โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กำแพงป้องกัน

ดัชนี กำแพงป้องกัน

วนหนึ่งของกำแพงเมืองจีน กำแพงป้องกัน (Defensive wall) คือระบบป้อมปราการที่ใช้ในการป้องกันเมืองหรือชุมชนจากผู้รุกราน ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงสมัยปัจจุบันการสร้างกำแพงป้องกันมักจะสร้างล้อมรอบบริเวณชุมชนที่อยู่อาศัย โดยทั่วไปแล้วก็จะเรียกว่า กำแพงเมือง แต่ก็มีกำแพงที่ไม่ล้อมเมืองแต่จะยืดยาวเลยออกไปจากตัวเมืองเป็นอันมากที่ก็ยังถือว่าเป็นกำแพงป้องกัน เช่นกำแพงเมืองจีน, กำแพงเฮเดรียน หรือ กำแพงแห่งแอตแลนติก กำแพงเหล่านี้ใช้ในการป้องกันภูมิภาคหรือบ่งเขตแดนของอาณาจักร นอกจากวัตถุประสงค์โดยตรงในใช้ในการป้องกันจากข้าศึกศัตรูแล้วกำแพงป้องกันยังเป็นสัญลักษณ์ของฐานะและความเป็นอิสระของหมู่ชน หรือ เมือง หรือ ภูมิภาค ภายในกำแพงที่ล้อมเอาไว้ กำแพงป้องกันที่ยังคงเหลืออยู่มักจะเป็นกำแพงที่สร้างด้วยหิน และก็มีกำแพงที่สร้างด้วยอิฐ และ ไม้ที่ยังคงมีเหลืออยู่ให้เห็น การสร้างกำแพงก็ขึ้นอยู่กับภูมิลักษณ์ (topography) ของที่ตั้งและองค์ประกอบของพื้นที่ เช่นบริเวณริมฝั่งทะเล หรือ แม่น้ำ ซึ่งอาจจะเป็นองค์ประกอบที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันที่ผสานไปกับหรือเสริมกำแพงป้องกันได้อย่ามีประสิทธิภาพ กำแพงอาจจะเข้าออกได้โดยการใช้ประตูเมืองที่มักจะเสริมด้วยหอ ในยุคกลางสิทธิของผู้ตั้งถิ่นฐานในการสร้างกำแพงป้องกันเป็นอภิสิทธิ์ที่มักจะต้องได้รับจากประมุขของราชอาณาจักรที่เรียกว่า “สิทธิในการสร้างกำแพงป้องกัน” (Right of crenellation) การสร้างกำแพงป้องกันวิวัฒนาการมาเป็นกำแพงอันใหญ่โต และมาพัฒนากันอย่างจริงจังในสมัยสงครามครูเสด และต่อมาในยุคของความรุ่งเรืองของนครรัฐในยุโรป.

6 ความสัมพันธ์: กำแพงฮาดริอานุสกำแพงแห่งแอตแลนติกกำแพงเมืองจีนสงครามครูเสดอาณาจักรป้อมสนาม

กำแพงฮาดริอานุส

กำแพงฮาดริอานุส (Hadrian’s Wall; Vallum Aelium (the Aelian wall)) “กำแพงฮาดริอานุส” เป็นกำแพงหินบางส่วนและกำแพงหญ้าบางส่วนที่สร้างโดยจักรวรรดิโรมันขวางตลอดแนวตอนเหนือของเกาะอังกฤษใต้แนวพรมแดนอังกฤษและสกอตแลนด์ในปัจจุบัน การก่อสร้างกำแพงเริ่มขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิฮาดริอานุสในปี ค.ศ. 122 “กำแพงฮาดริอานุส” เป็นหนึ่งในสามแนวป้องกันการรุกรานอาณานิคมบริเตนของโรมัน แนวแรกเป็นแนวตั้งแต่แม่น้ำไคลด์ไปจนถึงแม่น้ำฟอร์ธที่สร้างในสมัยจักรพรรดิอากริโคลา และแนวสุดท้ายคือกำแพงอันโตนิน (Antonine Wall) แนวกำแพงทั้งสามสร้างขึ้นเพื่อ ในบรรดากำแพงสามกำแพงฮาดริอานุสเป็นกำแพงที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดเพราะยังคงทิ้งร่องรอยไว้ให้เห็นกันในปัจจุบัน กำแพงฮาดริอานุสเป็น “กำแพงโรมัน” (limes) ของเขตแดนทางเหนือของบริเตนและเป็นกำแพงที่สร้างเสริมอย่างแข็งแรงที่สุดในจักรวรรดิ นอกจากจะใช้ในการป้องกันศัตรูแล้วประตูกำแพงก็ยังใช้เป็นด่านศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีสินค้าด้วย กำแพงบางส่วนยังคงเหลือให้เห็นกันในปัจจุบันโดยเฉพาะส่วนกลาง และตัวกำแพงสามารถเดินตามได้ตลอดแนวซึ่งทำให้เป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่นิยมกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของทางตอนเหนือของอังกฤษ กำแพงนี้บางครั้งก็เรียกกันง่ายๆ ว่า “กำแพงโรมัน” กำแพงฮาดริอานุสได้รับฐานะเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี ค.ศ. 1987 องค์การอนุรักษ์มรดกอังกฤษ (English Heritage) ซึ่งเป็นองค์การราชการในการบริหารสิ่งแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของอังกฤษบรรยายกำแพงฮาดริอานุสว่าเป็น “อนุสาวรีย์ที่สำคัญที่สุดที่สร้างโดยโรมันในบริเตน”.

ใหม่!!: กำแพงป้องกันและกำแพงฮาดริอานุส · ดูเพิ่มเติม »

กำแพงแห่งแอตแลนติก

กำแพงแห่งแอตแลนติก (Atlantikwall) เป็นระบบการป้องกันชายฝั่งทะเลที่กว้างขวางและป้อมปราการที่ถูกสร้างขึ้นโดยนาซีเยอรมนี..

ใหม่!!: กำแพงป้องกันและกำแพงแห่งแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

กำแพงเมืองจีน

ราชวงศ์ฉิน กำแพงเมืองจีน ("ฉางเฉิง", Great Wall of China) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัย ราชวงศ์ฉิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจาก ชาวฮัน หรือ ซฺยงหนู คำว่า ซฺยงหนู บางทีก็สะกดว่า ซุงหนู หรือ ซวงหนู ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับอารยธรรมจีนในยุคต้นๆ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว (ราว 400 ปีก่อนคริสตกาล) เนื่องจากจะเข้ามารุกรานจีนตามแนวชายแดนทางเหนือ ในสมัยราชวงค์ฉิน ได้สั่งให้สร้างกำแพงหมื่นลี้ตามชายแดน เพื่อป้องกันพวกซยงหนูเข้ามารุกรานและพวกเติร์กจากทางเหนือ หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ ("ว่านหลี่ฉางเฉิง") สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ประกาศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ว่านักโบราณคดีได้ตรวจวัดความยาวของสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือ "กำแพงเมืองจีน" อย่างเป็นทางการนานร่วม 5 ปี ตั้งแต่ 2008-2012 และพบว่ายาวกว่าที่บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,196.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,850 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศ และนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ยุคกลาง ด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้.

ใหม่!!: กำแพงป้องกันและกำแพงเมืองจีน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

ใหม่!!: กำแพงป้องกันและสงครามครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักร

อาณาจักร (kingdom; dominion) หมายถึง เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของประเทศหนึ่ง อาจจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: กำแพงป้องกันและอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมสนาม

กำแพงเมืองจีน ที่มีหอสังเกตการณ์ประเป็นระยะๆ เป็น “ระบบป้อมปราการ” ชนิดหนึ่ง ป้อมสนาม (Fortification) คือสิ่งก่อสร้างทางยุทธศาสตร์หรือตึกที่ออกแบบเพื่อการป้องกันตนเองในยามสงครามหรือใช้เป็นที่มั่น การสร้างระบบป้อมปราการเป็นการก่อสร้างที่เริ่มทำกันมาเป็นเวลาหลายพันปีในรูปแบบที่เริ่มตั้งแต่เพียงโครงสร้างง่ายๆ มาจนเป็นระบบที่สลับซับซ้อน เช่นในการสร้างป้อมดาวในยุคกลาง ในภาษาอังกฤษ “Fortification” แผลงมาจากภาษาลาติน “Fortis” ที่แปลว่า “แข็งแรง” และคำว่า “Facere” ที่แปลว่า “สร้าง”.

ใหม่!!: กำแพงป้องกันและป้อมสนาม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

City wallCity wallsDefensive wallDefensive wallsFortified cityFortified townFortified wallTown wallWalled cityWalled townWalled villageกำแพงเมืองเมืองล้อมด้วยกำแพง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »