โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การกระจัด (เวกเตอร์)

ดัชนี การกระจัด (เวกเตอร์)

การกระจัด (สีเขียว) เทียบกับระยะทาง (สีม่วง) ของการเดินบนเส้นทาง การกระจัด หรือ การขจัด (Displacement) คือ การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุ จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ชนิดหนึ่ง ระยะทางที่สั้นที่สุดก็คือความยาวของเส้นตรงสมมติที่ลากจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุด ดังนั้นมันจึงอาจแตกต่างจากเส้นทางเดินปกติก็ได้ เวกเตอร์การกระจัด ก็คือความยาวและทิศทางของเส้นตรงสมมติดังกล่าว เวกเตอร์ตำแหน่งเป็นตัวบ่งชี้ตำแหน่งของจุด P ในปริภูมิ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกระจัดจากจุดอ้างอิง O (โดยทั่วไปจะเป็นจุดกำเนิดของระบบพิกัด) เวกเตอร์ตำแหน่งแสดงให้เห็นว่า ถ้าเคลื่อนที่ไปในแนวเส้นตรงโดยเริ่มจากจุด O ด้วยระยะทางและทิศทางนั้น ก็จะพบกับจุด P ที่ปลายทาง การกระจัดอาจถูกเรียกว่าเป็น เวกเตอร์ตำแหน่งสัมพัทธ์ กล่าวคือ เมื่อเวกเตอร์ตำแหน่งสิ้นสุด Rf สัมพันธ์กับเวกเตอร์ตำแหน่งเริ่มต้น Ri เวกเตอร์การกระจัดสามารถนิยามขึ้นได้จากผลต่างระหว่างเวกเตอร์สิ้นสุดกับเวกเตอร์เริ่มต้น ดังนี้ (สัญกรณ์ตัวหนาหมายถึงเวกเตอร์).

3 ความสัมพันธ์: ระบบพิกัดจุดกำเนิดความยาว

ระบบพิกัด

ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนสองมิติ ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนสามมิติ พิกัด หมายถึง ค่าของตัวเลขที่ใช้อธิบายตำแหน่งของจุดบนระนาบหรือปริภูมิ ตัวอย่างเช่น ระดับความสูงจากน้ำทะเลก็เป็นพิกัดอย่างหนึ่งที่อธิบายตำแหน่งของจุดเหนือระดับพื้นผิวโลก ส่วนระบบพิกัดคือวิธีการอย่างเป็นระบบที่มีการให้ค่าคู่อันดับหรือสามสิ่งอันดับแทนตำแหน่งของแต่ละจุดบนระนาบหรือปริภูมิ ซึ่งคู่อันดับหรือสามสิ่งอันดับหนึ่งชุดจะหมายถึงตำแหน่งเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น ดังตัวอย่าง สามสิ่งอันดับที่ประกอบด้วย ละติจูด ลองจิจูด และอัลติจูด (ระดับความสูง) เป็นระบบพิกัดที่ใช้ระบุตำแหน่งของจุดเหนือพื้นผิวโลก พิกัดอาจนิยามได้ในบริบททั่วไป เช่น ถ้าหากเราไม่สนใจความสูง ดังนั้นละติจูดและลองจิจูดจึงสามารถเป็นระบบพิกัดเหนือพื้นผิวโลกก็ได้ โดยสมมติให้โลกมีรูปร่างใกล้เคียงทรงกลม พิกัดเช่นนี้เป็นสิ่งสำคัญในดาราศาสตร์ ซึ่งใช้สำหรับอธิบายตำแหน่งของเทหวัตถุบนท้องฟ้าโดยไม่สนใจระยะทาง (ดูเพิ่มที่ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า) อย่างไรก็ตาม บทความนี้จะมุ่งประเด็นไปที่ระบบพิกัดบนระนาบและปริภูมิสามมิติเท่านั้น เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในขอบเขตของคณิตศาสตร์มูลฐาน.

ใหม่!!: การกระจัด (เวกเตอร์)และระบบพิกัด · ดูเพิ่มเติม »

จุดกำเนิด

จุดกำเนิดในระบบพิกัดคาร์ทีเซียน จุดกำเนิด ในทางคณิตศาสตร์ ปริภูมิแบบยุคลิด คือจุดจุดหนึ่งที่ใช้เป็นตำแหน่งยึดเหนี่ยวสำหรับการอ้างอิงทางเรขาคณิตของปริภูมิที่อยู่รอบๆ เขียนแทนด้วยอักษร O ในระบบพิกัดคาร์ทีเซียน จุดกำเนิดคือจุดที่เส้นแกนของระบบตัดกัน ส่วนในเรขาคณิตแบบยุคลิด จุดกำเนิดสามารถเป็นจุดอ้างอิงใดๆ ก็ได้ตามต้องการ ในระบบพิกัดธรรมดาทั่วไปที่เป็นระบบสองมิติ (อยู่ในระนาบ) และสามมิติ (อยู่ในปริภูมิ) มีเส้นแกนที่ตั้งฉากกันสองแกนและสามแกนตามลำดับ จุดกำเนิดจะเป็นตัวแบ่งเส้นแกนออกเป็นสองส่วน คือครึ่งด้านบวกกับครึ่งด้านลบ ดังนั้นจุดกำเนิดจึงมีค่าเป็นศูนย์เสมอ นั่นคือ ในสองมิติอยู่ที่ (0, 0) และสามมิติอยู่ที่ (0, 0, 0) เราสามารถบอกตำแหน่งจุดต่างๆ โดยใช้ระยะอ้างอิงจากจุดกำเนิดเป็นพิกัดตัวเลข จุดกำเนิดของระนาบเชิงซ้อนอาจเรียกได้ว่า เป็นจุดที่แกนจริงและแกนจินตภาพมาตัดกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นจุดสำหรับแสดงจำนวนเชิงซ้อน 0 + 0i หมวดหมู่:เรขาคณิตมูลฐาน หมวดหมู่:คณิตศาสตร์มูลฐาน.

ใหม่!!: การกระจัด (เวกเตอร์)และจุดกำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

ความยาว

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปหนึ่ง แสดงความกว้าง ความยาว และความสูง ความยาว คือ ปริมาณของรูปหนึ่งมิติ หรือ มิติตามแนวยาวของวัตถุใด ๆ ความยาวของของสิ่งหนึ่งคือระยะทาง (หรือการกระจัด) จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุด ซึ่งเป็นการขยายเชิงเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ความยาวอาจมีความหมายแยกออกจากความสูง ซึ่งเป็นการขยายตามแนวดิ่ง และความกว้าง ซึ่งเป็นระยะทางจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เช่นวัดจากมุมข้างซ้ายไปยังมุมข้างขวาผ่านวัตถุเป็นต้น ในทางวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรม คำว่า ความยาว นี้มีความหมายเหมือนกับ ระยะทาง และย่อด้วยอักษร l หรือ L (แอล) หรือสัญลักษณ์คล้ายแอล ความยาวเป็นการวัดในหนึ่งมิติ ในขณะที่พื้นที่เป็นการวัดในสองมิติ และปริมาตรเป็นการวัดในสามมิติ ในระบบการวัดส่วนใหญ่ หน่วยความยาวเป็นหน่วยวัดพื้นฐานสำหรับการนิยามหน่วยวัดอื่น.

ใหม่!!: การกระจัด (เวกเตอร์)และความยาว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การกระจัดระยะกระจัด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »