โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามดอกกุหลาบ

ดัชนี สงครามดอกกุหลาบ

ที่ตั้งสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461 หลังการลุกขึ้นต่อต้านของแลงแคสเตอร์ทางเหนือถูกกำราบในปี 1464 และพระเจ้าเฮนรีถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทะเลาะกับเอิร์ลแห่งวอริก สมญา "ผู้สร้างกษัตริย์" (Kingmaker) ผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาหลักของพระองค์ และยังแตกแยกกับพระสหายหลายคน และกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ โดยทรงสนับสนุนตระกูลของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ซึ่งมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ทีแรก เอิร์ลแห่งวอริกพยายามยกน้องชาย จอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วจึงฟื้นฟูพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับสู่ราชสมบัติ จากนั้นสองปี พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ทรงได้รับชัยชนะสมบูรณ์อีกครั้งที่บาร์เนต (เมษายน 1471) ที่ซึ่งเอิร์ลแห่งวอริกถูกสังหาร และทูกสบรี (พฤษภาคม 1471) ที่ซึ่งเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ ทายาทแลงแคสเตอร์ ถูกประหารชีวิตหลังยุทธการ พระเจ้าเฮนรีถูกปลงพระชนม์ในหอคอยลอนดอนหลายวันจากนั้น ยุติลำดับการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงของแลงแคสเตอร์ จากนั้น บ้านเมืองค่อนข้างสงบอยู่พักหนึ่ง จนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตกะทันหันในปี 1483 ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระอนุชาที่ยังมีพระชนมชีพของพระองค์ ทีแรกเคลื่อนไหวเพื่อกันมิให้ตระกูลวูดวิลล์ที่ไม่เป็นที่นิยมของพระมเหสีหม้ายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมในรัฐบาลระหว่างที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ยังทรงพระเยาว์ จึงยึดราชบัลลังก์เป็นของตน โดยอ้างว่า การสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฮนรี ทิวดอร์ พระญาติห่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์แลงแคสเตอร์ผู้รับสืบทอดการอ้างสิทธิ์มาด้วย ชนะพระเจ้าริชาร์ดที่บอสเวิร์ธฟิลด์ในปี 1485 พระองค์ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมและประสานราชวงศ์ทั้งสอง.

143 ความสัมพันธ์: บักกิงแฮมเชอร์ชาร์ลผู้อาจหาญบิชอปแห่งลอนดอนพ.ศ. 1942พ.ศ. 1965พ.ศ. 1968พ.ศ. 1990พ.ศ. 1992พ.ศ. 1993พ.ศ. 1995พ.ศ. 1996พ.ศ. 1998พ.ศ. 1999พ.ศ. 2001พ.ศ. 2003พ.ศ. 2007พ.ศ. 2013พ.ศ. 2014พ.ศ. 2017พ.ศ. 2021พ.ศ. 2026พ.ศ. 2028พ.ศ. 2030พ.ศ. 2034พ.ศ. 2042พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งสกอตแลนด์พระเจ้าเจมส์ที่ 3 แห่งสกอตแลนด์กบฏต่อแผ่นดินกลอสเตอร์กลอสเตอร์เชอร์การเกณฑ์ทหารกาแล (เมือง)ภาษีมาร์กาเรต โบฟอร์ต เคาน์เตสแห่งริชมอนด์และดาร์บีมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษยอร์กยอร์กเชอร์ยุทธการมอร์ติเมอร์ครอสยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์...ยุทธการที่บาร์เนตยุทธการที่สโตกฟิลด์ยุทธการที่อาแซ็งกูร์ยุทธการที่ทาวตันยุทธการที่ทิวก์สบรียุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)ยุทธการที่เวกฟิลด์ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2รัชทายาทที่ได้รับสมมุติรัฐสภาอังกฤษราชวงศ์ยอร์กราชวงศ์ทิวดอร์ราชวงศ์แพลนแทเจเนตราชวงศ์แลงคัสเตอร์ริชาร์ด วูดวิลล์ เอิร์ลริเวิร์สที่ 1ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์กริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริกริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรีริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กริชาร์ดแห่งโคนิสเบิร์ก เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ที่ 3ลอนดอนลิงคอล์นเชอร์วิลเลียม เชกสเปียร์วิลเลียม เฮสติงส์ บารอนเฮสติงส์ที่ 1วิลเลียม เนวิลล์ เอิร์ลที่ 1 แห่งเคนต์สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษสงครามกลางเมืองสงครามร้อยปีสงครามสืบราชบัลลังก์หอคอยแห่งลอนดอนอาร์ชบิชอปแห่งยอร์กอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีฮอลแลนด์จอร์จ แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์จอห์น เนวิลล์ มาร์ควิสที่ 1 แห่งมอนทากิวจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์จอห์นแห่งแลงแคสเตอร์ ดยุกที่ 1 แห่งเบดฟอร์ดทหารรับจ้างทอมัส เนวิลล์ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงดยุกแห่งบูร์กอญดยุกแห่งยอร์กดยุกแห่งแลงแคสเตอร์ดองคัสเตอร์ดัชชีเบอร์กันดีความบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์คอร์นวอลล์คอเวนทรีคาร์ไลล์ประเทศฝรั่งเศสประเทศอังกฤษประเทศไอร์แลนด์ประเทศเวลส์ประเทศเนเธอร์แลนด์นอร์ทัมเบอร์แลนด์แม่น้ำเซเวิร์นแลงคาเชอร์แอนน์ เดอ มอร์ติเมอร์แอนน์ เนวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษแคเธอรินแห่งวาลัว สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษโรเจอร์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลที่ 4 แห่งมาร์ชไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์เชชเชอร์เบริก-อะพอน-ทวีดเชสเตอร์เพอร์คิน วอร์เบ็คเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เอลิซาเบธ วูดวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชินีแห่งอังกฤษเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กเอ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ท เอิร์ลแห่งวอริคที่ 17เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์เฮนรี สแตฟฟอร์ด ดยุกที่ 2 แห่งบักกิงแฮมเฮนรี โบฟอร์ต ดยุกที่ 3 แห่งซัมเมอร์เซตเฮนรี เพอร์ซีย์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ที่ 2เฮนรี เพอร์ซีย์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ที่ 3เจ้าชายแห่งเวลส์เจ้าชายในหอคอยเจ้าผู้อารักขาเคนต์เซซิลี เนวิลล์ ดัชเชสแห่งยอร์ก1 สิงหาคม13 มิถุนายน14 พฤษภาคม22 พฤษภาคม22 มิถุนายน22 สิงหาคม25 มีนาคม28 เมษายน4 พฤษภาคม6 กรกฎาคม ขยายดัชนี (93 มากกว่า) »

บักกิงแฮมเชอร์

ัคคิงแฮมเชอร์ (Buckinghamshire; ออกเสียง: ˈbʌkɪŋəmʃəˈ หรือ ˈbʌkɪŋəmʃɪəˈ; ย่อ Bucks) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน บัคคิงแฮมเชอร์ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ บัคคิงแฮมเชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: เซาท์บัคส, ชิลเทิร์น, ไวคูมบ์, อายล์สบรี เวล, และ มิลตัน คีนส์ โดยมีอายล์สบรี เป็นเมืองหลวงของมณฑล และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือมิลตัน คีนส์ บัคคิงแฮมเชอร์มีเนื้อที่ 1,874 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 719,000 คน ถัวเฉลี่ย 384 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร บัคคิงแฮมเชอร์มีเขตแดนติดกับนครลอนดอนและปริมณฑล, มณฑลบาร์คเชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์, มณฑลนอร์ทแธมป์ตันเชอร์, มณฑลเบดฟอร์ดเชอร์ และมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและบักกิงแฮมเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ลผู้อาจหาญ

ร์ลผู้อาจหาญ (Charles le Téméraire; Charles the Bold) หรือ ชาลส์เดอะแรช (10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1433 - 5 มกราคม ค.ศ. 1477) เป็นขุนนางชาวฝรั่งเศส ผู้เป็นบุตรของฟิลลิปเดอะกูดและอินฟันตาอิซาเบลลาแห่งโปรตุเกส เมื่อแรกเกิดได้รับชื่อว่า “ชาร์ล มาร์แต็ง” ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็นดยุกแห่งบูร์กอญ ระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและชาร์ลผู้อาจหาญ · ดูเพิ่มเติม »

บิชอปแห่งลอนดอน

อปแห่งลอนดอน (Bishop of London) เป็นตำแหน่งมุขนายกของมุขมณฑลลอนดอนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคแคนเทอร์เบอรีในคริสตจักรแห่งอังกฤษ มุขมณฑลนี้มีพื้นที่ราว 458 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 17 บุรีในเกรเทอร์ลอนดอนทางตอนเหนือของแม่น้ำเทมส์และบางส่วนของเทศมณฑลเซอร์รีย์ ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่อาสนวิหารนักบุญเปาโลภายในนครลอนดอน ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและบิชอปแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1942

ทธศักราช 1942 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 1942 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1965

ทธศักราช 1965 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 1965 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1968

ทธศักราช 1968 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 1968 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1990

ทธศักราช 1990 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 1990 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1992

ทธศักราช 1992 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 1992 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1993

ทธศักราช 1993 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 1993 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1995

ทธศักราช 1995 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 1995 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1996

ทธศักราช 1996 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 1996 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1998

ทธศักราช 1998 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 1998 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1999

ทธศักราช 1999 ใกล้เคียงกั..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 1999 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2001

ทธศักราช 2001 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 2001 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2003

ทธศักราช 2003 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 2003 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2007

ทธศักราช 2007 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 2007 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2013

แผนที่ทวีปยุโรปเมื่อ ค.ศ. 1470 พุทธศักราช 2013 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 2013 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2014

ทธศักราช 2014 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 2014 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2017

ทธศักราช 2017 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 2017 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2021

ทธศักราช 2021 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 2021 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2026

ทธศักราช 2026 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 2026 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2028

ทธศักราช 2028 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 2028 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2030

ทธศักราช 2030 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 2030 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2034

ทธศักราช 2034 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 2034 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2042

ทธศักราช 2042 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพ.ศ. 2042 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ (Richard II of England) (6 มกราคม ค.ศ. 1367 – 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1400) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1367 ที่บอโดซ์ในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ หรือเจ้าชายดำ และ โจนแห่งเค้นท์ เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระราชินีแอนน์และต่อมา สมเด็จพระราชินีอิสซาเบลลาแห่งวาลัวร์ส และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1377 จนกระทั่งถูกปลดจากราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1399 พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1399 ที่ปราสาทพอนติแฟรคท์, ยอร์คเชอร์ตะวันตก, อังกฤษ (ไม่แน่ชัดว่าทรงถูกลอบปลงพระชนม์หรือไม่) บทบาทในการปกครองของพระองค์เป็นผลให้เกิด การกบฏชาวนา (Peasants' Revolt) ในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าริชาร์ดที่ 3 (2 ตุลาคม ค.ศ. 1452 – 22 สิงหาคม ค.ศ. 1485) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส (Louis XI of France หรือ the Spider King หรือ Louis XI le Prudent หรือ l'universelle aragne) (3 กรกฎาคม ค.ศ. 1423 - 7 เมษายน ค.ศ. 1498) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัวส์ ผู้ครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1483 พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1423 ที่บูร์กในประเทศฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 และ พระราชินีมารีแห่งราชวงศ์อองชู พระองค์เป็นพระปนัดดาในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 และพระราชินีอิสซาเบลลา เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีความปรีชาสามารถที่สุดพระองค์หนึ่งในการพยายามรวบรวมอำนาจในฝรั่งเศส ในยี่สิบสองปีของการครองราชย์พระองค์ทรงต้องใช้กลวิธีทางการเมืองต่างๆ หรือ “ชักใยแมงมุม” ของการคบคิดและแผนต่างๆ ที่ทำให้ทรงได้รับพระฉายานามว่า “พระราชาแมงมุม” แผนการต่างๆ ของพระองค์ทำให้เกิดศัตรูขึ้นหลายคนที่รวมทั้งพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 พระราชบิดาของพระองค์เอง, ชาร์ลส์แห่งวาลัวส์ ดยุคแห่งเบร์รี (Charles de Valois, Duc de Berry) พระอนุชา และชาร์ลส์เดอะโบลด์ ดยุคแห่งเบอร์กันดี ผู้เป็นศัตรูคนสำคัญที่สุด พระองค์ทรงมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีความเจ้าเล่ห์และบางครั้งก็ออกไปทางโหดร้าย จุดประสงค์ในการครองแผ่นดินของพระองค์คือการพยายามลดอำนาจของขุนนางและเพิ่มอำนาจให้แก่สถาบันพระมหากษัตร.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ (Edward III of England; Édouard III d'Angleterre; 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1312 – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1377) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1327 ถึงปี ค.ศ. 1377 พระองค์นับเป็นกษัตริย์อังกฤษผู้ประสบความสำเร็จที่สุดพระองค์หนึ่งในยุคกลาง โดยทรงฟื้นฟูความมั่นคงของราชบัลลังก์ หลังจากที่เสื่อมโทรมลงไปมากในรัชสมัยของพระราชบิดา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 และทรงเป็นผู้ที่ทำให้ราชอาณาจักรอังกฤษเป็นรัฐที่มีอำนาจทางทหารมากที่สุดในยุโรป และเป็นรัชสมัยที่มีการวิวัฒนาการทางการปกครองทางนิติบัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิวัฒนาการของระบบรัฐสภา แต่ในสมัยเดียวกันนี้พระองค์ก็ทรงต้องเผชิญกับความหายนะจากกาฬโรคระบาดในยุโรป พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงครองราชย์เป็นเวลานานถึง 50 ปีซึ่งไม่มีพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดที่ครองราชย์นานเช่นนั้นตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 และต่อจากนั้นก็ไม่มีพระองค์ใดจนมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 3 ในฐานะกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้เพียง 14 พรรษา หลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 พระราชบิดา ทรงถูกถอดจากการเป็นกษัตริย์ เมื่อพระชนมายุได้ 17 พรรษา พระองค์ก็ทรงเป็นผู้นำในรัฐประหารโค่นล้มโรเจอร์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลแห่งมาร์ชที่ 1 ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และทรงเริ่มครองราชย์ด้วยพระองค์เอง หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ก็ทรงประกาศอ้างสิทธิ์ของพระองค์ว่าเป็นผู้สืบทอดอันชอบธรรมต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ (Edward IV of England) (28 เมษายน ค.ศ. 1442 – 9 เมษายน ค.ศ. 1483) เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและลอร์ดแห่งไอร์แลนด์ในราชวงศ์ยอร์ก พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1442 – 9 เมษายน ที่รูออง ในประเทศฝรั่งเศส เป็นบุตรคนที่ 2 ของริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์กและเซซิลี เนวิลล์ ดัชเชสแห่งยอร์ก ได้อภิเษกกสมรสกับเอลิซาเบธ วูดวิลล์ และครองราชย์ครั้งแรกระหว่างวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1461 – 2 ตุลาคม ค.ศ. 1470 และอีกครั้งหนึ่งระหว่างวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1471 จนสวรรคตเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1483 ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ในประเทศอังกฤษ พระบรมศพอยู่ที่เซนต์จอร์จส์แชเปิล ใน พระราชวังวินด์เซอร.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ (Edward V of England) (4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1470– ราว ค.ศ. 1483) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ยอร์คของราชอาณาจักรอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษ (Henry IV of England) (3 เมษายน ค.ศ. 1367 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1413) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แลงคาสเตอร์ของราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรไอร์แลนด์ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 เมษายน..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ (Henry V of England) (16 กันยายน ค.ศ. 1387 – 31 สิงหาคม ค.ศ. 1422) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แลงคาสเตอร์ของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ (Henry VI of England) (6 ธันวาคม ค.ศ. 1421 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1471) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แลงคาสเตอร์ของราชอาณาจักรอังกฤษและฝรั่งเศส สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ (Henry VII of England) (28 มกราคม ค.ศ. 1457 – 21 เมษายน ค.ศ. 1509) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์ทิวดอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1509.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (Henry VIII of England) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษตั้งแต่ 21 เมษายน 1509 จนสวรรคต นอกจากนี้ยังทรงเป็นชาวอังกฤษพระองค์แรกที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ และยังเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอีกด้วย พระเจ้าเฮนรีทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่สองของราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา พระเจ้าเฮนรีที่ 7 นอกจากการอภิเษกสมรสทั้ง 6 ครั้งและความสัมพันธ์กับสตรีนอกสมรสแล้ว อีกหนึ่งเรื่องราวสำคัญในรัชสมัยของพระองค์คือการประกาศให้การอภิเษกกับแคเธอรีนแห่งอารากอน มเหสีคนแรกเป็นโมฆะ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งกับพระสันตะปาปา และนำประเทศไปสู่การแยกตัวออกจากศาสนจักรโรมันคาทอลิก โดยการสถาปนาคริสตจักรแห่งอังกฤษขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นคริสตจักรที่ไม่ขึ้นกับพระสันตะปาปา และถือเอาตัวพระองค์เองในฐานะกษัตริย์เป็น "ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ" และนำไปสู่การยุบอารามขึ้น แต่ในด้านความเชื่อพระองค์ยังคงถือคำสอนหลายอย่างตามโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะถูกพระสันตะปาปาประกาศตัดขาดจากศาสนาไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังคอยควบคุมการรวมสหภาพระหว่างอังกฤษกับเวลส์ และพระองค์ยังได้ขึ้นชื่อว่าทรงเป็นศัตรูตลอดกาลกับพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตลอดรัชสมัยได้ทำสงครามกันหลายต่อหลายครั้ง พระเจ้าเฮนรีถือเป็นกษัตริย์ที่มีเสน่ห์ มีการศึกษาดี และทรงคุณวุฒิ และเป็นประมุขที่ทรงบารมีที่สุดแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ แม้จะทรงใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างเด็ดขาดแต่ก็ทรงสนพระทัยการเขียนและนิพนธ์ ทรงเห็นว่าสตรีไม่สามารถสร้างความเจริญและมั่นคงแก่ราชวงศ์ทิวดอร์ได้ จึงมีพระราชประสงค์อย่างมากที่จะได้รัชทายาทชายสืบทอดราชบัลลังก์ ทำให้ทรงอภิเษกสมรสหลายครั้งและต่อมาต้องดำเนินการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ ซึ่งนำให้อังกฤษกลายเป็นชาติโปรเตสแตนต์ ช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์เป็นโรคอ้วนซึ่งทำให้พระพลานามัยย่ำแย่ มีพระรสนิยมผิดปกติ พระสาทิสลักษณ์ของพระองค์จึงมักแสดงออกถึงความมักมาก เห็นแก่ตัว โหดร้าย พระอารมณ์ไม่มั่นคง ภายหลังสวรรคต พระราชโอรส(ตามกฎหมาย)องค์เดียวของพระองค์ ได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ขณะมีพระชันษาเพียง 9 ปี.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งสกอตแลนด์

ระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ (James II of Scotland) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเจมส์ที่ 3 แห่งสกอตแลนด์

ระเจ้าเจมส์ที่ 3 แห่งสกอตแลนด์ (James III of Scotland) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและพระเจ้าเจมส์ที่ 3 แห่งสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กบฏต่อแผ่นดิน

การลงโทษโดยการ “แขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่” (Hanged, drawn and quartered) ซึ่งเป็นบทกำหนดการลงโทษของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต่อแผ่นดินในอังกฤษ กบฏต่อแผ่นดิน (High treason) เป็นความผิดทางอาญาในการทรยศต่อประเทศของตนเองซึ่งครอบคลุมการกระทำต่างๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศของตนเอง ที่รวมทั้งการเข้าร่วมสงคราม, การพยายามโค่นล้มรัฐบาล, การสืบความลับทางการทหารหรือทางการทูต, หรือการพยายามสังหารผู้นำของประเทศ การ “กบฏต่อแผ่นดิน” อยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต้องมีความสวามิภักดิ์ต่อประเทศที่ตนจงใจที่จะทำร้ายเช่นการเป็นประชาชนของประเทศนั้น แต่การมีที่อยู่อาศัยในประเทศหรือรัฐก็พอเพียง ชาวต่างประเทศที่เป็นสายลับ, ผู้ล่าสังหาร, และผู้ก่อการร้ายแม้ว่าจะไม่เข้าข่ายการเป็นกบฏต่อแผ่นดินอาจจะถูกฟ้องร้องและลงโทษในข้อหาเป็นสายลับ, เป็นผู้ล่าสังหาร, และเป็นผู้ก่อการร้าย แต่ในปัจจุบันผู้ต้องสงสัยในกรณีเหล่านี้มักจะถูกเนรเทศหลังจากถูกจับ ในประวัติศาสตร์ในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ (common law) ข้อหาการกบฏต่อแผ่นดินแตกต่างจากกบฏย่อย (petty treason) ซึ่งเป็นการฆ่าผู้มีอำนาจเหนือกว่าตามกฎหมายเช่นผู้รับใช้ฆ่านายซึ่งถือว่าเป็นกรณีการฆาตกรรมที่หนักกว่าปกติ แต่กฎหมายครอบคลุมการกบฏย่อยถูกยุบเลิกกันไปจากประเทศต่างๆ เกือบทั้งสิ้น แนวคิดเกี่ยวกับกบฏย่อยจึงหายไป ในปัจจุบันคำว่า “กบฏ” จึงมักจะหมายถึงการ “กบฏต่อแผ่นดิน” ข้อสังเกตในกฎหมายของแคนาดาแยก “กบฏ” และ “กบฏต่อแผ่นดิน” เป็นสองกรณีแต่อันที่จริงแล้วในทั้งสองกรณีเป็นการกล่าวถึงการกบฏต่อแผ่นดินในประวัติศาสตร.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและกบฏต่อแผ่นดิน · ดูเพิ่มเติม »

กลอสเตอร์

กลอสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Gloucester) เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครและเมืองหลวงของมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ กลอสเตอร์ตั้งอยู่ทางติดกับชายแดนเวลส์และตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเซเวิร์น ราว 51 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของบริสตอลและ 72 กิโลเมตรทางใต้ของตะวันตกเฉียงใต้ของเบอร์มิงแฮม กลอสเตอร์ก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและกลอสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กลอสเตอร์เชอร์

กลอสเตอร์เชอร์ (Gloucestershire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน กลอสเตอร์เชอร์ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของค็อตสวอลล์, ลุ่มแม่น้ำเซเวิร์นและฟอเรสต์ออฟดีนทั้งหมด กลอสเตอร์เชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลเกว้นท์ในเวลส์ และมณฑลแฮรฟอร์ดเชอร์, มณฑลวูสเตอร์เชอร์, มณฑลวอริคเชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์, มณฑลวิลท์เชอร์, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท และมณฑลบริสตอลในอังกฤษ ในฐานะมณฑลบริหารกลอสเตอร์เชอร์ไม่รวมเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ที่มีการปกครองระบบการบริหารเป็นของตนเอง กลอสเตอร์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: กลอสเตอร์, ทูคสบรี, เชลท์แนม, ค็อตสวอลล์, สเตราด์, ฟอเรสต์ออฟดีน (ดิสตริคท์)ฟอเรสต์ออฟดีน และเซาท์กลอสเตอร์เชอร์ โดยมีกลอสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล นอกจากกลอสเตอร์ก็ยังมีเมืองหลักอื่นๆ เช่นเชลท์แนม, สเตราด์, ไซเร็นเซสเตอร์ และทูคสบรี กลอสเตอร์เชอร์มีเนื้อที่ 3,150 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 839,000 คน ถัวเฉลี่ย 266 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและกลอสเตอร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การเกณฑ์ทหาร

ม่มีข้อมูล การเกณฑ์ (conscription) เป็นการรับสมัครบุคคลโดยบังคับในราชการบางอย่างของชาติ ซึ่งเป็นราชการทหารมากที่สุด การเกณฑ์มีมาแต่โบราณ และปัจจุบันยังคงอยู่ในบางประเทศโดยมีชื่อหลากหลาย ระบบการเกณฑ์ชายหนุ่มแทบทุกคน (near-universal) ทั่วประเทศสมัยใหม่มีมาแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1790 ซึ่งการเกณฑ์ทหารได้กลายมาเป็นพื้นฐานของกองทัพขนาดใหญ่และทรงพลัง ภายหลังชาติยุโรปส่วนมากลอกระบบดังกล่าวในยามสงบ ฉะนั้นชายที่มีอายุตามกำหนดต้องรับราชการ 1–8 ปีในกองประจำการ แล้วจึงโอนไปกองเกิน การเกณฑ์ทหารเป็นที่ถกเถียงกันด้วยหลายเหตุผล รวมทั้งการคัดค้านการสู้รบโดยอ้างมโนธรรมบนเหตุผลด้านศาสนาหรือปรัชญา การคัดค้านทางการเมือง ตัวอย่างเช่น การรับราชการรัฐบาลหรือสงครามซึ่งไม่เป็นที่นิยม และการคัดค้านทางอุดมการณ์ ตัวอย่างเช่น เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่รับรู้ บางครั้งผู้ถูกเกณฑ์ทหารอาจหลบเลี่ยงราชการโดยการออกนอกประเทศ ระบบการคัดเลือกบางระบบปรับให้เข้ากับทัศนคติเหล่านี้โดยการจัดราชการทางเลือกที่ไม่ใช่บทบาทปฏิบัติการรบหรือไม่ใช่ทหารอย่างสิ้นเชิง เช่น ซีวิลดีนสท์ (ราชการพลเรือน) ในประเทศออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศที่แยกออกจากสหภาพโซเวียตส่วนมากเกณฑ์ทหารไม่เพียงเข้ากองทัพเท่านั้น แต่รวมถึงองค์การกึ่งทหารซึ่งมีหน้าที่ในราชการเฉพาะในประเทศคล้ายตำรวจ (หน่วยทหารภายใน) หรือหน้าที่กู้ภัย (หน่วยป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน) ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ถือว่าเป็นทางเลือกของการเกณฑ์ทหาร ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 หลายประเทศไม่เกณฑ์ทหารอีกต่อไป แต่อาศัยทหารอาชีพที่มาจากอาสาสมัครที่ได้รับสมัครตามความต้องการกำลังพล อย่างไรก็ดี หลายรัฐที่ได้ยกเลิกการเกณฑ์ทหารไปแล้วยังสงวนอำนาจที่จะรื้อฟื้นการเกณฑ์ทหารในยามสงครามหรือเกิดวิกฤตการณ.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและการเกณฑ์ทหาร · ดูเพิ่มเติม »

กาแล (เมือง)

กาแล (Calais) เป็นเมืองและท่าเรือเฟอร์รีที่สำคัญของประเทศฝรั่งเศสตอนเหนือ ตั้งอยู่ในจังหวัดปาดกาแล ที่ช่องแคบโดเวอร์ จุดแคบสุดของช่องแคบอังกฤษ และเป็นเมืองในฝรั่งเศสที่ใกล้อังกฤษที่สุด กาแลเป็นท่าเรือเฟร์รีที่สำคัญระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษ มีประชากรในเขตมหานคร 125,584 คน (ค.ศ. 1999) หมวดหมู่:เมืองในจังหวัดปาดกาแล.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและกาแล (เมือง) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษี

ษี (tax, มาจากภาษาละติน taxo, "ข้าประเมิน") เป็นเงินหรือสิ่งของอื่นที่รัฐหรือสถาบันปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากผู้เสียภาษี ซึ่งอาจเป็นปัจเจกบุคคลหรือนิติบุคคลก็ได้ กฎหมายมีบทลงโทษผู้ที่ไม่เสียภาษี ระบอบต่ำกว่ารัฐ (subnational entity) จำนวนมากยังมีการเรียกเก็บภาษีเช่นกัน ภาษีประกอบด้วยภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และอาจจ่ายเป็นรูปตัวเงินหรือการใช้แรงงานที่เทียบเท่า (มักเป็นการใช้แรงงานที่ไม่มีค่าตอบแทน แต่ไม่เสมอไป) ภาษีอาจนิยามได้ว่า "ภาระที่เป็นตัวเงินซึ่งตกแก่ปัจเจกบุคคลหรือเจ้าของทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนรัฐบาล เป็นการชำระซึ่งเรียกเอาจากองค์การใช้อำนาจนิติบัญญัติ"Black's Law Dictionary, p. 1307 (5th ed. 1979).

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและภาษี · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กาเรต โบฟอร์ต เคาน์เตสแห่งริชมอนด์และดาร์บี

มาร์กาเร็ต โบฟอร์ท เคานเทสแห่งริชมอนด์และดาร์บี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เลดี้มาร์กาเร็ต โบฟอร์ท (Margaret Beaufort Countess of Richmond and Derby; 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1443 - 29 มิถุนายน ค.ศ. 1509) มาร์กาเร็ต โบฟอร์ทเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ และ พระอัยกีของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 มาร์กาเร็ตเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในสงครามดอกกุหลาบและผู้มีอิทธิพลต่อราชวงศ์ทิวดอร์ และเป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัยสองวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 1509 มาร์กาเร็ตทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระราชนัดดาสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและมาร์กาเรต โบฟอร์ต เคาน์เตสแห่งริชมอนด์และดาร์บี · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

มาร์กาเร็ตแห่งอองชู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Margaret of Anjou) (23 มีนาคม ค.ศ. 1430 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1482) มาร์กาเร็ตแห่งอองชูประสูติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1430 ที่ปองต์-อา-มูซองในแคว้นลอร์แรนในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระธิดาของ เรอเนแห่งอองชู และ อิสซาเบลลาดัชเชสแห่งลอร์แรน (Isabella, Duchess of Lorraine) มาร์กาเร็ตแห่งอองชูทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ และทรงได้รับการราชาภิเษกเป็นพระราชินีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1445 ทรงดำรงพระราชอิศริยยศเป็นพระราชินีระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1445 ถึงวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1461 และอีกครั้งหนึ่งระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1470 ถึงวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1471 มาร์กาเร็ตแห่งอองชูสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1482 ที่อองชูในประเทศฝรั่งเศส มาร์กาเร็ตทรงเป็นผู้นำกองทัพของแลงคาสเตอร์ในสงครามดอกกุหลาบหลายครั้ง; และเพราะการที่พระสวามีมีพระอาการเหมือนคนเสียสติเป็นพัก ๆ มาร์กาเร็ตจึงแทบจะกลายเป็นผู้ปกครองราชอาณาจักรในนามของพระสวามี ในเดือนพฤษภารมปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ยอร์ก

อร์ก (York) เป็นนครที่ยังมีกำแพงเมืองโบราณล้อมรอบที่ตั้งอยู่ในนอร์ธยอร์กเชอร์ในภูมิภาคยอร์กเชอร์และแม่น้ำฮ้มเบอร์ของอังกฤษ นครยอร์กตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำอูสและแม่น้ำฟอสส์ ยอร์กเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีบทบาทมาเกือบตลอด 2,000 ปีที่ก่อตั้งมา เมืองยอร์กก่อตั้งเป็นเมืองป้อมปราการเอบอราคุม (Eboracum) ในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ยอร์กเชอร์

อร์กเชอร์ (Yorkshire) เป็นเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษที่ตั้งอยู่ทางเหนือของอังกฤษและเป็นเทศมณฑลที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ เพราะความที่มีขนาดใหญ่ยอร์กเชอร์ก็ต้องผ่านการปฏิรูปหลายครั้ง แต่โดยทั่วไปแล้วก็เป็นอาณาบริเวณที่มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและยอร์กเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการมอร์ติเมอร์ครอส

ทธการมอร์ติเมอร์ครอส (Battle of Mortimer's Cross) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1461 ที่วิกมอร์ในแฮรฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยโอเว็น ทิวดอร์และแจสเปอร์ ทิวดอร์ และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ ผลของยุทธการครั้งนี้ยอร์คเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ หลังจากการเสียชีวิตของริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 ในยุทธการเวคฟิลด์ในเดือนธันวาคมปีก่อนหน้านั้นแล้วฝ่ายยอร์คก็นำโดยบุตรของริชาร์ดเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช (พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4) ผู้มีอายุเพียง 18 ปี เอ็ดเวิร์ดต้องกันจะป้องกันไม่ให้กองทัพของฝ่ายแลงคาสเตอร์ที่นำโดยโอเว็น ทิวดอร์และลูกชายแจสเปอร์ ทิวดอร์จากเวลส์ไปสมทบกับกองทัพใหญ่ของแลงคาสเตอร์ได้ เอ็ดเวิร์ดรวบรวมกองกำลังจากบริเวณชายแดนและจากกองกำลังเวลช์ที่เป็นฝ่ายยอร์คโดยเฉพาะจากวิลเลียม เฮอร์เบิร์ต เอิร์ลแห่งเพ็มโบรคที่ 1 (William Herbert, 1st Earl of Pembroke) และผู้สนับสนุน ฝ่ายยอร์คได้รับชัยชนะ แจสเปอร์ ทิวดอร์หนีไปได้แต่โอเว็น ทิวดอร์ถูกจับและถูกประหารชีวิต ทหารเวลส์จำนวนมากถูกสังหาร บ้างก็ว่าเป็นจำนวนถึง 4000 คน ชัยชนะครั้งนี้นำไปสู่การขึ้นครองราชสมบัติของเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ชเป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษในปลายปีเดียวกัน.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและยุทธการมอร์ติเมอร์ครอส · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์

ทธการบอสเวิร์ธฟิลด์ (Battle of Bosworth Field) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1485 ที่เมืองบริเวณมาร์เค็ตบอสเวิร์ธในมณฑลเลสเตอร์เชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ดที่ 3 และฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยเฮนรี ทิวดอร์ เอิร์ลแห่งริชมอนด์และจอห์นเดอเวียร์ เอิร์ลแห่งอ๊อกซฟอร์ดที่ 13 ผลของยุทธการครั้งนี้แลงคาสเตอร์ได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายของทั้งสองฝ่ายไม่มีหลักฐานแน่นอนที่ระบุไว้ การสิ้นสุดของสงครามเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทและเป็นการเริ่มการปกครองอังกฤษของราชวงศ์ใหม่ราชวงศ์ทิวดอร์โดยมีสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 เป็นปฐมกษัตริย์ ในทางประวัติศาสตร์ยุทธการบอสเวิร์ธฟิลด์ถือว่าเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามดอกกุหลาบสงครามดอกกุหลาบและเป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางในราชอาณาจักรอังกฤษ แม้ว่าจะมียุทธการที่เกิดขึ้นหลังจากยุทธการนี้โดยผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่ไม่สำเร็จก็ตาม ยุทธการครั้งนี้เป็นการต่อสู้แบบสงครามยุคกลางยุทธการสุดท้ายและพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ทรงเป็นกษัตริย์อังกฤษองค์สุดท้ายที่เสด็จสวรรคตในสนามร.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่บาร์เนต

ทธการบาร์เน็ต (Battle of Barnet) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1471 เหนือบาร์เน็ตเหนือลอนดอนในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ผลของยุทธการครั้งนี้ยอร์คเป็นฝ่ายได้รับชัยชน.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและยุทธการที่บาร์เนต · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่สโตกฟิลด์

ทธการสโตคฟิลด์ (Battle of Stoke Field) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1487 ที่เมืองอีสต์สโตคในมณฑลน็อตติงแฮมเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยจอห์น เดอลาโพล เอิร์ลแห่งลิงคอล์นที่ 1 ผลของยุทธการครั้งนี้แลงคาสเตอร์เป็นฝ่ายได้รับชัยชน.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและยุทธการที่สโตกฟิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่อาแซ็งกูร์

ทธการอาแฌงคูร์ต (Battle of Agincourt) เป็นยุทธการในสงครามร้อยปีที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1415 ที่เมืองอาแฌงคูร์ตทางตอนเหนือของฝรั่งเศส เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายอังกฤษที่นำโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ และฝ่ายฝรั่งเศสที่นำโดยชาร์ลส์ ดาลเบรต์ ผลของยุทธการครั้งนี้ฝ่ายอังกฤษได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อกองกำลังที่เหนือกว่ามากของฝรั่งเศส ชัยชนะของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีเป็นการเริ่มสมัยของสงครามใหม่ เมื่อพระเจ้าเฮนรีทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสหลังจากที่ผลของการเจรจาในการสละสิทธิราชบัลลังก์ฝรั่งเศสเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทนไม่ประสบผลสำเร็จ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศสไม่ทรงสามารถนำกองทัพด้วยพระองค์เองได้เนื่องจากการประชวร ทางฝ่ายฝรั่งเศสจึงนำโดยชาร์ลส์ ดาลเบรต์ผู้เป็นข้าหลวงแห่งฝรั่งเศส (Constable of France) และขุนนางกลุ่มอาร์มันญัค (Armagnac party) สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในสงครามครั้งนี้ในด้านความก้าวหน้าทางอาวุธที่ทำให้ฝ่ายอังกฤษได้รับชัยชนะคือการใช้ธนูแบบที่เรียกว่า ธนูยาวอังกฤษ ที่เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของกองทัพของสมเด็จพระเจ้าเฮนรี.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและยุทธการที่อาแซ็งกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ทาวตัน

ทธการที่ทาวตัน (Battle of Towton) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1461 ใกล้หมู่บ้านทาวตันในเทศมณฑลยอร์กเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคัสเตอร์ที่นำโดยเฮนรี โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 3 กับฝ่ายราชวงศ์ยอร์กที่นำโดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ ผลของยุทธการครั้งนี้ยอร์กเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ในด้านความเสียหาย ฝ่ายราชวงศ์แลงคัสเตอร์มีผู้เสียชีวิต 8,000-20,000 คน ส่วนฝ่ายราชวงศ์ยอร์กมีผู้เสียชีวิต 8,000-20,000 คน ซึ่งทำให้เป็นยุทธการนองเลือดใหญ่ยุทธการสุดท้ายเท่าที่เคยต่อสู้กันมาในสหราชอาณาจักร เชื่อกันว่าทั้งสองฝ่ายเสียทหารรวมกันราว 28,000 นาย มีแต่เพียงยุทธการที่วอตลิงสตรีต (Battle of Watling Street) ใน..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและยุทธการที่ทาวตัน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ทิวก์สบรี

ทธการที่ทิวก์สบรี (Battle of Tewkesbury) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1471 ที่เมืองทิวก์สบรีในเทศมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคัสเตอร์ที่นำโดยเอ็ดมันด์ โบฟอร์ต ดุ๊กที่ 4 แห่งซัมเมอร์เซต, มาร์กาเร็ตแห่งอ็องฌู และเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์ และฝ่ายราชวงศ์ยอร์กที่นำโดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และริชาร์ด ดุ๊กแห่งยอร์ก พระอนุชา ผลของยุทธการครั้งนี้ยอร์กเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ยุทธการครั้งนี้เป็นยุทธการที่ทำให้ฝ่ายราชวงศ์แลงคัสเตอร์ต้องยุติการยึดราชบัลลังก์อังกฤษเป็นการชั่วคราว จากนั้นมาก็เป็นเวลาอีกสิบสี่ปีก่อนที่เฮนรี ทิวดอร์จะสามารถยุติความขัดแย้งของราชวงศ์แลงคัสเตอร์และราชวงศ์ยอร์กเป็นการถาวรได้.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและยุทธการที่ทิวก์สบรี · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)

ทธการนอร์ทแธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) (Battle of Northampton (1460)) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1460 ที่เมืองนอร์ทแธมป์ตันในนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 6 และฮัมฟรีย์ สตาฟฟอร์ด ดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 1 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 ผลของยุทธการครั้งนี้ฝ่ายยอร์คได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์มีผู้เสียชีวิต 300 คน ส่วนฝ่ายราชวงศ์ยอร์คไม่ทราบจำนวน.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เวกฟิลด์

ทธการเวคฟิลด์ (Battle of Wakefield) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1460 ที่เวคฟิลด์ในมณฑลเวสต์ยอร์คเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ผู้มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าเฮนรีที่ 6, พระราชินีมาร์กาเร็ต และพระราชโอรสเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดที่ถูกจับตัวไป ฝ่ายนี้นำโดยเฮนรี เพอร์ซีย์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ที่ 3, เฮนรี โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 3 และจอห์น คลิฟฟอร์ด บารอนเดอคลิฟฟอร์ดที่ 9 และฝ่ายตรงข้ามฝ่ายราชวงศ์ยอร์คนำโดยริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3, ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 5 และเอ็ดมันด์ เอิร์ลแห่งรัทแลนด์ ผลของยุทธการครั้งนี้ฝ่ายแลงคาสเตอร์ได้รับชัยชนะ กองทัพฝ่ายยอร์คถูกทำลายและดยุคแห่งยอร์คเสียชีวิตในสนามร.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและยุทธการที่เวกฟิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1

ทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 1 (First Battle of St Albans) เป็นยุทธการแรกของสงครามดอกกุหลาบที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1455 ที่เซนต์อัลบันส์ ราว 35 กิโลเมตรเหนือกรุงลอนดอนในมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยเอ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 และริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 ผลของยุทธการครั้งนี้ฝ่ายราชวงศ์ยอร์คได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายฝ่ายแลงคาสเตอร์มีผู้เสียชีวิต 300 คน รวมทั้งดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ท แต่ฝ่ายราชวงศ์ยอร์คมีไม่ทราบจำนวน นอกจากนั้นฝ่ายยอร์คยังจับตัวพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ได้ และตั้งตนเป็นผู้ปกครองอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2

ทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 2 (Second Battle of St Albans) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1461 ที่เซนต์อัลบันส์ในฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยพระราชินีมาร์กาเร็ต และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยเอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 ผลของยุทธการครั้งนี้แลงคาสเตอร์เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายของทั้งสองฝ่ายไม่มีหลักฐานแน่นอนที่ระบุไว้.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

รัชทายาทที่ได้รับสมมุติ

มส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต รัชทายาทที่ได้รับสมมุติแห่งอังกฤษและสกอตแลนด์ ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ (pretender) คือ ผู้อ้างการมีสิทธิ์ในตำแหน่งเกียรติหรือยศที่ไม่มีอยู่แล้ว ใช้กับอดีตพระมหากษัตริย์ หรือผู้สืบเชื้อสายอดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งราชบัลลังก์มีผู้ครองแล้วหรือมีคู่แข่งอ้าง หรือถูกเลิกไปแล้วมากที่สุด ภาษาอังกฤษคำว่า “Pretend” มาจากภาษาฝรั่งเศส “prétendre” ที่แปลว่า ยื่นเสนอ เสนอ หรืออ้าง นอกจากนั้นคำว่า “รัชทายาทที่ได้รับสมมุติ” ยังใช้กับกลุ่มผู้ที่พยายามอ้างสิทธิในนามของผู้อื่นไม่ว่าผู้นั้นจะทราบหรือทำการอ้างเองหรือไม่ และเป็นคำที่ใช้ได้ทั้งสำหรับผู้อ้างที่มีสิทธิที่แท้จริงในราชบัลลังก์ เช่น กรณีผู้อ้างหลายคนระหว่างสงครามดอกกุหลาบ หรือผู้ประดิษฐ์ข้ออ้างขึ้นเองในกรณีของแลมเบิร์ต ซิมเนล (Lambert Simnel) ผู้อ้างว่ามีสิทธิในราชบัลลังก์ของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ บุคคลในกลุ่มหลังนี้มักจะอ้างใช้ชื่อของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วหรือพระญาติพระวงศ์ที่หายสาบสูญไป ซึ่งบางที่ก็จะเรียกว่า “รัชทายาทที่ได้รับสมมุติเท็จ” (false pretender) รัชทายาทที่ได้รับสมมุติของพระสันตะปาปา เรียก “พระสันตะปาปาเท็จ” (antipope).

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและรัชทายาทที่ได้รับสมมุติ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาอังกฤษ

รัฐสภาอังกฤษและพระมหากษัตริย์ ราว ค.ศ. 1300 รัฐสภาอังกฤษ (Parliament of England) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุดในราชอาณาจักรอังกฤษ รัฐสภาอังกฤษวิวัฒนาการมาจากสภาของต้นยุคกลางซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาต่อพระมหากษัตริย์อังกฤษ การวิวัฒนาการทำให้อำนาจของรัฐสภาเพิ่มมากขึ้นในขณะที่อำนาจของพระมหากษัตริย์ลดน้อยลง เมื่อรัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ลงนามในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งรวมราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์เข้าด้วยกัน รัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ก็ถูกยุบ รัฐสภาใหม่กลายเป็นรัฐสภาแห่งบริเตนใหญ่ และในที่สุดก็เป็นรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นรากฐานของระบบรัฐสภาของอังกฤษในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ระบบรัฐสภาของสหราชอาณาจักรเป็นระบบรัฐสภาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจนได้รับสมญานามว่า “แม่แห่งรัฐสภา” ซึ่งเป็นระบบประชาธิปไตยที่เป็นรากฐานของมาตรฐานในการก่อตั้งระบบรัฐสภาทั่วโลก.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและรัฐสภาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ยอร์ก

อกกุหลาบขาว สัญลักษณ์ราชวงศ์ยอร์คWarsoftheroses.com, Wars of the Roses - http://www.warsoftheroses.com/york.cfmhttp://www.warsoftheroses.com/york.cfm ราชวงศ์ยอร์ค (House of York) เป็นสาขาหนึ่งของ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท ของ อังกฤษ ราชวงศ์ยอร์คเป็นฝ่ายตรงข้ามของ ราชวงศ์แลงคาสเตอร์ ใน สงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็น สงครามกลางเมือง ในการแย่ง ราชบัลลังก์อังกฤษ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อ ราชอาณาจักรอังกฤษ และ ราชอาณาจักรเวลส์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อ เอ็ดมันด์ แลงลีย์ พระราชโอรสองค์ที่สี่ใน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งยอร์ค สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคาสเตอร์คือดอกกุหลาบขาวแห่งยอร์ค พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงยุติการแย่งราชบัลลังก์ใน สงครามดอกกุหลาบ ระหว่างราชวงศ์แลงคาสเตอร์กับราชวงศ์ยอร์คโดยการเสกสมรสกับ เอลิซาเบธ แห่งยอร์ค พระราชธิดาของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และตั้งราชวงศ์ใหม่ที่เรียกว่า “ราชวงศ์ทิวดอร์” กษัตริย์ราชวงศ์ยอร์ค ของอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและราชวงศ์ยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ทิวดอร์

ราชวงศ์ทิวดอร์ (อังกฤษ: Tudor, เวลส์: Tudur) เป็นเชื้อพระวงศ์ชาวเวลส์ มีกษัตริย์ที่ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2028 ถึง พ.ศ. 2146 กษัตริย์สามในหกพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7, สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 เป็นกษัตริย์องค์สำคัญที่ทรงเปลี่ยนแปลงอังกฤษจากชาติที่ค่อนข้างอ่อนแอเมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ ในยุคกลางมาสู่ชาติมหาอำนาจในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่ซึ่งในศตวรรษต่อมาอังกฤษกลายมาเป็นชาติที่มีอิทธิพลอย่างมากในโลก สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์อังกฤษที่มีชื่อเสียงมากที่สุดตลอดกาล.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและราชวงศ์ทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์แพลนแทเจเนต

ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท (อังกฤษ: House of Plantagenet) หรือ ราชวงศ์อองชู หรือ เดิมเป็นตระกูลขุนนางมาจากฝรั่งเศส ซึ่งปกครองแคว้นอองชู (County of Anjou) ในภายหลังราชวงศ์นี้ได้ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษในปี พ.ศ. 1697 - พ.ศ. 2028 รวมทั้งราชอาณาจักรเยรูซาเล็มในปี พ.ศ. 1674 - พ.ศ. 1748 แคว้นนอร์มังดี (พ.ศ. 1687 - พ.ศ. 1747 และ พ.ศ. 1958 - พ.ศ. 1993) แคว้นกาสโกนีและกุยแยน (แคว้นอากีแตนในปัจจุบัน) (พ.ศ. 1696 - พ.ศ. 1996) หมวดหมู่:ราชวงศ์อ็องฌู หมวดหมู่:ราชสำนักอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและราชวงศ์แพลนแทเจเนต · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์แลงคัสเตอร์

'''ราชวงศ์แลงคัสเตอร์'''Warsoftheroses.com, Wars of the Roses - House of Lancasterhttp://www.warsoftheroses.com/lancaster.cfm ราชวงศ์แลงคัสเตอร์ (House of Lancaster) เป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของอังกฤษ ราชวงศ์แลงคัสเตอร์เป็นฝ่ายหนึ่งในสงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษ และมีผลกระทบกระเทือนต่อราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเวลส์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อจอห์นแห่งกอนท์ พระราชโอรสของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งแลงคัสเตอร์ สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือ ดอกกุหลาบแดงแห่งแลงคัสเตอร์ ศัตรูของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือราชวงศ์ยอร์ค ความเป็นคู่แข่งระหว่างแลงคัสเตอร์กับยอร์ค ซึ่งกลายมาเป็นมลฑลสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ แต่อย่างไม่เป็นทางการ เช่น การแข่งกีฬาประจำปีระหว่างสองมหาวิทยาลัยแลงคัสเตอร์ และ มหาวิทยาลัยยอร์ค ที่เรียกว่า “การแข่งขันกีฬาดอกกุหลาบ” (Roses Tournament) ราชวงศ์แลงคัสเตอร์มาสิ้นสุดลงในศึกทูคสบรี (Battle of Tewkesbury) ในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและราชวงศ์แลงคัสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด วูดวิลล์ เอิร์ลริเวิร์สที่ 1

ริชาร์ด วูดวิลล์ เอิร์ลริเวอร์สที่ 1 (Richard Woodville, 1st Earl Rivers) (ค.ศ. 1405 - 12 สิงหาคม ค.ศ. 1469) ริชาร์ด วูดวิลล์เป็นขุนนางชาวอังกฤษผู้มีบทบาทในสงครามดอกกุหลาบของฝ่ายแลงคาสเตอร์เมื่อเริ่มแรก และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นบารอนริเวอร์สโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ต่อมาก็มาเปลี่ยนข้างไปเข้าข้างฝ่ายยอร์คเมื่อเห็นว่าฝ่ายแลงคาสเตอร์มีทีท่าว่าจะเสียเปรียบ เมื่อลูกสาวเอลิซาเบธ วูดวิลล์เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ริชาร์ดก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเอิร์ลริเวอร์ส ซึ่งเป็นการสร้างความไม่พอใจให้แก่กลุ่มขุนนางเก่าโดยเฉพาะริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 เมื่อต้นปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและริชาร์ด วูดวิลล์ เอิร์ลริเวิร์สที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก

ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 (Richard Plantagenet, 3rd Duke of York) (21 กันยายน ค.ศ. 1411 - 30 ธันวาคม ค.ศ. 1460) ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทเป็นสมาชิกในราชวงศ์ยอร์คผู้มีตำแหน่งหน้าที่ระดับสูงในฝรั่งเศสในปลายสงครามร้อยปีและในอังกฤษในระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ความขัดแย้งของดยุคแห่งยอร์คกับพระเจ้าเฮนรีเป็นสาเหตุที่ทำความปั่นป่วนทางการเมืองในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสงครามดอกกุหลาบ แม้ว่าริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทจะมิได้เป็นพระมหากษัตริย์แต่ก็เป็นบิดาของพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4และพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทปกครองอังกฤษในฐานะผู้พิทักษ์แห่งอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1453 ถึงปี ค.ศ. 1454 ซึ่งทำให้ถือกันว่าเป็นขุนนางที่มีอำนาจและอิทธิพลมากที่สุดที่ไม่ได้รับการสวมมงกุฏ ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทเกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1411 เป็นบุตรของริชาร์ดแห่งโคนิสเบิร์ก เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ที่ 3 และแอนน์เดอมอร์ติเมอร์ ต่อมาสมรสกับซิซิลิ เนวิลล์และมีบุตรธิดาด้วยกันหลายคนที่รวมทั้งพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4และพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ริชาร์ดเสียชีวิตในสนามรบในยุทธการเวคฟิลด์ (Battle of Wakefield).

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริก

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 และ เอิร์ลแห่งซอลสบรี (Richard Neville, 16th Earl of Warwick) (22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1428 - 14 เมษายน ค.ศ. 1471) ริชาร์ด เนวิลล์เป็นขุนนาง, นักการบริหาร และนักการทหารชาวอังกฤษ ริชาร์ด เนวิลล์เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1428 เป็นบุตรของริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 5 (Richard Neville, 5th Earl of Salisbury) และแอนน์ เนวิลล์ เคานเทสแห่งซอลสบรีที่ 5 และเป็นขุนนางสืบตระกูลผู้ที่มีร่ำรวยที่สุดและมีอำนาจมากที่สุดในยุคนั้น ผู้มีเส้นสายทางการเมืองไม่แต่ในอังกฤษ ริชาร์ดมีบทบาทสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ และเป็นผู้ปลดพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์จากราชบัลลังก์ซึ่งทำให้ได้รับสมญาว่า “ผู้สร้างพระเจ้าแผ่นดิน” (the Kingmaker) จากความมั่งคั่งที่ได้มาจากการแต่งงานและมรดกที่ได้รับวอริคมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษ 1450 เดิมวอริคสนับสนุนพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แต่เมื่อมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับที่ดินกับเอ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1 วอริคก็หันไปร่วมมือกับดยุคแห่งยอร์คที่ 3 ในการต่อต้านพระเจ้าเฮนรี จากความขัดแย้งครั้งนี้วอริคได้ที่มั่นสำคัญในฐานะกัปตันแห่งคาเลส์ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เป็นประโยชน์อีกหลายปีต่อมา ความขัดแย้งในที่สุดก็กลายเป็นการปฏิวัติเต็มตัว บุตรชายของดยุคแห่งยอร์คด้วยความช่วยเหลือของวอริคได้รับชัยชนะและขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เมื่อขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงปกครองโดยมีวอริคเป็นผู้ช่วย แต่ก็มาผิดใจกันในด้านนโยบายการต่างประเทศและการเลือกผู้เสกสมรสของพระองค์ หลังจากที่พยายามร่วมมือกันโค่นราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดและยกจอร์จ แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 พระอนุชาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดขึ้นครองราชย์ไม่สำเร็จ วอริคก็หันไปยึดราชบัลลังก์คืนให้แก่พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แทนที่ แต่ก็เป็นชัยชนะเพียงระยะเวลาสั้น ในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริก · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี (Richard Neville, 5th Earl of Salisbury) (ค.ศ. 1400 - 31 ธันวาคม ค.ศ. 1460) ริชาร์ด เนวิลล์เป็นขุนนางชาวอังกฤษที่มีบทบาทสำคัญในฐานะแม่ทัพฝ่ายราชวงศ์ยอร์คในตอนต้นของสงครามดอกกุหลาบ ริชาร์ด เนวิลล์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1400 ในมณฑลเดอแรม แม้ว่าจะเป็นบุตรคนที่สามของราล์ฟ เนวิลล์ เอิร์ลแห่งเวสต์มอร์แลนด์ที่ 1 (Ralph Neville, 1st Earl of Westmorland) แต่เป็นบุตรคนแรกที่เกิดกับกับภรรยาคนที่สองโจน โบฟอร์ท ผู้เป็นพี่น้องกับริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี และซิซิลิ เนวิลล์ผู้เป็นพระมารดาของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ดินแดนของตระกูลเนวิลล์ส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลเดอแรมและมณฑลยอร์คเชอร์ แต่ทั้งสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 และสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 4 พบว่าตระกูลเนวิลล์เป็นผู้ที่สร้างความสมดุลทางอำนาจต่อตระกูลเพอร์ซีย์ในบริเวณเขตแดนสกอตแลนด์ ฉะนั้นเอิร์ลราล์ฟจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี ดยุกที่ 1 แห่งยอร์ก

ริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 และดยุคแห่งนอร์โฟล์คที่ 1 (ภาษาอังกฤษ: Richard of Shrewsbury, 1st Duke of York) (17 สิงหาคม ค.ศ. 1473 - ค.ศ. 1483?) ริชาร์ดเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองรองจากพระเชษฐาเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษและพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ ริชาร์ดเสด็จพระราชสมภพที่ชรูว์สบรี ริชาร์ดและพระเชษฐาถูกนำไปจำขังไว้ภายในหอคอยแห่งลอนดอน (ที่ขณะนั้นเป็นทั้งที่ประทับของพระมหากษัตริย์และคุก) ใน..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี ดยุกที่ 1 แห่งยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ดแห่งโคนิสเบิร์ก เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ที่ 3

ริชาร์ดแห่งโคนิสเบิร์ก เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ที่ 3 (Richard of Conisburgh, 3rd Earl of Cambridge) (ราว ค.ศ. 1375 - 5 สิงหาคม ค.ศ. 1415) ริชาร์ดแห่งโคนิสเบิร์กเป็นขุนนางชาวอังกฤษผู้มีบทบาทในการก่อการการคบคิดเซาท์แธมป์ตัน (Southampton Plot) ในระหว่างสงครามดอกกุหลาบ ริชาร์ดเป็นบุตรคนเล็กของเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 และอินแฟนตาอิสซาเบลลาแห่งคาสตีล และเป็นหลานของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษและ and ฟิลลิปปาแห่งเอโนลต์ และเป็นหลานตาของปีเตอร์แห่งคาสตีลและมาเรียเดอพาดิลลา ริชาร์ดเกิดที่ปราสาทโคนิสเบิร์กในยอร์คเชอร์และได้เป็นเอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ต่อจากพี่ชายในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและริชาร์ดแห่งโคนิสเบิร์ก เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ลิงคอล์นเชอร์

ที่ตั้งของมณฑลลิงคอล์นเชอร์ ลิงคอล์นเชอร์ หรือ ลิงคอล์นเชียร์ (Lincolnshire, or,; ย่อ Lincs) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษโดยมีลิงคอล์นเป็นเมืองหลวง ลิงคอล์นเชอร์มีเขตแดนติดกับนอร์โฟล์ค, เคมบริดจ์เชอร์, รัทแลนด์, เลสเตอร์เชอร์, น็อตติงแฮมเชอร์, เซาท์ยอร์คเชอร์, and the อีสต์ไรดิงแห่งยอร์คเชอร์ และมีเขตแดนติดกับนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ราว 19 เมตรซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างมณฑลที่สั้นที่สุดในอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและลิงคอล์นเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เชกสเปียร์

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและวิลเลียม เชกสเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เฮสติงส์ บารอนเฮสติงส์ที่ 1

วิลเลียม เฮสติงส บารอนเฮสติงสที่ 1 (William Hastings, 1st Baron Hastings) (ราว ค.ศ. 1431 - 13 มิถุนายน ค.ศ. 1483) วิลเลียม เฮสติงสเป็นขุนนางชาวอังกฤษผู้มีบทบาทในสงครามดอกกุหลาบผู้มีอำนาจสูงสุดในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เสด็จสวรรคตเฮสติงสก็หันไปสนับสนุนดยุคแห่งกลอสเตอร์ในการเป็นปฏิปักษ์ต่อพระราชินีหม้ายเอลิซาเบธ วูดวิลล์และพระญาติพระวงศ์ของพระองค์ แต่เฮสติงสไม่สนับสนุนความคิดของดยุคแห่งกลอสเตอร์ที่จะชิงราชบัลลังก์จากพระราชนัดดาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 ดยุคแห่งกลอสเตอร์จึงกำจัดเฮสติง.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและวิลเลียม เฮสติงส์ บารอนเฮสติงส์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เนวิลล์ เอิร์ลที่ 1 แห่งเคนต์

วิลเลียม เนวิลล์ เอิร์ลแห่งเค้นท์ที่ 1 (William Neville, 1st Earl of Kent) (ราว ค.ศ. 1410 - ค.ศ. 1463) ริชาร์ด เนวิลล์เป็นขุนนางและนายทหารชาวอังกฤษที่มีบทบาทในสงครามดอกกุหลาบ วิลเลียม เนวิลล์เกิดเมื่อราวปี ค.ศ. 1410 เป็นบุตรคนที่สองของราล์ฟ เนวิลล์ เอิร์ลแห่งเวสต์มอร์แลนด์ที่ 1 (Ralph Neville, 1st Earl of Westmorland) กับภรรยาคนที่สองโจน โบฟอร์ท ผู้เป็นบุตรีของจอห์นแห่งกอนท์ ดยุคแห่งแลงคาสเตอร์ที่ 1 และแคทเธอริน สวินฟอร์ด (Katherine Swynford) โจน โบฟอร์ท เป็นพี่น้องกับริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 5 และซิซิลิ เนวิลล์ผู้เป็นพระมารดาของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 จอห์นแห่งกอนท์เป็นโอรสองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ฉะนั้นวิลเลียมจึงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แต่ตระกูลโบฟอร์ทถูกระบุว่าไม่มีสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ วิลเลียมเป็นสมาชิกในตระกูลเนวิลล์อีกคนหนึ่งที่แต่งงานดี วิลเลียมแต่งงานกับทายาทของฟอคอนเบิร์กและได้รับตำแหน่งเป็นลอร์ดฟอคอนเบิร์ก — ขณะที่หลานริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 ไปแต่งงานกับทายาทของวอริคและได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอิร์ลแห่งวอริค วิลเลียมแต่งงานก่อนปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและวิลเลียม เนวิลล์ เอิร์ลที่ 1 แห่งเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (Mary I of England, 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2059 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่งอรากอน คาสตีลและเนเปิล และสมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 ในราชวงศ์ทิวดอร์ เป็นผู้ซึ่งฟื้นฟูศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกในอังกฤษ พระนางได้ดำเนินการเผาเหล่าบุคคลต่างศาสนา ต่างนิกายกว่า 300 คนทั้งเป็น ซึ่งเป็นที่มาของชื่อว่า แมรีบ้าเลือด หรือ แมรีผู้กระหายเลือด (Bloody Mary).

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมือง

งครามกลางเมือง (civil war) เป็นสงครามภายในกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม, สัญชาติ หรือสังคมแบบเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงอำนาจหรือดินแดน สงครามกลางเมืองอาจนับเป็นการปฏิวัติ (Revolution) ได้ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ภายในสังคมนั้นหลังจากสิ้นสุดสงคราม นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มยังได้นับรวมเอาการจลาจล (Insurgency) เป็นสงครามกลางเมืองประเภทหนึ่งด้วยถ้ามีการสู้รบระหว่างกองทัพอย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบันความแตกต่างระหว่าง "สงครามกลางเมือง", "การปฏิวัติ" และ "การจลาจล" นั้นไม่ชัดเจนนัก ขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้งาน สงครามกลางเมืองที่สำคัญ.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและสงครามกลางเมือง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามร้อยปี

งครามร้อยปี (Hundred Years' War) เป็นชุดความขัดแย้งระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและสงครามร้อยปี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสืบราชบัลลังก์

งครามสืบราชบัลลังก์ หรือ สงครามสืบราชสมบัติ (ภาษาอังกฤษ: War of Succession) คือสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งเมื่อมึผู้มีสิทธิในการขึ้นครองบัลลังก์มีมากกว่าหนึ่งคน ผู้มีสิทธิแต่ละคนก็จะมีกำลังหนุนและบางครั้งก็จะมีพันธมิตรจากต่างประเทศเข้าหนุนเพื่ออ้างอิงในสิทธิในการครองบัลลังก์ สงครามสืบราชบัลลังก์เป็นวลีที่มักจะใช้เรียกสงครามที่เกิดขึ้นในยุโรปหลายสงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และไม่จำเป็นจะต้องเป็นสงครามกลางเมืองเท่านั้นเช่นสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียซึ่งกลายมาเป็นสงครามระหว่างมหาอำนาจในทวีปยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 สงครามสืบราชบัลลังก์ที่เป็นที่รู้จักกันก็ได้แก่.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและสงครามสืบราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

หอคอยแห่งลอนดอน

หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London) เป็นพระราชวังหลวงและป้อมปราการตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ เป็นพระราชวังที่เดิมสร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1078 เป็นสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ พระราชวังเป็นรู้จักกันในนามว่า “หอคอยแห่งลอนดอน” หรือ “หอ” ในประวัติศาสตร์ ตัวปราสาทตั้งอยู่ภายในโบโรแห่งทาวเวอร์แฮมเล็ทส์และแยกจากด้านตะวันออกของนครหลวงลอนดอน (City of London) ด้วยลานโล่งที่เรียกว่าเนินหอคอยแห่งลอนดอน หรือ “ทาวเวอร์ฮิล” (Tower Hill) หอคอยแห่งลอนดอนมักจะรู้จักกันในการเกี่ยวข้องกับหอขาว (White Tower) ซึ่งแต่เดิมเป็นหอสีขาวที่สร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1078 แต่กลุ่มสิ่งก่อสร้างทั้งหมดของหอคอยแห่งลอนดอนตั้งอยู่รอบวงแหวนสองวงภายในกำแพงและคูป้องกันปราสาท ตัวหอคอยใช้เป็นป้อม พระราชวังของพระมหากษัตริย์ และที่จำขังโดยเฉพาะสำหรับนักโทษที่มียศศักดิ์สูงเช่นพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1ก็เคยทรงถูกจำขังในหอคอยโดยพระราชินีนาถแมรี และยังเป็นที่สำหรับประหารชีวิตและทรมาน คลังเก็บอาวุธ ท้องพระคลัง สวนสัตว์ โรงกษาปณ์หลวง หอเก็บเอกสาร หอดูดาว และตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและหอคอยแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก

อาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก (Archbishop of York) เป็นตำแหน่งผู้ปกครองระดับสูงในคริสตจักรแห่งอังกฤษ ถือเป็นตำแหน่งสูงสุดรองจากอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี มีฐานะเป็นบิชอปประจำมุขมณฑลยอร์ก และอาร์ชบิชอปแห่งภาคยอร์กซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมภาคเหนือของประเทศอังกฤษและเกาะแมน อาร์ชบิชอปแห่งยอร์กถือเป็นสมาชิกสภาขุนนางโดยตำแหน่ง และเป็นไพรเมตแห่งอังกฤษ (ส่วนอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็น "ไพรเมตแห่งอังกฤษทั้งปวง") อาสนะประจำตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งยอร์กต้ังอยู่ภายในมหาวิหารยอร์กกลางนครยอร์ก อาร์ชบิชอปคนปัจจุบันคือ ศาสนาจารย์ ดร.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและอาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี

อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 43 (Archbishop of Canterbury) เป็นอัครมุขนายกและผู้นำหลักของคริสตจักรแห่งอังกฤษ เป็นประมุขเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลกและบิชอปประจำมุขมณฑลแคนเทอร์เบอรี อัครมุขนายกแห่งแคนเทอร์เบอรีคนปัจจุบันคือศาสนาจารย์จัสติน เวลบี (Justin Welby) เป็นอัครมุขนายกคนที่ 105 ซึ่งสืบตำแหน่งที่ตกทอดมากว่า 1400 ปีจากนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีผู้ก่อตั้งคริสตจักรโรมันคาทอลิกในอังกฤษในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

ฮอลแลนด์

อลแลนด์สีเหลือง ฮอลแลนด์ (Holland) เป็นชื่อที่ใช้เรียกภูมิภาคทางตะวันตกของเนเธอร์แลนด์ นอกจากนั้นคำว่า "ฮอลแลนด์" ใช้ในการเรียกเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดด้วยแต่ตามทางการแล้วไม่ถือว่าถูกต้อง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 จนถึง 16 ฮอลแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนทางการเมืองในภูมิภาค เป็นรัฐเคานต์ที่ปกครองโดยเคานต์แห่งฮอลแลนด์ เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฮอลแลนด์ก็รุ่งเรืองขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการค้าทางทะเลที่รุ่งเรืองกว่าบรรดาจังหวัดอื่น ๆ ในสาธารณรัฐดัตช์ ในปัจจุบัน อดีตรัฐเคานต์แห่งฮอลแลนด์ประกอบด้วยสองจังหวัด คือ จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ ที่เป็นที่ตั้งของเมืองสามเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ อัมสเตอร์ดัม เฮก และรอตเทอร์ดาม.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและฮอลแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์

อร์จ แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์ (George Plantagenet, 1st Duke of Clarence) (21 ตุลาคม ค.ศ. 1449 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1478) จอร์จ แพลนแทเจเนต เป็นบุตรชายคนที่สามของริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก และซิซิลิ เนวิลล์ และเป็นพระอนุชาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และพระเชษฐาของพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ดยุคแห่งแคลเรนซ์มีบทบาทสำคัญในความขัดแย้งในการอ้างสิทธิในการครองราชบัลลังก์ที่ทำให้เกิดสงครามดอกกุหลาบ และถูกประหารชีวิตในข้อหากบฏต่อแผ่นดินในการวางแผนโค่นราชบัลลังก์ของพระเชษฐาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและจอร์จ แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เนวิลล์ มาร์ควิสที่ 1 แห่งมอนทากิว

อห์น เนวิลล์ มาร์ควิสแห่งมองตากิวที่ 1 (John Neville, 1st Marquess of Montagu หรือ John Mortimer หรือ the Captain of Kent) (ราว ค.ศ. 1431 - 14 เมษายน ค.ศ. 1471) จอห์น เนวิลล์ มาร์ควิสแห่งมองตากิวที่ 1เป็นขุนนางชาวอังกฤษผู้เป็นนักการทหารฝ่ายยอร์คในสงครามดอกกุหลาบ มาร์ควิสแห่งมองตากิวมีชื่อเสียงในการเป็นผู้กำจัดผู้ต่อต้านฝ่ายแลงคาสเตอร์ทางเหนือของอังกฤษในต้นรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 มาร์ควิสแห่งมองตากิวเป็นบุตรของริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 5 และแอลิซ เนวิลล์ เคานเทสแห่งซอลสบรีที่ 5 และเป็นน้องของริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 หรือ “วอริคผู้สร้างกษัตริย์”.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและจอห์น เนวิลล์ มาร์ควิสที่ 1 แห่งมอนทากิว · ดูเพิ่มเติม »

จอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์

อห์นแห่งกอนท์ ดยุคแห่งแลงคาสเตอร์ที่ 1 (John of Gaunt, 1st Duke of Lancaster) (6 มีนาคม ค.ศ. 1340 - 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1399) จอห์นแห่งกอนท์เป็นสมาชิกในราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทเป็นพระโอรสองค์ที่สามของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษและพระราชินีฟิลลิปปา และเป็นพี่ชายของเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1ผู้เป็นต้นราชสกุลยอร์ค ชื่อ “ก้อนท์” มาจากชื่อเมืองที่เกิด “เก้นท์” ในประเทศเบลเยียมปัจจุบัน ที่เรียกว่า “กอนท์” ในภาษาอังกฤษ จอห์นแห่งกอนท์มีฐานะร่ำรวยพอที่จะสนับสนุนการปกครองโดยเสียงส่วนน้อยของหลานพระเจ้าริชาร์ดที่ 2และต่อมาเมื่อมีเหตุการณ์คับขันในอังกฤษ จอห์นแห่งกอนท์เป็นต้นราชสกุลแลงคาสเตอร์ ผู้สิบเชื้อสายจากจอห์นแห่งกอนท์รวมทั้ง.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์นแห่งแลงแคสเตอร์ ดยุกที่ 1 แห่งเบดฟอร์ด

อห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุคแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 หรือ จอห์น แพลนทาเจเน็ท (John of Lancaster, 1st Duke of Bedford หรือ John Plantagenet) (20 มิถุนายน ค.ศ. 1389 - 14 กันยายน ค.ศ. 1435) จอห์นแห่งแลงคาสเตอร์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษโดยแมรีแห่งโบฮุนพระชายาองค์แรก ต่อมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในฝรั่งเศสให้แก่หลานสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษผู้เป็นพระราชโอรสของพระเชษฐาสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ จอห์นรับราชการเป็นข้าหลวงแห่งนอร์ม็องดีระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและจอห์นแห่งแลงแคสเตอร์ ดยุกที่ 1 แห่งเบดฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ทหารรับจ้าง

“ทหารรับจ้าง” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ค.ศ. 1480 ทหารรับจ้าง (mercenary) คือ บุคคลที่เข้าร่วมในการขัดกันด้วยอาวุธ (armed conflict) โดยที่มิได้มีเชื้อชาติหรือเป็นสมาชิกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่ขัดแย้ง แต่ "มีแรงจูงใจให้เข้าร่วมในการขัดกัน โดยมีความประสงค์ส่วนตัวในค่าตอบแทนที่จะได้รับเป็นสำคัญ ซึ่งอาจจะมากกว่านายทหารผู้อยู่ระดับเดียวกันและปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพของผู้ว่าจ้างนั้น" (พิธีสารพิ่มเติม อนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม) ผู้ที่เป็นทหารอาชีพของกองทัพตามปกติไม่ถือว่าเป็นทหารรับจ้าง แม้ว่าจะได้รับเงินค่าตอบแทนก็ตาม เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าทหารรับจ้างเป็นผู้ที่มีอาชีพสู้รบเพื่อเงินตอบแทน คำว่า “ทหารรับจ้าง” จึงเป็นคำที่มีความหมายเป็นนัยยะในทางลบ ถึงแม้ว่าจะมีบางกรณีที่เป็นการยกเว้นก็ตาม ความแตกต่างระหว่าง “ทหารรับจ้าง” และ “อาสาสมัครต่างด้าว” (foreign volunteer) บางครั้งก็ออกจะคลุมเครือ เพราะจุดประสงค์ในการเข้าร่วมการต่อสู้ของกองทหารด้าวไม่เป็นที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่นในกรณีของกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส” (French Foreign Legion) และกองทหารกุรข่า (Brigade of Gurkhas) ที่ไม่ถือว่าเป็น “ทหารรับจ้าง” ภายใต้กฎการยุทธ (laws of war) เพราะแม้ว่าลักษณะของทั้งสองกลุ่มจะตรงกับคำจำกัดความของการเป็นทหารรับจ้างหลายอย่าง ที่ตรงกับที่ระบุไว้ในข้อ 47 ของพิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและทหารรับจ้าง · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส เนวิลล์

ทอมัส เนวิลล์ (Thomas Neville) (? - ค.ศ. 1471) ทอมัส เนวิลล์เป็นขุนนางชาวอังกฤษฝ่ายสนับสนุนราชตระกูลแลงคาสเตอร์ผู้มีบทบาทในสงครามดอกกุหลาบ ทอมัสเป็นบุตรนอกสมรสของวิลเลียม เนวิลล์ เอิร์ลแห่งเค้นท์ที่ 1 (วิลเลียมแห่งฟอคงเบิร์ก) ที่ทำให้ได้รับการขนานนามว่า “ทอมัสลูกนอกคอกแห่งฟอคงเบิร์ก” (Thomas the Bastard of Fauconberg) หรือ “ลอร์ดแห่งฟอคงเบิร์ก” หรือ “ทอมัสลูกนอกคอก” ก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมสงครามดอกกุหลาบทอมัสเป็นนักเดินเรือผู้มีความสามารถ และได้รับเสรีภาพจากนครลอนดอนในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและทอมัส เนวิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง

้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ “รัชทายาท” แห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง (Heir apparent) คือทายาทผู้ (นอกจากมีเหตุการณ์อันคาดไม่ถึง) ที่ไม่สามารถมีผู้ใดมาแทนได้ในการรับตำแหน่งหรือมรดก เป็นคำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ทายาทโดยสันนิษฐาน” (heir presumptive) ผู้เป็นทายาทอยู่ในสายที่มีสิทธิแต่อาจจะมาแทนได้เมื่อใดก็ได้ กรณีที่หมายถึงทายาทตำแหน่งขุนนางสืบตระกูลโดยเฉพาะในกรณีของพระมหากษัตริย์จะเรียกว่ารัชทายาท (heir to the throne) และใช้เป็นอุปลักษณ์ว่าผู้นั้นเป็นผู้ได้ผ่านพิธีในการยอมรับในตำแหน่งเช่นว่าอย่างเป็นทางการ (“anointed”) ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมืองหรือผู้นำทางธุรกิจ “ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง” ไม่ปรากฏบ่อยนักและถ้าใช้ในภาษาอังกฤษก็มักจะใช้ในรูป “Heir Apparent” สถาบันพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีตำแหน่งเป็นทางการสำหรับรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงเช่น “มกุฎราชกุมาร” หรือมีตำแหน่งที่มีชื่อเฉพาะเช่น “เจ้าชายแห่งออเรนจ์” (Prince of Orange) ในเนเธอร์แลนด์ “เจ้าชายแห่งเวลส์” ในสหราชอาณาจักร หรือ เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส ในสเปน ดยุกแห่งบราบันต์ ใน เบลเยียม.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งบูร์กอญ

งกางเขนแห่งบูร์กอญ ดยุคแห่งบูร์กอญ (Duke of Burgundy) เป็นตำแหน่งของประมุขผู้ปกครองดัชชีบูร์กอญที่เป็นดินแดนบริเวณไม่ใหญ่นักของชาวบูร์กอญที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำโซน (Saône) ที่ชาร์ลส์เดอะบอลด์ ดยุคแห่งบูร์กอญได้รับมาในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและดยุกแห่งบูร์กอญ · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งยอร์ก

กแห่งยอร์ก (Duke of York) เป็นบรรดาศักดิ์ชั้นดยุก ที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ โดยมักจะพระราชทานให้กับพระราชโอรสพระองค์รอง โดยมีศักดิ์เทียบเท่ากับบรรดาศักดิ์ "ดยุกแห่งอัลบานี"ในระบบบรรดาศักดิ์ของสก็อตแลนด์ ดยุกแห่งยอร์กพระองค์แรกคือเจ้าชายเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์ก และพระองค์ปัจจุบันคือเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก ในประวัติศาสตร์อังกฤษได้มีการพระราชทานบรรดาศักดิ์นี้ทั้งหมด 11 สมัย โดย 5 สมัยในฐานะ "ดยุกแห่งยอร์ก" ก่อนพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800, 3 สมัยในฐานะ "ดยุกแห่งยอร์กและอัลบานี" ในบรรดาศักดิ์ของบริเตนใหญ่ และอีก 3 สมัยในฐานะ "ดยุกแห่งยอร์ก" ในบรรดาศักดิ์ของสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2004 เมื่อทายาทของเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ ผู้ถือบรรดาศักดิ์นี้อีกสิบคนต่อมาไม่สามารถสืบทอดบรรดาศักดิ์นี้แก่ทายาทเลย โดยมักจะสิ้นพระชนม์โดยไร้ทายาทชาย หรือไม่ก็กลายเป็นพระมหากษัตริย์เสียเอง.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและดยุกแห่งยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งแลงแคสเตอร์

นรี เจ้าชายแห่งเวลส์ บุคคลสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งนี้ก่อนที่จะรวมเข้ากับส่วนพระมหากษัตริย์ ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ ดยุกแห่งแลงคาสเตอร์ (Duke of Lancaster) เป็นบรรดาศักดิ์ดยุกที่ใช้ออกพระนามถึงสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษอย่างลำลอง และผู้ครอบครองดัชชีแห่งแลงคาสเตอร์ โดยถือเป็นดัชชีที่แยกออกมาจากสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (Crown Property) ซึ่งมีส่วนในการสร้างรายได้ให้กับพระมหากษัตริย์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ได้มีการสถาปนาบรรดาศักดิ์ดยุกแห่งแลงคาสเตอร์ถึง 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่แรกเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1351 สำหรับ เฮนรีแห่งกรอสมอนท์ เอิร์ลแห่งแลงคาสเตอร์ที่ 4 เหลนของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ รวมทั้งยังเป็นเอิร์ลแห่งเลย์เชสเตอร์ที่ 4, เอิร์ลแห่งดาร์บีที่ 1 และเอิร์ลแห่งลินโคล์นที่ 1 การสถาปนาครั้งแรกนี้สิ้นสุดลงเมื่อดยุกที่ 1 เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1361 ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1362 สำหรับ จอห์นแห่งกอนท์ เอิร์ลแห่งริชมอนด์ที่ 1 พระราชโอรสในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษและพระราชินีฟิลลิปปาแห่งเอโนลต์ ได้อภิเษกสมรสกับธิดาของเฮนรีแห่งกรอสมอนท์ ดยุกแห่งแลงคาสเตอร์ที่ 1 หลังจากเสียชีวิตในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1399 ตำแหน่งดยุกจึงถูกส่งผ่านไปยังเฮนรี โบลิงโบรค พระโอรส ต่อมาเมื่อพระโอรสขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษ ตำแหน่งจึงเข้ารวมกับส่วนพระมหากษัตริย์ ครั้งที่สามเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1399 สำหรับเฮนรีแห่งมอนมอธ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษ ต่อมาในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและดยุกแห่งแลงแคสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดองคัสเตอร์

ซนต์จอร์จ มีต้นไม้ตัดแต่งเป็นรูปนักบุญตั้งอยู่ด้านหน้า ปราสาท Conisbrough ในสมัยศตวรรษที่ 12 เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม จัดเป็นมรดกแห่งชาติอังกฤษ ดองคัสเตอร์ (Doncaster) เป็นชื่อเมืองหนึ่งในอังกฤษ ตั้งอยู่ในมณฑลยอร์กเชอร์ อยู่ห่างจากเมืองเชฟฟีลด์ 20 ไมล.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและดองคัสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีเบอร์กันดี

ัชชีเบอร์กันดี (Duchy of Burgundy) เป็นอาณาเขตการปกครองยุคศักดินาในฝรั่งเศสในสมัยกลาง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสปัจจุบันที่ใกล้เคียงกับบริเวณบูร์กอญในปัจจุบัน เป็นอาณาจักรที่เป็นอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและดัชชีเบอร์กันดี · ดูเพิ่มเติม »

ความบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์

วามบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์ (Percy-Neville feud) เป็นการปะทะกันอย่างประปรายระหว่างตระกูลสำคัญสองตระกูลทางตอนเหนือของอังกฤษและผู้ติดตามที่มีส่วนที่ทำให้เกิดสงครามดอกกุหลาบ การปะทะกันครั้งแรกเกิดขึ้นราวคริสต์ทศวรรษ 1450 ก่อนที่สงครามดอกกุหลาบจะเกิดขึ้น ความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างสองตระกูลนี้นำไปสู่สงครามที่เกิดขึ้นหลายครั้งต่อมา สาเหตุของความบาดหมางกันนั้นไม่เป็นที่ทราบ ทั้งตระกูลเพอร์ซีย์และเนวิลล์ต่างก็เป็นตระกูลผู้มีอิทธิพลทางตอนเหนือของอังกฤษ เมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1450 ทั้งสองตระกูลก็มีประมุขที่มีอายุอยู่ในวัยห้าสิบกว่าๆ ที่ต่างก็มีลูกที่มีหัวรุนแรงและอารมณ์ร้อน ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 5 เป็นพี่เขยของเฮนรี เพอร์ซีย์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ที่ 2 ลูกของเฮนรี “ฮอทเสปอร์” เพอร์ซีย์ ในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและความบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์นวอลล์

อร์นวอลล์ (Cornwall) หรือ แคร์นอว์ (Kernow) เป็นเทศมณฑลแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษภายในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางปลายแหลมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ทางด้านเหนือและด้านตะวันตกจรดทะเลเคลติก ทางด้านใต้จรดช่องแคบอังกฤษ ด้านตะวันออกติดกับเทศมณฑลเดวอนโดยมีแม่น้ำเทมาร์เป็นเส้นแบ่งเขต คอร์นวอลล์มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 526,300 คน ในเนื้อที่ 3,563 ตารางกิโลเมตร ศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมืองทรูโร ดินแดนบริเวณคอร์นวอลล์เดิมเป็นที่ตั้งหลักแหล่งของชนยุคหินจากนั้นก็เป็นชนยุคสำริดและต่อมาในสมัยยุคเหล็กโดยชาวเคลต์ คอร์นวอลล์เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่พูดภาษากลุ่มบริทอนิก (Brythonic languages) ที่ตัดขาดจากกลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มเดียวกันในเวลส์หลังจากยุทธการเดอรัม (Battle of Deorham) โดยมักขัดแย้งกับชาวแซกซันแห่งราชอาณาจักรเวสเซกซ์ที่พยายามขยายดินแดนเข้ามา ก่อนที่พระเจ้าแอเทลสตันจะกำหนดเขตแดนระหว่างชาวอังกฤษกับชาวคอร์นิชโดยใช้แม่น้ำทามาร์ คอร์นวอลล์รวมกับอังกฤษเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่การใช้ภาษาคอร์นิชยังคงใช้กันต่อมาจนคริสต์ศตวรรษที่ 18 การฟื้นฟูการใช้ภาษาคอร์นิชอีกครั้งมาเริ่มต้นขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษ 20 และเพิ่มความนิยมมากขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบันคอร์นวอลล์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากอุตสาหกรรมเหมืองดีบุกและอุตสาหกรรมการประมงเสื่อมโทรมลงและต้องหันมาพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหลัก ดินแดนคอร์นวอลล์มีชื่อในทางที่มีภูมิทัศน์เป็นดินแดนสูงที่เป็นทุ่งที่มีแต่พืชพรรณเตี้ย ๆ เติบโตอยู่ที่เรียกว่า "ทุ่งมัวร์" (Moorland) และชายฝั่งทะเลที่น่าดูและอากาศที่อุ่นกว่าบริเวณอื่นของอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและคอร์นวอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

คอเวนทรี

ทิวทัศน์เมืองคอเวนทรี คอเวนทรี (Coventry) เป็นนครที่ตั้งอยู่ที่ ในเวสต์มิดแลนด์สในอังกฤษที่มีประชากรทั้งสิ้นราว 306,000 คน (ค.ศ. 2007) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดลำดับที่ 9 ในอังกฤษ, ลำดับที่ 11 ในสหราชอาณาจักร และลำดับที่ 2 เวสต์มิดแลนด์สรองจากเบอร์มิงแฮม.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและคอเวนทรี · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ไลล์

ร์ไลล์ (ภาษาอังกฤษ: Carlisle (ไม่ออกเสียง “s”)) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในนครคาร์ไลล์ (City of Carlisle) ที่ตั้งอยู่ในมณฑลคัมเบรียในภาคการปกครองตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ เมืองคาร์ไลล์ตั้งอยู่ตรงจุดที่แม่น้ำอีเดน, แม่น้ำคาลดรูว์ (River Caldew) และแม่น้ำเพ็ตเตอริ (River Petteril) มาบรรจบกัน 16 กิโลเมตรใต้เขตแดนอังกฤษ-สกอตแลนด์ เมืองคาร์ไลล์เป็นเมืองที่มีผู้ตั้งถิ่นฐานใหญ่ที่สุดในเคานตี้คัมเบรียและเป็นศูนย์กลางการบริหารทั้งของนครคาร์ไลล์และมณฑลคัมเบรีย ในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและคาร์ไลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอร์แลนด์

อร์แลนด์ (Ireland, หรือ; Éire เอเหรอะ) คำบรรยายระบอบการปกครองของประเทศนี้ (ไม่ใช่ชื่อทางการ) คือ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland; Poblacht na hÉireann) นับเป็นสมาชิกที่อยู่ไกลสุดทางตะวันตกของสหภาพยุโรป มีประชากร 4 ล้านกว่าคน เป็นประเทศบนเกาะไอร์แลนด์ อยู่ห่างจากทวีปยุโรปไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 ใน 6 ของเกาะดังกล่าว (ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 6 ของเกาะไอร์แลนด์ เรียกว่า ไอร์แลนด์เหนือ เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ) ในการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติ นักกีฬาจากทั้งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ จะเข้าร่วมในทีมเดียวกัน ในชื่อทีมสหพันธ์รักบี้ไอร์แลนด์ นอกจากนี้ไอร์แลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้เงินยูโร.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและประเทศไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวลส์

วลส์ (Wales; Cymru, ออกเสียง คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร (ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) เวลส์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ โดยทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล (Bristol Channel) ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบจอร์เจส (George's Channel) และทางเหนือติดกับทะเลไอริช คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและประเทศเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์ทัมเบอร์แลนด์

นอร์ทธัมเบอร์แลนด์ (ภาษาอังกฤษ: Northumberland) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหราชอาณาจักรอังกฤษ ทางด้านตะวันตกติดกับมณฑลคัมเบรีย, ด้านใต้กับเคานติเดอแรม, ด้านตะวันออกเฉียงใต้มณฑลไทน์และเวียร์ และทางเหนือติดกับสกอตแลนด์ ด้านตะวันออกเป็นฝั่งทะเลเหนือที่ยาวเกือบ 80 ไมล์ นอร์ทธัมเบอร์แลนด์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 310,600 คนในเนื้อที่ 5013 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่ไทน์และเวียร์แยกไปเป็นมณฑลอิสระในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและนอร์ทัมเบอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเซเวิร์น

แม่น้ำเซเวิร์น (River Severn; Afon Hafren; Sabrina) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในสหราชอาณาจักรที่ยาว 354 ที่สูงที่สุดที่แม่น้ำไหลสูง 610 เมตรจากระดับน้ำทะเลที่พลินลิมอน (Plynlimon) ใกล้เพาวิส (Powys) ในเทือกเขาคัมเบรียในเวลส์ และไหลผ่านมณฑลชร็อพเชอร์, มณฑลวูสเตอร์เชอร์ และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ โดยผ่านเมืองชรูสบรี, วูสเตอร์และกลอสเตอร์ แม่น้ำเซเวิร์นถือว่าเป็นหนึ่งในแม่น้ำสำคัญสิบสายของสหราชอาณาจักร เซเวิร์นกลายเป็นปากน้ำระหว่างทางใต้ของมณฑลกลอสเตอร์เชอร์และมอนมอนมอธเชอร์ จากนั้นก็ไหลลงสู่ช่องแคบบริสตอล ไปยังทะเลเคลติก และในที่สุดมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณไหลผ่านของแม่น้ำเซเวิร์นครอบคลุมบริเวณ 11,420 ตารางกิโลเมตรที่ไม่รวมแม่น้ำวาย (River Wye) และแม่น้ำเอวอน สาขาสำคัญของแม่น้ำเซเวิร์นรวมทั้งแม่น้ำเวอร์นุย (River Vyrnwy), แม่น้ำทีม (River Teme), แม่น้ำอัปเพอร์เอวอน (Upper Avon) และแม่น้ำสเตาเวอร์ (River Stour).

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและแม่น้ำเซเวิร์น · ดูเพิ่มเติม »

แลงคาเชอร์

แลงคาสเชอร์ (ภาษาอังกฤษ: Lancashire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหราชอาณาจักร ด้านตะวันตกติดกับทะเลไอริช ชื่อของมณฑลมาจากชื่อเมืองแลงคาสเตอร์ หรือบางที่เรียกว่า “เคานตี้แห่งแลงคาสเตอร์” - Lancashire และถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครอง แลงคาสเชอร์เรียกสั้นๆ ว่า “Lancs” แลงคาสเชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,451,500 คน ในเนื้อที่ 3079 ตารางกิโลเมตร ผู้ที่อาศัยอยู่ในแลงคาสเชอร์เรียกว่า “แลงคาสเตรียน” แลงคาสเชอร์แบ่งการปกครองเป็นสิบสี่แขวง: เวสต์แลงคาสเชอร์, คอร์ลีย์, เซาท์ริบเบิล, ฟิลด์, เพรสตัน, ไวร์, นครแลงคาสเตอร์, ริบเบิลแวลลีย์, เพนเดิล, เบิร์นลีย์, รอสเซ็นเดล, ฮินด์เบิร์น, แบล็คพูล, และ แบล็คเบิร์นและดาร์เวน โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ เพรสตัน ประวัติศาสตร์แลงคาสเชอร์อาจจะเริ่มราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในบันทึกทะเบียนราษฎรดูมสเดย์ (Domesday Book) ที่ทำในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและแลงคาเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนน์ เดอ มอร์ติเมอร์

แอนน์ เดอ มอร์ติเมอร์ (Anne de Mortimer) (27 ธันวาคม ค.ศ. 1390 - ราววันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1411) แอนน์ เดอ มอร์ติเมอร์เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษ แอนน์เป็นมารดาของริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 ผู้เป็นพระชนกของ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ และ สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ฉะนั้นจึงเป็นพระอัยกีของพระมหากษัตริย์อังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและแอนน์ เดอ มอร์ติเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนน์ เนวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

แอนน์ เนวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Anne Neville) (11 มิถุนายน ค.ศ. 1456 – 16 มีนาคม ค.ศ. 1485) แอนน์ เนวิลล์ประสูติเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1456 ปราสาทวอริค ในราชอาณาจักรอังกฤษ ทรงเป็นธิดาของริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 และแอนน์ เนวิลล์ เคานทเตสแห่งวอริคที่ 16 แอนน์ทรงเสกสมรสครั้งแรกกับเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ก่อนที่จะมาเสกสมรสกับริชาร์ด ดยุคแห่งกลอสเตอร์เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1472ที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์ มีพระราชโอรสด้วยกันพระองค์หนึ่ง--เอ็ดเวิร์ดแห่งมิดเดิลแฮม เจ้าชายแห่งเวลส์ (Edward of Middleham, Prince of Wales) แอนน์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1485 เมื่อพระชนมายุได้ 29 พรรษ.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและแอนน์ เนวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แคเธอรินแห่งวาลัว สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

แคทเธอรินแห่งวาลัวส์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Catherine of Valois) (27 ตุลาคม ค.ศ. 1401 – 3 มกราคม ค.ศ. 1437) แคทเธอรินประสูติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1401 ที่ปารีสในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระธิดาของ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศสและอิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (Isabella of Bavaria) ทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ และทรงได้รับการราชาภิเษกเป็นพระราชินีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1421 เป็นพระราชินีระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1420 - 31 สิงหาคม ค.ศ. 1422 แคทเธอรินสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1437 ที่ลอนดอนในราชอาณาจักรอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและแคเธอรินแห่งวาลัว สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

โรเจอร์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลที่ 4 แห่งมาร์ช

รเจอร์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลแห่งมาร์ชที่ 4 (Roger Mortimer, 4th Earl of March) (11 เมษายน ค.ศ. 1374 - 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1398) โรเจอร์ มอร์ติเมอร์เป็น “รัชทายาทโดยสันนิษฐาน” ในพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและโรเจอร์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลที่ 4 แห่งมาร์ช · ดูเพิ่มเติม »

ไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์

ลโอเนลแห่งอันท์เวิร์พ ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 (Lionel of Antwerp, 1st Duke of Clarence) (29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1338 - 7 ตุลาคม ค.ศ. 1368) ไลโอเนลแห่งอันท์เวิร์พเป็นพระราชโอรสองค์ที่สามแต่ที่สองที่รอดมาได้จนโตในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษและพระราชินีฟิลลิปปา ไลโอเนลมีสร้อยว่าอันท์เวิร์พเพราะเป็นที่เกิด ไลโอเนลแห่งอันท์เวิร์พแต่งงานครั้งแรกกับเอลิซาเบธเดอเบิรก เคานเทสแห่งอัลสเตอร์ที่ 4 บุตรีของวิลเลียม ดอนน์เดอเบิรก เอิร์ลแห่งอัลสเตอร์ที่ 3 เมื่อปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เชชเชอร์

อร์ (Cheshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษโดยมีเมืองหลวงอยู่ที่นครเชสเตอร์ แม้ว่าเมืองใหญ่ที่สุดจะเป็นวอร์ริงตัน เชชเชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลเมอร์ซีย์ไซด์และนครแมนเชสเตอร์และปริมณฑลทางตอนเหนือ, ดาร์บีเชอร์ทางด้านตะวันออก, สแตฟฟอร์ดเชอร์และชร็อปเชอร์ทางด้านใต้ ฟลินท์เชอร์และเร็กแซมในเวลส์ทางตะวันตก เชชเชอร์มีเนื้อที่ 2,343 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,003,600 คน ถัวเฉลี่ย 428 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเชชเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เบริก-อะพอน-ทวีด

ริก-อะพอน-ทวีด (Berwick-upon-Tweed) เป็นเมืองและที่ตั้งอยู่ในมณฑลนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ในภาคการปกครองตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ ทางฝั่งทะเลด้านตะวันออกที่ปากแม่น้ำทวีด และอยู่ห่างจากเขตแดนอังกฤษ-สกอตแลนด์เพียงสี่กิโลเมตร เมืองเบริกอะพอนทวีดเดิมเป็นส่วนหนึ่งของบะระเบริกอะพอนทวีด และเดิมเป็นและเดิมเป็นเมืองมณฑลของเบริกเชอร์ จากการสำรวจสำมะโนประชากรใน..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเบริก-อะพอน-ทวีด · ดูเพิ่มเติม »

เชสเตอร์

นนในเชสเตอร์ เชสเตอร์ (Chester) เป็นนครในมณฑลเชชเชอร์ ประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำดี ใกล้กับชายแดนของเวลส์ มีประชากร 118,925 คนhttp://www.ons.gov.uk/ons/rel/census/census-2001-key-statistics/urban-areas-in-england-and-wales/urban-areas-in-england-and-wales-ks01-usual-resident-population.xls ได้รับสถานะเป็นเมืองในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเชสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์คิน วอร์เบ็ค

อร์คิน วอร์เบ็ค (Perkin Warbeck) (? - (23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1499) เพอร์คิน วอร์เบ็คเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 วอร์เบ็คอ้างตนว่าเป็นริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 (Richard of Shrewsbury, 1st Duke of York) พระราชโอรสองค์รองในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ วอร์เบ็คมาจากตระกูลเฟล็มมิงเกิดที่ตูร์เนราวปี ค.ศ. 1474 “เพอร์คิน วอร์เบ็ค” ของตำนานเดิมอ้างตนว่าเป็นลูกของข้าราชการฝรั่งเศส จอห์น เดอ แวร์เบ็คก์ และ แค็ทเธอริน เดอ ฟาโร เพราะการที่ไม่ทราบชะตากรรมของริชาร์ดแห่งชรูว์สบรีผู้ที่เป็นหนึ่งในเจ้าฟ้าสองพระองค์ทีถูกนำไปจำขังในหอคอยแห่งลอนดอน (นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าริชาร์ดเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1483) การอ้างของวอร์เบ็คจึงมีผู้เชื่ออยู่บ้างแต่จะเชื่อจริงหรือมีความต้องการแอบแฝงที่จะโค่นราชบัลลังก์ของพระเจ้าเฮนรีก็ไม่เป็นที่ทราบ นักประวัติศาสตร์กล่าวว่ากรณีของวอร์เบ็คทำให้พระเจ้าเฮนรีหมดเงินไปกว่า 13,000 ปอนด์ (ราว 6.4 ล้านปอนด์ในปี ค.ศ. 2007) ซึ่งเป็นการดึงพระราชทรัพย์จากท้องพระคลังที่มีปัญหาอยู่แล้ว.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเพอร์คิน วอร์เบ็ค · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์

วสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (Westminster Abbey) เดิมเป็นแอบบีย์ แต่ปัจจุบันเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในนครเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลิซาเบธ วูดวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

อลิซาเบธ วูดวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Elizabeth Woodville) (ราว ค.ศ. 1437 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 1492).

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเอลิซาเบธ วูดวิลล์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชินีแห่งอังกฤษ

อลิซาเบธแห่งยอร์ค สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Elizabeth of York) (11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1466 - 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1503) เอลิซาเบธแห่งยอร์คประสูติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1466 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน เป็นพระธิดาองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษและเอลิซาเบธ วูดวิลล์ พระราชินีเอลิซาเบธแห่งยอร์คทรงเสกสมรสกับพระเจ้าเฮนรีที่ 7 เมื่อปี ค.ศ. 1486 เป็นพระราชินีตั้งแต่ วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1486 จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1503 ที่พระราชวังริชมอนด์ ลอนดอน พระราชินีเอลิซาเบธเป็นพระขนิษฐาของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 แห่งอังกฤษ และพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์ก

ตราประจำตัวเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 เอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 (ภาษาอังกฤษ: Edmund of Langley, 1st Duke of York) (5 มิถุนายน ค.ศ. 1341 ถึง 1 สิงหาคม ค.ศ. 1402 เป็นสมาชิกในราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท เป็นพระโอรสองค์ที่ 4 รองจากจอห์นแห่งกอนท์ ดยุคแห่งแลงคาสเตอร์ที่ 1 (เป็นต้นราชสกุลแลงคาสเตอร์) ของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษและพระราชินีฟิลลิปปาแห่งเอโนลต์ ชื่อ “แลงลีย์” มาจากชื่อเมืองที่เกิด “คิงส์ แลงลีย์” ในมลฑลฮาร์ดฟอร์ดเชอร์ เมื่อเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์มีอายุได้ 21 ปีก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็น เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ และเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1385 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นดยุคแห่งยอร์ค เอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์เป็นต้นราชสกุลยอร์ค จนเมื่อริชาร์ดแห่งโคนิสเบิร์ก เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ลูกชายคนเล็กของเอ็ดมันด์แต่งงาน ผู้สนับสนุนราชสกุลยอร์ค จึงเริ่มอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ในสงครามดอกกุหลาบ ผู้สิบเชื้อสายจากเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์รวมทั้ง.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ท เอิร์ลแห่งวอริคที่ 17

อ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ท เอิร์ลแห่งวอริคที่ 17 (Edward Plantagenet, 17th Earl of Warwick) (25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1475 - 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1499) เอ็ดเวิร์ดเป็นบุตรของจอร์จ แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 และอิสซาเบลลา แพลนทาเจเน็ท ดัชเชสแห่งแคลเรนซ์ และเป็นผู้อาจจะมีสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษทั้งในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 และ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเอ็ดเวิร์ด แพลนทาเจเน็ท เอิร์ลแห่งวอริคที่ 17 · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ

อ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ หรือ เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ หรือที่รู้จักกันในพระนาม เอ็ดเวิร์ดแห่งวูดสต็อค (Edward, the Black Prince หรือ Edward of Woodstock) (15 มิถุนายน ค.ศ. 1330 - 8 มิถุนายน ค.ศ. 1376) เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำเป็นพระราชวงศ์อังกฤษผู้มีบทบาทในการต่อสู้กับราชอาณาจักรฝรั่งเศสในสงครามร้อยปี เอ็ดเวิร์ดประสูติเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1330 เป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ และพระราชินีฟิลลิปปา และเป็นพระบิดาของสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ เอ็ดเวิร์ดทรงเป็นผู้นำทางการทหารผู้มีความสามารถและทรงเป็นผู้ที่เป็นที่นิยมขณะที่ยังทรงมีชีวิตอยู่ เอ็ดเวิร์ดสิ้นพระชนม์เพียงปีเดียวก่อนที่พระราชบิดาจะเสด็จสวรรคต ทรงเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์องค์แรกที่ไม่ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ราชบัลลังก์จึงตกไปเป็นของริชาร์ด พระโอรสองค์โตของพระองค์เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 เสด็จสวรรคต.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์

อ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์ หรือ เอ็ดเวิร์ดแห่งแลงคาสเตอร์ (Edward of Westminster, Prince of Wales หรือ Edward of Lancaster) (13 ตุลาคม ค.ศ. 1453 - 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1471) เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เอ็ดเวิร์ดประสูติที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอนเป็นพระราชโอรสองค์เดียวในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 และพระราชินีมาร์กาเร็ต เอ็ดเวิร์ดทรงถูกสังหารในยุทธการทูคสบรี (Battle of Tewkesbury) ซึ่งทำให้ทรงเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์พระองค์เดียวที่สิ้นพระชนม์ในสนามรบ เมื่อประสูติบ้านเมืองอยู่ในระหว่างความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าเฮนรีพระราชบิดาและริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์โดยและท้าทายความมีสมรรถภาพในการปกครองบ้านเมืองของพระองค์ พระเจ้าเฮนรีประชวรด้วยพระโรคทางพระสติ นอกจากนั้นก็มีข่าวลือกันโดยทั่วไปว่าพระองค์ทรงเป็นผลจากความสัมพันธ์ระหว่างพระราชมารดากับผู้สนับสนุนคนหนึ่ง ทั้งเอ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1และเจมส์ บัตเลอร์ เอิร์ลแห่งออร์มอนด์ที่ 5 ต่างก็ถูกสงสัยว่าเป็นพ่อของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่แน่นอนที่สนับสนุนข่าวลือที่ว่าแต่พระเจ้าเฮนรีเองไม่ทรงมีความสงสัยในตัวพระโอรสและทรงประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นพระบิดาของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ที่พระราชวังวินด์เซอร์ในปีค.ศ. 1454 ในปีค.ศ. 1460 พระเจ้าเฮนรีทรงถูกจับได้โดยผู้สนับสนุนดยุคแห่งยอร์คในยุทธการนอร์ทแธมตันและทรงถูกนำตัวไปลอนดอน ดยุคแห่งยอร์คได้รับการแนะนำมิให้ตั้งตัวเป็นพระเจ้าแผ่นดินทันทีแต่ได้ชักชวนให้รัฐสภาผ่านพระราชบัญญัติสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ (Act of Accord) ที่ระบุให้พระเจ้าเฮนรียังคงทรงราชย์ต่อไปแต่ยกเลิกสิทธิในการขึ้นครองราชย์ของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดพระราชโอรส เพื่อเปิดโอกาสให้ฝ่ายยอร์คหรือผู้สืบเชื้อสายของยอร์คขึ้นครองราชย์ในกรณีที่พระเจ้าเฮนรีเสด็จสวรรคต.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี สแตฟฟอร์ด ดยุกที่ 2 แห่งบักกิงแฮม

นรี สตาฟฟอร์ด ดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 2 (Henry Stafford, 2nd Duke of Buckingham) (4 กันยายน ค.ศ. 1455 - 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1483) เฮนรี สตาฟฟอร์ดเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อความรุ่งเรืองและการตกอับของสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 และหนึ่งในผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนในการหายสาบสูญ (หรือฆาตกรรม) ของเจ้าชายแห่งหอคอย ดยุคแห่งบัคคิงแฮมมีความสัมพันธ์กับพระราชวงศ์อังกฤษหลายทาง แต่โอกาสที่จะมีสิทธิในราชบัลลังก์ออกจะเป็นเรื่องที่ไกลจากความเป็นจริง แต่เมื่อฝ่ายยอร์คและแลงคาสเตอร์ผู้สืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 มีความขัดแย้งกัน โอกาสของบัคคิงแฮมก็ดูเหมือนจะเป็นไปได้ นักประวัติศาสตร์อ้างว่าบัคคิงแฮมจงใจวางแผนที่จะยึดบัลลังก์มาตั้งแต่ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และเกือบจะประสบความสำเร็จถ้าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปตามแผน ฮัมฟรีย์ สตาฟฟอร์ด เอิร์ลแห่งสตาฟฟอร์ดบิดาของเฮนรีสนับสนุนฝ่ายแลงคาสเตอร์ในยุคแรกของสงครามดอกกุหลาบ และมาเสียชีวิตจากการได้รับบาดเจ็บในยุทธการเซนต์อัลบันส์ครั้งที่ 1 แต่เฮนรีสนับสนุนฝ่ายยอร.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเฮนรี สแตฟฟอร์ด ดยุกที่ 2 แห่งบักกิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี โบฟอร์ต ดยุกที่ 3 แห่งซัมเมอร์เซต

นรี โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 3 (Henry Beaufort, 3rd Duke of Somerset) (26 มกราคม ค.ศ. 1436 - 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1464) เฮนรี โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทเป็นขุนนางชาวอังกฤษที่มีบทบาทสำคัญในฐานะแม่ทัพฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ในสงครามดอกกุหลาบ เฮนรี โบฟอร์ทเป็นบุตรของเอ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 2 และเอเลเนอร์ โบแชมพ์บุตรีของริชาร์ด โบแชมพ์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 13 ที่ทำให้เฮนรีเป็นลูกพี่ลูกน้องของเลดี้ มาร์กาเร็ต โบฟอร์ด (Lady Margaret Beaufort) และริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 และเป็นลุงของเฮนรี สตาฟฟอร์ด ดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 2 (Henry Stafford, 2nd Duke of Buckingham) เฮนรี โบฟอร์ทถูกประหารชีวิตในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเฮนรี โบฟอร์ต ดยุกที่ 3 แห่งซัมเมอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี เพอร์ซีย์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ที่ 2

นรี เพอร์ซีย์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ที่ 2 (Henry Percy, 2nd Earl of Northumberland) (3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1392 - 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1455) เฮนรี เพอร์ซีย์เป็นขุนนางชาวอังกฤษที่เป็นบุตรของเฮนรี “ฮอทเสปอร์” เพอร์ซีย์และเอลิสซาเบธ เดอ มอร์ติเมอร์ (Elizabeth de Mortimer) บุตรีของเอ็ดมันด์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลแห่งมาร์ชที่ 3 (Edmund Mortimer, 3rd Earl of March) และ ฟิลลิปปา แพลนทาเจเน็ท เคานเทสแห่งอัลสเตอร์ที่ 5 เฮนรี เพอร์ซีย์ได้รับการฟื้นฟูกลับมาในราชสำนักในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเฮนรี เพอร์ซีย์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี เพอร์ซีย์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ที่ 3

นรี เพอร์ซีย์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ที่ 3 (Henry Percy, 3rd Earl of Northumberland) (25 กรกฎาคม ค.ศ. 1421 - 29 มีนาคม ค.ศ. 1461) เฮนรี เพอร์ซีย์เป็นขุนนางชาวอังกฤษที่เป็นบุตรของเฮนรี เพอร์ซีย์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ที่ 2และเอเลเนอร์ เพอร์ซีย์ เคานเตสแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์บุตรีของราล์ฟ เนวิลล์ เอิร์ลแห่งเวสต์มอร์แลนด์ที่ 1 (Ralph Neville, 1st Earl of Westmorland) กับภรรยาคนที่สองโจน โบฟอร์ท ผู้เป็นพี่น้องกับริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 5 และซิซิลิ เนวิลล์ผู้เป็นพระมารดาของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 เฮนรี เพอร์ซีย์จึงเป็นญาติสนิทกับทางฝ่ายราชวงศ์ยอร.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเฮนรี เพอร์ซีย์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายแห่งเวลส์

้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Wales; Tywysog Cymru) เป็นพระอิสริยยศขององค์รัชทายาทแห่งพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรในขณะนั้น ราชประเพณีที่มกุฏราชกุมารของราชบัลลังก์อังกฤษจะได้รับพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 อย่างไรก็ดีการไม่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงอิสริยยศนี้ไม่มีผลใดๆต่อสิทธิของผู้ที่จะสืบทอดราชบัลลังก์ บุคคลแรกที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์คือ พระเจ้าละเวลินมหาราช (Llywelyn the Great) ผู้ดำรงพระอิสริยยศนี้ในปัจจุบันคือ เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวล.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเจ้าชายแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายในหอคอย

“เจ้าชายสองพระองค์เอ็ดเวิร์ดและริชาร์ดในหอคอยในปี ค.ศ. 1483” โดยจอห์น เอเวอเรทท์ มิเลย์ (ค.ศ. 1878) เจ้าชายแห่งหอคอย (Princes in the Tower) คือเจ้าฟ้าสองพระองค์ -- เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด (4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1470 - ค.ศ. 1483?) และพระอนุชาริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 (17 สิงหาคม ค.ศ. 1473 - ค.ศ. 1483?)-- ผู้เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ และ พระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ถูกประกาศว่าเป็นพระราชโอรสนอกสมรสตามพระราชบัญญัติของรัฐสภาที่ออกในปี..

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเจ้าชายในหอคอย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าผู้อารักขา

้าผู้อารักขา (Lord Protector) เป็นตำแหน่งเฉพาะที่ใช้ในอังกฤษในฐานะผู้นำของประเทศซึ่งใช้ได้สองความหมายในช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สองสมั.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเจ้าผู้อารักขา · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซซิลี เนวิลล์ ดัชเชสแห่งยอร์ก

ซิซิลิ เนวิลล์ ดัชเชสแห่งยอร์ค (ภาษาอังกฤษ: Cecily Neville, Duchess of York) (3 พฤษภาคม ค.ศ. 1415 - 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1495) ซิซิลิ เนวิลล์เป็นบุตรีของราล์ฟ เนวิลล์ เอิร์ลแห่งเวสต์มอร์แลนด์และโจน โบฟอร์ท เคานเทสแห่งเวสต์มอร์แลนด์ เป็นภรรยาของริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุกแห่งยอร์คที่ 3 ผู้พยายามอ้างสิทธิในการครองราชบัลลังก์อังกฤษแต่ไม่สำเร็จ ซิซิลิเป็นพระราชชนนีของกษัตริย์อังกฤษสองพระองค์สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4และสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ซิซิลิได้รับการขนานนามว่า “กุหลาบแห่งเรบี” เพราะเกิดที่ปราสาทเรบีในเดอแรม และ “ซิสผู้ยโส” เพราะความทรนงและความเป็นผู้มีอารมณ์ ตามประวัติศาสตร์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่เคร่งครัดทางศาสนา ซิซิลิเซ็นต์ชื่อว่า “Cecylle”.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและเซซิลี เนวิลล์ ดัชเชสแห่งยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

1 สิงหาคม

วันที่ 1 สิงหาคม เป็นวันที่ 213 ของปี (วันที่ 214 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 152 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและ1 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

13 มิถุนายน

วันที่ 13 มิถุนายน เป็นวันที่ 164 ของปี (วันที่ 165 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 201 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและ13 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

14 พฤษภาคม

วันที่ 14 พฤษภาคม เป็นวันที่ 134 ของปี (วันที่ 135 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 231 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและ14 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

22 พฤษภาคม

วันที่ 22 พฤษภาคม เป็นวันที่ 142 ของปี (วันที่ 143 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 223 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและ22 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

22 มิถุนายน

วันที่ 22 มิถุนายน เป็นวันที่ 173 ของปี (วันที่ 174 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 192 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและ22 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

22 สิงหาคม

วันที่ 22 สิงหาคม เป็นวันที่ 234 ของปี (วันที่ 235 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 131 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและ22 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

25 มีนาคม

วันที่ 25 มีนาคม เป็นวันที่ 84 ของปี (วันที่ 85 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 281 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและ25 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

28 เมษายน

วันที่ 28 เมษายน เป็นวันที่ 118 ของปี (วันที่ 119 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 247 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและ28 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

4 พฤษภาคม

วันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันที่ 124 ของปี (วันที่ 125 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 241 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและ4 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

6 กรกฎาคม

วันที่ 6 กรกฎาคม เป็นวันที่ 187 ของปี (วันที่ 188 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 178 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามดอกกุหลาบและ6 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

War of the RosesWars of the Rosesสงครามแห่งดอกกุหลาบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »