โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มภาษาวิซายัน

ดัชนี กลุ่มภาษาวิซายัน

กลุ่มภาษาวิซายัน เป็นกลุ่มของภาษาในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลาง กลุ่มภาษานี้ส่วนใหญ่ใช้พูดในบริเวณวิซายา แต่ก็มีผู้ใช้ในบริเวณบิกอล (โดยเฉพาะซอร์ซอกอนและมัสบาเต) หมู่เกาะทางใต้ของลูซอน ทางเหนือและทางตะวันตกของมินดาเนา และในจังหวัดซูลูที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมินดาเนา ผู้อยู่ในเมโทรมะนิลาบางส่วนพูดภาษาในกลุ่มนี้ด้วย สมาชิกของภาษาในกลุ่มนี้มีมากกว่า 30 ภาษา ภาษาทีมีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดคือภาษาเซบัวโนมี 20 ล้านคน ในบริเวณวิซายากลาง ทางตะวันตกและทางเหนือของมินดาเนา อีก 2 ภาษาในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือภาษาฮิลิไกนอน มีผู้พูด 7 ล้านคนในวิซายาตะวันตก และภาษาวาไร-วาไร มีผู้พูด 3 ล้านคนในวิซายาตะวันออก.

26 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาบีโคลกลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลางภาษาบูตัวนอนภาษากินาไรอาภาษามัสบาเตภาษาราตักนอนภาษาวาไรภาษาอักลันภาษาอาซีภาษาอีบาไฮภาษาฮีลีไกโนนภาษาคาลูยาภาษาคาปิซภาษาซูรีเกาภาษาโบโฮลภาษาโอนฮันภาษาโปโรฮาโนนภาษาเตาซุกภาษาเซบัวโนมินดาเนามุสลิมศาสนาคริสต์จังหวัดซูลูประเทศฟิลิปปินส์เกาะลูซอนเมโทรมะนิลา

กลุ่มภาษาบีโคล

กลุ่มภาษาบีโคล (ฟิลิปีโนและBikol) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซีย ใช้ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะคาบสมุทรบีโคลบนเกาะลูซอน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและกลุ่มภาษาบีโคล · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลาง

กลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลาง เป็นภาษาที่ใช้พูดในฟิลิปปินส์ กระจายทั่วไปในเกาะลูซอนตอนใต้ หมู่เกาะวิซายัส เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะซูลู ตัวอย่างภาษาในกลุ่มนี้ได้แก่ ภาษาตากาล็อก ภาษาเซบัวโน ภาษาฮิลิไกนอน ภาษาบิโกล ภาษาวาไร-วาไร ภาษากินาไรอา ภาษาเตาซุก และอื่ นๆ หมวดหมู่:ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและกลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบูตัวนอน

ภาษาบูตัวนอน (Butuanon language) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ใช้พูดในอากูซัน เดล นอร์เต และ อากูซัน เดลซูร มีผู้พูดเป็นภาษาแม่บางส่วนในมิซามิสตะวันออกและซูริเกา เดล นอร์เต อยู่ในภาษากลุ่มวิซายัน บูตัวนอน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาบูตัวนอน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากินาไรอา

ษากีนาไรอา อยู่ในตระกูลวิซายัน มีผู้พูดในจังหวัดอันตีเกและอีโลอีโล ประเทศฟิลิปปินส์ จากอิทธิพลของสื่อและพื้นที่ที่ใกล้เคียงกัน ผู้พูดภาษากีนาไรอาจะเข้าใจภาษาฮีลีไกโนนได้ แต่ภาษากีนาไรอาไม่ใช่สำเนียงของภาษาฮีลีไกโนน เป็นเพียงภาษาที่ใกล้เคียงกันเท่านั้น.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษากินาไรอา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามัสบาเต

ภาษามัสบาเต (Masbatenyo; Masbateño) เป็นภาษากลุ่มวิซายัน มีผู้พูดมากกว่า 600,000 คน ในจังหวัดมัสบาเต ประเทศฟิลิปปินส์ ใกล้เคียงกับภาษาฮีลีไกโนนที่ใช้พูดในเกาะปาไน อาจจัดเป็นภาษากลุ่มบีซาโคลได้ด้วย เป็นภาษาที่มีลักษณะผสมระหว่างภาษากลุ่มวิซายันกับภาษากลุ่มบีโคล มัสบาเต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษามัสบาเต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาราตักนอน

ภาษาราตักนอน (Ratagnon) หรือภาษาลาตักนอน ภาษาดาตักนอน เป็นภาษาที่พูดโดยชาวราตักนอนที่เป็นชนพื้นเมืองในมินโดโร ผู้พูดภาษานี้เปลี่ยนมาพูดภาษาตากาล็อกเป็นส่วนใหญ่และเป็นภาษาที่ใกล้ตาย ราตักนอน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาราตักนอน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาวาไร

ษาวาไร (Waray), ซามาร์-เลเต หรือ ซามาร์ เป็นภาษาที่ใช้พูดในจังหวัดซามาร์, นอร์เทิร์นซามาร์, อีสเทิร์นซามาร์, เลเต และบีลีรันในฟิลิปปินส์ จัดอยู่ในภาษาตระกูลวิซายัน มีความเกี่ยวข้องกับภาษาเซบูและใกล้เคียงกับภาษาฮีลีไกโนน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาวาไร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอักลัน

ษาอักลัน (ฟิลิปีโนและAklanon, Akeanon) เป็นภาษากลุ่มวิซายันมีความคล้ายคลึงภาษาฮีลีไกโนนในด้านรากศัพท์ราวร้อยละ 65–68.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาอักลัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาซี

ภาษาอาซี เป็นภาษาตระกูลวิซายัน ใช้พูดในจังหวัดโรมโบลน ประเทศฟิลิปปินส์ ควบคู่กับภาษาโรมโบลมานอนและภาษาโอโฮน ชื่ออื่นๆของภาษานี้คือ บันตัวนอน กาลาตราวันฮอน โอดิโองานอน ซิบาเลญอน ซิมาราญอน และบิซายา อาซี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาอาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีบาไฮ

ภาษาอีบาไฮ (Ibajaynon) เป็นกลุ่มภาษาวิซายัน มีผู้พูดราว 39,643 คน ใน 36 หมู่บ้าน ในบริเวณแผ่นดินใหญ่ของเมืองอีบาไฮ จังหวัดอักลัน มีรากศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาอักลันร้อยละ 93% มีทั้งการจัดจำแนกให้เป็นภาษาพี่น้องที่ใกล้ชิดมากหรือเป็นภาษาถิ่นของภาษาอกลานอน จุดแตกต่างที่สำคัญคือภาษาอีบาไฮมีคำที่เป็นรูปแบบสั้นของคำในภาษาอักลัน อีบาไฮ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาอีบาไฮ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีลีไกโนน

ษาฮีลีไกโนน (ฟิลิปีโนและHiligaynon) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียใช้พูดในวิซายาตะวันตก ประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอีโลอีโลและเนโกรส และจังหวัดอื่น ๆ ในเกาะปาไน เช่น คาปิซ, อันตีเก, อักลัน และกีมารัส มีผู้พูด 7 ล้านคน ใช้เป็นภาษาแม่ และใช้เป็นภาษาที่สองอีก 4 ล้านคน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาฮีลีไกโนน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาลูยา

ภาษาคาลูยา (ฟิลิปีโนและCaluyanon) เป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษากีนาไรอา ใช้พูดในหมู่เกาะคาลูยาของจังหวัดอันตีเก ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้พูดส่วนใหญ่ใช้ภาษาฮีลีไกโนนเป็นภาษาที่สอง คาลูยา.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาคาลูยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาปิซ

ษาคาปิซ (Capiznon; capiceño) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ใช้พูดในวิซายาตะวันตก ประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดคาปิซทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะปาไน จัดอยู่ในภาษากลุ่มวิซายัน ภาษานี้มักสับสนกับภาษาฮีลีไกโนนแต่ก็มีคำศัพท์และการออกเสียงเป็นของตนเอง มีคำศัพท์ของภาษาอักลันและภาษาวาไรปนอยู่ด้วย และถือเป็นภาษาที่พูดเร็วที่สุดในบริเวณนี้.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาคาปิซ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซูรีเกา

ษาซูรีเกา (ฟิลิปีโนและSurigaonon) เป็นภาษาท้องถิ่นในฟิลิปปินส์ ใช้พูดในจังหวัดซูรีเกาเดลนอร์เตและบางส่วนของจังหวัดอากูซันเดลนอร์เต ใกล้เคียงกับภาษาบูตัวนอนและภาษาเตาซุก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาซูรีเกา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโบโฮล

ภาษาโบโฮล (Boholano) เป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาเซบู ใช้พูดบนเกาะโบโฮล ประเทศฟิลิปปินส์ บางครั้งก็จัดเป็นภาษาใหม่ต่างหาก การออกเสียงต่างจากภาษาเซบูเล็กน้อย "y" ในภาษาเซบูเป็น "j" ("iya" เป็น "ija") และ "k" กลายเป็น "h" ("ako" เป็น "aho") สำเนียงที่ใช้พูดในบริเวณชายฝั่งของโบโฮลต่างจากภาษาเซบูมากที่สุด โบโฮล.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาโบโฮล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโอนฮัน

ษาโอนฮัน (ฟิลิปีโนและOnhan) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาวิซายันใช้พูดในบริเวณเดียวกับภาษาโรมโบลนและภาษาอาซีในจังหวัดโรมโบลน ประเทศฟิลิปปินส์ บางครั้งเรียกภาษานี้ว่าภาษาอีนุนฮันหรือภาษาโลโอกโนน และใช้พูดในจังหวัดอื่น ๆ นอกเหนือจากจังหวัดโรมโบลนด้วย พบผู้พูดในบางส่วนในจังหวัดอักลันและเกาะปาไนด้ว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาโอนฮัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปโรฮาโนน

ภาษาโปโรฮาโนน (Porohanon) เป็นภาษากลุ่มวิซายันที่ใช้พูดในหมู่เกาะคาโมเตส จังหวัดเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ใกล้เคียงกับภาษาฮีลีไกโนนและภาษามัสบาเต เข้าใจได้บางส่วนกับภาษาเซบูซึ่งมีศัพท์ใช้ร่วมกันร้อยละ 87 โปโรฮาโนน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาโปโรฮาโนน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตาซุก

ษาเตาซุก (Wikang Tausug; Tausug language) หรือ ภาษาซูก (เตาซุก: Bahasa Sūg) อยู่ในตระกูลวิซายัน มีผู้พูดในจังหวัดซูลู ประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้พูดในมาเลเซียและอินโดนีเซียด้ว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาเตาซุก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเซบัวโน

ษาเซบู (Cebuano; Sebwano; เซบู: Sinugboanon) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในฟิลิปปินส์ 18 ล้านคน ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากชื่อเกาะเซบู รวมกับปัจจัยจากภาษาสเปน -ano หมายถึง ที่เกี่ยวกับเชื้อชาต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและภาษาเซบัวโน · ดูเพิ่มเติม »

มินดาเนา

มินดาเนา (Mindanao) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 และตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศฟิลิปปินส์ มีลักษณะภูมิประเทศที่มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ชายฝั่งเว้าแหว่ง มีอ่าวขนาดใหญ่และเล็กจำนวนมาก มีเทือกเขาซึ่งมียอดเขาหลายแห่งที่มีความสูงมากกว่า 1,500 เมตร ยอดสูงสุดชื่อ อาโป สูง 2,954 เมตร มีระบบแม่น้ำหลัก 2 ระบบ คือ ระบบแม่น้ำอากูซันทางตะวันออก และระบบแม่น้ำมินดาเนาทางใต้และกลาง ผลิตผลสำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวเจ้า มะพร้าว ไม้ซุง กาแฟ ป่านอะบากา ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่เข้าไปในเกาะ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ซึ่งเดินเรือให้แก่กษัตริย์สเปนได้เดินทางมาถึงเกาะนี้ ใน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและมินดาเนา · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดซูลู

ซูลู (ฟิลิปีโนและSulu) หรือ ซูก (เตาซุก: Sūg) เป็นจังหวัดเกาะปกครองตนเองของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองในมุสลิมมินดาเนา (ARMM) เมืองหลวง คือ โฮโล และกินพื้นที่กลุ่มเกาะกลางของกลุ่มเกาะซูลู ระหว่างบาซีลันกับตาวี-ตาวี เป็นที่ตั้งของรัฐสุลต่านซูลูในประวัติศาสตร.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและจังหวัดซูลู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะลูซอน

ลูซอน (Luzon) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองมากที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มเกาะทั้งสามกลุ่มของประเทศ (อีกสองกลุ่มได้แก่ วีซายันและมินดาเนา) โดยกลุ่มเกาะลูซอน ได้แก่ ตัวเกาะลูซอนเอง รวมทั้งหมู่เกาะบาตันและหมู่เกาะบาบูยันทางทิศเหนือ และเกาะต่าง ๆ ทางทิศใต้ ได้แก่ เกาะกาตันดัวเนส เกาะมารินดูเก เกาะมัสบาเต เกาะรอมบลอน และเกาะมินโดโร เกาะลูซอนปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในชื่อว่า "จักรวรรดิซ้องน้อย" (Lesser Song Empire) หรือ Lusong Kok จากนั้นนักสำรวจชาวโปรตุเกสได้บันทึกเกาะนี้ไว้ในแผนที่ของพวกเขาในชื่อ "ลูโซเนีย" (Luçonia) หรือ "ลูซอน" (Luçon) ชาวสเปนเข้ามาถึงเกาะนี้และอ้างกรรมสิทธิ์เพื่อครอบครองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายใต้การปกครองของสเปน ลูซอนยังมีชื่อเรียกว่า นวยบากัสตียา (Nueva Castilla) หรือ นิวคาสตีล (New Castile) อีกด้วย ต่อมาในช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ เอมีลีโอ อากีนัลโดได้ประกาศเอกราชจากสเปนและจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ที่เกาะแห่งนี้ แต่หลังจากนั้นทั้งหมู่เกาะก็ตกไปอยู่ในการปกครองของสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเกาะลูซอนและเกาะอื่น ๆ ได้เอกราชอย่างสมบูรณ์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1946 ลูซอน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและเกาะลูซอน · ดูเพิ่มเติม »

เมโทรมะนิลา

มหานครมะนิลาRepublic of the Philippines.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาวิซายันและเมโทรมะนิลา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กลุ่มภาษาบิสายันภาษากลุ่มวิซายัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »