โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กะโนม

ดัชนี กะโนม

รงการ GNOME เป็นการสร้างแพลตฟอร์มทางคอมพิวเตอร์ ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยมีเป้าหมายคือสร้างชุดเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโปรแกรมขึ้นมาได้ง่าย รวมไปถึงสภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อป (desktop environment - ซอฟต์แวร์ที่ใช้เรียกซอฟต์แวร์อื่น ทำหน้าที่จัดการกับไฟล์และระบบหน้าต่าง) มีซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ถูกพัฒนาขึ้นใต้โครงการ GNOME ซึ่งมักจะถูกนำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการบางชนิด เช่น ลินุกซ์ หรือ โซลาริส เป็นต้น GNOME เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GNU และเป็นสภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อปหลักของ GNU ด้วย GNOME.

32 ความสัมพันธ์: ชีส (ซอฟต์แวร์)พิดจินกิมป์กนูระบบส่งข้อความทันทีระบบปฏิบัติการระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ลินุกซ์วอยซ์โอเวอร์ไอพีวิจิททูลคิทสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนูอิงก์สเคปอูบุนตูจีทีเคพลัสข้ามแพลตฟอร์มคิวต์ซอฟต์แวร์เสรีซิกวินแผ่นตารางทำการโซลาริสโปรแกรมแก้ไขข้อความไมโครซอฟท์ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ไอทูนส์เว็บเบราว์เซอร์เอวินซ์เจดิตเคดีอีCommon Desktop EnvironmentEpiphanyFedora

ชีส (ซอฟต์แวร์)

ีส (Cheese) เป็นซอฟต์แวร์เว็บแคมสำหรับ GNOME มีรูปแบบใกล้เคียงกับ Photo Booth ของ Mac OS X เริ่มพัฒนาในปี 2007 โดย Daniel G. Siegel ภายใต้โครงการ Google Summer of Code Cheese ใช้ GStreamer ในการสร้างเอฟเฟคต์พิเศษให้กับภาพและวิดีโอ และรองรับการส่งภาพขึ้นไปเก็บบนเว็บไซต์ Flickr Cheese ถือเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม GNOME อย่างเป็นทางการตั้งแต่เวอร์ชัน 2.22 เป็นต้นไป.

ใหม่!!: กะโนมและชีส (ซอฟต์แวร์) · ดูเพิ่มเติม »

พิดจิน

น (Pidgin เดิมชื่อ Gaim) เป็นโปรแกรมรับส่งข้อความด่วน (เมสเซนเจอร์) ที่ทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ และสนับสนุนโพรโทคอลในการพูดคุยหลายชนิด พิดจินเป็นซอฟต์แวร์เสรี และใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL.

ใหม่!!: กะโนมและพิดจิน · ดูเพิ่มเติม »

กิมป์

กนูอิมิจมานิพิวเลชันโปรแกรม (- โปรแกรมจัดการภาพกนู) หรือกิมป์ (GIMP) เป็นซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพแบบแรสเตอร์ คล้ายกับซอฟต์แวร์อย่าง อะโดบี โฟโตชอป กิมป์สามารถทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น และ ลินุกซ์ กิมป์เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่อนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และยังอนุญาตให้นำไปแก้ไขและแจกจ่ายได้ด้ว.

ใหม่!!: กะโนมและกิมป์ · ดูเพิ่มเติม »

กนู

ำหรับ กนู ที่เป็นสัตว์ป่าแอฟริกา ดูที่: เครื่องหมายการค้าของกนู โครงการ กนู (GNU) เป็นชื่อของโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ริเริ่มโดยริชาร์ด สตอลแมน เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ แก้ไข ปรับปรุง หรือจำหน่ายฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ โครงการกนู ประกอบไปด้วย เคอร์เนล ไลบรารี คอมไพเลอร์ โปรแกรมระบบ และ โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ คำว่า กนู (IPA: /ɡəˈnuː/ เกอะนู หรือ /ˈnjuː/ นยู ในบางประเทศ) เป็นคำย่อแบบกล่าวซ้ำ มาจากคำเต็มว่า GNU's Not Unix (กนูไม่ใช่ยูนิกซ์) เพราะระบบกนูพัฒนาให้เหมือนระบบยูนิกซ์แต่ไม่ได้ใช้ซอร์สโคดของยูนิกซ์เล..

ใหม่!!: กะโนมและกนู · ดูเพิ่มเติม »

ระบบส่งข้อความทันที

ระบบส่งข้อความทันที หรือ ไอเอ็ม (instant messaging, IM) คือระบบการส่งข้อความ ระหว่างสองคน หรือกลุ่มคนใน เน็ตเวิร์ก เดียวกัน เช่น การส่งข้อความผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมที่ทำงานอาจเรียกว่า เมสเซนเจอร์ (messenger) การทำงานของระบบส่งข้อความทันทีจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ลูกข่าย โดยซอฟต์แวร์ทำการเชื่อมต่อระบบที่บริการเมสเซนเจอร์ การส่งข้อความผ่านระบบส่งข้อความทันทีในยุคแรก ตัวอักษรแต่ละตัวที่ทำการพิมพ์จะปรากฏทางหน้าจอของผู้ที่ส่งข้อความด้วยทันที ในขณะเดียวกัน การลบตัวอักษรแต่ละตัว จะลบข้อความทันที ซึ่งแตกต่างกับระบบส่งข้อความทันทีในปัจจุบัน โดยข้อมูลที่ปรากฏจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีตกลงยอมรับส่งข้อความแล้ว ในปัจจุบันเมสเซนเจอร์ที่ได้รับความนิยมได้แก่ LINE WeChat MSN Messenger AOL Instant Messenger Yahoo! Messenger Google Talk.NET Messenger Service Jabber และ ICQ.

ใหม่!!: กะโนมและระบบส่งข้อความทันที · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.

ใหม่!!: กะโนมและระบบปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ (Unix-like operating system) เป็นคำเรียกระบบปฏิบัติการที่คล้ายคลึงกับยูนิกซ์ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องตรงตามนิยามหรือได้รับการรับรองตาม Single UNIX Specification ก็ได้ คำว่า "ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์" ครอบคลุม.

ใหม่!!: กะโนมและระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ใหม่!!: กะโนมและลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

วอยซ์โอเวอร์ไอพี

ลักษณะการเชื่อมต่อ Avaya 1140E วอยซ์โอเวอร์ไอพี โทรศัพท์ วอยซ์โอเวอร์ไอพี (Voice over IP: VoIP) (หรือชื่ออื่น IP Telephony, Internet telephony, หรือ Digital Phone) เป็นการสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือโครงข่ายอื่นๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล สัญญาณเสียงจะถูกตัดแบ่งเป็นแพ็คเก็ตวิ่งผ่านไปบนโครงข่ายที่ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลทั่วไป แทนการใช้วงจรเฉพาะตามวิธีการสื่อสารในระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม เปรียบได้กับการให้รถยนต์วิ่งแทรกกันได้ตามช่องว่างที่มีอยู่ของถนน แทนการให้รถยนต์คันเดียวจองถนนวิ่งแบบผูกขาด ข้อดีของวอยซ์โอเวอร์ไอพีก็คือการสามารถใช้โครงข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถให้บริการได้ในอัตราค่าบริการที่ถูกลงมาก.

ใหม่!!: กะโนมและวอยซ์โอเวอร์ไอพี · ดูเพิ่มเติม »

วิจิททูลคิท

ในทางคอมพิวเตอร์ วิจิททูลคิท (อังกฤษ Widget toolkit) หมายถืงชิ้นส่วนพื้นฐานในการสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) วิจิททูลคิทมักอยู่ในรูปไลบรารี หรือ application framework.

ใหม่!!: กะโนมและวิจิททูลคิท · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู

รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู หรือ กนูจีพีแอล หรือ จีพีแอล (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) เป็นสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์เสรี ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน ฉบับแรกสุดเขียนโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เริ่มต้นใช้กับโครงการกนู ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991).

ใหม่!!: กะโนมและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนู

รื่องหมายการค้าของกนิว สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนิว หรือ แอลจีพีแอล (GNU Lesser General Public License, LGPL) เป็นสัญญาอนุญาตของซอฟต์แวร์เสรีรูปแบบหนึ่ง คล้ายคลึงกับสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนิวหรือจีพีแอล ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีเช่นกัน แอลจีพีแอลถูกเขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 และดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2542 โดย ริชาร์ด สตอลล์แมน โดยได้รับคำปรึกษาจาก อีเบน โมเกลน แอลจีพีแอลใช้งานส่วนใหญ่กับไลบรารีมากกว่าตัวซอฟต์แวร์ โดยข้อแตกต่างระหว่างกับจีพีแอลคือ ตัวแอลจีพีแอลสามารถเชื่อมเข้ากับซอฟต์แวร์ทั่วไปได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นแอลจีพีแอลหรือจีพีแอลเหมือนกัน นั่นคือ "การผ่อนปรน" กว่าตามชื่อสัญญาอนุญาตนั่นเอง ซอฟต์แวร์ของมอซิลลาและโอเพนออฟฟิศดอตอ็อกใช้สัญญาอนุญาตแอลจีพีแอล.

ใหม่!!: กะโนมและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนู · ดูเพิ่มเติม »

อิงก์สเคป

อิงก์สเคป (Inkscape) คือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับสร้างและแก้ไขภาพกราฟิกส์เวกเตอร์ สามารถทำงานได้หลายระบบปฏิบัติการ ได้แก่ ลินุกซ์, ฟรีบีเอสดี, แมคโอเอส, และ ไมโครซอฟท์ วินโดว.

ใหม่!!: กะโนมและอิงก์สเคป · ดูเพิ่มเติม »

อูบุนตู

อูบุนตู (Ubuntu) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดซึ่งมีพื้นฐานบนลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others" อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 18.04 LTS ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีเกือบทั้งหมด(มีบางส่วนที่เป็นลิขสิทธิ์ เช่น ไดรเวอร์โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้.

ใหม่!!: กะโนมและอูบุนตู · ดูเพิ่มเติม »

จีทีเคพลัส

ีทีเคพลัส (GTK+) เป็นวิจิททูลคิทสำหรับพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) โปรแกรมในแพลตฟอร์มต่าง ๆ สำหรับระบบเอกซ์วินโดว์ จีทีเคพลัส เป็นหนึ่งในวิจิททูลคิทที่เป็นที่นิยมที่สุดสองตัว วิจิททูลคิทที่เป็นที่นิยมที่สุดอีกตัวหนึ่งสำหรับระบบเอกซ์วินโดว์ คือคิวที ปัจจุบันนี้ทั้งจีทีเคพลัสและคิวทีเข้ามาแทนที่โมทีฟซึ่งเคยเป็นวิจิททูลคิทที่นิยมใช้ที่สุดสำหรับระบบเอกซ์วินโดว์ ในช่วงตั้งต้น จีทีเคพลัส สร้างขึ้นเพื่อใช้ในโปรแกรมจัดการแก้ไขรูปภาพแรสเตอร์ชื่อกนูอิมเมจแมนนิพูเลชันโปรแกรม (GNU Image Manipulation Program, GIMP) ดังนั้นจีทีเคพลัสจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากิมป์ทูลคิท (GIMP Toolkit) อย่างไรก็ตามคนส่วนมากรู้จักจีทีเคพลัสเพียงชื่อเดียว จีทีเคพลัส เป็นซอฟต์แวร์เสรี ส่วนหนึ่งในโครงการกนู เผยแพร่โดยใช้สัญญาอนุญาต LGPL ปัจจุบันดูแลการพัฒนาโดย มูลนิธิกโนม (GNOME Foundation).

ใหม่!!: กะโนมและจีทีเคพลัส · ดูเพิ่มเติม »

ข้ามแพลตฟอร์ม

้ามแพลตฟอร์ม หรือ หลายแพลตฟอร์ม (Cross-platform) หมายถึงการที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ หรือ ซอฟต์แวร์ชนิดอื่น ๆ สามารถทำงานได้ในหลายแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้บนไมโครซอฟท์วินโดวส์ สำหรับสถาปัตยกรรม x86 และ Mac OS X บน PowerPC สวัสดี.

ใหม่!!: กะโนมและข้ามแพลตฟอร์ม · ดูเพิ่มเติม »

คิวต์

วต์ (Qt อ่านเหมือน cute) เป็นวิจิททูลคิทสำหรับพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) โปรแกรมในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ที่ใช้คิวต์ เช่น KDE, โอเปรา, กูเกิลเอิร์ท, สไกป์, โฟโตชอป เอเลเมนส์ เป็นต้น คิวต์ พัฒนาโดยใช้ภาษา C++ และใช้ส่วนขยายอื่นนอกเหนือจาก C++ มาตรฐาน ที่ต้องใช้ preprocessor ประมวลเพื่อสร้างคำสั่ง C++ ก่อนการคอมไพล์ มี binding สำหรับใช้ในภาษา เอดา, ซีชาร์ป, จาวา, ปาสกาล, เพิร์ล, พีเอชพี, รูบี้ และ ไพทอน ขีดความสามารถอื่นนอกเหนือจากส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ เช่นการติดต่อกับฐานข้อมูลSQL การอ่านข้อมูล XML การบริหารทรีด (thread) ด้านเครือข่าย และการจัดการไฟล์ ปัจจุบัน Qt ถูก Nokia เทคโอเวอร์ และ ออกผลิตภัณฑ์ ที่เน้นเขียนแอพพลิเคชั้นให้สามารถ รันข้ามแพรตฟอร์มหลากหลายและสามารถทำงานบน โทรศัพทืมือถือและอุปกรณ์เครื่อนที่(Mobile Device)ต่างได้ เช่น อุปกรณ์นำทางบนรถยนต์, แทปเลสพีซี(Tables PC) โดยกาสนับสนุนของ Intel Qt สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการ Maemo,Meego,Embleded Linux,Ubantu และ Android.

ใหม่!!: กะโนมและคิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: กะโนมและซอฟต์แวร์เสรี · ดูเพิ่มเติม »

ซิกวิน

right ซิกวิน (Cygwin - อ่านเหมือน sig-win) เป็นชุดเครื่องมือซอฟต์แวร์เสรี ที่ริ่เริ่มพัฒนาโดย Cygnus Solutions เพื่อทำให้ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์สามารถปฏิบัติงานได้คล้ายระบบยูนิกซ์ จุดประสงค์หลักของชุดเครื่องมือนี้คือ เพื่อพอร์ตหรือโอนย้ายซอฟต์แวร์ที่ใช้งานบนระบบ POSIX (เช่น ลีนุกซ์ บีเอสดี และยูนิกซ์) ให้มาใช้งานบนวินโดวส์ได้โดยง่าย เช่น อาจจะแค่คอมไพล์ใหม่ หรือแก้ไขเพียงเล็กน้อย โปรแกรมที่พอร์ตโดย Cygwin นี้ ทำงานได้ดีที่สุดบนวินโดวส์เอ็นที, วินโดวส์ 2000 วินโดวส์เอกซ์พี, และวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 แต่บางตัวก็ใช้ได้บน วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98.

ใหม่!!: กะโนมและซิกวิน · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นตารางทำการ

แผ่นตารางทำการ หรือ สเปรดชีต (spreadsheet) เป็นลักษณะข้อมูลที่มีการจัดเรียงในลักษณะตารางสี่เหลี่ยม ที่ใช้ในการคำนวณเป็นหลักและบางครั้งใช้ในการเก็บข้อมูล บางคนเรียกโปรแกรมนี้ว่า กระดาษทดเลขอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากตัวโปรแกรมจะมีความสามารถในการคำนวณทางคณิตศาสตร์มาก โปรแกรมประเภทนี้รุ่นแรกๆ มีชื่อว่า วิสิแคล (VisiCalc) ต่อมาก็มีการพัฒนาให้ดีขึ้นมาเป็น ซุปเปอร์แคล (SuperCalc) ต่อมาได้มีการพัฒนาจนเป็นที่นิยมแพร่หลายมากคือ โลตัส 1-2-3 จนไมโครซอฟเห็นถึงความสามารถของโปรแกรมประเภทนี้จึงพัฒนาของตนเองขึ้นเป็น ไมโครซอฟท์ เอ็กเซล.

ใหม่!!: กะโนมและแผ่นตารางทำการ · ดูเพิ่มเติม »

โซลาริส

ซลาริส (Solaris) หรือในชื่อเต็ม The Solaris Operating Environment เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบยูนิกซ์ ที่พัฒนาโดย ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ระบบปฏิบัติการโซลาริส ใช้ได้กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สองแบบ คือ แบบ สปาร์ค และแบบ x86 (แบบเดียวกับในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) รุ่นแรก ๆ ของโซลาริสนั้น ใช้ชื่อว่า ซันโอเอส (SunOS) โดยมีพื้นฐานมาจากยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี แต่ต่อมาในรุ่นที่ 5 ได้เปลี่ยนมาใช้โค้ดของ ซิสเต็มส์ไฟว์ (System V) แทน และเปลี่ยนชื่อมาเป็น โซลาริส ดังเช่นในปัจจุบัน โดยเรียกโซลาริสรุ่นแรกว่า โซลาริส 2 และเปลี่ยนชื่อเรียกของซันโอเอสรุ่นก่อน ๆ เป็น โซลาริส 1.x และหลังจากโซลาริสรุ่น 2.6 ก็ได้ตัด "2." ข้างหน้าออกไป และเรียกเป็น โซลาริส 7 แทน รุ่นปัจจุบันของโซลาริสคือ โซลาริส 11 การพัฒนาบางส่วนของโซลาริสในอนาคต ขณะนี้ได้พัฒนาในโครงการ โอเพนโซลาริส (OpenSolaris) ซึ่งเป็นโครงการระบบปฏิบัติการแบบโอเพนซอร์ซ.

ใหม่!!: กะโนมและโซลาริส · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมแก้ไขข้อความ

ปรแกรมแก้ไขข้อความอย่างลีฟแพด มักถูกรวมอยู่ในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นโปรแกรมประยุกต์ช่วยเหลือโดยปริยายสำหรับการเปิดไฟล์ข้อความ โปรแกรมแก้ไขข้อความ เป็นโปรแกรมชนิดหนึ่งใช้สำหรับแก้ไขแฟ้มข้อความอย่างง่าย โปรแกรมดังกล่าว บางครั้งรู้จักในชื่อซอฟต์แวร์ "แผ่นจดบันทึก" ตามโปรแกรมแผ่นจดบันทึก โปรแกรมแก้ไขข้อความมักจะมากับระบบปฏิบัติการและโปรแกรมสำเร็จ และสามารถใช้ในการเปลี่ยนแปลงแฟ้มโครงแบบ แฟ้มเอกสาร และรหัสต้นฉบับภาษาโปรแกรม.

ใหม่!!: กะโนมและโปรแกรมแก้ไขข้อความ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์

มโครซอฟท์ (Microsoft) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนี้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี นักวิจารณ์ผู้หนึ่งกล่าวถึงเป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์ว่า ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่นๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่นๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี), เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.

ใหม่!!: กะโนมและไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ใหม่!!: กะโนมและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอทูนส์

อทูนส์ (iTunes) ซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับฟังเพลงและเปิดไฟล์วิดีโอ (รองรับไฟล์.aac,.mp3,.mp4,.mov,.m4v,.wav,.midi) พัฒนาโดยบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับเล่นและจัดเก็บไฟล์เพลง รวมถึงเชื่อมต่อเข้ากับ ไอทูนส์สโตร์ ไอทูนส์ได้รับความนิยมเนื่องจากลักษณะการใช้งานที่เรียบง่าย และสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต โดยมีความสามารถอื่นที่สำคัญในการเก็บและการจัดเรียงไฟล์เพลงภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยทำงานบนระบบปฏิบัติการแม็คโอเอสเท็น วินโดวส์ 2000 วินโดวส์ XP วินโดวส์ วิสตา วินโดวส์ 7 วินโดวส์ 8 วินโดวส์ 8.1 และ วินโดวส์ 10.

ใหม่!!: กะโนมและไอทูนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเบราว์เซอร์

วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดั.

ใหม่!!: กะโนมและเว็บเบราว์เซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอวินซ์

อวินซ์ (Evince) เป็นโปรแกรมดูเอกสารชนิด PDF และ PostScript ของแพลตฟอร์ม GNOME เป้าหมายของ Evince คือเป็นโปรแกรมดูเอกสารแบบครบวงจรที่สามารถแทนโปรแกรมดูเอกสารอื่นๆ ในอดีตของ GNOME เพื่อลดความสับสนของผู้ใช้ เอวินซ์ถูกรวมเข้ามาใน GNOME 2.12 ซึ่งออกเมื่อ 7 กันยายน ค.ศ. 2005 โดยภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่คือ ภาษาซี มีส่วนประกอบที่เป็น C++ เล็กน้อย เอวินซ์เป็นซอฟต์แวร์เสรี ใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL.

ใหม่!!: กะโนมและเอวินซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เจดิต

ต หรือ เกดิต (gedit; หรือ) เป็นโปรแกรมแก้ไขข้อความอย่างเป็นทางการของแพลตฟอร์ม GNOME สนับสนุนการเข้ารหัสตัวอักษรแบบ UTF-8 และใช้สัญญาอนุญาตแบบซอฟต์แวร์เสรี เจดิตสามารถทำ syntax highlighting ด้วยสีหรือตัวหนา โดยรองรับภาษาโปรแกรมหลายชนิด นอกจากนี้ยังสนับสนุนการแก้ไขหลายไฟล์พร้อมกันด้วยแท็.

ใหม่!!: กะโนมและเจดิต · ดูเพิ่มเติม »

เคดีอี

KDE หรือชื่อเต็ม K Desktop Environment เป็นสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบเดสก์ท็อป (Desktop Environment) ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี พัฒนาบนทูลคิท Qt ของบริษัท Trolltech และทำงานได้บนระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์เกือบทุกรุ่น เช่น ลินุกซ์, BSD, AIX และ Solaris รวมถึงมีรุ่นที่ใช้งานได้บน Mac OS X และไมโครซอฟท์วินโดวส์ KDE มีโครงการพี่น้องที่พัฒนาไปพร้อมกันอย่าง KDevelop ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือสำหรับการพัฒนาโปรแกรม และ KOffice ชุดโปรแกรมสำนักงาน ในรุ่น 4.1 ได้แก้ไขในเรื่องบั๊กทั้งหมดและหน้าตาของชุดตกแต่งพลาสมา รวมถึงการตั้งค่า TaskBar ดีมากยิ่งขึ้น และส่วนการติดต่อที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์กว่า KDE 4.0.X ปัจจุบันรุ่น 4.8.0.

ใหม่!!: กะโนมและเคดีอี · ดูเพิ่มเติม »

Common Desktop Environment

Common Desktop Environment หรือ CDE เป็น ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ desktop environment ที่ทำงานบน ยูนิกซ์, โดยใช้วิจิททูลคิทที่ชื่อ MotifMotif พัฒนาร่วมกันโดย ฮิวเลตต์-แพคการ์ด ไอบีเอ็ม โนเวลล์ และ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ CDE ได้รับการยอมรับว่าเป็น de facto standard สำหรับ UNIX desktop มาโดยตลอด, จนกระทั่งช่วงปี 2000, desktop environment ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี เช่น KDE และ กโนม (GNOME) ได้รับการพัฒนาเติบโตขึ้นมากแล้ว จนแทบจะกลายเป็นมาตรฐานสำหรับระบบ กนู/ลินุกซ์ ที่มีฐานผู้ใช้เยอะกว่ามาก ปี 2001 ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (HP-UX) และ ซัน (โซลาริส) ประกาศว่าจะเลิกใช้ CDE และหันมาสนับสนุน กโนม แทน แต่ปี 2003 ฮิวเลตต์-แพคการ์ด เปลี่ยนใจกลับมาใช้ CDE อีก โดยให้เหตุผลว่า API ของกโนม เปลี่ยนแปลงบ่อย และตัวระบบเองก็ไม่ค่อยเสถียรเท่าที่ควร.

ใหม่!!: กะโนมและCommon Desktop Environment · ดูเพิ่มเติม »

Epiphany

Epiphany อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กะโนมและEpiphany · ดูเพิ่มเติม »

Fedora

Fedora (เฟดอรา ฟีโดรา เฟโดรา) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: กะโนมและFedora · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GNOMEGnomeกโนมโนม (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »