โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทดปฏิทิน

ดัชนี การทดปฏิทิน

การทดปฏิทิน (intercalation) หมายถึง การเพิ่มเติมวัน หรือเดือน ลงในปฏิทินจันทรคติเพื่อให้ไม่เคลื่อนไปจากปฏิทินสุริยคติมากนัก การทดปฏิทินพบได้ในปฏิทินจันทรคติไทย ปฏิทินจันทรคติอิสลาม ปฏิทินจันทรคติจีน และปฏิทินจันทรคติภารตะ นอกจากนี้ การทดปฏิทินยังหมายถึงการเพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ในปีอธิกสุรทินอีกด้วย ปฏิทินจันทรคติไทยและภารตะ ปกติกำหนดให้เดือนเลขคี่มี 29 วัน ส่วนเดือนเลขคู่มี 30 วัน เรียกว่า ปีปกติมาสวาร ดังนั้นจำนวนวันทั้งหมดในหนึ่งปีจึงอยู่ที่ 354 วัน ซึ่งน้อยกว่าจำนวนวันในปีปกติสุรทินที่ 365 วัน เมื่อจัดเดือนตามวิธีปกติไปเรื่อย ๆ อาจสังเกตได้ว่าเดือน 12 ถอยร่นมาเป็นเดือนตุลาคม หากไม่ได้ทำอะไรเลย เดือน 12 ก็จะร่นมาที่เดือนกันยายน สิงหาคม...

8 ความสัมพันธ์: ภาวะ (ปฏิทินจีน)วิษุวัตอายันจุฬาราชมนตรีปฏิทินฮิจเราะห์ปฏิทินจันทรคติไทยเชาวาลเราะมะฎอน

ภาวะ (ปฏิทินจีน)

วะ หรือ สารทสารท แปลว่าฤดูใบไม้ร่วง และงานฉลองในฤดูใบไม้ร่วง จึงผิดความหมาย และอาจสับสนกับวันสารทจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 15 เดือน ตามปฏิทินจีน วันดังกล่าวเป็นวันอุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์ของชาวจีน อย่างไรก็ตามนักโหราศาสตร์จีนนิยมใช้คำ สารท (จีนต้วเต็ม: 節氣; จีนตัวย่อ: 节气; พินอิน: jiéqì; คำอ่าน: เจี๋ยชี่ อังกฤษ: Solar term) หมายถึงระยะที่สำคัญอันสังเกตจากสิ่งแวดล้อมได้รอบตัว ซึ่งชาวจีนได้บัญญัติขึ้นไว้ 24 ภาวะด้วยกันในหนึ่งรอบปี นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการฉลองไหว้บรรพบุรุษตามสมควร ภาวะในปฏิทินจีน มีใช้ในประเทศจีน รวมถึงเกาหลี เวียดนาม และญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้รับวัฒนธรรมจีนอีกด้วย ในภาวะตามปฏิทินจีนทั้งหมด จะมีสี่ภาวะซึ่งตรงกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ได้แก่ 春分 (ชุนเฟิน) 夏至 (เซี่ยจื้อ) 秋分 (ชิวเฟิน) และ 冬至 (ตงจื้อ หรือวันไหว้ขนมบัวลอย) ซึ่งตรงหรือใกล้เคียงกับวันสำคัญทางดาราศาสตร์ประจำปี ได้แก่ วสันตวิษุวัต อุตรายัน ศารทวิษุวัต และทักษิณายัน ตามลำดับ แต่ละวันมีคำอธิบายโดยย่อดังนี้.

ใหม่!!: การทดปฏิทินและภาวะ (ปฏิทินจีน) · ดูเพิ่มเติม »

วิษุวัต

ทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ส่องถูกโลกในวันวิษุวัต ซึ่งเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง (ภาพไม่แสดงความเข้มน้อยของแสงสลัวเวลาเช้ามืดและหัวค่ำ) วิษุวัต (equinox) หรือ จุดราตรีเสมอภาค เป็นศัพท์ดาราศาสตร์ หมายถึงช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ความเอียงของแกนโลกจะเลื่อนมาอยู่ในระนาบที่ได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ ซึ่งวันนั้นกลางวันจะเท่ากับกลางคืน.

ใหม่!!: การทดปฏิทินและวิษุวัต · ดูเพิ่มเติม »

อายัน

อายัน (solstice) ในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ยังมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "อายัน" เกิดขึ้นปีละ 2 ครั้งเช่นกัน อายันเกิดขึ้นทุกปีระหว่างวันที่ 20 หรือ 21 มิถุนายนเรียกว่า ครีษมายัน และในวันที่ 22 หรือ 23 ธันวาคมเรียกว่า เหมายัน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ตะวันอ้อมข้าว นอกจากนี้โลกยังมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากันตลอดปี ช่วงที่ใกล้ที่สุดเกิดขึ้นในต้นเดือนมกราคม (147 ล้านกิโลเมตร) ส่วนช่วงที่ไกลที่สุดเกิดขึ้นในต้นเดือนกรกฎาคม (152 ล้านกิโลเมตร) เฉพาะแกนหมุนของโลกที่เอียง เมื่อโคจรรอบดวงอาทิตย์ จึงมีผลสลับขั้วโลกเหนือ กับ ขั้วโลกใต้ เข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น ส่วนการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ที่มีระยะใกล้บ้าง ไกลบ้าง นั้น เป็นอัตราส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับระยะห่างจากดวงอาทิตย์ จึงไม่ได้มีผล ต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใ.

ใหม่!!: การทดปฏิทินและอายัน · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาราชมนตรี

ฬาราชมนตรี เป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย และเป็นตำแหน่งฝ่ายมุสลิมให้ข้อปรึกษาด้านศาสนาอิสลามแก่รัฐบาลไทย โดยเฉพาะแก่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงวัฒนธรรม มีประวัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ในทำเนียบศักดินาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทำเนียบตำแหน่งขุนนาง ซึ่งในชั้นหลังเรียกว่า "กรมท่าขวา" มี "พระจุลาราชมนตรี" เป็นหัวหน้าฝ่ายแขก คู่กับ "หลวงโชฎึกราชเศรษฐี" หัวหน้าฝ่ายจีน.

ใหม่!!: การทดปฏิทินและจุฬาราชมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินฮิจเราะห์

ปฏิทินฮิจเราะห์ หรือ ปฏิทินอิสลาม หรือ ปฏิทินมุสลิม (อังกฤษ: Islamic calendar) เป็นระบบปฏิทินจันทรคติ ซึ่งประกอบด้วย 12 เดือนทางจันทรคติ ซึ่งในหนึ่งปีจะมี 354 หรือ 355 วัน ใช้กำหนดวันเหตุการณ์ในหลายประเทศมุสลิม (ควบคู่ไปกับปฏิทินเกรโกเรียน) และใช้โดยมุสลิมทั่วโลกเพื่อกำหนดวันที่เหมาะสมในการเฉลิมฉลองวันสำคัญและเทศกาลในศาสนาอิสลาม ปฏิทินฮิจเราะห์เริ่มนับเมื่อศาสดาแห่งอิสลาม นบีมุฮัมมัดอพยพจากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ หรือที่รู้จักกันว่า hijra, hijrah ในภาษาอังกฤษ ฮิจเราะห์ศักราชจะถูกระบุโดยใช้ตัวย่อ H หรือ AH อันเป็นตัวย่อของวลีภาษาละติน anno Hegirae (ในปีแห่งฮิจเราะห์) ปัจจุบันอยู่ในฮิจเราะห์ศักราช เนื่องจากปฏิทินฮิจเราะห์เป็นปฏิทินจันทรคติ จึงไม่เกิดขึ้นพร้อมกับฤดูกาล โดยในแต่ละปีมีวันคาดเคลื่อนไปจากปฏิทินเกรโกเรียนอยู่ 11 หรือ 12 วัน ทำให้ฤดูกาลจะกลับมาซ้ำเดิมทุก 33 ปีอิสลาม.

ใหม่!!: การทดปฏิทินและปฏิทินฮิจเราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจันทรคติไทย

ปฏิทินจันทรคติไทย (อังกฤษ: Thai lunar calendar) คือ ปฏิทินที่นับตามคติการโคจรของดวงจันทร์ โดยหมายดูจากปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม สำหรับปฏิทินจันทรคติ ของไทย จะมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้.

ใหม่!!: การทดปฏิทินและปฏิทินจันทรคติไทย · ดูเพิ่มเติม »

เชาวาล

วาล (شوال | Shawwal) เดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะฮฺ หรือปฏิทินอิสลาม.

ใหม่!!: การทดปฏิทินและเชาวาล · ดูเพิ่มเติม »

เราะมะฎอน

ี้ยวของรอมฎอน เราะมะฎอน (رمضان; Ramadan) หรือสะกด "รอมะฎอน" หรือ "รอมฎอน" คือเดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์ในศาสนาอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "เดือนบวช" และถือว่าเป็นเดือนที่สำคัญที่สุดเดือนหนึ่ง มุสลิมจะต้องอดอาหารเพื่อที่จะได้เข้าถึงอัลลอฮ์ และเพื่อให้มีความอดทน (ตบะ), การอุทิศส่วนกุศล ระลึกถึงภาวะขาดแคลนอาหาร และผู้ที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม เช่น คนยากจน เป็นต้น เดือนนี้ยังเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเป็นทางนำให้กับมนุษย์ มุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้ และโลกหน้าจะเป็นอย่างไร จะต้องปฏิบัติธรรมะเพื่อตนเองอย่างไรบ้าง กิจกรรมพิเศษของมุสลิมนิกายซุนนี คือการละหมาดตะรอเวียะฮ์ในยามค่ำของเดือนนี้ เมื่อสิ้นเดือนเราะมะฎอนแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เดือนเชาวาล เรียกว่า อีดุลฟิฏริ หรือ วันอีดเล็ก ในปี พ.ศ. 2549 เดือนเราะมะฎอน (ฮ.ศ. 1426) เริ่มเมื่อวันที่ 21 กันยายน (ซาอุดีอาระเบีย อ่าวเปอร์เซีย และบางส่วนของในตะวันออกกลาง) และวันที่ 24 กันยายน ในที่อื่น ๆ (รวมทั้งส่วนอื่น ๆ ของตะวันออกกลาง) โดยมีกำหนดถึงวันที่ 21 ตุลาคม.

ใหม่!!: การทดปฏิทินและเราะมะฎอน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »