โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)

ดัชนี การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)

ลจิตรกรรมภาพการตีกรุงโรม ใน ค.ศ. 410 (คริสต์ศตวรรษที่ 15) การตีกรุงโรมแตก (Sack of Rome) ในปี ค.ศ. 410 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม..

10 ความสัมพันธ์: ชาววิซิกอทพ.ศ. 953กอลราเวนนาอาลาริคที่ 1จักรพรรดิฮอโนริอุสจักรวรรดิโรมันนักบุญเจอโรมโรม24 สิงหาคม

ชาววิซิกอท

้นทางการอพยพของชาววิซิกอท วิซิกอท (Visigoths, Visigothi, Wisigothi, แปลว่า "กอทตะวันตก") เป็นหนึ่งในชาติพันธุ์สองสาขาหลักของชาวกอท ซึ่งเป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกกลุ่มหนึ่ง โดยอีกสาขาหนึ่งในกลุ่มนี้คือชาวออสโตรกอทหรือ "กอทตะวันออก" สันนิษฐานกันว่าชาวกอททั้งสองสาขานี้มีต้นกำเนิดอยู่แถบประเทศยูเครนในปัจจุบัน ชาววิซิกอทเป็นหนึ่งในอนารยชนกลุ่มชนเจอร์มานิคต่าง ๆ ที่เข้ามารุกรานจักรวรรดิโรมันตอนปลายในสมัยการอพยพ เนื่องจากประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้น ความขาดแคลนอาหาร ประกอบกับการถูกกดดันจากอนารยชนชาวฮัน ที่มาจากเอเชียกลาง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 410 กองทัพวิซิกอทที่นำโดยพระเจ้าอาลาริกที่ 1 ประสบความสำเร็จในการพิชิตกรุงโรม และหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นต้นมา ชาววิซิกอทก็มีบทบาทสำคัญในด้านต่าง ๆ ของภูมิภาคยุโรปตะวันตกอยู่เป็นเวลานานถึงสองศตวรรษครึ่ง.

ใหม่!!: การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)และชาววิซิกอท · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 953

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)และพ.ศ. 953 · ดูเพิ่มเติม »

กอล

แผนที่ของ กอล ราว 100 ปีก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นตำแหน่งสัมพันธ์กับเผ่าเคลติก กอล (Gaul) เป็นชื่อเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ ใช้ในยุคโรมันเพื่อเรียกขานดินแดนทางยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเทียบได้ประมาณบริเวณประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม และอาจรวมไปถึงหุบเขาโพ ในสวิตเซอร์แลนด์ตะวันตก บางส่วนของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ในภาษาอังกฤษ คำว่า กอล อาจหมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น (ภาษาฝรั่งเศสเรียก Gaulois) พลเมืองในอดีตสามารถพูดภาษากอล (Gaulish) ได้อย่างกว้างขวาง (เป็นภาษาที่พัฒนามาจากเคลติกยุคต้น) โดยแพร่หลายในดินแดนบริเตน ไอบีเรีย ไอร์แลนด์ ไปจนกระทั่งถึงอนาโทเลียกลางในยุคโรมัน คำในภาษาละตินของ กอล ยังคงมีใช้อยู่ในคำภาษากรีกยุคใหม่สำหรับใช้เรียกประเทศฝรั่งเศส คือ กัลเลีย (Gallia) กอลภายใต้การนำของ Brennus บุกยึดโรมันได้ในราวทศวรรษ 390 ก่อนคริสตกาล ในแดนอีเจี้ยน มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวกอลตะวันออก จากดินแดนเทรซ ทางตอนเหนือของกรีซ ในราวปี 281 ก่อนคริสตกาล ผู้นำของชาวกอลอีกคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Brennus เหมือนกัน เป็นผู้นำของกองทัพขนาดใหญ่ ได้หวนกลับจากการทำลายล้างวิหารอพอลโลในเมืองเดลฟีในกรีซในวินาทีสุดท้าย เล่ากันว่าเขาได้รับเตือนโดยเสียงฟ้าร้องและสายฟ้า ในเวลาเดียวกับที่ชาวเคลต์กำลังอพยพ นักรบกว่า 10,000 นาย พร้อมด้วยบรรดาผู้หญิง เด็ก และทาส ได้เดินทางผ่านดินแดนเทรซพอดี ชาวกอลสามกลุ่มใหญ่ได้เดินทางข้ามดินแดนเทรซไปยังเอเชียไมเนอร์ตามคำเชิญของ Nicomedes ที่ 1 กษัตริย์แห่ง Bithynia พระองค์ได้ส่งคำร้องขอความช่วยเหลือเพื่อสู้กับน้องชายของพระองค์เอง ในเวลาต่อมาชาวกอลก็ตั้งถิ่นฐานลงทางตะวันออกของ Phrygia และ Cappadocia ในแคว้นอนาโทเลียกลาง ดินแดนซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ กาลาเทีย (Galatia).

ใหม่!!: การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)และกอล · ดูเพิ่มเติม »

ราเวนนา

มเสกจักรพรรดิจัสติเนียนและข้าราชสำนักที่บาซิลิกาซานวิทาเล ที่ราเวนนา ราเวนนา (Ravenna) เป็นเมืองที่อยู่ในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา ประเทศอิตาลี ราเวนนาเคยเป็นเมืองหลักของจักรวรรดิโรมันตะวันตก และอาณาจักรออสโตรกอท (Ostrogoth Kingdom) ในเวลาต่อมา ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของจังหวัดราเวนนา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 652 ตารางกิโลเมตร ราเวนนาเป็นเมืองที่มีเนี้อที่ใหญ่เป็นที่สองของอิตาลีรองจากกรุงโรม.

ใหม่!!: การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)และราเวนนา · ดูเพิ่มเติม »

อาลาริคที่ 1

อาราริคที่ 1 (Alaric I, กอธ: Alarik, Alaricus) (ราว ค.ศ. 370 – ค.ศ. 410) เป็นพระมหากษัตริย์ของชนชนวิสิกอธผู้ครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 395 จนเสด็จสวรรคตเมื่อในปี ค.ศ. 410 อาราริคเป็นพระมหากษัตริย์เจอร์มานิคที่ยึดกรุงโรมได้ อาราริคต้องการที่จะนำชนวิซิกอธเข้าไปตั้งถิ่นฐานในจักรวรรดิโรมัน การยึดโรมได้ครั้งนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่นำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของจักรวรรดิโรมัน.

ใหม่!!: การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)และอาลาริคที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮอโนริอุส

ักรพรรดิฮอโนริอุส หรือ เฟลวิอัส ฮอโนริอุส (Honorius; ชื่อเต็ม: Flavius Honorius) (9 กันยายน ค.ศ. 384 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 423) ฮอโนริอุสเป็นจักรพรรดิราชวงศ์ธีโอโดเชียนแห่งจักรวรรดิโรมันผู้ครองราชย์ระหว่างวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 393 จนถึงปี ค.ศ. 395 และของจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่ปี ค.ศ. 395 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 423 จักรพรรดิฮอโนริอุสเป็นพระราชโอรสองค์รองของจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 กับพระมเหสีองค์แรกเอเลีย ฟลาซซิลลา และเป็นพระอนุชาของจักรพรรดิอาร์เคดิอัสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก จักรพรรดิฮอโนริอุสเป็นพระจักรพรรดิที่อ่อนแอ ราชบัลลังก์ของพระองค์ได้รับการปกป้องโดยจอมทัพเฟลวิอัส สติลิโคผู้เป็นผู้ปกครองฮอโนริอุสเมื่อยังทรงพระเยาว์ และพ่อตาเมื่อเจริญพระชนมายุขึ้น แม้ว่าจะมีเฟลวิอัส สติลิโคเป็นผู้พิทักษ์จักรวรรดิก็ยังอ่อนแอลงและหลังจากการประหารชีวิตชองสติลิโค จักรวรรดิก็อยู่ในสภาวะที่แทบจะล่ม.

ใหม่!!: การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)และจักรพรรดิฮอโนริอุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)และจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญเจอโรม

นักบุญเจอโรม หรือ นักบุญเยโรม (Jerome; Eusebius Sophronius Hieronymus; Ευσέβιος Σωφρόνιος Ιερώνυμος) เป็นบาทหลวงชาวโรมัน เกิดเมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)และนักบุญเจอโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)และโรม · ดูเพิ่มเติม »

24 สิงหาคม

วันที่ 24 สิงหาคม เป็นวันที่ 236 ของปี (วันที่ 237 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 129 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)และ24 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sack of Rome (410)การตีกรุงโรมแตกในปี ค.ศ. 410

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »