โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอ

ดัชนี เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอ

อ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอ (SS-Totenkopfverbände) หรือSS-TV (SS-TV) หรือเรียกว่า หน่วยหัวกะโหลก เป็นองค์กรย่อยของหน่วยชุทซ์ชทัฟเฟิลหรือเอ็สเอ็สที่รับผิดชอบในการบริหารค่ายกักกันนาซีสำหรับจักวรรดิไรซ์ที่สาม, ระหว่างหน้าที่คล้ายกัน.

24 ความสัมพันธ์: ชุทซ์ชทัฟเฟิลกองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 3 โทเทินคอฟการแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้ายยุทธการที่ฝรั่งเศสยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครองริชาร์ด กลืคส์วัฟเฟิน-เอ็สเอ็สสงครามโลกครั้งที่สองฮอโลคอสต์ธีโอดอร์ ไอค์เคอทบวงกลางความมั่นคงไรช์ค่ายกักกันบูเคนวัลด์ค่ายกักกันดาเคาค่ายกักกันนาซีค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซินค่ายกักกันเอาชวิทซ์ค่ายมรณะปฏิบัติการบาร์บารอสซาปฏิบัติการไรน์ฮาร์ดนาซีเยอรมนีไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็สไอน์ซัทซกรุพเพนไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์เบอร์ลิน

ชุทซ์ชทัฟเฟิล

ทซ์ชทัฟเฟิล (Schutzstaffel "ᛋᛋ" ที่เป็นอักษรรูน) หรือ เอ็สเอ็ส (SS) เป็นองค์กรกำลังกึ่งทหารสังกัดพรรคนาซีภายใต้คำสั่งของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เดิมมีชื่อองค์กรว่า ซาล-ซุทซ์ (Saal-Schutz) ซึ่งมีสมาชิกเป็นอาสาสมัครของพรรคนาซีเพื่อคุ้มกันและดูแลความปลอดภัยในการประชุมพรรคที่เมืองมิวนิก เมื่อไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์เข้าร่วมองค์กรในปี..

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและชุทซ์ชทัฟเฟิล · ดูเพิ่มเติม »

กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 3 โทเทินคอฟ

กองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 3 โทเทินคอฟ(3. SS-Panzer-Division "Totenkopf".) เป็นหนึ่งในสามสิบแปดกองพลของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สแห่งนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนที่จะบรรลุในสถานะกองพล การก่อตั้งหน่วยที่ได้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า คัมพ์กรุพเพอ(Kampfgruppe-กลุ่มหน่วยรบ)"ไอค์เคอ" บุคลการส่วนใหญ่ของกองพลนั้นมาจากหน่วยเอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอ(การ์ดผู้คุมค่ายกักกัน), และอื่นๆที่เป็นสมาชิกของทหารอาสาเยอรมันที่ได้ก่ออาชญากรรมสงครามในประเทศโปแลนด์ เนื่องจากตามที่สัญลักษณ์ประจำและชื่อ ('โทเทินคอฟ'.

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและกองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 3 โทเทินคอฟ · ดูเพิ่มเติม »

การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย

การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย หรือ มาตรการสุดท้าย (Final Solution; Die Endlösung) เป็นชื่อรหัสที่หมายถึงแผนการกำจัดชาวยิวทั่วยุโรประหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตามนโยบายกวาดล้างชาวยิวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมันหรือนาซี เป็นการเข่นฆ่าเพื่อล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวครั้งใหญ่ โดยเริ่มใช้มาตรการสุดท้าย ใน..

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและการแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ทธการที่ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนีที่สัมฤทธิ์ผล เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม..

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและยุทธการที่ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครอง

นแดนทวีปยุโรปภายใต้การยึดครองของเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายอักษะ (ในสีน้ำเงิน) ราว ค.ศ. 1942 การยึดครองยุโรปของเยอรมนี หมายถึง ดินแดนส่วนที่อยู่ภายใต้การยึดครองโดยกำลังทหารของนาซีเยอรมนี ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1939-1945) บางประเทศเป็นผู้ประกาศสงครามในฐานะฝ่ายสัมพันธมิตร อย่างเช่น สหราชอาณาจักรหรือสหภาพโซเวียต บางส่วนถูกบีบบังคับให้ยอมจำนนหรือถูกปราบปรามก่อนที่จะถูกยึดครองในภายหลัง ในบางกรณี รัฐบาลบางแห่งถูกบีบบังคับให้พลัดถิ่น หรือไม่ก็มีการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นใหม่โดยพลเมืองของประเทศนั้น ๆ บางประเทศซึ่งถูกนาซียึดครองนั้นดำรงตนเป็นกลางอย่างเป็นทางการ ดินแดนที่ถูกยึดครองบางส่วนเคยเป็นอดีตสมาชิกของฝ่ายอักษะ และถูกยึดครองโดยกองกำลังเยอรมันในช่วงปลายของสงคราม.

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครอง · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด กลืคส์

ริชาร์ด กลืคส์ (Richard Glücks) เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในหน่วยเอ็สเอ็ส (ชุทซ์ชทัฟเฟิล) ระหว่างเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและริชาร์ด กลืคส์ · ดูเพิ่มเติม »

วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส

วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส เป็นหน่วยกองกำลังติดอาวุธของพรรคนาซีในหน่วยชุทซ์ชทัฟเฟิลหรือหน่วยเอ็สเอ็ส เป็นการรวมตัวกันของคนในนาซีเยอรมนีพร้อมทั้งอาสาสมัครและทหารเกณฑ์จากทั้งสองดินแดนคือดินแดนที่ถูกยึดครองและดินแดนที่ไม่ถูกยึดครองซึ่งหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สเป็นหน่วยกองกำลังรบพิเศษที่จะปฏิบัติการรบร่วมกันกับกองทัพบก (เฮร์) ของเวร์มัคท์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 วัฟเฟิน-เอ็สเอ็สนั้นถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยกองกำลังองครักษ์พิทักษ์ฟือเรอร์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และถูกฝึกฝนมาอย่างหนักจนกลายเป็นกองกำลังรบระดับชั้นหัวกะทิเพื่อใช้เป็นเครื่องจักรสงครามในการยึดครองทวีปยุโรปตามเจตนารมณ์ของฮิตเลอร์และพรรคนาซี ฮิตเลอร์ได้มอบความไว้วางใจให้กับวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สมากที่สุดว่าเป็นหน่วยกองกำลังรบที่มีประสิทธิภาพในการรบมากที่สุด สามารถแก้ไขต่างๆได้ทุกสถานการณ์ ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง หน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สขึ้นชื่อว่าเป็นกองกำลังปีศาจเพราะเนื่องจากได้รับถูกปลูกฝังความคิดและอุดมการณ์นาซีทำให้ก่ออาชญากรรมสงครามมากมาย เช่น การสังหารหมู่เชลยศึกสงครามและพลเรือน การกวาดต้อนชาวยิวและอื่นๆในเขตปกครองของนาซีเยอรมันเข้าไปยังค่ายกักกันนาซี เป็นต้น แต่ในช่วงปลายสงครามในปี..

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ฮอโลคอสต์

"การเลือกสรร" ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ พฤษภาคม/มิถุนายน 1944; ผู้ที่ถูกส่งไปอยู่ทางขวา คือ ไปใช้แรงงานทาส ส่วนผู้ที่ถูกส่งไปทางซ้าย คือ ไปห้องรมแก๊ส จากภาพ เป็นชาวยิวฮังการีที่เพิ่งมาถึงค่าย ผู้ถ่าย คือ แอร์นสท์ ฮอฟมันน์หรือเบอร์นาร์ด วอลเตอร์แห่งหน่วยเอสเอส ฮอโลคอสต์, โฮโลคอสต์ (The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah (ภาษาฮีบรู: השואה), Churben (ภาษายิดดิช: חורבן) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี นักคอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวา และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม นิยามนี้เป็นนิยามที่สามัญที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 หากใช้นิยามนี้ จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11 ถึง 17 ล้านคน เฮนรี ฟีแลนเดอร์นิยามฮอโลคอสต์ว่า "การสังหารหมู่มนุษย์ เพราะพวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่นิยามทางชีวภาพ" หมายความว่า "พวกนาซีใช้นโยบายการกำจัดที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมเฉพาะกับมนุษย์สามกลุ่ม ผู้พิการ ชาวยิวและพวกยิปซี" การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ กฎหมายเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้บังคับในเยอรมนีหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยการหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่ ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่ง หากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทาง จะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก.

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและฮอโลคอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ธีโอดอร์ ไอค์เคอ

ีโอดอร์ ไอค์เคอ(17 ตุลาคม 1892 – 26 กุมภาพันธ์ 1943)เป็นผู้บัญชาการระดับสูงในหน่วยเอสเอสแห่งนาซีเยอรมนี.เขาได้บัญชาการในค่ายกักกันดาเคาและเอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอ(หน่วยหัวกะโหลก) ของวัฟเฟิน-เอ็สเอ็.

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและธีโอดอร์ ไอค์เคอ · ดูเพิ่มเติม »

ทบวงกลางความมั่นคงไรช์

ำนักความมั่นคงหลักไรช์ หรือ ไรช์ซิเชอร์ไฮท์เชาพ์ทัมท์Reichssicherheitshauptamt is variously translated as "Reich Main Secutiy Office", "Reich Security Main Office", "Reich Central Security Main Office", "Reich Security Central Office", "Reich Head Security Office", or "Reich Security Head Office".

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและทบวงกลางความมั่นคงไรช์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกันบูเคนวัลด์

นักโทษทาสแรงงานในค่ายกักกันบูเคนวัลด์ (อีลี วีเซล นักประพันธ์รางวัลโนเบลอเมริกันเชื้อสายยิวอยู่ในแถวที่ 2 คนที่ 7 จากซ้าย) ค่ายกักกันบูเคนวัลด์ (Buchenwald concentration camp) เป็นค่ายกักกันเชลยศึกของนาซีเยอรมนี จัดตั้งที่เอทเทอร์สแบร์ก (ภูเขาเอตเทอร์) ใกล้กับไวมาร์ ทูรินเจีย ประเทศเยอรมนีเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2480 มีการใช้แรงงานนักโทษส่วนใหญ่เยี่ยงทาสตามโรงงานผลิตอาวุธต่าง ๆ หลายแห่งในพื้นที่ใกล้เคียง ระหว่างปี พ.ศ. 2488-2493 ค่ายกักกันนี้ถูกใช้โดยพวกโซเวียตที่เป็นฝ่ายยึดครองส่วนหนึ่งของเยอรมนี.

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและค่ายกักกันบูเคนวัลด์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกันดาเคา

ทางอากาศของค่ายในอดีต ภาพถ่ายทางอากาศของอนุสรณ์สถานดาเคาในปัจจุบัน ค่ายกักกันดาเคา (Konzentrationslager (KZ) Dachau) เป็นค่ายกักกันนาซีแห่งแรกที่เปิดในเยอรมนี ตั้งอยู่บนที่ดินของโรงงานผลิตอาวุธร้างใกล้กับเมืองสมัยกลางชื่อว่า ดาเคา ห่างจากเมืองมิวนิกในรัฐบาวาเรียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 16 กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคใต้ของเยอรมนี ค่ายนี้เปิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม..

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและค่ายกักกันดาเคา · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกันนาซี

กองกำลังสหรัฐอเมริกา ณ ค่ายกักกันซึ่งได้รับการปลดปล่อย แสดงให้พลเรือนชาวเยอรมันเห็นพร้อมกับหลักฐาน: รถบรรทุกซึ่งเต็มไปด้วยซากศพ นาซีเยอรมนีได้จัดตั้งค่ายกักกันขึ้นตลอดดินแดนยึดครองของตน ค่ายกักกันนาซีในช่วงแรก ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในเยอรมนีภายหลังเหตุการณ์เพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก ในปี..

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและค่ายกักกันนาซี · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซิน

กักกันแบร์เกิน-เบลเซิน หรือ เบลเซิน (Bergen-Belsen Concentration camp) เป็นค่ายกักกันนาซีในเขตพื้นที่ของรัฐนีเดอร์ซัคเซิน (Low Saxon) ในภาคเหนือของเยอรมนี ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองแบร์เกิน ใกล้กับเมืองเซเลอ (Celle),แต่เดิมทีเคยเป็นค่ายเชลยศึก,ในปี 1943,ส่วนหนึ่งของมันได้กลายเป็นค่ายกักกัน.ช่วงแรกนี่คือ"ค่ายแลกเปลี่ยน"ซึ่งตัวประกันชาวยิวที่ถูกจัดตั้งขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะแลกเปลี่ยนกับนักโทษเชลยศึกเยอรมันที่จัดขึ้นในต่างประเท.ค่ายต่อมาได้รับการขยายเพื่อรองรับชาวยิวจากค่ายกักกันอื่น.

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซิน · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกันเอาชวิทซ์

ทางเข้าค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ หรือ ค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา (Auschwitz concentration camp หรือ Auschwitz-Birkenau) เป็นค่ายกักกันและค่ายมรณะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซีของนาซีเยอรมนีที่ทำการระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ชื่อของค่ายกักกันมาจากชื่อของเมือง "ออชเฟียนชิม" (Oświęcim) หลังจากการบุกครองโปแลนด์ ในเดือนกันยายน..

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและค่ายกักกันเอาชวิทซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายมรณะ

มรณะ (Extermination camp หรือ Death camp) สร้างโดยนาซีเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อเป็นสถานที่สำหรับสังหารผู้คนเป็นจำนวนล้าน (โดยเฉพาะชาวยิว) อย่างมีระบบ การพันธุฆาตชาวยิวเป็น “วิธีแก้ปัญหาสุดท้ายของปัญหาชาวยิว” (Die Endlösung der Judenfrage) ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ความพยายามของนาซีในการกำจัดชาวยิวทั้งหมดมาเรียกรวมกันว่า “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” หรือ “The Holocaust”.

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและค่ายมรณะ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการไรน์ฮาร์ด

ปฏิบัติการไรน์ฮาร์ด(Aktion Reinhard)เป็นรหัสนามที่มอบให้กับแผนการลับของนาซีเยอรมันที่จะทำการสังหารหมู่ชาวโปแลนด์เชื้อสายยิวส่วนใหญ่ในรัฐบาลสามัญเยอรมันในเขตการยึดครองโปแลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซี(Holocaust)และเป็นการแนะนำของค่ายมรณ.

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและปฏิบัติการไรน์ฮาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส

รชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส (Reichsführer-SS) เป็นตำแหน่งและยศของผู้บัญชาการของหน่วยชุทซ์ชทัฟเฟิล (เอ็สเอ็ส) ตำแหน่งนี้ปรากฏอยู่ระหว่าง..

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส · ดูเพิ่มเติม »

ไอน์ซัทซกรุพเพน

การสังหารชาวยิวที่ Ivanhorod,ยูเครน,ปี 1942 ภาพที่เห็นนั้นคือผู้หญิงคนหนึ่งได้ทำการปกป้องเด็กด้วยร่างกาย ก่อนที่จะถูกขับไล่ยิงด้วยปืนไรเฟิลในระยะประชิด ไอน์ซัทซกรุพเพน ("กำลังรบเฉพาะกิจ" "deployment groups") เป็นหน่วยทีมสังหารของกองกำลังกึ่งทหารหน่วยเอสเอสของนาซีเยอรมนีที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการสังหารหมู่,โดยส่วนใหญ่เป็นการยิงเป้า,ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (1939–45).ไอน์ซัทซกรุพเพนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่เหล่าปัญญาชน,รวมถึงสมาชิกของพระนักบว.และมีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการขั้นตอนสุดท้ายที่ถูกเรียกว่า การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย (Final solution to the Jewish question,Die Endlösung der Judenfrage) ในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนี,เกือบทั้งหมดทุกคนที่ถูกสังหารคือพลเรือน,เริ่มต้นจากกลุ่มปัญญาชนและเหล่านักบวช,ก่อนจะก้าวไปยังนักการเมืองโซเวียตคอมมิสซาร์,ชาวยิวและชาวยิปซีเช่นเดียวกันกับความเป็นจริงหรือถูกข้อกล่าวหาว่า ได้เข้าร่วมกับกลุ่มพลพรรค (partisans) ตลอดทั่วยุโรปตะวันออก ภายใต้การนำของไรซ์ฟือเรอร์-เอสเอสไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์และการกำกับดูแลของไรน์ฮาร์ด ฮายดริช ไอน์ซัทซกรุพเพนได้ปฏิบัติการในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันภายหลังจากการบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน ปี..

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและไอน์ซัทซกรุพเพน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์

น์ริช ลุทโพลด์ ฮิมม์เลอร์ (Heinrich Luitpold Himmler) เป็นหนึ่งในผู้นำพรรคนาซีในเยอรมนี และเป็น ไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ของหน่วย ชุทซ์ชทัฟเฟิล (เอ็สเอ็ส) รับผิดชอบด้านการคุมกำลังหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สทั้งหมดในไรช์ เขาเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในไรช์ และเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการทำฮอโลคอสต์ชาวยิวSource: Der Spiegel, Issue dated 3 November 2008: Hitlers Vollstrecker – Aus dem Leben eines Massenmörders ฮิมม์เลอร์เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม..

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอและเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SS-Totenkopfverbändeเอ็สเอ็ส-โทเทนคอฟเฟอร์แบนเดอ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »