โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกยาว

ดัชนี กระดูกยาว

กระดูกต้นแขน เป็น'''กระดูกยาว'''ชนิดหนึ่ง กระดูกยาว (Long bone) เป็นประเภทหนึ่งของกระดูกที่มีความยาวมากกว่าความกว้าง ซึ่งมีการเติบโตแบบปฐมภูมิโดยการยืดออกของไดอะไฟซิส (diaphysis) โดยมีเอพิไฟซิส (epiphysis) อยู่ที่ปลายของกระดูกที่เจริญ ปลายของเอพิไฟซิสถูกคลุมด้วยกระดูกอ่อนชนิดไฮยาลิน คาร์ทิเลจ (hyaline cartilage) (หรือ "articular cartilage") การเจริญเติบโตทางยาวของกระดูกยาวเป็นผลจากการสร้างกระดูกแบบแทนที่กระดูกอ่อน (endochondral ossification) ที่บริเวณแผ่นเอพิไฟเซียล (epiphyseal plate) การยืดยาวออกของกระดูกถูกกระตุ้นโดยการสร้างโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ซึ่งหลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ตัวอย่างของกระดูกยาว เช่น กระดูกต้นขา กระดูกแข้ง และกระดูกน่องของขา กระดูกต้นแขน กระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาของแขน กระดูกฝ่ามือและกระดูกฝ่าเท้า (metatarsal) ของมือและเท้า และกระดูกนิ้วมือและกระดูกนิ้วเท้า กระดูกยาวของขามนุษย์มีความยาวเกือบเป็นครึ่งหนึ่งของความสูงในผู้ใหญ่ นอกจากนั้นโครงสร้างที่เป็นกระดูกที่ประกอบเป็นความสูงก็ได้แก่กระดูกสันหลังและกะโหลกศีรษะ ด้านนอกของกระดูกประกอบด้วยชั้นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) นอกจากนี้เปลือกนอกของกระดูกยาวเป็นกระดูกเนื้อแน่น หรือกระดูกทึบ (compact bone) ชั้นลึกลงไปเป็นชั้นกระดูกฟ่าม, กระดูกฟองน้ำ, กระดูกพรุน หรือกระดูกโปร่ง (cancellous bone หรือ spongy bone) ซึ่งมีไขกระดูก (bone marrow) ส่วนด้านในของกระดูกยาวเป็นช่องว่างเรียกว่า medullary cavity ซึ่งแกนกลางของโพรงกระดูกประกอบด้วยไขกระดูกเหลือง (yellow marrow) ในผู้ใหญ่ ซึ่งจะพบมากในผู้หญิง.

18 ความสัมพันธ์: กระดูกกระดูกฝ่ามือกระดูกสันหลังกระดูกอัลนากระดูกอ่อนกระดูกต้นขากระดูกต้นแขนกระดูกนิ้วมือกระดูกน่องกระดูกแข้งกระดูกเรเดียสกระดูกเนื้อแน่นกระดูกเนื้อโปร่งกะโหลกศีรษะขามนุษย์ต่อมใต้สมองไขกระดูกเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: กระดูกยาวและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือ

กระดูกมือข้างซ้าย มุมมองจากด้านหลังมือ ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bones/Metacarpus) เป็นกลุ่มของกระดูกมือที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกข้อมือ (Carpus) และกระดูกนิ้วมือ (Phalanges) โดยจะมีจำนวน 5 ชิ้น เพื่อรองรับกระดูกนิ้วมือทั้ง 5.

ใหม่!!: กระดูกยาวและกระดูกฝ่ามือ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: กระดูกยาวและกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอัลนา

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกอัลนา (Ulna) หรือ กระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย เป็นหนึ่งในสองกระดูกที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่สำคัญของรยางค์บน คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) และขนานไปกับกระดูกเรเดียส และเชื่อมกันโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เช่นเดียวกับกระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาเป็นจุดเกาะที่สำคัญของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมือ.

ใหม่!!: กระดูกยาวและกระดูกอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอ่อน

กระดูกอ่อนเมื่อดูใต้กล้องจุลทรรศน์ กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งพบได้ทั่วร่างกายมนุษย์และสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อต่างๆ ซี่โครง หู จมูก หลอดลม และ กระดูกข้อต่อสันหลังประกอบไปด้วย เยื่อใยคอลลาเจน และ/ หรือ เยื่อใยอีลาสติน และเซลล์ที่เรียกว่า คอนโดรไซต์ซึ่งจะหลั่งสารออกมาห่อหุ้มเซลล์ที่มีคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่อยู่ภายในจะมีลักษณะ คล้ายเจล เรียกว่า แมททริกซ์ กระดูกอ่อนจะไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง คอนโดรไซต์จะแลกเปลี่ยนสารอาหารโดยแพร่ผ่านคอลลาเจนมาสู่เส้นเลือดด้านนอก เมตาบอลิซึมของเซลล์เหล่านี้ต่ำ ถ้าถูกทำลายจะซ่อมแซมตัวเองได้แต่ช้า กระดูกอ่อนมีหน้าที่หลายอย่าง ประกอบไปด้วย การเตรียมโครงร่างของการสะสมการสร้างกระดูก และช่วยสร้างพื้นที่หน้าเรียบสำหรับรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อ เป็นกระดูกที่เกิดขึ้นก่อนในระยะเอ็มบริโอก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยกระดูกแข็ง เป็นโครงสร้างของกล่องเสียง หลอดลมในระบบหายใจ เป็นองค์ประกอบของข้อต่อตามหัวเข่าและข้อศอก กระดูกอ่อนแบ่งตามองค์ประกอบได้ 3 ชนิด ดังนี้ ไฮยาลินคาร์ทีเลจ (hyaline cartilage) อีลาสติกคาร์ทีเลจ (elastic cartilage) ไฟโบรคาร์ทีเลจ (fibrocartilage).

ใหม่!!: กระดูกยาวและกระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกต้นขา

กระดูกต้นขา (Femur) เป็นกระดูกยาวที่อยู่ภายในต้นขา (thigh) ในมนุษย์ถือว่าเป็นกระดูกที่ยาวที่สุด มีปริมาตรมากที่สุด และแข็งแรงที่สุด ความยาวของกระดูกต้นขาโดยเฉลี่ยของมนุษย์ประมาณ 48 เซนติเมตร และเส้นรอบวงโดยเฉลี่ย 2.34 ซม.

ใหม่!!: กระดูกยาวและกระดูกต้นขา · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

ใหม่!!: กระดูกยาวและกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วมือ

กระดูกนิ้วมือ (Phalanges of hand; Finger bones) เป็นกลุ่มของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นแกนของนิ้วมือทั้งห้านิ้วของมนุษย์ โดยแต่ละนิ้วจะมีกระดูกนิ้วมือ 3 ท่อน คือ.

ใหม่!!: กระดูกยาวและกระดูกนิ้วมือ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกน่อง

กระดูกน่อง หรือ กระดูกฟิบูลา เป็นกระดูกที่อยู่ด้านข้างของกระดูกแข้ง (tibia) ซึ่งกระดูกสองชิ้นนี้มีข้อต่อกันทางด้านบนและด้านล่าง กระดูกนี้มีขนาดเล็กกว่ากระดูกแข้ง เมื่อเทียบสัดส่วนกับความยาวจะพบว่ากระดูกน่องเป็นกระดูกที่ผอมที่สุดในบรรดากระดูกยาวทั้งหมด ส่วนต้นกระดูกมีขนาดเล็ก วางตัวอยู่ด้านหลังของหัวกระดูกแข้งใต้ต่อระดับข้อเข่า และไม่ได้เป็นกระดูกองค์ประกอบของข้อเข่า ส่วนปลายของกระดูกนี้เอียงยื่นไปทางด้านหน้าเล็กน้อย ปลายล่างของกระดูกนี้ยื่นลงต่ำกว่าปลายกระดูกแข้ง สร้างเป็นส่วนด้านข้างของข้อเท้.

ใหม่!!: กระดูกยาวและกระดูกน่อง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกแข้ง

กระดูกแข้ง หรือ กระดูกทิเบีย (tibia) เป็นหนึ่งในสองกระดูกของขาท่อนล่างใต้เข่า มีขนาดใหญ่กว่ากระดูกน่อง พบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง.

ใหม่!!: กระดูกยาวและกระดูกแข้ง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเรเดียส

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกเรเดียส (Radius, ภาษาละตินอ่านว่า ราดิอุส) หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นหนึ่งในกระดูกสองชิ้นที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขน และเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อสองจุดที่สำคัญ คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) กระดูกเรเดียสจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายรูปปริซึม และวางอยู่ทางด้านข้างของกระดูกอัลนา (Ulna, ภาษาละตินอ่านว่า อุลนา) โดยจะมีแผ่นของเอ็นซึ่งเรียกว่า เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) และยังเป็นกระดูกที่มีจุดเกาะของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมืออีกด้ว.

ใหม่!!: กระดูกยาวและกระดูกเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเนื้อแน่น

แสดงภาคตัดขวางของกระดูก แสดงกระดูกเนื้อแน่นและกระดูกเนื้อโปร่ง กระดูกเนื้อแน่น หรือ กระดูกทึบ (compact bone, cortical bone, dense bone) เป็นเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ประเภทหนึ่ง กระดูกเนื้อแน่นจะมีความหนาแน่นและเรียงตัวเป็นพื้นผิวของกระดูก คิดเป็นน้ำหนักประมาณ 80% ของน้ำหนักโครงกระดูกมนุษย์ทั้งหมด ส่วนของกระดูกนี้จะหนา เกิดจากชั้นของกระดูกเรียงตัวเป็นชั้นๆ อัดแน่นโดยมีช่องว่างระหว่างชั้นน้อยมาก หน้าที่หลักของกระดูกนี้คือเพื่อค้ำจุนร่างกาย ป้องกันอวัยวะต่างๆ ช่วยเป็นคานในการเคลื่อนไหว และเก็บแร่ธาตุ (ร่วมกับกระดูกเนื้อโปร่ง) กระดูกอีกประเภทหนึ่งคือ กระดูกเนื้อโปร่ง (cancellous bone) ซึ่งมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำ ประกอบกันขึ้นเป็นส่วนโพรงด้านในของกระดูกต่างๆ รวมทั้งกระดูกสันหลัง.

ใหม่!!: กระดูกยาวและกระดูกเนื้อแน่น · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเนื้อโปร่ง

กระดูกเนื้อโปร่ง, กระดูกฟ่าม, กระดูกฟองน้ำ, หรือกระดูกพรุน (spongy bone, cancellous bone, trabecular bone) เป็นเนื้อเยื่อกระดูกชนิดหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นและความแข็งแกร่งน้อยกว่า แต่มีพื้นที่ผิวมากกว่า กระดูกชนิดนี้มีลักษณะโปร่งคล้ายเส้นใยสานกันจะอยู่ภายในโพรงของกระดูกยาว ชั้นนอกของกระดูกเนื้อโปร่งจะประกอบด้วยไขกระดูกแดง (red bone marrow) ซึ่งเป็นแหล่งที่ผลิตองค์ประกอบของเลือด (ที่เรียกกันว่า การกำเนิดเซลล์เม็ดเลือด (hematopoiesis)) กระดูกเนื้อโปร่งนี้จะเป็นที่อยู่ของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ เนื้อเยื่อกระดูกอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า กระดูกเนื้อแน่น (cortical bone) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นผิวแข็งชั้นนอกของกระดูก.

ใหม่!!: กระดูกยาวและกระดูกเนื้อโปร่ง · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: กระดูกยาวและกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

ขามนุษย์

องมนุษย์ (human leg) หมายถึง รยางค์ล่าง (lower limb) ของร่างกายมนุษย์ นับตั้งแต่สะโพก (hip) ไปจนถึงข้อเท้า (ankle) ได้แก่ ต้นขา (thigh), เข่า (knee), ปลายขา (cnemis) กระดูกที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์คือ กระดูกต้นขา (femur) ก็อยู่ในขาด้วย ในทางกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ขาเป็นส่วนหนึ่งของรยางค์ล่างที่อยู่ระหว่างเข่าและข้อเท้า (ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปจนถึงสะโพกจะเรียกว่า ต้นขา) ส่วนบริเวณที่เราเรียกกันทั่วไปว่า ขา คือนับตั้งแต่สะโพกตลอดถึงข้อเท้าจะใช้ว่า "รยางค์ล่าง" (lower limb) ซึ่งในบทความนี้จะใช้นิยามของ ขา ตามที่เรียกกันทั่วไป ส่วนของขาที่นับจากเข่าถึงข้อเท้าเรียกว่า ปลายขา (cnemis หรือ crus) โดยส่วนหลังเรียกว่า น่อง (calf) และส่วนหน้าเรียกว่า แข้ง (shin) ในหลายวัฒนธรรม ขาเป็นอุปมาถึงความแข็งแรงหรือการเคลื่อนที่ ขาอาจหมายความถึงส่วนประกอบของสิ่งของที่ทำหน้าที่รองรับ เช่น ขาเก้าอี้ เป็นต้น.

ใหม่!!: กระดูกยาวและขามนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมใต้สมอง

ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) เป็นต่อมที่อยู่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโปทาลามัส แบ่งได้ 3 ส่วนคือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง ต่อมใต้สมองส่วนหน้าและส่วนกลาง มีต้นกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นหน่วยเดียวกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นต่อมไร้ท่อแท้จริง ขณะที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อประสาท ที่ไม่ได้สร้างฮอร์โมนได้เอง แต่มีปลายแอกซอนของนิวโรซีครีทอรีเซลล์ (Neurosecretory cell) จากไฮโปทาลามัสมาสิ้นสุด และหลั่งฮอร์โมนประสาทออกมาสู่กระแสเลือด ต่อมใต้สมองมีขนาดประมาณ 20 1.5 เซนติเมตร nani หน่านิ yaraniga ยาราไนก้.

ใหม่!!: กระดูกยาวและต่อมใต้สมอง · ดูเพิ่มเติม »

ไขกระดูก

กระดูก เป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นที่พบได้ในกระดูกชั้นใน ไขกระดูกในกระดูกชิ้นใหญ่ของคนผลิตเม็ดเลือดแดงใหม่ โดยเฉลี่ยแล้วไขกระดูกมีน้ำหนักคิดเป็นร้อยละ 4 ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เช่นในผู้ใหญ่น้ำหนัก 65 กิโลกรัม จะมีไขกระดูกโดยประมาณ 2.6 กิโลกรัม ส่วนสร้างเม็ดเลือด (hematopoietic compartment) ของไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง 500,000 ล้านเซลล์ต่อวันโดยประมาณ ซึ่งใช้ระบบไหลเวียนไขกระดูก (bone marrow vasculature) เป็นท่อสู่ระบบไหลเวียนของร่างกาย ไขกระดูกยังเป็นส่วนหลักของระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) ที่ผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ซึ่งช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างก.

ใหม่!!: กระดูกยาวและไขกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

นื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เป็นหนึ่งในสี่เนื้อเยื่อสัตว์พื้นฐาน (อันได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ, และ เนื้อเยื่อประสาท) เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ.

ใหม่!!: กระดูกยาวและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Long boneกระดูกแบบยาว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »