โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลีบขมับ

ดัชนี กลีบขมับ

มองกลีบขมับ (Temporal lobe; lobus temporalis) ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นส่วนของเปลือกสมองในซีรีบรัม อยู่บริเวณด้านข้างของสมอง ใต้ร่องด้านข้าง (lateral fissure) หรือร่องซิลเวียน (Sylvian fissure) ในซีกสมองทั้งสองข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากมองสมองของมนุษย์ให้เหมือนนวมนักมวย สมองกลีบขมับเป็นส่วนของนิ้วโป้ง สมองกลีบขมับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำทางการเห็น การประมวลความรู้สึกคือการเห็น การเข้าใจในภาษา การบันทึกความทรงจำใหม่ ๆ อารมณ์ความรู้สึก และการเข้าใจความหมาย นอกจากนั้นแล้ว สมองกลีบขมับยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมาย (semantics) ทั้งในการพูดและการมองเห็น.

33 ความสัมพันธ์: บริเวณเวอร์นิเกกลีบสมองกลีบหน้ากลีบข้างการพูดการได้ยินก้านสมองมหาวิทยาลัยไอดาโฮมนุษย์รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสรอยนูนรูปกระสวยรอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนรอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่างรอยโรคร่องด้านข้างลิงสมมุติฐานทางสัญญาณสองทางสมองสมองใหญ่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหูหูชั้นในรูปหอยโข่งอะมิกดะลาอารมณ์ฮิปโปแคมปัสความจำชัดแจ้งความจำอาศัยเหตุการณ์คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าตัวกระตุ้นซีกสมองประสาทกายวิภาคศาสตร์เปลือกสมองเปลือกสมองส่วนการเห็น

บริเวณเวอร์นิเก

ริเวณเวอร์นิเก (Wernicke's area) เป็นบริเวณของซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ในสมองของมนุษย์ อยู่ด้านหลังของลอนสมองซุพีเรียร์เทมพอรัล (superior temporal gyrus) ล้อมรอบคอร์เท็กซ์ของระบบรับเสียง (auditory cortex) บนร่องด้านข้างหรือร่องซิลเวียน อาจเรียกบริเวณนี้ว่าส่วนท้ายของบริเวณโบรดมันน์ 22 และในคนส่วนใหญ่บริเวณนี้จะอยู่ในสมองซีกซ้าย ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะในด้านทักษะทางภาษา การอุดตันของหลอดเลือดแดงมิดเดิลซีรีบรัล (middle cerebral artery) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจทำให้บริเวณนี้ทำหน้าที่ได้ผิดปกติ ชื่อของบริเวณเวอร์นิเกมาจากชื่อของ คาร์ล เวอร์นิเก นักประสาทวิทยาและจิตแพทย์ชาวเยอรมัน ซึ่งค้นพบว่าการทำลายในบริเวณนี้ทำให้เกิดภาวะเสียการสื่อความ (aphasia) ซึ่งเรียกว่า Wernicke's aphasia หรือ receptive aphasia ในปี..

ใหม่!!: กลีบขมับและบริเวณเวอร์นิเก · ดูเพิ่มเติม »

กลีบสมอง

กลีบสมอง (Lobes of the brain) เป็นส่วนหนึ่งของสมอง ในการแบ่งกลีบของสมองในระยะดั้งเดิม เป็นการแบ่งตามลักษณะทางกายวิภาค ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่ต่างๆ กันของสมอง เทเลนเซฟาลอน ซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสมองมนุษย์แบ่งออกได้เป็นกลีบต่างๆ เช่นเดียวกันกับสมองส่วนซีรีเบลลัม แต่หากไม่ระบุให้เจาะจงลงไป การแบ่งกลีบของสมองมักหมายถึงการแบ่งกลีบเฉพาะของซีรีบรัม เทเลนเซฟาลอนแบ่งออกได้เป็น 4 กลีบ ได้แก่ #73B2F9 ซีรีเบลลัม (cerebellum).

ใหม่!!: กลีบขมับและกลีบสมอง · ดูเพิ่มเติม »

กลีบหน้า

ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ สมองกลีบหน้า (Frontal lobe) เป็นบริเวณของสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemisphere) แต่ละข้าง และอยู่ด้านหน้าของสมองกลีบข้าง (parietal lobe) ส่วนสมองกลีบขมับ (temporal lobe) ตั้งอยู่ล่างและหลังต่อสมองกลีบหน้.

ใหม่!!: กลีบขมับและกลีบหน้า · ดูเพิ่มเติม »

กลีบข้าง

มองกลีบข้าง (parietal lobe หรือ parietal cortex, lobus parietalis) ในประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นกลีบสมองหนึ่ง อยู่เหนือสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) และหลังสมองกลีบหน้า (frontal lobe) สมองกลีบข้างผสมผสานสัญญาณรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึกทั้งหลาย มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความรู้สึกเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial sense) และการนำทาง (navigation) ตัวอย่างเช่น สมองกลีบข้างประกอบด้วยคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex) และทางสัญญาณด้านล่าง (dorsal stream) ของระบบการเห็น ซึ่งทำให้คอร์เทกซ์กลีบข้างสามารถสร้างแผนที่ของวัตถุที่เห็น โดยที่วัตถุมีตำแหน่งสัมพันธ์กับร่างกาย (เช่นเห็นว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของกาย) มีเขตหลายเขตของสมองกลีบข้างที่มีความสำคัญในการประมวลผลทางภาษา และด้านหลังต่อจากร่องกลาง (central sulcus) ก็คือรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกาย คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่เป็นรูปมนุษย์ที่บิดเบือน ที่เรียกว่า cortical homunculus (homunculus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "คนตัวเล็ก ๆ") โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีขนาดเท่ากับเขตที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีพื้นที่ให้สำหรับส่วนนั้นของร่างกายSchacter, D. L., Gilbert, D. L. & Wegner, D. M. (2009).

ใหม่!!: กลีบขมับและกลีบข้าง · ดูเพิ่มเติม »

การพูด

การพูด เป็น การสื่อสารของมนุษย์โดยใช้ปากและกล่องเสียงเพื่อเปล่งเสียงออกมา เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยอาศัย ภาษา เป็นตัวสื่อความหมายของสิ่งที่พูด การพูดเป็นความสามารถเฉพาะของมนุษย์ แต่ก็มีสัตว์บางประเภทสามารถเลียนเสียงพูดของมนุษย์ได้ เช่น นกแก้ว ผู้ที่พูดไม่ได้เรียกว่าเป็น คนใบ้ การพูดมีหลายรูปแบบ เช่น การพูดระหว่างบุคคล การพูดในกลุ่ม การพูดในที่ชุมชน บุคคลที่มีทักษะในการพูด สร้างแรงจูงใจให้บุคคลอื่นได้ ก็สามารถจัด ทอล์กโชว์ (talk Show) สร้างเป็นอาชีพนักวิชาการ ด้านการพูดได้.

ใหม่!!: กลีบขมับและการพูด · ดูเพิ่มเติม »

การได้ยิน

การได้ยิน หรือ การฟัง หมายถึงการรับรู้เสียงได้ เป็นการรับรู้การสื่อสารจากการพูด และเป็นหนึ่งในสัมผัสทั้งห้า อวัยวะที่ใช้ในการฟังเราเรียกว่าหู การได้ยินเป็นหนึ่งในสัมผัสสามอย่างที่ไม่สามารถปิดกั้นได้(ได้แก่ การได้ยิน การดม และกายสัมผัส).

ใหม่!!: กลีบขมับและการได้ยิน · ดูเพิ่มเติม »

ก้านสมอง

ก้านสมอง (Brainstem) เป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังและล่างของสมอง เชื่อมระหว่าง สมองใหญ่ กับ ไขสันหลัง ประกอบด้วย เมดดูล่าออปลองกาต้า พอนส์ และมิดเบรน ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์นิวเคลียสของเส้นประสาทสมอง หมวดหมู่:ประสาทสรีรวิทยา หมวดหมู่:ก้านสมอง หมวดหมู่:สมอง.

ใหม่!!: กลีบขมับและก้านสมอง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยไอดาโฮ

มหาวิทยาลัยไอดาโฮ (University of Idaho) ย่อว่า UI หรือ U of I เป็นมหาวิทยาลัยเอกและมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดที่ตั้งอยู่ที่เมืองมอสโก, ไอดาโฮในรัฐไอดาโฮในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยไอดาโฮเป็นมหาวิทยาลัยที่มีวัตถุประสงค์หลักในด้านการค้นคว้า มหาวิทยาลัยไอดาโฮเป็นมหาวิทยาลัยเดียวของไอดาโฮอยู่เป็นเวลา 71 ปี จนกระทั่งเมื่อมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยไอดาโฮสเตทขึ้นในปี..

ใหม่!!: กลีบขมับและมหาวิทยาลัยไอดาโฮ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: กลีบขมับและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส

รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส (parahippocampal gyrus) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รอยนูนฮิปโปแคมปัส (hippocampal gyrus เป็นเขตเนื้อเทา ในคอร์เทกซ์เปลือกสมอง (cerebral cortex) ที่อยู่รอบๆ ฮิปโปแคมปัส เขตในสมองนี้มีความสำคัญในการเข้ารหัสความจำ (memory encoding) และการค้นคืนความจำ (memory retrieval) สมองเขตนี้เกี่ยวข้องกับบางกรณีของคนไข้ที่มีภาวะฮิปโปแคมปัสแข็ง (hippocampal sclerosis) ในคนไข้โรคจิตเภท (schizophrenia) เขตสมองนี้ในซีกสมองทั้งสองข้างมีขนาดไม่เท่ากัน.

ใหม่!!: กลีบขมับและรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนรูปกระสวย

รอยนูนรูปกระสวย (fusiform gyrus, gyrus fusiformis) เป็นส่วนหนึ่งของสมองกลีบขมับและสมองกลีบท้ายทอยในเขตบร็อดแมนน์ 37 รู้จักโดยคำที่ปัจจุบันไม่ใช้แล้วอีกอย่างหนึ่งคือ "occipitotemporal gyrus" รอยนูนรูปกระสวยอยู่ในระหว่าง inferior temporal gyrus และรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส (parahippocampal gyrus) ส่วนด้านข้าง (lateral) และส่วนด้านใน (medial) แยกออกจากกันโดยร่องตื้นๆ ตรงกลางกระสว.

ใหม่!!: กลีบขมับและรอยนูนรูปกระสวย · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน

รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน (superior temporal gyrus, gyrus temporalis superior, ตัวย่อ STG) เป็นหนึ่งในสามรอยนูน (แต่บางครั้งปรากฏแค่สอง) ในสมองกลีบขมับของมนุษย์ อยู่ด้านข้างของศีรษะเหนือหูเล็กน้อย รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบนล้อมรอบด้ว.

ใหม่!!: กลีบขมับและรอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง

รอยนูนกลีบขมับส่วนล่าง (Inferior temporal gyrus, gyrus temporalis inferior) เป็นรอยนูนสมองที่ อยู่ใต้รอยนูนกลีบขมับส่วนกลาง (middle temporal gyrus), อยู่ข้างหน้ารอยนูนกลีบท้ายทอยส่วนล่าง (inferior occipital gyrus), และแผ่ขยายไปทางผิวด้านข้างของสมองกลีบขมับลงไปจรด inferior sulcus เป็นศูนย์ประมวลผลข้อมูลการเห็นในระดับสูงโดยเป็นส่วนสุดท้ายของทางสัญญาณด้านล่าง (ventral stream) มีหน้าที่เป็นตัวแทนของลักษณะที่ซับซ้อนของวัตถุที่เห็น และอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรู้ใบหน้า กับการรู้จำวัตถุ (object recognition) ต่าง ๆ และกับการรู้จำตัวเลข (number recognition) รอยนูนกลีบขมับส่วนล่างเป็นส่วนล่างของสมองกลีบขมับ อยู่ใต้ร่องกลีบขมับกลาง (central temporal sulcus) สมองส่วนนี้ (ซึ่งเป็นส่วนของคอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนล่าง) ทำหน้าที่แปลผลตัวกระตุ้นทางตา เป็นการรู้จำวัตถุ (object recognition) ที่เห็นทางตา และเป็นส่วนสุดท้ายของทางสัญญาณด้านล่างของระบบการเห็น (ดังที่แสดงไว้ในงานวิจัยเร็ว ๆ นี้) "คอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนล่าง" (inferior temporal cortex ตัวย่อ ITC) ในมนุษย์เป็นส่วนเดียวกับ "รอยนูนกลีบขมับส่วนกลาง" (เขตบร็อดแมนน์ 21) รวมกับ "รอยนูนกลีบขมับส่วนล่าง" (เขตบร็อดแมนน์ 20) โดยที่ไม่เหมือนกับไพรเมตประเภทอื่น ๆ สมองเขตนี้แปลผลตัวกระตุ้นทางตาที่ปรากฏในลานสายตา ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเก็บและการเรียกคืนความทรงจำเกี่ยวกับวัตถุนั้น เพื่อประโยชน์ในการระบุวัตถุนั้น ทำหน้าแปลผลและรับรู้ข้อมูลที่เกิดจากตัวกระตุ้นทางตาที่ผ่านการแปลผลจากเขตสายตา V1, V2, V3, และ V4 ที่อยู่ในสมองกลีบท้ายทอย มาแล้ว คือทำหน้าที่แปลผลข้อมูลสีและรูปร่างของวัตถุที่อยู่ในลานสายตา (ซึ่งเป็นข้อมูลจากเขตสายตาก่อน ๆ) แล้วให้ข้อมูลว่าวัตถุที่เห็นนั้นคืออะไร ซึ่งก็คือการระบุวัตถุโดยใช้สีและรูปร่าง โดยเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ประมวลแล้วกับข้อมูลความจำที่เก็บไว้เพื่อที่จะระบุวัตถุนั้น สมองเขตนี้ไม่ใช่มีความสำคัญในเรื่องเป็นส่วนของการแปลผลข้อมูลทางตาเพื่อการรู้จำวัตถุเท่านั้น แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแปลผลแบบง่าย ๆ อย่างอื่นของวัตถุในลานสายตา มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้และความเข้าใจทางปริภูมิของวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัว และเป็นส่วนที่มีเซลล์ประสาทเดี่ยว ๆ ที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะซึ่งอาจจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคอร์เทกซ์นี้กับระบบความจำ.

ใหม่!!: กลีบขมับและรอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ใหม่!!: กลีบขมับและรอยโรค · ดูเพิ่มเติม »

ร่องด้านข้าง

ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ ร่องด้านข้าง หรือ ร่องซิลเวียน (Lateral sulcus หรือ Sylvian fissure หรือ lateral fissure) เป็นโครงสร้างที่โดดเด่นของสมองมนุษย์ แบ่งสมองกลีบหน้า (frontal lobe) และสมองกลีบข้าง (parietal lobe) ที่อยู่ด้านบนออกจากสมองกลีบขมับ (temporal lobe) ที่อยู่ด้านล่าง ปรากฏอยู่ทั้งซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ทั้งสองข้าง แต่ข้างซ้ายยาวกว่า ร่องนี้เป็นหนึ่งในร่องที่วิวัฒนาการขึ้นมาแรกสุดในสมองมนุษย์ ปรากฏขึ้นในราวอายุครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 14 นับจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย ร่องด้านข้างมีการแตกแขนงมากมาย แขนงที่เด่นๆ และพบได้ง่ายมีอยู่ 2 ร่อง คือ ascending (หรือ vertical) ramus และ horizontal ramus ซึ่งแบ่งลอนสมองอินฟีเรียร์ ฟรอนทัล (inferior frontal gyrus) ร่องด้านข้างนี้มีโครงสร้างที่เรียกว่า ลอนสมองทรานสเวอร์ส เทมเพอรัล (transverse temporal gyri) ซึ่งเป็นสมองส่วนการได้ยินปฐมภูมิ (primary auditory cortex) ชื่อ ร่องซิลเวียน มาจากชื่อฟรานซิสคัส ซิลเวียส (Franciscus Sylvius, 1614-1672) ศาสตราจารย์ทางการแพท.

ใหม่!!: กลีบขมับและร่องด้านข้าง · ดูเพิ่มเติม »

ลิง

แสม (''Macaca fascicularis'') ลิงที่คุ้นเคยและพบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย อาจพบได้ถึงในชุมชนเมืองhttp://1081009.tourismthailand.org/trip/dcp?id.

ใหม่!!: กลีบขมับและลิง · ดูเพิ่มเติม »

สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง

มมุติฐานทางสัญญาณสองทาง (Two-streams hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่ได้การยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีความสำคัญในการศึกษาวิจัยการประมวลผลของนิวรอนในระบบสายตา เดวิด มิลเนอร์ และเมลวิน กูดเดล ได้จำแนกลักษณะต่างๆ ของทางสัญญาณสองทางที่มีความนิยมที่สุดในงานวิจัยปี..

ใหม่!!: กลีบขมับและสมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: กลีบขมับและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สมองใหญ่

ทเลนเซฟาลอน (Telencephalon) เป็นส่วนของสมองส่วนหน้า เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ของสมองซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือ สมองใหญ่ ในทางเทคนิค เทเลนเซฟาลอนหมายถึงซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemispheres) และโครงสร้างเล็กๆ อื่นๆ ภายในสมอง สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดในการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอ เจริญมาจากโปรเซนเซฟาลอน.

ใหม่!!: กลีบขมับและสมองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: กลีบขมับและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

หู

หู เป็นอวัยวะของสัตว์ที่ใช้การดักคลื่นเสียง เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทการได้ยิน สัตว์แต่ละประเภทจะมีตำแหน่งหูที่แตกต่างกันออกไป.

ใหม่!!: กลีบขมับและหู · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นในรูปหอยโข่ง

หูชั้นในรูปหอยโข่ง หรือ อวัยวะรูปหอยโข่ง หรือ คอเคลีย (cochlea,, จาก κοχλίας, kōhlias, แปลว่า หมุนเป็นวงก้นหอย หรือเปลือกหอยทาก) เป็นอวัยวะรับเสียงในหูชั้นใน เป็นช่องกลวงมีรูปร่างเป็นก้นหอยโข่งอยู่ในกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) โดยในมนุษย์จะหมุน 2.5 ครั้งรอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.

ใหม่!!: กลีบขมับและหูชั้นในรูปหอยโข่ง · ดูเพิ่มเติม »

อะมิกดะลา

มองมนุษย์แบ่งหน้าหลัง อะมิกดะลามีสีแดงเข้ม อะมิกดะลา (พหูพจน์: amygdalae ออกเสียงว่า เอกพจน์: amygdala หรือ corpus amygdaloideum มาจาก ἀμυγδαλή, amygdalē, แปลว่า อัลมอนด์, ทอนซิล แสดงไว้ในตำรากายวิภาคของเกรย์ ว่า nucleus amygdalæ) เป็นกลุ่มของนิวเคลียสรูปอัลมอนด์ ฝังลึกอยู่ในสมองกลีบขมับส่วนกลาง (medial temporal lobe) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ซับซ้อนรวมทั้งมนุษย์ด้วย อะมิกดะลามีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติการในระบบความจำ กับในการตอบสนองโดยความรู้สึก และเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก.

ใหม่!!: กลีบขมับและอะมิกดะลา · ดูเพิ่มเติม »

อารมณ์

ตัวอย่างอารมณ์พื้นฐาน ในทางจิตวิทยา ปรัชญา และสาขาย่อยอื่น ๆ อารมณ์ หมายถึงประสบการณ์ในความรู้สำนึกและอัตวิสัยที่ถูกกำหนดลักษณะเฉพาะโดยการแสดงออกทางจิตสรีรวิทยา ปฏิกิริยาทางชีววิทยา และสภาพจิตใจ อารมณ์มักจะเกี่ยวข้องและถูกจัดว่ามีอิทธิพลซึ่งกันและกันกับพื้นอารมณ์ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด บุคลิกภาพ นิสัย และแรงจูงใจ เช่นเดียวกับที่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนและสารสื่อประสาท อาทิ โดพามีน นอราดรีนาลีน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และคอร์ซิทอล อารมณ์มักเป็นพลังขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ Gaulin, Steven J. C. and Donald H. McBurney.

ใหม่!!: กลีบขมับและอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปโปแคมปัส

ปโปแคมปัส (hippocampus) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสมองของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ฮิปโปแคมปัสเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก (limbic system) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความทรงจำระยะยาวและการกำหนดทิศทางในที่ว่าง โครงสร้างนี้มีลักษณะเป็นคู่อยู่ด้านข้างซ้ายและขวาของสมองเหมือนกับซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ ในมนุษย์และไพรเมตชนิดอื่นๆ ฮิปโปแคมปัสวางตัวในสมองกลีบขมับส่วนใกล้กลาง (medial temporal lobe) ของสมองภายใต้พื้นผิวเปลือกคอร์เท็กซ์ รูปร่างของฮิปโปแคมปัสมีลักษณะโค้งจนนักกายวิภาคศาสตร์ในยุคแรกเปรียบเทียบว่าเหมือนกับเขาของแกะ (Cornu Ammonis) หรือเหมือนม้าน้ำ ดังจะเห็นจากชื่อ ฮิปโปแคมปัส มาจากภาษากรีกของคำว่าม้าน้ำ (กรีก: ιππος, hippos.

ใหม่!!: กลีบขมับและฮิปโปแคมปัส · ดูเพิ่มเติม »

ความจำชัดแจ้ง

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ "ความจำชัดแจ้ง" (Explicit memory) หรือบางครั้งเรียกว่า "ความจำเชิงประกาศ" (Declarative memory) เป็นประเภทหนึ่งของความจำระยะยาวสองอย่างในมนุษย์ ความจำชัดแจ้งหมายถึงความจำที่สามารถระลึกได้ใต้อำนาจจิตใจเช่นความจริงและความรู้ต่าง ๆ ดังนั้น การระลึกถึงประสบการณ์ในอดีตหรือข้อมูลอื่น ๆ โดยตั้งใจและประกอบด้วยความรู้สึกตัวว่ากำลังระลึกถึงความจำ จึงเป็นการระลึกถึงความจำชัดแจ้ง มนุษย์มีการจำได้แบบชัดแจ้งตลอดทั้งวัน เช่นจำเวลานัดได้ หรือจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วหลายปีได้ ส่วนความจำที่คู่กันก็คือ "ความจำโดยปริยาย" (implicit memory) หรือ "ความจำเชิงไม่ประกาศ" (non-declarative memory) หรือ "ความจำเชิงกระบวนวิธี" (procedural memory) ซึ่งหมายถึงความจำที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจเช่นทักษะต่าง ๆ (ตัวอย่างเช่น ทักษะในการขี่จักรยาน) การเข้าถึงความจำโดยปริยายไม่ประกอบด้วยความรู้สึกตัว ไม่ใช่เป็นการระลึกได้ด้วยความตั้งใจ ให้เทียบกับการระลึกถึงความจำชัดแจ้งซึ่งเป็นการระลึกได้พร้อมด้วยความรู้สึกตัว ตัวอย่างเช่น การระลึกถึงการหัดขับรถชั่วโมงหนึ่งได้เป็นตัวอย่างของการจำได้แบบชัดแจ้ง ส่วนทักษะการขับรถที่พัฒนาขึ้นเพราะการหัดขับรถนั้นเป็นตัวอย่างของการจำได้โดยปริยาย ส่วนความจำชัดแจ้งยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทอีก คือ.

ใหม่!!: กลีบขมับและความจำชัดแจ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ความจำอาศัยเหตุการณ์

วามจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory) เป็นความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวประวัติของตนเอง (รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่ อารมณ์ความรู้สึกที่มี และเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ) ที่สามารถระลึกได้ภายใต้อำนาจจิตใจและนำมากล่าวได้อย่างชัดแจ้ง เป็นความจำรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ของตนในอดีต แต่ละเหตุการณ์เกิดขึ้นที่วันเวลาหนึ่ง ๆ และในสถานที่หนึ่ง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราระลึกถึงงานเลี้ยง (หรือการทำบุญ) วันเกิดเมื่ออายุ 6 ขวบได้ นี่เป็นความจำอาศัยเหตุการณ์ เป็นความจำที่ยังให้เราสามารถเดินทางกลับไปในกาลเวลา (ในใจ) เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่วันเวลานั้น ๆ และสถานที่นั้น ๆ ความจำอาศัยความหมาย (semantic memory) และความจำอาศัยเหตุการณ์รวมกันจัดอยู่ในประเภทความจำชัดแจ้ง (explicit memory) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความจำเชิงประกาศ (declarative memory) ซึ่งเป็นหนึ่งในสองประเภทหลัก ๆ ของความจำ (โดยอีกประเภทหนึ่งเป็นความจำโดยปริยาย) นักจิตวิทยาชาวแคนาดาชื่อว่าเอ็นเด็ล ทัลวิง ได้บัญญัติคำว่า "Episodic Memory" ไว้ในปี..

ใหม่!!: กลีบขมับและความจำอาศัยเหตุการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า

อร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex, ตัวย่อ PFC) เป็นส่วนหน้าของสมองกลีบหน้าผาก อยู่ข้างหน้าของคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (primary motor cortex) และ คอร์เทกซ์ก่อนคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (premotor cortex) สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการวางแผนหรือโปรแกรมพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับรู้ที่ซับซ้อน เกี่ยวข้องกับบุคลิก เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และเกี่ยวข้องกับการควบคุมความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับสังคม กิจหลักในสมองส่วนนี้ก็คือ การคิดและการกระทำที่เป็นไปตามเป้าหมายของแต่ละคน ในศาสตร์ของจิตวิทยา กิจที่ PFC ทำเรียกว่ากิจบริหาร (executive function) กิจบริหารมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการจำแนกความคิดที่ขัดแย้งกัน กับการตัดสินความมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ความดีและความดีที่สุด ความเหมือนกันและความต่างกัน ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเนื่องจากการกระทำปัจจุบัน การทำการเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ การพยากรณ์ผลที่จะเกิดขึ้น ความมุ่งหวังในการกระทำ และการควบคุมตนในสังคม (คือสมรรถภาพในการระงับความอยากตามสัญชาตญาณที่ถ้าไม่ระงับแล้ว ก็อาจจะนำไปสู่ผลเกี่ยวกับสังคมที่ไม่เป็นที่น่าชอบใจ) นักวิชาการหลายท่านได้แสดงถึงความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างบุคลลิกของคนๆหนึ่ง และหน้าที่ของ PFC.

ใหม่!!: กลีบขมับและคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: กลีบขมับและตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ซีกสมอง

ซีกสมอง หรือ ซีกสมองใหญ่' (cerebral hemisphere, hemispherium cerebri) เป็นคู่ของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่แยกออกจากกันโดยระนาบแบ่งซ้ายขวา คือ medial longitudinal fissure (ช่องตามยาวแนวกลาง) ดังนั้น จึงพรรณนาสมองได้ว่าแบ่งออกเป็นสมองซีกซ้าย (left cerebral hemisphere) และสมองซีกขวา (right cerebral hemisphere) สมองแต่ละซีกมีชั้นด้านนอกเป็นเนื้อเทาที่เรียกว่าเปลือกสมอง (cerebral cortex) มีชั้นด้านในเป็นเนื้อขาวที่พยุงรับชั้นด้านนอก.

ใหม่!!: กลีบขมับและซีกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทกายวิภาคศาสตร์

มหกายวิภาคของสมองมนุษย์ ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิชากายวิภาคศาสตร์ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการจัดเรียงโครงสร้างทางกายวิภาคของระบบประสาท ซึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังจะประกอบเส้นประสาทจำนวนมากที่กระจายตัวจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งโครงสร้างภายในของสมองซึ่งมีความซับซ้อนมาก การศึกษาประสาทกายวิภาคศาสตร์จึงมีการพัฒนาอย่างเป็นระเบียบในตัวมันเอง และยังเป็นสาขาวิชาที่มีการศึกษาเป็นพิเศษในวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ การอธิบายความแตกต่างของโครงสร้างและส่วนของสมองจะเน้นไปถึงการศึกษาการทำงานของมัน ดังเช่นการศึกษาของนักประสาทวิทยาศาสตร์จะมาจากการศึกษาความผิดปกติ (damage หรือ lesion) ของสมองในแต่ละส่วนว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมหรือการทำงานของประสาท.

ใหม่!!: กลีบขมับและประสาทกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ใหม่!!: กลีบขมับและเปลือกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนการเห็น

ทางสัญญาณด้านหลัง (เขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (ม่วง) เป็นทางสัญญาณเริ่มมาจากเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิ เปลือกสมองส่วนการเห็น (visual cortex, cortex visualis) ในสมองเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลสายตา อยู่ในสมองกลีบท้ายทอยด้านหลังของสมอง คำว่า เปลือกสมองส่วนการเห็น หมายถึงคอร์เทกซ์ต่าง ๆ ในสมองรวมทั้ง.

ใหม่!!: กลีบขมับและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Lobus temporalisMedial temporal cortexMedial temporal lobeTemporal cortexTemporal lobeสมองกลีบขมับสมองกลีบขมับส่วนในสมองกลีบขมับด้านในคอร์เทกซ์กลีบขมับคอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนใน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »