โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะเงินเฟ้อ

ดัชนี ภาวะเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกในปี 2550 ภาวะเงินเฟ้อ (inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาสินค้าหรือบริการในระยะเวลาหนึ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ภาวะเงินเฟ้อมีผลต่อเศรษฐกิจทั้งบวกและลบ ผลเสียที่เกี่ยวข้องกับภาวะเงินเฟ้อรวมถึงการเพิ่มของต้นทุนค่าเสียโอกาสในการไม่ใช้เงินและการทำให้ผู้บริโภคกักตุนสินค้าเนื่องจากประเมินว่าราคาจะเพิ่มขึ้นในอนาคต (หากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มอย่างรวดเร็ว) ผลเชิงบวกของอัตราเงินเฟ้อมีดังนี้.

18 ความสัมพันธ์: บอลทิมอร์บัตรธนาคารภาวะเงินฝืดราชวงศ์หยวนราชวงศ์ซ่งสงครามกลางเมืองอเมริกาอัตราร้อยละอุปสงค์และอุปทานธนบัตรธนาคารกลางดัชนีราคาผู้บริโภคดิอินดีเพ็นเดนต์ต้นทุนค่าเสียโอกาสแบล็กเดทโลกใหม่เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เดวิด ฮูมเงินตรา

บอลทิมอร์

อินเนอร์ฮาร์เบอร์ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในบอลทิมอร์ บอลทิมอร์ (Baltimore) เป็นเมืองอิสระ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา โดยอยู่ห่างจากวอชิงตัน ดี.ซี. ประมาณ 64 กิโลเมตร ในตัวเมืองบอลทิมอร์มีประชากรประมาณ 630,000 คน บอลทิมอร์ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1729 โดยเป็นเมืองท่าที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันออกแห่งหนึ่ง ในปัจจุบันสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงในบอลทิมอร์คือ มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ โดยภายนอกเมืองมีสนามบินนานาชาติ สนามบินบอลทิมอร์-วอชิงตัน เป็นสนามบินหลักในบริเวณ ในปี 2561 บอลทิมอร์ ติดใน 50 อันดับเมืองที่อันตรายที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและบอลทิมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

บัตรธนาคาร

ทั่วไป บัตรธนาคาร หมายถึงบัตรที่ธนาคารออกให้เพื่อใช้ทำธุรกรรมการเงินในบัญชีที่ผูกอยู่กับบัตรนั้น แบ่งได้เป็น.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและบัตรธนาคาร · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเงินฝืด

วะเงินฝืด (deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับเพิ่มภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หยวน

ตแดนของจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวน (หยวนเฉา) (พ.ศ. 1814 - 1911) คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุบไลข่านผู้นำเผ่าชาวมองโกล ได้โค่นอำนาจราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี..

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและราชวงศ์หยวน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822 รัฐบาลซ่งเป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ เจ้า ควงอิ้น ได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคในสมัยของจักรพรรดิซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู (ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชายเสีย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง) บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แต่ต่อมา ในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและราชวงศ์ซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอเมริกา

งครามกลางเมืองอเมริกา (American Civil War) เป็นสงครามกลางเมืองซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐระหว่างปี 1861 ถึง 1865 สืบเนื่องจากข้อโต้แย้งยืดเยื้อเกี่ยวกับทาส ระหว่างฝ่ายหนึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมสหภาพซึ่งประกาศความภักดีต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐ กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสมาพันธรัฐซึ่งสนับสนุนสิทธของรัฐในการขยายทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในบรรดา 34 รัฐของสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ 1861 เจ็ดรัฐทาสในภาคใต้ประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐเพื่อตั้งเป็นสมาพันธรัฐอเมริกา หรือ "ฝ่ายใต้" สมาพันธรัฐเติบโตจนมี 11 รัฐทาส รัฐบาลสหรัฐไม่เคยรับรองทางการทูตซึ่งสมาพันธรัฐ เช่นเดียวกับประเทศอื่นทุกประเทศ (แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะให้สถานภาพคู่สงคราม) รัฐที่ยังภักดีต่อสหรัฐ (รวมทั้งรัฐชายแดนซึ่งทาสชอบด้วยกฎหมาย) เรียก "สหภาพ" หรือ "ฝ่ายเหนือ" สงครามเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน..

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและสงครามกลางเมืองอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

อัตราร้อยละ

รื่องหมายเปอร์เซ็นต์ อัตราร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์ (percentage/percent) คือแนวทางในการนำเสนอจำนวนโดยใช้เศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 มักใช้สัญลักษณ์เป็น เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ "%" เช่น ร้อยละ 45 หรือ 45% มีค่าเทียบเท่ากับ อัตราร้อยละมักใช้สำหรับการเปรียบเทียบว่าปริมาณหนึ่ง ๆ มีขนาดเท่าไรโดยประมาณเมื่อเทียบกับอีกปริมาณหนึ่ง ซึ่งปริมาณอย่างแรกมักเป็นส่วนย่อยหรือเป็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอย่างหลัง ตัวอย่างเช่น ราคาของสินค้าชนิดหนึ่งเท่ากับ $2.50 และผู้ขายต้องการเพิ่มราคาอีก $0.15 ดังนั้นอัตราการเพิ่มราคาคือ 0.15 ÷ 2.50.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและอัตราร้อยละ · ดูเพิ่มเติม »

อุปสงค์และอุปทาน

อุปสงค์และอุปทานแผนภูมิเส้นแสดงอุปสงค์และอุปทานที่พบเห็นทั่วไป ให้แกนตั้งแสดงราคาและแกนนอนแสดงปริมาณสินค้า เส้นอุปสงค์ (สีแดง) มีลักษณะลาดลง ในขณะที่เส้นอุปทาน (สีน้ำเงิน) ชันขึ้น จุดตัดของเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทาน เป็นจุดดุลยภาพของตลาด ที่ราคาดุลยภาพ P* และปริมาณดุลยภาพ Q* ความหมายในทางเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) เป็นแบบจำลองพื้นฐานที่อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน โดยถือว่าอุปสงค์และอุปทาน เป็นตัวแปรที่กำหนดปริมาณและราคาของสินค้าแต่ละชนิดในตลาด โดยทั่วไป อุปสงค์ หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ในขณะที่อุปทาน (supply) หมายถึง ความต้องการขายสินค้าและบริการ.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและอุปสงค์และอุปทาน · ดูเพิ่มเติม »

ธนบัตร

นบัตรสกุลต่าง ๆ ธนบัตร เป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยน ซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรจะใช้ควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์ แต่โดยทั่วไปแล้วธนบัตรมักใช้สำหรับเงินจำนวนมาก ส่วนเหรียญกษาปณ์ใช้กับเงินจำนวนน้อย หรือเศษสตางค์ ในสมัยก่อน ค่าของเงินจะวัดโดยวัตถุที่นำมาใช้เป็นเงิน เช่น เบี้ย, เงิน หรือ ทอง แต่การถือวัตถุมีค่าเหล่านี้ออกไปจำนวนมากย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สะดวกและเป็นอันตราย จึงใช้ธนบัตรเพื่อเป็นสื่อแลกเปลี่ยนแทน ธนบัตรเป็นเหมือนสัญญาว่าจะให้เงินไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งภายหลังสามารถนำไปแลกคืนเป็นเงินหรือทองได้ ภายหลังจึงเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อสิ่งของและบริการ ไม่ต้องแลกเป็นเงินหรือทองอีก.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและธนบัตร · ดูเพิ่มเติม »

ธนาคารกลาง

นาคารแห่งประเทศอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1694 ธนาคารกลาง (central bank, reserve bank หรือ monetary authority) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการทางด้านการเงินของประเทศ ในประเทศไทยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ธนาคารกลางคือ ธนาคารแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและธนาคารกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีราคาผู้บริโภค

ัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) หมายถึง ตัวเลขทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการที่ครอบครัวหรือผู้บริโภคซื้อหามาบริโภคเป็นประจำ ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับราคาในปีที่กำหนดไว้เป็นปีฐาน.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและดัชนีราคาผู้บริโภค · ดูเพิ่มเติม »

ดิอินดีเพ็นเดนต์

อินดีเพ็นเดนต์ (The Independent) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 1986 โดยIndependent News & Media ฉบับวันราชการเรียกกันสั้นๆ ว่า “อินดี้” และฉบับวันอาทิตย์เรียกกันสั้นๆ ว่า “ซันดี้” “ดิอินดีเพ็นเดนต์” เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับล่าที่สุดฉบับหนึ่งในสหราชอาณาจักร ในปี..

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและดิอินดีเพ็นเดนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ต้นทุนค่าเสียโอกาส

ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity cost) คือมูลค่าของผลตอบแทนจากกิจกรรมที่สูญเสียโอกาสไปในการเลือกทำกิจกรรมอย่างหนึ่ง ต้นทุนค่าเสียโอกาสเป็นต้นทุนที่ถูกอ้างถึงในวิชาเศรษฐศาสตร์ เพราะมันบ่งบอกถึงการเลือกตัวเลือกที่เป็นที่ต้องการทั้งหมดแต่ไม่สามารถเลือกพร้อมกันได้ และเป็นแนวคิดที่สำคัญในการที่จะใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ต้นทุนค่าเสียโอกาสไม่ได้หมายถึงมูลค่ารวม แต่หมายถึงเฉพาะมูลค่าที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในบรรดาตัวเลือกอื่นที่เสียโอกาสไปเท่านั้น การคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสเป็นความแตกต่างที่สำคัญที่สุดของต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์และต้นทุนทางบัญชี ต้นทุนค่าเสียโอกาสนับว่าเป็นต้นทุนที่แท้จริงในการทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม เพราะมันทำให้เห็นถึงโอกาสซึ่งเป็นต้นทุนที่ถูกซ่อนอยู่ (และไม่สามารถมองเห็นหากคำนวณทางบัญชี) อย่างไรก็ตาม การคำนวณหาต้นทุนค่าเสียโอกาสนั้นส่วนใหญ่ทำได้ยาก เพราะเป็นการคำนวณจากการคาดคะเนเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและต้นทุนค่าเสียโอกาส · ดูเพิ่มเติม »

แบล็กเดท

การฝังศพผู้เสียชีวิตจากแบล็กเดทในเมืองตูร์แน ภาพประกอบจากบันทึกของฌีล ลี มุยซี (Gilles Li Muisis) อธิการอารามนักบุญมาร์แต็งแห่งตูร์แน แบล็กเดท (Black Death) หรือ กาฬมรณะ เป็นโรคระบาดทั่วครั้งที่ก่อความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตประเมินไว้ราว 75 ถึง 100 ล้านคน และทวีความรุนแรงที่สุดในทวีปยุโรประหว่างปี 1348–50 การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของผู้เสียชีวิตในทวีปยุโรปตอนเหนือและใต้บ่งชี้ว่า จุลชีพก่อโรคอันเป็นสาเหตุของโรค คือ แบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งอาจก่อกาฬโรคได้หลายแบบ คาดว่าแบล็กเดทเริ่มต้นในจีนหรือเอเชียกลาง จากนั้นแพร่มาตามเส้นทางสายไหมและถึงไครเมียในปี 1346 และหมัดหนูตะวันออก (Xenopsylla cheopis) ซึ่งอาศัยอยู่ในหนูดำอันอยู่บนเรือพาณิชย์ทั่วไป น่าจะเป็นตัวนำโรคจากไครเมีย กาฬโรคได้แพร่ไปทั่วเมดิเตอร์เรเนียนและทวีปยุโรป ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตเป็น 30–60% ของประชากรทั้งทวีปยุโรป กาฬโรคลดประชากรโลกจากที่ประเมินไว้ 450 ล้านคน ลงเหลือ 350–375 ล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 กาฬโรคมีผลต่อเส้นทางประวัติศาสตร์ยุโรป ก่อให้เกิดทั้งกลียุคทางศาสนา สังคมและเศรษฐกิจ ประชากรยุโรปกว่าจะกลับคืนจำนวนก็ใช้เวลา 150 ปี กาฬโรคอุบัติซ้ำเป็นครั้งคราวในทวีปยุโรปกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและแบล็กเดท · ดูเพิ่มเติม »

โลกใหม่

ระวังสับสนกับ โลกยุคใหม่โลกใหม่ (สีเขียว) เปรียบเทียบกับ โลกเก่า (สีเทา) โลกใหม่ (New World) เป็นคำที่ใช้สำหรับดินแดนที่นอกไปจากทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย ที่ก็คือทวีปอเมริกา และอาจจะรวมไปถึงออสตราเลเชียด้วย เป็นคำที่เริ่มใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อทวีปอเมริกายังใหม่ต่อชาวยุโรปผู้ที่เดิมเชื่อว่าโลกประกอบด้วยทวีปเพียงสามทวีปที่เรียกรวมกันว่าโลกเก่า คำว่า “โลกใหม่” ไม่ควรจะสับสนกับคำว่า “โลกยุคใหม่” (Modern era) คำหลังหมายถึงช่วงเวลาในประวัติศาสตร์มิใช่แผ่นดิน.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและโลกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

รษฐศาสตร์สำนักเคนส์ (Keynesian Economics) คือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่มีพื้นฐานจากความคิดของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ทฤษฎีนี้กล่าวว่าภาครัฐสามารถรักษาอัตราเจริญเติบโตและความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ในเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนล้วนมีบทบาทที่สำคัญ เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เกิดขึ้นจากการหาคำตอบให้กับปัญหาความล้มเหลวของตลาดเสรี ซึ่งกล่าวว่าตลาดและภาคเอกชนจะดำเนินการได้ดีกว่าหากภาครัฐไม่เข้ามาแทรกแซง ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ปรากฏครั้งแรกใน The General Theory of Employment, Interest and Money ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1936 ในทฤษฎีของเคนส์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาคของบุคคลหรือบริษัทอาจรวมกันออกมาเป็นผลในระดับมหภาคที่ต่ำกว่ากำลังการผลิตที่แท้จริง นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก ส่วนมากเชื่อใน กฎของเซย์ ซึ่งกล่าวว่าอุปทานสร้างอุปสงค์ ดังนั้นจะไม่มีทางเกิดภาวะสินค้าล้นตลาด แต่เคนส์แย้งว่า อุปสงค์รวม อาจจะมีไม่เพียงพอในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ จึงนำไปสู่อัตราการว่างงานที่สูงและการสูญเสียผลผลิต นโยบายของภาครัฐสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเพิ่มอุปสงค์รวม ซึ่งเป็นการเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ลดการว่างงาน และช่วยแก้ภาวะเงินฝืด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคของเคนส์นั้นเป็นผลสะท้อนจากการปัญหาการว่างงานอย่างรุนแรงในประเทศอังกฤษในทศวรรษที่ 1920 และ สหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1930 เคนส์เสนอวิธีการแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยการกระตุ้น (จูงใจให้ลงทุน) ผ่านการใช้สองวิธีรวมกัน คือ การลดอัตราดอกเบี้ย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นการอัดฉีดรายได้และส่งผลให้มีการใช้จ่ายมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการผลิตและการลงทุนมากขึ้น จนทำให้เกิดรายได้และการใช้จ่ายมากขึ้น และส่งผลวนเวียนต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งหมดมีค่าหลายเท่าของการลงทุนครั้งแรก.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เดวิด ฮูม

วิด ฮูม เดวิด ฮูม (David Hume26 เมษายน ค.ศ. 1711 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1776) เป็นนักปรัชญา และนักประวัติศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์ และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ยุคเรืองปัญญาแห่งสกอตแลนด์ (บุคคลสำคัญคนอื่น ๆ ในยุคนี้ ได้แก่ อดัม สมิธ, ทอมัส เรด เป็นต้น) หลายคนยกย่องให้ฮูม เป็นคนหนึ่งในกลุ่มที่เรียกว่า นักประสบการณ์นิยมชาวบริเตนทั้งสาม ซึ่งฮูมถือเป็นคนที่สามในกลุ่มนี้ ถัดจาก จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และ จอร์จ บาร์กลีย์ ชาวอังกฤษ-ไอริช นอกจากนี้ยังถือว่าฮูม เป็นคนที่มีแนวคิดทางปรัชญาถึงรากถึงโคนที่สุด ในทั้งสามคนนี้ด้ว.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและเดวิด ฮูม · ดูเพิ่มเติม »

เงินตรา

งิน หมายถึง วัตถุหรือเอกสารใด ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการและใช้ชำระหนี้ในประเทศหรือในบริบทสังคมเศรษฐกิจหนึ่งๆตามตัวบทกฎหมาย หน้าที่หลักของเงินจำแนกได้ว่า (1) เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (2) เป็นหน่วยวัดมูลค่า (3) เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า และ (4) บางครั้งในอดีต เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้าT.H. Greco.

ใหม่!!: ภาวะเงินเฟ้อและเงินตรา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Inflationเงินเฟ้อ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »