โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กะอ์บะฮ์และฏอวาฟ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กะอ์บะฮ์และฏอวาฟ

กะอ์บะฮ์ vs. ฏอวาฟ

กะอ์บะฮ์ กะอ์บะฮ์ หรือ กะอ์บะห์ เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า ลูกบาศก์ กะอ์บะฮ์ตั้งอยู่ในใจกลางมัสยิดฮะรอม ในนครมักกะฮ์ เป็น กิบลัต (ชุมทิศ, จุดหมายในการผินหน้าไป) ของมุสลิมยามนมาซ และเป็นสถานที่ฏอวาฟ (เวียนรอบ) ในการประกอบพิธีอุมเราะฮ์และฮัจญ์ มีคำบันทึกบอกเล่าว่า อาคารหลังนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยนบีอาดัมมนุษย์คนแรกเพื่อใช้เป็นสถานที่เคารพสักการะอัลลอฮ์ในโลก แต่หลังจากนั้นก็พังทลายลงเมื่อเกิดเหตุการณ์ อุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ จนน้ำท่วมโลกในสมัยศาสดานูฮฺ คัมภีร์อัลกุรอาน (2:127 และ 22:26-27) ระบุว่า กะอ์บะฮ์ได้ถูกสร้างขึ้นโดยนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีล บุตรชายของท่านตามคำบัญชาของอัลลอฮ์ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการเคารพสักการะพระองค์ หลังจากนั้นอัลลอฮ์ก็ได้บัญชานบีอิบรอฮีมให้เรียกร้องเชิญชวนผู้คนให้มาเคารพสักการะพระองค์ ณ ที่บ้านหลังนี้ นับตั้งแต่นั้นมา ผู้คนที่ศรัทธาในอัลลอฮ์ตามคำเชิญชวนของนบีอิบรอฮีมจากทั่วสารทิศก็ได้ทยอยกันเดินทางมาสักการะอัลลอฮ์ต่อเนื่องกันมาโดยมิได้ขาด เนื่องจากกะอ์บะฮ์เป็นบ้านแห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับการเคารพสักการะอัลลอฮ์ ดังนั้น กะอ์บะฮ์จึงได้รับการขนามว่า บัยตุลลอฮฺ บ้านแห่งอัลลอฮ์ หลังจากนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีลเสียชีวิต ผู้คนในแผ่นดินอารเบียได้ละทิ้งคำสอนของท่านทั้งสอง และได้นำเอาเทวรูปต่าง ๆ มาเคารพสักการะแทนอัลลอฮ์ หรือไม่ก็ตั้งเทวรูปขึ้นเป็นพระเจ้าควบคู่ไปกับอัลลอฮ์ จนกระทั่งมีเทวรูปรอบกะอ์บะฮ์เป็นจำนวนมากมายถึงสามร้อยกว่ารูป ตั้งเรียงรายทั้งในและนอกกะอ์บะฮ์ แต่หลังจากที่นบีมุฮัมมัดได้เข้ายึดนครมักกะฮ์แล้ว ท่านก็ได้สั่งให้ทำลายเทวรูปทั้งหมดที่อยู่ข้างในและรอบกะอบะฮฺ ตั้งแต่นั้นมาแผ่นดินฮะรอมก็เป็นเขตปลอดเทวรูป ไม่มีการเคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในตอนที่ท่านมุฮัมมัดยังไม่ได้เป็นศาสดา ชาวนครมักกะฮ์ได้ร่วมแรงร่วมใจพากันซ่อมแซมกะอ์บะฮ์ที่สึกหรอเนื่องจากอุทกภัย แต่เนื่องจากทุนในการบูรณะอันเป็นทรัพย์สินที่บริสุทธิ์ที่เรี่ยไรมามีไม่เพียงพอ ชาวนครมักกะฮ์จึงสามารถซ่อมแซมได้ไม่เหมือนกับอาคารดั้งเดิม ปล่อยให้ส่วนที่เรียกว่า ฮิญรุ อิสมาอีล (ห้องและที่ฝังศพของท่านนบีอิสมาอีล) ว่างอยู่ เพียงแต่เอาหินก่อขึ้นเป็นกำแพงกั้นไว้ ในเวลาต่อมาท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า หากมิเพราะ ยุคญาหิลียะฮฺเพิ่งผ่านไปได้ไม่นาน ฉันก็คงจะต่อเติมกะอ์บะฮ์ให้เป็นเช่นแบบเดิม ในสมัยที่อับดุลลอฮฺ อิบนุซซุเบร หลานตาคอลีฟะฮฺ อะบูบักรฺ แข็งเมืองต่อ อับดุลมะลิก บินมัรวาน คอลีฟะฮฺ (กษัตริย์) ซีเรีย ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองมักกะฮ์ งานชิ้นหนึ่งที่ท่านทำก็คือการบูรณะต่อเติมผนังกะอ์บะฮ์ออกไปสองด้านจนถึงกำแพง ฮิจญ์รุ อิสมาอีล ให้อาคารกะอ์บะฮ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทว่าเมื่ออับดุลลอฮฺแพ้ศึกและถูกสังหาร พวกทหารซีเรียก็เผาและถล่มทำลายกะอ์บะฮ์ที่อับดุลลอฮฺทำไว้ แล้วให้สร้างขึ้นมาใหม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเหมือนเดิมอีกครั้ง กะอฺบะหที่มีอยู่ในวันนี้ เป็นอาคารที่ถูกสร้างขึ้นด้วยหินธรรมชาติ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีความกว้างยาวด้านละประมาณ 40 ฟุต และสูงประมาณ 50 ฟุต ผนังทั้งสี่ไม่มีหน้าต่าง มีแต่เพียงประตูด้านเดียว ข้างในว่างเปล่า ตรงมุมด้านหนึ่งของตัวอาคารเป็นที่ตั้งของ หินดำ (อัลฮะญัร อัลอัสวัด) ซึ่งในอดีตเป็นพลอยสีดำเม็ดใหญ่ แต่ต่อมาที่ได้แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่ก็ยังตั้งอยู่ที่มุมข้างประตู ปกปิดด้วยแก้วและครอบทับด้วยเงิน ประตูของกะอ์บะฮ์ที่เปลี่ยนเมื่อเวลา 20 ปีมานี้ ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ มุมที่ติดตั้งพลอยสีดำนี้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดครบรอบของการเวียนรอบกะอ์บะฮ์ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่จำเป็นอย่างหนึ่งของการประกอบพิธีอุมเราะฮฺและฮัจญ์ ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รัฐบาลผู้ปกครองมหานครมักกะฮ์จะมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลกะอ์บะฮ์และจัดเตรียมความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาทำฮัจญ์ สิ่งที่ต้องทำทุกปีคือการเปลี่ยนมุ้งกะอ์บะฮ์ ในซาอุดีอาระเบียจะมีโรงงานทอมุ้งนี้โดยเฉพาะ โดยจะมีช่างผู้มีฝีมือจากต่างประเทศมาทำมุ้งนี้โดยเฉพาะ มุ้งกะอ์บะฮ์นี้ทอด้วยด้ายไหมสีดำ แล้วประดับด้วยการปักดิ้นทองเป็นตัวอักษรภาษาอาหรับวิจิตรงดงาม ตัวอักษรที่เขียนคือโองการจากอัลกุรอานและพระนามของอัลลอฮ์ เมื่อถึงเทศกาลฮัจญ์จะมีการเปลี่ยนมุ้งใหม่และยกขอบมุ้งขึ้นจนจนเห็นฝาผนังทั้งสี่ด้าน เนื่องจากมุ้งนี้มีสีดำ จึงทำให้คนเข้าใจว่าหินดำคือตัวกะอ์บะฮ์ แต่ความจริงแล้วหินดำคือพลอยสีดำที่ประดิษฐานอยู่ที่มุมกะอ์บะฮ์ต่างหาก อีกอย่างกะอ์บะฮ์เป็นชุมทิศ เวลานมาซจะมีการหันไปทางกะอ์บะฮ์นี้ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ากะอ์บะฮ์คือหินดำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมเคารพบูชา ซึ่งความจริงแล้ว กะอ์บะฮ์เป็นเพียงจุดศูนย์รวมและจุดศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของมุสลิมทั่วโลกเท่านั้น. ฏอวาฟ (طواف) บ้างก็สะกด ตอวาฟ และ เฏาะวาฟ คือ การเวียนรอบกะอฺบะหฺเจ็ดครั้ง ในพิธีฮัจญ์ พิธีอุมเราะหฺ หรือในโอกาสอื่น ๆ โดยเริ่มต้นที่มุม ซึ่งมีหินดำเป็นสัญลักษณ์ โดยให้ไหล่ซ้ายอยู่ด้านหินดำ ต่อจากนั้นก็เดินรอบกะอฺบะหฺด้วยความเร็วปกติจนครบ 7 รอบ หมวดหมู่:ศาสนาอิสลาม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กะอ์บะฮ์และฏอวาฟ

กะอ์บะฮ์และฏอวาฟ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): หินดำฮัจญ์

หินดำ

หินดำ (الحجر الأسود; อัลฮะญัร อัลอัสวัด) คือหินสีดำที่ประดิษฐานอยู่ที่มุมหนึ่งของกะอฺบะหฺ มีทรงกลมรี มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 ซม.

กะอ์บะฮ์และหินดำ · ฏอวาฟและหินดำ · ดูเพิ่มเติม »

ฮัจญ์

การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ การทำหัจญ์ คือการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะหฺ ตามวันเวลา และสถานที่ต่าง ๆ ที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติ ในช่วงฮัจญ์ ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางเข้าสู่อาระเบีย โดยก่อนอื่นจะมีการทำ อิหฺรอม นั่นคือการตั้งใจว่าจะทำพิธีฮัจญ์ ก่อนการเข้าไปในแผ่นดินหะรอม (แผ่นดินต้องห้าม) โดยจะปฏิบัติตามกฎของหัจญ์ อาทิเช่น การไม่สมสู่ การไม่ล่าสัตว์ในแผ่นดินหะรอม การไม่ตัดเล็บหรือผม การไม่เสริมสวยหรือใช้น้ำหอม ผู้ชายจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย มาสวมผ้าเพียงสองผืน แล้วต่างก็จะมาชุมนุมกันที่ ทุ่งอะร็อฟะหฺ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่เก้าของเดือนซุลฮิจญะหฺ แล้วพอตกค่ำ ซึ่งตามปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจะเป็นคืนที่สิบ เหล่านักแสวงบุญจะเดินทางผ่าน ทุ่งมุซดะลิฟะหฺ พักชั่วครู่หนึ่งก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่ ทุ่งมีนา ก่อนเที่ยงของวันต่อไป ส่วนชาวมุสลิมทั่วโลกที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ก็จะเฉลิมฉลองทำบุญเลี้ยงอาหารที่บ้าน เรียกวันนี้ว่าวันอีดิลอัฎฮา ทีเรียกว่าอัฎฮาเพราะมีการเชือดสัตว์พลีให้ผู้คนรับประทานในยามดุฮา คือยามสายหลังตะวันขึ้น แต่ก่อนเที่ยง หรือชาวไทยเชื้อสายมลายูในห้าจังหวัดภาคใต้เรียกว่าวันรายอ (รายาฮาญี) ซึ่งแปลเป็นไทยตามตรงก็คือ วันใหญ่ นั่นเอง นักแสวงบุญจะพักอยู่ที่ ทุ่งมีนา เป็นเวลาสามวัน เพื่อขอพรและบำเพ็ญตนตามพิธีฮัจญ์ หลังจากนั้นจึงเดินทางเข้ากรุงมักกะหฺ เพื่อฏอวาฟเวียนรอบ กะอฺบะฮฺ หรือที่เรียกว่า บัยตุลลอหฺ อันเป็นเสมือนเสาหลักของชุมทิศ ซึ่งตั้งอยู่ใน มัสยิด ฮะรอม (มัสยิดต้องห้าม) หลังจากนั้นผู้แสวงบุญก็จะเดินจากเนินเขาศอฟา สู่เนินเขามัรวะหฺ ซึ่งมีระยะทาง 450 เมตร ไปมาจนครบเจ็ดเที่ยว ระหว่างที่เดินก็จะกล่าวคำขอพรและคำวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเสร็จพิธีนี้แล้วก็จะขริบผมหรือโกนหัว และผู้แสวงบุญก็จะหลุดพ้นจากภาวะ อิฮฺรอม การทำฮัจญ์เป็นพิธีกรรม ทางศาสนาที่เก่าแก่ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยศาสดาอิบรอฮีม การทำฮัจญ์เริ่มต้นขึ้นเมื่ออัลลอฮได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล ผู้เป็นลูกชายร่วมกันทำนุบำรุง บัยตุลลอฮฺ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพบูชาอัลลอฮ เมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม เรียกร้องให้มนุษย์ชาติมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชนรุ่นหลังได้อุตริรูปแบบการทำฮัจญ์ จนมันได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่อัลลอหฺได้ทรงกำหนดไว้ เช่น มีการนำ เทวรูปต่าง ๆ มาตั้งรอบ ๆ กะอฺบะหฺ เพื่อบูชาในระหว่างการทำหัจญ์และมีการเปลือยกายในยามทำพิธีฏอวาฟ พร้อมกับกู่ร้องและปรบมือ จนกระทั่ง มาถึงสมัยของศาสดามุฮัมหมัด สิ่งแรกที่ท่านปฏิบัติก็คือการทุบทำลายเทวรูปและเจว็ดรอบข้างกะอฺบะหฺจนหมดสิ้น และท่านก็ได้แสดงแบบอย่างของการทำฮัจย์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ศรัทธาได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงวันนี้ หมวดหมู่:หลักธรรมของศาสนาอิสลาม.

กะอ์บะฮ์และฮัจญ์ · ฏอวาฟและฮัจญ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กะอ์บะฮ์และฏอวาฟ

กะอ์บะฮ์ มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ ฏอวาฟ มี 3 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 12.50% = 2 / (13 + 3)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กะอ์บะฮ์และฏอวาฟ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »