โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

ดัชนี กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง หรือ กฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ (public international law) คือ กลุ่มกฎเกณฑ์ที่มีผลบังคับเป็นกฎหมายผูกพันรัฐในทางปฏิสัมพันธ์กับรัฐอื่น ปัจเจกบุคคล องค์การ และคณะบุคคลอื่น ครอบคลุมกิจกรรมหลายประเทศ เช่น ความสัมพันธ์ทางทูต การทำสงคราม การค้า สิทธิมนุษยชน และการใช้ทรัพยากรทางทะเลร่วมกัน ตรงข้ามกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล หรือกฎหมายเอกชนระหว่างประเทศ (private international law) ซึ่งว่าด้วยการระงับกรณีพิพาททางกฎหมายระหว่างปัจเจกบุคคลในระดับระหว่างประเทศ เช่น ระหว่างคู่กรณีจากสองประเทศที่มีระบบกฎหมายต่างกัน.

1 ความสัมพันธ์: กฎหมายมหาชน

กฎหมายมหาชน

กฎหมายมหาชน (public law) คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับรัฐ หรือความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเองซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงถึงสังคม อาจแบ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายภาษี กฎหมายอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาคดี ส่วนกฎหมายที่ว่าเฉพาะด้วยความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันนั้นเรียก กฎหมายเอกชน กฎหมายมหาชนนั้นว่าด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลและไม่เท่าเทียมกัน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งมีสถานะสูงกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น รัฐที่มีอำนาจกำหนดเกี่ยวกับสิทธิของปัจเจกบุคคล แต่ด้วยผลของหลักนิติธรรม การกำหนดดังกล่าวจะต้องเป็นไปภายในขอบเขตของกฎหมาย (secundum et intra legem) และรัฐจะต้องเคารพกฎหมาย ราษฎรที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ทางปกครองก็อาจร้องขอต่อศาลให้ทบทวนคำวินิจฉัยดังกล่าว การแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นฝ่ายมหาชนและเอกชนนั้นย้อนหลังไปได้ถึงสมัยกฎหมายโรมัน ประเทศที่ใช้กฎหมายระบบซีวิลลอว์จัดการแบ่งแยกดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และนับแต่นั้น แนวคิดเรื่องการแบ่งแยกก็แพร่ไปสู่ประเทศคอมมอนลอว์ด้วย ขอบเขตของกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนอาจทับซ้อนกันได้ในบางกรณี ทำให้มีความพยายามที่จะเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับรากฐานของกฎหมายทั้งสองกลุ่มมาตลอ.

ใหม่!!: กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองและกฎหมายมหาชน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Public international lawกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »