โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กัวลาลัมเปอร์

ดัชนี กัวลาลัมเปอร์

กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur, อักษรยาวี: كوالا لومڤور, ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์) เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามดินแดนสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐเซอลาโงร์บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมลายู ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปูตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร.

28 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2402พ.ศ. 2515พ.ศ. 2517พ.ศ. 2558การไม่มีศาสนาภาษามลายูมาเลเซียตะวันตกรัฐเซอลาโงร์รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียศาสนาพุทธศาสนาอิสลามศาสนาฮินดูหอคอยกัวลาลัมเปอร์อักษรยาวีถนนเปอตาลิงดัชนีการพัฒนามนุษย์ดินแดนสหพันธ์ (มาเลเซีย)คริสต์คาบสมุทรมลายูประเทศมาเลเซียปูตราจายานายกเทศมนตรีไทเป 101เมืองหลวงเต๋าเปโตรนาสทาวเวอร์ISO 3166-21 กุมภาพันธ์

พ.ศ. 2402

ทธศักราช 2402 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1859.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และพ.ศ. 2402 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2515

ทธศักราช 2515 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1972 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และพ.ศ. 2515 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2517

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และพ.ศ. 2517 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2558

ทธศักราช 2558 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2015 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2015 ตามกำหนดสากลศักร.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และพ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

การไม่มีศาสนา

การแบ่งประเทศตามร้อยละของการให้ความสำคัญแก่ศาสนา ตามผลสำรวจของสำนักวิจัยพิว ใน พ.ศ. 2545 การไม่มีศาสนา (Irreligion หรือ No religion) หมายความว่า ภาวะที่ไม่นับถือศาสนา ไม่แบ่งแยกศาสนา หรือเป็นปรปักษ์ต่อศาสนา ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสนา ว่ากันตามแต่ละนิยามหรือความเข้าใจของบุคคล การไม่มีศาสนาอาจเข้าใจได้ว่าหมายถึง อเทวนิยม (atheism), อไญยนิยม (agnosticism), ศาสนวิมตินิยม (religious skepticism) หรือ มนุษยนิยมแบบฆราวาส (secular humanism) เป็นต้น สำหรับในบางสังคมอาจไม่ยอมรับการไม่มีศาสนา หรืออาจมีอคติต่อผู้ที่ไม่มีศาสนา เช่นการเหมารวมว่าคนที่ไม่มีศาสนาทั้งหมดคือคนที่ชั่วร้าย เป็นต้น บ่อยครั้งที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าผู้ก่อเหตุอาชญากรรมหรือผู้ก่อการร้ายเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา แม้ว่าผู้ก่อเหตุจะแสดงตัวว่ามีศาสนาก็ตาม ผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจเข้าใจการไม่มีศาสนาเท่า ๆ กับศาสนิกชน เช่น ผู้นับถือลัทธิมนุษยนิยมมีความเชื่ออย่างลึกซึ้งยิ่งในวัตรปฏิบัติของตนเองพอ ๆ กับความลึกซึ้งของความเชื่อที่ศาสนิกชนมีต่อศาสนาของตน เป็นต้น ถึงแม้ว่าคนที่ระบุว่าตนเองเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนาจะมิได้รับนับถือศาสนาใด ๆ แต่ผู้ที่ไม่มีศาสนาบางกลุ่มยังคงเชื่อถือในเทวะหรือผีสางนางไม้เป็นต้น เช่น คนที่นับถือผีหรือเชื่อโชคลาง แต่ไม่ได้ประกอบพิธีกรรมใด ๆ หรือไม่ได้เป็นศาสนิก เป็นต้น พึงทราบว่า ในบางประเทศ เช่น ซาอุดีอาระเบีย บังคับให้พลเมืองต้องเป็นศาสนิกชน หรือประเทศไทย ผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจถูกระบุโดยบุคคลอื่นว่าเป็นพุทธศาสนิกชน หรือในบางสังคมที่ไม่ยอมรับการไม่มีศาสนาอาจมีผู้ที่ไม่เปิดเผยว่าตนเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนาในการสำรวจข้อมูลหรือการทำสำมะโนประชากร ดังนั้น จำนวนของผู้ที่ไม่มีศาสนาในโลกนี้จึงยังไม่อาจระบุให้เป็นที่แน่นอนได้ แต่คาดว่าอาจมีมากกว่า 900 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และการไม่มีศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

มาเลเซียตะวันตก

มาเลเซียตะวันตก (Semenanjung Malaysia) เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูโดยมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยทางเหนือ และติดต่อกับสิงคโปร์ทางใต้โดยมีช่องแคบยะโฮร์กั้นอยู่ ทางตะวันตกจรดกับช่องแคบมะละกาและทางตะวันออกจรดกับทะเลจีนใต้ มาเลเซียตะวันตกยังเป็นดินแดนส่วนแรกที่รวมตัวกันเป็นสหภาพมาลายา ก่อนที่มาเลเซียตะวันออกและสิงคโปร์จะเข้าร่วมและกลายเป็นสหพันธรัฐมาลายาในเวลาต่อมา (และภายหลังสิงคโปร์ก็แยกดินแดนออกไปตั้งรัฐของตนเอง).

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และมาเลเซียตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเซอลาโงร์

ซอลาโงร์ (Selangor, อักษรยาวี: سلانڠور) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของคาบสมุทรมลายู และล้อมรอบกัวลาลัมเปอร์ไว้ทั้งหมด อาณาเขตของรัฐเซอลาโงร์ ทิศเหนือติดรัฐเปรัก ทิศตะวันออกติดรัฐปะหัง ทิศตะวันตกติดช่องแคบมะละกา ทิศใต้ติดรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน เมืองหลวงของเซอลาโงร์ชื่อ ชะฮ์อาลัม เมืองเจ้าผู้ครองชื่อ กลัง เป็นรัฐทีใหญ่อันดับ 9 ของมาเลเซีย อีกเมืองหนึ่งที่สำคัญของเซอลาโงร์คือเปอตาลิงจายา ซึ่งได้รับเป็นสถานะเป็นเมืองดีเด่นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2006.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และรัฐเซอลาโงร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซีย

ังดีเปอร์ตวนอากง (Yang di-Pertuan Agong, يڠ د-ڤرتوان اڬوڠ; ยังดีเปร์ตูวันอากง) ในภาษามลายู หมายถึง ผู้ปกครองสูงสุด เป็นตำแหน่งอย่างเป็นทางการของประมุขแห่งรัฐของมาเลเซีย เปรียบเทียบได้กับพระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมาจากเจ้าผู้ครองรัฐทั้ง 9 รัฐในมาเลเซียตะวันตก จากทั้งหมด 13 รัฐของมาเลเซีย ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และหมุนเวียนกันไปตามลำดับ พระอัครมเหสีในยังดีเปอร์ตวนอากง มีตำแหน่งเรียกว่า รายา ประไหมสุหรี อากง (Raja Permaisuri Agong, راج ڤرماءيسوري اڬوڠ; ราจาเปร์ไมซูรีอากง).

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และรายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

หอคอยกัวลาลัมเปอร์

หอคอยกัวลาลัมเปอร์ (Menara Kuala Lumpur) หรือ หอคอยเคแอล คือ หอคอยสูงที่ตั้งอยู่ในกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 13 กันยายน..

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และหอคอยกัวลาลัมเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรยาวี

ตัวอย่างอักษรยาวี อักษรยาวี (حروف جاوي) เป็นอักษรอาหรับดัดแปลงสำหรับเขียนภาษามลายู ภาษาอาเจะฮ์ ภาษาบันจาร์ ภาษามีนังกาเบา ภาษาเตาซูก และภาษาอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นักปราชญ์คนหนึ่งของปัตตานี ชื่อ ชัยค์ อะห์มัด อัลฟะฏอนี (Syeikh Ahmad al-Fathani) ได้วางกฎเกณฑ์การใช้อักษรยาวีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนภาษามลายูในท้องถิ่นนี้ ในอดีต โลกมลายูใช้อักษรยาวีมาช้านาน ก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้อักษรรูมี ปัจจุบันชาวมุสลิมในประเทศไทยที่พูดภาษามลายู นิยมใช้อักษรยาวีบันทึกเรื่องราวในศาสนา และการสื่อสารต่าง ๆ ส่วนนักเรียนในโรงเรียนปอเนาะ หรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จะเริ่มเรียนอักษรยาวีสำหรับอ่านเขียนภาษาอาหรับ (ภาษาในคัมภีร์อัลกุรอาน) ตั้งแต่ยังเยาว์ อักษรยาวียังคงใช้กันอยู่บ้างในมาเลเซีย บรูไน และสุมาตรา คำว่า ยาวี นั้นมาจากคำว่า jawa หมายถึง ชวา นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะชาวชวาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในมะละกาและปัตตานี ได้นำอักษรอาหรับดัดแปลงมาเผยแพร่ และในที่สุดได้รับมาใช้ในชุมชนที่พูดภาษามลายูปัตตานีมาช้านาน เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังมีความสับสนในการเรียกชื่ออักษรยาวี และภาษามลายูว่า "ภาษายาวี" แม้กระทั่งในหมู่ผู้พูดภาษามลายู ทว่าความจริงแล้วไม่มีภาษายาวี มีแต่อักษรยาวีกับภาษามลายู.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และอักษรยาวี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเปอตาลิง

ป้ายถนนเปอตาลิง ถนนเปอตาลิง (Jalan Petaling) คือย่านชาวจีนตั้งอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นที่รู้จักในเรื่องการขายเสื้อผ้าละเมิดลิขสิทธิ์ ของชำร่วย ทั้งดีวีดี ซีดีเถื่อน เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่คนมาเลเซียเองและชาวต่างชาติ นอกจากนั้นยังเป็นย่านร้านอาหาร ทั้งอาหารท้องถิ่นอย่างหมี่ฮกเกี้ยน อีกันบาการ์ อาซัมละก์ซา และก๋วยเตี๋ยวแกง ผู้ค้าขายส่วนใหญ่ในย่านนี้เป็นชาวจีน แต่ก็มีชาวอินเดีย ชาวมลายู และผู้ค้าขายชาวบังกลาเทศเช่นกัน เปอตาลิง.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และถนนเปอตาลิง · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีการพัฒนามนุษย์

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI) คือดัชนีทางสถิติแบบองค์รวมที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัว ซึ่งใช้จัดลำดับการพัฒนามนุษย์ในแต่ละประเทศเป็น 4 กลุ่ม ยิ่งประเทศใดมีระดับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัวมาก ก็จะยิ่งส่งผลให้ระดับการพัฒนามนุษย์มากตามไปด้วย ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าวถูกพัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถาน มาห์บับ อุล ฮัก ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย อมรรตยะ เสน ซึ่งได้วางกรอบการศึกษาไว้ว่าผู้คนสามารถที่จะ "เป็น" หรือ "กระทำ" สิ่งที่ตนปรารถนาในชีวิตได้หรือไม่ และเผยแพร่รายงานการศึกษาโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี..

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และดัชนีการพัฒนามนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนสหพันธ์ (มาเลเซีย)

นแดนสหพันธ์ ในประเทศมาเลเซียประกอบด้วยกัวลาลัมเปอร์, ปูตราจายา และลาบวน.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และดินแดนสหพันธ์ (มาเลเซีย) · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์

ริสต์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรมลายู

มุทรมลายู คาบสมุทรมลายู หรือ แหลมมลายู (Semenanjung Tanah Melayu; Malay Peninsula) เป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางตัวเกือบอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นจุดที่อยู่ใต้สุดของทวีปเอเชีย ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู คือ คอคอดกระ ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้แยกออกจากเกาะสุมาตราด้วยช่องแคบมะละกา มีเกาะบอร์เนียวอยู่ทางตะวันออกในทะเลจีนใต้.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และคาบสมุทรมลายู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปูตราจายา

200px มัสยิดปูตรา ในปูตราจายา ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ปูตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองใหม่ ตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายกรัฐมนตรี ดร.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และปูตราจายา · ดูเพิ่มเติม »

นายกเทศมนตรี

นายกเทศมนตรี มาจากการปกครองที่มีต่อจากการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เป็นผู้ตราขึ้น หน้าที่หลักของนายกเทศมนตรี ก็คือ นายกเทศมนตรีจะมี การปกครองแบบพิเศษ (ซึ่งมิใช่การปกครองแบบท้องถิ่น หรือในรูปแบบที่เรียกว่าอำเภอ หรือที่ว่าการอำเภอ หรือสภาตำบล กำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเรียกว่าการปกครองร่วมแบบท้องถิ่น).

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และนายกเทศมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ไทเป 101

ทเป 101 (Taipei 101) เดิมชื่อ ศูนย์การเงินโลกไทเป เป็นตึกระฟ้าจุดสงเกตตั้งอยู่ในย่านซินยี กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน อาคารดังกล่าวจัดเป็นอาคารสูงที่สุดในโลกอย่างเป็นทางการตั้งแต่ พ.ศ. 2547 กระทั่งการเปิดตัวอาคารเบิร์จคาลิฟา ดูไบ ใน พ.ศ. 2553 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 อาคารดังกล่าวได้รับเอกสารรับรองลีดแพลตินัม รางวัลสูงสุดในระบบการจัดอันดับผู้นำการออกแบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม (ลีด) และกลายเป็นอาคารสีเขียวสูงที่สุดและใหญ่ที่สุดในโลก ไทเป 101 ได้รับการออกแบบโดย ซี.วาย. ลี และหุ้นส่วน และผู้ก่อสร้างหลัก คือ ธุรกิจร่วมทุนเคทีอาร์ที (KTRT Joint Venture) อาคารดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของไต้หวันสมัยใหม่นับแต่เปิดตัว และได้รับรางวัลตึกระฟ้าเอ็มพอริส พ.ศ. 2547 มีการยิงดอกไม้ไฟจากไทเป 101 ซึ่งโดดเด่นในการแพร่ภาพวันสิ้นปีสากลและอาคารมักปรากฏบ่อยครั้งในสิ่งตีพิมพ์ท่องเที่ยวและสื่อนานาชาติ ไทเป 101 มี 101 ชั้นเหนือพื้นดิน และอีก 5 ชั้นใต้ดิน อาคารดังกล่าวสร้างขึ้นทางสถาปัตยกรรมเป็นสัญลักษณ์แห่งวิวัฒนาการของเทคโนโลยีและประเพณีเอเชีย การใส่หลังสมัยใหม่นิยมเข้าไปในสไตล์ซึ่งรวมองค์ประกอบการออกแบบดั้งเดิมและจัดการแบบสมัยใหม่ อาคารได้รับการออกแบบให้ทนพายุไต้ฝุ่นและแผ่นดินไหว ศูนย์การค้าหลายชั้นซึ่งอยู่ติดกับอาคารเป็นที่ตั้งของร้านค้าทันสมัย ร้านอาหารและคลับหลายร้อยแห่ง ไทเป 101 มีบริษัทศูนย์การเงินไทเปเป็นเจ้าของ และจัดการโดยฝ่ายต่างประเทศของบริษัทค้าปลีกอสังหาริมทรัพย์เมือง (Urban Retail Properties Corporation) ซึ่งตั้งอยู่ในชิคาโก ชื่อที่เดิมวางแผนไว้สำหรับอาคาร ศูนย์การเงินโลกไทเป มาจากชื่อเจ้าของ ใช้กระทั่ง พ.ศ. 2546 และชื่อเดิมในภาษาจีนแปลตามตัวอักษรได้ว่า ศูนย์การเงินระหว่างประเทศไทเป (臺北國際金融中心).

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และไทเป 101 · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวง

มืองหลวง หรือ ราชธานี คือ เมืองหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล คำในภาษาอังกฤษ capital มาจากภาษาละติน caput หมายถึง "หัว" และอาจเกี่ยวข้อง เนินเขาแคปิทอไลน์ เนินเขาที่สูงที่สุดในโรมโบราณ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และศาสนา ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวั.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

เต๋า

ปากว้า เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเต๋าและการก่อกำเนิดสรรพสิ่ง เต๋า (道. เต้า) มีความหมายตามตัวอักษรว่า วิถี หรือ วิธี ต่อมาคัมภีร์เต๋ายุคแรก ได้ใช้คำว่า เต๋า ในความหมายใหม่ว่า เป็นสัจภาวะสูงสุด เป็นอุตรภาพ อัพภันตรภาพ ซึ่งปราศจากรูปร่าง พ้นวิสัยภาษา ความคิด และความเข้าใจของมนุษย์ เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่ง แม้ความเชื่อนี้จะมีที่มาจากลัทธิเต๋า แต่ก็ได้แพร่หลายไปยังคตินิยมอื่น ๆ ด้วยทั้ง ลัทธิขงจื๊อ ตลอดจนศาสนาและปรัชญาตะวันออกโดยรวม.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

เปโตรนาสทาวเวอร์

อาคารหอคอยคู่เปโตรนาส เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ออกแบบโดย เซซาร์ เปลลี ตั้งอยู่บริเวณใจกลางย่านธุรกิจของเมือง ที่แวดล้อมด้วยสวนสาธารณะ และอาคารคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ (KLCC-Kuala Lumpur Convention Center) อาคารเปโตรนาสเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2536 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 มี 2 อาคารหอคอย ซึ่งนับเป็นอาคารแฝดที่สูงที่สุดของโลก ด้วยความสูง 451.9 เมตร (อาคารเดี่ยวที่สูงที่สูงของโลกคือ บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ สูง 828 เมตร) ทั้งนี้อาคารเปโตรนาสเคยเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกจนถึงปี พ.ศ. 2547 ก่อนถูกทำลายสถิติโดยตึกไทเป 101 อาคารเปโตรนาสเป็นอาคารสำนักงาน ประกอบด้วยสำนักงานของบริษัทพลังงานและน้ำมันที่มีรัฐบาลมาเลเซียเป็นหุ้นหลักได้แก่ (ปิโตรเลียมนาชันแนลเบอร์ฮาด) คือ บริษัท ปิโตรเลียมแห่งชาติ จำกัด ของมาเลเชีย ซึ่งจะอยู่ในอาคาร 1 ทั้งหมด ส่วนอื่นๆให้บริษัทอื่นๆ เป็นผู้เช่า ได้แก่ บริษัททางการเงินและธนาคาร บริษัทผลิตภัณฑ์เคมีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ลักษณะเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับตึกระฟ้า อื่นๆของโลก คือการที่เป็นอาคารหอคอย 2 อาคาร เชื่อมโดยสะพานลอยฟ้า (skybridge) อาคารแฝดใช้บริษัทรับเหมาก่อสร้างจาก 2 ประเทศ คือญี่ปุ่น และเกาหลี โดยมีนัยยะเป็นการแข่งขันกันเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารตึกระฟ้า สะพานลอยฟ้านี้เคยใช้เป็นที่ถ่ายทำภาพยนตร์ฮอลีวูดมาแล้ว ปัจจุบันเปิดให้จองลงทะเบียนขึ้นไปชมวิวที่จุดนี้ (จำนวนจำกัด) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เปิดอนุญาตให้ลงทะเบียนในช่วงเช้า เมื่อครบจำนวนจะหยุดให้ลงทะเบียนทันที บริเวณฐานของอาคารมีห้างทันสมัยหลายห้าง เช่น ซึ่งไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูป และนอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบรอบๆเป็นอาคารคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ (ศูนย์ประชุม) สวนสาธารณะ สวนน้ำ สระน้ำพุดนตรี พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (Discovery museum) และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอควาเรีย (Aquaria).

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และเปโตรนาสทาวเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2

รหัสมาตรฐาน ISO 3166-2 คือส่วนที่ 2 ของมาตรฐาน ISO 3166 อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ ในแต่ละประเทศ หรือเขตการปกครองอิสระ จุดประสงค์ของการสร้างมาตรฐานเพื่อใช้เป็นคำย่อขนาดสั้น สำหรับสถานที่ ใช้ทั่วโลก ในปัจจุบันมีรหัสทั้ง 3700 รหัส ตัวอย่างรหัสได้แก่ เช่น จังหวัดศรีสะเกษ คือ รหัส TH-33 สำหรับรหัสในแต่ละประเทศ ดูที่ ISO 3166-1 (รหัสประเทศ) โดยจะมีรหัสใกล้เคียงกับรหัสอินเทอร์เน็ตของแต่ละประเท.

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และISO 3166-2 · ดูเพิ่มเติม »

1 กุมภาพันธ์

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 32 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 333 วันในปีนั้น (334 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: กัวลาลัมเปอร์และ1 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kuala Lumpurกรุงกัวลาลัมเปอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »