โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองทัพอากาศสหรัฐและสหรัฐ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กองทัพอากาศสหรัฐและสหรัฐ

กองทัพอากาศสหรัฐ vs. สหรัฐ

กองทัพอากาศสหรัฐ (United States Air Force; USAF) คือกองกำลังพิเศษทางอากาศและอวกาศของกองทัพสหรัฐ และเป็นกองกำลังหนึ่งในเจ็ดของหน่วยงานที่ใส่เครื่องแบบของสหรัฐ ในอดีตวันที่ 1 สิงหาคม.. หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กองทัพอากาศสหรัฐและสหรัฐ

กองทัพอากาศสหรัฐและสหรัฐ มี 15 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กระทรวงกลาโหมสหรัฐกองทัพบกสหรัฐกองทัพเรือสหรัฐรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐรัฐเวอร์จิเนียวุฒิสภาสหรัฐสงครามอิรักสงครามต่อต้านการก่อการร้ายสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงครามเวียดนามดอนัลด์ ทรัมป์คณะเสนาธิการร่วมประธานาธิบดีสหรัฐเดอะเพนตากอน

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ (United States Department of Defense; ย่อ: DoD) เป็นกระทรวงของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ ที่ทำหน้าที่ประสานงานและตรวจตราการทำงานและหน่วยงานราชการของรัฐบาลสหรัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของชาติและการทหาร.

กระทรวงกลาโหมสหรัฐและกองทัพอากาศสหรัฐ · กระทรวงกลาโหมสหรัฐและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพบกสหรัฐ

กองทัพบกสหรัฐ (United States Army) เป็นเหล่าที่ใหญ่ที่สุดในกองทัพสหรัฐ และดำเนินการปฏิบัติการทางทหารบก เป็นหนึ่งในเจ็ดของเหล่าทัพสหรัฐ โดยถูกกำหนดให้เป็นกองทัพบกสหรัฐ ในรัฐธรรมนูณสหรัฐ มาตราที่ 2 หมวด 2 วรรค 1 ในฐานะที่เป็นเหล่าที่ใหญ่และอาวุโสที่สุดในกองทัพสหรัฐ เดิมทีกองทัพสหรัฐมีรากฐานมาจากกองทัพภาคพื้นทวีป สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน..

กองทัพบกสหรัฐและกองทัพอากาศสหรัฐ · กองทัพบกสหรัฐและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือสหรัฐ

ระวังสับสนกับ กระทรวงทหารเรือสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ (อังกฤษ: United States Navy, USN) เป็นกองกำลังทางทะเลในสังกัดกองทัพสหรัฐ และหนึ่งในเจ็ดองค์กรในเครื่องแบบของสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ และมีความสามารถมากที่สุดในโลก โดยมีขนาดกองเรือตามน้ำหนักที่มากที่สุด กองทัพเรือสหรัฐมีกองเรือบรรทุกอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเรือบรรทุกอากาศยาน 10 ลำในสถานะประจำการ อีก 2 ลำในสถานะกองเรือสำรอง และกำลังก่อสร้างเรือบรรทุกอากาศยานใหม่อีก 3 ลำ กองทัพเรือสหรัฐมีกำลัง 323,792 นายในสถานะประจำการ และอีก 108,515 นายในกองทัพเรือสำรอง มีเรือรบพร้อมประจำการ 274 ลำ และมีอากาศยานที่ใช้การได้มากกว่า 3,700 ลำ ตามข้อมูลในเดือนตุลาคม..

กองทัพอากาศสหรัฐและกองทัพเรือสหรัฐ · กองทัพเรือสหรัฐและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ

รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม (Secretary of Defense) เป็นหัวหน้าและประธานบริหารกระทรวงกลาโหม อันเป็นกระทรวงหนึ่งของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐDoDD 5100.1: Enclosure 2: a อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเหนือกองทัพสหรัฐอเมริกานั้นเป็นรองเพียงประธานาธิบดีTrask & Goldberg: p.11 ประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา เป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีโดยจารีตประเพณี และเป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติตามกฎหม.

กองทัพอากาศสหรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ · รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเวอร์จิเนีย

รัฐเวอร์จิเนีย (Commonwealth of Virginia) เป็นรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของประเทศ เมืองหลวงของรัฐคือ ริชมอนด์ และเมืองที่ประชากรมากที่สุดคือ เวอร์จิเนียบีช เวอร์จิเนียเป็นรัฐที่มีภูมิทัศน์สวยงามมากเนื่องจากมีทั้งพื้นที่เป็นภูเขาและติดทะเล มีป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ รัฐเวอร์จิเนียติดต่อกับรัฐแมริแลนด์ วอชิงตัน ดี.ซี. และ มหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออก ติดต่อกับ รัฐนอร์ทแคโรไลนา และรัฐเทนเนสซี ทางทิศใต้ ติดต่อกับรัฐเคนทักกี และ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ทางทิศตะวันตก เวอร์จิเนียประกอบไปด้วย 95 เคาน์ตี และ 39 เมืองอิสระ จุดสูงสุดในรัฐคือ เมาต์โรเจอส์ และจุดต่ำสุดในรัฐคือมหาสมุทรแอตแลนติก ชื่อของรัฐเวอร์จิเนีย ตั้งตามชื่อของ สมเด็จพระบรมราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์ (The Virgin Queen) รัฐเวอร์จิเนียเป็นบ้านเกิดของประธานาธิบดี 8 คน ซึ่งรวมถึง จอร์จ วอชิงตัน และ โทมัส เจฟเฟอร์สัน.

กองทัพอากาศสหรัฐและรัฐเวอร์จิเนีย · รัฐเวอร์จิเนียและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

วุฒิสภาสหรัฐ

วุฒิสภาสหรัฐ (United States Senate) เป็นสภาสูงของรัฐสภาสหรัฐ โดยเป็นสภานิติบัญญัติแห่งสหรัฐร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐซึ่งเป็นสภาล่าง องค์ประกอบและอำนาจของวุฒิสภาตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ มาตรา 1 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นผู้แทนจากแต่ละรัฐ โดยแต่ละรัฐมีผู้แทนเท่ากันรัฐละสองคน ไม่ว่ามีประชากรมากน้อยเพียงใด โดยมีวาระดำรงตำแหน่งสลับฟันปลา (staggered term) วาระละ 6 ปี ปัจจุบันในสหภาพมี 50 รัฐ ฉะนั้นจึงมีสมาชิกวุฒิสภา 100 คน ตั้งแต่ปี 1789 ถึง 1913 สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งของสภานิติบัญญัติของรัฐที่ตนเป็นผู้แทน หลังการให้สัตยาบันการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 17 ในปี 1913 ปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน ห้องประชุมวุฒิสภาตั้งอยู่ปีกเหนือของอาคารรัฐสภาสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

กองทัพอากาศสหรัฐและวุฒิสภาสหรัฐ · วุฒิสภาสหรัฐและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิรัก

งครามอิรัก เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศอิรักตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม..

กองทัพอากาศสหรัฐและสงครามอิรัก · สงครามอิรักและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามต่อต้านการก่อการร้าย

งครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror) เป็นคำที่ใช้ทั่วไปกับการทัพทางทหารระหว่างประเทศซึ่งเริ่มต้นอันเป็นผลมาจากวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ต่อสหรัฐอเมริกา การทัพครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อกำจัดอัลกออิดะห์และองค์การก่อการร้ายอื่น ๆ สหราชอาณาจักร ประเทศสมาชิกนาโต้อื่น และประเทศนอกกลุ่มนาโต้เข้าร่วมในความขัดแย้งนี้ด้วยเช่นกัน คำว่า "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย" นี้ ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช แห่งสหรัฐอเมริกา ใช้เป็นคนแรกเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2544 รัฐบาลบุชและสื่อตะวันตกได้ใช้คำดังกล่าวหมายถึงการต่อสู้ทางทหาร การเมือง ชอบด้วยกฎหมาย และเชิงความคิดทั่วโลก โดยมุ่งเป้าทั้งองค์การที่ถูกระบุว่าเป็นผู้ก่อการร้ายและรัฐบาลที่ถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนการก่อการร้.

กองทัพอากาศสหรัฐและสงครามต่อต้านการก่อการร้าย · สงครามต่อต้านการก่อการร้ายและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

กองทัพอากาศสหรัฐและสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามโลกครั้งที่สองและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

กองทัพอากาศสหรัฐและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

กองทัพอากาศสหรัฐและสงครามเวียดนาม · สงครามเวียดนามและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ดอนัลด์ ทรัมป์

อนัลด์ จอห์น ทรัมป์ (Donald John Trump; เกิด 14 มิถุนายน ค.ศ. 1946) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 และยังเป็นนักธุรกิจ, พิธีกรรายการโทรทัศน์ และนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์หลายเรื่อง เขาเป็นประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัททรัมป์ออร์กาไนเซชัน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ทรัมป์ยังเป็นผู้ก่อตั้งทรัมป์เอนเตอร์เทนเมนต์รีสอร์ต ที่มีกิจการกาสิโนและโรงแรมหลายแห่งทั่วโลก และด้วยการใช้ชีวิตที่หรูหราและการพูดจาที่โผงผางทำให้เขามีชื่อเสียง ยังเป็นส่วนให้เขาประสบความสำเร็จในรายการเรียลลิตี้โชว์ทางช่องเอ็นบีซี ที่ชื่อ The Apprentice (ที่เขารับตำแหน่งพิธีกรและผู้อำนวยการสร้าง) ดอนัลด์เกิดและเติบโตในนครนิวยอร์ก เขาเป็นบุตรคนที่ 4 ใน 5 ของเฟรด ทรัมป์ เศรษฐีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอร์ก ดอนัลด์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพ่อของเขาในเป้าหมายของอาชีพการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และในครั้งจบการศึกษาจากโรงเรียนธุรกิจวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปี..

กองทัพอากาศสหรัฐและดอนัลด์ ทรัมป์ · ดอนัลด์ ทรัมป์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

คณะเสนาธิการร่วม

ณะเสนาธิการร่วม (Joint Chiefs of Staff, ย่อ: JCS) เป็นหน่วยงานที่ปรึกษาทางทหารระดับสูงสุดในกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาที่รับผิดชอบในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางทหาร คณะเสนาธิการร่วมซึ่งประกอบด้วย เสนาธิการกองทัพบก, เสนาธิการกองทัพอากาศ, หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการกองทัพเรือ, ผู้บัญชาการเหล่านาวิกโยธิน และหัวหน้าสำนักคุ้มกันแห่งชาติ ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาโดยรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติปี..

กองทัพอากาศสหรัฐและคณะเสนาธิการร่วม · คณะเสนาธิการร่วมและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีสหรัฐ

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (President of the United States; ย่อ: POTUS) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลแห่งสหรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร และเป็นจอมทัพสหรัฐ รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 บัญญัติว่า ประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายส่วนกลาง รับผิดชอบแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ และข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง ทั้งมีอำนาจทำสนธิสัญญาเมื่อได้รับคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษ ลดโทษ เปลี่ยนโทษ เรียกและเลื่อนประชุมสมัยวิสามัญแห่งสภาทั้งสองของรัฐสภา นับแต่สถาปนาประเทศเป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ปัจจุบันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติอย่างเป็นทางการนอกเหนือไปจากการลงนามและยับยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาอนุมัติ แต่ประธานาธิบดีก็แบกรับความรับผิดชอบขนานใหญ่ในการกำหนดวาระประชุมพรรค รวมถึงกำหนดนโยบายการต่างประเทศและการในประเทศด้วย ประธานาธิบดีสหรัฐนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระซึ่งบัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ที่ได้รับการอนุมัติในปี..

กองทัพอากาศสหรัฐและประธานาธิบดีสหรัฐ · ประธานาธิบดีสหรัฐและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเพนตากอน

อะเพนตากอน (The Pentagon) หรือ อาคารเพนตากอน เป็นอาคารที่ทำการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เคานตีอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย อาคารเพนตากอนรูปห้าเหลี่ยมเป็นสัญลักษณ์ทางการทหารของสหรัฐอเมริกา อาคารเพนตากอนเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2486 เป็นอาคารสำนักงานที่มีพนักงานมากที่สุดในโลก และเคยเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก (นับตามปริมาณพื้นที่ใช้สอย) ปัจจุบันมีพนักงานทั้งทหารและพลเรือนทำงานมากกว่า 23,000 คน และพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหารอีกกว่า 3,000 คน รูปทรงของเพนตากอนเป็นรูปห้าเหลี่ยม ตัวอาคารมีห้าชั้น และแต่ละชั้นแบ่งเป็นวงย่อยๆ ห้าวงซ้อนกัน บริเวณใจกลางของเพนตากอนมีอาณาเขต 20,000 ตร.ม. นับเป็นอาณาเขตใหญ่ที่สุดในโลกที่ทหารไม่จำเป็นต้องทำความเคารพนายทหารชั้นสัญญาบัตร (ตามปกติในที่โล่ง เมื่อสวมหมวกจะต้องทำความเคารพเสมอ).

กองทัพอากาศสหรัฐและเดอะเพนตากอน · สหรัฐและเดอะเพนตากอน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กองทัพอากาศสหรัฐและสหรัฐ

กองทัพอากาศสหรัฐ มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ สหรัฐ มี 556 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 15, ดัชนี Jaccard คือ 2.59% = 15 / (24 + 556)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กองทัพอากาศสหรัฐและสหรัฐ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »