กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาตินั้นพัฒนาขึ้นผ่านวิวัฒนาการของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ อาชญากรรมต่าง ๆ ที่กระทำต่อมนุษยชาตินั้นยังไม่มีประมวลไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศฉบับใด ๆ แต่องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีโครงการริเริ่มกฎหมายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crimes Against Humanity Initiative) เป็นโต้โผ พยายามที่จะสร้างกฎหมายดังกล่าวให้ได้ในเร็ววัน อาชญากรรมต่อมนุษยชาติต่างจากอาชญากรรมสงครามตรงที่อาชญากรรมต่อมนุษยชาติจะเกิดในยามสงครามหรือในเวลาอื่นก็ได้ แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองหรือเกิดนานทีปีหน หากแต่เป็นเหตุการณ์ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐ หรือเป็นส่วนหนึ่งของความโหดร้ายป่าเถื่อนที่กระทำเป็นวงกว้าง แล้วรัฐเพิกเฉยหรือไม่เอาโทษ ความผิดอาญา อย่างเช่น อาชญากรรมสงคราม, การฆ่าคน, การสังหารหมู่, การลดความเป็นมนุษย์, การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การกวาดล้างชาติพันธุ์, การเนรเทศ, การทดลองมนุษย์โดยผิดจรรยาบรรณ, วิสามัญฆาตกรรม, การประหารแบบรวบรัด, การใช้อาวุธทำลายล้างสูง, การก่อการร้ายของรัฐ, การก่อการร้ายที่รัฐสนับสนุน, การใช้หมู่สังหาร, การลักพา, การบังคับให้บุคคลสูญหาย, การใช้เด็กทางทหาร, การกักกัน, การเอาคนลงเป็นทาส, การกินเนื้อมนุษย์, การทรมาน, การข่มขืนกระทำชำเรา, การเบียดเบียนทางการเมือง, การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ, และการละเมิดสิทธิมนุษยชน อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ท

อาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ท (Arthur Seyss-Inquart) เป็นนักการเมืองนิยมนาซีชาวออสเตรีย เป็นผู้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศออสเตรียเป็นเวลาเพียงสองวัน ตั้งแต่ 11-13 มีนาคม ปี 1938 ก่อนที่จะมีการอันชลุสส์ (Anschluss) คือการผนวกออสเตรียเข้ารวมกับนาซีเยอรมนี,เขาได้ลงนามในกฎหมายรัฐธรรมนูญในฐานะประมุขแห่งรัฐ หลังจากที่ประธานาธิบดีวิลเฮล์ม มิคลัสได้ลาออก.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอาร์ทูร์ ไซสส์-อินคัวร์ท · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide) เป็นสนธิสัญญาซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีข้อมติที่ 260 ตกลงรับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 1948 และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 1951 อนุสัญญานี้กำหนดบทอธิบายศัพท์ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ตามกฎหมาย และเป็นผลมาจากการรณรงค์ยาวนานหลายปีของราฟาเอล เล็มกิน (Raphael Lemkin) นักนิติศาสตร์ แยร์ ออรอน (Yair Auron) นักประวัติศาสตร์ชาวอิสราเอล กล่าวว่า "เมื่อราฟาเอล เล็มกิน สร้างศัพท์ว่า 'ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์' เมื่อปี 1944 นั้น เขาเอาการทำลายล้างชาวอาร์เมเนียเมื่อปี 1915 มาเป็นตัวอย่างสำคัญของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" อนุสัญญากำหนดให้รัฐทั้งหลายที่เข้าร่วมอนุสัญญาต้องป้องกันและลงโทษการกระทำทั้งหลาย ๆ ที่ก่อให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทั้งในยามสงบและยามรบ ปัจจุบัน มีรัฐ 144 รัฐให้สัตยาบันแก่อนุสัญญานี้แล้ว.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาเจนีวา

อนุสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions) คือสนธิสัญญาสี่ฉบับ และพิธีสารสามฉบับที่วางมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้เป็นเหยื่อของสงครามอย่างมีมนุษยธรรม ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและอนุสัญญาเจนีวา · ดูเพิ่มเติม »

ฮยัลมาร์ ชัคท์

ัลมาร์ โฮราเซอ เกรลี ชัคท์ (Hjalmar Horace Greeley Schacht) เป็นนักเศรษฐศาสตร์, นายธนาคาร, นักการเมืองฝ่ายขวา-กลางและผู้ร่วมก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์เยอรมันในปี..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและฮยัลมาร์ ชัคท์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮันส์ ฟรังค์

ันส์ มิคาเอล ฟรังค์ (Hans Michael Frank) เป็นชาวเยอรมัน เกิดวันที่ 23 พฤษภาคม ปี..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและฮันส์ ฟรังค์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮันส์ ฟริซเชอ

ันส์ จอร์จ ฟริซเชอ(Hans Georg Fritzsche)(21 เมษายน 1900 - 27 กันยายน 1953)เป็นเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของนาซีเยอรมนี,ในช่วงสิ้นสุดสงคราม เขาได้เป็นคณะกรรมรัฐมตรีของ Propagandaministerium(กระทรวงโฆษณาแถลงข่าวและโฆษณาชวนเชื่อ).เขาได้เป็นบุคคลที่อยู่ในฟือเรอร์บุงเคอร์ในใจกลางกรุงเบอร์ลินในระหว่างช่วงวันสุดท้ายของอดอล์ฟ ฮิตเลอร.หลังจากการอสัญกรรมของฮิตเลอร์,เขาได้เดินทางไปยังสายโซเวียตเพื่อยอมจำนนนต่อกองทัพแดงในเมืองเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1945 ฮันส์ ฟริซเชที่การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและฮันส์ ฟริซเชอ · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ

รรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) หรือเรียกโดยย่อว่า ธรรมนูญกรุงโรม (Rome Statute) เป็นสนธิสัญญาซึ่งมีเนื้อหาสาระเป็นการจัดตั้งและจัดเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ธรรมนูญนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐต่าง ๆ ณ การประชุมทางการทูตที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2541 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545 โดยในเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

คอนชตันทิน ฟอน นอยรัท

อนชตันทิน เฮอร์มันน์ คาร์ล ไฟร์แฮร์ ฟอน นอยรัท (Konstantin Hermann Karl Freiherr von Neurath) เป็นนักการทูตชาวเยอรมันผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งไรช์แห่งเยอรมนี ระหว่างปี..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและคอนชตันทิน ฟอน นอยรัท · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล เดอนิทซ์

ร์ล เดอนิทซ์ (Karl Dönitz; 16 กันยายน 1891 – 24 ธันวาคม 1980) เป็นจอมพลเรือชาวเยอรมันผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์กองทัพเรือสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เดอนิทซ์สืบทอดตำแหน่งประมุขแห่งรัฐเยอรมนีต่อจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เขาเริ่มอาชีพในกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี 1918 ขณะที่เขาบังคับการเรือดำน้ำ UB-68 เรือถูกกองทัพบริติชจมและเดอนิทซ์ถูกจับเป็นเชลย ระหว่างอยู่ในค่ายเชลยศึก เขาสรุปสิ่งที่ต่อมาเขาเรียกว่ารูเดลทักทิค ("ยุทธวิธีฝูง" หรือเรียกทั่วไปว่า "ฝูงหมาป่า") เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ เขาเป็นนายทหารเรือดำน้ำอาวุโสในครีกส์มารีเนอ ในเดือนมกราคม 1943 เขาได้ยศกรอสส์อัดมีรัล (จอมพลเรือ) และสืบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือจากจอมพลเรือ เอริช แรดเดอร์ วันที่ 30 เมษายน 1945 หลังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ถึงแก่อสัญกรรมและตามพินัยกรรมฉบับหลังสุดของฮิตเลอร์ เดอนิทซ์ถูกเสนอชื่อเป็นผู้สืบทอดประมุขแห่งรัฐจากฮิตเลอร์ ทั้งตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมนีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด วันที่ 7 พฤษภาคม 1945 เขาสั่งให้อัลเฟรด โยเดิล หัวหน้าเสนาธิการของกองบัญชาการทหารสูงสุด ลงนามตราสารยอมจำนนในแรมส์ ประเทศฝรั่งเศส เดอนิทช์ยังเป็นหัวหน้ารัฐบาลเฟลนซ์บุร์กจนถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยุบเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก เขาถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมสงครามและตัดสินลงโทษจำคุกสิบปี หลังการปล่อยตัว เขาใช้ชีวิตเงียบ ๆ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้ฮัมบุร์กจนเสียชีวิตในปี 1980.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและคาร์ล เดอนิทซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกัน

กักกัน (Concentration Camp) คือสถานที่ที่รัฐใช้คุมขังนักโทษหรือกักกันบุคคลเฉพาะกลุ่มด้วยเหตุผลทางการเมือง นักโทษทางการเมือง ชนกลุ่มน้อย บุคคลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลหรือพลเมืองเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่ง นักโทษเหล่านี้จะถูกจับโดยไม่มีการสอบสวนตามกระบวนยุติธรรม และไม่มีกำหนดเวลาปล่อยตัว ทั้งยังถูกจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชนด้วย ในแง่ประวัติศาสตร์ ค่ายกักกันที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ค่ายกักกันของพรรคนาซีในเยอรมันและค่ายกักกันแรงงานในสหภาพโซเวียต ค่ายกักกันมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเกิดสงครามบัวร์ในแอฟริกาใต้ โดยทั่วไปค่ายกักกันจะประกอบด้วยโรงทหารกระท่อมหรือกระโจมที่พักและบริเวณรอบ ๆ ค่ายจะมีป้อมยามและลวดหนามล้อมรอบ ผู้คุมค่ายและยามรักษาการณ์มีอำนาจเหนือชีวิตนักโทษและจะปกครองอย่างเข้มงวด ค่ายกักกันที่สำคัญ ๆ ได้แก.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและค่ายกักกัน · ดูเพิ่มเติม »

ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี

ตราสารยอมจำนนซึ่งลงนามในแรมส์ วันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี เป็นตราสารจัดให้มีการหยุดยิงเป็นอันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ตราสารดังกล่าวลงนามโดยผู้แทนจากกองบัญชาการใหญ่แห่งเวร์มัคท์ (OKW) และกำลังรบนอกประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและตราสารยอมจำนนของเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิญญามอสโก

ปฏิญญามอสโก ได้มีการลงนามระหว่างการประชุมมอสโก เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและปฏิญญามอสโก · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

เอลีนอร์ โรสเวลต์แสดงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปี ค.ศ. 1949 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) คือการประกาศเจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในการวางกรอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และเป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีเยอรมนี

ประธานาธิบดีเยอรมนี (Bundespräsident; ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐ) เป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศเยอรมนี ตั้งแต่การสละราชบัลลังก์ของจักรพรรดิเยอรมันในปี ค.ศ. 1918 และการประกาศใช้รัฐธรรมนูญไวมาร์ ประธานาธิบดีก็เป็นประมุขแห่งรัฐของเยอรมนี ตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมนีเป็นตำแหน่งพิธีการและถูกจำกัดบทบาทด้วยองค์ประกอบกฎหมายและจารีตธรรมนูญ มีวาระครั้งละ 5 ปี ส่วนประมุขฝ่ายบริหารคือนายกรัฐมนตรีเยอรมนี.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและประธานาธิบดีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Prime Minister of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแห่งสหราชอาณาจักร การกำหนดนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดินต่างๆถือเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์, รัฐสภา, พรรคการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นหนึ่งในสี่อำมาตย์นายก ซึ่งหมายถึงผู้บริหารสูงสุดทั้งสี่ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็น คนที่ 54 คือ เทเรซา เมย์ หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีเยอรมนี

นายกรัฐมนตรี (Bundeskanzler; Chancellor) เป็นตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารประเทศเยอรมนี เป็นชื่อเรียกตำแหน่งเก่าแก่ เกิดขึ้นในสมัยที่เยอรมนีเพิ่งรวมประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมัน (Constitution of the German Empire 1871 AD) ในสมัยบิสมาร์คในปี..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและนายกรัฐมนตรีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์

แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ (อังกฤษ: Franklin Delano Roosevelt) เกิดวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) เสียชีวิตวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด (พ.ศ. 2476-2488) และเป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับเลือกถึงสี่สมัย ก่อนการประกาศญัตติข้อที่ 22 ในปี..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ · ดูเพิ่มเติม »

แอริช แรเดอร์

แอริช โยฮันท์ อัลแบร์ท แรเดอร์ (Erich Johann Albert Raeder) เป็นผู้นำกองทัพเรือเยอรมันที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ยุทธนาวีในสงครามโลกครั้งที่ 2 แรเดอร์ได้บรรลุไปอยู่ตำแหน่งสูงสุดของกองทัพเรือคือ จอมพลเรือ (Großadmiral) ในปี 1939 กลายเป็นคนแรกที่จะถือยศเทียบเท่า อัลเฟรด ฟอน เทียร์พิตส์ แรเดอร์บัญชาการนำ ครีกซมารีเนอ ในช่วงครึ่งแรกของสงคราม เขาลาออกในปี 1943 และถูกแทนที่ด้วย คาร์ล โดนิทซ์ เขาถูกตัดสินให้ จำคุกตลอดชีวิตในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก แต่ได้รับการปล่อยตัวในช่วงต้นเนื่องจากสุขภาพของเขาไม่ดี.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและแอริช แรเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนสท์ คัลเทนบรุนเนอร์

แอนสท์ คัลเทนบรุนเนอร์ (Ernst Kaltenbrunner) เป็นชาวเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสของนาซีเยอรมนีระหว่าง สงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและแอนสท์ คัลเทนบรุนเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์มันน์ เกอริง

แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง (Hermann Wilhelm Göring) เป็นผู้นำทางทหารของไรช์ที่สามที่ตำแหน่งจอมพลไรช์ และยังเป็นผู้นำระดับสูงของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (พรรคนาซี) เขามีบทบาทสำคัญในการขยายระบบเผด็จการของพรรคนาซีให้ครอบคลุมทั่วเยอรมนี รวมทั้งสร้างเสริมแสนยานุภาพทางทหารของเยอรมนีโดยเฉพาะกองทัพอากาศให้มีความแข็งแกร่ง ภายหลังนาซีล่มสลาย เขาถูกตัดสินประหารชีวิตในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก แต่เขาก็จบชีวิตตนเองด้วยการกลืนไซยาไนด์ก่อนหน้าการประหารชีวิตไม่กี่ชั่วโมง และก่อนกลืนไซยาไนด์เขาได้ตระโกนว่า "ไฮล์ ฮิตเลอร์".

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและแฮร์มันน์ เกอริง · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์รี เอส. ทรูแมน

ันเอก แฮร์รี เอส ทรูแมน (อังกฤษ: Harry S Truman) เกิดวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1884 เสียชีวิตวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1972 เป็นรองประธานาธิบดีคนที่ 34 (ค.ศ. 1945) และประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา โดยรับตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ที่เสียชีวิตขณะยังดำรงตำแหน่ง ในช่วงการดำรงตำแหน่งของทรูแมนเต็มไปด้วยเหตุการณ์สำคัญมากมาย เขารับตำแหน่งในขณะที่สหรัฐและพันธมิตรเริ่มได้เปรียบในสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นคนอนุมัติให้ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ประเทศญี่ปุ่น เริ่มแผนมาร์แชลล์ในการฟื้นฟูทวีปยุโรป ช่วงเริ่มแรกของสงครามเย็น การก่อตั้งสหประชาชาติ และสงครามเกาหลี.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและแฮร์รี เอส. ทรูแมน · ดูเพิ่มเติม »

แนวร่วมแรงงานเยอรมัน

แนวร่วมแรงงานเยอรมัน(Deutsche Arbeitsfront, DAF) เป็นองค์กรสหภาพแรงงานแห่งชาติสังคมนิยมซึ่งถูกแทนที่สหภาพแรงงานอิสระต่างๆของสาธารณรัฐไวมาร์ภายหลังจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ขึ้นสู่อำน.หลังจากพรรคนาซีในปี..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและแนวร่วมแรงงานเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

โบฮีเมีย

ีเมีย (Čechy; Bohemia; Czechy) เป็นดินแดนในประวัติศาสตร์ของยุโรปกลาง กินเนื้อที่สองในสามทางตะวันตกของดินแดนเช็ก ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเช็กเกีย ในความหมายที่กว้างกว่านั้น ในบางครั้งยังใช้เรียกเขตแดนเช็กทั้งหมด รวมถึงมอเรเวียและเช็กไซลิเซีย โดยเฉพาะในบริบททางประวัติศาสตร์ เช่น ราชอาณาจักรโบฮีเมี.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและโบฮีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ

อุบิตส์ ฟรีดรีช วิลเฮล์ม โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ (Ulrich Friedrich Wilhelm Joachim von Ribbentrop) (30 เมษายน 2436 - 16 ตุลาคม 2489) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมัน เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของนาซีเยอรมนี ซึ่งเขาได้เป็นตัวแทนในการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพกับสหภาพโซเวียต เมื่อสิ้นสงครามเขาถูกตั้งข้อหาให้เป็นอาชญากรสงครามและได้รับโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในช่วงการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กในวันที่ 16 ตุลาคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและโยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ · ดูเพิ่มเติม »

โยเซฟ เกิบเบลส์

ล์ โยเซฟ เกิบเบลส์ (Paul Joseph Goebbels) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โยเซฟ เกิบเบลส์ นักจิตวิทยามวลชน และแกนนำคนสำคัญฝ่ายพลเรือนของพรรคนาซี ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิที่สามหลังจากที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฆ่าตัวตาย ได้ชื่อว่าเป็นเสมือนมือซ้ายของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (ขณะที่มือขวาคือ ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์).

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและโยเซฟ เกิบเบลส์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคระบบหัวใจหลอดเลือด

รคหัวใจและหลอดเลือดหมายถึงโรคใดๆที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดไต, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปล.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและโรคระบบหัวใจหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

โรแบร์ท ลาย

รแบร์ท ลาย (Robert Ley) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมันในช่วงยุคนาซี ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าแห่งแนวร่วมแรงงานเยอรมัน(Deutsche Arbeitsfront, DAF) ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและโรแบร์ท ลาย · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ สตาลิน

ซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin อิโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช สตาลิน; อังกฤษ: Joseph Stalin) (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและโจเซฟ สตาลิน · ดูเพิ่มเติม »

โทษประหารชีวิต

ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 103 ประเทศ โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้ โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและโทษประหารชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ไลพ์ซิช

ลพ์ซิช (Leipzig) เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในรัฐซัคเซิน ในประเทศเยอรมนี มีประชากร 515,110 คน และเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในรัฐ และเป็นเมืองที่มีระบบการปกครองในรูปแบบเขตปกครองพิเศษ ชื่อ "ไลพ์ซิช" มาจากภาษาสลาฟว่า "ลิพสค์" (Lipsk) ซึ่ง แปลว่า ตั้งอยู่บนพื้นที่ ที่มีต้นไม้ดอกเหลือง นอกจากนี้ ไลพ์ซิชยังเป็นชื่อของเขตปกครองภายในรัฐซัคเซิน โดยในสหพันธรัฐแซกโซนีประกอบด้วย 3 เขตปกครอง (Landkreise) และ 3 เขตปกครองพิเศษ (Kreisfreie Städte) โดยเขตปกครองไลพ์ซิชเป็นเขตปกครองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหพันธรัฐแซกโซนี เนื้อหาของบทความนี้กล่าวถึงเฉพาะเมืองไลพ์ซิชซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษเท่านั้น.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและไลพ์ซิช · ดูเพิ่มเติม »

ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์

น์ริช ลุทโพลด์ ฮิมม์เลอร์ (Heinrich Luitpold Himmler) เป็นหนึ่งในผู้นำพรรคนาซีในเยอรมนี และเป็น ไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ของหน่วย ชุทซ์ชทัฟเฟิล (เอ็สเอ็ส) รับผิดชอบด้านการคุมกำลังหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สทั้งหมดในไรช์ เขาเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในไรช์ และเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการทำฮอโลคอสต์ชาวยิวSource: Der Spiegel, Issue dated 3 November 2008: Hitlers Vollstrecker – Aus dem Leben eines Massenmörders ฮิมม์เลอร์เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไครเมีย

รเมีย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและไครเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เกสตาโพ

รื่องแบบเกสตาโพ เกสตาโพ (Gestapo) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ทบวงตำรวจลับของรัฐ (Geheime Staatspolizei) เป็นตำรวจลับอย่างเป็นทางการของนาซีเยอรมนี เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน..

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและเกสตาโพ · ดูเพิ่มเติม »

เกาไลแตร์

ังหวัด ของ Halle-Merseburg. เกาไลแตร์ เป็นหัวหน้าพรรคสาขาภูมิภาคของพรรคนาซี (NSDAP) หรือหัวหน้าผู้นำของเกาหรือไรซ์เกา คำศัพท์นี้เป็นได้ทั้งเอกพจน์หรือพหูจน์ได้ขึ้นอยู่กับบริบท เกาไลแตร์เป็นอันดับสองของกองกำลังกึ่งทหารพรรคนาซีระดับสูง,ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของไรซ์ไลแตร์และตำแหน่งผู้นำฟือเรอร์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, ตำแหน่งของเกาไลแตร์นั้นได้รับมาอย่างโดยตรงจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เท่านั้น.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและเกาไลแตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เวียนนา

วียนนา (Vienna) หรือ วีน (Wien) เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย และเป็นชื่อเขตการปกครองในออสเตรียด้วย เวียนนาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรีย เป็นศูนย์กลางทั้งเศรษฐกิจและการปกครอง มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน มีแม่น้ำดานูบไหลผ่าน เวียนนายังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานในสหประชาชาติหลายแห่ง เช่น United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) และองค์กรระดับนานาชาติหลายแห่ง เช่น โอเปก (OPEC).

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและเวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

เนือร์นแบร์ค

นือร์นแบร์ค (Nürnberg) หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า นูเร็มเบิร์ก (Nuremberg) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐไบเอิร์น (บาวาเรีย) ประเทศเยอรมนี ห่างจากนครมิวนิกขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 170 กิโลเมตร ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 500,000 คน เนือร์นแบร์คมีประวัติศาสตร์ถอยไปถึง ค.ศ. 1050 โดยเป็นเมืองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองนี้เป็นศูนย์ประชุมหลักของพรรคนาซี และหลังสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำพิจารณาคดีต่อเหล่าอาชญากรสงคราม หลังจากนาซีเยอรมันพ่ายแพ้.

ใหม่!!: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คและเนือร์นแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กศาลพิเศษพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามแห่งนูเรมเบิร์กศาลทหารระหว่างประเทศ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »