โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จังหวัดอีฟูเกา

ดัชนี จังหวัดอีฟูเกา

ังหวัดอีฟูเกา (อีฟูเกา: Probinsia ti Ifugao; Lalawigan ng Ifugao) เป็นจังหวัดไม่มีทางออกสู่ทะเลในเขตบริหารคอร์ดิลเยรา เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือลากาเว มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดเบงเก็ตทางทิศตะวันตก จังหวัดบูลูบุนดูคินทางทิศเหนือ จังหวัดอีซาเบลาทางทิศตะวันออก และจังหวัดนูเวบาบิซคายาทางทิศใต้ จังหวัดนี้เป็นที่ตั้งของนาขั้นบันไดฟิลิปปินคอร์ดิลเยราและนาขั้นบันไดบานาเว ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด เชื่อกันว่านาขั้นบันไดเหล่านี้มีอายุประมาณ 2,000 ปี อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยโดยใช้การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี นาขั้นบันไดมีอายุน้อยกว่านั้น ในปี..

17 ความสัมพันธ์: บารังไกย์การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีภาษาอังกฤษภาษาอีโลกาโนภาษาตากาล็อกมรดกโลกลากาเวองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติจังหวัดบูลูบุนดูคินจังหวัดอีซาเบลาจังหวัดนูเวบาบิซคายาจังหวัดเบงเก็ตซังกูเนียงปันลาลาวีกันประเทศฟิลิปปินส์นาขั้นบันไดบานาเวเกาะลูซอนเขตบริหารคอร์ดิลเยรา

บารังไกย์

รังไกย์ เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นของรัฐบาลที่เล็กที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นคำที่ชาวฟิลิปปินส์พื้นเมืองสำหรับหมู่บ้านตำบลหรือวอร์ด ในการใช้งานเป็นภาษาพูดคำที่มักจะหมายถึงเขตเมืองชั้นในย่านชานเมืองหรือย่านชานเมือง คำว่าบารังไกย์คำมาจาก Balangay ชนิดของเรือที่ใช้โดยกลุ่มของประชาชนออสโตรนีเชียน เมื่อพวกเขาอพยพไปอยู่ในฟิลิปปินส์ ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองที่มีองค์ประกอบของเกส์และพวกเขาอาจจะถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า Purok (ไทย:เขต) และ Sitio ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ภายในวงล้อมรังเกย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท ณ วันที่ 30 กันยายน 2012 จำนวนบารังไกย์มีจำนวน 42,028 บารังไกย์ทั่วฟิลิปปิน.

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและบารังไกย์ · ดูเพิ่มเติม »

การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี

การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (Radiocarbon dating, มักเรียกสั้นๆว่า การหาอายุคาร์บอน) เป็นวิธีการหาอายุจากธาตุกัมมันตรังสี (radiometric dating) รูปแบบหนึ่งโดยการใช้ปรากฏการณ์ธรรมชาติของ คาร์บอน-14 ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสี เพื่อประมาณการอายุของวัสดุคาร์บอน-แบริ่ง ได้ถึงประมาณ 58,000 ถึง 62,000 ปี แบบหยาบ หรือ ยังไม่สามารถบ่งชี้ได้แน่ชัด การหาอายุคาร์บอนมักนำมาใช้บ่งบอกอายุของคาร์บอนระหว่าง "ช่วงก่อนปัจจุบัน(BP)" กับ "ช่วงปัจจุบัน" ตามที่กำหนดไว้คือปีคริสต์ศักราช 1950 ซึ่งเป็นอายุที่สามารถบ่งชี้ได้เพื่อเทียบกับวันตามปฏิทิน หนึ่งในสิ่งที่ใช้การคำนวณหาอายุของคาร์บอนมากที่สุดคือ การประมาณการอายุของซากสารประกอบอินทรีย์ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี ในขณะที่พืชเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์() ในชั้นบรรยากาศ ด้วยการแยกอินทรียวัตถุตามขั้นตอนการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นการเพิ่มปริมาณของ ให้ใกล้เคียงกับระดับของไอโซโทปคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ เมื่อพืชตายหรือถูกกินโดยสิ่งมีชีวิตอื่น(ตัวอย่าง โดยมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ) การสะสมของส่วนประกอบ หยุดตัวลง และวัตถุลดลงตามอัตราเลขชี้กำลังเนื่องจากการย่อยสลายธาตุกัมมันตรังสีของ จากการเปรียบเทียบอัตราส่วนคงเหลือของ ของวัตถุตัวอย่างเมื่อเปรียบเทียบจาก ในชั้นบรรยากาศ ช่วยให้สามารถประเมินอายุของวัตถุตัวอย่างได้ เทคนิคการหาอายุของคาร์บอนนี้ได้รับการพัฒนาโดยWillard Libby และเพื่อนร่วมสถาบันศึกษาของเขาที่มหาวิทยาลัยชิคคาโก้ในปี..

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีโลกาโน

ษาอีโลกาโนเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นลำดับสามในฟิลิปปินส์ เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนซึ่งใกล้เคียงกับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮิติ ภาษาชาร์โมโร ภาษาเตตุมและภาษาไปวัน.

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและภาษาอีโลกาโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตากาล็อก

ษาตากาล็อก เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว.

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและภาษาตากาล็อก · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

ลากาเว

ทศบาลลากาเว (อีโลกาโน: Ili ti Lagawe) เป็นเทศบาลระดับที่ 4 และเป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดอีฟูเกา ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี..

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและลากาเว · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบูลูบุนดูคิน

ังหวัดบูลูบุนดูคิน (Lalawigang Bulubundukin) เป็นจังหวัดที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเขตบริหารคอร์ดิลเยรา เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองหลักคือบอนต็อก จังหวัดนี้มักรู้จักกันในชื่อ จังหวัดเมาต์เทน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแนวเทือกเขาคอร์ดิลเยราเซนทรัล ซึ่งอยู่ทางตอนบนของเกาะลูซอน จังหวัดเมาต์เทน เคยเป็นชื่อจังหวัดในอดีตที่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดในเขตบริหารคอร์ดิลเยราในปัจจุบัน อดีตจังหวัดแห่งนั้นจัดตั้งโดยคณะกรรมาธิการฟิลิปปินในปี..

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและจังหวัดบูลูบุนดูคิน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอีซาเบลา

ังหวัดอีซาเบลา (อีโลกาโน: Probinsia ti Isabela; Lalawigan ng Isabela) เป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะลูซอน เมืองหลักคืออีลากัน ตั้งอยู่ในเขตลัมบักนางคากายัน อยู่ติดกับจังหวัดคากายันทางทิศเหนือ, ติดกับจังหวัดกาลิงกาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ, ติดกับจังหวัดเมาน์เทนทางทิศตะวันตก, ติดกับจังหวัดอีฟูเกาและนูเวบาบิซคายาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้, ติดกับจังหวัดคีรีโนและเอาโรรา‎ทางทิศใต้ และติดกับทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก ผลผลิตทางเกษตรกรรมที่สำคัญได้แก่ ข้าว และข้าวโพด ในปี..

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและจังหวัดอีซาเบลา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนูเวบาบิซคายา

ังหวัดนูเวบาบิซคายา (อีโลกาโน: Probinsia ti Nueva Vizcaya) เป็นจังหวัดในเขตลัมบักนางคากายันของประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือบาโยมโบง อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดเบงเกตทางทิศตะวันตก, ติดกับจังหวัดอิฟูเกาทางทิศเหนือ, ติดกับจังหวัดอีซาเบลาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ, ติดกับจังหวัดคีรีโนทางทิศตะวันออก, ติดกับจังหวัดเอาโรรา‎ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้, ติดกับจังหวัดนูเวบาเอซีฮาทางทิศใต้ และติดกับจังหวัดปังกาซีนันทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เขตเทือกเขาคอร์ดิลเลรัส จังหวัดนูเวบาบิซคายามีพื้นที่ 3,975.67 ตารางกิโลเมตร และเป็นจังหวัดใต้สุดของเขตลัมบักนางคากายัน อยู่ห่างจากเมโทรมะนิลาไปทางทิศเหนือประมาณ สามารถเดินทางได้โดยถนนลัมบักนางคากายัน (ทางหลวงมาฮาร์ลิกา).

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและจังหวัดนูเวบาบิซคายา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเบงเก็ต

ังหวัดเบงเก็ต (อีบาโลอิ: Probinsya ne Benguet; อีโลกาโน: Probinsia ti Benguet; ปังกาซีนัน: Luyag na Benguet; Lalawigan ng Benguet) เป็นจังหวัดที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลและอยู่ทางใต้สุดของเขตบริหารคอร์ดิลเยรา เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือลาตรินิแดด พื้นที่สูงของจังหวัดนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็น ชามสลัดแห่งฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีการปลูกผักบนที่สูงเป็นจำนวนมาก ภายในตัวจังหวัดมีนครที่มีความหนาแน่นแห่งหนึ่ง ชื่อว่า บาเกียว ซึ่งปกครองอย่างเป็นอิสระจากจังหวั.

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและจังหวัดเบงเก็ต · ดูเพิ่มเติม »

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน (Sangguniang Panlalawigan; Provincial Council) หรือ โปรวินเชียลบอร์ด เป็นคำภาษาฟิลิปีโนที่ใช้เรียกแทนสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดของประเทศฟิลิปปินส์ อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัตินี้ ถูกกำหนดโดย ประมวลรัฐบาลท้องถิ่น ตั้งแต..

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและซังกูเนียงปันลาลาวีกัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

นาขั้นบันไดบานาเว

300px นาขั้นบันไดที่บานาเว (Hagdan-hagdang Palayan ng Banawe) เป็นสถานที่ที่มีการปลูกข้าวแบบขั้นบันได บนเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโก ในปี..

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและนาขั้นบันไดบานาเว · ดูเพิ่มเติม »

เกาะลูซอน

ลูซอน (Luzon) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองมากที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มเกาะทั้งสามกลุ่มของประเทศ (อีกสองกลุ่มได้แก่ วีซายันและมินดาเนา) โดยกลุ่มเกาะลูซอน ได้แก่ ตัวเกาะลูซอนเอง รวมทั้งหมู่เกาะบาตันและหมู่เกาะบาบูยันทางทิศเหนือ และเกาะต่าง ๆ ทางทิศใต้ ได้แก่ เกาะกาตันดัวเนส เกาะมารินดูเก เกาะมัสบาเต เกาะรอมบลอน และเกาะมินโดโร เกาะลูซอนปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในชื่อว่า "จักรวรรดิซ้องน้อย" (Lesser Song Empire) หรือ Lusong Kok จากนั้นนักสำรวจชาวโปรตุเกสได้บันทึกเกาะนี้ไว้ในแผนที่ของพวกเขาในชื่อ "ลูโซเนีย" (Luçonia) หรือ "ลูซอน" (Luçon) ชาวสเปนเข้ามาถึงเกาะนี้และอ้างกรรมสิทธิ์เพื่อครอบครองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายใต้การปกครองของสเปน ลูซอนยังมีชื่อเรียกว่า นวยบากัสตียา (Nueva Castilla) หรือ นิวคาสตีล (New Castile) อีกด้วย ต่อมาในช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ เอมีลีโอ อากีนัลโดได้ประกาศเอกราชจากสเปนและจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ที่เกาะแห่งนี้ แต่หลังจากนั้นทั้งหมู่เกาะก็ตกไปอยู่ในการปกครองของสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเกาะลูซอนและเกาะอื่น ๆ ได้เอกราชอย่างสมบูรณ์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1946 ลูซอน.

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและเกาะลูซอน · ดูเพิ่มเติม »

เขตบริหารคอร์ดิลเยรา

ตบริหารคอร์ดิลเยรา (อีโลกาโน: Rehion/Deppaar Administratibo ti Kordiliera; Rehiyong Pampangasiwaan ng Cordillera) หรือชื่อย่อ CAR เป็นเขตบริหารเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน เป็นเพียงเขตเดียวของประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ล้อมรอบด้วยเขตอีโลโคสทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ และเขตลัมบักนางคากายันทางทิศเหนือ ตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ อ้างอิงจากสำมะโนประชากร..

ใหม่!!: จังหวัดอีฟูเกาและเขตบริหารคอร์ดิลเยรา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ifugao

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »