โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ดัชนี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

รงผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ Grafenrheinfeld, รัฐบาวาเรีย, ประเทศเยอรมนี เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อยู่ภายในอาคารเก็บกักรูปโดมที่อยู่ตรงกลาง, ด้านซ้ายและขวาเป็นหอหล่อเย็นซึ่งเป็นอุปกรณ์ระบายความร้อนที่ใช้กันทั่วไปในทุกโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน และเช่นกัน มันจะปล่อยไอน้ำจากส่วนของกังหันไอน้ำที่ไม่มีกัมมันตรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ Jaslovské Bohunice ในประเทศสโลวาเกีย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแบบหนึ่งที่ใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไอน้ำแรงดันสูงจ่ายให้กับกังหันไอน้ำ กังหันไอน้ำจะไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าออกมา โดยเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้ในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบวิจัย (Research Reactor) ที่ใช้ประโยชน์จากนิวตรอนฟลักซ์ในการวิจัย และระบายความร้อนที่เกิดขึ้นออกสู่ชั้นบรรยากาศ และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง (Power Reactor) ที่ใช้พลังความร้อนที่เกิดขึ้นเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลัง มีขนาดใหญ่โตกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเป็นอย่างมาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโรงไฟฟ้าชนิด Baseload คือผลิตพลังงานคงที่ โดยไม่ขึ้นกับกำลังงานที่ต้องการใช้จริง เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงมีราคาถูกเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายอื่นๆในการผลิต (ในขณะที่โรงไฟฟ้าที่ใช้การต้มน้ำด้วยแหล่งพลังงานอื่น สามารถลดการจ่ายไฟลงครึ่งหนึ่งได้เวลากลางคืนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง) กำลังไฟที่หน่วยผลิตจ่ายได้นั้นอาจมีตั้งแต่ 40 เมกะวัตต์ จนถึงเกือบ 2000 เมกะวัตต์ ในปัจจุบันหน่วยผลิตที่สร้างกันมีขอบเขตอยู่ที่ 600-1200 เมกะวัตต์ ข้อมูลของ IAEA ณ วันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2014 มีเครื่องปฏิกรณ์ทำงานอยู่ 435 เครื่องhttp://www.iaea.org/pris/ใน 31 ประเทศทั่วโลก รวมแล้วผลิตกำลังไฟฟ้าเป็น 1 ใน 6 ส่วนของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในโลก โดยสหรัฐอเมริกามีจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มากที่สุด ตามมาด้วย ฝรั่ง.

19 ความสัมพันธ์: ฟอบส์พ.ศ. 2557พลังงานนิวเคลียร์กริด (ไฟฟ้า)กากกัมมันตรังสีการรื้อถอนนิวเคลียร์การหลอมนิวเคลียสการแบ่งแยกนิวเคลียสภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิภัยพิบัติเชียร์โนบีลยูเรเนียมวัตต์สหรัฐสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์อุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์ประเทศฝรั่งเศสเศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่เดอะนิวยอร์กไทมส์เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

ฟอบส์

อดีตอาคารสำนักงานใหญ่นิตยสารฟอบส์ในนครนิวยอร์ก ฟอบส์ (Forbes) เป็นชื่อของนิตยสารเกี่ยวกับธุรกิจและการเงินในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1917 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง เจอร์ซีซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ นอกจากนี้ ทางนิตยสารยังตีพิมพ์เกี่ยวกับ ลำดับเศรษฐีของโลก ลำดับของดารา และลำดับบริษัทที่น่าสนใจในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ปัจจุบันมีฉบับภาษาไทยในชื่อ "Forbes Thailand" หมวดหมู่:นิตยสารข่าว หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์ หมวดหมู่:นิตยสารอเมริกัน.

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และฟอบส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2557

ทธศักราช 2557 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2014 วันแรกของปีตรงกับวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2014 ตามกำหนดสากลศักราช และปีที่ 2557 ตามกำหนดพุทธศักร.

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และพ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานนิวเคลียร์

รงไฟฟ้าพลังไอน้ำ Susquehanna แสดงเครื่องปฏิกรณ์ต้มน้ำร้อน. เครื่องปฏิกรณ์ตั้งอยู่ภายในอาคารเก็บกักรูปสี่เหลี่ยมที่อยู่ด้านหน้าของหอให้ความเย็น. โรงไฟฟ้านี้ผลิตกำลังไฟฟ้า 63 ล้านกิโลวัตต์ต่อวัน เรือรบพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ, จากบนลงล่าง เรือลาดตระเวน USS Bainbridge (CGN-25), USS Long Beach (CGN-9) and the USS Enterprise (CVN-65), เรือยาวที่สุดและเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ลำแรก. ภาพนี้ถ่ายในปี 1964 ระหว่างการทำสถิติการเดินทาง 26,540 nmi (49,190 km) รอบโลกใน 65 วันโดยไม่ต้องเติมเชื้อเพลิง. ลูกเรือแปรอักษรเป็นสูตรมวลพลังงานของไอน์สไตน์ว่า ''E.

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และพลังงานนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

กริด (ไฟฟ้า)

ผังทั่วไปของเครื่อข่ายไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าและการอธิบายภาพของสายส่งไฟฟ้าเป็นแบบทั่วไปของประเทศเยอรมันและระบบอื่นๆของยุโรป กริดไฟฟ้าหรือ (grid electrical)เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันสำหรับการจ่าย ไฟฟ้าจากผู้ผลิตต่างๆไปยังผู้บริโภค มันประกอบไปด้วยสถานีผลิตพลังงานไฟฟ้า, สายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่นำส่งพลังงานจากแหล่งที่ห่างไกลให้กับศูนย์ที่ต้องการใช้และสายกระจายแรงต่ำที่เชื่อมต่อลูกค้าแต่ละราย สถานีผลิตพลังงานอาจจะอยู่ใกล้ แหล่งเชื้อเพลิง, ที่ตั้งเขื่อนหรือการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานหมุนเวียน และมักจะตั้งอยู่ห่างจากพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นมาก พวกมันมักจะค่อนข้างใหญ่เพื่อใช้ประโยชน์จากการประหยัดจากขนาด(economy of scale) พลังงานไฟฟ้าที่ถูกสร้างขึ้นจะถูกแปลงให้มีแรงดันที่สูงขึ้นในระดับแรงดันเดียวกับกับเครือข่ายการส่งเพื่อส่งเข้าไปในสายส่งนั้น เครือข่ายการส่งกำลังจะขนส่งไฟฟ้าระยะทางไกล บางครั้งข้ามเขตแดนระหว่างประเทศจนกระทั่งถึงลูกค้าขายส่งของมัน (โดยปกติจะเป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของเครือข่ายการจัดจำหน่ายในพื้นที่) เมื่อมาถึงที่สถานีพลังงานย่อย พลังงานไฟฟ้าจะถูกลดระดับแรงดันไฟฟ้าลงสู่ระดับแรงดันไฟฟ้ากระจาย เมื่อออกจากสถานีย่อย ม้นจะเข้าสู่สายกระจาย ในที่สุดเมื่อมาถึงสถานที่บริการ กำลังจะถูกลดลงอีกครั้งจากแรงดันการกระจายไปเป็นแรงดันไฟฟ้าที่จะให้บริการที่จำเป็น.

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และกริด (ไฟฟ้า) · ดูเพิ่มเติม »

กากกัมมันตรังสี

กากกัมมันตรังสี (Radioactive waste) เป็นของเสียที่ประกอบด้วยสารกัมมันตรังสี กากกัมมันตรังสีมักจะเป็น'ผลพลอยได้'ของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์และการใช้งานอื่นๆจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันหรือเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เช่นการวิจัยนิวเคลียร์และการแพทย์นิวเคลียร์ กากกัมมันตรังสีเป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งแวดล้อม และถูกกำกับดูแลโดยหน่วยงานภาครัฐในการที่จะปกป้องสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคนิวตรอนไปกระทบกับนิวเคลียสของยูเรเนียมในสภาวะที่เหมาะสม ทำให้นิวเคลียสของยูเรเนียมแตกออกเป็นธาตุใหม่สองชนิดที่เป็นธาตุกัมมันตรังสีพร้อมทั้งให้พลังงานและนิวตรอนที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย ธาตุใหม่สองชนิดที่เกิดจากการแตกตัวของยูเรเนียมนี้เองเรียกว่า กากกัมมันตรังสี ซึ่งจะติดอยู่ในเม็ดเชื้อเพลิง ยูเรเนียมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะถูกอัดเป็นเม็ดเซรามิก บรรจุเรียงตัวกันภายในแท่งเชื้อเพลิง จากนั้นจึงนำไปใช้งานในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ กากกัมมันตรังสีจากปฏิกิริยาการแตกตัวของยูเรเนียมที่เกิดอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ภายในเครื่องปฏิกรณ์จะถูกกักเก็บอย่างมิดชิดภายในเม็ดเชื้อเพลิงที่มีปลอกแท่งเชื้อเพลิงห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ภายหลังการใช้งานแท่งเชื้อเพลิงไประยะหนึ่งจะมีกากกัมมันตรังสีเกิดสะสมขึ้นในเม็ดเชื้อเพลิงเป็นจำนวนมาก ทำให้ประสิทธิภาพของปฏิกิริยาลูกโซ่ลดลงจึงจำเป็นต้องมีการสับเปลี่ยนนำแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว (spent nuclear fuel (SNF)) ออกมาและเติมแท่งเชื้อเพลิงใหม่เข้าไปเพื่อให้ปฏิกิริยาดำเนินต่อไปได้ นอกจากนี้ระหว่างการเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังมีกากกัมมันตรังสีบางประเภทปะปนในน้ำระบายความร้อนและอุปกรณ์ภายในเครื่องปฏิกรณ์ จากการดูดจับอนุภาคนิวตรอน ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ผลิตไฟฟ้ามีภาระรับผิดชอบในการจัดการกับกากกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันมิให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกสู่ภายนอกโรงไฟฟ้า ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม กัมมันตภาพรังสีสามารถสูญสลายตามธรรมชาติไปตามกาลเวลา ดังนั้นกากกัมมันตรังสีจะต้องมีการแยกและถูกคุมขังในสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการกำจัดที่เหมาะสมเป็นระยะเวลานานเพียงพอจนกว่ามันจะไม่ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงอีกต่อไป ระยะเวลาของการเก็บกากของเสียจะขึ้นอยู่กับประเภทของของเสียและประเภทของไอโซโทปกัมมันตรังสี มันอาจมีระยะเวลาไม่กี่วันสำหรับไอโซโทปที่อายุสั้นมากๆจนถึงหลายล้านปีสำหรับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว วิธีการที่สำคัญในปัจจุบันในการจัดการกับกากกัมมันตรังสีคือการแยกและจัดเก็บสำหรับของเสียอายุสั้น การกำจัดโดยการฝังตื้นใกล้พื้นผิวโลกสำหรับของเสียระดับต่ำและระดับกลางบางส่วน และการฝังศพลึกหรือการแบ่งส่วน/การแปลงสภาพ (transmutation) สำหรับของเสียในระดับสูง บทสรุปของปริมาณกากกัมมันตรังสีและแนวทางการจัดการสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะมีการนำเสนอและทบทวนเป็นระยะๆซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ 'อนุสัญญาร่วมว่าด้วยความปลอดภัยของระบบการบริหารจัดการเชื้อเพลิงใช้แล้วและความปลอดภัยของการจัดการของเสียกัมมันตรังสี' (Joint Convention on the Safety of Spent Fuel Management and on the Safety of Radioactive Waste Management) ของสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency (IAEA)).

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และกากกัมมันตรังสี · ดูเพิ่มเติม »

การรื้อถอนนิวเคลียร์

ตัวอย่างของงานรื้อถอนที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ถังความดันเครื่องปฏิกรณ์กำลังถูกส่งออกไปจากโรงงานที่เพื่อเอาไปฝัง การรื้อถอนนิวเคลียร์ (Nuclear decommissioning) เป็นกระบวนการที่โรงไฟฟ้​​าพลังงานนิวเคลียร์จะถูกแยกส่วนจนถึงจุดที่ว่ามันจะไม่จำเป็นต้องมีมาตรการในการป้องกันการแผ่รังสีอีกต่อไป การปรากฏตัวของวัสดุกัมมันตรังสีจำเป็นต้องมีกระบวนการการป้องกันหลายอย่าง เนื่องจากมันเป็นอันตรายต่อผู้ครอบครอง เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมีราคาแพงและใช้เวลาดำเนินการมาก การรื้อถอนเป็นกระบวนการทางการบริหารและกระบวนการทางเทคนิค ซึ่งจะรวมถึงการทำความสะอาดวัสดุกัมมันตรังสีและการรื้อถอนโรงงานอย่างต่อเนื่อง เมื่อสิ่งอำนวยความสะดวกเช่นอาคารสถานที่ทั้งหมดถูกรื้อถอนไปจนหมด อันตรายจากรังสีไม่ควรจะยังมีอยู่ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนจะมีการกระจายตลอดช่วงชีวิตของสิ่งอำนวยความสะดวกนั้นและถูกบรรจุไว้ในงบประมาณเพื่อการรื้อถอน หลังจากที่สิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการรื้อถอนอย่างสมบูรณ์แล้ว มันจะหลุดออกจากการควบคุมของผู้กำกับดูแลกฎระเบียบ และผู้รับใบอนุญาตของโรงงานก็จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยเกี่ยวกับนิวเคลียร์ของตนอีกต่อไป การรื้อถอนจะต้องดำเนินการตลอดทุกขั้นตอนจนถึงจุดที่เป็นสถานะ "greenfield".

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และการรื้อถอนนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

การหลอมนิวเคลียส

้นโค้งพลังงานยึดเหนี่ยวนิวเคลียส, นิวคลีออน (หมายถึงองค์ประกอบของนิวเคลียส หมายถึงโปรตอนหรือนิวตรอน) ที่มีมวลสูงถึง Iron-56 โดยทั่วไปจะปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนพวกที่หนักกว่านั้นโดยทั่วไปจะดูดซับพลังงาน ดวงอาทิตย์จะผลิตพลังงานออกมาโดยการหลอมนิวเคลียสของไฮโดรเจนจนกลายเป็นฮีเลียม ในแกนกลางของมัน ดวงอาทิตย์จะหลอมไฮโดรเจน 620 ล้านเมตริกตันทุกวินาที การหลอมนิวเคลียส (nuclear fusion) ในทางฟิสิกส์นิวเคลียร์ เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างหนึ่งที่นิวเคลียสของอะตอมหนึ่งตัวหรือมากกว่าเข้ามาอยู่ใกล้กัน แล้วชนกันที่ความเร็วสูง รวมตัวกันกลายเป็นนิวเคลียสของอะตอมใหม่ที่หนักขึ้น ในระหว่างกระบวนการนี้ มวลของมันจะไม่เท่าเดิมเพราะมวลบางส่วนของนิวเคลียสที่รวมต้วจะถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานโปรตอน การหลอมนิวเคลียสสองนิวเคลียสที่มีมวลต่ำกว่าเหล็ก-56 (ที่ พร้อมกับนิกเกิล-62 มีพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนที่ใหญ่ที่สุด) โดยทั่วไปจะปลดปล่อยพลังงานออกมา ในขณะที่การหลอมนิวเคลียสที่หนักกว่าเหล็กจะ "ดูดซับ" พลังงาน การทำงานที่ตรงกันข้ามเรียกว่า "การแบ่งแยกนิวเคลียส" ซึ่งหมายความว่าโดยทั่วไปองค์ประกอบที่เบากว่าเท่านั้นที่สามารถหลอม เช่นไฮโดรเจนและฮีเลียม และในทำนองเดียวกันโดยทั่วไปองค์ประกอบที่หนักกว่าเท่านั้นที่สามารถแบ่งแยกได้ เช่นยูเรเนียมและพลูโทเนียม มีเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์แบบสุดขั้วอย่างมากที่สามารถนำไปสู่​​ช่วงเวลาสั้น ๆ ของการหลอมด้วยนิวเคลียสที่หนักกว่า นี้เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิด nucleosynthesis ที่เป็นการสร้างธาตุหนักในช่วงเหตุการณ์ที่เรียกว่ามหานวดารา หลังการค้นพบ "อุโมงค์ควอนตัม" โดยนักฟิสิกส์ นายฟรีดริช ฮุนท์ ในปี 1929 นายโรเบิร์ต แอตกินสันและนายฟริตซ์ Houtermans ใช้มวลขององค์ประกอบเบาที่วัดได้ในการคาดการณ์ว่าจำนวนมากของพลังงานสามารถที่จะถูกปลดปล่อยจากการทำหลอมนิวเคลียสขนาดเล็ก การหลอมในห้องปฏิบัติการของไอโซโทปของไฮโดรเจน เมื่อสร้างขึ้นระหว่างการทดลองการแปรนิวเคลียสโดยเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด ที่ได้ดำเนินการมาหลายปีก่อนหน้านี้ ก็ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกโดยนายมาร์ค Oliphant ในปี 1932 ในช่วงที่เหลือของทศวรรษนั้น ขั้นตอนของวงจรหลักของการหลอมนิวเคลียสในดวงดาวได้รับการทำงานโดยนายฮันส์ Bethe การวิจัยในหลอมเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1940 เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแมนแฮตตัน การหลอมก็ประสบความสำเร็จในปี 1951 ด้วยการทดสอบนิวเคลียร์แบบ "รายการเรือนกระจก" การหลอมนิวเคลียสในขนาดที่ใหญ่ในการระเบิดครั้งหนึ่งได้มีการดำเนินการครั้งแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน 1952 ในการทดสอบระเบิดไฮโดรเจนรหัสไอวีไมก์ (Ivy Mike) การวิจัยเพื่อการพัฒนา thermonuclear fusion ที่ควบคุมได้สำหรับวัตถุประสงค์ทางพลเรือนก็ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี 1950 เช่นกัน และยังคงเป็นไปจนทุกวันนี้.

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และการหลอมนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งแยกนิวเคลียส

prompt gamma rays) ออกมาด่วย (ไม่ได้แสดงในภาพ) การแบ่งแยกนิวเคลียส หรือ นิวเคลียร์ฟิชชัน (nuclear fission) ในสาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์และเคมีนิวเคลียร์ เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์หรือกระบวนการการสลายกัมมันตรังสีอย่างหนึ่งที่นิวเคลียสของอะตอม แตกออกเป็นชิ้นขนาดเล็ก (นิวเคลียสที่เบากว่า) กระบวนการฟิชชันมักจะผลิตนิวตรอนและโปรตอนอิสระ (ในรูปของรังสีแกมมา) พร้อมทั้งปลดปล่อยพลังงานออกมาจำนวนมาก แม้ว่าจะเป็นการปลดปล่อยจากการสลายกัมมันตรังสีก็ตาม นิวเคลียร์ฟิชชันของธาตุหนักถูกค้นพบเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1938 โดยชาวเยอรมัน นายอ็อตโต ฮาห์นและผู้ช่วยของเขา นายฟริตซ์ Strassmann และได้รับการอธิบายในทางทฤษฎีในเดือนมกราคมปี 1939 โดยนาง Lise Meitner และหลานชายของเธอ นายอ็อตโต โรเบิร์ต Frisch.

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และการแบ่งแยกนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ

ัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ (Fukushima Daiichi nuclear disaster) เป็นอุบัติเหตุด้านพลังงานที่เกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ หมายเลข I ที่เป็นผลเบื้องต้นมาจากคลื่นสึนามิจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2011Phillip Lipscy, Kenji Kushida, and Trevor Incerti.

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ · ดูเพิ่มเติม »

ภัยพิบัติเชียร์โนบีล

รงไฟฟ้าเชียร์โนบีลในปัจจุบัน แผนที่แสดงที่ตั้งของโรงไฟฟ้าเชียร์โนบีล เมือง Pripyat ที่ถูกทิ้งร้าง จะเห็นโรงไฟฟ้าเชียร์โนบีลอยู่ไกล ๆ ภัยพิบัติเชียร์โนบีล (Чорнобильська катастрофа, Čornobyľśka katastrofa; Chernobyl disaster) เป็นอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ขั้นร้ายแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล ตั้งอยู่ที่นิคมเชียร์โนบีล ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ ใกล้เมืองพริเพียต แคว้นเคียฟ ทางตอนเหนือของยูเครน ใกล้ชายแดนเบลารุส (ในขณะนั้นยูเครนและเบลารุสยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) อุบัติเหตุที่เชียร์โนบีลนี้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ในแง่ของค่าใช้จ่ายและชีวิต อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อวิศวกรได้ทำการทดสอบการทำงานของระบบหล่อเย็น และระบบทำความเย็นฉุกเฉินของแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แต่การทดสอบระบบได้ล่าช้ากว่ากำหนดจนต้องทำการทดสอบโดยวิศวกรกะกลางคืน ได้เกิดแรงดันไอน้ำสูงขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติไม่ทำงาน ส่งผลให้เกิดความร้อนสูงขึ้นจนทำให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 หลอมละลาย และเกิดระเบิดขึ้น ผลจากการระเบิดทำให้เกิดขี้เถ้าปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีพวยพุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ ปกคลุมทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ ทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซีย ต้องอพยพประชากรมากกว่า 336,431 คน ออกจากพื้นที่อย่างฉุกเฉิน อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นหนึ่งในสองครั้งที่ได้รับการจัดความรุนแรงไว้ที่ระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ อีกครั้งหนึ่งเป็นของภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิในปี 2011 สงครามเพื่อต่อสู้กับการปนเปื้อนและป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียมากไปกว่านี้เกี่ยวข้องกับคนงานทั้งทหารและพลเรือนกว่า 500,000 คนและค่าใช้จ่ายประมาณ 18 พันล้านรูเบิ้ลGorbachev, Mikhail (1996), interview in Johnson, Thomas,,, Discovery Channel, retrieved 19 February 2014.

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และภัยพิบัติเชียร์โนบีล · ดูเพิ่มเติม »

ยูเรเนียม

ูเรเนียม (Uranium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 92 และสัญลักษณ์คือ U เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี ตามธรรมชาติมีลักษณะสีเงินวาว อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) ไอโซโทป U-235 ใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ ตามธรรมชาติพบยูเรเนียมในปริมาณเล็กน้อยในหิน ดิน น้ำ พืช และสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย ครึ่งชีวิตของธาตุยูเรเนียมคือ 4,500 ล้านปี (U-238).

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และยูเรเนียม · ดูเพิ่มเติม »

วัตต์

วัตต์ (watt, สัญลักษณ์ W) เป็นหน่วยเอสไอของกำลังตั้งชื่อตาม เจมส์ วัตต์ ตัวอย่างพลังงานในหน่วยวัตต์ เช่น หลอดไฟที่ใช้ตามบ้านใช้ 100 วัตต์ ขณะที่ เขื่อนฮูเวอร์ผลิตสองพันล้านวัตต์ 1 วัตต์ มีค่าเท่ากับ 1 จูล ของ พลังงาน ต่อ วินาที วัตต์ (watt หรือ W)คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดที่ใช้ในการทำงาน เช่น หลอดไฟ 100 วัตต์ หมายความว่า หลอดไฟกินไฟ 100 จูลต่อวินาที.

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และวัตต์ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

ันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, ตัวย่อ เอ็มไอที, เรียกโดยชุมชน MIT ว่า "the Institute แปลว่า สถาบัน") เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อเสียงมานานในเรื่องงานวิจัยและการศึกษาในสาขาเคมี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่าง ๆ แล้วเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นต่อ ๆ มาในสาขาชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และการจัดการ MIT ตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ · ดูเพิ่มเติม »

อุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์

ทางอากาศในปี 2010 แสดงปล่องระบายไอน้ำของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 (ซ้าย) ที่เลิกใช้งานแล้ว ในขณะที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 (ขวา) ยังคงปฏิบัติงานอยู่ในปัจจุบัน ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ขณะเยี่ยมชมห้องควบคุมเตาปฏิกรณ์ TMI-2 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 1979 กับผู้อำนวยการของ NRR นาย Harold Denton ผู้ว่าการรัฐเพนซิลเวเนีย นาย Dick Thornburgh และผู้ควบคุมห้องปฏิบัติการ TMI-2 นาย James Floyd อุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์ (Three Mile Island accident) เป็นการหลอมละลายทางนิวเคลียร์บางส่วนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1979 ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หนึ่งในสองเครื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกาะทรีไมล์ ที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำซัสควีฮานนา ดาวฟินเคาน์ตี ใกล้เมืองแฮริสเบิร์ก เมืองหลวงของรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา อุบัติเหตุครั้งนี้ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้ในทางพานิชย์ของสหรัฐ และได้รับการจัดความรุนแรงไว้ที่ระดับ 5 จาก 7 ตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (INES) แปลว่า อุบัติเหตุนี้'มีผลกระทบในวงกว้างมาก' อุบัติเหตุเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวในระบบรอง (secondary system) ที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ ตามติดด้วยวาล์วระบายที่ทำงานด้วยการนำร่อง (Pilot-Operated Relief Valve (PORV)) ที่ติดขัดและเปิดค้างในระบบหลัก (primary system) ทำให้น้ำหล่อเย็นจำนวนมากของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์รั่วไหลออกมา ความล้มเหลวทางกลไก (mechanical failure) ถูกผสมเข้ากับความล้มเหลวแต่แรกของผู้ควบคุมเครื่องโรงไฟฟ้าที่รับรู้สถานการณ์ที่คิดว่าเป็นอุบัติเหตุจากการสูญเสียน้ำหล่อเย็นเนื่องจากการฝึกอบรมที่ไม่เพียงพอและปัจจัยของมนุษย์ (human factor) เช่นการมองข้ามการออกแบบที่ให้คอมพิวเตอร์มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดในห้องควบคุมที่ไม่ชัดเจนใน user interface ของโรงไฟฟ้​​า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไฟแสดงสถานะที่ถูกซ่อนไว้ได้นำผู้ควบคุมเครื่องคนหนึ่งดำเนินการยกเลิกด้วยมือ (manually overriding) ของระบบระบายความร้อนฉุกเฉินอัตโนมัติของเครื่องปฏิกรณ์ เพราะผู้ควบคุมเครื่องคนนั้นเข้าใจผิดว่ามีน้ำหล่อเย็นมากเกินไปอยู่ในเครื่องปฏิกรณ์และเป็นสาเหตุให้ความดันไอน้ำถูกปล่อยออกมา – National Geographic อุบัติเหตุได้ตกผลึกความกังวลด้านความปลอดภัยในการต่อต้านนิวเคลียร์ในหมู่นักเคลื่อนไหวและประชาชนทั่วไป ส่งผลให้เกิดกฎระเบียบใหม่สำหรับอุตสาหกรรมนิวเคลียร์และได้รับการยกฐานะให้เป็นผู้สนับสนุนในการลดลงของโครงการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์ใหม่ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการในช่วงทศวรรษที่ 1970 การหลอมละลายบางส่วนส่งผลให้มีการปลดปล่อยปริมาณที่ไม่ทราบจำนวนของก๊าซกัมมันตรังสีและสารกัมมันตรังสีไอโอดีน (iodine-131) เข้าสู่สภาพแวดล้อม การคาดการณ์ที่เลวร้ายถูกจัดทำโดยนักกิจกรรมเคลื่อนไหวต่อต้านนิวเคลียร์ แต่การศึกษาด้านระบาดวิทยาที่ทำการวิเคราะห์อัตราการเกิดโรคมะเร็งในพื้นที่และรอบ ๆ พื้นที่ตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุ ได้พิจารณาว่าการมีเพิ่มขึ้นขนาดเล็กที่ไม่ได้มีนัยสำคัญทางสถิติในอัตราการเกิดโรคมะเร็ง จึงไม่สามารถเชื่อมโยงสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเหล่านี้กับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ การทำความสะอาดได้เริ่มต้นในเดือนสิงหาคมปี 1979 และจบลงอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคมปี 1993 ด้วยค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดรวมประมาณ $ 1 พันล้าน.

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และอุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่

รษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ใหม่ (economics of new nuclear power plants) เป็นเรื่องที่ถกเถียงกัน เนื่องจากมีมุมมองที่ขัดแย้งกันในหัวข้อนี้และเกี่ยวข้องกับเงินหลายพันล้านดอลล่าร์ที่จะใช้ในการลงทุนกับทางเลือกของแหล่งพลังงาน โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์มักจะมีค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนที่สูงในการก่อสร้างและการรื้อถอน อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าใช้จ่ายในอนาคตเพื่อการจัดเก็บกากนิวเคลียร์ ข้อดีในปัจจุบันของพลังงานนิวเคลียร์ก็คือมีค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงที่ต่ำและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำ หลายปีที่ผ่านมา ได้มีการชะลอตัวของการเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้า และการจัดหาเงินลงทุนได้กลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น ซึ่งมีผลกระทบในโครงการขนาดใหญ่ เช่นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีค่าใช้จ่ายเฉพาะหน้าขนาดใหญ่มาก และโครงการมีรอบระยะเวลาดำเนินการที่ยาวมากทำให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่หลากหลายอย่างมาก ในยุโรปตะวันออก หลายโครงการที่ดำเนินการมาอย่างยาวนานกำลังดิ้นรนที่จะหาการสนับสนุนด้านการเงิน ที่เห็นได้ชัดคือโครงการ Belene ในประเทศบัลแกเรีย และการติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์เพิ่มเติมในโครงการ Cernavodă ในประเทศโรมาเนีย และอีกปัญหาคือผู้อุดหนุนทางการเงินทุนที่มีศักยภาพบางส่วนได้ถอนตัวออกมา ในขณะที่ก๊าซราคาถูกสามารถหามาใช้ได้และการจัดหาในอนาคตก็ค่อนข้างมั่นคง มันยังแสดงให้เห็นภาพของปัญหาขนาดใหญ่สำหรับโครงการนิวเคลียร์ทั้งหลายอีกด้วย การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ของพลังงานนิวเคลียร์จะต้องคำนึงถึงผู้ที่จะรับความเสี่ยงที่ไม่แน่นอนในอนาคต ณ วันนี้ โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์มีการดำเนินงานทั้งหมดโดยรัฐเป็นเจ้าของหรือผู้ประกอบการสาธารณูปโภคผูกขาด โดยที่หลายของความเสี่ยงจะเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง, ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน, ราคาเชื้อเพลิง, และปัจจัยอื่น ๆ ความเสี่ยงเหล่านี้จะถูกแบกรับโดยผู้บริโภคไม่ใช่ซัพพลายเออร์ ในขณะนี้หลายประเทศได้เปิดเสรีตลาดไฟฟ้าที่ทำให้ความเสี่ยงเหล่านี้และความเสี่ยงของคู่แข่งที่ราคาถูกกว่าที่จะเกิดขึ้นก่อนที่ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนจะถูกใช้คืนจะตกเป็นภาระของผู้ผลิตและผู้ประกอบการโรงไฟฟ้ามากกว่าผู้บริโภคที่จะนำไปสู่​​การประเมินผลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของเศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ใหม่ สองในสี่ของเครื่องปฏิกรณ์ยุโรปแบบแรงดัน (European Pressurized Reactor (EPR)) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง (ได้แก่ โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ Olkiluoto ในฟินแลนด์และในฝรั่งเศส) อยู่หลังตารางเวลาอย่างมีนัยสำคัญและมีค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณอย่างมาก หลังจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะไดอิจิ ปี 2011 ค่าใช้จ่ายต่างๆมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นสำหรับการดำเนินงานโรงไฟฟ้​​าพลังงานนิวเคลียร์ในปัจจุบันและโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่สร้างขึ้นใหม่ เนื่องจากกฏระเบียบที่เพิ่มขึ้นสำหรับการจัดการกับเชื้อเพลิงในสถานที่ใช้งาน (on-site spent fuel management) และภัยคุกคามที่มีต่อพื้นฐานการออกแบบที่มีสูงขึ้น.

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และเศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

แกนของ CROCUS, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กที่ใช้สำหรับการวิจัยที่ EPFL ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Nuclear Reactor) เป็นอุปกรณ์ที่ก่อกำเนิดและควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ลูกโซ่ (Nuclear chain reaction) อย่างยั่งยืน มันถูกนำมาใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าและในการขับเคลื่อนเรือ ความร้อนจากนิวเคลียร์ฟิชชั่นถูกส่งไปให้กับของเหลว (น้ำหรือก๊าซ) ให้เป็นตัวทำงาน (working fluid) ของเหลวความร้อนสูงจะไหลไปหมุนกังหันเพื่อหมุนใบพัดเรือหรือหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไอน้ำที่สร้างโดยนิวเคลียร์ในหลักการสามารถนำมาใช้เพื่อให้ความร้อนในกระบวนการอุตสาหกรรมหรือสำหรับให้ความร้อนชุมชน (district heating) เครื่องปฏิกรณ์บางเครื่องใช้ในการผลิตไอโซโทปสำหรับการใช้งานทางการแพทย์และอุตสาหกรรมหรือผลิตพลูโตเนียมสำหรับทำอาวุธ บางเครื่องก็ใช้สำหรับงานวิจัยเท่านั้น ทุกวันนี้มีประมาณ 450 เครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในประมาณ 30 ประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Nucelear Power Plantโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »