โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การปฏิวัติอิหร่าน

ดัชนี การปฏิวัติอิหร่าน

การปฏิวัติอิหร่าน (หรือเรียก การปฏิวัติอิสลาม หรือการปฏิวัติ ค.ศ. 1979; เปอร์เซีย: انقلاب اسلامی, Enghelābe Eslāmi หรือ انقلاب بیست و دو بهمن) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการโค่นราชวงศ์ปาห์ลาวีภายใต้พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา และการแทนที่ด้วยสาธารณรัฐอิสลามภายใต้รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้นำการปฏิวัติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การฝ่ายซ้ายและอิสลามหลายแห่ง และขบวนการนักศึกษาอิหร่าน เริ่มการเดินขบวนต่อต้านชาห์ในเดือนตุลาคม 2520 พัฒนาเป็นการรณรงค์การดื้อแพ่งซึ่งมีทั้งภาคฆราวาสและศาสนา ซึ่งบานปลายในเดือนมกราคม 2521 ระหว่างเดือนสิงหาคมและธันวาคม 2521 การนัดหยุดงานและการเดินขบวนทำให้ประเทศเป็นอัมพาต ชาห์เสด็จออกนอกประเทศอิหร่านเพื่อลี้ภัยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2522 เป็นพระมหากษัตริย์เปอร์เซียพระองค์สุดท้าย ปล่อยภาระหน้าที่ให้สภาผู้สำเร็จราชการและนายกรัฐมนตรีที่อิงฝ่ายค้าน รัฐบาลเชิญรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีกลับประเทศอิหร่าน และกลับสู่กรุงเตหะรานซึ่งมีชาวอิหร่านหลายล้านคนรอต้อนรับ การทรงราชย์สิ้นสุดหลังวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เมื่อกองโจรและทหารกบฏชนะกำลังซึ่งภักดีต่อชาห์ในการสู้รบด้วยอาวุธตามถนน นำให้โคมัยนีเถลิงอำนาจอย่างเป็นทางการ อิหร่านออกเสียงลงคะแนนการลงประชามติทั่วประเทศให้เป็นสาธารณรัฐอิสลามเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2522 และรับรองรัฐธรรมนูญเทวาธิปไตย-สาธารณรัฐนิยมฉบับใหม่Kurzman ซึ่งโคมัยนีกลายเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ ในเดือนธันวาคม 2522 การปฏิวัตินี้แปลกสำหรับความประหลาดใจที่สร้างไปทั่วโลก เพราะขาดสาเหตุการปฏิวัติดังที่เคยมีมา (เช่น แพ้สงคราม วิกฤตการณ์การเงิน กบฏชาวนาหรือกองทัพไม่พอใจ) เกิดในชาติที่มีความมั่งคั่งทางวัตถุและเจริญรุ่งเรืองค่อนข้างดี มีความเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งด้วยความเร็ว เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทำให้มีการลี้ภัยของชาวอิหร่านจำนวนมากKurzman, p. 121 และแทนกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชนิยมตะวันตกด้วยเทวาธิปไตยอำนาจนิยมต่อต้านตะวันตกInternational Journal of Middle East Studies, 19, 1987, p. 261โดยยึดมโนทัศน์ความอนุบาลของนักนิติศาสตร์อิสลาม (Guardianship of the Islamic Jurists หรือ velayat-e faqih) เป็นการปฏิวัติที่ค่อนข้างไม่รุนแรง และช่วยนิยามความหมายและการปฏิบัติของการปฏิวัติสมัยใหม่ใหม่ (แม้มีความรุนแรงให้หลังการปฏิวัติ).

8 ความสัมพันธ์: พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวีภาษาเปอร์เซียราชวงศ์ปาห์ลาวีรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีลัทธิอำนาจนิยมผู้นำสูงสุดอิหร่านเทวาธิปไตยเตหะราน

พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี

ระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี (เปอร์เซีย: محمدرضا شاه پهلوی, พระราชสมภพ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1919 ณ เตหะราน ประเทศอิหร่าน – สวรรคต 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 ณ ไคโร ประเทศอียิปต์) หรือ จักรพรรดิชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระองค์ทรงเป็นชาห์แห่งอิหร่านซึ่งเป็นชาห์องค์สุดท้ายที่ปกครองอิหร่าน โดยพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวีซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองประเทศอิหร่านก่อนการปฏิวัติอิสลาม พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ได้รับการขนานพระนามเป็น ชาฮันชาห์ (Shahanshah ราชันย์แห่งราชา เทียบเท่าตำแหน่งจักรพรรดิ), อัรยาเมหร์ (Aryamehr แสงแห่งอารยัน) และ บอซอร์ก อาร์เตสตาราน (Bozorg Arteshtārān จอมทัพ, เปอร์เซีย:بزرگ ارتشتاران).

ใหม่!!: การปฏิวัติอิหร่านและพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: การปฏิวัติอิหร่านและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ปาห์ลาวี

ราชวงศ์ปาห์ลาวี (دودمان پهلوی) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอิหร่านในปี..

ใหม่!!: การปฏิวัติอิหร่านและราชวงศ์ปาห์ลาวี · ดูเพิ่มเติม »

รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี

อายะตุลลอฮ์ รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี (เปอร์เซีย:; อังกฤษ: Ruhollah Khomeini) (24 กันยายน ค.ศ. 1902 - 3 มิถุนายน ค.ศ. 1989) อดีตผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน ผู้ทำการล้มล้างอำนาจของพระเจ้าชาร์มูฮัมหมัด เรซา ปาฮ์เลวี ของอิหร่านซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2523 ประกาศการปฏิวัติอิสลาม และประกาศสงครามอิหร่าน-อิรัก.

ใหม่!!: การปฏิวัติอิหร่านและรูฮุลลอฮ์ โคมัยนี · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอำนาจนิยม

อำนาจนิยม (authoritarianism) เป็นรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่ออำนาจหน้าที่ ตามปกติมักตรงข้ามกับปัจเจกนิยมและอิสรนิยม ในทางการเมือง รัฐบาลอำนาจเป็นรัฐบาลซึ่งอำนาจหน้าที่ทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็ก อำนาจนิยม เป็นระบอบการเมืองที่มีฐานอยู่บนอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการชนิดที่ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือรัฐ หรือกลุ่มคนใดๆ ในการธำรงไว้ซึ่งเป้าหมายสูงสุด คือ การรักษาอำนาจของตน (Kurian, 2011: 103) โดยมักจะไม่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์กับผู้นำ ควบคุมสื่อมวลชน ผูกขาดการใช้อำนาจและจำกัดการตรวจสอบ กล่าวได้ว่า ระบอบอำนาจนิยมเป็นระบอบการเมืองที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์การปกครองของมนุษยชาติ ทุกวันนี้ “อำนาจนิยม” เป็นคำที่ถูกใช้ถึงบ่อยครั้งที่สุด เมื่อกล่าวถึงระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ลักษณะสำคัญของระบอบอำนาจนิยม คือ การกระทำและการตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ถูกจำกัดโดยสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ในขณะที่สิทธิ เสรีภาพของประชาชนมีอยู่อย่างจำกัด กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิทางการเมืองของประชาชน หากมีอยู่บ้าง ก็จำกัดเต็มที ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใดๆ ยกเว้น กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจรัฐ ฉะนั้น การต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงและเดินขบวนตามจังหวะและโอกาส จึงแทบจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมชนิดเดียวที่ทำได้ ในขณะที่เสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อระบบการเมืองจะถูกตรวจสอบ หากฝ่าฝืนจะมีมาตรการลงโทษ อำนาจนิยมมีลักษณะของอำนาจที่เข้มข้นและรวมเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก ซึ่งรักษาไว้โดยการปราบปรามทางการเมืองและการกีดกันคู่แข่งที่เป็นไปได้ รัฐบาลอำนาจนิยมใช้พรรคการเมืองและองค์การมวลชนเพื่อระดมคนมารอเป้าหมายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับมิติทางการเมืองได้อย่างปกติ สามารถเลือกประกอบอาชีพ นับถือศาสนา และสังสรรค์หาความสุขได้โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาล แต่กระนั้น ในบางประเทศสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตอาจถูกควบคุมโดยธรรมเนียมปฏิบัติ บรรทัดฐานหรือความเชื่อทางศาสนาที่เข้มงวด ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือคนละส่วนกับอำนาจรัฐในระบบการเมืองก็ได้ ประเทศที่จัดได้ว่าเป็นระบอบอำนาจนิยม เช่น อิหร่าน สหภาพเมียนมาร์ (พม่า--Union of Myanmar) ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย ภายใต้นายพลซูฮาร์โต เป็นต้น ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศในลาตินอเมริกา นำมาสู่คำเรียกขาน “ระบอบราชการอำนาจนิยม” (bureaucratic authoritarianism) ที่ใช้อธิบายประเทศจำนวนหนึ่งที่เคยเป็นประชาธิปไตย แต่เกิดหักเหจนในที่สุดระบอบประชาธิปไตยต้องล่มสลาย และถูกแทนที่ด้วยแนวร่วมระหว่างคณะทหารกับพลเรือนที่ทำการรัฐประหารยึดกุมสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ชนชั้นนำที่ประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการพลเรือน นักเทคนิคระดับสูง (technocrats) ตลอดจนนักธุรกิจชั้นนำดำเนินนโยบายที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย และการเข้ามาแข่งขันในตลาดการเมือง โดยคณะทหารและระบบราชการดังกล่าว แสดงบทบาททางการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบัน ไม่ใช่ตัวบุคคล นักวิชาการลาตินอเมริกาวิเคราะห์ว่า ระบอบราชการอำนาจนิยม เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมทุนนิยมแบบพึ่งพา ประเทศที่จัดว่าใช้ระบอบราชการอำนาจนิยม เช่น บราซิล อาร์เจนตินา และ ชิลี ในยุคปัจจุบันที่ปรากฏมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) หรือระบอบอำนาจนิยมที่มีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏให้เห็นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ (Linz, 2000: 34; Badie, 2011: 107) ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการอันสำคัญและจำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มิอาจขาดหายไปได้เลยก็คือ การเลือกตั้ง (election) เพราะเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงออกซึ่งเจตจำนงเสรีของแต่ละบุคคล ทว่าการเลือกตั้งก็อาจมิใช่ตัวบ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศได้อาศัยกระบวนการเลือกตั้งมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ด้วยการอ้างเสียงสนับสนุนข้างมาก ทำให้เกิดอำนาจนิยมแบบใหม่ที่เรียกว่า อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism) ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า การเลือกตั้งมิได้เท่ากับการมีประชาธิปไตยเสมอไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่อาจไม่ “เพียงพอ” ที่จะแบ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ออกจากระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เส้นแบ่งใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้งของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบอบอำนาจนิยมที่แฝงเร้นอยู่ในคราบประชาธิปไตยตัวแทนจอมปลอม (authoritarianism disguised in the form of representative democracy) จึงอยู่ที่มิติด้านคุณภาพของการเลือกตั้งและประสิทธิภาพของกลไกตรวจสอบด้วย กล่าวคือ การเลือกตั้งจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่เสรี เที่ยงธรรม และโปร่งใส (free, fair, and transparent election) ที่ปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแทรกแซงของคณะทหาร ไม่มีการครอบงำ หรือจำกัดคู่แข่งทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง จึงจะนับได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เพียงพอและจำเป็นที่จะนำไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง (Badie, 2011: 112-114) และเมื่อได้ชัยชนะและมีเสียงข้างมากแล้ว หากใช้กลไกเสียงข้างมากบ่อนทำลายกลไกตรวจสอบ ก็อาจนำไปสู่อำนาจนิยมซึ่งเกิดขึ้นภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย นอกจากนั้น ความแตกต่างระหว่างอำนาจนิยมและประชาธิปไตยที่สำคัญไม่แพ้การเลือกตั้ง คือ การมีหลักนิติธรรมที่ไม่เอนเอียง มีรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ และมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออคต.

ใหม่!!: การปฏิวัติอิหร่านและลัทธิอำนาจนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ผู้นำสูงสุดอิหร่าน

ผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน (ولی فقیه ایران,, แปลตามตัวอักษร ปราชญ์กฎหมายผู้พิทักษ์อิหร่าน หรือ رهبر انقلاب,, แปลตามตัวอักษร ผู้นำการปฏิวัติ) เป็นประมุขแห่งรัฐและผู้นำสูงสุดทางการเมืองและศาสนาของ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ตำแหน่งนี้ตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญของอิหร่านภายใต้หลักการของ Guardianship of the Islamic Jurists คำว่า ผู้นำ "สูงสุด" (Persian: ولی فقیه, vali-e faghih) เป็นการแสดงความนับถือ แต่ไม่ใช่ถ้อยคำจากรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรียกว่า ผู้นำ เท่านั้น (rahbar) ตำแหน่งผู้นำนี้มีอำนาจสูงกว่าประธานาธิบดีอิหร่านและมีอำนาจแต่งตั้งผู้นำองค์กรที่สำคัญต่างๆ ของประเทศ ทั้งทางทหาร พลเรือน และตุลาการ"Who's in Charge?" by Ervand Abrahamian London Review of Books, 6 November 2008 แต่เดิมนั้นรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่าผู้นำสูงสุดต้องเป็น Marja'-e taqlid ตำแหน่งสูงสุดทางกฎหมายศาสนาของ Usuli Twelver Shia Islam แต่ในประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อ..

ใหม่!!: การปฏิวัติอิหร่านและผู้นำสูงสุดอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

เทวาธิปไตย

ทวาธิปไตย (Theocracy) คือระบอบการปกครองที่มีพระเจ้าหรือเทพเป็นประมุข หรือในความหมายกว้าง ๆ คือระบอบการปกครองที่รัฐปกครองโดยอำนาจจากเทพ (divine guidance) หรือโดยผู้ที่ถือกันว่าได้รับอำนาจหรือการดลใจโดยตรงจากเทพ ในภาษากรีกคอยนี (Koine Greek) หรือภาษากรีกสามัญคำว่า “theocracy” มาจากคำว่า “kra′tos” โดย “the.os” หรือ “ปกครองโดยพระเจ้า” สำหรับผู้มีความศรัทธาแล้วระบบนี้ก็เป็นระบอบการปกครองที่ใช้อำนาจจากเทพในการปกครองมวลมนุษย์ในโลก ไม่โดยผู้ที่เป็นเทพกลับชาติมาเกิด (incarnation) ก็มักจะโดยผู้แทนของศาสนจักรที่มีอำนาจเหนืออาณาจักร รัฐบาลที่ปกครองโดยระบบเทวาธิปไตยปกครองโดยเทพธรรมนูญ (theonomy) ระบอบเทวาธิปไตยควรจะแยกจากระบบการปกครองอื่น ๆ ที่มีศาสนาประจำชาติ (state religion) หรือรัฐบาลที่มีอิทธิพลจากเทวปรัชญาหรือศีลธรรม หรือระบบราชาธิปไตยที่ปกครอง “โดยพระคุณของพระเจ้า” (By the Grace of God) เทวาธิปไตยอาจจะเป็นระบบการปกครองเดี่ยวที่ฐานันดรระดับต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ปกครองโดยฝ่ายอาณาจักรเป็นฐานันดรระดับเดียวกันกับที่ใช้ในการปกครองในศาสนจักร หรืออาจจะแบ่งเป็นสองระบบที่แยกฐานันดรระหว่างอาณาจักรและศาสนจักร การปกครองเทวาธิปไตยเป็นระบบที่ใช้ในหลายศาสนาที่ได้แก่ ศาสนาขงจื๊อ ศาสนายูดาห์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู พุทธศาสนาบางนิกายเช่นทะไลลามะ และ คริสต์ศาสนาบางนิกายที่รวมทั้งโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์ และมอร์มอน ตัวอย่างของการปกครองระบบเทวาธิปไตยของคริสต์ศาสนาก็ได้แก่การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่าง..

ใหม่!!: การปฏิวัติอิหร่านและเทวาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

เตหะราน

ตหะราน (تهران; Tehran, Teheran) เป็นเมืองหลวงของประเทศอิหร่าน และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในแถบประเทศตะวันออกกลาง ประชากรในเมือง 7,160,094 และในเขตนครหลวงหรือเมโทร 14 ล้านคนเศษ เตหะรานนอกจากจะเป็นเมืองหลวงแล้ว ยังเป็นเมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ฯลฯ เตหะรานยังเป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจ การบินพาณิชย์ ในภูมิภาคตะวันออกกลางอีกด้วย เตหะรานในภาษาเปอร์เซียแปลว่า อ้อมเขาอันอบอุ่น ซึ่งหมายถึงชาวเมืองที่อาศัยอยู่อย่างสงบและมีสันติสุขภูมิภาคนี้.

ใหม่!!: การปฏิวัติอิหร่านและเตหะราน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การปฏิวัติอิสลาม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »