โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การตรวจการทำงานของตับ

ดัชนี การตรวจการทำงานของตับ

การตรวจการทำงานของตับ (Liver function tests (LFTs หรือ LFs)) คือ กลุ่มของการตรวจทางเคมีคลินิกในเลือดภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานะของตับของผู้ป่วย ค่าพารามิเตอร์ที่วัดรวมถึง PT / INR, aPTT, อัลบูมิน (albumin), บิลลิรูบิน (billirubin) และอื่น ๆ แต่บางการทดสอบ เช่น transaminases ของตับ (AST / ALT หรือ SGOT / SGPT) ไม่ถือว่าเป็นการทดสอบการทำงานของตับ แต่เป็น biomarkers สำหรับบ่งบอกการบาดเจ็บของตับในผู้ป่วยซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตับ โรคตับโดยส่วนใหญ่จะแสดงอาการเพียงเล็กน้อยในระยะเริ่มต้น แต่การตรวจพบโรคนี้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากนักเทคนิคการแพทย์จะเป็นผู้ตรวจวิเคราะห์จากพลาสมาหรือซีรัมของผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์โดยการเจาะเลือด บางการทดสอบจะเกี่ยวกับข้องกับการทำงานของตับ เช่น อัลบูมิน บางการทดสอบจะเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของเซลล์ เช่น transaminase และบางการทดสอบจะเชื่อมโยงกับระบบทางเดินน้ำดี เช่น Gamma - Glutamyl transferase และ alkaline phosphatase การทดสอบทางชีวเคมีต่างๆ มีประโยชน์ในการประเมินผลและการจัดการกับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ การทดสอบเหล่านี้สามารถนำไปใช้ (1) ตรวจสอบสถานะของโรคตับ, (2) แยกความแตกต่างระหว่างชนิดของความผิดปกติของตับ (3) วัดขอบเขตของความเสียหายของตับ และ (4) ติดตามการตอบสนองต่อการรักษ.

23 ความสัมพันธ์: บิลิรูบินพลาสมาพาราเซตามอลกระดูกกลูโคสการสร้างกลูโคสการเจาะหลอดเลือดดำรกระยะเวลาโปรทรอมบินวิตามินเคห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อัลคาไลน์ ฟอสฟาเตสดีซ่านครึ่งชีวิตตับตับอักเสบนักเทคนิคการแพทย์น้ำดีโรคตับแข็งเม็ดเลือดแดงเลือดเอนไซม์เฮโมโกลบิน

บิลิรูบิน

ลิรูบิน (bilirubin) หรือเดิมเคยถูกเรียกว่าฮีมาตอยดิน (hematoidin) เป็นสารสีเหลืองที่เป็นผลผลิตของการย่อยสลายฮีมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเฮโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง บิลิรูบินถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดีและปัสสาวะ การมีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงขึ้นอาจบ่งบอกถึงโรคบางอย่าง สารนี้เป็นสารที่ทำให้แผลฟกช้ำ ปัสสาวะ และผิวหนังของผู้ที่มีภาวะดีซ่านเป็นสีเหลือง นอกจากนี้ยังพบได้ในพืชด้ว.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและบิลิรูบิน · ดูเพิ่มเติม »

พลาสมา

ลาสมา คือ อะตอมของแก๊สมีตระกูล หรือ Noble Gases เช่น ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปตอน ซีนอน และเรดอน.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและพลาสมา · ดูเพิ่มเติม »

พาราเซตามอล

ราเซตามอล (Paracetamol (INN)) หรือ อะเซตามีโนเฟน (acetaminophen (USAN)) ทั้งหมดย่อมาจาก para-acetylaminophenol เป็นยาที่สามารถจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ (OTC) มีฤทธิ์แก้ปวดและลดไข้ ซึ่งเป็นยาพื้นฐานที่มักใช้เพื่อบรรเทาไข้ อาการปวดศีรษะ และอาการปวดเมื่อย และรักษาให้หายจากโรคหวัดและไข้หวัด พาราเซตามอลประกอบด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ (NSAIDs) และโอปิออยด์ พาราเซตามอลมักใช้รักษาอาการปวดพื้นฐานถึงการปวดอย่างซับซ้อน โดยทั่วไปพาราเซตามอลจะปลอดภัยต่อมนุษย์หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากได้รับปริมาณมากเกินไป (เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อโดส หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ หรือเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์) จะทำให้เกิดความเสียหายต่อการทำงานของตับได้ แต่ผู้ป่วยบางรายที่รับประทานในปริมาณปกติก็สามารถส่งผลต่อตับได้เช่นเดียวกับผู้ที่รับในปริมาณมากเกินไปเช่นกัน แต่หากกรณีดังกล่าวพบได้น้อยมาก อันตรายจากการใช้ยานี้จะมากขึ้นในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ พิษของพาราเซตามอลสามารถทำให้แกิดภาวะตับล้มเหลวซึ่งมีการพบแล้วในโลกตะวันตก อาทิในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลน.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและพาราเซตามอล · ดูเพิ่มเติม »

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กลูโคส

กลูโคส (อังกฤษ: Glucose; ย่อ: Glc) เป็นน้ำตาลประเภทโมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide) มีความสำคัญที่สุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตด้วยกัน เซลล์ของสิ่งมีชีวิติทุกชนิดใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน และสารเผาผลาญขั้นกลาง (metabolic intermediate) กลูโคสเป็นหนึ่งในผลผลิตหลักของการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) และเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการหายใจของเซลล์ (cellular respiration) โครงสร้างโมเลกุลตามธรรมชาติของมัน (D-glucose) จะอยู่ในรูปที่เรียกว่า เดกซ์โตรส (dextrose) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและกลูโคส · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างกลูโคส

การสร้างกลูโคส (gluconeogenesis, ย่อ: GNG) เป็นวิถีเมแทบอลิซึมที่เป็นการสร้างกลูโคสจากสารคาร์บอนที่มิใช่คาร์โบไฮเดรต เช่น แลกเตต กลีเซอรอล และกรดอะมิโนกลูโคจีนิก (glucogenic amino acid) การสร้างกลูโคสเป็นหนึ่งในสองกลไกหลักที่มนุษย์และสัตว์อื่นหลายชนิดใช้ควบคุมระดับกลูโคสในเลือดมิให้ต่ำเกินไป (hypoglycemia) อีกวิธีหนึ่ง คือ การสลายไกลโคเจน (glycogenolysis) การสร้างกลูโคสเป็นขบวนการที่พบทั่วไป ทั้งในพืช สัตว์ ฟังไจ แบคทีเรียและจุลินทรีย์อื่น ๆ ในสัตว์กินพืช การสร้างกลูโคสเกิดในตับเป็นหลัก และไตส่วนนอก (cortex) รองลงมา ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง การสร้างกลูโคสดูจะเป็นขบวนการที่เกิดต่อเนื่อง ในสัตว์อื่นหลายชนิด ขบวนการดังกล่าวเกิดในช่วงการอดอาหาร การอดอยาก การกินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ หรือการออกกำลังกายหักโหม ขบวนการดังกล่าวเป็นแบบดูดพลังงานอย่างมากกระทั่ง ATP หรือ GTP ถูกนำมาใช้ ทำให้ขบวนการดังกล่าวเป็นแบบคายพลังงาน ตัวอย่างเช่น วิถีซึ่งนำจากไพรูเวตเป็นกลูโคส-6-ฟอสเฟตอาศัย ATP 4 โมเลกุล และ GTP 2 โมเลกุล การสร้างกลูโคสมักเกี่ยวข้องกับคีโตซิส (ketosis) การสร้างกลูโคสยังเป็นเป้าหมายของการบำบัดเบาหวานชนิดที่ 2 เช่น เมทฟอร์มิน ซึ่งยับยั้งการสร้างกลูโคสและกระตุ้นให้เซลล์รับกลูโคสเข้าไป ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เพราะคาร์โบไฮเดรตจากอาหารที่เกิดเมแทบอลิซึมได้มีแนวโน้มจะเกิดเมแทบอลิซึมโดยอวัยวะรูเมน การสร้างกลูโคสจึงเกิดขึ้นได้แม้จะไม่อดอาหาร กินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ ออกกำลังกาย ฯลฯBeitz, D. C. 2004.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและการสร้างกลูโคส · ดูเพิ่มเติม »

การเจาะหลอดเลือดดำ

ลากรทางการแพทย์กำลังเจาะเลือดโดยใช้ระบบเก็บเลือดแบบสุญญากาศ ในรูปนี้เป็นอุปกรณ์เก็บเลือดแบบสุญญากาศชนิดใช้ซ้ำซึ่งปัจจุบันไม่มีที่ใช้แล้ว การเจาะหลอดเลือดดำ (venepuncture, venopuncture, venipuncture) เป็นหัตถการทางการแพทย์อย่างหนึ่งซึ่งทำเพื่อทำให้มีทางเชื่อมเข้าสู่หลอดเลือด โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การรักษาเข้าหลอดเลือด (intravenous therapy) หรือเก็บตัวอย่างเลือดดำ ผู้ทำหัตถการจะเป็นนักเทคนิคการแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ฉุกเฉิน (emergency medical technician) หน่วยกู้ชีพ (paramedic) นักเจาะเลือด (phlebotomist) และบุคลากรทางการพยาบาลอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเจาะเลือดที่หลอดเลือดดำ median cubital ที่ข้อพับแขน หลอดเลือดดำเส้นนี้อยู่ในตำแหน่งใกล้ผิวหนัง และไม่มีเส้นประสาทขนาดใหญ่อยู่คู่กัน.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและการเจาะหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

รก

ตำแหน่งของรกในครรภ์ รก คืออวัยวะพิเศษที่สร้างขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์ ทำหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกและกำจัดของเสีย ด้านหนึ่งของรกต่อกับเส้นเลือดที่สายสะดือของทารก อีกด้านของรกจะเกาะกับผนังมดลูก เลือดลูกกับแม่จะไม่ผสมกัน แต่มีการแลกเปลี่ยนสารต่าง ๆ ระหว่างกัน หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ หมวดหมู่:คัพภวิทยา หมวดหมู่:อวัยวะ.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและรก · ดูเพิ่มเติม »

ระยะเวลาโปรทรอมบิน

การตรวจระยะเวลาโปรทรอมบิน (prothrombin time, PT) และค่าวิเคราะห์ต่อยอดต่างๆ เช่น อัตราส่วนโปรทรอมบิน (prothrombin ratio, PR) และอัตราส่วนมาตรฐานกลางนานาชาติ (international normalized ratio) คือการตรวจการทำงานของ extrintic pathway ของการจับลิ่มของเลือด ใช้ตรวจดูว่าเลือดสามารถจับลิ่มได้ง่ายเพียงใด สามารถแปลผลไปถึงระดับยาวาร์ฟาริน (ยาต้านการจับลิ่มของเลือด) การทำงานองตับ ระดับวิตามินเค เป็นต้น.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและระยะเวลาโปรทรอมบิน · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินเค

วิตามิน K1 (phylloquinone). วิตามิน K2 (menaquinone) วิตามินเค เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน รูปแบบที่พบในธรรมชาติ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชและสัตว์ และ วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับ และยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย สำหรับวิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตั.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและวิตามินเค · ดูเพิ่มเติม »

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คือ ห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจสิ่งส่งตรวจ (Specimens) ของผู้เข้ามารับบริการตรวจทางสุขภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย สำหรับประเทศไทย ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ อาจจะมีชื่อเรียกได้หลายแบบ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาคลินิค และห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร เป็นต้น.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลคาไลน์ ฟอสฟาเตส

อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส (alkaline phosphatase, ALP) เป็นเอนไซม์ไฮโดรเลสที่ทำหน้าที่ย้ายหมู่ฟอสเฟตจากโมเลกุลหลายชนิด เช่นนิวคลีโอไทด์ โปรตีน และอัลคาลอยด์ กระบวนการดึงหมู่ฟอสเฟตออกเรียกว่า ดีฟอสโฟริเลชัน (dephosphorylation) ซึ่งจากชื่อก็แสดงให้เห็นว่าอัลคาไลน์ฟอสฟาเตสทำงานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เป็นเป็นเบส (alkaline) ค่า pH ที่เหมาะสมที่สุดของการทำงานของเอนไซม์นี้ใน E. coli อยู่ที่ 8.0 ในขณะที่เอนไซม์นี้ในวัวทำงานได้ดีที่ pH สูงกว่าคือ 8.5.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและอัลคาไลน์ ฟอสฟาเตส · ดูเพิ่มเติม »

ดีซ่าน

ีซ่าน (jaundice) เป็นภาวะซึ่งผิวหนัง เยื่อบุตาขาว และเยื่อบุต่างๆ มีสีเหลืองผิดปกติ จากภาวะมีบิลิรูบินเกินในเลือด ซึ่งทำให้มีเกิดภาวะมีบิลิรูบินในสารน้ำนอกเซลล์เกินด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วต้องมีระดับของบิลิรูบินในน้ำเลือดเกินว่า 1.5 mg/dLGuyton, Arthur, and John Hall, John. Textbook of Medical Physiology, Saunders, September 2005, ISBN 978-0-7216-0240-0 (26 µmol/L) หรือมากกว่าสามเท่าของค่าปกติคือ 0.5 mg/dL จึงจะสามารถเห็นความเหลืองของสีผิวได้ด้วยตาเปล่า ดีซ่านมักพบได้ในโรคตับต่างๆ เช่นตับอักเสบ ตับแข็ง มะเร็งตับ นอกจากนั้นยังอาจบ่งชี้ว่ามีการอุดกั้นทางเดินน้ำดี เช่น จากนิ่วทางเดินน้ำดี หรือมะเร็งตับอ่อน หรืออาจเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด ซึ่งพบได้ไม่บ่อ.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและดีซ่าน · ดูเพิ่มเติม »

ครึ่งชีวิต

ครึ่งชีวิต (t½) (Half-life) คือเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัวเหลือครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่เดิม มักถูกใช้เพื่ออธิบายคุณสมบัติของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี แต่อาจจะใช้เพื่ออธิบายปริมาณใด ๆ ก็ตามที่มีสลายตัวแบบเอ็กโพเนนเชียลด้วย จุดกำเนิดของคำศัพท์คำนี้ ได้ระบุไว้ว่าเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ดได้ค้นพบหลักการนี้ในปี 1907 และเรียกว่า "ช่วงเวลาครึ่งชีวิต" (half-life period) ต่อมาคำนี้ถูกย่อให้สั้นลงเหลือเป็น "ครึ่งชีวิต" (half-life) ในช่วงต้นทศวรรษปี 1950 หมวดหมู่:กัมมันตรังสี หมวดหมู่:นิวเคลียร์เคมี หมวดหมู่:ฟิสิกส์นิวเคลียร์ หมวดหมู่:การยกกำลัง.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและครึ่งชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ตับอักเสบ

ตับอักเสบ (Hepatitis) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีการอักเสบของตับและเกิดการทำลายของเซลล์ตับ ทำให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับผิดปกติ ร่างกายอาจแสดงอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการเลยแต่มักจะนำไปสู่อาการดีซ่าน (jaundice) (การเปลี่ยนเป็นสีเหลืองของผิวหนัง, เยื่อบุผิวในช่องจมูกและปากที่สร้างน้ำเมือกหล่อลื่น และเยื่อตา) อาการเบื่ออาหาร และอาการไข้ พบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ได้ในทุกวัย ทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่เป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลันถ้าเป็นโรคนี้น้อยกว่าหกเดือน ส่วนน้อยอาจเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังถ้าเป็นโรคนี้นานกว่านั้น ตับอักเสบเฉียบพลันสามารถจำกัดตนเองได้ (การรักษาของตัวเอง) สามารถพัฒนาไปสู่​​โรคตับอักเสบเรื้อรังหรืออาจทำให้เกิดตับวายเฉียบพลัน(แต่ค่อนข้างยาก) โรคตับอักเสบเรื้อรังอาจไม่มีอาการหรืออาจจะพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไปเป็นพังผืด (รอยแผลเป็นของตับ) และโรคตับแข็ง (ตับวายเรื้อรัง) โรคตับแข็งเพิ่มความเสี่ยงของการพัฒนาไปสู่โรค hepatocellular carcinoma (รูปแบบหนึ่งของโรคมะเร็งตับ) ทั่วโลกตับอักเสบที่มีเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการอักเสบของตับ สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ โรคแพ้ภูมิตัวเองและการบริโภคสารพิษ (แอลกอฮอล์), ยาบางชนิด (เช่นยาพาราเซตามอล), สารอินทรีย์ทำละลายสำหรับอุตสาหกรรมและพืชบางชนิด คำว่า Hepatitis มาจากภาษากรีก hepar (ἧπαρ) หมายถึง "ตับ" และคำต่อท้าย -itis (-ῖτις) หมายถึง "อักเสบ" (ราวปี 1727)แปลว่า ตับอัก.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและตับอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

นักเทคนิคการแพทย์

ทคนิคการแพทย์ (Medical technologist หรือ Medical laboratory technologist หรือ Medical Laboratory Scientist) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานด้านการตรวจทางเทคนิคการแพทย์ ภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ หรือ ห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร หรือ ณ ตำแหน่งดูแลและให้บริการทางการแพทย์ Point of care ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพท..

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและนักเทคนิคการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำดี

น้ำดี (bile or gall) เป็นของเหลวสีเหลืองหรือเขียว มีรสขม หลั่งออกมาจากเซลล์ตับ (hepatocyte) ที่อยู่ในตับของสัตว์มีกระดูกสันหลังเกือบทุกชนิด ในสัตว์หลายชนิด น้ำดีจะถูกเก็บไว้ที่ถุงน้ำดีในระหว่างมื้ออาหาร และเมื่อมีการรับประทานอาหารน้ำดีจะถูกปล่อยออกมาเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ที่ซึ่งน้ำดีจะไปทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกล.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและน้ำดี · ดูเพิ่มเติม »

โรคตับแข็ง

รคตับแข็ง เป็นภาวะซึ่งเป็นผลจากโรคตับเรื้อรัง มีลักษณะเฉพาะคือการมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ดึงรั้งเนื้อตับดีจนเป็นผิวตะปุ่มตะป่ำเรียกว่า regenerative nodule ทำให้ตับเสียการทำงานลงไป ตับแข็งมักเกิดขึ้นเป็นผลจากพิษสุราเรื้อรัง ตับอักเสบจากไวรัส (โดยเฉพาะจากไวรัสตับอักเสบบีและซี) และโรคตับคั่งไขมัน รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ภาวะแทรกซ้อนจากตับแข็งที่พบบ่อยคือภาวะท้องมาน ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการสูญเสียคุณภาพชีวิต เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และผลเสียในระยะยาว ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตคือโรคสมองที่เกิดจากตับ (hepatic encephalopathy) และการมีเลือดออกจากหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร (esophageal varices) ตับแข็งนั้นเมื่อเกิดแล้วมักไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ การรักษาจึงมักมุ่งไปที่การยับยั้งการดำเนินโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน หากเป็นมากอาจมีทางเลือกในการรักษาเพียงทางเดียวคือการผ่าตัดเปลี่ยนตั.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและโรคตับแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดแดง

ซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมนุษย์ เม็ดเลือดแดง (red blood cell, Erythrocyte: มาจากภาษากรีก โดย erythros แปลว่า "สีแดง" kytos แปลว่า "ส่วนเว้า" และ cyte แปลว่า "เซลล์") มีหน้าที่ในการส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เม็ดเลือดแดงมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน โดยในกระแสเลือดคนปกติจะพบเม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่ (Mature red cell) มีเพียงไม่เกิน 2% ที่สามารถพบเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte) ได้.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

เลือด

ม่ ไม่รู้.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮโมโกลบิน

ีโมโกลบินหรือเฮโมโกลบิน คือส่วนหนึ่งของระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญจะอยู่ในเม็ดเลือดแดงและช่วยนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย องค์ประกอบสำคัญของเฮโมโกลบินคือ ฮีม (Heme) ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ และทำหน้าที่จับและปล่อยออกซิเจน องค์ประกอบที่ 2 คือ สายโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนเส้นยาวขดพันกันอยู่ โดยแต่ละสาย มีฮีมติดอยู่ 1 อณู เฮโมโกลบิน 1 โมเลกุล จึงประกอบด้วยฮีม 4 อณู และสายโกลบิน 4.

ใหม่!!: การตรวจการทำงานของตับและเฮโมโกลบิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Liver function tests

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »