โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการ

ดัชนี กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการ

กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการ (Ten Abominations) เป็นกฎหมายจีนดั้งเดิมประเภทหนึ่งที่กำหนดความผิดซึ่งทั่วไปมองว่าเป็นความชั่วช้าอย่างถึงที่สุด สังคมจะมีความไพบูลย์หากไม่มีผู้ฝ่าฝืนกฎนี้ สิบประการที่ว่ามีดังนี้.

10 ความสัมพันธ์: กบฏกฎว่าด้วยเอกสิทธิ์แปดประการกฎหมายจีนดั้งเดิมการก่อความไม่สงบการร่วมประเวณีกับญาติสนิทการทุจริตทางการเมืองการปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองอกตัญญูโทษประหารชีวิตเอกสิทธิ์

กบฏ

กบฏ, ขบถ หรือ กระบถ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการและกบฏ · ดูเพิ่มเติม »

กฎว่าด้วยเอกสิทธิ์แปดประการ

กฎว่าด้วยเอกสิทธิ์แปดประการ (Eight Deliberations) เป็นกฎหมายจีนดั้งเดิมประเภทหนึ่งที่ใช้เป็นข้อพิจารณาในการลดโทษสำหรับอภิชนบางกลุ่ม เช่น สมาชิกราชวงศ์ ขุนนาง และชนชั้นสูงอื่น ๆ กฎว่าด้วยเอกสิทธิ์แปดประการตราขึ้นในวุยก๊ก สมัยสามก๊ก โดยพัฒนามาจากกฎแห่งโจว อันมีหลักว่า ผู้กระทำความผิดอาญา หากมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ได้รับการลดโทษ คือ เป็นประยูรญาติขององค์อธิปัตย์ เป็นสหายสนิทชิดเชื้่อกับองค์อธิปัตย์ เป็นผู้มีคุณความดีอย่างใหญ่หลวง เป็นผู้มีคุณธรรมมาก เป็นข้าราชการชั้นสูง เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับการยกเว้นเป็นพิเศษ หรือเป็นอาคันตุกะขององค์อธิปัตย์หรือเป็นประยูรญาติของประมุขแห่งรัฐคนก่อน ต่อมาได้รับการตราไว้ในมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายราชวงศ์ถัง และคงได้รับนามตามเดิม โดยตามมาตรา 7 นี้ การไต่สวนและพิจารณาพิพากษาผู้มีลักษณะข้างต้นต้องได้รับราชานุญาตจากพระจักรพรรดิเสียก่อน ทว่า ในมาตรา 8 บัญญัติยกเว้นว่า มิให้ใช้มาตรา 7 หากบุคคลดังกล่าวกระทำความผิดร้ายแรงตามกฎว่าด้วยความชั่วสิบประการ ซึ่งประมวลกฎหมายของราชวงศ์ต่อ ๆ มาของจีนก็มีหลักการเดียวกัน กฎว่าด้วยเอกสิทธิ์แปดประการ ประกอบด้ว.

ใหม่!!: กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการและกฎว่าด้วยเอกสิทธิ์แปดประการ · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายจีนดั้งเดิม

กฎหมายจีนดั้งเดิม (traditional Chinese law) หมายถึง บรรดากฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่ใช้บังคับในประเทศจีนนับแต่โบราณกาลมาจนถึง พ.ศ. 2454 อันเป็นปีที่ราชวงศ์ชิงสิ้นสุดลง กฎหมายดั้งเดิมเหล่านี้มีความแตกต่างจากกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ (common law system) และระบบซีวิลลอว์ (civil law system) อันเป็นระบบกฎหมายสองระบบที่นิยมใช้และมีอิทธิพลมากที่สุดในโลกปัจจุบัน และกฎหมายจีนดั้งเดิมยิ่งต่างไปจากกฎหมายจีนปัจจุบันอย่างถึงที่สุด เนื่องจากกฎหมายจีนดั้งเดิมมีองค์ประกอบสำคัญคือความนิยมกฎหมายและความนิยมลัทธิขงจื้อซึ่งมีอิทธิพลต่อแบบแผนของสังคมและการปกครองของจีนในสมัยโบราณอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการและกฎหมายจีนดั้งเดิม · ดูเพิ่มเติม »

การก่อความไม่สงบ

การก่อความไม่สงบ (civil disorder, civil unrest หรือ civil strife) เป็นคำในความหมายกว้างซึ่งใช้โดยฝ่ายบังคับใช้กฎหมายในการอธิบายรูปแบบของการก่อให้เกิดความวุ่นวายของกลุ่มบุคคลตั้งแต่หนึ่งรูปแบบขึ้นไป การก่อความวุ่นวายของประชาชนเป็นเครื่องแสดงและเป็นรูปแบบหนึ่งของการประท้วงต่อปัญหาทางการเมืองและสังคมขนาดใหญ่ ความรุนแรงของพฤติการณ์เกิดขึ้นพร้อมกับการแสดงออกถึงความไม่พอใจของสาธารณะ ตัวอย่างของการก่อความไม่สงบเช่น การเดินขบวนประท้วงผิดกฎหมาย การยึดพื้นที่ประท้วง และการกีดขวางในรูปแบบอื่น การจลาจล การก่อวินาศกรรม และรูปแบบของอาชญากรรมอื่น ๆ การก่อความไม่สงบมีเจตนาที่จะเป็นการแสดงออกถึงสาธารณชนและรัฐบาล แต่ได้บานปลายจนกลายมาเป็นความสับสนอลหม่านโดยทั่วไป.

ใหม่!!: กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการและการก่อความไม่สงบ · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมประเวณีกับญาติสนิท

การร่วมประเวณีกับญาติสนิท"การร่วมประเวณีกับญาติสนิท" เป็นศัพท์ทางนิติศาสตร์ ส่วน "การสมสู่ร่วมสายโลหิต" เป็นศัพท์ทางแพทยศาสตร์ หรือ การสมสู่ร่วมสายโลหิต (Incest) หมายถึง การมีความสัมพันธ์ทางเพศในทุกรูปแบบกับผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งอาจหมายถึงคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ซึ่งถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและจารีตทางสังคม ในบางสังคม การล่วงละเมิดหมายอาจมีแค่ผู้ที่อยู่ร่วมเคหะสถานเดียวกัน หรือผู้ที่เป็นสมาชิกของเผ่าหรือมีผู้สืบสันดานเดียวกัน; ในบางสังคมมีความหมายรวมไปถึงคนที่สัมพันธ์กันทางสายเลือด; และในสังคมอื่น ๆ รวมไปถึงบุตรบุญธรรมหรือการแต่งงาน ในการศึกษาบางอย่างได้ระบุว่ารูปแบบของการล่วงละเมิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ระหว่างพ่อกับลูกสาว อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาอื่น ๆ เสนอว่าการร่วมประเวณีระหว่างพี่น้องเกิดขึ้นบ่อยเทียบเท่าหรือบ่อยครั้งกว่าการร่วมประเวณีกับญาติสนิทรูปแบบอื่น ๆ การล่วงละเมิดทางเพศเด็กโดยผู้ใหญ่ถูกพิจารณาว่าเป็นรูปแบบของการข่มขืนต่อเด็กรูปแบบหนึ่ง นักวิจัยได้ประมาณการว่าประชากรทั่วไปราว 10-15% เคยมีประสบการณ์การล่วงละเมิดทางเพศแบบดังกล่าวมากกว่าหนึ่งครั้ง ในขณะที่อีกประมาณ 2% เกี่ยวข้องกับการร่วมประเวณีหรือพยายามกระทำร่วมประเวณี ส่วนในผู้หญิง นักวิจัยได้ประมาณการตัวเลขไว้ที่ 20% ในสังคมส่วนใหญ่มักจะมีการหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดทางเพศของคนในครอบครัวเดียวกันในบางรูปแบบ ข้อห้ามการล่วงละเมิดของคนในครอบครัวเดียวกันถือว่าเป็นหนึ่งในข้อห้ามทางวัฒนธรรมในบางสังคม แต่ในทางกฎหมายการร่วมประเวณีกับญาติสนิทมีระดับการยอมรับที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ บางประเทศถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและถือว่าเป็นอาชญากรรมที่มีบทลงโทษ บางประเทศยอมรับการเกิดขึ้นได้โดยไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรมแต่จะไม่อนุญาตให้มีการแต่งงาน บางประเทศยอมรับด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรนเช่นยอมให้พี่น้องแต่งงานกันได้แต่ห้ามการแต่งงานระหว่างบุพการีกับบุตร บางประเทศห้ามเฉพาะผู้ใหญ่กับญาติที่ยังเป็นผู้เยาว์เท่านั้น จนถึงบางประเทศที่กฎหมายเปิดเสรี.

ใหม่!!: กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการและการร่วมประเวณีกับญาติสนิท · ดูเพิ่มเติม »

การทุจริตทางการเมือง

การทุจริตทางการเมือง (political corruption, ภาษาปากในภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า "คอร์รัปชัน") คือการใช้ตำแหน่งหรืออำนาจทางราชการและการเมือง หรือในองค์กรของเอกชน เพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ หรือการฉ้อโกงเอาเงินสาธารณะมาเป็นของตนและพรรคพวก หรือหาประโยชน์อื่นๆ ซึ่งการทุจริตนี้อาจมิใช่เป็นตัวเงิน วิธีการที่ใช้อาจจะผิดกฎหมายหรือไม่ผิดก็ได้ แต่เป็นพฤติกรรมซึ่งสาธารณชนจะไม่พอใจหรือผิดจากจารีตประเพณีนิยม เนื่องจากเป็นการกระทำที่ขัดกับความคาดหวังของสาธารณชน เรื่องมาตรฐานจริยธรรมและพฤติกรรมที่ดีของบุคคลสาธารณะ (ข้าราชการและนักการเมืองหรือองค์กรเอกชน) คำจำกัดความส่วนหลังนี้ เขียนไว้เพื่อเปิดช่องให้มีการตีความพฤติกรรมการทุจริตที่อาจจะแตกต่างกันในแต่ละสังคม หรือแม้แต่ในสังคมเดียวกัน.

ใหม่!!: กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการและการทุจริตทางการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง

ในทางกฎหมาย การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง (sedition) เป็นการกระทำอย่างชัดแจ้ง เช่น การพูดหรือการจัดระเบียบซึ่งเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายมองว่ามีแนวโน้มก่อการกบฏต่อความสงบเรียบร้อยอันเป็นที่ยอมรับ การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองมักรวมการบ่อนทำลายรัฐธรรมนูญและการยุยงให้เกิดความไม่พอใจ (หรือการขัดขืน) เจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองอาจรวมถึงความวุ่นวายในบ้านเมืองใด ๆ แม้มิได้มุ่งให้เกิดความรุนแรงโดยตรงและเปิดเผยต่อกฎหมาย ตรงแบบ การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองถือเป็นกิจกรรมบ่อนทำลาย และการกระทำอย่างชัดแจ้งดังกล่าวอาจถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองซึ่งต่างกันไปตามประเทศ หมวดหมู่:อาชญากรรม.

ใหม่!!: กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการและการปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง · ดูเพิ่มเติม »

อกตัญญู

อกตัญญู แปลว่า ผู้ไม่รู้สึกถึงบุญคุณที่ผู้อื่นทำแก่ตน ผู้ไม่มีความกตัญญู อกตัญญู คือเนรคุณ ทรยศ หักหลัง ไม่ซื่อสัตย์ ผู้ระลึกไม่ได้ว่าใครเคยทำดีเคยช่วยเหลือเกื้อกูลตนมา ผู้ลืมบุญคุณของคนอื่นที่ทำแก่ตนมา ผู้ไม่ยอมรับบุญคุณของใครทั้งนั้น เรียกว่า คนอกตัญญู มีลักษณะตรงข้ามกับคนกตัญญู อกตัญญู มีลักษณะลบหลู่บุญคุณคน ไม่ปรารถนาที่จะตอบแทนความดีของใคร ชอบลืมเรื่องที่เขาเคยทำเคยช่วยเหลือตนมา แต่ก็ไม่มีความรู้สึกอิ่มที่จะรับจากคนอื่นอีก หากยังมีช่องทางจะได้จากเขาอีกก็จะพอใจ หากเห็นว่าหมดโอกาสแล้วก็จะตีจากไปทันที หรือไม่ก็แสดงกิริยาพูดจาให้ร้ายต่างๆ ท่านจึงว่า "แม้จะยกแผ่นดินทั้งหมดให้แก่คนอกตัญญูก็จะให้เขายินดีพอใจไม่ได้".

ใหม่!!: กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการและอกตัญญู · ดูเพิ่มเติม »

โทษประหารชีวิต

ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 103 ประเทศ โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้ โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว.

ใหม่!!: กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการและโทษประหารชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

เอกสิทธิ์

เอกสิทธ์ หมายถึง สิทธิพิเศษเฉพาะบุคคลบางคนหรือบางประเภทที่มีคุณลักษณะพิเศษบางประการ ทำให้มีความชอบธรรมในการอ้างสิทธิดังกล่าวเหนือบุคคลอื่น เช่น เอกสิทธิ์การทูต เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา เอกสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ได้แก่ เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 130 ได้กำหนดให้เอกสิทธิ์แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาไว้ ได้แก่ เอกสิทธิ์ในการแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ออกเสียงลงคะแนน ผู้ใดจะนำไปฟ้องร้องไม่ได้ เว้นแต่เป็นการกล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดสดทางวิทยุหรือโทรทัศน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นความผิดอาญาหรือทางแพ่งต่อบุคคลอื่นที่มิใช่รัฐมนตรี หรือสมาชิกแห่งสภา เอกสิทธิ์นี้ให้แก่สมาชิกรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องเกรงว่าจะถูกคนใดฟ้องร้อง การอภิปรายในการประชุมสภาที่สมาชิกสภาแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม แม้จะทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือมีความผิดฐานหมื่นประมาท ก็ไม่ถูกฟ้องทั้งทางแพ่งและทางอาญา หมวดหมู่:กฎหมาย.

ใหม่!!: กฎว่าด้วยความชั่วสิบประการและเอกสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ten Abominations

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »