โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การกล้ำสัญญาณ

ดัชนี การกล้ำสัญญาณ

การกล้ำสัญญาณ หรือ (Modulation) ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ โทรคมนาคม การ(ควบ)กล้ำสัญญาณเป็นกระบวนการของการปรับเปลี่ยนลักษณะสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างของรูปสัญญาณคลื่นพาห์(สัญญาณที่เป็นตัวขนส่งความถี่สูง)ด้วยสัญญาณข้อมูลที่จะถูกส่งผ่าน เช่น กระแสบิตดิจิตอล(digital bit stream)หรือสัญญาณเสียงอนาล็อก การกล้ำสัญญาณรูปคลื่นไซน์จะแปลงสัญญาณข้อความ baseband เป็นสัญญาณ passband โมดูเลเตอร์เป็นอุปกรณ์กล้ำสัญญาณ, demodulator(บางครั้งเรียกว่า demod) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตรงกันข้ามกับการกล้ำส้ญญาณ, โมเด็ม(จาก modulator-demodulator) สามารถทำงานได้ทั้งสองอย่าง จุดมุ่งหมายของการกล้ำสัญญาณดิจิตอลคือการโอนย้ายกระแสบิตดิจิตอลผ่านช่อง bandpass แอนะล็อก ตัวอย่างเช่นผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ (PSTN) (ที่ซึ่งตัวกรอง bandpass จะจำกัดช่วงความถี่ไว้ที่ 300-3400 Hz ซึ่งเป็นความถี่เสียงที่มนุษย์ได้ยิน)เช่นบริการ ADSL หรือ ผ่านทางแถบความถี่วิทยุที่มีอยู่อย่างจำกัด จุดมุ่งหมายของการกล้ำสัญญาณอะนาล็อกคือการโอนย้ายสัญญาณแอนะล็อก baseband (หรือ lowpass) เช่นสัญญาณเสียงหรือสัญญาณทีวี ผ่านช่องทาง bandpass แบบอะนาล็อกที่ความถี่ที่แตกต่างกันเช่นในช่วงแถบความถี่วิทยุที่จำกัดหรือช่องทางเครือข่ายเคเบิลทีวี การกล้ำสัญญาณแอนะล็อกและดิจิตอลช่วยอำนวยความสะดวกในการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่(Frequency Division Multiplex) หรือ FDM ที่หลายๆสัญญาณข้อมูลความถี่ต่ำที่ผ่านการกรองมาแล้วจะถูกโอนพร้อมกันผ่านทางสื่อทางกายภาพเดียวกันที่ใช้ร่วมกัน โดยการใช้ช่อง passband แยกจากกัน (หลายความถี่คลื่นพาหะที่แตกต่างกัน) จุดมุ่งหมายของวิธีการกล้ำสัญญาณดิจิทัล baseband หรือที่เรียกว่า line coding ก็เพื่อที่จะถ่ายโอนกระแสบิตดิจิตอลผ่านช่องทางเบสแบนด์ โดยทั่วไปก็คือลวดทองแดงที่ไม่กรอง เช่นบัสแบบอนุกรมหรือสายแลน จุดมุ่งหมายของวิธีกล้ำสัญญาณกระตุก()ก็เพื่อที่จะถ่ายโอนสัญญาณอนาล็อกแบนด์แคบ เช่น สัญญาณเสียงพูดโทรศัพท์ ผ่านช่องสัญญาณ baseband แถบกว้าง หรือในบางรูปแบบส่งผ่านเหมือนเป็นกระแสบิตผ่านระบบการส่งผ่านดิจิตอลอื่น ในตัวสังเคราะห์เพลง, การกล้ำสัญญาณอาจถูกใช้ในการสังเคราะห์รูปคลื่นต่างๆ ด้วยคลื่น ความถี่เสียงกว้างโดยการใช้ oscillator จำนวนน้อย ในกรณีนี้ความถี่คลื่นพาหะโดยทั่วไปจะ อยู่ในลำดับเดียวกันหรือต่ำกว่าสัญญาณที่มากล้ำมากๆ ดูตัวอย่าง frequency modulation synthesis หรือ ring modulation synthesis.

7 ความสัมพันธ์: บอด (หน่วยวัด)กระแสข้อมูลบิตการกล้ำรหัสของพัลส์การกล้ำแอมพลิจูดการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่แลนโมเด็ม

บอด (หน่วยวัด)

บอด (baud) เป็นหน่วยวัดอัตราการรับส่งข้อมูลในด้านโทรคมนาคมและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยวัดนี้ได้ถูกตั้งชื่อตามวิศวกรฝรั่งเศส Émile Baudot ผู้สร้างรหัส Baudot code ที่ใช้ในการส่งโทรเลข Baud (บางครั้งเรียกว่า baud rate หรือ modulation rate) มีความหมายตรงกับคำว่า "สัญลักษณ์ต่อวินาที" กล่าวคือ จำนวนของสัญลักษณ์ (symbol) ที่เปลี่ยนแปลงไปภายในช่วงเวลาหนึ่งวินาที โดยวัดจากสื่อกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูล (transmission medium) โดยทั่วไป Baud จะมีค่าแตกต่างจาก Bit rate ที่วัดจำนวนบิตข้อมูลต่อวินาที ทั้งนี้ เนื่องจากหนึ่งสัญลักษณ์อาจมาจากหลายบิตข้อมูลประกอบกัน หมวดหมู่:การส่งผ่านข้อมูล หมวดหมู่:หน่วยวัด หมวดหมู่:การส่งข้อมูล.

ใหม่!!: การกล้ำสัญญาณและบอด (หน่วยวัด) · ดูเพิ่มเติม »

กระแสข้อมูลบิต

กระแสข้อมูลบิต (bit stream, bitstream) คือข้อมูลบิตจำนวนหนึ่งที่ส่งผ่านไปตามอนุกรมเวลาหรือตามลำดับ มีการใช้งานอย่างกว้างขวางในทางโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ เช่นลำดับชั้นดิจิทัลแบบประสานเวลา (Synchronous Digital Hierarchy: SDH) จะส่งข้อมูลบิตโดยประสานเวลาให้พร้อมกัน นอกจากนี้กระแสข้อมูลไบต์ คือกระแสข้อมูลบิตที่ถูกจัดกลุ่มให้เป็นไบต์ ซึ่งโดยปกติคือ 8 บิต อาจจัดได้ว่าเป็นกรณีพิเศษของกระแสข้อมูลบิต เมื่อกระแสข้อมูลบิตถูกบันทึกลงบนสื่อสำรองข้อมูลของคอมพิวเตอร์ กระแสข้อมูลบิตจะกลายเป็นไฟล.

ใหม่!!: การกล้ำสัญญาณและกระแสข้อมูลบิต · ดูเพิ่มเติม »

การกล้ำรหัสของพัลส์

การกล้ำรหัสของพัลส์ (Pulse Code Modulation) เป็นเทคนิคที่มีการใช้งานในระบบโทรศัพท์พื้นฐานในปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของการเข้ารหัสแบบนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การแซมปลิง (sampling) การทำควอนไทซ์ (quantization) และการเข้ารหัสไบนารี (binary encoding) การแซมปลิง สัญญาณเสียงซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณแอนาล็อกจะถูกสุ่มค่าอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอด้วยอัตราคงที่ค่าหนี่ง ซึ่งตามทฤษฎีบทของไนควิสต์ (Nyquist's theorem) แล้วจะต้องทำการสุ่มด้วยอัตราที่มีค่าอย่างน้อยเป็น 2 เท่าของความถี่สูงสุดของสัญญาณเสียงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา aliasing เนื่องจากสัญญาณ เสียงมีองค์ประกอบความถี่อยู่ระหว่าง 300-3400Hz ฉะนั้นอัตราการสุ่มมาตรฐานที่เลือกใช้กันทั่วไปมีค่าเท่ากับ 8000Hz ให้สังเกตว่าขั้นตอนการแซมปลิง เปรียบเสมือนการแปลงสัญญาณที่มีค่าต่อเนื่องทางเวลาไปเป็นสัญญาณที่มีลักษณะเป็นดิสครีตทางเวลา การทำควาอนไทเซชัน เป็นการนำค่าแอมพลิจูดของสัญญาณที่สุ่มได้ในแต่ละเวลามาแปลงให้เป็นค่าดิสครีต กล่าวคือ จะมีการแบ่งระดับแอมพลีจูดของสัญญาณออกเป็นช่วงเล็ก ๆ ขนาดเท่ากัน โดยช่วงของระดับสัญญาณที่กำหนดขึ้นจะต้องครอบคลุมขนาดแอมพลิจูดของสัญญาณที่เป็นไปได้ทั้งหมด การเข้ารหัสไบนารี ซึ่งมีหน้าที่ในการแทนช่วงระดับการควอนไทซ์ของสัญญาณแต่ละช่วงด้วยชุดบิตไบนารี ทั้งนี้เพื่อแทนค่าของสัญญาณที่มีแอมพลิจูดตกอยู่ภายในช่วงระดับ สัญญาณแต่ละช่วงหรือค่าของสัญญาณที่ผ่านการควอนไทซ์แล้วด้วยชุดตัวเลขไบนารี.

ใหม่!!: การกล้ำสัญญาณและการกล้ำรหัสของพัลส์ · ดูเพิ่มเติม »

การกล้ำแอมพลิจูด

การกล้ำแอมพลิจูด (amplitude modulation, AM) เป็นเทคนิคการกล้ำที่ใช้ในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้มากที่สุดในการส่งผ่านสารสนเทศโดยทางคลื่นพาห์วิทยุ (radio carrier wave) ในแอมพิลจูดมอดูเลชัน แอมพลิจูด (ความเข้มสัญญาณ) ของคลื่นพาห์แปรผันเป็นสัดส่วนกับรูปคลื่นที่ส่งผ่าน ตัวอย่างเช่น รูปคลื่นสอดคล้องกับเสียงที่ผลิตซ้ำโดยลำโพง หรือความเข้มแสงของพิกเซลโทรทัศน์ เทคนิคนี้ตรงข้ามกับการกล้ำความถี่ (frequency modulation) ซึ่งความถี่ของสัญญาณพาห์แรผัน และการกล้ำเฟส ซึ่งเฟสแปรผัน หมวดหมู่:วิธีการกล้ำวิทยุ.

ใหม่!!: การกล้ำสัญญาณและการกล้ำแอมพลิจูด · ดูเพิ่มเติม »

การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่

การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ (Frequency-division multiplexing: FDM) คือ การส่งสัญญาณจากผู้ส่งหรือสถานีส่งจำนวนหลายๆ สถานีไปในช่องสัญญาณเดียวกัน ด้วยการใช้เทคนิคแบบอะนาล็อกที่เกี่ยวกับช่องสัญญาณของสื่อนำสัญญาณ โดยสัญญาณต่างๆ จะสร้างขึ้นด้วยการมอดูเลตกับพาหะที่มีความถี่ต่างกัน กล่าวคือ เป็นการแบ่งความถี่ของช่องสัญญาณของสื่อนำสัญญาณออกเป็นช่องสัญญาณหรือช่องความถี่ย่อยๆ (Sub Channel) สำหรับนำข้อมูลของแต่ละสถานีส่ง ซึ่งแต่ละสถานีส่งจะส่งข้อมูลภายในช่องสัญญาณหรือความถี่ที่ได้รับเท่านั้น และระหว่างช่องความถี่จะมีการ์ดแบนด์ (Guard Band) เพื่อป้องกันไม่แต่ละช่องความถี่เกิดการแทรกแซงสัญญาณระหว่างกัน ตัวอย่างของการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ เช่น การส่งสัญญาณคลื่นวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรศัพท์เซลลูลาร์แบบอนาล็อก และเพจเจอร์ บริเวณสถานีส่งจะมีอุปกรณ์มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) ซึ่งทำหน้าที่ในการรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีส่งแต่ละสถานี และส่งสัญญาณไปยังย่านความถี่ของสถานีต่างๆ ผ่านสายส่งเพื่อไปยังสถานีปลายทาง ในขณะที่สถานีปลายทางจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าดีมัลติเพล็กเซอร์ (Demultiplexer) ซึ่งจะทำการแยกสัญญาณคืนกลับตามย่านความถี่ให้สอดคลองกับสถานีต้นทาง สำหรับตัวกลางหรือช่องทางที่ใช้สื่อสารร่วมกัน (Shared Channel) นั้นสามารถเป็นได้ทั้งสายเคเบิลชนิดต่าง รวมถึงคลื่นวิทยุไมโครเวฟ.

ใหม่!!: การกล้ำสัญญาณและการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ · ดูเพิ่มเติม »

แลน

แลน (Local Area Network หรือ LAN) หรือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 3 รูปแบบการเชื่อมโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้หรือ แลน (LAN) การเชื่อมโยงเครือข่ายระดับเมืองหรือแมน (MAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN) โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ คือ.

ใหม่!!: การกล้ำสัญญาณและแลน · ดูเพิ่มเติม »

โมเด็ม

มเด็ม (modem ย่อมาจากคำว่า modulate and demodulate) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กล้ำสัญญาณ หรือปรับเปลี่ยนลักษณะสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างของรูปสัญญาณคลื่นพาห์(สัญญาณที่เป็นตัวขนส่งความถี่สูง)ด้วยสัญญาณข้อมูลที่จะถูกส่งผ่าน เช่น กระแสบิตดิจิตอล(อังกฤษ: digital bit stream)หรือสัญญาณเสียงอนาล็อก การกล้ำสัญญาณรูปคลื่นไซน์จะแปลงสัญญาณข้อความ baseband เป็นสัญญาณ passband และแปลงกลับในทิศทางตรงข้าม จุดประสงค์ของโมเด็มคือการสร้างสัญญาณที่ง่ายต่อการส่งข้อมูล และง่ายต่อการประมวลผล อุปกรณ์หลายชนิดสามารถถือว่าเป็นโมเด็มได้ แต่โมเด็มประเภทที่แพร่หลายที่สุดคือโมเด็มที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัลและสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ซึ่งใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่นเปลี่ยนสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายให้เป็นสัญญาณเสียงที่ส่งผ่านในสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม และทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงกลับมาเป็นข้อมูลดิจิทัลในอีกด้านหนึ่งของผู้รับสัญญาณลูกข่ายหรือส่งจากลูกข่ายกลับไปยังแม่ข่าย ปัจจุบันมีโมเด็มชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น เคเบิลโมเด็ม, ADSL โมเด็ม, โมเด็มที่ใช้รับสัญญาณไมโครเวฟ เป็นต้น.

ใหม่!!: การกล้ำสัญญาณและโมเด็ม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กล้ำสัญญาณ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »