โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

Streaming SIMD Extensions

ดัชนี Streaming SIMD Extensions

Streaming SIMD Extensions (SSE) หรือชื่อเดิมคือ Intel Streaming SIMD Extensions (ISSE) เป็นชุดของคำสั่งเครื่องแบบ SIMD (Single Instruction, Multiple Data) ซึ่งเป็นส่วนขยายสถาปัตยกรรม x86 ที่ออกแบบโดยบริษัทอินเทล เริ่มใช้ครั้งแรกในเพนเทียม III เมื่อปี ค.ศ. 1999 โดยเป็นคู่แข่งของเทคโนโลยี 3DNow! ของบริษัทเอเอ็มดี ประกอบด้วยชุดคำสั่งจำนวน 70 คำสั่ง ชื่อในการพัฒนาของ SSE คือ KNI ย่อมาจาก Katmai New Instructions (Katmai เป็นรหัสของเพนเทียม III) ในภายหลังบริษัท AMD ได้นำชุดคำสั่ง SSE ไปใช้ในซีพียูตั้งแต่รุ่น Athlon XP และ Duron เป็นต้นมา ก่อนหน้าที่จะมี SSE ทางอินเทลได้คิดค้นชุดคำสั่งแบบ SIMD สำหรับสถาปัตยกรรม IA-32 ในชื่อว่า MMX ซึ่งมีปัญหา 2 ประการ คือ ใช้เรจิสเตอร์สำหรับคำนวณทศนิยม (Floating point) ตัวเดียวกับของซีพียู ทำให้ซีพียูไม่สามารถประมวลผลทศนิยมพร้อมกับ MMX ได้ และ MMX สามารถทำงานได้กับจำนวนเต็ม (integer) เท่านั้น SSE แก้ปัญหาโดยการเพิ่มเรจิสเตอร์ขนาด 128 บิตเข้าไปอีก 8 ตัว ในตำแหน่ง XMM0-XMM7 ในช่วงหลังเมื่อทั้ง AMD และอินเทลปรับขนาดสถาปัตยกรรมเป็น 64 บิต ก็ได้เพิ่มเรจิสเตอร์เข้าไปอีก 8 ตัว (XMM8-XMM15) และยังมีเรจิสเตอร์ควบคุมขนาด 32 บิตอีก 1 ตัวชื่อ MXCSR ภายหลังอินเทลได้ปรับปรุงรุ่นของ SSE เป็น SSE2, SSE3, SSSE3 และ SSE4 ทั้งนี้ การสนับสนุนนการคำนวณเลขทศนิยม ทำให้สามารถรองรับแอปพลิเคชันได้มากกว่า MMX และกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มคำสั่งดำเนินการกับจำนวนเต็มใน SSE2 ยิ่งทำให้ MMX บางส่วนกลายเป็นส่วนเกิน แต่อย่างไรก็ดี ในบางสถานการณ์อาจเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้โดยใช้ MMX และ SSE ในแบบคู่ขนานกันก็ได้.

8 ความสัมพันธ์: AMDชุดของคำสั่งเครื่องพ.ศ. 2542อินเทลเพนเทียมเรจิสเตอร์เอกซ์86เนเฮเลม

AMD

AMD อาจหมายถึง.

ใหม่!!: Streaming SIMD ExtensionsและAMD · ดูเพิ่มเติม »

ชุดของคำสั่งเครื่อง

องคำสั่งเครื่อง (instruction set) เป็นรายการของคำสั่งเครื่องและตัวแปรทั้งหมดที่โปรเซสเซอร์ (หรือถ้าเป็นเครื่องจักรเสมือน (virtual machine) จะเรียกว่า อินเตอร์พรีเตอร์) สามารถประมวลผลได้ โดยชุดคำสั่งนั้นอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหน่วยประมวลผลของระบบ ชุดของคำสั่งเครื่อง ประกอบไปด้ว.

ใหม่!!: Streaming SIMD Extensionsและชุดของคำสั่งเครื่อง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2542

ทธศักราช 2542 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1999 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และสหประชาชาติกำหนดให้เป็น ปีสากลแห่งผู้สูงอายุและเป็นปีมหามงคลในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒).

ใหม่!!: Streaming SIMD Extensionsและพ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

อินเทล

ำนักงานใหญ่อินเทล ที่ซานตาคลารา อินเทล (Intel) เป็นบริษัทผลิตชิพสารกึ่งตัวนำที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อวัดจากรายได้ บริษัทอินเทลเป็นผู้คิดค้นไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลx86 ออกมาวางจำหน่าย ซึ่งเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันมากที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อินเทลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1968 ในชื่อ Integrated Electronics Corporation โดยมีสำนักงานอยู่ที่ซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อินเทลยังเป็นผู้ผลิตชิพเซตของเมนบอร์ด, เน็ตเวิร์คการ์ดและแผงวงจรรวม, แฟลชเมโมรี, ชิพกราฟิค, โปรเซสเซอร์ของระบบฝังตัว ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร อินเทลก่อตั้งขึ้นโดย กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore) และโรเบิร์ต นอยซ์ (Robert Noyce) ผู้เชี่ยวชาญด้านสารกึ่งตัวนำ โดยเป็นอดีตพนักงานของ Fairchild Semiconductor พนักงานยุคแรกเริ่มที่สำคัญอีกคนของอินเทลคือ แอนดรูว์ โกรฟ ซึ่งในภายหลังเป็นผู้บริหารคนสำคัญ ที่ทำให้อินเทลก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกในปัจจุบัน แต่เดิมนั้น ชื่อของอินเทลจะเป็นที่รู้จักเฉพาะในหมู่วิศวกรและนักเทคโนโลยีเท่านั้น แต่หลังจากที่โฆษณา อินเทล อินไซด์ ประสบผลสำเร็จอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษ 1990 ชื่อของอินเทลก็กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในทันที โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักคือ หน่วยประมวลผลกลางตระกูลเพนเทียม (Pentium).

ใหม่!!: Streaming SIMD Extensionsและอินเทล · ดูเพิ่มเติม »

เพนเทียม

นเทียม (Pentium) เป็นเครื่องหมายการค้าและแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ไมโครโพรเซสเซอร์ x86 หลายตัวจากบริษัทอินเทล เพนเทียมเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยใช้สถาปัตยกรรม P5 และมีการพัฒนาต่อเนื่องโดยชิปตัวใหม่ที่ออกมาจะใช้ชื่อรหัสตามหลังคำว่าเพนเทียมเช่น เพนเทียมโปร หรือ เพนเทียมดูอัล-คอร์ จนกระทั่งในปี 2553 ทางอินเทลได้เปลี่ยนระบบการเรียกชื่อชิปในตระกูลเพนเทียมทั้งใหม่หมดให้ใช้เพียงแค่คำว่า "เพนเทียม" โดยไม่มีคำใดต่อท้าย แม้ว่าเพนเทียมถูกออกแบบมาให้เป็นรุ่นที่ 5 ที่ใช้สถาปัตยกรรม P5 ชิปที่พัฒนาต่อมาได้มีการนำสถาปัตยกรรมตัวใหม่ที่นำมาพัฒนามาใช้ภายใต้ชื่อตระกูลเพนเทียม เช่น P6, เน็ตเบิรสต์, คอร์, เนเฮเลม และล่าสุดคือสถาปัตยกรรมแซนดีบริดจ์ ในปี 2541 เพนเทียมได้ถูกจัดให้เป็นซีพียูสำหรับตลาดบนของทางอินเทลเมื่อบริษัทได้เปิดตัวแบรนด์เซเลรอน เพื่อใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด ที่ประสิทธิภาพลดลงมา จนกระทั่งในปี 2549 อินเทลได้เปิดตัวตระกูลคอร์ โดยออกมาในชื่อ อินเทล คอร์ 2 ทำให้สถานะทางการตลาดของเพนเทียมอยู่ในระดับกลาง รองจากตระกูลคอร์แต่อยู่สูงกว่าตระกูลเซเลรอน โดยในปัจจุบันชื่อเพนเทียมเป็นชิปที่อยู่ในราคากลางโดยอยู่ระหว่างอินเทลคอร์และอินเทลเซเลรอน.

ใหม่!!: Streaming SIMD Extensionsและเพนเทียม · ดูเพิ่มเติม »

เรจิสเตอร์

รจิสเตอร์ หรือ รีจิสเตอร์ (register) ในอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการคำนวณ เรจิสเตอร์จะเก็บข้อมูลเป็นบิทจำนวนมากเพื่อให้ระบบต่างๆสามารถเขียนเข้าไปใหม่หรืออ่านบิททั้งหมดนั้นได้พร้อมกัน เรจิสเตอร์เป็นหน่วยความจำขนาดเล็ก ที่ทำงานได้เร็วมาก ในระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำเหล่านี้ ใช้เก็บข้อมูลที่จำเป็นในการคำนวณ หรือสถานะการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง และมักถูกอ้างถึงบ่อย ในระหว่างการคำนวณของหน่วยประมวลผล เพื่อให้โปรแกรมที่ทำงานอยู่ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นเหล่านี้ ได้อย่างรวดเร็ว.

ใหม่!!: Streaming SIMD Extensionsและเรจิสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์86

ปเพนเทียม 4 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม x86 ในยุคหลัง เอกซ์86 (x86) เป็นชื่อทั่วไปของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สำหรับไมโครโพรเซสเซอร์ที่สร้างโดยบริษัทอินเทล ปัจจุบันสถาปัตยกรรมแบบ x86 เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป, โน้ตบุ๊คและเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก นับตั้งแต่เริ่มใช้ในไอบีเอ็มพีซี ช่วงทศวรรษที่ 80 ชื่อสถาปัตยกรรมถูกเรียกว่า "x86" เนื่องจากชื่อเรียกของไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกๆ จะลงท้ายด้วยตัวเลข 86 ได้แก่ 8086, 80186, 80286, 386 และ 486 ในภายหลังอินเทลได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อ "เพนเทียม" (Pentium) (ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า "80586") แทนเนื่องจากไม่สามารถจดเครื่องหมายการค้าในชื่อตัวเลขได้ ใน..

ใหม่!!: Streaming SIMD Extensionsและเอกซ์86 · ดูเพิ่มเติม »

เนเฮเลม

ปัตยกรรมเนเฮเลม เนเฮเลม (Nehalem มักเรียกผิดเป็น เนฮาเลม) เป็นชื่อรหัสของสถาปัตยกรรมไมโครซีพียูของทางอินเทล เป็นตัวที่พัฒนาต่อจากสถาปัตยกรรมไมโครคอร์ โดยโพรเซสเซอร์ตัวแรกที่พัฒนาออกมาคือซีพียู คอร์ i7 สำหรับเดสก์ท็อป ที่เปิดตัวเมื่อพฤศจิกายน 2551 และมีการพัฒนาตามออกมาอีกหลายตัวในชื่อ ซีออน, i3 และ i5 ในช่วงแรกโพรเซสเซอร์เนเฮเลมใช้เทคโนโลยี 45 นาโนเมตร เช่นเดียวกับเพนรินที่ใช้ในอินเทล คอร์ 2 โดยได้ออกมาแสดงในงาน อินเทลเดเวโลเปอร์ฟอรัม ในปี 2550 นอกจากนี้ในตอนแรกสุดเนเฮเลมคาดหวังว่าจะเป็นการพัฒนาภายใต้สถาปัตยกรรมเน็ตเบิรสต์ ภายหลังได้เปลี่ยนโครงการจึงได้นำชื่อเนเฮเลมกลับมาใช้ใหม่ภายใต้โครงการใหม่ แต่ยังคงนำเทคโนโลยีหลายตัวกลับมาใช้เช่น ไฮเปอร์เทร็ดดิง กับ แคช L3 ชื่อของเนเฮเลมตั้งตามชื่อเมืองเนเฮเลมในรัฐออริกอน.

ใหม่!!: Streaming SIMD Extensionsและเนเฮเลม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »