โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น

ดัชนี ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น

ทศกาลตุ๊กตา คุนิชิคะ โตะโยะฮะระ ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น (木版画, moku hanga, Woodblock printing in Japan) เป็นวิธีที่ใช้ในการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า “ภาพอุกิโยะ” และใช้อย่างแพร่หลายในการพิมพ์หนังสือในช่วงเวลาเดียวกัน การพิมพ์แกะไม้เป็นสิ่งที่ทำกันในประเทศจีนมาเป็นเวลาหลายร้อยปีในการพิมพ์หนังสือก่อนที่จะมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์กันขึ้น แต่ไม่ได้นำมาใช้ในประเทศญี่ปุ่นจนกระทั่งมาถึงสมัยเอะโดะ (ค.ศ. 1603-ค.ศ. 1867) วิธีการพิมพ์ก็คล้ายคลึงกันกับที่เรียกว่าแกะไม้ในการสร้างพิมพ์ทางตะวันตก.

24 ความสัมพันธ์: บิจิงะการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)ภาพพิมพ์แกะไม้ภาพอุกิโยะยุคเอะโดะรงควัตถุสำนักศิลปินอุตะกะวะหลุน-อฺวี่อุตะงะวะ คุนิซะดะอุตะงะวะ คุนิโยะชิฮินะมะสึริฮิโระชิเงะขงจื๊อคลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะคะสึชิกะ โฮะกุไซคิตะงะวะ อุตะมะโระคณะเยสุอิตซุริโมะโนะประเทศจีนนางาซากิโยะชิโทะชิโทกูงาวะ อิเอยาซุโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ

บิจิงะ

อุตะมาโระ, ค.ศ. 1798 บิจิงะ (美人画, Bijinga) เป็นคำทั่วไปสำหรับเรียกศิลปะญี่ปุ่นที่เป็นภาพสตรีผู้มีความงดงามโดยเฉพาะในงานภาพพิมพ์แกะไม้ประเภทภาพอุกิโยะที่เป็นงานศิลปะก่อนหน้าภาพถ่าย คำนี้ใช้สำหรับมีเดียสมัยใหม่ด้วยที่เป็นภาพที่ของสตรีที่มีลักษณะเป็นแบบคลาสสิก โดยเฉพาะที่เป็นภาพของสตรีที่แต่งตัวด้วยกิโมโน ศิลปินภาพอุกิโยะแทบทุกคนจะสร้างงาน “บิจิงะ” เพราะเป็นหัวข้อหลักของศิลปะประเภทที่ว่านี้ แต่จิตรกรผู้มีความเชี่ยวชาญและมีชื่อในการเขียน “บิจิงะ” ที่สำคัญก็ได้แก่คิตะกาวะ อุตะมาโระ, ซูซูกิ ฮะรุโนะบุ, โตะโยะฮาระ ชิกะโนะบุ และ โตริอิ กิโยะนาง.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและบิจิงะ · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)

การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น คือ เหตุการณ์สู้รบบนคาบสมุทรเกาหลีและยุทธการที่เกิดขึ้นตามมา ในช่วงระหว่าง..

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) · ดูเพิ่มเติม »

ภาพพิมพ์แกะไม้

''Four horsemen of the Apocalypse'' โดย อัลเบรชท์ ดือเรอร์ ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut) เป็นศิลปะการพิมพ์แบบนูน โดยที่ภาพที่จะพิมพ์ใช้แกะบนผิวไม้ เมื่อต้องการพิมพ์ก็จะทาส่วนพิมพ์ด้วยลูกกลิ้งมือ ทำให้หมึกเกาะบริเวณที่ต้องการจะพิมพ์แต่ไม่เกาะบนส่วนอื่นๆ ของพิมพ์ที่ไม่ต้องการจะพิมพ์ การพิมพ์หลายสีก็ใช้พิมพ์ไม้หลายพิมพ์ แต่ละสีก็จะใช้พิมพ์ต่างจากสีอื่น ศิลปะการแกะไม้สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้เรียกว่า การแกะพิมพ์สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut printmaking) มักจะไม่ใช้ในการแกะเฉพาะแต่ละภาพ แต่มักจะใช้สำหรับการแกะพิมพ์ที่มีทั้งตัวหนังสือแล.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและภาพพิมพ์แกะไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพอุกิโยะ

ทิวทัศน์ของภูเขาฟูจิภาพหนึ่งในชุด “สถานี 53 สถานีบนเส้นทางโทไกโด” (Fifty-three Stations of the Tōkaidō) โดยฮิโระชิเงะ ตีพิมพ์ ค.ศ. 1850 ภาพอุกิโยะ (浮世絵, Ukiyo-e) คือกลุ่ม (genre) ของภาพศิลปะของของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในยุคเอะโดะ (Edo) ซึ่งเป็นภาพที่แสดงความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนชั้นกลางในยุคนั้น โดยมีหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงการขับร้อง สตรีในแหล่งเริงรมย์ ภูมิทัศน์ แต่มีบางส่วนที่อยู่ในหัวข้อของประวัติศาสตร์ ราชสำนัก และศาสนาด้วย โดยภาพศิลปะในกลุ่มนี้ มีทั้งภาพเขียนด้วยมือ (肉筆画) ซึ่งมีราคาสูงกว่าเพราะแต่ละภาพมีเพียงชิ้นเดียว และ ภาพที่พิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ (木版画) ที่มีราคาถูกกว่าเนื่องจากสามารถพิมพ์ได้จำนวนมากกว่า คนทั่วไปสามารถซื้อหาได้ง่าย ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปจะเป็นภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้นี้ คำว่า “อุกิโยะ” (ukiyo) ความหมายแต่เดิมได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ เขียนเป็นตัวหนังสือภาษาญี่ปุ่นว่า 憂世 หมายถึง โลกนี้มีแต่ความทุกข์ หลังจากนั้นรับความหมายจากภาษาจีนของคำว่า 浮生 ซึ่งหมายถึง ชีวิตนี้ไม่เที่ยง (แปรปรวน) เข้ามารวมกัน กลายเป็นตัวเขียนใหม่คือ 浮世 ซึ่งหมายถึง โลกนี้ไม่เที่ยง ผู้คนในยุคหลังที่ใช้ชีวิตบันเทิงเริงรมย์ และหันหลังให้ความเคร่งครัดทางศาสนาในยุคก่อนหน้า มองว่าในเมื่อโลกนี้ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน ก็ควรปล่อยตัวปล่อยใจไปกับสิ่งที่บันเทิงใจ (浮かれる ukareru) จึงนำศัพท์นี้มาใช้ในความหมายบันเทิงเริงรมย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับความหมายในยุคแรก ภาพที่วาดออกมาตามแนวนี้ จึ่งเป็นภาพของสิ่งบันเทิงใจในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเกี่ยวกับละครคะบุกิ ซูโม่ เกอิชา หญิิงงามเมืองทั้งระดับทั่วๆ ไป และระดับสูงที่อยู่บริเวณ Yoshimura ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Oira (花魁) ไปจนถึงภาพที่แสดงการเสพกามที่เรียกว่า ชุงงะ (春画 shunga) ลักษณะดังกล่าวทำให้ “ukiyo-e” หรือ “ภาพของโลกที่น่าบันเทิงใจ” เป็นกลุ่มภาพที่มีเอกลักษณ์ของตนเองต่างไปจากภาพเขียนประเภทอื่น นักประพันธ์ร่วมสมัยอะซะอิ เรียวอิ (Asai Ryōi) ได้บรรยายถึง เรื่องราวความเปลี่ยนแปลงของความหมายตามยุคสมัยของคำว่า “อุกิโยะ” ในนิยายชื่อ Ukiyo monogatari (浮世物語 หรือ "ตำนานของ อุกิโยะ") ที่เขียนในปี..

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและภาพอุกิโยะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเอะโดะ

อะโดะ หรือยุคที่เรียกว่า ยุคโทะกุงะวะ (徳川時代 Tokugawa-jidai) ค.ศ. 1603 - ค.ศ. 1868 คือยุคที่มีไดเมียวตระกูลโทะกุงะวะเป็นโชกุน เริ่มเมื่อโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน..

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและยุคเอะโดะ · ดูเพิ่มเติม »

รงควัตถุ

ีฟ้านี้เป็นรงควัตถุธรรมชาติในรูปของผง สีฟ้านี้เป็นรงควัตถุที่สังเคราะห์ขึ้นมา รงควัตถุ คือสารที่ดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด แต่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อนำไปใช้ได้เหมือนกัน โดยการสังเคราะห์แสงแบ่งเป็น 2 ระบบตามความยาวคลื่นของพลังงาน 1.Photosyntem I (PS I): มีความยาวคลื่น 700 nm มีรงควัตถุเพียงตัวเดียว คือ Chlorophyll A มีสีเขียวเข้มหรือสีเขียวแกมน้ำเงิน พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดที่สังเคราะห์แสงได้ และในยูกลีนา แบคทีเรียบางชนิด 2.Photosystem II (PS II): ความยาวคลื่นพลังงานที่ใช้กระตุ้น 680 nm หมวดหมู่:อุปกรณ์และวัสดุสำหรับเขียนงานจิตรกรรม หมวดหมู่:สี.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและรงควัตถุ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักศิลปินอุตะกะวะ

“เป็ดแมนดาริน” โดยฮิโระชิเงะ สำนักศิลปินอุตะกะวะ (Utagawa school) คือกลุ่มศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะชาวญี่ปุ่นที่ก่อตั้งขึ้นโดยโทะโยะฮะรุ โดยมีลูกศิษย์ชื่อโทะโยะคุนิที่ 1 เป็นผู้ดำเนินกิจการต่อมาหลังจากโทะโยะฮะรุเสียชีวิตไปแล้ว และยกระดับงานของกลุ่มจนกระทั่งกลายเป็นกลุ่มศิลปินที่มีอำนาจและมีชื่อเสียงมากที่สุดในการสร้างงานภาพพิมพ์แกะไม้มาจนตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 ลูกศิษย์ของอุตะกะวะก็ได้แก่ฮิโระชิเงะ, คุนิซะดะ, คุนิโยะชิ และ โยะชิโทะชิ สำนักศิลปินอุตะกะวะได้รับความสำเร็จและเป็นที่รู้จักจนกระทั่งว่ากว่าครึ่งหนึ่งของภาพอุกิโยะที่ยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากตระกูลการพิมพ์ที่ว่านี้ โทะโยะฮะรุผู้ก่อตั้งตระกูลการพิมพ์นำเอาวิธีการเขียนแบบทัศนมิติของตะวันตกมาใช้ในงานเขียนซึ่งเป็นแนวใหม่ในการสร้างงานศิลปะของญี่ปุ่น ผู้ดำเนินตามรอยของโทะโยะฮะรุคนต่อมาที่รวมทั้งอุตะกะวะ โทะโยะฮิโระ และ อุตะกะวะ โทะโยะคุนิเขียนในลักษณะที่เป็นการแสดงออกมากขึ้น และยวนอารมณ์ (sensuous style) มากขึ้นกว่างานของโทะโยะฮะรุ และมีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพประเภทต่างๆ— โทะโยะฮิโระในการออกแบบภูมิทัศน์ และโทะโยะคุนิในการออกแบบภาพพิมพ์ของดาราคะบุกิ ต่อมาจิตรกรของสำนักศิลปินอุตะกะวะก็มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพประเภทอื่นๆ เช่นภาพพิมพ์ของนักรบ และ งานล้อเรื่องปริศนา (mythic parodies)Johnson, Ken,.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและสำนักศิลปินอุตะกะวะ · ดูเพิ่มเติม »

หลุน-อฺวี่

หลุน-อฺวี่ หลุน-อฺวี่> http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/002/1.PDF --> (论语; Analects) แปลว่า "ปกิณกคดี" เป็นคัมภีร์พื้นฐานของสำนักปรัชญาขงจื่อ เป็นคัมภีร์รวมบทสนทนาที่เหล่าศิษย์สำนักขงจื่อได้รวบรวมขึ้นหลังมรณกรรมของขงจื่อ หลุน-อฺวี่ ฉบับปัจจุบันแบ่งออกเป็น 20 เล่ม (แต่ละเล่มแบ่งออกเป็นบทย่อย ๆ หลายบท) ชื่อของแต่ละเล่มเรียกตามอักษรสองหรือสามตัวเแรกของบทที่หนึ่งในเล่มนั้น ๆ มิได้เป็นการตั้งชื่อเล่มเพื่อสื่อความหมายแต่อย่างใด ข้อความส่วนมากในหลุน-อฺวี่ เป็นบันทึกการสนทนาระหว่างขงจื่อกับบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นลูกศิษย์ เจ้าเมือง ขุนนาง ผู้หลีกลี้สังคม นายด่าน หรือกระทั่งคนบ้า โดยขงจื่อมีบทบาทเป็นผู้สนทนาหลักซึ่งถ่ายทอดความคิดหรือคำสอนให้กับคู่สนทนา (มีอยู่ไม่กี่บทเท่านั้นที่ผู้สนทนาหลักไม่ใช่ขงจื่อ แต่เป็นศิษย์ซึ่งภายหลังได้รับยกย่องให้เป็นอาจารย์ในสำนัก เช่น เจิงจื่อ (曾子) กับ โหยวจื่อ (有子).

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและหลุน-อฺวี่ · ดูเพิ่มเติม »

อุตะงะวะ คุนิซะดะ

อุตะงะวะ คุนิซะดะ (ค.ศ. 1786 - ค.ศ. 1865) เป็นจิตรกรภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะชาวญี่ปุ่นคนสำคัญและมีชื่อเสียงของคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและอุตะงะวะ คุนิซะดะ · ดูเพิ่มเติม »

อุตะงะวะ คุนิโยะชิ

อุตะงะวะ คุนิโยะชิ (ราว ค.ศ. 1797 - 14 เมษายน ค.ศ. 1861) เป็นจิตรกรภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะของสำนักศิลปินอุตะงะวะชาวญี่ปุ่นคนสำคัญและมีชื่อเสียงของคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและอุตะงะวะ คุนิโยะชิ · ดูเพิ่มเติม »

ฮินะมะสึริ

นะนิงเงียว หรือ ตุ๊กตาฮินะ เทศกาลฮินะมะสึริ (ญี่ปุ่น: 雛祭り) หรือ วันเด็กผู้หญิง เป็นเทศกาลของชาวญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่โบราณ จัดขึ้นในวันที่ 3 มีนาคมของทุกปี เป็นเทศกาลที่รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน ตามความเชื่อที่ว่าการปล่อยตุ๊กตาลงน้ำสามารถขจัดเคราะห์ร้ายให้ไปกับตุ๊กตาได้ แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่นนั้น จะถือว่าเป็นเทศกาลของการอธิษฐานให้ลูกสาวมีความสุข พร้อมกับประสบความสำเร็จในชีวิต เด็กผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่เทศกาลฮินะครั้งแรก จะถูกเรียกว่า "ฮัตสึ เซ็กกุ" (hatzu-zekku) โดยจะเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ผู้อาวุโสเช่นย่าหรือยาย เพราะพวกเธอจะซื้อตุ๊กตามาจัดโชว์ให้กับหลานสาว สิ่งที่มักพบเห็นได้ในช่วงเทศกาลนี้คือการประดับด้วยชุด ตุ๊กตาฮินะ หรือในชื่อญี่ปุ่นที่ว่า ฮินะนิงเงียว ตามบ้าน ซึ่งตุ๊กตาดังกล่าวเป็นแบบดั้งเดิมทำด้วยมือ แต่งกายตามราชสำนักญี่ปุ่นโบราณ สมัยยุคเฮอัง วางไว้บนชั้นปกติจะมีทั้งหมด 7 ชั้น รอบๆ ชั้นจะประดับด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกพีช ข้าว เค้ก และเค้กที่ทำจากข้าวรูปร่างคล้ายเพชร ซึ่งเรียกว่าฮิชิโมจิ (hishimochi) รวมไปถึงสาเกขาว และจิราชิซูชิ (chirashi sushi) ตุ๊กตาที่ส่วนใหญ่จะต้องนำมาวางในชั้น คือ ตุ๊กตาเจ้าชายโอไดริซามะ (Odairi-sama) และเจ้าหญิงโอฮินะซามะ (Ohina-sama) ซึ่งตุ๊กตาทั้งสองตัวนี้ จะถูกวางไว้บนสุดของชั้นวาง รายล้อมไปด้วยข้าราชบริพาร และเครื่องตกแต่งชิ้นเล็กๆ โดยฉากหลังของชั้น จะประดับด้วยฉากที่เป็นสีทอง ให้เหมือนกับคฤหาสน์จำลอง.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและฮินะมะสึริ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิโระชิเงะ

อุตะงะวะ ฮิโระชิเงะ (ภาษาญี่ปุ่น: 歌川広重, ภาษาอังกฤษ: Hiroshige หรือ Utagawa Hiroshige หรือ Andō Hiroshige (安藤広重)) (ค.ศ. 1797 - 12 ตุลาคม ค.ศ. 1858) เป็นจิตรกรคนสำคัญของประเทศญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความเชี่ยวชาญทางการสร้างภาพพิมพ์แกะไม้ (woodcut) สมัยที่เรียกว่า “ภาพอุกิโยะ” ซึ่งเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 20 ที่เป็นภาพภูมิทัศน์ ตำนานจากประวัติศาสตร์ การละคร และจากชีวิตความสนุก ฮิโระชิเงะเกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและฮิโระชิเงะ · ดูเพิ่มเติม »

ขงจื๊อ

งจื๊อ (Confucius; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงบรมครูจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ วันที่ 27 เดือน 8 (八月廿七日) ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย".

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ

The Great Wave off Kanagawa คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ เป็นภาพพิมพ์แกะไม้ขนาดกว้าง 10 นิ้ว ยาว 15 นิ้ว ที่เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน ในนิวยอร์ก เป็นหนึ่งในผลงานในชุด ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ (Fugaku Sanjurokkei) ของคะสึชิกะ โฮะกุไซ (1760-1849) ศิลปินชาวญี่ปุ่น เผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1832 ในยุคเอโดะ ภาพนี้เป็นภาพของคลื่นขนาดใหญ่ที่ถูกลมพัดเข้าใส่เรือประมงในจังหวัดคะนะงะวะ มีฉากหลังเป็นภูเขาไฟฟูจิ มักมีผู้เข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้งว่าเป็นภาพของคลื่นสึนามิ ภาพนี้มีสำเนาอยู่หลายชุด ทั้งที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน นิวยอร์ก, พิพิธภัณฑ์บริติช ลอนดอน และที่บ้านของโคลด โมเนท์ ที่จิแวร์นีย์ ประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและคลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ · ดูเพิ่มเติม »

คะสึชิกะ โฮะกุไซ

กุไซ หรือ คะสึชิกะ โฮะกุไซ (葛飾北斎?, Hokusai หรือ Katsushika Hokusai) (ตุลาคม หรือ พฤศจิกายน ค.ศ. 1760 - 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1849Nagata) เป็นจิตรกรภาพอุกิโยะและภาพพิมพ์แกะไม้ชาวญี่ปุ่นของสมัยเอะโดะของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมจีน โฮะกุไซเกิดที่เอะโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) งานที่มีชื่อเสียงของโฮะกุไซที่เป็นที่รู้จักกันดีคือภาพพิมพ์แกะไม้ชุด “ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ” (富嶽三十六景) ที่รวมภาพ “คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ” ซึ่งเป็นภาพสัญลักษณะอันเป็นที่รู้จักกันดีไปทั่วโลกที่เขียนในคริสต์ทศวรรษ 1820 โฮะกุไซ “ทัศนียภาพ 36 มุม” เพื่อเป็นทั้งการตอบสนองความต้องการของกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และความหลงใหลส่วนตัวในการวาดภาพภูเขาฟู.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและคะสึชิกะ โฮะกุไซ · ดูเพิ่มเติม »

คิตะงะวะ อุตะมะโระ

ตะงะวะ อุตะมะโระ (ราว ค.ศ. 1753 - 31 ตุลาคม ค.ศ. 1806) เป็นช่างพิมพ์แกะไม้แบบอุกิโยะชาวญี่ปุ่นของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพศึกษาสตรีแบบที่เรียกว่า “บิจิงะ” นอกจากนั้นก็ยังเขียนภาพธรรมชาติ โดยเฉพาะงานเขียนภาพประกอบของแมลง งานของอุตะมะโระไปถึงยุโรปราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และกลายเป็นงานที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในฝรั่งเศส และเป็นงานที่มีอิทธิพลต่อศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ของยุโรป โดยเฉพาะในการเขียนภาพเฉพาะบางส่วนและในการเน้นแสงและเงา เมื่อบรรดาจิตรกรกล่าวถึง “อิทธิพลจากญี่ปุ่น” ก็มักจะหมายถึงอิทธิพลจากงานเขียนของอุตะมะโร.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและคิตะงะวะ อุตะมะโระ · ดูเพิ่มเติม »

คณะเยสุอิต

ณะเยสุอิต.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและคณะเยสุอิต · ดูเพิ่มเติม »

ซุริโมะโนะ

มพ์ “ซุริโมะโนะ” โดย คะสึชิกะ โฮะกุไซ ซุริโมะโนะ (Surimono) คือประเภทหนึ่งของภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะของญี่ปุ่น ที่เป็นภาพประเภทที่สร้างขึ้นจากการจ้างให้ทำขึ้นสำหรับโอกาสพิเศษ เช่นปีใหม่ญี่ปุ่น “ซุริโมะโนะ” แปลตรงตัวว่า “สิ่งพิมพ์”.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและซุริโมะโนะ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

นางาซากิ

มืองนางาซากิ เป็นเมืองเอกและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนางาซากิ บนเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น นางาซากิถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆเพื่อการประมง ซึ่งทำให้นางาซากิกลายเป็นศูนย์กลางอิทธิพลของชาวโปรตุเกสและชาวยุโรป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 มีโบสถ์และศาสนสถานของศาสนาคริสต์มากมายในนางาซากิ ซึ่งศาสนสถานเหล่านี้ ได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก นอกเหนือไปจากนี้ ท่าเรือในนางาซากิ ยังเคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง และ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นามของเมืองว่า "นางาซากิ" (長崎) มีความหมายว่า "แหลมที่ทอดยาว" ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง 9 สิงหาคม..

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและนางาซากิ · ดูเพิ่มเติม »

โยะชิโทะชิ

ึคิโอะคะ โยะชิโทะชิ หรือ ไทโสะ โยะชิโทะชิ (Tsukioka Yoshitoshi) (ค.ศ. 1839 - 9 มิถุนายน ค.ศ. 1892) โดยทั่วไปแล้วถือกันว่าเป็นจิตรกรภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะคนสำคัญคนสุดท้ายของสำนักศิลปินอุตะกะวะชาวญี่ปุ่น และเป็นผู้ที่มีความสามารถในการแสวงหาแนวใหม่ งานของโยะชิโทะชิคาบระหว่างสองสมัย – ปลายสมัยศักดินาของญี่ปุ่นและต้นญี่ปุ่นสมัยใหม่หลักจากการปฏิรูปเมจิ โยะชิโทะชิก็เช่นเดียวกับชาวญี่ปุ่นหลายคนที่มีความสนใจกับสิ่งแปลกๆ ใหม่จากโลกภายนอก แต่ในปีต่อๆ มาโยะชิโทะชิก็เริ่มมีความกังวลกับการสูญเสียวัฒนธรรมอันมีค่าหลายอย่างของญี่ปุ่นที่รวมทั้งศิลปะการทำภาพพิมพ์แกะไม้ เมื่อถึงตอนปลายของอาชีพโยะชิโทะชิก็แทบจะเป็นผู้เดียวที่ต้องดิ้นรนต่อสู้กับกาลเวลาและเทคโนโลยีที่คืบคลานเข้ามา ขณะที่โยะชิโทะชิยังคงใช้เวลาโบราณในการผลิตงานภาพพิมพ์ญี่ปุ่นก็เริ่มเข้าสู่ยุคการผลิตระดับอุตสาหกรรมตามแบบฉบับของโลกตะวันตกเช่นงานการถ่ายภาพ และ ภาพพิมพ์หิน แต่กระนั้นขณะที่ญี่ปุ่นหันหลังให้กับอดีตของตนเองโยะชิโทะชิก็พัฒนาศิลปะการทำภาพพิมพ์แกะไม้ตามธรรมเนียมญี่ปุ่นให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งก่อนที่ศิลปะดังกล่าวจะตายตามโยะชิโทะชิไป ชีวิตของโยะชิโทะชิอาจจะสรุปตามคำกล่าวของจอห์น สตีเฟนสันว่า: ชื่อเสียงของของโยะชิโตะมีแต่จะยิ่งเพิ่มขึ้นทั้งทางตะวันตกและในกลุ่มชาวญี่ปุ่นรุ่นเด็กเอง และในปัจจุบันก็ยอมรับกันว่าเป็นศิลปินคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของญี่ปุ่นของสมัยนั้น.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและโยะชิโทะชิ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ อิเอยาซุ

ทกูงาวะ อิเอยาซุ คือผู้สถาปนาบะกุฟุ (รัฐบาลทหาร) ที่เมืองเอะโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) และเป็นโชกุนคนแรกจากตระกูลโทกูงาวะที่ปกครองประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่สิ้นสุด ศึกเซะกิงะฮะระและเริ่มต้นยุคเอะโดะ เมื่อปี..

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและโทกูงาวะ อิเอยาซุ · ดูเพิ่มเติม »

โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ

ทโยโตมิ ฮิเดโยชิ (2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1537 – 18 กันยายน ค.ศ. 1598) เป็นไดเมียวคนสำคัญของญี่ปุ่นในยุคอะซุชิ-โมะโมะยะมะ เนื่องจากได้สร้างวีรกรรมต่อจากโอดะ โนบุนาง.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ · ดูเพิ่มเติม »

โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ

ริสิ้นชีวิตพร้อมกับนางโยะโดะเมื่อปี ค.ศ. 1615 ในเหตุการณ์ การล้อมโอซะกะ ขณะอายุได้เพียง 22 ปีส่วนบุตรชายถูกจับประหารชีวิตและบุตรสาวถูกส่งไปอยู่วัดชี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2136 หมวดหมู่:ไดเมียว หมวดหมู่:บุคคลจากโอซะกะ หมวดหมู่:ตระกูลโทะโยะโตะม.

ใหม่!!: ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Japanese printmakingMoku hangaWoodblock printing in Japanภาพพิมพ์แกะไม้ญี่ปุ่นภาพพิมพ์แกะไม้ของญี่ปุ่น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »