โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาฉลาม

ดัชนี ปลาฉลาม

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

54 ความสัมพันธ์: ชั่วโมงชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคชายฝั่งการสูญพันธุ์การจับปลาการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์กิโลเมตรมหาสมุทรแอตแลนติกมนุษย์ยุคไซลูเรียนวงศ์ปลาฉลามกบสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์น้ำสปีชีส์หูฉลามอวัยวะเพศอันดับปลาฉลามฟันเลื่อยอันดับปลาฉลามกบอันดับปลาฉลามหลังหนามอันดับปลาฉลามหัววัวอันดับปลาฉลามขาวอันดับปลาฉลามครุยอันดับปลาฉลามครีบดำอันดับปลาไหลอาหารอาหารจีนจุดทวีปอเมริกาใต้ทะเลทะเลอันดามันขั้วโลกดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำปลากระดูกอ่อนปลากระเบนปลาฉลามมาโกปลาฉลามวาฬปลาฉลามหัวบาตรปลาฉลามอาบแดดปลาฉลามขาวปลาฉลามครุยปลาฉลามครีบดำปลาฉลามนางฟ้าปลาฉลามน้ำจืดปลาฉลามเมกาเมาท์ปลาฉลามเสือปลาฉลามเสือดาวปลาฉนากปลาน้ำเค็มน้ำกร่อย...น้ำจืดแพลงก์ตอนเมตรเอเอสทีวีผู้จัดการ ขยายดัชนี (4 มากกว่า) »

ชั่วโมง

ั่วโมง อักษรย่อ ชม. (Hour: h หรือ hr) เป็นหน่วยของเวล.

ใหม่!!: ปลาฉลามและชั่วโมง · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามและชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค · ดูเพิ่มเติม »

ชายฝั่ง

ฝั่งทางตะวันออกของบราซิล ชายฝั่ง คือแนวชายทะเลขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด มักมีลักษณะโค้งและเว้าแตกต่างกันออกไป บ้างก็เป็นหน้าผาหินสูงชัน และบางแห่งก็เป็นชายหาดระดับต่ำที่แผ่ขยายออกไปกว้างขวางแทรกสลับอยู่ระหว่างภูเขาและโขดหิน แรงที่ทำให้เกิดรูปร่างของชายฝั่งแบบต่างๆ เกิดจากแรงจากกระแสคลื่นและลมในทะเลที่ก่อให้เกิดขบวนการกัดกร่อน พัดพาและสะสมตัวของตะกอน เศษหินและแร่ที่เกิดจากขบวนการภายในโลกที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการยกตัวหรือจมตัว.

ใหม่!!: ปลาฉลามและชายฝั่ง · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: ปลาฉลามและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจับปลา

การตกปลา เป็นการจับปลาและเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมชนิดหนึ่ง กระทำโดยการใช้เหยื่อล่อ โดยใช้ได้ทั้งที่เป็นเหยื่อสด เหยื่อหมัก และเหยื่อปลอม หมวดหมู่:การประมง หมวดหมู่:การตกปลา.

ใหม่!!: ปลาฉลามและการจับปลา · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ปลาฉลามและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ใหม่!!: ปลาฉลามและกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: ปลาฉลามและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: ปลาฉลามและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไซลูเรียน

ออร์โดวิเชียน←ยุคไซลูเรียน→ยุคดีโวเนียน ยุคไซลูเรียน (Silurian) เป็นยุคที่สามของมหายุคพาลีโอโซอิกในธรณีกาล ยุคนี้เริ่มขึ้นหลังจากจุดสิ้นสุดของยุคออร์โดวิเชียน ประมาณ 443.8 ± 1.5 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดในช่วงก่อนเริ่มยุคดีโวเนียน ประมาณ 419.2 ± 0.2 ล้านปีก่อน นักธรณีวิทยาได้ใช้การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคออร์โดวิเชียน-ไซลูเรียน เป็นตัวแบ่งยุคไซลูเรียนกับออร์โดวิเชียน ซึ่งจากการสูญพันธุ์นั้น ทำให้สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลกว่า 60 % หายไป ในยุคนี้พืชน้ำและสาหร่าย ได้ปรับตัวเพื่อไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ โดยวิวัฒนาการมาเป็นพืชบก แต่พืชบกนี้พบได้แค่ตามชายทะเลเท่านั้น ในปลายยุคไซลูเรียนมีสัตว์บกเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดเล็ก แต่มันก็ยังมีจำนวนไม่มากและยังไม่ได้ขึ้นมาอาศัยบนบกทั้งหมด จนกระทั่งถึงยุคดีโวเนียน.

ใหม่!!: ปลาฉลามและยุคไซลูเรียน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาฉลามกบ

วงศ์ปลาฉลามกบ หรือ วงศ์ปลาฉลามหิน (Bamboo sharks, Cat sharks, Longtail carpet sharks, Epaulette sharks, Speckled cat sharks) เป็นวงศ์ของปลากระดูกอ่อนในชั้นปลาฉลามวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Hemiscylliidae ในอันดับปลาฉลามกบ (Orectolobiformes).

ใหม่!!: ปลาฉลามและวงศ์ปลาฉลามกบ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาฉลามและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาฉลามและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: ปลาฉลามและสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาฉลามและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หูฉลาม

หูฉลามปรุงเสร็จ หูฉลาม หรือ ซุปหูฉลาม หรือ ฮื่อฉี่ ในสำเนียงแต้จิ๋ว (จีนตัวเต็ม: 魚翅, จีนตัวย่อ: 鱼翅) เป็นอาหารจีนที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีอย่างหนึ่ง ประวัติของหูฉลามนั้นย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์หมิง หูฉลาม นั้นปรุงมาจากครีบส่วนต่าง ๆ ของปลาฉลาม โดยใช้วิธีการปรุงคล้ายกับกระเพาะปลา คือ มีความหนีดคาว และมีส่วนผสมอย่างอื่น เช่น เนื้อไก่, เนื้อหมู, ขาหมู, กระดูกไก่, กระดูกหมู และเครื่องยาจีนต่าง ๆ ซึ่งครีบของปลาฉลามนั้น มีลักษณะเป็นกระดูกอ่อนที่แบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือฐานครีบและก้านครีบ ซึ่งเป็นกระดูกที่มีลักษณะเป็นเส้น ๆ เพื่อช่วยให้ปลาฉลามสามารถแผ่ครีบออกได้ ซึ่งส่วนที่นำมาทำเป็นหูฉลามนั้น ก็คือ ก้านครีบ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการหลายอย่าง ตั้งแต่การแตกแห้ง ต้มจนเปื่อย และขูดหนังทิ้งจนเหลือแต่กระดูกอ่อน โดยมีความเชื่อกันว่าหูฉลามที่นำมาต้มจนเปื่อยและตุ๋นจนได้ที่จะกลายเป็นอาหารวิเศษในการบำรุงร่างกาย แต่คุณค่าในทางอาหารแล้ว หูฉลามหนึ่งชามมีค่าเท่ากับไข่เป็ดฟองเดียวเท่านั้น หูฉลาม จัดว่าเป็นอาหารที่มีราคาแพง เป็นอาหารหลักในช่วงงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศกาลตรุษจีน, งานแต่งงานในจีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน และอีกหลายประเทศที่มีชาวจีนอาศัยอยู่ อาทิเช่น สิงคโปร์ ไทย โดยภัตตาคารแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ ขายหูฉลามในราคาจานละ 16 ดอลลาร์ จากการขายหูฉลามนั้น ทำให้ทั่วโลกมีการล่าปลาฉลามเพื่อตัดเอาครีบมาทำเป็นหูฉลามมากขึ้น รายงานของกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ระบุว่า มีปลาฉลามจำนวนกว่า 73 ล้านตัวถูกฆ่าในทุก ๆ ปี และในปี..

ใหม่!!: ปลาฉลามและหูฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะเพศ

อวัยวะเพศ (sex organ) หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (reproductive organ, primary sex organ, primary sexual characteristic) เป็นโครงสร้างทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ อวัยวะที่เห็นได้จากด้านนอกในเพศหญิงและชายเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศปฐมภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (genitals, genitalia) ส่วนอวัยวะภายในเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศทุติยภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ลักษณะที่เริ่มเกิดขึ้นในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ เช่น ขนหัวหน่าวในผู้หญิงและผู้ชาย และหนวดในผู้ชาย เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ (secondary sex characteristics) มอสส์, เฟิร์น และพืชบางชนิดที่คล้ายกันมีอับเซลล์สืบพันธุ์ (gametangia) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแกมีโทไฟต์ (gametophyte) ดอกไม้ของพืชดอกสร้างละอองเรณูและเซลล์ไข่ ทว่าอวัยวะเพศอยู่ข้างในแกมีโทไฟต์ภายในละอองเรณูและออวุล (ovule) พืชจำพวกสนก็ผลิตโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้างในแกมีโทไฟต์ภายในลูกสนและละอองเรณู โดยลูกสนและละอองเรณูเองไม่ใช่อวัยว.

ใหม่!!: ปลาฉลามและอวัยวะเพศ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามฟันเลื่อย

ปลาฉลามฟันเลื่อย (Sawsharks, Sawfishes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนอันดับหนึ่ง ในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pristiophoriformes มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาฉนาก (Pristiformes) ซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเช่นเดียวกัน หากแต่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นย่อยปลากระเบน (Batoidea) คือ มีจุดเด่น มีอวัยวะที่ยื่นออกมาเป็นกระดูกแข็งจากส่วนหน้าที่มีลักษณะแบนราบแต่มีหนามแหลมอยู่ข้าง ๆ เป็นซี่ ๆ คล้ายฟันเลื่อยหรือกระบองแข็ง แต่ต่างจากปลาฉนากตรงที่มีหนวดยาวอยู่ 2 เส้นอยู่ด้วย และมีซี่กรองเหงือกอยู่หลังตาเหมือนปลาในชั้นย่อยปลาฉลาม มีครีบหลัง 2 ครีบ และครีบก้น แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล คือ Pliotrema ซึ่งมีซี่กรองเหงือก 6 ช่อง กับ Pristiophorus มีซี่กรองเหงือก 5 ช่อง เหมือนเช่นปลาฉลามทั่วไป มีความเต็มที่ประมาณ 170 เซนติเมตร ปลาฉลามฟันเลื่อย พบกระจายพันธุ์อยู่ตามพื้นทะเล ในเขตของทะเลญี่ปุ่น, แอฟริกาใต้ จนถึงแอฟริกาใต้ มีพฤติกรรมความเป็นอยู่ทั่วไปคล้ายกับปลาฉนาก โดยหากินสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ตามหน้าดินและปลาต่าง ๆ เป็นอาหาร ออกลูกเป็นตัว อยู่ในความลึกตั้งแต่ 40 เมตรจนถึงลึกกว่านั้น โดยคำว่า Pristis เป็นภาษากรีกแปลว่า "เลื่อย" รวมกับคำว่า pherein แปลว่า "เพื่อนำมา".

ใหม่!!: ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามฟันเลื่อย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามกบ

อันดับปลาฉลามกบ (Carpet shark, อันดับ: Orectolobiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนอันดับหนึ่ง อยู่ในชั้นปลาฉลาม ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Orectolobiformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีครีบหลัง 2 อัน ไม่มีหนามแข็งที่ครีบหลัง มีครีบหลัง 2 ครีบ มีครีบก้น ปากเล็กอยู่ทางด้านล่าง มีหนวดอยู่ทางด้านหน้าของปาก มีร่องเชื่อมระหว่างจมูกและปาก เรียกว่าโอโรนาซัล กรูฟ หรือ นาโซรัล กรูฟ มีช่องดึงน้ำเข้าจากทางด้านบนบริเวณหลังตา ตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็กอยู่ด้านหลังของตา ยกเว้นบางชนิดที่มีช่องเปิดเหงือก 5 ช่อง โดยที่ช่องที่ 4 และช่องที่ 5 อยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบหู ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำ ชอบหลบอยู่ระหว่างก้อนหินหรือสาหร่ายหรือแนวปะการัง แต่บางชนิดก็กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร มีทั้งหมด 43 ชนิด ใน 13 สกุล แบ่งออกเป็น 7 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามกบ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามหลังหนาม

อันดับปลาฉลามหลังหนาม (Dogfish shark, วงศ์: Squaliformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นปลาฉลามอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Squaliformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนหัวเป็นรูปกรวยไม่แผ่ออกทางด้านข้าง ช่องรับน้ำด้านหลังตามีขนาดเล็กจนถึงมีขนาดใหญ่ จมูกและปากไม่มีร่องเชื่อมติดต่อกัน ตาอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ปากค่อนข้างกว้างและโค้ง มีหนังที่บริเวณมุมปาก ฟันมีขนาดค่อนข้างใหญ่มีหลายขนาด มีครีบหลัง 2 ตอน ด้านหน้าครีบหลังอาจมีหรือไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง ไม่มีครีบก้น ส่วนใหญ่เป็นปลาฉลามที่มีขนาดเล็ก แบ่งออกได้เป็น 7 วงศ์ 97 ชน.

ใหม่!!: ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามหลังหนาม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามหัววัว

อันดับปลาฉลามหัววัว (อันดับ: Heterodontiformes) เป็นอันดับของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน ในชั้นย่อยปลาฉลามจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Heterodontiformes รูปร่างโดยรวมของปลาฉลามในอันดับนี้ คือ มีช่องเปิดเหงือก 3 ช่องสุดท้ายอยู่เหนือจุดเริ่มต้นของครีบอก ช่องรับน้ำมีขนาดเล็กอยู่ทางด้านหลังของตา ไม่มีหนวด มีร่องลึกเชื่อมระหว่างจมูกกับปาก แผ่นเนื้อที่อยู่ทางด้านหน้าของปากยาวถึงปาก ไม่มีแผ่นหนังปิดตา มีส่วนหัวที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมและสั้นคล้ายกับส่วนหัวของวัวอันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีครีบหลัง 2 ครีบ ซึ่งมีเงี่ยงที่มีรายงานว่ามีพิษ เป็นปลาฉลามขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 1.50 เซนติเมตร อาศัยและหากินตามพื้นทะเล และเป็นปลาที่ถือกำเนิดขึ้นในยุคจูแรซซิก ออกลูกเป็นไข่ ไข่มีลักษณะคล้ายกับเกลียวที่เปิดจุกไวน์มีสีคล้ำ ตามกอสาหร่าย ไข่บางส่วนจะถูกกระแสน้ำซัดขึ้นไปเกยหาดไม่มีโอกาสฟักเป็นตัว ในส่วนที่ฟักเป็นตัวจะใช้เวลาประมาณ 9 เดือน.

ใหม่!!: ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามหัววัว · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามขาว

อันดับปลาฉลามขาว (Mackerel shark) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นปลาฉลามอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Lamniformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีช่องเปิดเหงือกด้านละ 5 ช่อง ช่องเปิดเหงือกช่องที่ 4 และช่องที่ 5 อยู่เหนือฐานของครีบอก ไม่มีช่องรับน้ำบริเวณด้านหลังของตาหรือถ้ามีจะมีขนาดเล็ก จมูกไม่มีหนวด และไม่มีร่องเชื่อมระหว่างจมูก และปาก nตาอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัวเยื้องขึ้นมาทางด้านบนเล็กน้อย ครีบหลังทั้งสองครีบไม่มีหนามแข็งอยู่ทางด้านหน้า มีครีบหลัง 2 ครีบ มีครีบก้น ปากกว้างเป็นแบบพระจันทร์เสี้ยวมุมปากอยู่ทางด้านหลังของตา จะงอยปากแหลมเป็นรูปกรวย มีทั้งหมดทั้งสิ้น 7 วงศ์ 60 ชนิดที่ยังคงมีชีวิตมาจนถึงปัจจุบันนี้.

ใหม่!!: ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามขาว · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามครุย

อันดับปลาฉลามครุย (อันดับ: Hexanchiformes, Frilled shark, Cow shark) เป็นอันดับของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนอันดับหนึ่ง ในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hexanchiformes มีลักษณะแตกต่างจากปลาฉลามในอันดับอื่น คือ มีเหงือกและช่องเหงือก 6 หรือ 7 ช่องในแต่ละด้าน ซึ่งปลาฉลามที่ส่วนใหญ่มีเพียงแค่ 5 และไม่มีเยื่อหุ้มตา มีเพียงครีบหลังครีบเดียว เป็นปลาฉลามที่ถือกำเนิดมาจากในยุคจูราซซิค แบ่งออกเป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) อาศัยอยู่ในเขตน้ำลึก ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 6 ชนิด เพราะได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีหลักฐานเป็นฟอสซิล ซึ่งปลาฉลามในอันดับนี้ที่ได้ปรากฏมาและเป็นที่ฮือฮาในเขตทะเลญี่ปุ่น คือ ปลาฉลามครุย (Chlamydoselachus anguineus) ที่มีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหล และมีปากที่กว้างมาก.

ใหม่!!: ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามครุย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามครีบดำ

อันดับปลาฉลามครีบดำ (Ground shark) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่ออันดับว่า Carcharhiniformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีครีบหลังสองตอน ไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง มีช่องเปิดเหงือกห้าช่องอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ส่วนใหญ่มีช่องรับน้ำขนาดเล็กอยู่หลังตา หรือบางชนิดไม่มี ไม่มีหนวดที่จมูก ไม่มีร่องเชื่อมระหว่างจมูกและปาก ไม่มีแผ่นหนังบริเวณมุมปาก ปากมีขนาดใหญ่ กว้าง โค้งแบบพระจันทร์เสี้ยว ฟันมีหลายรูปแบบด้านหน้าเป็นแบบฟันเขี้ยวแหลมคมทางตอนท้ายมักเป็นฟันบด ช่องที่ 3-5 มักอยู่เหนือฐานครีบอก ไม่มีซี่กรองเหงือก ตามีหนังหุ้ม ลำไส้เป็นแบบบันไดวน หรือ แบบม้วน สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 วงศ์ คือ.

ใหม่!!: ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาฉลามและอันดับปลาไหล · ดูเพิ่มเติม »

อาหาร

อาหาร หมายถึงสิ่งที่รับประทานเข้าไป ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว (hunting and gathering) และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย".

ใหม่!!: ปลาฉลามและอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

อาหารจีน

ติ่มซำ อาหารจีนที่รู้จักกันดี อาหารจีน หมายถึงอาหารที่ประกอบขึ้นตามวัฒนธรรมของชาวจีน ซึ่งรวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวันและ ฮ่องกง ซึ่งมีหลากหลายชนิดตามแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไปนิยมรับประทานอาหารจานผักและธัญพืชเป็นหลัก นอกจากในราชสำนักที่จะมีอาหารประเภทเนื้อ อาหารที่รู้จักกัน เช่น ก๋วยเตี๋ยว ติ่มซำ หูฉลาม กระเพาะปลา วัฒนธรรมการกินเป็นการกินร่วมกันโดยอุปกรณ์การกินหลัก คือตะเกียบ อาหารจีนจะมีอุปกรณ์การทำหลักๆเพียงสี่อย่างคือ มีด เขียง กะทะก้นกลม และตะหลิว สมัยชุนชิว-จั้นกั๋ว ได้เริ่มมีการแบ่งอาหารจีนเป็น 2 ตระกูลใหญ่ คือ อาหารเมืองเหนือ และอาหารเมืองใต้ กระทั่งต้นราชวงศ์ชิง ได้มีการแบ่งอาหารเป็น 4 ตระกูลใหญ่ ได้แก.

ใหม่!!: ปลาฉลามและอาหารจีน · ดูเพิ่มเติม »

จุด

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปลาฉลามและจุด · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ปลาฉลามและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: ปลาฉลามและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

ใหม่!!: ปลาฉลามและทะเลอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลก

ั้วโลก (geographical pole หรือ geographic pole) หมายถึงจุดสองจุด—ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้—บนพื้นผิวของดาวเคราะห์หรือวัตถุหมุนอื่น อันเป็นที่ซึ่งแกนหมุนบรรจบกับพื้นผิวของวัตถุนั้น ขั้วโลกเหนือจะทำมุม 90° และอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ในขณะที่ขั้วโลกใต้จะทำมุม 90° และอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ขั้วโลกอาจมีความเป็นไปได้ที่จะคาดเคลื่อนเล็กน้อยเนื่องจากการหมุนของวัตถุนั้นเอง ขั้วโลกเหนือและใต้ทางกายภาพที่แท้จริงของโลกนั้นจะอาจเปลี่ยนตำแหน่งไปได้ในระยะทางไม่กี่เมตรเมื่อเวลาผ่านไป ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีความชัดเจนจากการหมุนควงของวิษุวัติของโลก ซึ่งองศาของดาวเคราะห์ (ทั้งแกนหมุนและพื้นผิวต่างก็เคลื่อนที่ไปพร้อมกัน) อาจเปลี่ยนแปลงตำแหน่งได้อย่างช้า ๆ เมื่อเวลาผ่านไปนับหมื่นปี อย่างไรก็ตาม วิชาการเขียนแผนที่ต้องการพิกัดของขั้วโลกที่เที่ยงตรงและไม่เปลี่ยนตำแหน่ง ขั้วโลกในการแผนที่ (cartographical poles หรือ cartographic poles) จึงเป็นตำแหน่งคงที่บนโลกหรือวัตถุหมุนอื่นที่ตำแหน่งโดยประมาณที่เป็นไปได้ของขั้วโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น.

ใหม่!!: ปลาฉลามและขั้วโลก · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

right right right ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta) จะเกิดเฉพาะกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็ก ๆ จำพวกทรายละเอียดและโคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อย ๆ สะสมตัวบริเวณดังกล่าว ในบางแห่งขณะน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำจะพัดพาเอาทรายและโคลนออกไปสู่ทะเลไกลออกไปจึงไม่มีดินดอนปากแม่น้ำเกิดขึ้น ถ้าในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลงไม่ส่งอิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรกและนาน ๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมา ในเวลาต่อมาแม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิดกั้นด้วยสันทราย ทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โคลนเนื้อละเอียดจะถูกพัดพาไปไกลจากสันทรายและตกตะกอนสะสมตัวกันแผ่คลุมท้องทะเลหรือทะเลสาบในบริเวณที่กว้างขวางเป็นรูปคล้ายพัดหรืองอกตัวลงทะเลตลอดเวลา โดยธรรมดาแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า "เดลต้า" (delta) เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า "เดลต้า" แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่นในเอเชีย เช่น แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสในอิรัก ซึ่งเดิมเมืองโบราณชื่ออัวร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้วอยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร แม่น้ำพรหมบุตรใน.

ใหม่!!: ปลาฉลามและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบน

ปลากระเบน คือ ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อยอีลาสโมแบรนชิไอ (Elasmobranchii) ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batoidea หรือ Rajomorphii มีประมาณ 400 ชนิด พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ ในปากไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลาม ดังนั้นการกินอาหารจึงค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเคี้ยวอย่างช้า ๆ ซึ่งอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอย, กุ้ง, ปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 4 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งก็แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์, หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น วงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงแหลมคม ที่มีพิษบริเวณโคนหาง 1-2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้, วงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีส่วนหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของนก ปลายแหลม ใช้สำหรับว่ายน้ำในลักษณะโบกโบยเหมือนนกบินในทะเล ส่วนปลากระเบนไฟฟ้า พบเฉพาะในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากปลากระเบนจำพวกอื่น ๆ ที่โคนหางไม่มีเงี่ยง และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย ปลากระเบน เป็นปลาที่มนุษย์ผูกพันมาตั้งแต่อดีต ด้วยการใช้เนื้อในการรับประทาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ผัดเผ็ด, ผัดขี้เมา หรือผัดฉ่า เช่นเดียวกับปลาฉลามได้ ในปลากระเบนบางวงศ์ เช่น วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี จะงอยปากไม่แหลม มีส่วนหางที่สั้น มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในแม่น้ำของทวีปอเมริกาใต้ มีสีสันและลวดลายตามลำตัวสวยงาม และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ง่าย จึงนิยมเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม นอกจากนี้แล้ว ปลากระเบนส่วนมากจะมีเกล็ดเป็นตุ่มแข็งบริเวณกลางหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ผลิตเป็นเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า ได้ นอกจากนี้แล้วยังนำไปทำเป็นเครื่องประดับเช่น แหวน เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลากระเบน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามมาโก

ปลาฉลามมาโก (Mako shark) ปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามในสกุล Isurus (/อิ-ซัว-รัส/) ในวงศ์ Lamnidae อันเป็นวงศ์เดียวกับปลาฉลามขาว ซึ่งเป็นปลากินเนื้อและสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ปลาฉลามมาโก จัดเป็นปลาฉลามที่มีความปราดเปรียวว่องไว เป็นปลาฉลามที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลก โดยทำความเร็วได้ถึง 50-70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการขยับหางที่เว้าเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเพิ่มความเร็วได้ในช่วงระยะเวลาเสี้ยววินาที เพื่อใช้ในการล่าเหยื่อประเภทต่าง ๆ เช่น โลมา, แมวน้ำ หรือเต่าทะล จากการจู่โจมจากด้านล่าง อีกทั้งยังสามารถกระโดดได้พ้นน้ำได้สูงถึง 9 เมตรอีกด้วย เป็นปลาที่มีดวงตากลมโตสีดำสนิท ภายในปากมีฟันแหลมคมจำนวนมากจนล้นออกนอกปาก จัดเป็นปลาฉลามอีกจำพวกหนึ่งที่ทำอันตรายมนุษย์ได้ เป็นปลาที่ถือกำเนิดมาจากตั้งแต่ยุคครีเตเชียสจนถึงควอเทอนารี (ประมาณ: 99.7 ถึง 0.781 ล้านปีก่อน) จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน มีความยาวประมาณ 2.5 ถึง 4.5 เมตร (8.2 ถึง 14.8 ฟุต) และน้ำหนักมากที่สุดถึง 800 กิโลกรัม (1,800 ปอนด์) โดยคำว่า "มาโก" มาจากภาษามาวรี หมายถึง ปลาฉลามหรือฟันปลาฉลาม.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาฉลามมาโก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามวาฬ

ปลาฉลามวาฬ (Whale shark) เป็นปลาฉลามเคลื่อนที่ช้าที่กินอาหารแบบกรองกิน เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุด ยาวถึง 12.65 ม. หนัก 21.5 ตัน แต่มีรายงานที่ไม่ได้รับยืนยันว่ายังมีปลาฉลามวาฬที่ใหญ่กว่านี้ เป็นปลาชนิดเดียวในสกุล Rhincodon และวงศ์ Rhincodontidae (ก่อนปี ค.ศ. 1984 ถูกเรียกว่า Rhinodontes) ซึ่งเป็นสมาชิกในชั้นย่อย Elasmobranchii ในชั้นปลากระดูกอ่อน ปลาฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปี ปลาฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของปลาฉลามวาฬคือแพลงก์ตอน ถึงแม้ว่ารายการแพลนเน็ตเอิร์ธของบีบีซีจะถ่ายภาพยนตร์ขณะที่ปลาฉลามวาฬกำลังกินฝูงปลาขนาดเล็กไว้ได้Jurassic Shark (2000) documentary by Jacinth O'Donnell; broadcast on Discovery Channel, August 5, 2006.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาฉลามวาฬ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหัวบาตร

ปลาฉลามหัวบาตร (Bull shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae).

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาฉลามหัวบาตร · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามอาบแดด

ปลาฉลามอาบแดด หรือ ปลาฉลามยักษ์น้ำอุ่น (basking shark) เป็นปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม นับเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ Cetorhinidae และสกุล Cetorhinus ปลาฉลามอาบแดดจัดอยู่ในอันดับ Lamniformes เช่นเดียวกับปลาฉลามขาว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองมาจากปลาฉลามวาฬ ปลาฉลามอาบแดดมีความยาวได้ถึง 10 เมตร เท่ากับรถโดยสารสองชั้นคันหนึ่ง (ขนาดโดยเฉลี่ย 8 เมตร) มีน้ำหนักมากถึงได้ 7 ตัน เท่ากับช้างสองเชือก มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวสีเทาออกน้ำตาล มีปลายจมูกเป็นรูปกรวย มีปากขนาดใหญ่ มีซี่กรองเหงือกสีแดงมีลักษณะเป็นซี่คล้ายหวีหรือแปรงที่พัฒนามาเป็นอย่างดีสำหรับกรองอาหาร มีริ้วเหงือกภายนอกตั้งแต่ส่วนบนหัวถึงด้านล่างหัว ซึ่งปลาฉลามอาบแดดจะใช้ซี่กรองเหงือกนี้ในการหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย กรองกินแพลงก์ตอนสัตว์ต่าง ๆ ผ่านซี่กรองนี้เป็นอาหารเหมือนปลาฉลามวาฬ และปลาฉลามเมกาเมาท์ จัดเป็นปลาฉลามที่มีสมองขนาดเล็ก แต่ก็มีประสาทสัมผัสโดยเฉพาะประสาทการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยมเหมือนปลาฉลามกินเนื้อชนิดอื่น ปลาฉลามอาบแดด เป็นปลาฉลามขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ กระจายพันธุ์อยู่ในทะเลหรือมหาสมุทรเขตน้ำอุ่นทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ เกาะอังกฤษ นับเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในเกาะอังกฤษ ปลาฉลามอาบแดดบางครั้งจะรวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ เพื่อกินแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณผิวน้ำ ตามสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมที่แพลงก์ตอนสัตว์จะเจริญเติบโตได้ดี คือ มีแสงแดด มีอุณหภูมิอบอุ่นที่เหมาะสม ปลาฉลามอาบแดดจะอ้าปากได้กว้าง จนกระทั่งเห็นซี่กรองภายในปากชัดเจน ไล่กินแพลงก์ตอนสัตว์ตามผิวน้ำ แต่โดยปกติจะอาศัยอยู่ในน้ำลึก และจะมีพฤติกรรมย้ายถิ่นฐานไปตามแพลงก์ตอนตามฤดูกาล ซึ่งเชื่อว่าจะว่ายตามแพลงก์ตอนไปตามกลิ่น จากการศึกษาพบว่าสามารถเดินทางได้ไกลถึง 2,000 กิโลเมตร ภายในระยะเวลา 7 วันThe Basking Shark, "Nick Baker's Weird Creatures" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาฉลามอาบแดด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามขาว

ปลาฉลามขาว (Great white shark) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง มีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ พบได้ตามเขตชายฝั่งแถบทะเลใหญ่ มีความยาวประมาณ 6 เมตร น้ำหนักประมาณ 2250 กิโลกรัม ทำให้ปลาฉลามขาวเป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงเป็นสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์เดียวในสกุล Carcharodon ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์อยู่ในปัจจุบัน โดยเป็นปลาที่ถือกำเนิดมาแล้วนานกว่า 16 ล้านปี.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาฉลามขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามครุย

ปลาฉลามครุย (Frilled shark; ラブカ) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างประหลาดมากคล้ายปลาไหล อาศัยอยู่ในน้ำลึก 1,968 – 3,280 ฟุต มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydoselachus anguineus ในอยู่ในวงศ์ Chlamydoselachidae เดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มีรายงานพบในหลายพื้นที่ รวมถึงในเขตน่านน้ำของญี่ปุ่น ทำให้ปลาฉลามครุยกลายเป็น "ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต" อีกชนิดหนึ่งของโลก เพราะเชื่อว่ามันไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะเลยมาตั้งแต่ยุคครีเทเชียส จนกระทั่งถึงปัจจุบัน บริเวณส่วนหัว ลักษณะฟันและปาก ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ปลาฉลามชนิดนี้ได้สร้างความฮือฮากลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั้งโลก เมื่อชาวประมงชาวญี่ปุ่นสามารถจับตัวอย่างที่ยังมีชีวิตได้ตัวหนึ่งในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งใกล้สวนน้ำอะวาชิมา ในเมืองชิซุโอะกะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโตเกียว ซึ่งเชื่อว่าปลาตัวนี้ลอยขึ้นมาเพราะร่างกายอ่อนแอเนื่องจากความร้อนที่ขึ้นสูงของอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็ตายไป เชื่อว่าปลาฉลามชนิดนี้ กระจายพันธุ์อยู่ในเขตน้ำลึกใกล้นอร์เวย์, แอฟริกาใต้, นิวซีแลนด์, ชิลี และญี่ปุ่น มีรูปร่างเรียวยาวคลายปลาไหลหรืองูทะเล เป็นไปได้ว่าตำนานงูทะเลขนาดใหญ่ที่เป็นเรื่องเล่าขานของนักเดินเรือในสมัยอดีตอาจมีที่มาจากปลาฉลามชนิดนี้ มีผิวสีน้ำตาลหรือเทาเข้ม มีซี่กรองเหงือก 6 คู่ สีแดงสด และฟูกางออกเหมือนซาลาแมนเดอร์บางชนิด ทำให้ดูแลเหมือนครุย ซึ่งมีไว้สำหรับดูดซับออกซิเจนโดยเฉพาะ เนื่องจากในทะเลลึกมีปริมาณออกซิเจนน้อยกว่าด้านบนถึงกว่าครึ่ง ปากกว้างเลยตำแหน่งของตา ภายในปากมีฟันที่แตกเป็นดอกแหลม ๆ 3 แฉก ทำให้สันนิษฐานว่าเป็นปลาที่ล่าปลาเล็กเป็นอาหารที่เก่งฉกาจชนิดหนึ่ง ความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 6.5 ฟุต.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาฉลามครุย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามครีบดำ

ปลาฉลามครีบดำ หรือ ปลาฉลามหูดำ (Blacktip reef shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้าง มีแถบดำที่ครีบหลัง ครีบไขมัน ครีบก้น และครีบหางตอนล่าง เป็นที่มาของชื่อ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาฉลามชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณใกล้ชายฝั่ง และอาจเข้ามาในบริเวณน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำ โดยสามารถเข้ามาหากินใกล้ชายฝั่ง แม้กระทั่งในพื้นที่ ๆ มีน้ำสูงเพียง 1 ฟุต เป็นปลาหากินในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวพักผ่อนตามแนวปะการัง โดยจะหากินอยู่ในระดับน้ำความลึกไม่เกิน 100 เมตร ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ตัวเมียตั้งท้องนาน 18 เดือน ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 2-4 ตัว เมื่อโตขึ้นมาแล้วสีดำตรงที่ครีบหลังจะหายไป คงเหลือไว้แต่ตรงครีบอกและครีบส่วนอื่น ปลาฉลามครีบดำ นับเป็นปลาฉลามชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในทะเล และเป็นต้นแบบของปลาฉลามในสกุลปลาฉลามปะการัง มีนิสัยเชื่องคน สามารถว่ายเข้ามาขออาหารได้จากมือ เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้ที่นิยมการดำน้ำ พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นิยมใช้บริโภคโดยเฉพาะปรุงเป็นหูฉลาม เมนูอาหารจีนราคาแพง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามนางฟ้า

ปลาฉลามนางฟ้า (Angel shark) ปลากระดูกอ่อนทะเลจำพวกปลาฉลาม จัดอยู่ในอันดับ Squatiniformes วงศ์ Squatinidae ปลาฉลามนางฟ้า เป็นปลาฉลามที่มีลำตัวแบนราบคล้ายกับปลากระเบน แต่ไม่มีครีบก้น เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตร้อน สามารถพบได้ในทะเลลึกถึง 1,300 เมตร (4,300 ฟุต) ปลาฉลามนางฟ้า เป็นปลาที่หากินตามพื้นทะเลทั้งพื้นทรายหรือพื้นโคลน โดยหาอาหารกินคล้ายกับปลากระเบน หรือปลาฉนาก ซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเช่นเดียวกัน แต่ต่างอันดับและวงศ์กันออกไป อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็ก, หอย หรือครัสเตเชียน ปลาฉลามนางฟ้า มีความยาวประมาณ 1.5-2 เมตร เป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ซึ่งไข่นั้นจะพัฒนาในช่องท้องของปลาตัวเมียจนคลอดออกมาเป็นตัวคราวละ 13 ตัว ลูกปลาจะได้รับอาหารจากไข่แดงที่อยู่ในฟอง.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาฉลามนางฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามน้ำจืด

ำหรับปลาฉลามน้ำจืดอย่างอื่นดูที่: ปลาฉลามน้ำจืด (แก้ความกำกวม) ปลาฉลามน้ำจืด หรือ ปลาฉลามแม่น้ำ (River sharks, Freshwater sharks) เป็นปลาฉลามที่หายากจำนวน 6 ชนิด ในสกุล Glyphis (/กลาย-ฟิส/) เป็นสมาชิกในวงศ์ Carcharhinidae ซึ่งเป็นปลาฉลามเพียงประเภทเดียวเท่านั้นที่สามารถอาศัยอยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้ตลอดทั้งชีวิต ปัจจุบันยังไม่มีองค์ความรู้เพียงพอเกี่ยวกับปลาฉลามสกุลนี้มากนัก และอาจมีชนิดอื่น ๆ ที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าในบางชนิดเป็นชนิดเดียวกันด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม ปลาฉลามในสกุลนี้ มีลักษณะคล้ายกับปลาฉลามสีน้ำเงิน (Prionace glauca) ซึ่งเป็นปลาฉลามที่พบในทะเลด้วย ซึ่งสำหรับปลาฉลามบางชนิดที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้ เช่น ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) หรือ ปลาฉลามครีบดำ (C. melanopterus) ไม่จัดว่าเป็นปลาฉลามแม่น้ำ เพราะปลาฉลามแม่น้ำแท้ ๆ นั้นต้องอยู่ในสกุล Glyphis เท่านั้น แม้จะได้รับการเรียกขานบางครั้งว่าเป็นปลาฉลามแม่น้ำก็ตาม.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาฉลามน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามเมกาเมาท์

ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megamouth shark) เป็นปลาฉลามน้ำลึกขนาดใหญ่ที่พบได้ยากมาก หลังจากพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1976 จากการติดกับสมอของเรือรบ AFB 14 ของกองทัพเรือสหรัฐ เมื่อกว้านขึ้นมา พบเป็นซากปลาฉลามขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครรู้จักเหมือนสัตว์ประหลาดขนาดความยาวประมาณ 4.5 เมตร น้ำหนักราว 3-4 ตัน มีจุดเด่น คือ ปากที่กว้างใหญ่มากและฟันซี่แหลม ๆ เหมือนเข็มอยู่ทั้งหมด 7 แถว ซึ่งมีความยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร นักวิทยาศาสตร์เมื่อได้ศึกษาแล้วพบว่าเป็นปลาชนิดใหม่ และมีจุดที่แตกต่างไปจากปลาฉลามทั่วไป จึงจัดให้อยู่ในสกุล Megachasma และวงศ์ Megachasmidae ซึ่งยังมีเพียงชนิดนี้ชนิดเดียวเท่านั้น ปัจจุบัน เป็นปลาที่ยังพบได้น้อย โดยมีรายงานการพบเห็นและเก็บตัวอย่าง 39 ครั้ง และมีการบันทึกภาพไว้ได้ 3 ครั้ง (ตามข้อมูลเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007) โดย 1 ใน 3 ของการพบตัวอย่างปรากฏในเขตน่านน้ำญี่ปุ่น ปลาฉลามชนิดนี้กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารเหมือนปลาฉลามบาสกิ้น และปลาฉลามวาฬ โดยมีปากกว้างใหญ่เพื่อกลืนเอาน้ำเข้าไปมาก ๆ แล้วกรองน้ำออกให้เหลือแต่แพลงก์ตอนและแมงกะพรุน ส่วนหัวขนาดใหญ่และริมฝีปากเป็นผิวหนังเหนียวจัดเป็นลักษณะเด่นของปลาฉลามชนิดนี้ นอกจากนี้แล้ว จากการสังเกตของนักวิทยาศาสตร์ ดร.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาฉลามเมกาเมาท์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามเสือ

ปลาฉลามเสือ (Tiger shark) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกฉลาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galeocerdo cuvier ในวงศ์ Carcharhinidae เป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Galeocerdo.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาฉลามเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามเสือดาว

ำหรับปลาฉลามเสือดาวอีกชนิดหนึ่ง ดูที่ ปลาฉลามเสือดาว (''Triakis semifasciata'') ปลาฉลามเสือดาว (Leopard shark, Zebra shark, Leppard shark) ปลาฉลามชนิดหนึ่งที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stegostoma fasciatum อยู่ในวงศ์ Stegostomatidae และถือเป็นปลาชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้และสกุล Stegostoma ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาที่มีครีบหางยาวมาก มีส่วนหัวมนกลมสั้นทู่ พื้นลำตัวสีเหลืองสลับลายจุดสีดำคล้ายลายของเสือดาว ยกเว้นส่วนหัวและหาง จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ เมื่อยังเล็กอยู่ ลายบนลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลดำคาดขาวคล้ายลายของม้าลาย บนลำตัวมีสันเป็นเหลี่ยมด้านละสองสัน ผิวหนังหยาบเป็นเม็ด เป็นปลาที่มีไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลามชนิดอื่น ๆ มีอุปนิสัยชอบนอนอยู่นิ่ง ๆ บนพื้นทรายและแนวปะการังใต้ทะเล ในความลึกตั้งแต่ 5-30 เมตร โดยพบในทะเลบริเวณแถบอินโด-แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้เวลาในช่วงกลางวันนอน กลางคืนออกหากิน อาหารได้แก่ สัตว์มีกระดอง และสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เมื่อถูกรบกวนจะว่ายหนีไป โดยใช้อวัยวะคล้ายหนวดที่อยู่รอบ ๆ ปลายส่วนหัวซึ่งเป็นอวัยวะใช้รับสัมผัสในการนำทางและหาอาหาร ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 3 เมตร ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาฉลามที่ออกลูกเป็นไข่ โดยจะวางไข่ในเขตน้ำตื้น ลูกปลาขนาดเล็กอาจจะเข้าไปอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำจืด แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำได้ เมื่อโตขึ้นจึงค่อยย้ายลงสู่ทะเลลึก ดังนั้นลูกปลาขนาดเล็กจึงมักติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมงอยู่บ่อย ๆ ซึ่งในทางประมงแล้ว ปลาฉลามชนิดนี้ไม่จัดว่าเป็นปลาที่ใช้ในการบริโภคแต่อย่างใด นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และมักพบเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาฉลามเสือดาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉนาก

ปลาฉนาก (Sawfishes) เป็นปลาจำพวกหนึ่งของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน ใช้ชื่ออันดับว่า Pristiformes และวงศ์ Pristidae (โดยมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า πρίστης, prístēs หมายถึง "เลื่อย" หรือ "ใบเลื่อย").

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาฉนาก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: ปลาฉลามและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

ใหม่!!: ปลาฉลามและน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: ปลาฉลามและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอน

แพลงก์ตอน แพลงก์ตอน (plankton) มาจากคำว่า πλανκτος ("planktos") ในภาษากรีกแปลว่า wanderer หรือผู้ท่องเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย คือสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถว่ายน้ำไปยังทิศทางที่ต้องการอย่างอิสร.

ใหม่!!: ปลาฉลามและแพลงก์ตอน · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาฉลามและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ปลาฉลามและเอเอสทีวีผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SelachimorphaSharkฉลาม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »