โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย

ดัชนี พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย

รรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย เป็นพรรคการเมืองแนวสังคมนิยมและการปฏิวัติของรัสเซีย ก่อตั้งในปี 1898 ที่มินสก์ ต่อมาได้กลายเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต หลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม.

10 ความสัมพันธ์: บอลเชวิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตการปฏิวัติเดือนตุลาคมมินสค์ลัทธิมากซ์วลาดีมีร์ เลนินสังคมนิยมสีแดงปฏิวัติเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

บอลเชวิก

การประชุมพรรคบอลเชวิก บอลเชวิก (Bolshevik "บอลเชอวิก"; большеви́к "บาลชือวิก") แผลงมาจากคำว่าБольшинство แปลว่า ส่วนใหญ่ หรือ หมู่มาก บอลเชวิก หมายถึงสมาชิกของกลุ่ม ๆ หนึ่งภายในพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (RSDLP ย่อมาจาก Russian Social Democratic Labour Party) ซึ่งนิยมลัทธิมากซ์ กลุ่มนี้นำโดยเลนิน ในพรรคนี้ยังมีอีกลุ่มหนึ่งเรียกกันว่า меньшевик เมนเชวิก ซึ่งแผลงมาจากคำในภาษารัสเซีย Меньшинство แปลว่า ส่วนน้อย กลุ่มเมนเชวิกนำโดย จูเลียส มาร์ตอฟ เพื่อนสนิทและเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดคนหนึ่งของเลนิน การแตกคอกันมีขึ้นในการประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์และลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1903 และท้ายที่สุดแล้วกลุ่มบอลเชวิกก็กลายมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต พวกบอลเชวิกมองเศรษฐกิจในแนวสัมคมนิยมสุดขั้วและเชื่อในความเป็นสากลของชนชั้นกรรมาชีพ พวกเขายึดหลักอำนาจเผด็จการพรรคเดียวและเป้าหมายสูงสุดเรื่องการปฏิวัติโลก พวกเขาปฏิเสธความเป็นชาติรัฐของรัสเซีย ความเชื่อและแนวทางปฏิบัติของพวกเขามักถูกเรียกรวม ๆ ว่า ลัทธิบอลเชวิก (Bolshevism).

ใหม่!!: พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียและบอลเชวิก · ดูเพิ่มเติม »

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

รรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (Коммунисти́ческая Па́ртия Сове́тского Сою́за; КПСС) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปกครองสหภาพโซเวียตและเป็นสถาบันหรือองค์กรที่มีอำนาจและบทบาททั้งทางด้านนิตินัยและพฤตินัยในการกำหนดดำเนินนโยบายต่างประเทศ อำนาจในการบริหารและตัดสินใจมาจากกลุ่มบุคคลชั้นนำในคณะกรรมการการเมือง หรือ 'โปลิตบูโร' (Politburo / Политбюро).

ใหม่!!: พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติเดือนตุลาคม

การปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution, Октя́брьская револю́ция) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า การปฏิวัติสังคมนิยมแห่งเดือนตุลาคมอันยิ่งใหญ่ (Great October Socialist Revolution, Вели́кая Октя́брьская социалисти́ческая револю́ция) และเรียกโดยทั่วไปว่า ตุลาคมแดง, การลุกฮือเดือนตุลาคม หรือ การปฏิวัติบอลเชวิก เป็นการยึดอำนาจรัฐ ซึ่งมีความสำคัญส่วนหนึ่งของการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ลักษณะเหตุการณ์เป็นการก่อการกบฏด้วยอาวุธในกรุงเปโตรกราดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียและการปฏิวัติเดือนตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

มินสค์

ริเวณจัตุรัสแห่งชัยชนะในกรุงมินสค์ มินสค์ (Minsk; Мінск; Минск) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเบลารุส ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสวิสลาช (Svislach) และแม่น้ำเนียมีฮา (Niamiha) ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 280.4 เมตร กรุงมินสค์เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเครือรัฐเอกราช (CIS) ในที่เป็นฐานะเมืองหลวงของประเทศ ยังมีสถานะการบริหารพิเศษและยังเป็นศูนย์กลางการบริหารของจังหวัดมินสค์และเขตมินสค์อีกด้วย ในปี ค.ศ. 2006 กรุงมินสค์มีประชากรประมาณ 1,780,000 คน และมีนายมีคาอิล ปัฟลอฟ (Mikhail Pavlov) เป็นนายกเทศมนตรี หลักฐานยุคแรกเริ่มสุดที่กล่าวถึงมินสค์นั้นย้อนไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ค.ศ. 1067) ในปี ค.ศ. 1242 มินสค์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชรัฐลิทัวเนีย (Grand Duchy of Lithuania) และได้รับอภิสิทธิ์เมืองในปี ค.ศ. 1499 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1569 เมืองนี้ได้เป็นเมืองหลวงของมินสค์วอยวอดชิป (Minsk Voivodship) ในเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ต่อมาถูกผนวกเข้ากับรัสเซียในปี ค.ศ. 1793 ซึ่งเป็นผลจากการแบ่งแยกโปแลนด์ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1919-1991 มินสค์เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian SSR) ก่อนสหภาพโซเวียตล่มสล.

ใหม่!!: พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียและมินสค์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ใหม่!!: พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียและลัทธิมากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ เลนิน

วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) มีชื่อเต็มว่า วลาดีมีร์ อิลลิช อุลยานอฟ (Vladimir Ilyich Ulyanov, Владимир Ильич Ульянов) เป็นผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิส คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่สถาปนาเมื่อ..

ใหม่!!: พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียและวลาดีมีร์ เลนิน · ดูเพิ่มเติม »

สังคมนิยม

ังคมนิยม (อังกฤษ: Socialism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ ตลอดจนทฤษฎีและขบวนการทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว"The origins of socialism as a political movement lie in the Industrial Revolution." "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือที่กล่าวมารวมกัน มีความผันแปรของสังคมนิยมจำนวนมากและไม่มีนิยามใดครอบคลุมทั้งหมด ความผันแปรเหล่านี้แตกต่างกันในประเภทของการเป็นเจ้าของโดยสังคมที่ส่งเสริม ระดับที่พึ่งพาตลาดหรือการวางแผน วิธีการจัดระเบียบการจัดการภายในสถาบันการผลิต และบทบาทของรัฐในการสร้างสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอาศัยลัทธิองค์การการผลิตเพื่อใช้ หมายความว่า การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของมนุษย์โดยตรง และระบุคุณค่าวัตถุตามคุณค่าการใช้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับการผลิตมาเพื่อสะสมทุนและเพื่อกำไร ในแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐกิจสังคมนิยม มีการประสานงาน การทำบัญชีและการประเมินค่าอย่างเดียวกันโดยปริมาณทางกายภาพร่วม (common physical magnitude) หรือโดยการวัดแรงงาน-เวลาแทนการคำนวณทางการเงิน มีสองข้อเสนอในการกระจายผลผลิต หนึ่ง ยึดตามหลักที่ว่าให้กระจายแก่แต่ละคนตามการเข้ามีส่วนร่วม และสอง ยึดตามหลักผลิตจากทุกคนตามความสามารถ ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็น วิธีการจัดสรรและประเมินคุณค่าทรัพยากรที่แน่ชัดยังเป็นหัวข้อการถกเถียงในการถกเถียงการคำนวณสังคมนิยมที่กว้างกว.

ใหม่!!: พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียและสังคมนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง

ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.

ใหม่!!: พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียและสีแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิวัติ

ำว่าปฏิวัติในภาษาอังกฤษ (revolution) มีรากศัพท์จากภาษาละตินคือ revolutio และ revolvere แปลว่า หมุนกลับ (to turn around) คำนี้มีใช้ทั่วไปในทางสังคมศาสตร์ แต่ก็มีใช้ในทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน เช่น การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น สารานุกรมเมอร์เรียม-เวบสเตอร์ (Merriam-Webster Encyclopedia) อธิบายว่า ปฏิวัติทางการเมืองคือการเปลี่ยนแปลงการตัดรูปแบบของการเมืองการปกครองในระดับฐานราก (fundamentally) สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Briyanica Concise Encyclopedia) อธิบายว่าปฏิวัติในทางสังคมศาสตร์ และการเมือง คือการกระทำความรุนแรงต่อโครงสร้าง ระบบ สถาบัน ฯลฯ ทางสังคมการเมือง ปฏิวัติทางสังคมการเมืองจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานต่าง ๆ ที่สังคมการเมืองเป็นอยู่เดิม เพิ่มจัดตั้ง หรือสถานามาตรฐานของสังคมการเมืองแบบใหม่ให้เกิดขึ้น อาริสโตเติลอธิบายการปฏิวัติทางการเมืองไว้สองประเภท ดังนี้.

ใหม่!!: พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียและปฏิวัติ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg; Санкт-Петербу́рг, เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเนวา ริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2246 โดยตัวเมืองเริ่มสร้างด้วยการถมทรายและหินเป็นจำนวนมากเพราะว่าพื้นที่เดิมของเมืองนั้นเป็นดินเลนของทะเล พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างเมืองที่บริเวณนี้เพราะว่าตัวเมืองมีทางออกทะเลบอลติกและสามารถติดต่อไปทางยุโรปและประเทศอื่นๆได้ง่าย เพื่อการปฏิรูปรัสเซียให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้โดยง่าย ต่อมาเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กจึงได้รับสมญานามว่าหน้าต่างแห่งยุโรป และได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 206 ปี (หลังจากนั้นได้ย้ายเมืองหลวงไปที่มอสโก เมื่อ พ.ศ. 2461) ชื่อเดิมของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ เปโตรกราด (Petrograd, Петрогра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2457-2467) และ เลนินกราด (Leningrad, Ленингра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2467-2534) ปัจจุบันเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีประชากรมากกว่า 4.7 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัสเซีย และเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโก.

ใหม่!!: พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

RSDLPRussian Social Democratic Labour Partyพรรคแรงงานสังคมนิยมประชาธิปไตยรัสเซีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »