โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพ

ดัชนี ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพ

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

32 ความสัมพันธ์: บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องชีวประวัติการชำระเลือดผ่านเยื่อการรู้หนังสือการวินิจฉัยทางการแพทย์การศึกษาการคลอดการคุมกำเนิดการตรวจทั่วไปการตั้งครรภ์การปลูกถ่ายอวัยวะมะเร็งวัยเด็กศัลยศาสตร์ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างสังคมอาการอาการแสดงองค์การอนามัยโลกทางเดินอาหารครอบครัวความพิการแบคทีเรียก่อโรคโรคโรคติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสเพศเศรษฐกิจเอชไอวีเนื้องอกICD-10

บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems มีชื่อย่อว่า ICD) เป็นรายละเอียดของโรคและการบาดเจ็บต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแผ่โดย องค์การอนามัยโลก และใช้ข้อมูลเป็นสถิติพยาธิภาวะและอัตราตาย จากทั่วโลก มีการแก้ไขปรับปรุงเป็นช่วง ๆ ปัจจุบันได้ทำการจัดพิมพ์ครั้งที่ 11 แล้ว โรคหรือกลุ่มของโรคที่มีความสัมพันธ์กันจะอธิบายด้วยการวินิจฉัยและมีรหัสกำหนดให้เป็นการเฉพาะตั้งแต่ 4-6 หลัก โดยหลักแรกในหมวดที่ 1-9 จะใช้ตัวเลข 1-9 เมื่อเข้าสู่หมวดที่ 10-26 จะใช้เป็นอักษร A-S นอกจากนี้ หมวด V คือSupplementary section for functioning assessment และหมวด X คือ External Cause แล้วจากนั้นจะแยกออกเป็นหมวดหมู่ในหลักถัดไป.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง · ดูเพิ่มเติม »

ชีวประวัติ

ีวประวัติ (biography) คืองานเขียนชนิดหนึ่งที่เป็นการกล่าวถึงเรื่องราวของบุคคลในช่วงชีวิต ชีวประวัติของบุคคลหนึ่งๆ ไม่เพียงแต่กล่าวถึง วันเกิด อาชีพ การศึกษา แต่จะมีการถึงเรื่องราวของแต่ละช่วงชีวิต และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้งนี้หากเป็นประวัติของผู้เขียนเอง จะนิยมเรียกว่า อัตชีวประวัติ ชีวประวัติ เป็นคำนาม มาจากคำว่า ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตบุคคล ส่วนคำว่า biography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า bíos (βίος) ที่หมายถึง ชีวิต (life) และ gráphein (γράφειν) ที่มีความหมายว่าการเขียน (to write) ชีวประวัติ เป็นงานเขียนประเภทหนึ่งที่เป็นการนำเสนอข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล โดยปกติจะนำเสนอในรูปแบบของหนังสือหรือบทความ บางครั้งอาจนำเสนอในรูปแบบของภาพยนตร์ก็ได้ ซึ่งองค์ประกอบของชีวประวัตินั้น อาจนอกเหนือไปจากข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ การศึกษา การทำงาน ความสัมพันธ์ หรือ การเสียชีวิต ก็ได้ โดยลักษณะของชีวประวัติจะไม่เหมือนกับประวัติโดยย่อ (Profile) หรือประวัติส่วนตัวโดยสังเขป (Resume) ทั้งนี้อาจเป็นการนำเสนอเรื่องราวประสบการณ์ มุมมองของบุคคล รวมทั้ง เกร็ดต่างๆ ในชีวิต และการวิเคราะห์บุคลิกลักษณะของบุคคล ส่วน อัตชีวประวัติ นั้น เป็นคำนาม มาจากคำว่า อัต ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตที่เจ้าของเขียนหรือเล่าด้วยตนเอง ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Autobiography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า auto ที่หมายถึง ตนเอง ดังนั้น autobiography จึงหมายถึง การบอกเล่าชีวประวัติของตนเอง การทำงานก็เป็นชีวประวัติได้หากครอบคลุมช่วงชีวิตของบุคคลนั้น เช่น ชีวประวัติการทำงาน โดยปกติจะเป็นงานเขียนที่ได้จากเรื่องจริง แต่บางครั้งก็สามารถใช้บันเทิงคดีในการนำเสนอชีวิตของบุคคลได้ หนึ่งในรูปแบบการเขียนจะชีวประวัติจะครอบคลุมไปถึงการเขียนที่สืบทอดมาจากคนรุ่นก่อน รวมทั้งชีวประวัติในวรรณกรรม ภาพยนตร์ และสื่อรูปแบบอื่น.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและชีวประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

การชำระเลือดผ่านเยื่อ

ผู้ป่วยโรคไตกำลังรับการชำระเลือดผ่านเยื่อกรอง เครื่องชำระเลือดผ่านเยื่อกรอง หรือหน่วยไตเทียม การชำระเลือดผ่านเยื่อ (hemodialysis) หรือที่นิยมเรียกว่าการฟอกเลือดหรือการฟอกไต เป็นวิธีการทางการแพทย์ที่กระทำภายนอกร่างกายในการกำจัดของเสียส่วนเกิน เช่น สารในกลุ่มครีเอทีนีนและยูเรียและน้ำออกจากเลือดในผู้ป่วยโรคไตวายซึ่งไตไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ ถือเป็นวิธีการรักษาทดแทนไตชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากการปลูกถ่ายไตและการชำระเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง (peritoneal dialysis) อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับแยกส่วนประกอบของเลือดเช่นพลาสม่าหรือเซลล์คือ apheresis (กระบวนการหนึ่งที่กระทำภายนอกร่างกายที่เลือดถูกถ่ายออกมาแล้วองค์ประกอบบางอย่างถูกแยกออกโดยการฟอก องค์ประกอบบางส่วนยังคงอยู่ที่เดิม เลือดส่วนที่เหลือจะถูกส่งกลับคืนผู้บริจาคโดยการถ่ายเลือด) การฟอกเลือดสามารถเป็นการบำบัดสำหรับผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน การฟอกเลือดเป็นประจำจะดำเนินการในศูนย์ฟอกไตผู้ป่วยนอกที่เป็นห้องในโรงพยาบาลที่สร้างโดยเฉพาะหรือห้องที่ทำขึ้นเฉพาะในคลินิกที่อยู่ลำพัง การฟอกเลือดที่ทำที่บ้านมีน้อย การฟอกเลือดในคลินิกจะดำเนินการและบริหารจัดการโดยทีมงานพิเศษจากพยาบาลและช่างเทคนิค; การฟอกเลือดที่บ้านสามารถดำเนินการได้เองและบริหารจัดการร่วมกันด้วยความช่วยเหลือของผู้ช่วยที่ผ่านการฝึกอบรมที่มักจะเป็นสมาชิกในครอบครัว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและการชำระเลือดผ่านเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

การรู้หนังสือ

thumb การรู้หนังสือ (literacy) คือ ความสามารถที่เข้าใจภาษาในระดับที่เหมาะกับการติดต่อสื่อสาร และโดยทั่วไปทำให้ทำงานได้สมบูรณ์ตามระดับสังคมต่างๆ มาตรฐานสำหรับการรู้หนังสือ มีความหลากหลายระหว่างสังคม เช่น ทักษะทางคอมพิวเตอร์ หรืออาจจะรวมถึงพื้นฐานทางตัวเลข มีผู้คนจำนวนมากที่ไม่สามารถอ่านตัวหนังสือได้ แต่สามารถอ่านตัวเลขได้ และบางส่วนอาจเคยเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่รู้หนังสือมาก่อน แต่จะอาศัยการออกเสียง รูปภาพและส่วนประกอบกราฟิกในรูปแบบของดิจิทัล ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไม่จำเป็นต้องอ่านออก เขียนได้ แต่เราก็สามารถรับรู้ได้จากวิธีที่หลากหลายตามแนวความคิดของ การรู้หนังสือ สถาบันการศึกษาของอังกฤษ มีการเพิ่มการแสดงแบบสมจริง ในรายการของการสื่อสาร เพื่อเป็นการยกระดับ การรู้หนังสือ อีกระดับหนึ่ง อีกทั้งยังมีการวิจัยออกมาว่า อัตราความสามารถการอ่านออกและเขียนได้ มีอัตราเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ การรู้หนังสือ นั้นยังแยกกันตามความชำนาญทางเทคนิคและจุดประสงค์ของการอ่านและเขียน โดยอาจจะเกี่ยวกับวัฒนธรรม การเมือง และประวัติศาสตร์ นิยามของความสามารถการอ่านออก เขียนได้ อาศัยหลักของมโนคติวิทยา ในปัจจุบันนี้ จะเห็นว่าเราได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาของ การรู้หนังสือ มากขึ้น โดย การรู้หนังสือ แนวใหม่นั้นจะเน้นตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อทำให้ประชากรบนโลกนี้ มีความรู้ ความสามารถตามวัย และยังส่งผลให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย หมวดหมู่:ภาษา หมวดหมู่:ความรู้ หมวดหมู่:สังคม หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์ประยุกต์ หมวดหมู่:สังคมเศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและการรู้หนังสือ · ดูเพิ่มเติม »

การวินิจฉัยทางการแพทย์

การวินิจฉัยทางการแพทย์เป็นวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งสาเหตุซึ่งเป็นโรคหรือความผิดปกติ รวมถึงความเห็นอันได้มาจากกระบวนการนั้น เกณฑ์การวินิจฉัยหมายถึงผลรวมระหว่างอาการ อาการแสดง และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แพทย์ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำวินิจฉัยที่ถูกต้อง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและการวินิจฉัยทางการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษา

การศึกษา ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุด เป็นวิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยทั่วไป การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คนคนหนึ่งจะคิด รู้สึกหรือกระทำ แต่ในความหมายเทคนิคอย่างแคบ การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง นั่นคือ การสอนในสถานศึกษา สำหรับปัจจุบันนี้มีการแบ่งระดับชั้นทางการศึกษาออกเป็นขั้นๆ เช่น การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ทั้งนี้รวมไปถึงระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการฝึกงาน สำหรับประเทศไทย มีกฎหมายบังคับให้ประชาชนไทยทุกคนต้องจบการศึกษาภาคบังคับ และสามารถเรียนได้จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ในปัจจุบันยังเปิดโอกาสให้มีการเรียนการสอนโดยผู้ปกครองที่บ้านหรือที่เรียกว่าโฮมสคูลอีกด้วย คำว่า "education" เป็นศัพท์จากภาษาลาติน ēducātiō ("การปรับปรุง,การอบรม") จาก ēdūcō ("ฉันรู้, ฉันฝึก") สำหรับการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและการศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

การคลอด

็กแรกเกิด การคลอด เป็นการให้กำเนิดของสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมหลังจากการตั้งครรภ์ ซึ่งเปลี่ยนภาวะจากตัวอ่อนในครรภ์ออกมาเผชิญสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งการคลอดโดยธรรมชาติทารกหรือตัวอ่อนจะออกทางช่องคลอด หรือกรณีที่คลอดธรรมชาติไม่ได้ แพทย์จะทำการผ่าตัดหน้าท้องเพื่อเอาเด็กออกม.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและการคลอด · ดูเพิ่มเติม »

การคุมกำเนิด

ตัวอย่างยาเม็ดคุมกำเนิด ประสิทธิผลของวิธีคุมกำเนิดแบบต่าง ๆ การคุมกำเนิด (birth control) คือเทคนิคและวิธีการที่ใช้ในการป้องกันการปฏิสนธิหรือขัดขวางการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิดถูกใช้มาแต่โบราณ ทว่าวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลดีพึ่งมีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 การวางแผน เตรียมการ และการใช้การคุมกำเนิดถูกเรียกว่าเป็นการวางแผนครอบครัว บางวัฒนธรรมไม่สนับสนุนและจำกัดการเข้าถึงวิธีการคุมกำเนิดเพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ต้องการทางศีลธรรม ศาสนา หรือการเมือง วิธีที่ซึ่งให้ประสิทธิผลสูงสุดคือการทำหมัน โดยการตัดหลอดนำอสุจิ (vasectomy)ในเพศชายและการผูกท่อรังไข่ในเพศหญิง การใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (IUD) และการใช้ยาฝังคุมกำเนิด ตามมาด้วยการใช้ฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง วงแหวนช่องคลอด และการฉีดฮอร์โมน วิธีที่ได้ผลรองลงมาได้แก่วิธีการนับระยะปลอดภัยและวิธีการที่ใช้สิ่งกีดขวาง เช่น ถุงยางอนามัย หมวกครอบปากมดลูก และฟองน้ำคุมกำเนิด วิธีที่ได้ผลน้อยที่สุดได้แก่การใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิ (spermicide) และการหลั่งนอกช่องคลอด การทำหมันให้ประสิทธิผลสูงแต่มักเป็นการคุมกำเนิดที่ถาวร ต่างกับวิธีอื่นซึ่งเป็นการคุมแบบชั่วคราวและสามารถย้อนกลับได้เมื่อหยุดใช้ การปฏิบัติทางเพศที่ปลอดภัย เช่นการใช้ถุงยางอนามัยชายหรือหญิงยังสามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นไม่ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เทคนิคการคุมกำเนิดฉุกเฉินสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ใช้ภายใน 72 ถึง 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน บางคนเชื่อว่าการไม่มีเพศสัมพันธ์เป็นการคุมกำเนิดแบบหนึ่ง ทว่าเพศศึกษาแบบที่สอนให้งดเว้นอย่างเดียวอาจเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหากไม่สอนควบคู่ไปกับการใช้การคุมกำเนิด เพราะการไม่ยอมทำตาม ในประเทศไทย พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและการคุมกำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจทั่วไป

การตรวจทั่วไป (general medical examination) เป็นเวชศาสตร์ป้องกันแบบทั่วไปซึ่งเกี่ยวกับผู้ใหญ่ที่ไม่รู้สึกป่วยมาพบแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปเป็นประจำ โดยทั่วไปมักปีละครั้งหรือถี่น้อยกว่า การตรวจนี้มีอีกหลายชื่อ เช่น การประเมินสุขภาพเป็นคาบ (periodic health evaluation) การตรวจร่างกายประจำปี (annual physical) การตรวจครอบคลุม (comprehensive medical exam) การตรวจสุขภาพทั่วไป (general health check) หรือการตรวจสุขภาพป้องกัน (preventive health examination) หลักฐานไม่สนับสนุนการใช้ในประชากรทั่วไป คำนี้ปกติไม่รวมการพบเพื่อวัตถุประสงค์การตรวจทารกแรกเกิด การทดสอบแพปเพื่อคัดโรคมะเร็งปากมดลูก หรือการพบเป็นประจำของผู้ที่มีโรคเรื้อรังบางอย่าง (เช่น เบาหวานหรือความดันโลหิตสูง) การตรวจทั่วไปปกติมักมีการซักประวัติ การตรวจร่างกาย (อย่างย่อหรือสมบูรณ์) และบางครั้งมีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การทดสอบขั้นสูงบางอย่างเช่น คลื่นเสียงความถี่สูงและการถ่ายภาพรังสีเต้านม.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและการตรวจทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

การปลูกถ่ายอวัยวะ

Cosmas and Damian miraculously transplant the (black) leg of a Moor onto the (white) body of Justinian. Ditzingen, 16th century (Organ transplantation) เป็นการย้ายอวัยวะจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง หรือ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในผู้ป่วยคนเดียวกัน เพื่อแทนที่อวัยวะที่เสียหายหรือขาดไป การอุบัติขึ้นของ regenerative medicine ทำให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรสามารถสร้างหรือปลูกอวัยวะจากเซลล์ของคนไข้เอง (เซลล์ต้นกำเนิด หรือเซลล์ที่แยกมาจากอวัยวะที่เสื่อม) การปลูกถ่ายอวัยวะและ/หรือเนื้อเยื่อที่ถูกปลูกถ่ายลงในตัวของเจ้าของเองเรียกว่า การปลูกถ่ายด้วยออโทกราฟท์ (autotranplantation) การเปลี่ยนถ่ายที่กระทำจากคนสู่คนหรือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันเรียกว่า การปลูกถ่ายด้วยแอลโลกราฟท์ (allotranplantation) การปลูกถ่ายด้วยอวัยวะจากสัตว์ชนิดอื่นเรียกว่า การปลูกถ่ายด้วยซีโนกราฟท์ (xenotransplantation) ในปัจจุบันอวัยวะที่สามารถปลูกถ่ายได้ ได้แก่ หัวใจ ไต ตา ตับ ปอด ตับอ่อน ลำไส้เล็ก และ ต่อมไทมัส เนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ กระดูก เอ็น กระจกตา ผิวหนัง ลิ้นหัวใจ และหลอดเลือดดำ ทั่วโลกมีการปลูกถ่ายไตมากที่สุด ตามมาด้วยตับและหัวใจ ส่วนเนื้อเยื่อ ได้แก่ กระจกตาและเนื้อเยื่อกระดูกและเอ็น อวัยวะบางอย่างเช่นสมองไม่สามารถปลูกถ่ายได้ ผู้บริจาคอวัยวะอาจมีชีวิตอยู่หรือสมองตายแล้ว เนื้อเยื่ออาจทำให้กลับคืนเหมือนเดิมได้ เช่นจากผู้บริจาคที่หัวใจตายมากว่า 24 ชั่วโมงนับจากหัวใจหยุดเต้น อวัยวะนั้นไม่เหมือนเนื้อเยื่อที่ส่วนใหญ่ (ยกเว้นกระจกตา) สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานสุดถึง 5 ปี นั่นหมายความว่าสามารถทำเป็นธนาคารอวัยวะได้ การปลูกถ่ายนำไปสู่ประเด็นทางจริยธรรมมากมายซึ่งรวมถึง การนิยามการตาย การอนุญาตให้ใช้อวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายเมื่อไรและอย่างไร และการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับอวัยวะสำหรับปลูกถ่าย ยังมีประเด็นทางจริยธรรมอื่นๆอีกเช่น การทัวร์ปลูกถ่ายและประเด็นสังคมธุรกิจการค้าอวัยวะ ปัญหาเด่นๆได้แก่ การลักลอบค้าขายอวัยวะ การปลูกถ่ายอวัยวะหรือเนื้อเยื่อเป็นหนึ่งในสาขาวิชาการแพทย์สมัยใหม่ที่ซับซ้อนและท้าทาย กุญแจสำคัญคือปัญหาการปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะนั้นเนื่อจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งอาจนำไปสู่การปลูกถ่ายที่ล้มเหลวและจำเป็นต้องนำอวัยวะนั้นออกจากผู้รับโดยทันที การปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะนั้นสามารถลดได้โดยการจัดกลุ่มสายเชื้อ (serotyping) เพื่อหาผู้บริจาคและผู้รับที่เหมาะสมที่สุดและโดยการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressant drug).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและการปลูกถ่ายอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

วัยเด็ก

วัยเด็ก คือวัยที่มีระยะช่วงเวลาตั้งแต่การเกิดจนถึงวัยรุ่น ตามทฤษฎีการเจริญการรู้ของปยาเชอ (Piaget's theory of cognitive development) วัยเด็กประกอบด้วยสองขั้น คือ ขั้นก่อนดำเนินการ (preoperational stage) และขั้นดำเนินการรูปธรรม (concrete operational stage) ในจิตวิทยาการเจริญ (developmental psychology) วัยเด็กแบ่งเป็นขั้นการเจริญวัยหัดเดิน (toddlerhood) วัยเด็กตอนต้น (วัยเล่น) วัยเด็กตอนกลาง (วัยเรียน) และวัยรุ่น (วัยเริ่มเจริญพันธุ์ถึงหลังวัยเริ่มเจริญพันธุ์) ปัจจัยวัยเด็กหลายอย่างสามารถส่งผลต่อการก่อเจตคติของบุคคล.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและวัยเด็ก · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์

ต้นไม้บนหน้าปกหนังสือ ''Orthopaedia'' ของนิโกลาส์ แอนดรี หรือที่รู้จักว่า ต้นไม้ของแอนดรี (Andry tree) นิยมใช้เป็นสัญลักษณ์สากลของวิชาออร์โทพีดิกส์ ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ หรือ ออร์โทพีดิกส์ (Orthopedic surgery, Orthopaedic surgery, Orthopedics, Orthopaedics) (โดยทั่วไปมักสะกดว่า ออร์โธปิดิกส์ หรือ ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาศัลยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งในประเทศไทยแบ่งสาขาวิชาย่อยดังนี้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง

ัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง หรือ ศัลยกรรมตกแต่ง (Reconstructive surgery) เป็นสาขาย่อยของศัลยกรรมพสาสติก ซึ่งเน้นไปทางด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายเพื่อความสวยงาม เช่นการศัลยกรรมใบหน้า การผ่าตัดขยายขนาดเต้านม เป็นต้น ทำโดยศัลยแพทย์พลาสติก เมื่อพูดถึงการศัลยกรรมความงามบนใบหน้า การเสริมจมูกและการทำตาสองชั้นเป็นการทำศัลยกรรมที่ท๊อปฮิตที่สุด ที่สาวไทยนิยมทำกันมากที่สุด ปัจจุบันนิยมหันมาทำสัลยกรรมมากขึ้น มีข้อมูลข่าวสาร การรับรู้เกี่ยวกับการทำศัลยกรรมเผยแพร่ออกไปสู่ผู้หญิงมากขึ้น จึงทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่รักสวยรักงาม อยากให้ตัวเองดูน่าสนใจ และหันมาทำศัลยกรรม รวมถึงได้รับอิทธิพลจากการเสริมความงามในต่างประเทศ เช่น ประเทศเกาหลี แต่แท้จริงแล้ว การทำศัลยกรรมตกแต่งในประเทศไทยกับประเทศเกาหลีนั้นก็ไม่แตกต่างกัน โดยเฉพาะวิธีการและขั้นตอนในการผ่าตัด แต่สิ่งที่ต่างกันจะเป็นเรื่องของโครงสร้าง รูปร่าง และใบหน้าของผู้ที่มาทำศัลยกรรมมากกว่า การทำศัลยกรรม (Plastic surgery) แม้ว่าจะมีอยู่โดยทั่วไปทุกหนแห่งแล้ว แต่ผู้ที่ต้องการจะทำต้องรู้จักเลือกว่า โรงพยาบาลแห่งใดบ้างที่มีหมอมืออาชีพ (Professionnal doctor) ที่ทำให้มั่นใจได้ เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ เมื่อการทำศัลยกรรมผิดพลาด หรือ When plastic surgery gone wrong ดังนั้น การชั่งใจและการเลือกสถานที่จึงมีความจำเป็นระดับต้นๆ สำหรับผู้ที่ต้องการเสริมความงามดังกล่าว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง · ดูเพิ่มเติม »

สังคม

กลุ่มคนในสังคม สังคม หรือ สังคมมนุษย์ คือการอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ สำหรับระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นนอกเหนือจากมนุษย์อาจใช้คำว่าระบบนิเวศ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆกับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด เช่น ประเทศ จังหวัด และอื่นๆ และมักจะมีวัฒนธรรมหรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่นและอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม การที่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมนั้น ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ถ้าต้องทำสิ่งนั้นโดยลำพัง ขณะเดียวกันสังคมที่พัฒนาหรือกำลังพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานอย่างมากนั้น ก็อาจส่งผลให้ประชากรที่ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมในสังคมขึ้นมาได้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและสังคม · ดูเพิ่มเติม »

อาการ

ในทางการแพทย์ อาการ มีความหมายสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกายและสุขภาพใจดังนี้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและอาการ · ดูเพิ่มเติม »

อาการแสดง

อาการแสดง (Medical sign) เป็นสิ่งบ่งชี้ที่สังเกตเห็นได้โดยปราศจากอคติ (objectivity) หรือลักษณะที่สามารถตรวจพบได้โดยแพทย์ระหว่างการตรวจร่างกายผู้ป่วย อาการแสดงอาจเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยตรวจไม่พบแต่ไม่ได้ให้ความสนใจ แต่สำหรับแพทย์แล้วมันมีความหมายมาก และอาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะความผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุของอาการในผู้ป่วย ตัวอย่างเช่นในภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจะมีอาการนิ้วปุ้ม (clubbing of the fingers; ซึ่งอาจเปนอาการแสดงของโรคปอดและโรคอื่นๆ อีกมากมาย) และ arcus senilis.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและอาการแสดง · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินอาหาร

PAGENAME ทางเดินอาหาร (gut, alimentary canal หรือ alimentary tract) ในทางสัตววิทยา เป็นท่อซึ่งสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง (bilateria) ส่งอาหารไปยังอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ทางเดินอาหารในสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดใหญ่มักมีทางออกด้วย คือ ทวารหนัก ซึ่งเป็นช่องทางที่สัตว์ถ่ายของเสียออกมาเป็นของแข็ง ส่วนสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดเล็กมักไม่มีทวารหนักและขับของเสียออกด้วยวิธีการอื่น เช่น ทางปาก สัตว์ที่มีทางเดินอาหารถูกจัดเข้าเป็นพวกโปรโตสโตม (protostome) หรือดิวเทอโรสโตม (deuterostome) เพราะทางเดินอาหารวิวัฒนาการสองครั้ง เป็นตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการเบนเข้า (convergent evolution) การจำแนกดังกล่าวดูจากพัฒนาการของเอ็มบริโอ สัตว์พวกโปรโตสโตมจะวิวัฒนาปากก่อน ขณะที่ดิวเทอโรสโตมจะวิวัฒนาปากเป็นลำดับที่สอง โปรโตสโตม ได้แก่ พวกสัตว์ขาปล้อง (arthropod) สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา (mollusca) และแอนเนลิดา (annelida) ขณะที่พวกดิวเทอโรสโตม ได้แก่ สัตว์ในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา (echinodermata) และคอร์ดาตา (chordata).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและทางเดินอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ครอบครัว

รอบครัว คือกลุ่มของบุคคลที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน มีความใกล้ชิดกัน และอาศัยในที่เดียวกัน ความหมายของครอบครัวในทางพันธุศาสตร์จะพิจารณาถึงความสัมพันธ์ทางสายเลือดเป็นหลัก แต่ในสังคม คนทั่วไปมักจะเข้าใจความหมายของครอบครัวในทางภาพลักษณ์มากกว่าทางพันธุศาสตร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและครอบครัว · ดูเพิ่มเติม »

ความพิการ

ัญลักษณ์สากลของคนพิการ คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประกาศกำหน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและความพิการ · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรียก่อโรค

แบคทีเรียก่อโรคหมายถึงกลุ่มหนึ่งของแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ (บทความนี้จะเน้นแบคทีเรียที่ก่อโรคในมนุษย์) แบคทีเรียส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ และบางชนิดยังเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ด้วย แต่แบคทีเรียบางชนิดก็ทำให้เกิดโรคได้ หมวดหมู่:โรคติดเชื้อแบคทีเรีย.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและแบคทีเรียก่อโรค · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและโรค · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและโรคติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อไวรัส

โรคติดเชื้อไวรัสเป็นโรคติดเชื้อกลุ่มหนึ่ง เกิดเมื่อร่างกายถูกไวรัสก่อโรครุกล้ำ โดยมีตัวไวรัสมาเกาะกับผิวเซลล์และรุกล้ำเข้าไปในเซลล์.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและโรคติดเชื้อไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

เพศ

การสืบพันธุ์ที่สำเร็จ เกิดผมการรวมตัวกันของสเปิร์มและเซลล์ไข่ เพศ (sex) ในชีววิทยา คือ ขั้นตอนการเชื่อมโยงและการผสมผสานกลไกเฉพาะทางพันธุกรรม ที่มักมีผลให้เกิดในเพศชายหรือเพศหญิงที่แตกต่างกันไป.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและเพศ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ

รษฐกิจ (economy) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน." รวมถึงด้านการใช้บริการและการท่องเที่ยวที่มีปัจจัยกระตุ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นเครือข่ายจำกัดโดยพื้นที่และเครือข่ายสังคมที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตามอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้มีส่วนโดยการแลกเปลี่ยนหรือสื่อกลางการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่าเครดิตหรือเดบิตที่ยอมรับกันภายในเครือข่าย เศรษฐกิจหนึ่ง ๆ เป็นผลมาจากกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องทั้งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และสถาบันสังคม เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์ การมีทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยเหล่านี้ให้บริบท สาร ตลอดจนจัดสภาพและตัวแปรซึ่งเศรษฐกิจทำงานอยู่ หมวดหมู่:ระบบเศรษฐกิจ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เอชไอวี

วามหมายอื่น: อัลบั้มเพลงของ ไฮ-ร็อก ดูที่ HIV เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล Retrovirus เป็นสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III), lymphadenopathy-associated virus (LAV), และ AIDS-associated retrovirus (ARV). เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยทีไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปิ้อน การติดเชิ้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปิ้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด ในขณะนี้การติดเชื้อเอชไอวี ในมนุษย์จัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนจากการตรวจพบในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1981 ทำให้เชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อีกเหตุการหนึ่ง นับจากภายหลังแบล็กเดธที่คร่าชีวิตประชากรยุโรปในสมัยกลางไปถึง 1 ใน 3 เชื้อ HIV ยังเป็นสาเหตุของการตายของมนุษย์ที่มีความเสียหายมากที่สุดในปี ค.ศ. 2005 มีการคาดการว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 2.4 และ 3.3 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 570,000 คนเป็นเด็ก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและเอชไอวี · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอก

นื้องอก (neoplasm, tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ ICD-10 จำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็น เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) เนื้องอกเฉพาะที่ (in situ neoplasms) เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน เนื้องอกร้ายยังถูกเรียกว่ามะเร็งและเป็นสิ่งที่ถูกศึกษาในวิทยามะเร็ง ก่อนที่เนื้อเยื่อจะเติบโตอย่างผิดปกติ เซลล์มักมีรูปแบบการเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น เมตาเพลเซีย (metaplasia) หรือ ดิสเพลเซีย (dysplasia) อย่างไรก็ตาม เมตาเพลเซียหรือดิสเพลเซียอาจไม่ได้พัฒนาเป็นเนื้องอกเสมอไป คำมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ νέος- neo "ใหม่" และ πλάσμα plasma "การเกิดขึ้น การสร้างตัว".

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและเนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) เป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก รหัสได้ถูกจัดทำขึ้นแตกต่างกันถึง 155,000 รหัสและสามารถติดตามการวินิจฉัยและหัตถการใหม่ๆ ดังจะเห็นจากรหัสที่เพิ่มขึ้นจากฉบับก่อนหน้า ICD-9 ที่มีอยู่เพียง 17,000 รหัส งานจัดทำ ICD-10 เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2526 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 21: ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและการรับบริการสุขภาพและICD-10 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ICD-10 บท ZICD-10 บท Z: ปัจจัยที่มีอิทธิพลสุขภาพอนามัย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »