โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไก่ป่าชวา

ดัชนี ไก่ป่าชวา

ก่ป่าชวา หรือ ไก่ป่าเขียว (Green junglefowl, Javan junglefowl) เป็นไก่ป่าชนิดหนึ่ง ไก่ป่าชวา มีลำตัวยาวประมาณ 75 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้มีขนสร้อยคอสั้นและกลมมนสีขาว ตัวเมียมีหน้าอกสีน้ำตาลคล้ำ ส่วนของลำตัวมีลายสีดำทั่วไป พบกระจายพันธุ์ในเกาะชวา และเกาะบาหลี และเกาะต่าง ๆ รายรอบในประเทศอินโดนีเซีย เช่น เกาะโคโมโด, เกาะฟลอเรส เป็นต้น พบได้ในที่ราบและจนถึงพื้นที่สูงถึง 2,000 เมตร ในป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ไก่ป่าชวาที่ผสมข้ามพันธุ์กับไก่ป่า (G. gallus bankiva) ที่พบในชวา ได้ลูกผสมที่เรียกว่า "เบคิซาร์" เป็นที่นิยมกันมากในชวาตะวันออก.

9 ความสัมพันธ์: วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทาสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับไก่จังหวัดบาหลีไก่ป่าไก่เถื่อนเกาะชวา

วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา

วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (วงศ์: Phasianidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก อันดับไก่ (Galliformes) โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Phasianidae ลักษณะโดยรวมของนกในวงศ์นี้ มีจะงอยปากสั้นหนาแข็งแรง ปลายแหลม มีหงอน มีเหนียง 2 เหนียง ขนหางมี 8-32 เส้น ขาแข็งแรง แต่ละข้างมีตีนนิ้วยื่นไปข้างหน้า 3 นิ้ว ข้างหลัง 1 นิ้ว นิ้วที่ยื่นไปข้างหลังอยู่สูงกว่านิ้วอื่นเล็กน้อย ตัวผู้มีเดือยข้างละเดือย กินเมล็ดพืชและสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ โดยเฉพาะแมลงและหนอนบนพื้นดินเป็นอาหาร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง ปีกมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับนกในวงศ์อื่น จึงทำให้ไม่สามารถบินได้ แต่จะบินได้ในระยะใกล้ ๆ เช่น บินขึ้นต้นไม้ มักอาศัยอยู่ในป่าไผ่และป่าละเมาะ มีความแตกต่างระหว่างเพศชัดเจน ตัวผู้จะมีขนาดและสีสันรวมทั้งลักษณะสวยงามกว่าตัวเมีย ไข่มีสีเปลือกทั้งขาว, สีนวล และลายประแต้มสีต่าง ๆ มีขนาดแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ยาวเป็นเมตร จนเพียง 20 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์ในหลายทวีปทั่วโลก ได้แก่ เอเชีย, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และแอฟริกา แบ่งออกได้เป็น 4 วงศ์ย่อย (ดูได้ในตาราง) พบราว 156 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบทั้งสิ้น 26 ชนิด อาทิ ไก่นวล (Rhizothera longirostris), นกคุ่มญี่ปุ่น (Coturnix japonica), ไก่จุก (Rollulus rouloul), ไก่ป่า (Gullus gullus) เป็นต้น นกในวงศ์นี้ มีความผูกพันกับมนุษย์มาอย่างช้านาน ด้วยการใช้เนื้อและไข่บริโภคเป็นอาหาร อาทิ ไก่ที่เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ก็มีต้นทางมาจากไก่ป่า หรือไข่นกกระทา ก็นำมาจากไข่ของนกคุ่มญี่ปุ่น หรือบางชนิดที่มีความสวยงามหรือโดดเด่น ก็ถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม เช่น ไก่ฟ้าสีทอง (Chrysolophus pictus), นกยูง (Pavo spp.) เป็นต้น.

ใหม่!!: ไก่ป่าชวาและวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ไก่ป่าชวาและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ไก่ป่าชวาและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: ไก่ป่าชวาและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับไก่

อันดับไก่ เป็นอันดับของสัตว์ปีกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galliformes สัตว์ปีกหรือนกในนี้มีขนาดลำตัวตั้งแต่เล็กมากจนถึงใหญ่มาก ตั้งแต่ 12 – 223 เซนติเมตร จะงอยปากสั้น ปลายปากทู่ จะงอยปากบนโค้งเล็กน้อย รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน ขาใหญ่ แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดแบบเกล็ดซ่อน นิ้วหลังอยู่ในระดับเดียวกับนิ้วหน้า เล็บทู่ ปากสั้น ปลายปากมนและเว้าเข้าข้างใน ขนปลายปากแข็งและโค้ง มี 10 เส้น และมีขนกลางปากเส้นที่ 5 ขนหางมี 8 – 32 เส้น ขนแต่ละเส้นมีแกนขนรอง ตัวเต็มวัยลำตัวมีขนอุยปกคลุมห่าง ๆ ต่อมน้ำมันเป็นพุ่มขน แต่บางชนิดก็ไม่เป็นพุ่มขน มีพฤติกรรมเป็นนกที่คุยเขี่ยหาอาหารตามพื้นดิน อาศัยตามต้นไม้ อาหารได้แก่ เมล็ดธัญพืช ผลไม้ เมล็ดพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ทำรังตามพื้นดินหรือกิ่งไม้ วางไข่คราวละ 1 – 20 ฟอง ไข่มีสีเนื้อหรือสีขาว อาจมีลายจุด ลูกอ่อนในระยะแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมเต็มลำตัว สามารถเดินตามพ่อแม่ไปหาอาหารได้ทันทีหลังจากขนแห้ง.

ใหม่!!: ไก่ป่าชวาและอันดับไก่ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบาหลี

หลี (Bali) เป็น 1 ใน 34 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย เมืองสำคัญคือเดินปาซาร์ พื้นที่ทั้งหมด 5,634.40 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 3,422,600 คน ความหนาแน่นของประชากร 607 คน/ตารางกิโลเมตร ภาษาที่ใช้คือภาษาอินโดนีเซียและภาษาบาหลี.

ใหม่!!: ไก่ป่าชวาและจังหวัดบาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ป่า

''Gallus gallus'' ไก่ป่า หรือ ไก่เถื่อน อยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) จัดเป็นนกมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขนาดลำตัว 46-73 เซนติเมตร พบการกระจายอยู่ในเขตศูนย์สูตรโดยมีการกระจายตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ จนไปถึงเกาะต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย จัดเป็นไก่สายพันธุ์ดั้งเดิมและเป็นต้นตระกูลของไก่บ้านที่เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกได้แบ่งชนิดย่อยได้ 6 ชน.

ใหม่!!: ไก่ป่าชวาและไก่ป่า · ดูเพิ่มเติม »

ไก่เถื่อน

ก่เถื่อน หรือ ไก่ป่า เป็นสกุลของสัตว์ปีกที่บินไม่ได้ ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Gallus ซึ่งเป็นภาษาละตินที่หมายถึง "ไก่ตัวผู้" ไก่เถื่อน มีลักษณะสำคัญแตกต่างจากไก่สกุลอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน คือ บนหัวมีหงอนที่เป็นเนื้อไม่ใช่ขน มีเหนียงทั้ง 2 ข้างห้อยลงมาที่โคนปากและคาง ที่บริเวณใบหน้าและคอเป็นหนังเกลี้ยงไม่มีขน ขนตามลำตัวมีสีสันสวยงาม ขนหางตั้งเรียงกันเป็นสันสูงตรงกลาง มีขนหาง 14-16 เส้น เส้นกลางยาวปลายแหลมและอ่อนโค้ง ที่แข้งมีเดือยแหลมข้างละอันเป็นอาวุธที่ใช้ในการป้องกันตัว มีความแตกต่างระหว่างเพศชัดเจน โดยตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้และขนมีสีไม่ฉูดฉาดเท่าตัวผู้ แข้งไม่มีเดือย หงอนและเหนียงมีขนาดเล็กเห็นชัดเจน พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ทวีปยูเรเชีย จนถึงอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ และภาคใต้ของจีน เช่น มณฑลยูนนาน โดยพบทั้งผืนแผ่นดินใหญ่และส่วนที่เป็นเกาะหรือหมู่เกาะ ไก่ในสกุลนี้ ถือได้ว่าเป็นไก่ที่ผูกพันกับมนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยมีหลักฐานว่ามนุษย์ได้นำไก่ในสกุลนี้มาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในครัวเรือน เพื่อการบริโภคเป็นเวลานานกว่า 4,000 ปีมาแล้วในยุคเมโสโปเตเมีย หรือในสมัยสุโขทัย ในประวัติศาสตร์ไทย การล่าไก่ป่าถือเป็นวิถีการดำรงชีวิตอย่างหนึ่งของผู้คนในสมัยนั้น ก่อนที่จะมีการพัฒนาสายพันธุ์จนมาเป็นไก่บ้านอย่างในปัจจุบัน และในส่วนการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามและความเพลินเพลินก็พัฒนามาเป็นไก่แจ้หรือไก่ชน ที่มีการจิกตีกันเป็นการละเล่นในหลายวัฒนธรรม.

ใหม่!!: ไก่ป่าชวาและไก่เถื่อน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะชวา

กาะชวา (อินโดนีเซีย: Pulau Jawa, ชวา: Pulo Jawa) เป็นชื่อเดิมของหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง จาการ์ตา เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และมีประชากรมากกว่าทวีปออสเตรเลียและแอนตาร์กติกา (รายชื่อเกาะตามจำนวนประชากร) มีเนื้อที่ 132,000 ตารางกิโลเมตร ประชากร 127 ล้านคน และมีความหนาแน่นประชากร 864 คนต่อกม.² ซึ่งถ้าเกาะชวาเป็นประเทศแล้วจะมี ความหนาแน่นประชากรเป็นปันดับ 2 รองจากประเทศบังคลาเทศ ยกเว้นนครรัฐที่มีขนาดเล็ก หมวดหมู่:เกาะในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรอินเดีย.

ใหม่!!: ไก่ป่าชวาและเกาะชวา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Gallus variusGreen junglefowlJavan junglefowlไก่ป่าสีเขียวไก่ป่าเขียว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »