โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

Ñ

ดัชนี Ñ

ตัวอักษรเอเลบนแป้นพิมพ์ภาษาสเปน Ñ (ตัวใหญ่: Ñ, ตัวเล็ก: ñ) เป็นตัวอักษรละตินยุคใหม่ซึ่งเกิดจากการใส่เครื่องหมายทิลเดบนตัวอักษร N ตัว Ñ ได้รับการจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดตัวอักษรภาษาสเปนอย่างเป็นทางการในพุทธศตวรรษที่ 23 แต่ก็มีการใช้ในภาษากาลิเซีย, ภาษาอัสตูเรียส, ภาษาบาสก์, ภาษาอารากอน, ภาษาชาบากาโน, ภาษาฟิลิปีโน, ภาษาเกชัว และภาษาเตตุม รวมไปถึงในการถอดอักษรกลุ่มภาษาโตคาเรียนและภาษาสันสกฤตเป็นอักษรละติน โดยแทนเสียงนาสิก เพดานแข็ง  แต่ในภาษาตาตาร์ไครเมียใช้แทนเสียงนาสิก เพดานอ่อน ส่วนในภาษาเบรอตงและภาษาโรฮีนจา ตัวอักษรนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าสระที่อยู่ข้างหน้าออกเสียงเป็นสระนาสิก Ñ แตกต่างกับตัวอักษรอื่น ๆ ที่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับ (เช่น Ü ในภาษาสเปน, ภาษากาลิเซีย, ภาษาอัสตูเรียส และภาษาเลออน) ตรงที่มันมีฐานะเป็นตัวอักษรต่างหากตัวหนึ่งในภาษาเหล่านั้น (ยกเว้นภาษาเบรอตง) โดยมีชื่อเรียกเป็นของตัวเอง (ภาษาสเปนเรียก "เอเญ", eñe) และมีตำแหน่งเป็นของตัวเองในชุดตัวอักษร (ต่อจาก N) จากมุมมองนี้ ความเป็นเอกเทศของตัว Ñ จึงคล้ายคลึงกับตัว W ในภาษาอังกฤษ (ซึ่งมาจากการเขียนตัว V ติดกันในอดีต เหมือนกับตัว Ñ ซึ่งมาจากการเขียนตัว N ติดกัน).

24 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาโตคาเรียนกองทัพอากาศภาษาชาบากาโนภาษาบาสก์ภาษาฟิลิปีโนภาษากาลิเซียภาษาสันสกฤตภาษาสเปนภาษาอัสตูเรียสภาษาอังกฤษภาษาอารากอนภาษาตาตาร์ไครเมียภาษาโรฮีนจาภาษาเบรอตงภาษาเกชัวภาษาเตตุมยูนิโคดสาธารณรัฐสเปนที่ 2อักษรละตินอักษรตัวใหญ่คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)เสียงนาสิก เพดานอ่อนเสียงนาสิก เพดานแข็งเครื่องหมายเสริมสัทอักษร

กลุ่มภาษาโตคาเรียน

กลุ่มภาษาโตคาเรียน หรือ ภาษาโตชาเรียน เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน แบ่งเป็นภาษาย่อยได้สองภาษาคือ ภาษาโตคาเรียนตะวันออกและโตคาเรียนตะวันตก ใช้พูดในพุทธศตวรรษที่ 11 – 13 ก่อนจะกลายเป็นภาษาตาย ผู้พูดภาษานี้หันไปพูดภาษาอุยกูร์ ทั้งสองภาษาใช้พูดในบริเวณแอ่งตาริมในเอเชียกลาง ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซินเจียง ประเทศจีน ชื่อของภาษานี้มาจาก โตคาเรียน นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ชื่อของภาษานี้ในภาษาโตคาเรียนคือ arish- käna ภาษาโตคาเรียน เอหรือโตคาเรียนตะวันออก นั้น เคยพูดกันในแถบเตอร์ฟาน ซึ่งอยู่ทางตะวันออก ส่วนภาษาโตคาเรียน บีหรือโตคาเรียนตะวันตก นั้น เคยพูดกันส่วนใหญ่ในแถบคูชา ทางตะวันตก แต่ก็มีพูดกันในเตอร์ฟานด้วย ภาษาโตคาเรียนนั้นเขียนด้วยอักษรที่ดัดแปลงจากอักษรอินเดียฝ่ายเหนือ เรียกว่าอักษรพราหมี ซึ่งเป็นอักษรที่เคยใช้เขียนภาษาสันสกฤตในภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน แม้ว่าภาษาโตคาเรียนจะเป็นภาษาที่เก่าแก่ แต่นักวิชาการเพิ่งรู้จักและได้วิเคราะห์ไวยากรณ์ รวมทั้งแปลภาษาโตคาเรียนได้เป็นครั้งแรก เมื่อ..

ใหม่!!: Ñและกลุ่มภาษาโตคาเรียน · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอากาศ

กองทัพอากาศ คือกองกำลังติดอาวุธที่ปฏิบัติการในอากาศหรือเกี่ยวข้องกับอากาศ โดยใช้อากาศยานเป็นส่วนใหญ่ มีหน้าที่ปกป้องน่านฟ้าของประเทศนั้น.

ใหม่!!: Ñและกองทัพอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาชาบากาโน

ษาชาบากาโน เป็นชื่อของภาษาสเปนลูกผสมในฟิลิปปินส์ คำว่า chabacano ซึ่งเป็นที่มาของชื่อชาบากาโน (Chavacano) เป็นภาษาสเปน หมายถึง รสชาติแย่ สามัญ หรือหยาบ ผู้พูดภาษาชาบากาโนส่วนใหญ่อยู่ในเมืองซัมโบวังกาซิตี จังหวัดซัมโบวังกา บาซีลัน จาไวต์ และบางบริเวณในดาเวาและโจตาบาโต มีผู้พูด 607,200 คนเมื่อ..

ใหม่!!: Ñและภาษาชาบากาโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาสก์

ก์ (Basque) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวบาสก์ซึ่งอาศัยอยู่แถบเทือกเขาพีเรนีสในตอนกลางของภาคเหนือของประเทศสเปน รวมทั้งในบริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสที่มีอาณาเขตติดต่อกัน หรือลึกลงไปกว่านั้นคือ ชาวบาสก์ได้ครอบครองแคว้นปกครองตนเองที่มีชื่อว่าแคว้นประเทศบาสก์ (Basque Country autonomous community) ซึ่งมีวัฒนธรรมและอิสระในการปกครองตนเองทางการเมือง นอกจากนี้ก็ยังมีชาวบาสก์ที่อยู่ในเขตนอร์เทิร์นบาสก์ในฝรั่งเศสและแคว้นปกครองตนเองนาวาร์ในสเปนอีกด้วย ชื่อเรียกภาษาบาสก์อย่างเป็นทางการ (ในภาษาตนเอง) คือ เออุสการา (euskara) ส่วนในรูปภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ เออุสเกรา (euskera) เอสกูอารา (eskuara) และ อุสการา (üskara) แม้ว่าในทางภูมิศาสตร์จะถูกล้อมรอบด้วยภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แต่ภาษาบาสก์กลับจัดเป็นภาษาโดดเดี่ยว (language isolate) ไม่ใช่ภาษาในตระกูลดังกล่าว.

ใหม่!!: Ñและภาษาบาสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟิลิปีโน

ษาฟิลิปปินส์ หรือ ภาษาฟิลิปีโน (Filipino) เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์คู่กับภาษาอังกฤษ กำหนดเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษานี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาตากาล็อก เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 สถาบันภาษาแห่งชาติเลือกภาษาตากาล็อกซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่มีการใช้เป็นภาษาเขียนมากที่สุดมาเป็นพื้นฐานของภาษาประจำชาติภาษาใหม่ใน พ.ศ. 2504 ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ปิลิปีโน และเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2515.

ใหม่!!: Ñและภาษาฟิลิปีโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากาลิเซีย

ภาษากาลิเซีย (Galician) เป็นภาษาหนึ่งในสาขาอิเบโร-โรมานซ์ตะวันตก พูดในกาลิเซีย (Galicia) ซึ่งเป็นแคว้นปกครองตนเองที่มีสถานะตามรัฐธรรมนูญเป็น "ชาติทางประวัติศาสตร์ (historic nationality)" ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสเปน กาลิเซีย หมวดหมู่:แคว้นกาลิเซีย.

ใหม่!!: Ñและภาษากาลิเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: Ñและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ใหม่!!: Ñและภาษาสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอัสตูเรียส

ภาษาอัสตูเรียส เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ พูดในแคว้นอัสตูเรียส ในประเทศสเปน มีผู้พูดประมาณ 450,000 คน อัสตูเรียส หมวดหมู่:แคว้นอัสตูเรียส.

ใหม่!!: Ñและภาษาอัสตูเรียส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: Ñและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอารากอน

ษาอารากอน (aragonés; Aragonese language) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ พูดในแคว้นอารากอน ประเทศสเปน มีผู้พูดประมาณ 10,000 - 30,000 คน.

ใหม่!!: Ñและภาษาอารากอน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตาตาร์ไครเมีย

ษาตาตาร์ ไครเมีย หรือภาษาไครเมีย ภาษาตุรกีไครเมีย เป็นภาษาของชาวตาตาร์ไครเมีย ใช้พูดในไครเมีย เอเชียกลาง โดยเฉพาะในอุซเบกิสถาน และผู้อพยพชาวตาตาร์ ไครเมียในตุรกี โรมาเนีย บัลแกเรีย เป็นคนละภาษากับภาษากวาซัน ตาตาร.

ใหม่!!: Ñและภาษาตาตาร์ไครเมีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโรฮีนจา

ษาโรฮีนจา (โรฮีนจา: Ruáingga) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวมุสลิมโรฮีนจา มีผู้พูดทั้งหมด 1,500,000 คน พบในพม่า 1,000,000 คน (พ.ศ. 2549) ในรัฐยะไข่ ประเทศพม่า พบในบังกลาเทศ 200,000 คน (พ.ศ. 2549) และอาจจะมีในมาเลเซีย ซาอุดีอาระเบีย และไทย จัดอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน สาขาอินโด-อารยันตะวันออก สาขาย่อยเบงกาลี-อัสสัม ใกล้เคียงกับภาษาจิตตะกองในบังกลาเทศ มีคำยืมจากภาษาอูรดู ภาษาเบงกาลี ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาพม่า และภาษาอังกฤษมาก เดิมชาวโรฮีนจาอพยพจากบังกลาเทศเข้าไปอยู่ในพม่า และปัจจุบันมีผู้อพยพส่วนหนึ่งอพยพกลับไปสู่บังกลาเทศ แต่ถูกผลักดันให้กลับไปสู่พม.

ใหม่!!: Ñและภาษาโรฮีนจา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบรอตง

ภาษาเบรอตง เป็นภาษาในกลุ่มเคลติก พูดในแคว้นเบรอตาญ ในประเทศฝรั่งเศส หมวดหมู่:ภาษาในประเทศฝรั่งเศส.

ใหม่!!: Ñและภาษาเบรอตง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเกชัว

ภาษาเกชัว (Quechua) เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้ในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลายในแถบแอนดีสตอนกลางมาตั้งแต่ยุคก่อนอาณาจักรอินคา และกลายเป็นภาษาราชการในอาณาจักรอินคา ปัจจุบัน มีคนพูดภาษาเกชัวสำเนียงต่าง ๆ ประมาณ 10 ล้านคนในประเทศเปรู โบลิเวีย โคลอมเบีย เอกวาดอร์ อาร์เจนตินา และชิลี ภาษาเกชัวเป็นภาษาที่ถูกใช้มากที่สุดในกลุ่มอเมริกันอินเดียน กเชัว กเชัว กเชัว กเชัว กเชัว กเชัว หมวดหมู่:จักรวรรดิอินคา.

ใหม่!!: Ñและภาษาเกชัว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตตุม

ษาเตตุม (หรือเตตุน) เป็นภาษาประจำชาติของประเทศติมอร์-เลสเต เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่มีคำจำนวนมากมาจากภาษาโปรตุเกส รวมถึงภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซี.

ใหม่!!: Ñและภาษาเตตุม · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: Ñและยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสเปนที่ 2

รณรัฐสเปนที่ 2 (Segunda República Española) เป็นยุคของสาธารณรัฐฝ่ายซ้ายของสเปน ตั้งแต่ปี 1931 ถึง 1939 ก่อนจะถูกฝ่าย Francoist Spain โค่นอำนาจลงในช่วง สงครามกลางเมืองสเปน หลังสงคราม รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น โดยมีที่ตั้งที่สถานทูตในเม็กซิโกซิตี จนถึงปี 1976 หลังมีการพื้นฟูประชาธิปไตยในสเปน รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนจึงถูกยุบลงในปีต่อม.

ใหม่!!: Ñและสาธารณรัฐสเปนที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: Ñและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรตัวใหญ่

การเก็บตัวพิมพ์แยกระหว่างตัวใหญ่กับตัวเล็ก อักษรกรีก บีตา ตัวใหญ่อยู่ทางซ้าย อักษรตัวใหญ่ (อังกฤษ: capital letter, majuscule) คือกลุ่มของอักษรประเภทหนึ่งในระบบการเขียน เช่นในอักษรละติน: A, B, C, D,...

ใหม่!!: Ñและอักษรตัวใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)

ีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก.

ใหม่!!: Ñและคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

เสียงนาสิก เพดานอ่อน

เสียงนาสิก เพดานอ่อน เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ N เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ง ในภาษาอื่นๆรวมถึงไทยมักใช้ ng เป็นอักษรโรมันในการทับศัพท์เสียงนี้ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: Ñและเสียงนาสิก เพดานอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

เสียงนาสิก เพดานแข็ง

เสียงนาสิก เพดานแข็ง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาสเปน, ภาษาโปรตุเกส, ภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ J เสียงนี้เป็นเสียงเดิมของ ญ ซึ่งปัจจุบันไม่ปรากฏในภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาไทยถิ่นใต้ แต่ยังพบได้ในสำเนียงสุโขทัย, ภาษาไทยถิ่นอีสาน และภาษาไทยถิ่นเหนือ การทับศัพท์จึงมักใช้ ญ ตามไปด้วย หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ.

ใหม่!!: Ñและเสียงนาสิก เพดานแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมายเสริมสัทอักษร

รื่องหมายเสริมสัทอักษร เป็นเครื่องหมายที่ใช้กำกับอักษรโรมัน ซึ่งมีอยู่ในแป้นพิมพ์ ซึ่งได้แก่ เกรฟ และดับเบิลเกรฟ.

ใหม่!!: Ñและเครื่องหมายเสริมสัทอักษร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เอเญ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »