เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

โนวายาเซมลยา

ดัชนี โนวายาเซมลยา

นวายาเซมลยา (p, แปลว่า. แผ่นดินใหม่), หรืออีกชื่อใน ภาษาดัตช์, ในชื่อ โนวา เชมเบีย, เป็นชื่อของกลุ่มเกาะ ใน มหาสมุทรอาร์กติก อยู่ทางตอนเหนือของ ประเทศรัสเซีย โดยจุดที่ตะวันออกสุดของทวีปยุโรปอยู่ที่ Cape Flissingsky ที่เกาะเหนือ ตามหลักเขตการปกครองของรัสเซีย เกาะมีชื่อว่า เขตโนวายาเซมลยา โดยเป็นหนึ่งใน 21 เขตการปกครองใน แคว้นอาร์ฮันเกลสค์Law #65-5-OZLaw #258-vneoch.-OZ.

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 8 ความสัมพันธ์: กลุ่มเกาะภาษาดัตช์มหาสมุทรอาร์กติกสหภาพโซเวียตสงครามเย็นซาร์บอมบาประเทศรัสเซียเขตการปกครองของประเทศรัสเซีย

  2. กลุ่มเกาะในมหาสมุทรอาร์กติก

กลุ่มเกาะ

กลุ่มเกาะมะริด ในประเทศพม่า กลุ่มเกาะ (archipelago หรือ island group) เป็นหมู่เกาะที่โยงกันเป็นโซ่หรือเป็นกลุ่ม คำว่า archipelago มาจากภาษากรีก ἄρχι ("หลัก") และ πέλαγος ("ทะเล") ผ่านกลุ่มเกาะอิตาลี ในภาษาอิตาลี ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าหลักจากประเพณีความเก่าแก่ กลุ่มเกาะ (จากภาษากรีกสมัยกลาง ἀρχιπέλαγος) เป็นชื่อเฉพาะของทะเลอีเจียน และภายหลัง การใช้ได้เปลี่ยนเป็นหมายถึงหมู่เกาะอีเจียน (เพราะทะเลดังกล่าวมีชื่อเสียงกันว่ามีเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก) ปัจจุบัน ใช้หมายถึงกลุ่มเกาะใด ๆ หรือ บางครั้ง ทะเลที่บรรจุเกาะกระจัดกระจายกันจำนวนมาก เช่น ทะเลอีเจียน กลุ่มเกาะอาจพบห่างไกลในแหล่งน้ำหรืออยู่ใกล้กับผืนดินขนาดใหญ่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น สกอตแลนด์มีเกาะมากกว่า 700 เกาะล้อมแผ่นดินใหญ่ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มเกาะ กลุ่มเกาะนี้มักมีภูเขาไฟ ก่อตัวขึ้นตามหมู่เกาะโค้งที่เกิดจากเขตมุดตัวของเปลือกโลกหรือจุดศูนย์รวมความร้อน แต่ยังอาจเกิดจากการกัดเซาะ การทับถมและความสูงของพื้นที่ดิน ประเทศสมัยใหม่ขนาดใหญ่ที่สุดห้าประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักร รัฐกลุ่มเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตามพื้นที่ คือ อินโดนีเซีย กลุ่มเกาะที่มีเกาะมากที่สุดอยู่ในทะเล Archipelago ในฟินแลน.

ดู โนวายาเซมลยาและกลุ่มเกาะ

ภาษาดัตช์

ษาดัตช์ (Dutch; Nederlands) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกัน.

ดู โนวายาเซมลยาและภาษาดัตช์

มหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).

ดู โนวายาเซมลยาและมหาสมุทรอาร์กติก

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ดู โนวายาเซมลยาและสหภาพโซเวียต

สงครามเย็น

กำแพงเบอร์ลินจากฝั่งตะวันตก กำแพงถูกสร้างใน ค.ศ. 1961 เพื่อป้องกันมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหนีและหยุดการหลั่งไหลของแรงงานซึ่งเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ มันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นและการทลายกำแพงใน ค.ศ.

ดู โนวายาเซมลยาและสงครามเย็น

ซาร์บอมบา

แผนที่แสดงจุดทดสอบ (แสดงด้วยสีแดง) แผนภาพเปรียบเทียบขนาดของลูกไฟของซาร์ บอมบา (สีแดง), ลิตเติลบอย (สีชมพู) และมินิตแมน (สีเขียว) ซาร์ บอมบา (Царь-бомба; Tsar Bomba) เป็นชื่อเล่นที่ใช้เรียกระเบิดไฮโดรเจน AN602 ของสหภาพโซเวียต เป็นอาวุธนิวเคลียร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีพลังทำลายล้างรุนแรงที่สุด เท่าที่เคยมีการใช้งานมา จัดว่าเป็น "อาวุธที่มีพลังทำลายล้างที่สุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ" ชื่อนี้เป็นชื่อที่สื่อในโลกตะวันตกตั้งให้ แต่ต่อมาในรัสเซียก็ยอมรับชื่อนี้มาใช้ ระเบิดนี้พัฒนาขึ้นโดยสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น ตามแบบแผนที่ออกแบบไว้เดิมจะมีขนาดเทียบเท่ากับการระเบิดของทีเอ็นที (TNT) 100 เมกะตัน เทียบเท่ากับ 420 PJ (เพตะจูล) แต่ได้ลดลงเหลือ 50 เมกะตัน เพื่อลดขนาดของระเบิดลงให้สามารถบรรทุกด้วยเครื่องบินตูโปเลฟ ตู-95 ที่ได้รับการดัดแปลงเป็นพิเศษ พลังทำลายล้างของซาร์ บอมบา คิดเป็น 1,400 เท่าของระเบิดลิตเติลบอย (13-18 กิโลตัน) รวมกับแฟตแมน (21 กิโลตัน) ซาร์ บอมบามีความยาว 8 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.1 เมตร น้ำหนัก 27,000 กิโลกรัม (60,000 ปอนด์) ถูกสร้างขึ้นจำนวน 1 ลูก และลูกตัวอย่างอีก 1 ลูกที่สร้างขึ้นเฉพาะโครงสร้างภายนอก ลูกระเบิดถูกนำไปทดสอบเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ.

ดู โนวายาเซมลยาและซาร์บอมบา

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ดู โนวายาเซมลยาและประเทศรัสเซีย

เขตการปกครองของประเทศรัสเซีย

การที่เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก จึงทำให้รัสเซียแบ่งเขตการปกครองเป็นหลายระดับและหลายประเภท.

ดู โนวายาเซมลยาและเขตการปกครองของประเทศรัสเซีย

ดูเพิ่มเติม

กลุ่มเกาะในมหาสมุทรอาร์กติก

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Novaya Zemlyaโนวายา เซมลยา