โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซัมเมอร์รักจากต่างดาว

ดัชนี ซัมเมอร์รักจากต่างดาว

ซัมเมอร์รักจากต่างดาว ("ในหน้าร้อนนั้นฉันจะรอเธอ") เป็นอะนิเมะโทรทัศน์ซึ่งทะสึยุกิ นะไง (Tatsuyuki Nagai) กำกับ โยซุเกะ คุโระดะ (Yōsuke Kuroda) เขียนเรื่อง ทะระกุ อุอง (Taraku Uon) ออกแบบตัวละครต้นฉบับ บริษัทเจซีสตาฟ (J.C. Staff) ผลิต และบริษัทเจ็นโกะ (Genco) กับบริษัทเจเนียน (Geneon) อำนวยการผลิต ฉายในประเทศญี่ปุ่นทางทีวีไอชิ (TV Aichi) และ เคบีเอส (KBS) ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2555 ต่อมา บริษัทเซ็นไตฟิล์มเวิกส์ (Sentai Filmworks) ได้รับอนุญาตให้นำไปเผยแพร่ในทวีปอเมริกาเหนือ และเพะปะโกะ โดะกุตะ (Pepako Dokuta) ดัดแปลงเป็นมังงะลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร เด็งเงะกิไดโอ (Dengeki Daioh) ของสำนักพิมพ์แอสกีมีเดียเวิกส์ (ASCII Media Works) ตั้งแต่ฉบับเดือนมีนาคม 2555 อะนิเมะนี้มีแนวตลกและวีรคติเป็นหลัก เนื้อหาว่าด้วยชายหนุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายคนหนึ่งซึ่งพบรักกับหญิงสาวมนุษย์ต่างดาวผู้เดินทางมายังโลกเพื่อตามหาสถานที่ที่ปรากฏบ่อยครั้งในจินตภาพของเธอ แต่เมื่อทั้งคู่ฟันฝ่าสถานการณ์ต่าง ๆ จนกล้าเปิดเผยความในใจต่อกันและครองรักกันได้ชั่วระยะหนึ่งแล้ว หญิงสาวถูกจับกุมกลับไปดาวบ้านเกิดเพราะฝ่าฝืนกฎหมายต่างดาวที่ห้ามติดต่อกับมนุษย์โลก แม้ทั้งคู่จะได้ต่อสู้และผู้คนรอบข้างจะได้ช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง แต่ก็มิสำเร็จ ทั้งสองต้องจำนนต่อเหตุการณ์และยอมถูกพรากจากกัน กระนั้น ภายหลังก็ได้กลับมาพบกันอีก นอกจากนี้ เรื่องยังว่าด้วยตัวละครอื่น ๆ ซึ่งหลงรักกันสลับไปมา เป็นโศกนาฏกรรมรักทำนองรักสามเส้.

25 ความสัมพันธ์: ชายชุดดำพลีสทีชเชอร์ สอนนักรักซะพาสตามังงะยุกะริ ทะมุระยูอิ โฮริเอะรักสามเส้าวิชวลโนเวลวีรคติสาวหูแมวสาวแว่นอะยะ ฮิซะกะวะอะนิเมะฮอลลีวูดฮะรุกะ โทะมะสึจอร์จ ลูคัสทวินเทลดอกไม้ มิตรภาพ และความทรงจำคีย์ (บริษัท)ตลกนาฏกรรมแคลนนาด (วิชวลโนเวล)โชเน็งโอกินาวะเมแทบอลิซึม

ชายชุดดำ

ำ หรือ บุรุษชุดดำ (Men in Black, ย่อว่า MIB) เป็นกลุ่มบุรุษในวัฒนธรรมร่วมสมัยของอเมริกันและตามทฤษฎีสมคบคิดเรื่องจานบิน ซึ่งสวมชุดสูทสีดำ และมักเป็นเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันมิให้ผู้ได้ประสบพบเจอจานบินหรือมนุษย์ต่างดาวแพร่งพรายเรื่องเหล่านั้นออกไป และบางทีก็เชื่อว่า บุรุษชุดดำนั้นเป็นมนุษย์ต่างดาวเสียเอง คำนี้ยังมักใช้หมายถึงสมาชิกอั้งยี่หรือสำนักราชการบ้านเมืองซึ่งเชื่อกันว่าทำหน้าที่ป้องกันมิให้ความลับบางประการแพร่หลายหรือเพื่อดำเนินกิจกรรมลึกลับบางอย่าง ในความหมายทั่วไป คำนี้ใช้หมายถึงบุคคลที่มีพฤติกรรมประหลาดหรือมีอิทธิพลและมักปรากฏตัวในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับจานบิน.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและชายชุดดำ · ดูเพิ่มเติม »

พลีสทีชเชอร์ สอนนักรักซะ

ลีสทีชเชอร์ สอนนักรักซะ (Please Teacher!) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวโรแมนติกคอเมดี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กนักเรียนมัธยมปลายคนหนึ่งที่ถูกสถานการณ์บังคับให้แต่งงานกับครูประจำชั้น ซึ่งความจริงแล้วเป็นมนุษย์ต่างดาวที่ถูกส่งมาสำรวจโลก บริษัทโดมุเป็นผู้สร้าง พลีสทีชเชอร์ สอนนักรักซะ ในรูปแบบภาพยนตร์การ์ตูนชุดความยาว 12 ตอน และนำออกแพร่ภาพเป็นครั้งแรกทางสถานี WOWOW ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 28 มีนาคม ของปีเดียวกัน นอกจากนี้ยังสร้างโอวีเอ ซึ่งมีเนื้อหาเป็นตอนที่ 13 ของภาคภาพยนตร์การ์ตูนชุด ออกจำหน่ายในวันที่ 25 สิงหาคม 2545 พลีสทีชเชอร์ สอนนักรักซะยังถูกดัดแปลงเป็นมังงะลงตีพิมพ์ในนิตยสารเด็งเกคิไดโอรายเดือน โดยมี ชิซุรุ ฮายาชิยะ เป็นผู้วาดภาพ ในประเทศไทย พลีสทีชเชอร์ สอนนักรักซะ ได้ลิขสิทธิ์จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Negibose และออกวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีและดีวีดีลิขสิทธิ์ โดยบริษัท i-Berry.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและพลีสทีชเชอร์ สอนนักรักซะ · ดูเพิ่มเติม »

พาสตา

ตา (pasta) คือชื่อเรียกโดยรวมของอาหารอิตาลีประกอบด้วยเส้นที่ทำจากแป้งสาลี น้ำ ไข่ เกลือ และ น้ำมันมะกอก จากนั้นจึงนำมารีดเป็นแผ่นและตัดเป็นเส้น ทำให้สุกโดยการต้ม รับประทานกับซอสหลากหลายประเภท ที่มักมีส่วนประกอบหลักคือ น้ำมันมะกอก ผัก เครื่องเทศ และเนยแข็ง เส้นพาสตาเป็นชื่อเรียกโดยรวมของเส้นหลากหลายประเภท ในสมัยก่อนพาสตานั้นเป็นอาหารที่ชาวอิตาลีทางตอนใต้นิยมรับประทาน ซึ่งนับว่ายากจนกว่าชาวอิตาลีทางตอนเหนือ ซึ่งนิยมรับประทานนมเนย และข้าว ปัจจุบันมีการผลิตเส้นสำเร็จรูปแบบอบแห้งในลักษณะอุตสาหกรรม ถูกใช้แพร่หลายมากกว่าเส้นแบบสดเนื่องจากสะดวกไม่ต้องใช้เวลาและความชำนาญมากในการจัดเตรียม.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและพาสตา · ดูเพิ่มเติม »

มังงะ

หน้าหนึ่งจากหนังสือการ์ตูนเรื่องมาร์มาเลดบอย ฉบับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 1 มังงะ เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียกการ์ตูนช่อง สำหรับภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำนี้ถูกใช้เรียกการ์ตูนช่องที่มาจากญี่ปุ่น มังงะพัฒนามาจากอุคิโยเอะและจิตรกรรมตะวันตก และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มังงะที่ได้รับความนิยมสูงมักถูกนำไปสร้างเป็นอะนิเมะ เนื้อหาของมังงะเหล่านั้นมักถูกดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อการแพร่ภาพทางโทรทัศน์และเพื่อให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทั่วไปมากขึ้น.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและมังงะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุกะริ ทะมุระ

ูคาริ ทามุระ เป็นนักพากย์และนักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ที่เมืองฟุกุโอะกะ จังหวัดฟุกุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่น ทำงานกับบริษัท I'm Enterprise เธอมีชื่อเล่นที่แฟนๆ นิยมเรียกคือ "ยูคาริน".

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและยุกะริ ทะมุระ · ดูเพิ่มเติม »

ยูอิ โฮริเอะ

ูอิ โฮริเอะ เป็นนักพากย์และนักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สังกัดค่าย VIMS (เดิมเคยสังกัด อาตส์วิชัน) มีชื่อเล่นที่แฟนๆ ตั้งให้มากมาย เช่น โฮจจัง (ほっちゃん) โฮจะ (ほちゃ) โฮตซัง (ほっさん) ยูอิจัง (ゆいちゃん) ยูอิตัง (ゆいたん) แต่ชื่อเล่นที่แฟนๆ นิยมเรียกมากที่สุดคือ "โฮจจัง" เธอเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากบท นารุเสะงาวะ นารุ ในเรื่องบ้านพักอลเวง นอกจากงานพากย์แล้ว โฮริเอะยังดำรงตำแหน่งรองประธานแฟนคลับ "คุโระเนโกะโดเม" (「黒ネコ同盟」 สมาคมแมวดำ) ของตนเอง ส่วนในด้านงานเพลง โฮริเอะเคยออกอัลบั้มร่วมกับเพื่อนสนิท ยูคาริ ทามูระ ในนามของ "ยามาโตะนาเดชิโกะ" และเคยเป็นหัวหน้าวง Aice5 (ไอซ์) ด้ว.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและยูอิ โฮริเอะ · ดูเพิ่มเติม »

รักสามเส้า

รักสามเส้า หมายถึงความสัมพันธ์ที่โรแมนติกที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลสามคน เกิดขึ้นจากการมีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องระหว่างความสัมพันธ์ของคนสองคน โดยทั่วไป มีความหมายโดยนัยเกี่ยวกับความไม่สมหวังของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือบุคคลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง อาจมีเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ในสังคมของสามีภรรยาเดียว ความรักสามเส้ามักจะเกิดขึ้นและจบลงด้วยเร็ว เนื่องจากมีกฎหมายและประเพณีเป็นข้อกำหนดสำหรับความรักของบุคคลที่สาม รักสามเส้า นิยมใช้กันมากในโครงเรื่อง ของภาพยนตร์ นิยาย ละคร การ์ตูน หรือ ตามเนื้อเพลงต่าง ๆ ตัวอย่างของกรณีรักสามเส้า คือ นายเอรักนางสาวบี แต่นางสาวบีได้ตกหลุมรักนายซี ทำให้นายเอไม่สามารถทำให้ความรักของตนสมหวังได้ เพราะไม่ได้รักคนที่มามีใจรักในตนเองได้.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและรักสามเส้า · ดูเพิ่มเติม »

วิชวลโนเวล

วิชวลโนเวล เป็นประเภทของวิดีโอเกมที่มีจุดเด่นที่กราฟิก ซึ่งมักจะเป็นภาพแบบการ์ตูนญี่ปุ่น เนื้อหาของเกมเป็นแบบอินเตอแรกทีฟ คือเป็นการดำเนินเรื่องโต้ตอบกับตัวละครต่าง ๆ.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและวิชวลโนเวล · ดูเพิ่มเติม »

วีรคติ

วีรคติ หรือ โรมานซ์ (romance) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและวีรคติ · ดูเพิ่มเติม »

สาวหูแมว

วิกิพีตัง บุคลาธิษฐานของวิกิพีเดีย ก็เป็นสาวหูแมว สาวหูแมว หมายถึง ผู้หญิงที่ใส่ชุดที่เรียกกันว่า ชุดหูแมว ซึ่งประกอบด้วย หูแมว หางแมว และส่วนประกอบอื่น ๆ ของแมวที่นำมาใส่ไว้ในชุด เนะโกะมิมิมักจะพบมากในการ์ตูนญี่ปุ่น ทั้งแบบที่เป็นคอสเพลย์และที่เป็นร่างกายจริง การผสมผสานระหว่างคนกับแมว มีความหมายแฝงคือ แมวเป็นสัตว์ที่ขี้อ้อน ชอบเอาใจเจ้านาย เนะโกะมิมิก็จะมีลักษณะคล้ายกัน ตัวละครที่นอกจากจะพัฒนาเพื่อสนองความต้องการของเหล่าโลลิคอนแล้ว การเพิ่มเนะโกะมิมิเข้าไป ยิ่งเป็นการเพิ่มเอกลักษณ์ และเสน่ห์เข้าไปในตัว ทำให้ตัวละครนั้นเป็นที่จดจำได้ ดิจิการัตเป็นตัวละครตัวหนึ่ง ที่เหล่าโอะตะกุและโลลิคอนชื่นชอบมาก เนะโกะมิมิที่มีชื่อเสียงตัวหนึ่งคือ มาสค็อตของบร็อกโคลิ (Broccoli) บริษัทแอนิเมชันครบวงจร ที่เริ่มต้นจากการเป็นผู้ผลิตซอร์ฟแวร์เกม การ์ดเกม จนกระทั่งพัฒนาเป็นร้านที่ชื่อว่าเกมส์เมอร์ขึ้นมา เริ่มจากย่านการค้าอากิฮาบาระ และเติบโตจนขยายสาขาไปทั่วญี่ปุ่น ทั้งยังไปเปิดสาขาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ตัวละครที่ชื่อ เดจิโกะ เป็นตัวละครจากอะนิเมะเรื่อง ดิจิการัต (Di Gi Charat) ซึ่งออกแบบโดยโคเกะดอนโบะ ดิจิการัตเป็นการผสมผสานระหว่าง โลลิคอน เมด และหูแมวเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นเนะโกะมิมิในที.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและสาวหูแมว · ดูเพิ่มเติม »

สาวแว่น

right สาวแว่น ("glasses girl"; glasses-wearing girl) หมายถึง หญิงสาวที่สวมแว่นตาจนเป็นบุคลิกลักษณะ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อหญิงนั้นน่ารักเหมือนตัวละครในอะนิเมะมังงะ คำนี้เดิมผู้คลั่งอะนิเมะมังงะใช้เรียกตัวละครหญิงสวมแว่น ต่อมาขยายไปหมายถึงหญิงสาวในโลกจริงหรือในอะนิเมะมังงะก็ได้ สาวแว่น ไม่ว่าที่เป็นมนุษย์จริง หรือตัวละคร อาจสวมแว่นเพราะมีปัญหาทางสายตาหรือไม่ก็ได้ ไม่เป็นข้อพิจารณาของคำว่า "สาวแว่น" อนึ่ง ไม่ถือกันด้วยว่า แว่นเป็นวัตถุเร้ากามารมณ์ (fetish) เหมือนอย่างเครื่องแบบนักเรียนของสาวในชุดนักเรียน (seifuku) หรือชุดของสาวใช้ (meido) ในอะนิเมะและมังงะ มักแสดงภาพสาวแว่นว่า เป็นพวกมีโลกส่วนตัวสูง โดยเฉพาะพวกหนอนหนังสือหรือบ้าคอมพิวเตอร์ในเรื่องวัฒนธรรมร่วมสมัย และมักไม่เข้าสังคมในโลกจริง ตัวอย่างของสาวแว่นทำนองนี้ คือ ฮาเซกาว่า จิซาเมะ (Hasegawa Chisame) จากมังงะเรื่อง คุณครูจอมเวท เนกิมะ! (Negima! Magister Negi Magi) ของเค็ง อะกะมะสึ (Ken Akamatsu) นอกจากนี้ ในญี่ปุ่น โดยเฉพาะในวรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่น มักมีทัศนคติโดยทั่วไปว่า สาวแว่นเป็นนักเรียนหญิง มีนิสัยเรียบร้อย มีเสน่ห์ แต่บางครั้งชอบเอาแต่ใจและชอบบงการ สาวแว่นทำนองนี้ปรากฏให้เห็นบ่อยเป็นตัวละครประเภท "หัวหน้าห้อง" (いいんちょう iinchō, อีนโช; class representative) ซึ่งมักเป็นที่เคารพเลื่อมใสของนักเรียนดี และมักถูกนักเรียนเหลวไหล (slacker) ล้อเลียนเสมอ ตัวอย่างเช่น ทาคาระ มิยูกิ (Takara Miyuki) จากมังงะเรื่อง ลัคกี้ สตาร์ (Lucky Star) ของคะงะมิ โยะชิมิซุ (Kagami Yoshimizu) และมิโดริคาวะ เลตัส (Midorikawa Letasu) จากมังงะเรื่อง โตเกียวเหมียวเหมียว (Tokyo Mew Mew) ของเรโกะ โยะชิดะ (Reiko Yoshida) สำหรับผู้ชายที่ใส่แว่นนั้นเรียก "หนุ่มแว่น" (メガネ男子 meganedanshi, เมะงะเนะดันชิ) ส่วนในทางวิชาการ เรียกการเกิดกามารมณ์ต่อบุคคลที่สวมแว่นว่า "การเกิดอารมณ์เพศจากแว่นสายตา" (glasses fetishism)友利昂介著「日本人はなぜ黒ブチ丸メガネなのか」 ごま書房 、2006年ISBN 4-34-101885-X.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและสาวแว่น · ดูเพิ่มเติม »

อะยะ ฮิซะกะวะ

อะยะ ฮิซะกะวะ เกิดวันที่ 12 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและอะยะ ฮิซะกะวะ · ดูเพิ่มเติม »

อะนิเมะ

รูปแบบอะนิเมะในปัจจุบัน อะนิเมะ (「アニメ」 anime) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชั่น (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) และจากภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อะนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะแตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูนจากแหล่งอื่น อะนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอะนิเมะอย่างแพร่หลาย อะนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อะนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อะนิเมะหลายเรื่องถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอะนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้ว.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและอะนิเมะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอลลีวูด

ป้ายฮอลลีวูด ฮอลลีวูด (Hollywood) เป็นชื่อเขตในนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เหมือนกับเป็นถนนหรือเขตหนึ่งเท่านั้น ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันตกถึงตะวันตกเฉียงเหนือของศูนย์กลางนครลอสแอนเจลิส เนื่องจากว่าฮอลลิวูดนั้นมีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์ของโรงถ่ายทำภาพยนตร์ และดาราภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ดังนั้น ชื่อของฮอลลีวูดจึงมักจะถูกเรียกเป็นชื่อแทนของโรงภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทุกวันนี้มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์จำนวนมากที่ได้แพร่กระจายไปรอบๆพื้นที่ของแคลิฟอร์เนียและทางตะวันตกของนครลอสแอนเจลิส แต่อุตสาหรรมภาพยนตร์หลักๆที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ การใส่เทคนิคพิเศษ ผู้สนับสนุน การผลิตขั้นสุดท้าย และบริษัททางด้านแสงประกอบ ยังคงอยู่ในฮอลลีวูด โรงละครสำคัญๆทางประวัติศาสตร์ของฮอลลีวูดหลายแห่งถูกใช้เป็นสถานที่ชุมนุมและเวทีคอนเสิร์ตในงานเปิดตัวสำคัญๆระดับยักษ์ใหญ่ของโลกและยังเป็นเจ้าภาพในการประกาศรางวัลออสการ์หรือที่เรียกกันติดปากว่ารางวัลออสการ์นั่นเอง ฮอลลีวูดเป็นสถานที่ที่คนทั่วโลกต้องการมาเยือนทั้งนักผจญราตรีและนักท่องเที่ยวทั้งหลาย และยังเป็นที่ตั้งของถนน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม (Hollywood Walk of Fame) ที่มีชื่อเสียงอีกด้วย ฮอลลีวูด ค.ศ. 1885 โรงแรมฮอลลีวูด ค.ศ. 1905 ใน ค.ศ. 1853 กระท่อมอิฐหลังเล็กๆหลังหนึ่งได้กลายมาเป็นฮอลลีวูดในทุกวันนี้ ในราวปี ค.ศ. 1870 ชุมชนเกษตรกรรมได้เจริญขึ้นมาในพื้นที่แห่งนี้พร้อมๆกับผลผลิตที่เจริญงอกงามมากในช่วงนั้น ที่มาของชื่อฮอลลีวูด ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดนั้นน่าจะมาจากชื่อของต้น Tyon ท้องถิ่นหรือเรียกกันว่า "แคลิฟอร์เนียฮอลลี่" ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ปกคลุมเนินเขาในสมัยนั้นและยังออกผลเบอร์รี่สีแดงกระจายอยู่ทั่วไปในช่วงหน้าหนาวของทุกปีอีกด้วย จากนั้นความเชื่อนี้และความเชื่อในเรื่องของที่มาของคำว่าฮอลลี่นี้ก็มีคนเชื่อถือมากขึ้นเรื่อยๆแต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริงแต่อย่างใด บ้างก็ว่าชื่อของฮอลลีวูดนี้เป็นชื่อที่ตั้งโดย เอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ บิดาแห่งฮอลลีวูด ซึ่งทั้งเขาและกีกี้ ภรรยาของเขาได้ตั้งชื่อนี้ขึ้นขณะที่มาฮันนีมูนกัน ตามบันทึกของมากาเร็ต เวอร์จิเนีย ไวท์ลี่ย์ บ้างก็ว่ามาจาก ฮาร์วี่ย์ วิลคอกซ์ ที่ได้มาซื้อที่ดินในบริเวณนี้และก็พัฒนาเป็นชุมชุนขึ้นมา โดยดาเออิดา ภรรยาของเขาได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งบนรถไฟที่บอกว่าเธอได้ตั้งชื่อบ้านพักฤดูร้อนที่รัฐโอไฮโอว่า ฮอลลีวูด ดาเออิดาชอบชื่อนี้และก็เอามาตั้งเป็นชื่อของชุมชนที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ คำว่าฮอลลีวูดนี้ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในแผนที่ของวิลคอกซ์สำหรับการแบ่งสรรพื้นที่และปรากฏในเอกสารของบันทึกเขตปกครองของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1887 ตามคำพูดของจอร์แดน แมกซ์เวลล์นั้น ชื่อของฮอลลีวูดนั้นอ้างอิงมาจากไม้กายสิทธิ์ Druidic ซึ่งทั้งไม้กายสิทธิ์และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูดนั้นเป็นเครื่องมือในการจัดการกับคน ราวปี ค.ศ. 1900 คณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า Cahuenga ได้จัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ หนังสือพิมพ์ โรงแรม และตลาดสองแห่งด้วยจำนวนประชากรเพียง 500 คน ซึ่งในขณะนั้น ลอสแอนเจลิสมีประชากรประมาณ 100,000 คนและมีเมืองที่ทอดผ่านสวนผลไม้รถส้มเป็นระยะทางกว่า 7 ไมล์ มีชื่อเส้นทางเดินรถเพียงชื่อเดียวจากใจกลางของ Prospent Avenue ที่พาดผ่านแต่มีการให้บริการไม่บ่อยนักและต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง แต่บ้านสำหรับการบรรจุหีบห่อผลไม้รสส้มในสมัยก่อนนั้นอาจจะกลายเป็นจุดสำคัญที่นำความเจริญและการคมนาคมที่สะดวกสบายขึ้นมาสู่ผู้อยู่อาศัยในย่านฮอลลีวูด โรงแรมฮอลลีวูดอันเป็นโรงแรมใหญ่โรงแรมแรกของฮอลลีวูดที่มีชื่อเสียงนั้น เปิดบริการในปี ค.ศ. 1902 โดยเอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ เพื่อขายเป็นที่พักอาศัยเป็นจำนวนมากท่ามกลางฟาร์มปศุสัตว์ ตั้งอยู่หน้า Prospect Avenue และด้านข้างฝั่งตะวันตกของ Highland Avenue ปี ค.ศ. 1903 ฮอลลีวูดรวมเป็นเทศบาลแห่งหนึ่ง และในปี ค.ศ. 1904 รถบรรทุกวิ่งจากลอสแอนเจลิสมายังฮอลลีวูดคันใหม่ก็เปิดให้ใช้บริการ ระบบนี้เรียกว่า Hollywood Boulevard ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางไป-กลับลอสแอนเจลิสได้อย่างมาก ปี ค.ศ. 1910 มีการพยายามจะรักษาระดับการขายน้ำอย่างพอเพียง ชาวเมืองจึงโหวตให้ฮอลลีวูดผนวกเป็นส่วนหนึ่งของนครลอสแอนเจลิส จึงทำให้ระบบชลประทานเพื่อการพัฒนาเมืองนั้นถูกเปิดเป็น Los Angeles Aqueduct และต่อน้ำทางท่อจากแม่น้ำโอเว่นในหุบเขาโอเว่น นอกจากนั้น การโหวตครั้งนี้ก็ยังมีเหตุผลมาจากกาารต้องการให้ฮอลลิวูดกลายเป็นทางระบายน้ำเสียของนครลอสแอนเจลิสอีกด้วย หลังจากรวมกับนครลอสแอนเจลิสแล้ว ชื่อ Prospect Avenue ก็เปลี่ยนมาเป็น Hollywood Boulevard รวมทั้งหมายเลขถนนในพื้นที่แห่งนี้ เช่น จาก 100 Prospect Avenue ที่ Vermont Avenue กลายเป็น 6400 Hollywood Boulevard และ 100 Cahuenga Boulevard ที่ Hollywood Bouvelard เป็น 1700 Cahuenga Boulevard เป็นต้น.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและฮอลลีวูด · ดูเพิ่มเติม »

ฮะรุกะ โทะมะสึ

รุกะ โทะมะสึ (คันจิ: 戸松 遥) เป็นนักร้อง และ นักพากย์หญิงในประเทศญี่ปุ่น สังกัด Music Ray'n.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและฮะรุกะ โทะมะสึ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ ลูคัส

อร์จ วอลตัน ลูคัส จูเนียร์ (George Walton Lucas, Jr.; เกิด 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1944) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้อำนวยการสร้าง ผู้เขียนบทภาพยนตร์ ชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์ชุดมหากาพย์สตาร์ วอร์ส และอินเดียน่า โจนส์ อีกทั้งเป็นหนึ่งในบรรดาผู้กำกับและผู้ผลิตที่ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจอุตสาหกรรมทางภาพยนตร์ โดยมีผลกำไรสุทธิที่ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี..

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและจอร์จ ลูคัส · ดูเพิ่มเติม »

ทวินเทล

ทวินเทล, ทวินเทลส์, twin tail, twin tails ฯลฯ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและทวินเทล · ดูเพิ่มเติม »

ดอกไม้ มิตรภาพ และความทรงจำ

อกไม้ มิตรภาพ และความทรงจำ ("เราก็ยังไม่รู้สักทีว่าดอกไม้ที่เราเจอในวันนั้นเขาเรียกกันว่าอะไร") หรือเรียกโดยย่อว่า อะโนะฮะนะ ("ดอกไม้เหล่านั้น") เป็นชื่ออะนิเมะโทรทัศน์ชุดหนึ่งซึ่งทะสึยุกิ นะไง (Tatsuyuki Nagai) กำกับ และบริษัทเอวันพิกเชอส์ (A-1 Pictures) ผลิต มีความยาว 11 ตอน ฉายในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน ปีนั้น ต่อมา มิสึ อิซุมิ (Mitsu Izumi) จึงดัดแปลงเป็นมังงะลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร จัมป์สแควร์ (Jump Square) ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ (Shūeisha) ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2555 และบริษัทกายซ์แวร์ (Guyzware) ดัดแปลงเป็นเกมแนววิชวลโนเวลจำหน่ายในกลางปี 2555.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและดอกไม้ มิตรภาพ และความทรงจำ · ดูเพิ่มเติม »

คีย์ (บริษัท)

ีย์ เป็นบริษัทผลิตเกมคอมพิวเตอร์ ประเภทวิชวลโนเวล ก่อตั้งเมื่อ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ภายใต้แบนด์ วิชวลอาร์ท ใน โอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและคีย์ (บริษัท) · ดูเพิ่มเติม »

ตลก

ตลก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและตลก · ดูเพิ่มเติม »

นาฏกรรม

นาฏกรรม (drama) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่เน้นในด้านการแสดง คำว่า "drama" มาจากคำในภาษากรีกว่า "δράμα" แปลว่า "การกระทำ".

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

แคลนนาด (วิชวลโนเวล)

แคลนนาด (Clannad) เป็นชื่อเกมประเภทวิชวลโนเวล (visual novel) ซึ่งบริษัทคีย์ (Key) ผลิตขึ้นและเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2547 สำหรับเล่นบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการของวินโดวส์ ต่อมาจึงพัฒนาให้เล่นกับเพลย์สเตชัน 2, เพลย์สเตชันแบบพกพา, เอกซ์บอกซ์ 360 และเพลย์สเตชัน 3 ได้ด้วย เกมนี้เป็นผลงานลำดับที่สามของคีย์ถัดจาก แอร์ (Air) และ แคนอน (Kanon) ตามลำดับ แต่ต่างกันตรงที่เกมทั้งสองนั้นเมื่อแรกประกอบไปด้วยเนื้อหาลามกอนาจารมุ่งเร้ากำหนัดเป็นสำคัญ ต่อภายหลังจึงทำฉบับที่ปราศจากสื่อดังกล่าววางจำหน่ายในตลาดผู้เยาว์ ขณะที่เกมนี้ไม่มีเนื้อหาทำนองเช่นว่ามาแต่ต้น และได้รับการจัดประเภทว่าเหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ดี ภายหลังได้ออกตอนพิเศษของเกมนี้โดยมีเนื้อหาเร้ากามารมณ์ ชื่อ โทะโมะโยะอาฟเตอร์: อิตส์อะวันเดอร์ฟูลไลฟ์ (Tomoyo After: It's a Wonderful Life) เกมนี้ว่าด้วยชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งต้องพบปะกับผู้คนมากหน้าหลายตาตั้งแต่เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปจนถึงเติบใหญ่ทำมาหาเลี้ยงชีพ และต้องช่วยเหลือคนเหล่านั้นแก้ไขปัญหาเป็นรายไป เนื้อหาแบ่งเป็นสององก์ต่อเนื่องกัน องก์แรกเรียก "ชีวิตวัยเรียน" (School Life) และองก์ที่สองเรียก "เรื่องราวให้หลัง" (After Story) แรกจำหน่าย ฉบับเล่นบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นขายดีเป็นอันดับหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ในเวลาต่อมาก็ติดอันดับเกมห้าสิบเกมที่ขายดีที่สุดในประเทศอีกหลายครั้ง เกมนี้ได้รับการดัดแปลงเป็นสื่ออื่น ๆ อีกจำนวนมาก ได้แก่ มังงะสี่ชุด ชุดแรกลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร คอมิกรัช (Comic Rush) ชุดสองลง คอมิกดิจิ + (Comi Digi +) ชุดสามลง เด็งเงะกิจีส์แมกาซีน (Dengeki G's Magazine) และชุดสี่ลง แดรก็อนเอจเพียวร์ (Dragon Age Pure) นอกจากนี้ ยังมีประชุมการ์ตูน ไลท์โนเวล สมุดภาพ ละครเสียง และอัลบัมเพลงอีกหลายชุด ต่อมาบริษัทโทเอแอนิเมชัน (Toei Animation) ดัดแปลงเป็นอะนิเมะโรง เข้าฉาย ณ วันที่ 15 กันยายน 2550 เป็นวันแรก และบริษัทเกียวโตแอนิเมชัน (Kyoto Animation) ดัดแปลงเป็นอะนิเมะโทรทัศน์จำนวนสองฤดูกาล สี่สิบเจ็ดตอน กับโอวีเอ (original video animation) อีกสองตอน เผยแพร่ในระหว่างปี 2550 ถึง 2553 ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันมากทั้งในประเทศและต่างประเท.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและแคลนนาด (วิชวลโนเวล) · ดูเพิ่มเติม »

โชเน็ง

น็น แปลว่า "หนุ่มน้อย" ซึ่งหมายถึงผู้ชายอายุไม่เกิน 18 ปี ภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำว่าโชเน็งถูกใช้เป็นคำเรียกการ์ตูนญี่ปุ่นที่มีเด็กวัยรุ่นชายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ตัวอย่างการ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็งที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เซนต์เซย์ย่า ดราก้อนบอล ชาแมนคิง วันพีซ กินทามะ นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ และ มุซาชิ การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการต่อสู้ (ไม่ว่าจะเป็นการรบราฆ่าฟันหรือการต่อสู้ในสนามกีฬา) และมักมีการแทรกมุขตลกเพื่อไม่ให้เรื่องหนักเกินไป ตัวละครหลักโดยมากเป็นผู้ชาย และมิตรภาพระหว่างตัวละครชายมักเป็นจุดสำคัญของเรื่อง ตัวละครหญิงในเรื่องส่วนมากจะมีหน้าตาและรูปร่างสวยงามเกินความเป็นจริง สไตล์ในการวาดภาพของการ์ตูนแนวโชเน็งจะไม่หวานแหววและละเอียดอ่อนเหมือนกับการ์ตูนแนวโชโจ การ์ตูนแนวโชเน็งหลายๆ เรื่องมีกลุ่มผู้ติดตามหญิงที่นำเนื้อเรื่องและตัวละครในเรื่องไปเขียนโดจินชิและแฟนฟิกชั่นแนวยาโออิและโชตะคอน.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและโชเน็ง · ดูเพิ่มเติม »

โอกินาวะ

อกินาวะ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและโอกินาวะ · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: ซัมเมอร์รักจากต่างดาวและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ano Natsu de MatteruWaiting in the Summerอะโนะนะสึเดะมัตเตะรุ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »