โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต

ดัชนี การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต

หลุมดำอินเทอร์เน็ต (ประเทศที่มีการตรวจพิจารณาอย่างหนัก) การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต หรือ การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต (Internet censorship) คือการควบคุมหรือปราบปรามว่าสิ่งใดสามารถเข้าถึง เผยแพร่ หรือรับชมได้บนอินเทอร์เน็ตโดยผู้กำกับดูแล ทั้งนี้ปัจเจกบุคคลหรือองค์กรต่าง ๆ ยังสามารถตรวจพิจารณา (เซ็นเซอร์) ตนเอง (Self-censorship) ได้ด้วยเช่นกัน จากเหตุผลด้านจริยธรรม ศาสนา หรือทางธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานทางสังคมและหลีกเลี่ยงการคุกคามข่มขู่ หรือเนื่องจากเกรงกลัวผลทางกฎหมายหรือผลกระทบอื่น ๆ ที่จะตามมาในภายหลัง สำหรับขอบเขตการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตนั้นจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศประชาธิปไตยส่วนมากมีการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก ในขณะที่บางประเทศตรวจพิจารณาถึงขั้นจำกัดข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เช่น ข่าวสาร หรือห้ามปรามการพูดคุยอภิปรายในหมู่ประชาชนของตน นอกจากนี้การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตยังมีไว้เพื่อตอบโต้เหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้วหรือกำลังจะเกิดขึ้นก็ได้ เช่น การเลือกตั้ง การประท้วงชุมนุม หรือการก่อจลาจล ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือปริมาณการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงเหตุการณ์อาหรับสปริง และยังมีเหตุผลอื่น ๆ สำหรับการตรวจพิจารณาอีก เช่น เหตุผลด้านลิขสิทธิ์ การหมิ่นประมาท การก่อกวน/ล่วงละเมิด หรือเพื่อปิดกั้นเนื้อหาลามกอนาจาร เป็นต้น เสียงสนับสนุนหรือคัดค้านการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตก็แตกต่างกันออกไป จากผลการสำรวจ อินเทอร์เน็ตโซไซตี ประจำปี..

7 ความสัมพันธ์: การตรวจพิจารณาอาหรับสปริงอินเทอร์เน็ตองค์กรนักข่าวไร้พรมแดนเสรีภาพในการพูดเดอะนิวยอร์กไทมส์เครือข่ายส่วนตัวเสมือน

การตรวจพิจารณา

การตรวจพิจารณา (censorship) คือ การระงับหรือทำลายซึ่งถ้อยคำหรือวัตถุแห่งการติดต่อสื่อสารอันได้รับการพิจารณาโดยผู้ตรวจแล้วว่า ผิดศีลธรรม ผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่พึงประสงค์ เป็นอันตรายต่อความมั่นคง เป็นหัวข้ออ่อนไหว หรือสร้างความลำบากให้แก่รัฐบาลหรือองค์การสื่อสาร.

ใหม่!!: การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและการตรวจพิจารณา · ดูเพิ่มเติม »

อาหรับสปริง

อาหรับสปริง (Arab Spring, الثورات العربية‎ al-Thawrāt al-ʻArabiyyah) เป็นคลื่นปฏิวัติการเดินขบวน การประท้วงและสงครามซึ่งเกิดขึ้นในโลกอาหรับตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2553 ตราบจนปัจจุบัน ผู้ปกครองถูกโค่นจากอำนาจในตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย และเยเมน การก่อการกำเริบพลเมืองอุบัติขึ้นในบาห์เรน และซีเรีย การประท้วงใหญ่เกิดขึ้นในอัลจีเรีย อิรัก จอร์แดน คูเวต โมร็อกโก และซูดาน และการประท้วงเล็กเกิดในเลบานอน มอริเตเนีย โอมาน ซาอุดิอาระเบีย จิบูตี และเวสเทิร์นสะฮารา การประท้วงมีเทคนิคการดื้อแพ่งร่วมกันในการรณรงค์ต่อเนื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับการนัดหยุดงาน การเดินขบวน การเดินแถว และการชุมนม เช่นเดียวกับการใช้โซเชียลมีเดียในการจัดระเบียบ สื่อสารและสร้างความตระหนักเมื่อเผชิญกับความพยายามของรัฐในการปราบปรามและตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต การเดินขบวนอาหรับสปริงหลายประเทศเผชิญกับการตอบสนองรุนแรงจากทางการ เช่นเดียวกับทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาลและการเดินขบวนโต้ตอบ การโจมตีเหล่านี้ได้รับการสนองจากผู้ประท้วงด้วยความรุนแรงในบางกรณี.

ใหม่!!: การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและอาหรับสปริง · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

ใหม่!!: การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน

องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน (ฝรั่งเศส: Reporters sans frontières, RSF; อังกฤษ: Reporters Without Borders, RWB) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรเอกชนนานาชาติซึ่งสนับสนุนและปกป้องเสรีภาพสื่อและเสรีภาพข้อมูลข่าวสาร องค์กรมีฐานดำเนินงานอยู่ที่ปารีส และมีสถานะที่ปรึกษาในสหประชาชาติ ก่อตั้งโดย โรแบร์ เมนาร์ องค์กรนักข่าวไร้พรมแดนมีสองกิจกรรมหลัก อย่างแรกคือการมุ่งด้านการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่ และอีกอย่างคือการจัดหาเครื่องมือ งบประมาน และความช่วยเหลือทางจิตใจแก่นักข่าวที่ถูกส่งไปในพื้นที่อันตราย, Reporters Without Borders, 16 April 2012, retrieved 21 March 2013 โดยมีพันธกิจดังนี้.

ใหม่!!: การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและองค์กรนักข่าวไร้พรมแดน · ดูเพิ่มเติม »

เสรีภาพในการพูด

รีภาพในการพูด (freedom of speech) หรือเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) เป็นสิทธิการเมืองในการสื่อสารความคิดของบุคคลผ่านการพูด คำวา เสรีภาพในการแสดงออก บางครั้งใช้เป็นคำไวพจน์ แต่ยังรวมไปถึงพฤติการณ์ใด ๆ ในการแสวงหา ทั้งด้วยการพูด การแสดงท่าทาง หรือการสื่อสารด้วยตัวหนังสือ ไม่ว่าจะบนหน้ากระดาษหรือในโลกออนไลน์ ตลอดจนในรูปแบบอื่นๆ เช่น เสียงเพลง ภาพถ่าย ภาพกราฟิกหรือภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงสิทธิในการค้นคว้า หา เข้าถึงหรือได้รับข้อมูล ความรู้สึกนึกคิด ความเห็นที่มีการสื่อสารและเผยแพร่และนำข้อสนเทศหรือความคิดโดยไม่คำนึงถึงสื่อที่ใช้ ในทางปฏิบัติ สิทธิในเสรีภาพการพูดมิได้มีสมบูรณ์ในทุกประเทศ และสิทธินี้โดยทั่วไปมักถูกจำกัด เช่นเดียวกับการหมิ่นประมาท การดูหมิ่นซึ่งหน้า ความลามก และการยุยงให้ก่ออาชญากรรม สิทธิในเสรีภาพการพูดได้รับการยอมรับเป็นสิทธิมนุษยชนภายใต้ข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และได้รับการยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 19 แห่งกติกาฯ บัญญัติว่า "ทุกคนจักมีสิทธิออกความเห็นโดยไม่ถูกแทรกแซง" และ "ทุกคนจักมีสิทธิในเสรีภาพการพูด สิทธินี้จักรวมไปถึงเสรีภาพในการแสวงหา ได้รับและส่งต่อข้อสนเทศและความคิดในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงขอบเขต ไม่ว่าจะโดยการพูด การเขียนหรือการพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือผ่านสื่ออื่นใดที่เป็นทางเลือกของเขา" หากข้อ 19 ยังบัญญัติต่อไปว่าการใช้สิทธิเหล่านี้มี "หน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษ" และอาจ "ดังนั้น ต้องถูกจำกัดบ้าง" เมื่อจำเป็น "เพื่อความเคารพถึงสิทธิหรือชื่อเสียงของคนอื่น" หรือ "เพื่อคุ้มครองความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรม" สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกถูกตีความรวมถึงสิทธิในการถ่ายรูปและเผยแพร่ภาพถ่ายบุคคลแปลกหน้าในพื้นที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการรับรู้จากพวกเขา อย่างไรก็ตามในคดีตามกฎหมายในประเทศเนเธอร์แลนด์สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกไม่รวมถึงสิทธิในการใช้รูปถ่ายในลักษณะเหยียดสีผิวเพื่อปลุกระดมความเกลียดชังทางเชื้อชาติหรือการเลือกปฏิบัติชาติพัน.

ใหม่!!: การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและเสรีภาพในการพูด · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เครือข่ายส่วนตัวเสมือน

ตัวอย่างการเชื่อมโยงเครือข่ายส่วนตัวเสมือน เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network: VPN) คือ เครือข่ายเสมือนที่ยอมให้กลุ่มของ site สามารถสื่อสารกันได้.

ใหม่!!: การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายส่วนตัวเสมือน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Internet Censorshipการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »