โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

Chironex fleckeri

ดัชนี Chironex fleckeri

Chironex fleckeri (/ไค-โร-เน็ก-เฟลค-เคอ-ไร/) เป็นแมงกะพรุนจำพวกแมงกะพรุนกล่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คำว่า Chironex มีรากศัพท์จากคำว่า "chiro" (Χέρι) ในภาษากรีก แปลว่า "มือ" กับคำว่า "nex" ภาษาละตินแปลว่า "ความตาย" เมื่อโตเต็มที่ จะมีหนวดมากถึง 60 เส้นซึ่งยืดได้ไกลถึง 3 เมตร มีเมดูซ่าขนาดเท่าลูกบาสเก็ตบอล มีดวงตาทั้งหมด 24 ดวงอยู่รอบ ๆ และมีดวงตาหลัก 2 ดวงอยู่ในดวงแต่ละคู่ ที่มีลักษณะคล้ายกับดวงตามนุษย์ คือ มีทั้งเลนส์ตา, ม่านตา และตาดำ ซึ่งทำให้เห็นภาพได้ดี และสามารถมองภาพในแบบตีลังกาได้ และมองได้รอบทิศ 360 องศา และนับเป็นระบบการมองเห็นที่ดีมากเมื่อเทียบกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัดถึงการทำงานของตา ในส่วนของหนวดที่ยาวเมื่อสัมผัสกับสิ่งมีชีวิตอื่น กระเปาะเล็ก ๆ หลายล้านอันซึ่งกระจายอยู่เต็มพื้นผิวของหนวดแต่ละเส้นจะแตกตัวออกแล้วปล่อยเหล็กในออกมาใส่เหยื่อ จากนั้นเหล็กในก็จะทำหน้าที่ฉีดสารพิษเข้าไปในร่างกายของเหยื่อ ด้วยแรงที่มากถึง 1.5 ล้านแรงโน้มถ่วง หากเหยื่อเป็นมนุษย์ พิษจะออกฤทธิ์รุนแรงทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และหัวใจหยุดทำงานและคร่าชีวิตเหยื่อได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ปกติ แมงกะพรุนกล่องชนิดนี้อาศัยอยู่ในทะเลทางแถบตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยอาศัยอยู่ในน้ำตื้นรวมถึงป่าโกงกาง และหลีกเลี่ยงการอาศัยอยู่ในน้ำลึก เช่น เกรตแบร์ริเออร์รีฟเชื่อว่าเข้าไปเพื่อหาอาหารซึ่งเป็นปลา แต่บางครั้งก็อาจถูกกระแสน้ำซัดขึ้นไปในแม่น้ำถ้าระดับน้ำลดต่ำและกระแสน้ำไหลช้า แต่จากการศึกษาพบว่า Chironex fleckeri ไม่สามารถที่จะแยกแยะวัตถุที่เป็นสีขาวได้ แต่จะแยกแยะได้ในวัตถุที่เป็นสีดำหรือสีแดง Chironex fleckeri นับเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษที่มีอันตรายที่สุดในโลกและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีพิษร้ายแรงกว่าแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกสหลายเท่า และมีขนาดใหญ่กว่า C. yamaguchii ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันหลายเท่า และถึงแม้จะตายแล้วก็ยังคงมีพิษอยู่ Chironex fleckeri จะขยายพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว และจะเจริญเติบโตเต็มที่ในช่วงฤดูร้อน ซึ่งเป็นฤดูกาลถัดมา กินปลาเป็นอาหาร ด้วยการแทงเหล็กในให้ปลาเป็นอัมพาต โดยกินปลามากถึงน้ำหนักตัวเองถึง 4 เท่า และเหมือนกับแมงกะพรุนกล่องทั่วไป คือ สามารถว่ายน้ำได้ไม่ใช่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำเหมือนแมงกะพรุนจำพวกอื่น ซึ่งมีความเร็วเทียบเท่ากับการว่ายน้ำของมนุษย์ มีการศึกษาพบว่าวัน ๆ หนึ่ง แม้จะว่ายน้ำไกล แต่จะเป็นเส้นทางที่ไม่เป็นเส้นตรง และจะนอนหลับพักผ่อนบนพื้นทะเลในเขตน้ำตื้นในเวลากลางคืน ป้ายเตือนอันตรายจากแมงกะพรุนกล่องในออสเตรเลีย ปัจจุบัน หลายพื้นที่ของออสเตรเลีย มีตาข่ายและป้ายเตือนนักท่องเที่ยวที่ลงเล่นน้ำให้ระวัง แต่กระนั้นก็ยังมีบางส่วนที่หลุดรอดตาข่ายนั้นเข้ามาทำอันตรายได้ รวมถึงแมงกะพรุนอิรุคันจิ ซึ่งเป็นแมงกะพรุนกล่องเช่นเดียวกัน แต่มีขนาดเล็กกว่ามากด้วยTV with Teeth - KILLER JELLYFISH, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2556.

11 ความสัมพันธ์: ภาษากรีกภาษาละตินสัตว์คูโบซัวป่าชายเลนแมงกะพรุนแมงกะพรุนสาหร่ายแมงกะพรุนอิรุคันจิแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกสไนดาเรียเกรตแบร์ริเออร์รีฟ

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: Chironex fleckeriและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: Chironex fleckeriและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: Chironex fleckeriและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

คูโบซัว

ูโบซัว (ชั้น: Cubozoa; Box jellyfish, Sea wasp) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นหนึ่งของไฟลัมไนดาเรีย มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษเรียกโดยรวมว่า "แมงกะพรุนกล่อง" (Box jellyfish) หรือ "แมงกะพรุนสาหร่าย" หรือ "สาโหร่ง" (Sea wasp) เพราะมีพิษที่ร้ายแรงและมีรูปร่างคล้ายลูกบาศก์อันเป็นที่มาของชื่อ คูโบซัว จัดเป็นแมงกะพรุนที่แบ่งออกได้เป็น 2 อันดับใหญ่ ๆ โดยดูที่ลักษณะของหนวดที่มีพิษเป็นสำคัญ ได้แก่ พวกที่มีหนวดพิษเส้นเดี่ยวที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม เช่น แมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) กับพวกที่มีหนวดเป็นกลุ่มที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม มุมละ 15 เส้น ซึ่งจะเป็นหนวดที่ยาวมาก อาจยาวได้ถึง 3 เมตร ได้แก่ Chironex fleckeri มีเข็มพิษประมาณ 5,000,0000,000 เล่มที่หนวดแต่ละเส้น ซึ่งมีพิษร้ายแรงซึมเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่ถูกต่อยได้ โดยมากจะพบตามชายฝั่งของทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น ออสเตรเลียทางตอนเหนือ, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะฟิลิปปิน, หมู่เกาะฮาวาย ช่วงที่พบได้มากคือ เดือนตุลาคม-เมษายน และหลังช่วงพายุฝนที่จะถูกน้ำทะเลพัดพาเข้ามาจนใกล้ฝั่ง.

ใหม่!!: Chironex fleckeriและคูโบซัว · ดูเพิ่มเติม »

ป่าชายเลน

ป่าชายเลน ป่าชายเลน คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มีใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora spp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง ได้มีการค้นพบป่าประเภทนี้มาตั้งแต่เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางมาบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะคิวบา ต่อมา เซอร์ วอลเตอร์ เรลห์ ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้อยู่บริเวณปากแม่น้ำในตรินิแดดและเกียนา คำว่า "mangrove" เป็นคำจากภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "mangrove" ส่วนภาษาไทยเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง" บริเวณที่พบป่าชายเลนโดยทั่วไป คือตามชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบภูมิภาคเขตร้อน ส่วนเขตเหนือหรือใต้เขตร้อน จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างแต่ไม่มาก โดยพื้นที่ที่พบป่าชายเลนเช่น ในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และ ไทย เป็นต้น สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนของโลกทั้งหมดมีประมาณ 113,428,089 ไร่ อยู่ใน เขตร้อน 3 เขตใหญ่ คือ เขตร้อนแถบเอเชียพื้นที่ประมาณ 52,559,339 ไร่ หรือร้อยละ 46.4 ของป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศอินโดนีเซียมีป่าชายเลนมากที่สุด ถึง 26,568,818 ไร่ สำหรับในเขตร้อนอเมริกามีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดประมาณ 39,606,250 ไร่ หรือร้อยละ 34.9 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด ในเขตร้อนอเมริกาประเทศที่มีพื้นที่ โดยประเทศบราซิล มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 15,625,000 ไร่ รองจากอินโดนีเซีย ส่วนเขตร้อนอัฟริกามีพื้นที่ ป่าชายเลนน้อยที่สุดประมาณ 21,262,500 ไร่ หรือร้อยละ 18.7 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศไนจีเรีย มีพื้นที่ป่าชายเลน 6,062,500 ไร่ มากที่สุดในโซนนี้ โดยป่าชายเลนที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ซันดาร์บานส์ ซึ่งเป็นปากแม่น้ำคงคาระหว่างประเทศอินเดียกับบังกลาเทศ ซึ่งมีเนื้อที่ 10,000 ตารางกิโลเมตร (3,900 ตารางไมล์) ซึ่งถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: Chironex fleckeriและป่าชายเลน · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุน

แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน.

ใหม่!!: Chironex fleckeriและแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุนสาหร่าย

แมงกะพรุนสาหร่าย หรือ สาโหร่ง (Sea wasps.) เป็นแมงกะพรุนจำพวกแมงกะพรุนกล่องสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Chironex (/ไค-โร-เน็ก/) ซึ่งคำว่า Chironex นั้น มีรากศัพท์จากคำว่า "chiro" (Χέρι) ในภาษากรีก แปลว่า "มือ" กับคำว่า "nex" ภาษาละตินแปลว่า "ความตาย" แมงกะพรุนสาหร่าย หรือที่ชาวประมงชาวไทยนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "สาหร่า่ยทะเล" เป็นแมงกะพรุนสีขาว หรือเหลืองแกมแดง มีสายยาวต่อจากลำตัวหลายเส้น แต่ละเส้นยาวประมาณ 1.50 เมตร มีการเคลื่อนไหวได้น้อย อาศัยกระแสน้ำพัดพาไปยังที่ต่าง ๆ เมื่อมีพายุคลื่นลมแรง หนวดจะขาดจากลำตัว ลอยไปตามน้ำ แต่ยังสามารถทำอันตรายผู้ที่สัมผัสถูกได้ ซึ่งทำให้ไหม้เกรียม และมีอาการปวดแสบปวดร้อนตามกล้ามเนื้อ จุกแน่นหน้าอกในรายที่แพ้รุนแรง และเป็นไข้ อาการเป็นอยู่ 2-3 วัน จึงทุเลาหายไป แต่อาการหนักก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เป็นแมงกะพรุนที่ีมีถิ่นแพร่กระจายอยู่ทะเลน้ำตื้นรวมถึงป่าชายเลนแถบตอนเหนือของออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบแถบทะเลชุมพร และหัวหิน เป็นต้น.

ใหม่!!: Chironex fleckeriและแมงกะพรุนสาหร่าย · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุนอิรุคันจิ

แมงกะพรุนอิรุคันจิชนิด ''Malo kingi'' ในหลอดพลาสติกใส แมงกะพรุนอิรุคันจิ (Irukandji jellyfish) เป็นชื่อสามัญแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดจำพวกหนึ่งของโลก จัดเป็นแมงกะพรุนจำพวกแมงกะพรุนกล่อง หรือ คูโบซัว โดยแมงกะพรุนอิรุคันจินั้นจะเป็นแมงกะพรุนที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเพียงไม่เกิน 1 เซนติเมตร น้ำหนักไม่เกิน 1 ออนซ์ มีลำตัวโปร่งใส และมีหนวดที่มีเข็มพิษจำนวนมากมายที่มีพิษต่อระบบโลหิต โดยจะทำให้โลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตได้ในระยะเวลาไม่นาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมงกะพรุนที่อาจเรียกได้ว่าเป็น แมงกะพรุนอิรุคันจินั้นแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ Carukia barnesi, Malo kingi, Alatina alata และชนิดใหม่ คือ Malo maxima (หรืออาจจะมีมากได้ถึง 6 ชนิด) โดยชื่อ "อิรุคันจิ" นั้นมีที่มาจากชาวเผ่าอิรุคันจิ ชนเผ่าพื้นเมืองของออสเตรเลียที่มีตำนานเล่าขานต่อกันมาเกี่ยวกับความเจ็บปวดและอันตรายของแมงกะพรุนจำพวกนี้หากได้สัมผัสเข้า แมงกะพรุนอิรุคันจิ ได้ถูกศึกษาครั้งแรกทางวิทยาศาสตร์ในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1960 โดยนักวิทยาศาสตร์ที่เคยถูกพิษของมันแทงเข้า ได้ลงไปจับในทะเลทางตอนเหนือของออสเตรเลียเพื่อศึกษา เดิมทีแมงกะพรุนอิรุคันจิ เผยกระจายพันธุ์แต่เฉพาะทางตอนเหนือของออสเตรเลีย แต่ปัจจุบันได้มีรายงานพบในหลายพื้นที่มากขึ้น เช่น ฮาวาย, ญี่ปุ่น, ฟลอริดา รวมถึงในประเทศไทย พิษของแมงกะพรุนอิรุคันจิ ทำให้ผู้ที่โดนเข็มพิษของแมงกะพรุนจำพวกนี้แทงถูกมีอาการที่เรียกว่า "อาการอิรุคันจิ" (Irukandji syndrome).

ใหม่!!: Chironex fleckeriและแมงกะพรุนอิรุคันจิ · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส

แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส หรือ แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส (Portuguese man-of-war, Portuguese Man o' War, Blue bubble, Floating terror) เป็นไซโฟโนฟอร์ชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมไนดาเรีย ในชั้นไฮโดรซัว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Physalia physalis แม้จะถูกเรียกว่าเป็นแมงกะพรุน แต่เป็นสัตว์คนละชั้นกับแมงกะพรุนแท้ทั่วไป.

ใหม่!!: Chironex fleckeriและแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ไนดาเรีย

ฟลัมไนดาเรีย หรือ เคยมีชื่อว่า ไฟลัมซีเลนเตอราตา หรือพวก ซีเลนเตอราตา เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ เช่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ไฮดรา ส่วนใหญ่พบตามชายฝั่งลงไปจนถึงทะเลลึก บางชนิดพบในน้ำจืด กลางลำตัวเป็นท่อกลวง มีอวัยวะคล้ายหนวดหลายเส้น ภายในหนวดนี้มีเข็มพิษจำนวนมาก เมื่อสัมผัสจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองและพิษจากเข็มพิษบางชนิดทำให้สัตว์เป็นอัมพาตได้ สัตว์กลุ่มนี้มีประโยชน์ต่อมนุษย์โดยเฉพาะพวกปะการัง เสมือนเป็นป่าใต้น้ำ ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ที่เจริญเติบโตและหลบภัยของสัตว์น้ำนานาชนิด สัตว์กลุ่มนี้ บางชนิดจะสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เช่น ไฮดรา ปะการัง และกัลปังหา บางชนิดสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น แมงกะพรุน.

ใหม่!!: Chironex fleckeriและไนดาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เกรตแบร์ริเออร์รีฟ

กรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) เป็นพืดหินปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย หรือตอนใต้ของทะเลคอรัล เริ่มตั้งแต่แหลมยอร์ก (Cape York) ซึ่งอยู่ไกลขึ้นไปทางเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ลงมาถึงบันดะเบอร์ก (Bundaberk) ทางตอนใต้ ครอบคลุมดูแลพื้นที่ 215,000 ตารางไมล์ หรือ 345,000 ตารางกิโลเมตร ของน่านน้ำรอบ ๆ แนวปะการัง และแนวปะการังใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ แนวปะการังเหนือ (Northern Reef) หมู่เกาะวิตซันเดย์ (Whitsunday Island) และแนวปะการังใต้ (Southern Reef) แนวปะการัง มีสิ่งชีวิตมากมาย ทั้งปะการังชนิดอ่อน และชนิดแข็ง สีสวยกว่า 350 ชนิด ตลอดจนปลา และสิ่งมีชีวิตในทะเลที่ต่าง ๆ อีก 1500 ชน.

ใหม่!!: Chironex fleckeriและเกรตแบร์ริเออร์รีฟ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »