โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทำให้เป็นฆราวาส

ดัชนี การทำให้เป็นฆราวาส

การทำให้เป็นฆราวาส (secularisation หรือ secularization) เป็นการเปลี่ยนผ่านของสังคม จากการแสดงตัวและผูกพันใกล้ชิดกับคตินิยมและสถาบันทางศาสนา ไปยังสถาบันที่เป็นฆราวาสและปราศจากคตินิยมทางศาสนา ทฤษฎีการทำให้เป็นฆราวาสเป็นความเชื่อที่ว่า ยิ่งสังคมก้าวหน้าไป โดยเฉพาะด้วยการทำให้ทันสมัย (modernization) และการใช้เหตุผลตัดสิน (rationalization) ศาสนาก็ยิ่งสูญสิ้นอำนาจบารมีในทุกแง่มุมของการดำเนินชีวิตและการปกครองสังคม, chapter 1 (pp. -) of คำนี้ยังใช้ในบริบทของการถอดสมาชิกคณะสงฆ์ให้พ้นจากข้อห้ามทางสงฆ์ก็ได้ การทำให้เป็นฆราวาสนั้นว่าด้วยกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่ทำศาสนาหมดสิ้นความสำคัญในสังคมและวัฒนธรรมลง เป็นผลให้ในสังคมสมัยใหม่ศาสนามีบทบาทจำกัดขึ้น ในสังคมที่เป็นฆราวาสแล้วนั้น ความศรัทธาไม่ขึ้นอยู่กับอำนาจครอบงำทางวัฒนธรรม ทั้งองค์การศาสนาก็มีอำนาจไม่มากในทางสังคม การทำให้เป็นฆราวาสมีความหมายหลายระดับ ทั้งในทางทฤษฎีและกระบวนการทางประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีสังคมอย่าง คาร์ล มากซ์, ซิกมุนด์ ฟรอยด์, มักซ์ เวเบอร์, และ เอมิล ดูร์ไกม์ ตั้งสมมุติฐานว่า การทำให้สังคมทันสมัยอาจรวมถึงการลดลงของขีดความเลื่อมใสในศาสนา การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าวเป็นไปเพื่อนิยามลักษณะหรือขอบเขตที่ถือว่า ลัทธิ จารีต หรือสถาบันทาง ศาสนา สิ้นความสำคัญทางสังคมลง นักทฤษฎีบางคนก็แย้งว่า การทำให้อารยธรรมสมัยใหม่มีความเป็นฆราวาสนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการไม่สามารถปรับความต้องการในทางจริยธรรมและจิตวิญญาณของหมู่มนุษย์ให้เข้ากับความก้าวหน้าอันเร็วรวดของวิทยศาสตร์กายภาพ นอกจากนี้ ในทางประวัติศาสตร์และศาสนา การทำให้เป็นฆราวาสยังมีความหมายอื่นอีก ถ้าใช้กับศาสนสมบัติ (church property) แล้ว ในทางประวัติศาสตร์ จะหมายถึง การนำทรัพย์สินของศาสนจักรมาเป็นของฆราวาส เช่น กรณีที่เฮนรีที่ 8 ทรงยุบเลิกอารามในอังกฤษ ตลอดจนกรณีที่เกิดขึ้นสมัยหลังในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส และการต่อต้านสงฆ์ของรัฐบาลยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 อันนำมาซึ่งการขับไล่และปราบปรามประชาคมทางศาสนาที่ถือครองทรัพย์สิน เหตุการณ์ทำนองเดียวกันในเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และที่อื่น ๆ ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ถือเป็นตัวอย่างของความหมายนี้ได้ การทำให้เป็นฆราวาสยังสามารถหมายถึงการที่ผู้ควบตำแหน่งทางปกครองและทางศาสนา เช่น เจ้าชายมุขนายก ประกาศตนเป็นฆราวาสและไม่ขึ้นกับศาสนาอีก ดังกรณีของ Gotthard von Kettler ผู้นำคนสุดท้ายของคณะลิโวเนีย (Livonian Order) ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความเป็นฆราวาส การเปลี่ยนผ่านนี้เกี่ยวพันกับปัจจัยทางสังคมหลัก ๆ หลายปัจจัย เช่น ความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจ การต่อต้านกฎระเบียบสังคมของคนรุ่นใหม่ การให้เสรีภาพแก่สตรี รวมถึงเทววิทยาและการเมืองแบบเปลี่ยนรากถอนโคน.

8 ความสัมพันธ์: พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษการยุบอารามมักซ์ เวเบอร์คาร์ล มากซ์ฆราวาสซิกมุนด์ ฟรอยด์เอมิล ดูร์ไกม์เจ้าชายมุขนายก

พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (Henry VIII of England) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษตั้งแต่ 21 เมษายน 1509 จนสวรรคต นอกจากนี้ยังทรงเป็นชาวอังกฤษพระองค์แรกที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ และยังเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอีกด้วย พระเจ้าเฮนรีทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่สองของราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา พระเจ้าเฮนรีที่ 7 นอกจากการอภิเษกสมรสทั้ง 6 ครั้งและความสัมพันธ์กับสตรีนอกสมรสแล้ว อีกหนึ่งเรื่องราวสำคัญในรัชสมัยของพระองค์คือการประกาศให้การอภิเษกกับแคเธอรีนแห่งอารากอน มเหสีคนแรกเป็นโมฆะ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งกับพระสันตะปาปา และนำประเทศไปสู่การแยกตัวออกจากศาสนจักรโรมันคาทอลิก โดยการสถาปนาคริสตจักรแห่งอังกฤษขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นคริสตจักรที่ไม่ขึ้นกับพระสันตะปาปา และถือเอาตัวพระองค์เองในฐานะกษัตริย์เป็น "ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ" และนำไปสู่การยุบอารามขึ้น แต่ในด้านความเชื่อพระองค์ยังคงถือคำสอนหลายอย่างตามโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะถูกพระสันตะปาปาประกาศตัดขาดจากศาสนาไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังคอยควบคุมการรวมสหภาพระหว่างอังกฤษกับเวลส์ และพระองค์ยังได้ขึ้นชื่อว่าทรงเป็นศัตรูตลอดกาลกับพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตลอดรัชสมัยได้ทำสงครามกันหลายต่อหลายครั้ง พระเจ้าเฮนรีถือเป็นกษัตริย์ที่มีเสน่ห์ มีการศึกษาดี และทรงคุณวุฒิ และเป็นประมุขที่ทรงบารมีที่สุดแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ แม้จะทรงใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างเด็ดขาดแต่ก็ทรงสนพระทัยการเขียนและนิพนธ์ ทรงเห็นว่าสตรีไม่สามารถสร้างความเจริญและมั่นคงแก่ราชวงศ์ทิวดอร์ได้ จึงมีพระราชประสงค์อย่างมากที่จะได้รัชทายาทชายสืบทอดราชบัลลังก์ ทำให้ทรงอภิเษกสมรสหลายครั้งและต่อมาต้องดำเนินการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ ซึ่งนำให้อังกฤษกลายเป็นชาติโปรเตสแตนต์ ช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์เป็นโรคอ้วนซึ่งทำให้พระพลานามัยย่ำแย่ มีพระรสนิยมผิดปกติ พระสาทิสลักษณ์ของพระองค์จึงมักแสดงออกถึงความมักมาก เห็นแก่ตัว โหดร้าย พระอารมณ์ไม่มั่นคง ภายหลังสวรรคต พระราชโอรส(ตามกฎหมาย)องค์เดียวของพระองค์ ได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ขณะมีพระชันษาเพียง 9 ปี.

ใหม่!!: การทำให้เป็นฆราวาสและพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การยุบอาราม

อดีตกลาสตันบรีแอบบีย์ การยุบอาราม (Dissolution of the Monasteries; Suppression of the Monasteries) เป็นกระบวนการตามกฎหมายและการปกครองในช่วง ค.ศ. 1538 ถึงปี ค.ศ. 1541 โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษโปรดให้ยุบอาราม ไพรออรี คอนแวนต์ และไฟรอารี ในประเทศอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์ ตามอำนาจใน “พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา” อนุมัติโดยรัฐสภาเมื่อปี ค.ศ. 1534 ซึ่งระบุให้พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษเป็น “ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ” (Supreme Head of the Church in England) ซึ่งถือเป็นการแยกตัวออกมาจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกอย่างเป็นทางการ และโดย “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 1 (ค.ศ. 1536)” และ “พระราชบัญญัติปราบปรามฉบับที่ 2 (ค.ศ. 1539)” การยุบอารามในอังกฤษเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองหนึ่งเพื่อต่อต้านคริสตจักรโรมันคาทอลิกซึ่งเริ่มคุกรุ่นอยู่ในทวีปยุโรปขณะนั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์จาก แต่เหตุผลการแยกตัวจากนิกายโรมันคาทอลิกของอังกฤษมิใช่ข้อขัดแย้งทางปรัชญาทางศาสนาดังเช่นในประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส หรือ โบฮีเมีย แต่เป็นเหตุผลส่วนพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8.

ใหม่!!: การทำให้เป็นฆราวาสและการยุบอาราม · ดูเพิ่มเติม »

มักซ์ เวเบอร์

ร์ล เอมิล มักซิมิเลียน "มักซ์" เวเบอร์ (Karl Emil Maximilian "Max" Weber) (21 เมษายน ค.ศ. 1864 – 14 มิถุนายน ค.ศ. 1920) เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมืองและนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ถือกันว่าเวเบอร์เป็นผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยาสมัยใหม่และรัฐประศาสนศาสตร์ งานชิ้นหลัก ๆ ของเขาเกี่ยวข้องกับสังคมวิทยาศาสนาและสังคมวิทยาการปกครอง นอกจากนี้เขายังมีงานเขียนอีกหลายชิ้นในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ งานที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุดของเวเบอร์คือ ความเรียงเรื่อง จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณแห่งทุนนิยม ซึ่งเป็นงานชิ้นแรกของเขาในสาขาสังคมวิทยาศาสนา ในงานชิ้นดังกล่าว เวเบอร์เสนอว่าศาสนาเป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ที่นำไปสู่เส้นทางการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่ต่างกันระหว่างโลกประจิม (the Occident) กับโลกบูรพา (the Orient) ในงานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งของเขาที่ชื่อการเมืองในฐานะวิชาชีพ (Politik als Beruf) เวเบอร์นิยามรัฐว่ารัฐคือหน่วยองค์ (entity) ซึ่งผูกขาดการใช้กำลังทางกายภาพที่ถูกกฎหมาย ซึ่งนิยามนี้ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ในเวลาต่อม.

ใหม่!!: การทำให้เป็นฆราวาสและมักซ์ เวเบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล มากซ์

ร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (Karl Heinrich Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมัน มากซ์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เองเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคม ทฤษฎีของมากซ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมากซ์ ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายากำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มากซ์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึงจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนท่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมากซ์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต มากซ์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจ มีผู้อธิบายว่ามากซ์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมากซ์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมากซ์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง.

ใหม่!!: การทำให้เป็นฆราวาสและคาร์ล มากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฆราวาส

ราวาส (อ่านว่า คะราวาด) นัยแรกแปลว่า การอยู่ครองเรือน, การอยู่ในเรือน, การเป็นอยู่แบบชาวบ้าน เช่น "ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง...." ฆราวาส นัยที่สองแปลว่า ผู้ครองเรือน, ผู้อยู่ในเรือน ได้แก่ชาวบ้านทั่วไปที่มิใช่นักบวช เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า คฤหัสถ์ เช่น "ฆราวาสธรรมเป็นธรรมสำหรับผู้ครองเรือนจะพึงประพฤติปฏิบัติ" "เมื่อเรายังเป็นฆราวาสอยู่ ได้ตกแต่งร่างกายนุ่งห่มเสื้อผ้าอันงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยจุรณจันทน....." ฆราวาส มักพูดหรืออ่านเพี้ยนไปว่า ฆราวาส (คาระวาด).

ใหม่!!: การทำให้เป็นฆราวาสและฆราวาส · ดูเพิ่มเติม »

ซิกมุนด์ ฟรอยด์

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA:; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856 — 23 กันยายน ค.ศ. 1939) เป็นประสาทแพทย์ชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัยโรคสมองพิการ ภาวะเสียการสื่อความ และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกและกลไกของการกดเก็บ และตั้งสาขาจิตบำบัดด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษาจิตพยาธิวิทยาผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์Ford & Urban 1965, p. 109 แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์ ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้ความสัมพันธ์เสรี (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบการถ่ายโยงความรู้สึก (กระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า ฝันช่วยรักษาการหลับ โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทางจิตเวชศาสตร์ และต่อมนุษยศาสตร์โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลกและกีดกันทางเพศ การศึกษาเมื่อ..

ใหม่!!: การทำให้เป็นฆราวาสและซิกมุนด์ ฟรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

เอมิล ดูร์ไกม์

วิด เอมิล ดูร์ไกม์ (David Émile Durkheim) (15 เมษายน ค.ศ. 1858 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917) เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของสังคมวิทยาสมัยใหม่ เขายังเป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาสังคมวิทยาแห่งแรกในยุโรปในปี..

ใหม่!!: การทำให้เป็นฆราวาสและเอมิล ดูร์ไกม์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายมุขนายก

ันน์ ออทโท ฟอน เกมมิงเงิน เจ้าชายบิชอปแห่งเอาก์สบูร์กในบาวาเรีย เจ้าชายมุขนายก (Prince-Bishop) เป็นมุขนายกที่มีศักดิ์เป็นเจ้าชายแห่งคริสตจักรโดยมีราชรัฐในปกครองอย่างน้อยหนึ่งแห่ง ทำให้เขตปกครองของพระองค์ทั้งราชรัฐและมุขมณฑลมีลักษณะทับซ้อนกันในพื้นที่เดียว กรณีที่เป็นอัครมุขนายกปกครองราชรัฐก็เรียกว่า เจ้าชายอัครมุขนายก ถ้าเป็นนักพรตปกครองราชรัฐเรียกว่าเจ้าชายอธิการอาราม (prince-abbot) ในยุโรปตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิโรมันเริ่มสูญเสียพระราชอำนาจเพราะถูกคุกคามจากพวกอนารยชน ดังนั้นมุขนายกซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายคริสตจักรจึงต้องขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการฝ่ายอาณาจักรแทน บางครั้งก็ถึงกับต้องนำทัพเองด้วยถ้าจำเป็น ในจักรวรรดิไบเซนไทน์ จักรพรรดิก็นิยมแต่งตั้งหรือพระราชทานสิทธิและหน้าที่พิเศษให้มุขนายกบางองค์ปกครองรัฐในมุขมณฑลของตนได้ ซึ่งถือเป็นแนวพัฒนาการของลัทธิจักรพรรดิสันตะปาปานิยมที่จะให้คริสตจักรตะวันออกมาทำงานให้กับจักรวรรดิด้วย เช่น มีอัครบิดรสากลที่ทำหน้าที่คล้ายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศาสนาให้กับองค์จักรพรรดิ จักรวรรดิรัสเซียมีการดำเนินการยิ่งกว่านี้อีก กล่าวคือยุบตำแหน่งอัครบิดรแล้วให้คริสตจักรอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของฝ่ายอาณาจักร คำว่า ฮอคชติฟท์ ในภาษาเยอรมันก็หมายถึงอำนาจหน้าที่ฝ่ายอาณาจักรที่มุขนายกสามารถว่าการปกครองราชรัฐของตนได้ ถ้าเป็นของอัครมุขนายก เรียกว่า แอร์ซชติฟท.

ใหม่!!: การทำให้เป็นฆราวาสและเจ้าชายมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SecularisationSecularization

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »