โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กอปปีเลฟต์

ดัชนี กอปปีเลฟต์

ตัวอักษร c หันหลังกลับ สัญลักษณ์ของ copyleft เครื่องหมายลิขสิทธิ์ กอปปีเลฟต์ (Copyleft) หมายถึงกลุ่มของสัญญาอนุญาตของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้ง ซอฟต์แวร์ เอกสาร เพลง งานศิลปะ โดยอ้างอิงกฎหมายลิขสิทธิ์เป็นแนวเปรียบเทียบ ในการจำกัดสิทธิในการคัดลอกงานและเผยแพร่งาน โดยสัญญาอนุญาตกลุ่ม copyleft มอบเสรีภาพให้ทุกคนสามารถคัดลอก ดัดแปลง ปรับปรุง และจำหน่ายงานได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องยังคงรักษาเสรีภาพเดียวกันนี้ในงานที่ดัดแปลงแก้ไขมาจากงานดังกล่าว อาจจะมองได้ว่าลักษณะพิเศษของ copyleft คือการที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยอมสละสิทธิบางอย่าง (ที่ได้รับการคุ้มครอง) ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์แต่ไม่ทั้งหมด แทนที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะปล่อยงานของเขาออกมาภายในพื้นที่สาธารณะโดยสมบูรณ์ (นั่นคือไม่สงวนสิทธิ์ใด ๆ) copyleft จะให้เจ้าของสามารถกำหนดข้อจำกัดหรือเงื่อนไขทางด้านลิขสิทธิ์บางประการ สำหรับผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมในงานอันมีลิขสิทธิ์นี้ โดยถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้แล้ว จะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เงื่อนไขเพื่อที่จะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้ copyleft นี้ ได้แก่ การที่ผู้ที่ใช้สอยผลงานจะต้องรักษาสิทธิภายใต้ copyleft นี้ไว้ดังเดิมอย่างถาวร ด้วยเหตุนี้ สัญญาอนุญาต copyleft จึงถูกเรียกว่าเป็น สัญญาอนุญาตต่างตอบแทน (reciprocal licenses) สัญลักษณ์ของ copyleft เป็นตัวอักษร c หันหลังกลับ (ɔ) โดยไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษนอกจากการตรงกันข้ามกับ copyright โดยล้อกับอีกความหมายหนึ่งของคำว่า right ที่แปลว่า ขวา ในภาษาไทย ยังไม่มีคำที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปสำหรับ copyleft สมเกียรติ ตั้งนโม นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ใช้ว่า "ลิขซ้าย" คงการล้อ ขวา-ซ้าย ไว้หน้าแรก มีข้อความ "ลิขซ้าย 2548, 2549, 2550: สมเกียรติ ตั้งนโม" ส่วน สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้คำว่า "นิรสิทธิ์" หมายถึง ระบบที่ไม่มีหรือไม่ให้สิทธิคุ้มครอง, ประชาไท, 5 เม..

15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2527ภาษาลิสป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนริชาร์ด สตอลล์แมนสมเกียรติ ตั้งนโมสัญญาอนุญาตสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูสาธารณสมบัติอินเทอร์พรีเตอร์ครีเอทีฟคอมมอนส์ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ซอฟต์แวร์เสรีC

พ.ศ. 2527

ทธศักราช 2527 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1984 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และพ.ศ. 2527 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลิสป์

ษาลิสป์ (Lisp Programming Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ขั้นสูง นอกจากนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมทั่วไปแล้วยังสามารถใช้ได้ดีในการประมวลผลสัญลักษณ์ ดังนั้นจึงถูกใช้อย่างแพร่หลายทางด้านปัญญาประดิษฐ์ นอกจากนี้ ในภาษาลิสป์ ไม่จำเป็นต้องประกาศชนิดตัวแปรที่ใช้ในโปรแกรม ดังนั้นจึงง่ายในการเขียนและเรียนรู้.

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และภาษาลิสป์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiang Mai University; อักษรย่อ: มช.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูม..

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็นชื่อของเครือข่ายวิชาการและเว็บไซต์ที่นำเสนอการสนทนาแลกเปลี่ยนจากเครือข่ายวิชาการในชื่อเดียวกัน ก่อตั้งโดยกลุ่มนักวิชาการซึ่งเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์และอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มี สมเกียรติ ตั้งนโม เป็น "อธิการบดี" มหาวิทยาลัย เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนรวบรวมบทความทางวิชาการหลายสาขา ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ รวมทั้งมีกระดานข่าวสาธารณะให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และส่วนสารานุกรมฟรีในเรื่องเกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่ การนำเสนอคำศัพท์ใหม่ ๆ พร้อมคำอธิบายเพื่อทำความเข้าใจโลก และความคิดร่วมสมัย ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เนื้อหาในเว็บไซต์ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ โดยระบุไว้ในหน้าแรกของเว็บไซต์ว่า "ผู้ที่นำข้อมูลสารานุกรมฟรีไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ เผยแพร่ หรืออ้างอิง โดยต้องไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ได้รับความยินยอมจากผู้เรียบเรียง สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุไว้ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร โดยระบุถึงเว็บไซต์ และ URL มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน www.midnightuniv.org" โดยมี สมเกียรติ ตั้งนโม ทำหน้าที่เป็นทั้งเว็บมาสเตอร์และบรรณาธิการเว็บไซต.

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด สตอลล์แมน

ริชาร์ด สตอลล์แทน ผู้พูดรับเชิญในงานวิกิเมเนีย ริชาร์ด แมธธิว สตอลล์แมน (Richard Matthew Stallman, RMS; เกิดเมื่อ 16 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้ก่อตั้ง โครงการกนู และ มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี ซอฟต์แวร์เสรีที่เขาได้เป็นผู้เริ่มเขียนตั้งแต่สมัยแรก ๆ ได้แก่ GNU Emacs, GNU C Compiler และ GNU Debugger ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมใช้กันอยู่แพร่หลาย เขาผู้ริเริ่มแนวคิด Copyleft และเป็นผู้ร่าง "สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู" GNU General Public License (GPL) ขึ้นมา และสัญญานี้ได้กลายเป็นบรรทัดฐานของสัญญาอนุญาตให้งานซอฟต์แวร์เสรีจำนวนมาก ริชาร์ด สตอลล์แมน เข้ารับการศึกษาจากเอ็มไอที แต่ได้ลาออกขณะที่ศึกษาและย้ายมาทำงานที่ เอ็มไอทีแล็บ โดยทำหน้าที่พัฒนาโปรแกรม ในระหว่างที่ทำงาน เขามีความคิดอุดมคติที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการในระบบที่ใกล้เคียงกับระบบยูนิกซ์ ให้ใช้งานได้เสรีสำหรับทุกคน โดยได้ร่วมโครงการกับแฮกเกอร์หลายคน ซึ่งในขณะที่พัฒนาเคอร์เนลและยังไม่สำเร็จนั้น ได้พบว่า ลีนุส ทอร์วัลส์ นักศึกษามหาวิทยาลัยชาวฟินแลนด์ได้พัฒนาเคอร์เนล ลินุกซ์เป็นผลสำเร็จขึ้นในเวลาหกเดือน สตอลล์แมนจึงได้ติดต่อกับลีนุส และรับอาสาทำหน้าที่จัดการระบบสัญญาอนุญาตเสรี GPL ให้กับทางระบบลินุกซ.

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และริชาร์ด สตอลล์แมน · ดูเพิ่มเติม »

สมเกียรติ ตั้งนโม

มเกียรติ ตั้งนโม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สมเกียรติ ตั้งนโม (13 พฤศจิกายน 2501 - 6 กรกฎาคม 2553) นักวิชาการด้านศิลปร่วมสมัยและสุนทรียศาสตร์ รองศาสตราจารย์และอดีตคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ก่อตั้งและอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน.

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และสมเกียรติ ตั้งนโม · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาต

สัญญาอนุญาต (AmE: license; BrE: licence; ศัพท์บัญญัติว่า ใบอนุญาต) ตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ได้แก่ ลิขสิทธิ์, เครื่องหมายการค้า, สิทธิบัตร) หมายถึง การที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วหรือได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ทำการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของตนสำหรับสินค้าที่กฎหมายได้คุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ สำหรับกรณีของเครื่องหมายการค้า สัญญาอนุญาตต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ในสัญญาอนุญาตต้องมีการกำหนดเงื่อนไขที่จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าของผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตได้ ในกรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขว่า ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องรับสินค้าจากเจ้าของเครื่องหมายการค้าไปจำหน่ายเท่านั้น กรณีนี้ การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวถือเป็นสัญญาตัวแทนจำหน่าย ไม่ถือว่าเป็นการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่จะต้องมาจดทะเบียนสัญญาอนุญาต และไม่ใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า หมวดหมู่:เอกสารทางกฎหมาย.

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และสัญญาอนุญาต · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู

รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู หรือ กนูจีพีแอล หรือ จีพีแอล (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) เป็นสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์เสรี ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน ฉบับแรกสุดเขียนโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เริ่มต้นใช้กับโครงการกนู ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991).

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณสมบัติ

ัญลักษณ์อย่างไม่เป็นทางการ สำหรับ สาธารณสมบัติ สาธารณสมบัติ หรือ สมบัติสาธารณะ (public domain) หมายถึง องค์ความรู้หรือนวัตกรรม (เช่น งานเขียน ศิลปะ ดนตรี สิ่งประดิษฐ์) ที่ไม่มีใครสามารถถือตัวเป็นเจ้าของได้ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้าง และถนนหนทาง ในทางคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สาธารณสมบัติ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นแล้วผู้สร้างหรือเจ้าของยินยอมให้ใคร ๆ สามารถคัดลอกนำไปใช้ได้ โดยไม่ผิดลิขสิท.

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และสาธารณสมบัติ · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์พรีเตอร์

อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) หรือ โปรแกรมแปลคำสั่ง, ตัวแปลคำสั่ง หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานตามชุดคำสั่งที่เขียนไว้ทันที ซึ่งไม่เหมือนกับคอมไพเลอร์ (compiler) ที่แปลชุดคำสั่งจากภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งก่อนทำงาน (โดยส่วนมากจะแปลเป็นภาษาเครื่อง) โดยทั่วไปแล้วการทำงานของโปรแกรมผ่านอินเทอร์พรีเตอร์จะช้ากว่าทำงานจากโปรแกรมที่ผ่านการแปลโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องแล้ว เพราะอินเทอร์พรีเตอร์จะต้องแปลแต่ละคำสั่งในระหว่างการทำงานว่าจะต้องทำอะไรต่อไป ตัวอย่างภาษาที่มีการใช้อินเทอร์พรีเตอร์ เช่น ภาษาเบสิก, ภาษาเพิร์ล, ภาษาพีเอชพี.

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และอินเทอร์พรีเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ครีเอทีฟคอมมอนส์

รีเอทีฟคอมมอนส์ ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวงกำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม ครีเอทีฟคอมมอนส์ก่อตั้งโดย ลอว์เรนซ์ เลสสิก ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย โจอิจิ อิโต (จอย อิโต).

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และครีเอทีฟคอมมอนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์

OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แ.

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และซอฟต์แวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์

ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ หรือ ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ (proprietary software) คือ ซอฟต์แวร์ที่สิทธิ์ในการใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ ถูกจำกัดหรือสงวนสิทธิ์ไว้โดยเจ้าของซอฟต์แวร์หรือผู้จัดทำ ผู้อื่นไม่สามารถนำมาใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ ได้นอกจากได้รับอนุญาตในสิทธิ์นั้นจากเจ้าของ.

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และซอฟต์แวร์เสรี · ดูเพิ่มเติม »

C

C (ตัวใหญ่:C ตัวเล็ก:c) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 3.

ใหม่!!: กอปปีเลฟต์และC · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Copyleftก๊อปปี้ลิฟลิขสิทธิ์เสรีลิขซ้ายนิรสิทธิ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »