โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)

ดัชนี การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)

การทัพบอลข่านในสงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มต้นด้วยอิตาลีบุกครองกรีซ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม..

19 ความสัมพันธ์: บอลข่านการบุกครองยูโกสลาเวียฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองฝ่ายอักษะมักซีมีเลียน ฟอน ไวชส์ยุทธการที่กรีซยุทธการเกาะครีตราชอาณาจักรยูโกสลาเวียวิลเฮล์ม ลิสท์สงครามอิตาลี-กรีซสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่สองในยูโกสลาเวียจักรวรรดิบริติชประเทศบัลแกเรียประเทศกรีซประเทศแอลเบเนียประเทศโรมาเนียแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)เขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลางในสงครามโลกครั้งที่สอง

บอลข่าน

แผนที่ทางอากาศของคาบสมุทรบอลข่าน คาบสมุทรบอลข่าน (Balkans) เป็นชื่อทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ หมายถึงดินแดนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 550,000 ตร.กม. และมีประชากรรวมกันราว 53 ล้านคน ชื่อนี้มาจากชื่อของเทือกเขาบอลข่านที่พาดผ่านใจกลางประเทศบัลแกเรียไปยังด้านตะวันออกของสาธารณรัฐเซอร์เบี.

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และบอลข่าน · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองยูโกสลาเวีย

การบุกครองยูโกสลาเวีย, หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ สงครามเดือนเมษายน เรื่มขึ่นเมื่อ เยอรมนี เปิดฉากโจมตี ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ร่วมกับ ฝ่ายอักษะ โดยเริ่มขึ้นในวันที่ 6 เมษายน 1941 ในช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง หลังเกิด รัฐประหารยูโกสลาเวีย เมื่อหลายวันก่อนหน้า ยูโกสลาเวียดำรงความเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 2 มาได้เกือบ 2 ปี แต่เมื่อเดือนมีนาคมปี 1941 เจ้าชาย Paul ถูกบีบบังคับให้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอักษะ ทำให้เกิดการโค่นล้มอำนาจของพระองค์เพื่อปฏิเสธการเป็นพันธมิตรกับอักษะในเบลเกรด และ องค์มกุฏราชกุมารได้ถูกยกขึ้นมาเป็นพระเจ้า Peter II ปกครองยูโกสลาเวียแทน ฝ่ายอักษะจึงเข้าโจมตียูโกสลาเวียและแยกดินแดนยูโกสลาเวียเป็นส่วนๆแบ่งสรรกันในหมู่ฝ่ายอักษะ (อิตาลี เยอรมนี บัลแกเรีย ฮังการี โรมาเนีย แอลเบเนีย) แต่ที่สำคัญคือยกกลุ่ม Ustaša ให้ขึ้นมาเป็นรัฐบาลปกครองรัฐเอกราชโครเอเชีย (Independent State of Croatia)  .

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และการบุกครองยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง..

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายอักษะ

ฝ่ายอักษะ (Axis Powers; Achsenmächte; Potenze dell'Asse; Suujikukoku.) หรือชื่อ อักษะ โรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin-Tokyo Axis) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางการทหารซึ่งสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสามร่วมลงนามกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อเดือนกันยายน..

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และฝ่ายอักษะ · ดูเพิ่มเติม »

มักซีมีเลียน ฟอน ไวชส์

มักซีมีเลียน ไรชส์ไฟรแฮร์ ฟอน ไวช์ส (Maximilian Reichsfreiherr von Weichs; 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1881 – 27 กันยายน ค.ศ. 1954) เป็นจอมพลในกองทัพเวร์มัคท์แห่งนาซีเยอรมนี เขาได้บัญชาการหลายกองทัพและกองทัพกลุ่ม รวมทั้งกองทัพที่สองในช่วงปฏิบัติการบาร์บารอสซาและกองทัพกลุ่มบีในช่วงยุทธการที่สตาลินกราดในปี..

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และมักซีมีเลียน ฟอน ไวชส์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่กรีซ

ทธการที่กรีซ (Battle of Greece) หรือชื่อรู้จักในเยอรมันคือ ปฏิบัติการมารีทา (Unternehmen Marita) เป็นปฏิบัติการบุกครองราชอาณาจักรกรีซ โดย ฟาสซิสต์อิตาลี และ นาซีเยอรมนี (เมษายน 1941) ในช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง ยุทธการเรื่มต้นจากรุกรานกรีซในเดือนตุลาคม 1941 ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ สงครามอิตาลี-กรีซ และต่อเนื่องโดยการบุกครองโดยเยอรมนีในเดือน เมษายน 1941 ยุทธการจบลงด้วยการที่พลร่มเยอรมนียกพลขึ้นบกที่เกาะครีต (พฤษภาคม 1941) ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรแพ้ในกรีซแผ่นดินใหญ่ ยุทธการยังเป็นหนึ่งในยุทธการที่ใหญ่ที่สุดในช่วงการทัพบอลข่าน ของเยอรมนี.

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และยุทธการที่กรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการเกาะครีต

ทธการเกาะครีต (Luftlandeschlacht um Kreta; Μάχη της Κρήτης) เป็นชื่อของการรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งดำเนินไปบนเกาะครีต ประเทศกรีซ โดยเริ่มต้นในเช้าวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เมื่อกองทัพนาซีเยอรมนีส่งกองกำลังพลร่ม (Fallschirmjäger, parachute rangers) เข้ารุกรานเกาะครีตภายใต้ชื่อรหัส "ปฏิบัติการเมอร์คิวรี" (Unternehmen Merkur, Operation Mercury) ฝ่ายตั้งรับที่อยู่บนเกาะครีตประกอบด้วยกองทัพกรีซ กองกำลังของฝ่ายสัมพันธมิตร และพลเรือนชาวเกาะครีต หลังการสู้รบดำเนินไปได้หนึ่งวัน ฝ่ายเยอรมนีต้องพบกับความสูญเสียอย่างหนักและยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ใดๆ ในการรบครั้งนี้ ในวันถัดมา ด้วยปัญหาการสูญเสียการติดต่อและความล้มเหลวในการควบคุมสถานการณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตร สนามบินในเมืองมาเล็ม (Maleme) จึงเสียให้แก่ฝ่ายเยอรมนี ทำให้เยอรมนีได้รับกำลังเสริมและครองความเหนือกว่าฝ่ายที่ตั้งรับได้ การสู้รบได้ดำเนินต่อไปอีกเกือบ 10 วันจึงยุติลง ยุทธการเกาะครีตได้สร้างประวัติการณ์ขึ้นใหม่ 3 ประการ คือ เป็นการรบครั้งแรกที่ใช้พลร่มเป็นกำลังรบหลัก เป็นการปฏิบัติการครั้งสำคัญครั้งแรกของฝ่ายสัมพันธมิตรในการใช้สายลับถอดรหัสลับเครื่องอีนิกมาของนาซีเยอรมนี และเป็นครั้งแรกที่การรุกของฝ่ายเยอรมนีที่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างหนักจากประชาชนพลเรือน ด้วยความเสียหายอย่างหนักที่กองกำลังพลร่มได้รับ ทำให้ฮิตเลอร์ได้สั่งยุติการปฏิบัติการขนาดใหญ่สำหรับกองกำลังพลร่ม อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสัมพันธมิตรรู้สึกประทับใจในศักยภาพของกองกำลังพลร่ม จึงได้ริเริ่มการจัดตั้งกองพลพลร่มของตัวเองขึ้นเช่นกัน.

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และยุทธการเกาะครีต · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย

ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย (เซอร์เบีย-โครเอเชียและสโลวีน: Kraljevina Jugoslavija, อักษรซีริลลิก: Краљевина Југославија; Kingdom of Yugoslavia) เป็นราชอาณาจักรที่มีดินแดนครอบคลุมตั้งแต่ทางตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่านไปจนถึงยุโรปกลาง ที่รุ่งเรืองอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1918 จนถึง ค.ศ. 1945 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งถึงสงครามโลกครั้งที่สอง ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียก่อตั้งขึ้นโดยการรวมตัวของรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นและราชอาณาจักรเซอร์เบียที่เป็นราชอาณาจักรอิสระ ราชอาณาจักรมอนเตเนโกรตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของเซอร์เบียก่อนหน้านั้นแล้ว ขณะที่บริเวณคอซอวอ วอยวอดีนา และมาซิโดเนียเป็นส่วนหนึ่งของเซอร์เบียก่อนหน้าการรวมตัว 11 ปีแรกราชอาณาจักรเรียกตนเองอย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (Kraljevina Srba, Hrvata i Slovenaca, อักษรซีริลลิก: Краљевина Срба, Хрвата и Словенаца; Kraljevina Srbov, Hrvatov in Slovencev) แต่คำว่า "ยูโกสลาเวีย" เป็นชื่อเรียกกันอย่างง่าย ๆ มาตั้งแต่ต้น เมื่อวันที่ 17 เมษายน..

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

วิลเฮล์ม ลิสท์

วิลเฮล์ม ลิสท์ (Wilhelm List) เป็นจอมพลชาวเยอรมันและอาชญากรสงครามในสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี..

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และวิลเฮล์ม ลิสท์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิตาลี-กรีซ

งครามอิตาลี-กรีซเกิดขึนเมื่ออิตาลีนำโดยมุสโสลินีอยากขยายดินแดนและอำนาจแบบเดียวกับฮิตเลอร์ โดยเริ่มจากเข้ายึดอัลบาเนีย หลังจากนั้นก็จะบุกยึดกรีซด้วยกำลังพลที่มีจำนวนมากกว่า ประมาณ 2 ต่อ 1 และยุทโธปกรณ์ที่ดีกว่า และก็ประกาศตนอยู่ตรงข้ามฝ่ายอักษะซึ่งในช่วงเวลานั้นมีเพียงอังกฤษกับกรีซเท่านั้นที่ยังสู้อยู่ กรีซสามารถต้านทานการรุกของอิตาลีด้านพรมแดนอัลบาเนีย-กรีซได้ในการรุกครั้งแรกของอิตาลีระหว่างวันที่ 28 ต..-13..1940 และกลับกลายเป็นว่ากรีซเป็นฝ่ายตีโต้ตอบระหว่างวันที่ 14..1940-มี..1941 ทำเอาอิตาลีต้องถอยเข้าไปจากพรมแดนอัลบาเนีย-กรีซ ถึง 60 ก.ม. กรีซยึดดินแดนเกือบ 1 ใน 3 ของอัลบาเนียไว้ได้ กองทัพอิตาลีจำนวน 27 กองพลไม่สามารถผลักดันกองทัพกรีซจำนวน 16 กองพลในอัลบาเนียซึ่งมียุทโธปกรณ์ที่ด้อยกว่าระหว่างการรุกครั้งที่ 2 ของอิตาลีช่วง มี..1941 ถึง 23 เม..1941 สร้างความอับอายให้กับมุสโสลินีเป็นอย่างมาก.

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และสงครามอิตาลี-กรีซ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สองในยูโกสลาเวีย

ปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สองในยูโกสลาเวียได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน..

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และสงครามโลกครั้งที่สองในยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบริติช

ักรวรรดิบริติช (British Empire) หรือ จักรวรรดิอังกฤษ ประกอบด้วยประเทศในเครือจักรภพ, คราวน์โคโลนี, รัฐในอารักขา, รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่นซึ่งสหราชอาณาจักรปกครองหรือบริหาร จักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจโลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึ่งศตวรรษ ใน..

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และจักรวรรดิบริติช · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบัลแกเรีย

ัลแกเรีย (България) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐบัลแกเรีย (Република България) เป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งบนทะเลดำไปทางตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางใต้ ประเทศเซอร์เบียและสาธารณรัฐมาซิโดเนียทางตะวันตก และประเทศโรมาเนียทางเหนือตามแม่น้ำดานูบบัลแกเรียเคยเป็นอาณานิคมของรัสเซี.

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และประเทศบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอลเบเนีย

แอลเบเนีย (Albania; Shqipëri) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอลเบเนีย (Republic of Albania; Republika e Shqipërisë) เป็นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ พรมแดนทางเหนือติดต่อกับมอนเตเนโกร ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเซอร์เบีย (คอซอวอ) ทางตะวันออกติดต่อกับมาซิโดเนีย และทางใต้ติดต่อกับกรีซ ชายฝั่งตะวันตกจรดทะเลเอเดรียติก ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลไอโอเนียน ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไต.

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และประเทศแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโรมาเนีย

รมาเนีย (Romania; România) แต่ก่อนเรียกว่า รูมาเนีย (Rumania หรือ Roumania) เป็นประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศยูเครนและประเทศมอลโดวา ทิศตะวันตกจดประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย ทิศใต้จดประเทศบัลแกเรีย โรมาเนียมีชายฝั่งบนทะเลดำด้ว.

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และประเทศโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

เขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลางในสงครามโลกครั้งที่สอง

แนวรบด้านเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง (Mediterranean and Middle East theatre of World War II) ซึ่งเป็นการสู้รบเพื่อยึดครองในเขตยุโรปใต้ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแอฟริกาเหนือรวมไปถึงในตะวันออกกลาง กินเวลาตั้งแต่ 10 มิถุนายน..

ใหม่!!: การทัพบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่สอง)และเขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลางในสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »