โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกท้ายทอย

ดัชนี กระดูกท้ายทอย

กระดูกท้ายทอย (Occipital bone) เป็นกระดูกรูปจานรองแก้วที่อยู่ด้านหลังและด้านล่างของกะโหลกศีรษะ มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูและโค้ง มีช่องขนาดใหญ่รูปวงรีเรียกว่า ฟอราเมน แมกนัม (foramen magnum) ซึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่างโพรงกะโหลก (cranial cavity) และคลองกระดูกสันหลัง (vertebral canal) แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้.

12 ความสัมพันธ์: ฟอราเมน แมกนัมกระหม่อมหลังกระดูกสฟีนอยด์กระดูกขมับกระดูกข้างขม่อมกระดูกเนื้อโปร่งกะโหลกศีรษะรอยประสานท้ายทอยจูกูลาร์ โพรเซสปุ่มกระดูกท้ายทอยโพรงกะโหลกเยื่อคลุม

ฟอราเมน แมกนัม

ฟอราเมน แมกนัม(Foramen Magnum, มาจากภาษาละติน แปลว่า รูขนาดใหญ่) ในทางกายวิภาคศาสตร์ เป็นช่องเปิดขนาดใหญ่รูปวงรีที่อยู่ที่ฐานของกะโหลกศีรษะ บนกระดูกท้ายทอย (Occipital Bone) ซึ่งเป็นทางผ่านของเมดัลลา ออบลองกาตา (Medulla Oblongata) ซึ่งติดต่อกับไขสันหลัง นอกจากช่องนี้จะเป็นทางผ่านของเมดัลลา ออบลองกาตาแล้ว ยังเป็นทางผ่านของหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรัล (Vertebral Arteries), หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์สไปนัล (Anterior Spinal Artery), และหลอดเลือดแดงโพสทีเรียร์สไปนัล (Posterior Spinal Artery), เยื่อคลุม (Membrana Tectoria) และเอ็นเอลาร์ (Alar Ligaments).

ใหม่!!: กระดูกท้ายทอยและฟอราเมน แมกนัม · ดูเพิ่มเติม »

กระหม่อมหลัง

กระหม่อมหลัง หรือ ขม่อมหลัง (posterior fontanelle หรือ occipital fontanelle) เป็นกระหม่อมบนกะโหลกศีรษะ มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมและอยู่ที่จุดบรรจบของรอยประสานหว่างขม่อม (sagittal suture) และรอยประสาทแลมบ์ดอยด์ (lambdoidal suture) กระหม่อมนี้จะปิดภายใน 6-8 สัปดาห์หลังคลอดและเมื่อปิดแล้วจะเป็นรอยประสานที่เรียกว่า แลมบ์ดา (lambda).

ใหม่!!: กระดูกท้ายทอยและกระหม่อมหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสฟีนอยด์

กระดูกสฟีนอยด์ (Sphenoid bone; sphenoeides แปลว่า รูปร่างคล้ายลิ่ม) เป็นกระดูกชิ้นหนึ่งของฐานกะโหลกศีรษะด้านหน้าของกระดูกขมับ (temporal) และส่วนเบซิลาร์ของกระดูกท้ายทอย (occipital bone) กระดูกชิ้นนี้มีรูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อหรือค้างคาว.

ใหม่!!: กระดูกท้ายทอยและกระดูกสฟีนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกขมับ

กระดูกขมับ (temporal bone) เป็นกระดูกที่อยู่ด้านข้างและด้านฐานของกะโหลกศีรษะ กระดูกนี้ทำหน้าที่ค้ำจุนส่วนของใบหน้าที่เรียกว่า ขมับ (temple).

ใหม่!!: กระดูกท้ายทอยและกระดูกขมับ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกข้างขม่อม

กระดูกข้างขม่อม (parietal bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในกะโหลกศีรษะของมนุษย์ ซึ่งประกอบกันอยู่ด้านข้างและเป็นหลังคาด้านบนของกะโหลกศีรษะ กระดูกข้างขม่อมมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ มีพื้นผิว 2 ด้าน ขอบกระดูก 4 ขอบ และมุมกระดูก 4 มุม.

ใหม่!!: กระดูกท้ายทอยและกระดูกข้างขม่อม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเนื้อโปร่ง

กระดูกเนื้อโปร่ง, กระดูกฟ่าม, กระดูกฟองน้ำ, หรือกระดูกพรุน (spongy bone, cancellous bone, trabecular bone) เป็นเนื้อเยื่อกระดูกชนิดหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นและความแข็งแกร่งน้อยกว่า แต่มีพื้นที่ผิวมากกว่า กระดูกชนิดนี้มีลักษณะโปร่งคล้ายเส้นใยสานกันจะอยู่ภายในโพรงของกระดูกยาว ชั้นนอกของกระดูกเนื้อโปร่งจะประกอบด้วยไขกระดูกแดง (red bone marrow) ซึ่งเป็นแหล่งที่ผลิตองค์ประกอบของเลือด (ที่เรียกกันว่า การกำเนิดเซลล์เม็ดเลือด (hematopoiesis)) กระดูกเนื้อโปร่งนี้จะเป็นที่อยู่ของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ เนื้อเยื่อกระดูกอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า กระดูกเนื้อแน่น (cortical bone) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นผิวแข็งชั้นนอกของกระดูก.

ใหม่!!: กระดูกท้ายทอยและกระดูกเนื้อโปร่ง · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: กระดูกท้ายทอยและกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

รอยประสานท้ายทอย

รอยประสานท้ายทอย (lambdoid suture) เป็นข้อต่อชนิดเนื้อเส้นใยคั่น ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเส้นใยหนาที่แบ่งระหว่างกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) และกระดูกขมับ (temporal bone) ออกจากกระดูกท้ายทอย (occipital bone) บนกะโหลกศีรษะ ชื่อของซูเจอร์นี้มาจากลักษณะของรอยประสานนี้มีรูปร่างเหมือนอักษรแลมบ์ดาของภาษากรีก.

ใหม่!!: กระดูกท้ายทอยและรอยประสานท้ายทอย · ดูเพิ่มเติม »

จูกูลาร์ โพรเซส

ูกูลาร์ โพรเซส (jugular process) เป็นแผ่นกระดูกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ยื่นออกมาทางด้านข้างของส่วนครึ่งหลังของปุ่มกระดูกท้ายทอย (occipital condyle) ของกระดูกท้ายทอย (occipital bone) ซึ่งด้านหน้าเป็นรอยเว้า เรียกว่า รอยเว้าจูกูลาร์ (jugular notch) ซึ่งประกอบเป็นส่วนหลังของจูกูลาร์ ฟอราเมน (jugular foramen) ส่วนนี้เป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อเรคตัส แคปปิติส แลทเทอราลิส (rectus capitus lateralis).

ใหม่!!: กระดูกท้ายทอยและจูกูลาร์ โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มกระดูกท้ายทอย

ปุ่มกระดูกท้ายทอย (occipital condyles) เป็นปุ่มกระดูกที่อยู่ด้านล่างของส่วนข้างของกระดูกท้ายทอย (occipital bone) ซึ่งเป็นส่วนของกระดูกที่อยู่ด้านข้างของฟอราเมน แมกนัม (foramen magnum) ปุ่มกระดูกนี้เกิดข้อต่อกับหน้าประกบบนของกระดูกคอชิ้นที่หนึ่ง (atlas) ปุ่มกระดูกนี้มีรูปร่างเป็นวงรี ส่วนหน้าของปุ่มซึ่งชี้ไปด้านหน้าและด้านใกล้กลางอยู่ใกล้กับส่วนหน้าของปุ่มอีกข้างมากกว่าส่วนหลังของปุ่ม และชี้เข้าไปในส่วนฐาน (basilar portion) ของกระดูกท้ายทอย ส่วนหลังของปุ่มนี้ยื่นไปทางด้านหลังไปยังตรงกลางของฟอราเมน แมกนัม พื้นผิวข้อต่อของปุ่มกระดูกนี้มีลักาณะนูนในแนวหน้าหลัง และในแนวข้าง และชี้ลงด้านล่างและด้านข้าง ขอบของปุ่มกระดูกนี้เป็นจุดเกาะของแคปซูลข้อต่อระหว่างกระดูกท้ายทอยและกระดูกคอชิ้นที่หนึ่ง และด้านใกล้กลางของปุ่มกระดูกแต่ละอันเป็นรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะของเอ็นเอลาร์ (alar ligament) ที่ฐานของปุ่มกระดูกเป็นช่องเล็ก ๆ ซึ่งเป็นทางผ่านของเส้นประสาทกล้ามเนื้อลิ้น (hypoglossal nerve).

ใหม่!!: กระดูกท้ายทอยและปุ่มกระดูกท้ายทอย · ดูเพิ่มเติม »

โพรงกะโหลก

รงกะโหลก (cranial cavity or intracranial space) เป็นช่องว่างที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ เป็นที่อยู่ของสมอง โพรงกะโหลกดาดด้วยเยื่อหุ้มสมอง และมีของเหลวที่ช่วยลดการกระแทก โพรงกะโหลกเกิดจากกระดูกหุ้มสมอง 8 ชิ้น ได้แก่ กระดูกหน้าผาก (frontal), กระดูกท้ายทอย (occipital), กระดูกสฟีนอยด์ (sphenoid), กระดูกเอทมอยด์ (ethmoid), กระดูกข้างขม่อม (parietal) 2 ชิ้นและกระดูกขมับ (temporal) 2 ชิ้น (temporal) Martini R, Ober W, Garrison C, Welch K, and Hutchings RT.

ใหม่!!: กระดูกท้ายทอยและโพรงกะโหลก · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อคลุม

ื่อคลุม (tectorial membrane ตัวย่อ TM) เป็นเนื้อเยื่อที่ไม่ใช่เป็นเซลล์เยื่อหนึ่งในหูชั้นใน โดยอีกเยื่อหนึ่ง (ที่เป็นเซลล์) ก็คือเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane, BM) เยื่อคลุมอยู่เหนือ spiral limbus กับอวัยวะของคอร์ติ และทอดไปตามยาวของคอเคลียขนานกับ BM ถ้าแบ่งตามด้านกว้าง (radial) เยื่อคลุมจะมีสามเขต คือ limbal zone, middle zone และ marginal zone โดย limbal zone เป็นส่วนบางที่สุดและอยู่เหนือ auditory teeth of Huschke และมีริมในยึดอยู่กับ spiral limbus ส่วน marginal zone จะเป็นส่วนหนาสุดและแบ่งจาก middle zone โดย Hensen's Stripe เยื่อคลุมโดยทั่วไปคลุมอยู่เหนือเซลล์ขนด้านใน (inner hair cell, IHC) ที่เป็นตัวรับเสียง และเหนือเซลล์ขนด้านนอก (outer hair cells) ที่เคลื่อนไหวได้เองอาศัยไฟฟ้า เมื่อเสียงวิ่งผ่านหูชั้นใน เยื่อคลุมก็จะขยับเร้า IHC ผ่านน้ำที่ล้อมอยู่ และเร้า OHC โดยตรงที่ stereocilia อันยาวสุดของ OHC ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมติดกับเยื่อคลุม.

ใหม่!!: กระดูกท้ายทอยและเยื่อคลุม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Occipital bone

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »