โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาแลมป์เพรย์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาแลมป์เพรย์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ vs. ปลาแลมป์เพรย์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ. ปลาแลมป์เพรย์ (Lamprey, Lamprey eel) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ปลาไม่มีขากรรไกร จัดอยู่ในอันดับ Petromyzontiformes และวงศ์ Petromyzontidae ปลาแลมป์เพรย์มีลำตัวยาวลักษณะคล้ายปลาไหล ลำตัวด้านหลังมักจะเป็นสีดำ มีครีบหลังและครีบหาง แต่ไม่มีครีบคู่ ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ค่อนลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะเป็นวงกลมใช้สำหรับดูด มีฟันแหลมคมจำนวนมากที่เจริญดีอยู่ในอุ้งปาก รูจมูกมี 1 รูซึ่งอยู่กึ่งกลางด้านบนของหัว มีตา 1 คู่ ถุงเหงือก 7 ถุง และมีช่องเหงือก 7 ช่อง หัวใจประกอบด้วยเวนตริเคิล 1 ห้อง และเอเตรียม 1 ห้อง โครงร่างเป็นกระดูกอ่อนและเส้นใย และยังคงมีโนโตคอร์ดอยู่ เส้นประสาทหลัง มีการพัฒนาเป็นสมองซึ่งมีเส้นประสาทสมอง 8-10 คู่ ทางเดินอาหารไม่มีกระเพาะอาหาร ส่วนลำไส้บิดเป็นเกลียว มีลักษณะเพศแยกออกเป็นเพศผู้และเพศเมียชัดเจน ปลาแลมป์เพรย์พบได้ทั้งลำธารในน้ำจืด และในทะเล พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก ทั้งยุโรปตอนบน, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, แอฟริกาตะวันตก, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ชิลี, ออสเตรเลีย และเกาะแทสมาเนีย ปลาแลมป์เพรย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 จำพวกใหญ่ ๆ คือ แบบธรรมดา จะอาศัยอยู่ตามลำธาร ช่วงชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นระยะตัวอ่อนที่กินอาหารแบบกรอง ตัวเต็มวัยมีชิวิตอยู่ 3-4 สัปดาห์ โดยไม่กินอาหารเนื่องจากทางเดินอาหารสลายตัว เหลือเพียงสายของเนื้อเยื้อที่ไม่มีหน้าที่การทำงานและจะตายไปหลังวางไข่ ปลาแลมป์เพรย์จำพวกนี้สามารถดำรงชีวิตได้เอง โดยการกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 15-60 เซนติเมตร จะมีการวางไข่ที่ลำธารน้ำจืดที่มีพื้นเป็นทรายและก้อนกรวดเล็ก ๆ ตามพื้นท้องน้ำและวางไข่ในฤดูตัวผู้จะเริ่มสร้างแอ่งวางไข่โดยใช้ปากคาบเอาหินและกรวดจากพื้นโดยการแกว่งลำตัวทำให้ก้อนกรวดกระจายออกไปเกิดเป็นแอ่งรูปไข่ ตัวเมียจะตามมาและเกาะกับหินเหนือแอ่ง ตัวผู้เกาะทางด้านหัวของตัวเมีย ตัวเมียปล่อยไข่ลงในแอ่ง ตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อออกผสม ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะยึดเกาะกับก้อนกรวดในแอ่ง แล้วกลบด้วยทราย ลักษณะพิเศษคือ หลังวางไข่แล้วทั้งตัวผู้และเมียก็จะตายไป จากนั้น ไข่จะฟักออกในเวลา 2 สัปดาห์ เป็นตัวอ่อนขนาดเล็กตัวยาว เรียกว่า แอมโมซีทิส (Ammocoetes) ซึ่งจะคงอยู่ในแอ่งจนตัวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก็จะฝังตัวเข้าไปในทรายแล้วออกมาหากินในเวลากลางคืน ระยะตัวอ่อนแอมโมซีทีสจะยาวนานประมาณ 3-7 ปี จึงจะเจริญเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งตัวเต็มวัยจะคงอยู่ในน้ำจืดอีกประมาณ 1 ปี แล้วก็วางไข่ จากนั้นก็จะตายไป ส่วนชนิดที่เป็นปลาทะเลก็จะอพยพคืนถิ่นสู่ทะเล มีอายุยืนยาวกว่าชนิดที่เป็นปลาน้ำจืด เมื่อเข้ามาวางไข่ในน้ำจืดจะไม่กินอาหาร และ ปลาแลมป์เพรย์ที่เป็นปรสิต จะมีปากคล้ายแว่นดูดและมีอุ้งปาก คล้ายถ้วยลึกลงไปในอุ้งปาก และลิ้นมีฟันที่เจริญดีอยู่ มันจะใช้ปากเกาะเหยื่อและใช้ฟันและลิ้นครูดเอาเนื้อออก และให้เลือดของเหยื่อไหลผ่านได้สะดวก ปลาแลมป์เพรย์จะสร้างสารป้องกันการตกตะกอนของเลือดส่งไปที่ปากแผล เมื่อดูดเลือดของเหยื่อจนตัวเหยื่อแห้งก็จะปล่อยแล้วหาเหยื่อใหม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาแลมป์เพรย์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาแลมป์เพรย์ มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์คาโรลัส ลินเนียส

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และสกุล (ชีววิทยา) · ปลาแลมป์เพรย์และสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และสัตว์ · ปลาแลมป์เพรย์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ปลาแลมป์เพรย์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และสปีชีส์ · ปลาแลมป์เพรย์และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และคาโรลัส ลินเนียส · คาโรลัส ลินเนียสและปลาแลมป์เพรย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาแลมป์เพรย์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ มี 56 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลาแลมป์เพรย์ มี 56 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 4.46% = 5 / (56 + 56)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาแลมป์เพรย์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »