โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองทัพเรือไทยและเครื่องบินขับไล่

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กองทัพเรือไทยและเครื่องบินขับไล่

กองทัพเรือไทย vs. เครื่องบินขับไล่

กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวีไทย (คำย่อ: ทร., Royal Thai Navy) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 74 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (กบร. กร.) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร. กร.) และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.). รื่องบินจู่โจมหนึ่งลำ (เอ-10) เครื่องบินขับไล่ เป็นอากาศยานทางทหารที่ถูกออกแบบมาเพื่อการต่อสู้ทางอากาศกับอากาศยานลำอื่นเป็นหลัก มันตรงกันข้ามกับเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อโจมตีภาคพื้นดินโดยการทิ้งระเบิดเป็นหลัก เครื่องบินขับไล่นั้นมีขนาดเล็ก รวดเร็ว และคล่องแคล่ว เครื่องบินขับไล่มากมายจะมีความสามารถรองในการโจมตีภาคพื้นดิน และบ้างก็มีสองบทบาทโดยเรียกว่าเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด บางครั้งคำว่าเครื่องบินขับไล่ก็ถูกใช้ร่วมกับเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดิน เครื่องบินขับไล่โดยหลักแล้วจะหมายถึงเครื่องบินติดอาวุธที่แย่งครองความเป็นจ้าวทางอากาศเหนือข้าศึกในสมรภูมิ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ความสำเร็จและความเหนือกว่าทางอากาศได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในชัยชนะของสงคราม โดยเฉพาะสงครามทั่วไประหว่างกองทัพปกติ (ไม่เหมือนกับสงครามกองโจร) การซื้อขาย การฝึก และการดูแลรักษากองบินเครื่องบินขับไล่จะแสดงถึงทุนที่มากมายของกองทัพนั้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กองทัพเรือไทยและเครื่องบินขับไล่

กองทัพเรือไทยและเครื่องบินขับไล่ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาอังกฤษสหราชอาณาจักรสงครามโลกครั้งที่สองสงครามเกาหลีประเทศอิตาลีประเทศเยอรมนีแอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

กองทัพเรือไทยและภาษาอังกฤษ · ภาษาอังกฤษและเครื่องบินขับไล่ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

กองทัพเรือไทยและสหราชอาณาจักร · สหราชอาณาจักรและเครื่องบินขับไล่ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

กองทัพเรือไทยและสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามโลกครั้งที่สองและเครื่องบินขับไล่ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

กองทัพเรือไทยและสงครามเกาหลี · สงครามเกาหลีและเครื่องบินขับไล่ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

กองทัพเรือไทยและประเทศอิตาลี · ประเทศอิตาลีและเครื่องบินขับไล่ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

กองทัพเรือไทยและประเทศเยอรมนี · ประเทศเยอรมนีและเครื่องบินขับไล่ · ดูเพิ่มเติม »

แอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2

อ-7 คอร์แซร์ 2 (A-7 Corsair II) เป็นเครื่องบินโจมตีขนาดเบาบนเรือบรรทุกเครื่องบินที่เริ่มเข้ามาแทนที่เอ-4 สกายฮอว์คของกองทัพเรือสหรัฐและเข้ารวมรบในสงครามเวียดนาม คอร์แซร์ถูกใช้โดยกองทัพอากาศสหรัฐเช่นเดียวกับกองกำลังรักษาดินแดนทางอากาศ เพื่อเข้าแทนที่เอ-1 สกายไรเดอร์ เอฟ-100 ซูเปอร์เซเบอร์ และเอฟ-105 ธันเดอร์ชิฟ คอร์แซร์ยังถูกใช้โดยกรีซในทศวรรษที่ 1970 และโปรตุเกสและไทยในทศวรรษที่ 1980 โครงสร้างของเอ-7 มีพื้นฐานมาจากเอฟ-8 ครูเซเดอร์ที่ผลิตโดยวูท มันเป็นหนึ่งในเครื่องบินรบรุ่นแรกๆ ที่มีหน้าจอแบบฮัด (head-up display) ระบบนำร่อง และเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน.

กองทัพเรือไทยและแอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2 · เครื่องบินขับไล่และแอลทีวี เอ-7 คอร์แซร์ 2 · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กองทัพเรือไทยและเครื่องบินขับไล่

กองทัพเรือไทย มี 103 ความสัมพันธ์ขณะที่ เครื่องบินขับไล่ มี 108 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 3.32% = 7 / (103 + 108)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กองทัพเรือไทยและเครื่องบินขับไล่ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »