โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มดาวคันชั่ง

ดัชนี กลุ่มดาวคันชั่ง

กลุ่มดาวคันชั่ง หรือ กลุ่มดาวตุล (♎) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี แต่ไม่เด่นชัดเนื่องจากไม่มีดาวฤกษ์สว่าง กลุ่มดาวคันชั่งอยู่ระหว่างกลุ่มดาวหญิงสาวทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวแมงป่องทางทิศตะวันออก ในอดีตเคยเป็นส่วนก้ามของแมงป่อง ดังหลักฐานที่ปรากฏหลงเหลือในชื่อดาว คันชั่ง กลุ่มดาวคันชั่ง.

9 ความสัมพันธ์: กลุ่มดาวกลุ่มดาวหญิงสาวกลุ่มดาวหมาป่ากลุ่มดาวคนแบกงูกลุ่มดาวงูกลุ่มดาวงูไฮดรากลุ่มดาวแมงป่องจักรราศีดาวฤกษ์

กลุ่มดาว

กลุ่มดาวนายพราน เป็นกลุ่มดาวที่โดดเด่น สามารถมองเห็นได้จากทั่วโลก (แต่ไม่ตลอดทั้งปี) กลุ่มดาว คือ กลุ่มของดาวฤกษ์ ที่สามารถเชื่อมต่อกันเป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการในอวกาศสามมิต.

ใหม่!!: กลุ่มดาวคันชั่งและกลุ่มดาว · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวหญิงสาว

กลุ่มดาวหญิงสาว หรือ กลุ่มดาวกันย์ (♍) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี อยู่ระหว่างกลุ่มดาวสิงโตทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวตาชั่งทางทิศตะวันออก กลุ่มดาวหญิงสาวเป็นกลุ่มดาวขนาดใหญ่ สังเกตเห็นได้ง่ายโดยอาศัยดาวรวงข้าว ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่ม หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวหญิงสาว.

ใหม่!!: กลุ่มดาวคันชั่งและกลุ่มดาวหญิงสาว · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวหมาป่า

กลุ่มดาวหมาป่า เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ หนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้อยู่ระหว่างกลุ่มดาวคนครึ่งม้ากับกลุ่มดาวแมงป่อง หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวหมาป่า.

ใหม่!!: กลุ่มดาวคันชั่งและกลุ่มดาวหมาป่า · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวคนแบกงู

กลุ่มดาวคนแบกงู (ʉ) (Ophiuchus) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในรายชื่อ 48 กลุ่มดาวของทอเลมี เป็นกลุ่มดาวจักรราศี (กลุ่มดาวที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน) กลุ่มที่ 13 เนื่องจากมีขาข้างนึงแทรกไปในกึ่งกลางระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องกับกลุ่มดาวคนยิงธนู กลุ่มดาวคนแบกงูแทนด้วยชายคนหนึ่งกำลังอุ้มงูไว้ ทำให้แยกกลุ่มดาวงูออกเป็นสองส่วน คือ หัวกับหาง (แต่นับเป็นกลุ่มดาวเดียวกัน) กลุ่มดาวคนแบกงู หมวดหมู่:กลุ่มดาว.

ใหม่!!: กลุ่มดาวคันชั่งและกลุ่มดาวคนแบกงู · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวงู

กลุ่มดาวงู เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายชื่อกลุ่มดาวสมัยใหม่ 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้แยกเป็น 2 ส่วน คือ หัวงู (Serpens Caput) ที่อยู่ทางตะวันออก กับหางงู (Serpens Cauda) ที่อยู่ทางตะวันตก คั่นตรงกลางด้วยกลุ่มดาวคนแบกงู หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวงู.

ใหม่!!: กลุ่มดาวคันชั่งและกลุ่มดาวงู · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวงูไฮดรา

กลุ่มดาวงูไฮดรา เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดากลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล และเป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี.

ใหม่!!: กลุ่มดาวคันชั่งและกลุ่มดาวงูไฮดรา · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวแมงป่อง

กลุ่มดาวแมงป่อง หรือ กลุ่มดาวพิจิก (♏) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี เป็นกลุ่มดาวอันดับที่ 8 อยู่ระหว่างกลุ่มดาวตาชั่งทางทิศตะวันตกกับกลุ่มดาวคนยิงธนูทางทิศตะวันออก เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ อยู่ในซีกฟ้าใต้ ใกล้กับศูนย์กลางทางช้างเผือก มีดาวที่สำคัญคือดาวปาริชาต ซึ่งมีสีส้มแดง ในขณะที่ดาวดวงอื่นเรียงเป็นแถวยาวโค้งคล้ายกับหางแมงป่อง กลุ่มดาวแมงป่องเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวบนฟ้าที่มีลักษณะเด่นที่สุด สังเกตง่าย และถึงแม้จะต่างภาษาและวัฒนธรรมกัน หลายชาติก็เรียกลักษณะของกลุ่มดาวนี้ตรงกันว่ามีรูปร่างคล้ายกับแมงป่อง หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวแมงป่อง.

ใหม่!!: กลุ่มดาวคันชั่งและกลุ่มดาวแมงป่อง · ดูเพิ่มเติม »

จักรราศี

รื่องหมายจักรราศีของโหราศาสตร์สากลราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 แกะจากแม่พิมพ์ไม้ ภาพสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในจอร์เจียเป็นรูปจักรราศีที่มีพระเยซูอยู่ตรงกลาง เครื่องหมายจักรราศีที่ใช้ในโหราศาสตร์สากลในปัจจุบัน จักรราศี (zodiac มาจากภาษากรีก ζῳδιακός หมายถึง "สัตว์") เป็นแถบสมมติบนท้องฟ้าที่มีขอบเขตประมาณ 8 องศา ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน (สุริยวิถี) ซึ่งครอบคลุมแนวเส้นทางปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลอีก 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโตนั้น ความเอียงของวงโคจรมีค่ามาก ดาวพลูโตจึงมีเส้นทางปรากฏห่างจากสุริยวิถี.

ใหม่!!: กลุ่มดาวคันชั่งและจักรราศี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: กลุ่มดาวคันชั่งและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กลุ่มดาวตาชั่ง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »