โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองพลส่งทางอากาศที่ 101

ดัชนี กองพลส่งทางอากาศที่ 101

กองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 101 (101st Airborne Division) เป็นกองพลร่มพิเศษของกองทัพสหรัฐ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในช่วงปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด กองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 101 ได้เข้าไปยึดฐานที่ตั้งทหารเยอรมันและทำลายสะพานตัดกองหนุนของกองทัพเยอรมันที่จะมาช่วยทหารเยอรมันตรงหัวหาด (หาดโอมาฮ่า ซอร์ด ยูทาห์ จูโน) ก่อนการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีและในปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน ภารกิจยึดเมืองและหัวสะพานที่ฮอลแลนด์ล้มเหลวเพราะกรมทหาราบอากาศที่ 1 ของอังกฤษโดนตีแตกพ่ายที่เมืองอาร์เน็ม (ยุทธการอาร์เน็ม) และทำให้กองทัพเยอรมันสามารถรวมกำลังตอบโต้ให้กองพลร่มถอยออกไปจากเนเธอร์แลนด์ได้สำเร็จ และยุทธการตอกลิ่ม ก็สามารถต้านทานกองทัพเยอรมันจนกว่ากองหนุน (กองทัพที่ 3 ของพลเอกจอร์จ เอส. แพตตัน) จะมาสมทบ แล้วเข้าร่วมการรบครั้งสุดท้ายในปฏิบัติการเวอซิเบรุงโดยที่ไปยึดแหล่งอุตสาหกรรมในเยอรมัน และในสงครามเย็นกองพลร่มที่ 101 นี้ก็ไปรบที่เวียดนาม และในสมรภูมิอื่น ๆ อีกครั้งกองพลร่มที่ 101 ได้ออกปฏิบัติการในสงครามอิรักอีกด้ว.

17 ความสัมพันธ์: พลร่มพลตรีกองทัพสหรัฐการบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตกการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดียุทธการตอกลิ่มรัฐเคนทักกีสงครามอิรักสงครามอ่าวเปอร์เซียสงครามต่อต้านการก่อการร้ายสงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน)สงครามโลกครั้งที่สองสงครามเกาหลีสงครามเวียดนามจอร์จ เอส. แพตตันปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

พลร่ม

ลร่มขณะกระโดดร่มชูชีพ พลร่ม (Paratrooper) เป็นหน่วยทหารที่ได้รับการฝึกการกระโดดร่มเป็นพิเศษ มีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติประมาณ 2 ปี พลร่มมีบทความในสงครามโลกครั้งที่ 2 มีส่วนสำคัญในการนำชัยชนะมาสู่ฝ่ายพันธมิตร โดยพลร่มถูกฝึกให้เป็นแนวหน้าในการออกรบ ไม่ว่าจะเป็นที่นอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส แองโทเฟิน ประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือ บาสตง ประเทศเบลเยียม พลร่ม ถูกฝึกมาด้วย ตำราชื่อ currahee ซึ่งเป็นชื่อภูเขา ที่พลร่มใช้วิ่งขึ้น-ลง มีคำกล่าวว่า ขึ้น 3 ไมล์ ลง 3 ไมล์ หมายถึง วิ่งขึ้นลง currahee นั่นเอง.

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และพลร่ม · ดูเพิ่มเติม »

พลตรี

ลตรี (Major general) เป็นยศของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกองทัพบก ที่ใช้กันในหลายประเทศ ในเครือจักรภพและสหรัฐอเมริกา ในกองพล พลตรีจะอยู่ใต้บังคับบัญชาของพลโท และอยู่ระดับสูงกว่ายศพลจัตวา ในบางประเทศรวมถึงยุโรปตะวันออก ถือว่ายศพลตรีคือยศต่ำที่สุดของนายพล ในประเทศขนาดเล็กเช่นเอสโตเนีย พลตรีถือเป็นยศที่สูงที่สุดในกองทัพ ในสหราชอาณาจักร ยศพลตรี เทียบเท่ากับพลเรือตรีของกองทัพเรือและพลอากาศตรีของกองทัพอาก.

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และพลตรี · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพสหรัฐ

กองทัพสหรัฐ (United States Armed Forces) เป็นกองทหารของสหรัฐ ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ เหล่านาวิกโยธิน, กองทัพอากาศและหน่วยยามฝั่ง สหรัฐมีประเพณีพลเรือนควบคุมทหารอย่างเข้มแข็ง ประธานาธิบดีสหรัฐเป็นผู้บัญชาการทหาร และมีกระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักซึ่งนำนโยบายทางทหารไปปฏิบัติ กระทรวงกลาโหมมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นพลเรือนและอยู่ในคณะรัฐมนตรี เป็นเจ้ากระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่ในอันดับที่สองของสายการบังคับบัญชาของทหาร รองแต่เพียงประธานาธิบดี และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหลักของประธานาธิบดีในกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ประธานาธิบดีมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) เป็นที่ปรึกษา ซึ่งมีที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Advisor) เป็นผู้นำ เพื่อประสานงานการปฏิบัติทางทหารกับการทูต ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีเสนาธิการร่วม (Joint Chiefs of Staff) เจ็ดคนเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยหัวหน้าเหล่าทัพต่าง ๆ ของกระทรวงและหัวหน้าสำนักงานหน่วยรักษาดินแดน (National Guard Bureau) โดยประธานเสนาธิการร่วมและรองประธานเสนาธิการร่วมเป็นผู้สรรหาผู้นำ ผู้บัญชาการหน่วยยามฝั่งไม่เป็นสมาชิกของเสนาธิการร่วม ทุกเหล่าทัพประสานงานระหว่างปฏิบัติการและภารกิจร่วม ภายใต้การบังคับบัญชาพลรบรวม (Unified Combatant Command) ซึ่งอยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยกเว้นหน่วยยามฝั่ง หน่วยยามฝั่งอยู่ในการบริหารจัดการของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และได้รับคำสั่งปฏิบัติการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ประธานาธิบดีหรือรัฐสภาคองเกรสอาจโอนอำนาจการบังคับบัญชาหน่วยยามฝั่งไปให้กระทรวงทหารเรือ ในยามสงครามได้ เหล่าทัพทั้งห้าล้วนจัดเป็นหน่วยที่แต่งเครื่องแบบสหรัฐอันมีอยู่เจ็ดหน่วย อีกสองหน่วยได้แก่ หน่วยบริการสาธารณสุข และ หน่วยการบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ นับแต่ก่อตั้ง กองทัพมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์สหรัฐ สัมผัสความสามัคคีและเอกลักษณ์ของชาติถูกสร้างขึ้นจากผลของชัยชนะในสงครามบาร์บารีทั้งสองครั้ง กระนั้น บิดาผู้ก่อตั้งยังไม่ไว้ใจการมีกำลังทหารถาวร จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองปะทุ สหรัฐจึงตั้งกองทัพบกประจำการขนาดใหญ่อย่างเป็นทางการ รัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาต..

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และกองทัพสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตก

การบุกครองเยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกในช่วงเดือนสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้ข้าม แม่น้ำไรน์ ในเดือน มีนาคม 1945 โดยเข้าโจมตีทางตะวันตกของเยอรมนี จาก ทะเลบอลติก จนถึงทางตอนเหนือของ ออสเตรีย และตอนใต้ ก่อนที่เยอรมนีจะยอมแพ้ในวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 การบุกครองยังมีอีกชื่อว่า "การทัพยุโรปกลาง" โดยนักประวัติศาสตร์ทางการทหารของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และการบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี

การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี หรือชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการเนปจูน เป็นปฏิบัติการยกพลขึ้นบกเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน..

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการตอกลิ่ม

German movements ยุทธการตอกลิ่ม (Battle of the Bulge) (16 ธันวาคม 1944 – 25 มกราคม 1945) เป็นการบุกใหญ่ครั้งสุดท้ายของเยอรมนีบนแนวรบด้านตะวันตกช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านเขตอาร์แดนที่มีป่าทึบแห่งวาโลเนียในทางตะวันออกของประเทศเบลเยียม ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศสและประเทศลักเซมเบิร์ก การเข้าตีอย่างจู่โจมนี้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ทันตั้งตัวย่างสิ้นเชิง กำลังอเมริกันรับแรงกระทบของการเข้าตีและเป็นปฏิบัติการมีกำลังพลสูญเสียมากที่สุดในสงคราม ยุทธการดังกล่าวทำให้กำลังยานเกราะของเยอรมนีหมดลงอย่างรุนแรง และสามารถทดแทนได้เพียงเล็กน้อย กำลังพลของเยอรมันและอากาศยานของลุฟท์วัฟเฟอในเวลาต่อมาก็ประสบความสูญเสียอย่างหนักเช่นกัน ฝ่ายเยอรมันเรียกการบุกนี้ว่า ปฏิบัติการเฝ้าดูไรน์ (Unternehmen Wacht am Rhein) ส่วนฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งชื่อว่า การรุกโต้ตอบอาร์เดน วลี "ยุทธการตอกลิ่ม" นั้นสื่อร่วมสมัยตั้งให้เพื่ออธิบายส่วนยื่นเด่นในแนวรบของเยอรมนีในแผนที่ข่าวยามสงคราม และกลายเป็นชื่อที่แพร่หลายที่สุดสำหรับการยุทธ์นี้ การรุกของเยอรมนีตั้งใจหยุดฝ่ายสัมพันธมิตรมิใช้ท่าแอนต์เวิร์ปของประเทศเบลเยียม และเพื่อแบ่งแนวของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อให้ฝ่ายเยอรมันตีวงล้อมและทำลายกองทัพสัมพันธมิตรสี่กองทัพ และบังคับให้สัมพันธมิตรตะวันตกเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพโดยฝ่ายอักษะได้เปรียบ เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ผู้เผด็จการเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เชื่อว่าตนสามารถทุ่มความสนใจต่อโซเวียตบนแนวรบด้านตะวันออกได้ มีการวางแผนการรุกดังกล่าวโดยปิดเป็นความลับที่สุด มีการติดต่อวิทยุและการเคลื่อนย้ายกำลังและยุทโธปกรณ์ภายใต้กำบังของความมืด ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรมิได้ตอบโต้การสื่อสารของเยอรมันที่ถูกดักได้ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการตระเตรียมการบุกของเยอรมันครั้งสำคัญ ฝ่ายเยอรมันบรรลุการจู่โจมอย่างสมบูรณ์ในเช้าวันที่ 16 ธันวาคม 1944 เนื่องจากความผยองของฝ่ายสัมพันธมิตร การหมกมุ่นกับแผนการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตร และการลาดตระเวนทางอากาศที่เลว ฝ่ายเยอรมันเข้าตีส่วนที่มีการป้องกันเบาบางของแนวรบฝ่ายสัมพันธมิตร โดยฉวยประโยชน์จากสภาพอากาศที่มีเมฆมากซึ่งทำให้กองทัพอากาศที่เหนือกว่ามากไม่สามารถใช้การได้ มีการต่อต้านอย่างดุเดือด ณ ไหล่ทิศเหนือของการบุก รอบสันเขาเอลเซ็นบอร์น (Elsenborn) และในทางใต้ รอบบาสตอง (Bastogne) สกัดฝ่ายเยอรมันมิให้เข้าถึงถนนสำคัญสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกซึ่งเยอรมันต้องอาศัยจึงจะสำเร็จ แถวยานเกราะและทหารราบซึ่งควรบุกไปตามเส้นทางขนานกลับพบว่าอยู่บนถนนเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ และภูมิประเทศซึ่งเอื้อต่อฝ่ายตั้งรับ ทำให้การบุกของเยอรมันล่าช้ากว่ากำหนด และทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเสริมกำลังพลที่จัดวางอย่างเบาบางได้ สภาพอากาศที่ดีขึ้นทำให้การโจมตีทางอากาศต่อกำลังและแนวกำลังบำรุงของเยอรมัน ซึ่งตอกย้ำความล้มเหลวของการบุก ในห้วงของความปราชัย หน่วยของเยอรมันที่มีประสบการณ์สูงขาดแคลนกำลังพลและยุทโธปกรณ์อย่างมาก ส่วนผู้รอดชีวิตล่าถอยไปยังการป้องกันของแนวซีกฟรีด ความปราชัยนี้ทำให้หน่วยที่มีประสบการณ์หลายหน่วยของเยอรมนีขาดแคลนกำลังคนและยุทโธปกรณ์ เนื่องจากผู้รอดชีวิตได้ถอยไปยังแนวซีกฟรีด สำหรับอเมริกา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรบประมาณ 610,000 นาย และมีกำลังพลสูญเสีย 89,000 นาย โดยในจำนวนนี้มีเสียชีวิต 19,000 นาย ทำให้ยุทธการตอกลิ่มเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดและนองเลือดที่สุดที่สู้รบกันในแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และยุทธการตอกลิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคนทักกี

รัฐเคนทักกี (Kentucky) เป็นรัฐทางฟากตะวันออกของสหรัฐอเมริกา เมืองหลวงของรัฐคือ แฟรงก์เฟิร์ต และเมืองสำคัญในรัฐคือ หลุยส์วิลล์ และเล็กซิงตัน รัฐเคนทักกีเป็นที่รู้จักในด้านการแข่งม้าเคนทักกีเดอร์บี เหล้าเบอร์บอนที่มีต้นกำเนิดจากเคนทักกี และดนตรีบลูแกรส ผู้ว่ารัฐคนปัจจุบันคือ hambreak.

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และรัฐเคนทักกี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิรัก

งครามอิรัก เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศอิรักตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และสงครามอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอ่าวเปอร์เซีย

งครามอ่าวเปอร์เซีย หรือ สงครามอ่าว (Gulf War, 2 สิงหาคม 2533 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ชื่อรหัสปฏิบัติการโล่ทะเลทราย (Operation Desert Shield, 2 สิงหาคม 2533 – 17 มกราคม 2534) เป็นปฏิบัติการนำสู่การสั่งสมกำลังและการป้องกันของซาอุดีอาระเบียและปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm, 17 มกราคม 2534 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ในระยะสู้รบ เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกำลังผสมจาก 34 ชาตินำโดยสหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรักหลังการบุกครองและผนวกคูเวตของอิรัก สงครามนี้มีชื่ออื่น เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอ่าวครั้งที่หนึ่ง, สงครามคูเวต, สงครามอิรัก ซึ่งคำว่า "สงครามอิรัก" ต่อมาใช้เรียกการบุกครองอิรักเมื่อปี 2546 แทน การยึดครองคูเวตของกองทัพอิรักซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 นั้นถูกนานาชาติประณาม และสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพลันใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช วางกำลังสหรัฐเข้าสู่ซาอุดีอาระเบียและกระตุ้นให้ประเทศอื่นส่งกำลังของตนไปที่นั้นด้วย มีหลายชาติเข้าร่วมกำลังผสม ซึ่งเป็นพันธมิตรทางทหารที่ใหญ่ที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังทหารของกำลังผสมส่วนใหญ่มาจากสหรัฐ โดยมีซาอุดีอาระเบีย สหราชอาณาจักรและอียิปต์เป็นผู้มีส่วนร่วมรายใหญ่ตามลำดับ ซาอุดีอาระเบียสมทบเงิน 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าสงคราม 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สงครามนี้มีการริเริ่มการถ่ายทอดข่าวสดจากแนวหน้าของการสู้รบ หลัก ๆ โดยเครือข่ายซีเอ็นเอ็นของสหรัฐ สงครามนี้ยังได้ชื่อเล่นว่า สงครามวิดีโอเกม หลังการถ่ายทอดภาพรายวันจากกล้องบนเครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐระหว่างปฏิบัติการพายุทะเลทราย ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตเริ่มด้วยทางระดมทิ้งระเบิดทางอากาศและทางเรือเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2534 และดำเนินไปห้าสัปดาห์ ตามด้วยการโจมตีภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ สงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะอย่างขาดลอยของกำลังผสม ซึ่งขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตและรุกเข้าดินแดนอิรัก กำลังผสมยุติการบุกและประกาศหยุดยิงหลังการทัพภาคพื้นเริ่ม 100 ชั่วโมง การสู้รบทางอากาศและทางบกจำกัดอยู่ในประเทศอิรัก คูเวตและบางพื้นที่ตรงพรมแดนซาอุดีอาระเบีย ประเทศอิรักปล่อยขีปนาวุธสกั๊ดต่อเป้าหมายทางทหารของกำลังผสมและต่ออิสราเอล.

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และสงครามอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามต่อต้านการก่อการร้าย

งครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror) เป็นคำที่ใช้ทั่วไปกับการทัพทางทหารระหว่างประเทศซึ่งเริ่มต้นอันเป็นผลมาจากวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ต่อสหรัฐอเมริกา การทัพครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อกำจัดอัลกออิดะห์และองค์การก่อการร้ายอื่น ๆ สหราชอาณาจักร ประเทศสมาชิกนาโต้อื่น และประเทศนอกกลุ่มนาโต้เข้าร่วมในความขัดแย้งนี้ด้วยเช่นกัน คำว่า "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย" นี้ ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช แห่งสหรัฐอเมริกา ใช้เป็นคนแรกเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2544 รัฐบาลบุชและสื่อตะวันตกได้ใช้คำดังกล่าวหมายถึงการต่อสู้ทางทหาร การเมือง ชอบด้วยกฎหมาย และเชิงความคิดทั่วโลก โดยมุ่งเป้าทั้งองค์การที่ถูกระบุว่าเป็นผู้ก่อการร้ายและรัฐบาลที่ถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนการก่อการร้.

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และสงครามต่อต้านการก่อการร้าย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน)

งครามอัฟกานิสถาน เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม..

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และสงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน) · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และสงครามเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ เอส. แพตตัน

อร์จ สมิธ แพตตัน,จูเนียร์ (George Smith Patton, Jr.; 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885 – 21 ธันวาคม ค.ศ. 1945) เป็นนายทหารระดับอาวุโสของกองทัพสหรัฐอเมริกาเป็นผู้สั่งกองทัพสหรัฐที่7ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและยุโรปของสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เป็นที่รู้จักกันดีในการนำกองทัพสหรัฐที่3ในฝรั่งเศสและเยอรมนีหลังปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดมิถุนายน 1944 ในวัยเด็กแพตตัน มีภูมิหลังโดยคนในครอบครัวได้เป็นทหารในกองพลทหารม้า ทำให้ครอบครัวได้ส่งเขาเข้าเรียนทหาร ต่อมา แพตตันเข้าร่วมสถาบันการทหารเวอร์จิเนียและต่อมาที่สถาบันการทหารที่เวสต์พอย สหรัฐฯ เขาเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 1912 ในการวิ่งกรีฑาสมัยใหม่ซึ่งเขาได้ที่ห้า แพ็ตตันยังเป็นผู้ออกแบบดาบ M1913 ทหารม้าดาบที่รู้จักกันทั่วไปว่า "ดาบของแพ็ตตัน“Patton Sword.”."ในช่วงสงครามชายแดนในส่วนหนึ่งของการปฏิวัติเม็กซิกัน เขาได้คิดวิธีในการปราบกองโจรม้าเม็กซิกัน โดยนำปืนกลหนักติดกับรถเปิดทุน ผลเป็นที่น่าพอใจมาก ทำให้ได้มีการนำปืนกลหนักติดกับรถจิป สิ่งนั้นได้แพร่หลายไปทั่วโลกและยังมีการทำอยู่ในปัจจุบัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้บัญชาการกองพลยานเกราะในการยุทธฝรั่งเศส แต่ได้รับบาดเจ็บก่อนที่จะได้เห็นชัยชนะของพลของ.หลังสงครามเขาเป็นหนึ่งในคนที่พัฒนาการรบด้วยรถถังชึ่งเป็นของใหม่ในช่วงเวลานั้น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองแพ็ตตันนำทัพสหรัฐฯเข้าในรุกรานของคาซาบลังกาในระหว่างปฏิบัติการคบเพลิงปี 1942 หลังปฏิบัติเขาเป็นที่ยอมรับเป็นผู้บัญชาการที่มีประสิทธิภาพ จากนั้นได้นำกองกำลังบุกเกาะซิชิลี แต่ก็เกิดเรื่องขึ้นเมื่อเขาได้ตบหน้าทหารหนุ่มสองนายหลังไม่ยอมไปรบทั้งที่ทั้งสองมีอาการโรคshell shock (อาการหวาดกลัวสงคราม) ทำให้แพ็ตตันถูกสอบสวน ผลให้เขาถูกพักงานและออกจากผู้บัญชาการการยุทธอิตาลี แต่เนื่องจากความเก่งของเขา ทำให้จอมพลไอเซนฮาวร์ ได้นำเขากลับมาสู่การบัญชาการกองทัพสหรัฐที่3 ในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด เขาได้แก้ตัวโดยในคุมกองพลยานเกราะอย่างรวดเร็วเขาตีข้ามประเทศฝรั่งเศส ได้ชนะการต้านของเยรมนีในยุทธการตอกลิ่ม จนจบสงคราม หลังจากที่สงครามแพตตันนำกองกำลังประจำการในบาวาเรีย แต่แล้วในวันที่ 9 ธันวาคม 1945 รถจิปประจำตำแหน่งเกิดประสบอุบัติเหตุเข้าชนรถบรรทุกของกองทัพสหรัฐฯ เขาทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสียชีวิตในไฮเดลเบิร์กเยอรมนีวันที่ 21 ธันวาคม 1945 การบุกเกาะซิชิลี,1943 หมวดหมู่:ทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:นักยุทธศาสตร์ทหาร หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายไอริช หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายสกอต-ไอริช หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายเวลส์ หมวดหมู่:เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน หมวดหมู่:บุคคลจากวิทยาลัยการทหารสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:บุคคลในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด.

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และจอร์จ เอส. แพตตัน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน

แสดงแผนปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรในปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน ทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน (Operation Market Garden) เป็นปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยประเทศอังกฤษ ในห้วงวันที่ 17-25 กันยายน..

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) เป็นส่วนหนึ่งของการรบในแนวรบด้านตะวันตก ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี..

ใหม่!!: กองพลส่งทางอากาศที่ 101และปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 101กองพลพลร่มที่ 101

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »