โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอด

ดัชนี ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอด

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยจโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

52 ความสัมพันธ์: บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกลุ่มอาการ HELLPการบาดเจ็บการผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับเชิงกรานมารดาการผ่าท้องทำคลอดการคลอดการคลอดก่อนกำหนดการคลอดลำบากการคลอดท่าก้นการคลอดติดไหล่การตั้งครรภ์การตั้งครรภ์นอกมดลูกการติดเชื้อการแท้งภาวะเครียดของทารกรกรกลอกตัวก่อนกำหนดรกงอกติดรอยโรคสายสะดือสายสะดือพันคอทารกสายสะดือย้อยสูติศาสตร์หลอดเลือดดำอาการอาการแสดงอาเจียนถุงน้ำคร่ำอักเสบทารกทุพโภชนาการข้อต่อครรภ์มานน้ำความดันโลหิตสูงความตายคีมตับปรสิตน้ำคร่ำอุดหลอดเลือดแฝดติดกันโรคโรคพิษแห่งครรภ์ระยะชักโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชักโรคติดเชื้อไข้ไตเสียหายเฉียบพลันเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์เชิงกรานเมแทบอลิซึมเลือดออกเอ็น...เต้านมICD-10 ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »

บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems มีชื่อย่อว่า ICD) เป็นรายละเอียดของโรคและการบาดเจ็บต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแผ่โดย องค์การอนามัยโลก และใช้ข้อมูลเป็นสถิติพยาธิภาวะและอัตราตาย จากทั่วโลก มีการแก้ไขปรับปรุงเป็นช่วง ๆ ปัจจุบันได้ทำการจัดพิมพ์ครั้งที่ 11 แล้ว โรคหรือกลุ่มของโรคที่มีความสัมพันธ์กันจะอธิบายด้วยการวินิจฉัยและมีรหัสกำหนดให้เป็นการเฉพาะตั้งแต่ 4-6 หลัก โดยหลักแรกในหมวดที่ 1-9 จะใช้ตัวเลข 1-9 เมื่อเข้าสู่หมวดที่ 10-26 จะใช้เป็นอักษร A-S นอกจากนี้ หมวด V คือSupplementary section for functioning assessment และหมวด X คือ External Cause แล้วจากนั้นจะแยกออกเป็นหมวดหมู่ในหลักถัดไป.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการ HELLP

กลุ่มอาการ HELLP (HELLP syndrome) เป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ถือเป็นโรคพิษแห่งครรภ์อย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่พบในช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ และอาจพบในช่วงหลังคลอดได้ HELLP เป็นตัวย่อ ซึ่งย่อมาจาก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและกลุ่มอาการ HELLP · ดูเพิ่มเติม »

การบาดเจ็บ

การบาดเจ็บ (Injury) เป็นความเสียหายหรืออันตรายต่อหน้าที่หรือโครงสร้างของร่างกาย อันมีสาเหตุจากแรงหรือปัจจัยภายนอกทั้งทางกายภาพหรือเคมี และทั้งโดยเจตนา (เช่นการฆ่าตัวตาย ฆาตกรรม) หรือไม่ได้เจตนา (เช่นอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บจากกีฬา).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและการบาดเจ็บ · ดูเพิ่มเติม »

การผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับเชิงกรานมารดา

การผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับเชิงกรานมารดา หรือ ซีพีดี (cephalo-pelvic disproportion, CPD) คือภาวะซึ่งเชิงกรานของมารดามีขนาดเล็กเกินกว่าหรือไม่สามารถขยายตัวได้กว้างพอที่ศีรษะของทารกผ่านช่องทางคลอดได้ อาจเกิดจากเชิงกรานของมารดามีขนาดเล็ก มีทรงไม่เหมาะสมกับการผ่านของทารก (nongynecoid) ทารกมีขนาดใหญ่ หรือหลายปัจจัยร่วมกัน นอกจากนี้โรคบางอย่างยังอาจทำให้กระดูกมีรูปร่างผิดปกติไป เช่น ริคเกตส์ (โรคกระดูกอ่อนในเด็ก) กระดูกเชิงกรานเคยหักมาก่อน เช่นนี้ก็อาจทำให้เกิด CPD ได้ มีการเสนอว่าการวัด transverse diagonal สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ว่าอาจเกิด CPD ได้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและการผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับเชิงกรานมารดา · ดูเพิ่มเติม »

การผ่าท้องทำคลอด

การผ่าท้องทำคลอด (Caesarean section) หรือ ซี-เซกชัน (C-section) หรือ ซีซาร์ (Caesar) เป็นหัตถการทางศัลยศาสตร์กระทำโดยการผ่าที่บริเวณส่วนท้องของมารดา (ผ่าท้องและผ่ามดลูก) เพื่อให้ทารกในครรภ์คลอด มักทำเมื่อการคลอดทางช่องคลอดอาจเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตของมารดาหรือเด็ก แม้ในปัจจุบันจะมีการผ่าท้องทำคลอดตามความประสงค์ของมารดามากขึ้น องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าอัตราการผ่าท้องทำคลอดควรทำต่อเมื่อมีความจำเป็นทางการแพทย์เท่านั้น โดยปกติแล้วการผ่าท้องทำคลอดจะใช้เวลาประมาณ 45 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและการผ่าท้องทำคลอด · ดูเพิ่มเติม »

การคลอด

็กแรกเกิด การคลอด เป็นการให้กำเนิดของสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมหลังจากการตั้งครรภ์ ซึ่งเปลี่ยนภาวะจากตัวอ่อนในครรภ์ออกมาเผชิญสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งการคลอดโดยธรรมชาติทารกหรือตัวอ่อนจะออกทางช่องคลอด หรือกรณีที่คลอดธรรมชาติไม่ได้ แพทย์จะทำการผ่าตัดหน้าท้องเพื่อเอาเด็กออกม.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและการคลอด · ดูเพิ่มเติม »

การคลอดก่อนกำหนด

การคลอดก่อนกำหนด (preterm birth) นั้นสำหรับมนุษย์มักหมายถึงการคลอดทารกก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ มักมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม เรียกว่า “ทารกน้ำหนักน้อย” ถ้าคลอดก่อน 30-32 สัปดาห์ น้ำหนักเฉลี่ยน้อยกว่า 1,500 กรัม เรียกว่า “ทารกน้ำหนักน้อยมาก” สาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดนั้นในหลายครั้งมักไม่ปรากฏสาเหตุชัดเจน ปัจจัยที่มีผลหรือสัมพันธ์กับการเกิดการคลอดก่อนกำหนดนั้นมีหลายอย่างมาก ทำให้ความพยายามในการลดการคลอดก่อนกำหนดนั้นเป็นการยากอย่างยิ่ง premature birth มักใช้ในความหมายเดียวกันกับ preterm birth หมายถึงการที่ทารกคลอดก่อนที่อวัยวะต่างๆ จะเจริญเต็มที่พอที่จะมีชีวิตรอดและเจริญเติบโตได้ ทารกที่ premature จะมีความเสี่ยงสูงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงอาจมีความผิดปกติในการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสติปัญญาได้ด้วย ในปัจจุบันการดูแลทารก premature มีความก้าวหน้ามาก แต่ยังไม่สามารถลดความชุก (prevalence) ของการคลอดก่อนกำหนดได้ ปัจจุบันการคลอด preterm เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการมีทารก premature และเป็นสาเหตุสำคัญของอัตราตายแรกเกิด (neonatal mortality) ในประเทศที่กำลังพัฒน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและการคลอดก่อนกำหนด · ดูเพิ่มเติม »

การคลอดลำบาก

การคลอดลำบาก (Dystocia) เป็นความผิดปกติของการคลอดหรือการเจ็บครรภ์ที่ช้าหรือยากกว่าปกติ ประมาณการณ์ว่าทุก 1 ใน 5 ของการเจ็บครรภ์คลอดเป็นการคลอดลำบาก ภาวะนี้อาจเกิดจากการทำงานไม่สัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อมดลูก ทารกอยู่ในท่าหรือส่วนนำที่ผิดปกติ สัดส่วนของศีรษะทารกและเชิงกรานมารดาไม่ได้สัดส่วนกัน หรือที่พบน้อยมากคือเนื้องอกของทารกในครรภ์ขนาดใหญ่เช่นเนื้องอกวิรูปบริเวณก้นกบร่วมกระเบนเหน็บ (sacrococcygeal teratoma) ออกซีโทซิน (Oxytocin) มักใช้เป็นยาเพื่อแก้ไขการทำงานไม่สัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อมดลูก อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างการคลอดลำบากมักจบลงด้วยการใช้อุปกรณ์ช่วยคลอดเช่นคีม เครื่องดูดสุญญากาศ หรือการผ่าท้องทำคลอด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ในการคลอดลำบากได้แก่ทารกเสียชีวิต การกดการหายใจของทารก โรคสมองขาดเลือด (Hypoxic Ischaemic Encephalopathy; HIE) และเส้นประสาทในข่ายประสาทแขนบาดเจ็บ ภาวะที่สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการคลอดลำบากคือ ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์แต่ละครั้งยาวนานผิดปกติ (prolonged interval between pregnancies), หญิงมีครรภ์แรก, และการตั้งครรภ์แฝด การคลอดไหล่ยาก (Shoulder dystocia) เป็นการคลอดยากชนิดหนึ่งซึ่งไหล่หน้าของทารกไม่สามารถผ่านแนวประสานกระดูกหัวหน่าว (pubic symphysis) หรือต้องอาศัยการดึงอย่างมากเพื่อให้ไหล่ผ่านใต้แนวประสานกระดูกหัวหน่าว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและการคลอดลำบาก · ดูเพิ่มเติม »

การคลอดท่าก้น

การคลอดท่าก้น (breech birth, breech elivery) เป็นการคลอดทารกที่มีส่วนนำผิดปกติในท่าก้น ซึ่งแตกต่างกับการคลอดปกติซึ่งส่วนนำของทารกจะเป็นศีรษะ การที่ทารกอยู่ในท่าก้นจะเป็นอันตรายต่อทารก บางครั้งทำให้ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ เกิดเป็นการคลอดติดขัด ซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งมารดาและทารก ปัจจุบันสูติแพทย์นิยมทำคลอดทารกในท่าก้นด้วยการผ่าตัดคลอด หากไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนอื่น ๆ หมวดหมู่:ผดุงครรภ์ หมวดหมู่:ภาวะแทรกซ้อนของการเจ็บครรภ์และการคลอด.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและการคลอดท่าก้น · ดูเพิ่มเติม »

การคลอดติดไหล่

การคลอดติดไหล่เป็นภาวะคลอดยากอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคลอดส่วนหัวของทารกออกมาแล้วแต่ไหล่หน้าของทารกไม่สามารถลอดผ่านแนวประสานกระดูกหัวหน่าวออกมาได้ หรือออกมาได้โดยยาก วินิจฉัยเมื่อไหล่ของทารกไม่ผ่านออกมาหลังจากศีรษะคลอดในเวลาอันเหมาะสม ภาวะนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ หากทำคลอดทารกได้ไม่สำเร็จในเวลาที่เหมาะสมจะทำให้สายสะดือถูกกดอยู่ในทางคลอดจนทำให้เกิดอันตรายต่อทารกได้ หมวดหมู่:ภาวะแทรกซ้อนของการเจ็บครรภ์และการคลอ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและการคลอดติดไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตั้งครรภ์นอกมดลูก (ectopic pregnancy) เป็นภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ตัวอ่อนที่ผสมแล้วเกิดฝังตัวที่ตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่มดลูก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดท้องหรือมีเลือดออกทางช่องคลอด ส่วนใหญ่มีแค่อาการใดอาการหนึ่ง น้อยกว่า 50% ที่จะมีทั้งสองอาการดังกล่าว อาการปวดท้องอาจปวดได้หลายแบบ ทั้งปวดบีบ ปวดตื้อ หรือปวดจี๊ด หากมีการตกเลือดในช่องทางอาจมีอาการปวดร้าวไปถึงไหล่ได้ หากเสียเลือดมากอาจทำให้อาการของการเสียเลือด เช่น หัวใจเต้นเร็ว หน้ามืดเป็นลม หรือช็อกได้ ส่วนใหญ่ทารกมักไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ จะมีกรณียกเว้นเป็นจำนวนน้อยมากเท่านั้น ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้แก่ โรคอักเสบในอุ้งเชิงกราน (ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อคลาไมเดีย) การสูบบุหรี่ การมีประวัติเคยผ่าตัดท่อนำไข่ การมีบุตรยาก และการใช้เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ ผู้ที่เคยมีการตั้งครรภ์นอกมดลูกมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นซ้ำ การตั้งครรภ์นอกมดลูกส่วนใหญ่ (90%) เกิดในท่อนำไข่ จึงเรียกว่า การตั้งครรภ์ในท่อนำไข่ (tubal pregnancy) ตำแหน่งอื่นที่อาจเกิดได้เช่น ปากมดลูก รังไข่ หรือเยื่อบุช่องท้อง การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำโดยการตรวจระดับฮอร์โมนเอชซีจี ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวนด์ บางครั้งอาจต้องตรวจมากกว่าหนึ่งครั้ง ภาวะอื่นที่ทำให้มีอาการคล้ายคลึงกันเช่น การแท้ง การบิดขั้วของรังไข่ และไส้ติ่งอักเสบ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:การตั้งครรภ์ที่สิ้นสุดด้วยการแท้ง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและการตั้งครรภ์นอกมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การแท้ง

การแท้ง (abortion) คือการยุติการตั้งครรภ์โดยการนำทารกในครรภ์หรือเอ็มบริโอออกจากมดลูกก่อนให้กำเนิด เมื่อเกิดโดยไม่เจตนามักเรียกว่า การแท้งเอง และเรียกว่า การทำแท้ง เมื่อทำโดยเจตนา เมื่อไม่มีกฎหมายห้าม การทำแท้งในประเทศพัฒนาแล้วเป็นหนึ่งในกระบวนการทางการแพทย์ที่ปลอดภัยที่สุด แพทย์แผนปัจจุบันทำแท้งด้วยยาหรือศัลยกรรม การใช้ยาไมฟีพริสโตน (mifepristone) ร่วมกับโพรสตาแกลนดินเป็นวิธีทำแท้งแบบใช้ยาที่ปลอดภัยและให้ประสิทธิผลดีระหว่างไตรมาสแรกกับไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ หลังการแท้งสามารถใช้การคุมกำเนิด เช่น ยาคุมกำเนิด หรือ ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ได้ทันที การทำแท้งไม่เพิ่มโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคทั้งทางจิตและทางกายภาพเมื่อทำอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ในทางตรงข้าม การทำแท้งอย่างไม่ปลอดภัย เช่น การทำแท้งโดยผู้ไม่มีทักษะ การทำแท้งด้วยอุปกรณ์ไม่ปลอดภัย หรือการทำแท้งในสถานที่ไม่สะอาด นำไปสู่การเสียชีวิตของคนกว่า 47,000 คน และทำให้คนกว่า 5 ล้านคนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในแต่ละปี องค์การอนามัยโลกสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนมีทางเลือกที่จะทำแท้งอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ในแต่ละปีมีการทำแท้งเกิดขึ้นประมาณ 56 ล้านครั้งทั่วโลก โดยมีประมาณ 45% ที่ทำอย่างไม่ปลอดภัย อัตราการทำแท้งแทบไม่เปลี่ยนแปลงระหว่าง..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและการแท้ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเครียดของทารก

วะเครียดของทารก (fetal distress) คือภาวะใดๆ ซึ่งตรวจพบในสตรีมีครรภ์แล้วเป็นการบ่งชี้ว่าทารกในครรภ์กำลังมีภาวะไม่ปกติ คำนี้ไม่มีนิยามที่ชัดเจน วิชาสูติศาสตร์สมัยใหม่จึงพยายามลดการใช้คำนี้ในการอธิบายภาวะของทารก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและภาวะเครียดของทารก · ดูเพิ่มเติม »

รก

ตำแหน่งของรกในครรภ์ รก คืออวัยวะพิเศษที่สร้างขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์ ทำหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกและกำจัดของเสีย ด้านหนึ่งของรกต่อกับเส้นเลือดที่สายสะดือของทารก อีกด้านของรกจะเกาะกับผนังมดลูก เลือดลูกกับแม่จะไม่ผสมกัน แต่มีการแลกเปลี่ยนสารต่าง ๆ ระหว่างกัน หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ หมวดหมู่:คัพภวิทยา หมวดหมู่:อวัยวะ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและรก · ดูเพิ่มเติม »

รกลอกตัวก่อนกำหนด

รกลอกตัวก่อนกำหนด (premature separation of placenta, placental abruption, abruptio placentae) เป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ของการตั้งครรภ์ซึ่งรกได้แยกตัวออกจากผนังมดลูกของมารดาก่อนที่ทารกจะคลอดตามปกติ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยสาเหตุหนึ่งของการมีเลือดออกในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ในมนุษย์ถือว่าการลอกตัวของรกหลังสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์และก่อนการเกิดนั้นเป็นการลอกตัวก่อนกำหนด มีอุบัติการณ์ 1% การตั้งครรภ์ทั่วโลกโดยมีอัตราการเสียชีวิตของทารกประมาณ 20-40% ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการลอกตัว รกลอกตัวก่อนกำหนดมีผลต่ออัตราการตายของมารดาอย่างมาก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและรกลอกตัวก่อนกำหนด · ดูเพิ่มเติม »

รกงอกติด

รกงอกติด (placenta accreta) เป็นภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ซึ่งมีความรุนแรงมากอย่างหนึ่ง ซึ่งรกเกาะกับผนังมดลูกลึกกว่าปกติ ผ่านจากชั้นเยื่อบุมดลูกไปยังชั้นกล้ามเนื้อมดลูก แบ่งออกเป็นสามชนิดตามความลึกของการแทรกเข้าไปในผนังมดลูก การคลอดปกตินั้นเมื่อทารกคลอดออกมาแล้วรกจะลอกตัวออกจากมดลูกโดยง่ายตามกระบวนการปกติ แต่ในครรภ์ที่มีรกงอกติดนั้น รกไม่สามารถลอกออกมาตามปกติได้ ทำให้มีเลือดออกมาก และแม้จะเอารกออกมาได้แล้วก็ยังเสี่ยงต่อการตกเลือดตามมาอย่างมาก บ่อยครั้งที่จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเข้าช่วยเพื่อเอารกออก บางครั้งอาจจำเป็นต้องตัดมดลูกออกทั้งหมดเพื่อรักษาชีวิตของมารดาเอาไว้ รกงอกติดพบได้ 1 ใน 2500 การตั้งครร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและรกงอกติด · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและรอยโรค · ดูเพิ่มเติม »

สายสะดือ

สายสะดือของเด็กที่มีอายุ 3 นาที ซึ่งถูกหนีบไว้โดยเครื่องมือทางการแพทย์ สายสะดือ เป็นอวัยวะอย่างหนึ่งพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดที่มีรก ทำหน้าที่เป็นทางเชื่อมระหว่างตัวอ่อนในครรภ์กับรก ทางสรีรวิทยาและพันธุกรรมแล้วสายสะดือถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวอ่อน/ทารก ในสายสะดือของมนุษย์จะมีหลอดเลือดแดงสองเส้นและหลอดเลือดดำหนึ่งเส้น ฝังอยู่ในวุ้นวาร์ตัน หลอดเลือดดำสายสะดือทำหน้าที่นำเลือดที่มีออกซิเจนและสารอาหารจากรกไปเลี้ยงตัวอ่อน หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ หมวดหมู่:คัพภวิทยา หมวดหมู่:กุมารเวชศาสตร์.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและสายสะดือ · ดูเพิ่มเติม »

สายสะดือพันคอทารก

สายสะดือพันคอทารกเกิดเมื่อสายสะดือพันคอทารกในครรภ์ครบรอบสามร้อยหกสิบองศา เกิดขึ้นบ่อยมาก โดยมีอัตราความชุกอยู่ที่ร้อยละ 6-37 เกือบครึ่งคลายออกเองก่อนคลอด หมวดหมู่:ภาวะแทรกซ้อนของการเจ็บครรภ์และการคลอด.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและสายสะดือพันคอทารก · ดูเพิ่มเติม »

สายสะดือย้อย

ือย้อย (Umbilical cord prolapse) เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์เกิดระหว่างการตั้งครรภ์หรือการเจ็บครรภ์ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์จนถึงชีวิตได้ เกิดขึ้นเมื่อสายสะดือยื่นมาต่ำกว่าหรือนำส่วนนำออกของทารก ภาวะนี้พบได้น้อย สถิติของอุบัติการณ์ของสายสะดือย้อยนั้นมีหลากหลาย แต่ในการศึกษาส่วนใหญ่พบว่าอยู่ระหว่างร้อยละ 0.14 และ 0.62 ของการคลอดทั้งหมด สายสะดือย้อยมักเกิดร่วมกับการแตกของถุงน้ำคร่ำ หลังจากที่ถุงน้ำคร่ำแตกแล้วทารกจะเคลื่อนต่ำลงในอุ้งเชิงกรานและกดทับสายสะดือ ทำให้เลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงทารกลดลงหรือหายไป และทารกจะต้องคลอดโดยทันที แพทย์บางท่านอาจพยายามลดแรงกดต่อสายสะดือและให้คลอดทางช่องคลอดตามปกติ ซึ่งบ่อยครั้งที่ความพยายามลดแรงกดและให้คลอดทางช่องคลอดล้มเหลวและต้องผ่าท้องทำคลอดฉุกเฉินทันที เมื่อผู้ป่วยกำลังถูกเตรียมเพื่อผ่าท้องทำคลอดเนื่องจากภาวะนี้ ผู้ป่วยจะถูกจัดให้อยู่ในท่าศีรษะต่ำและใช้หมอนรองก้นให้สูง (ท่า Trendelenburg) หรือท่าเข่า-ศอก (knee-elbow position) และใช้มือดันเข้าไปในช่องคลอดและดันส่วนนำของทารกให้กลับเข้าไปในเชิงกรานเพื่อลดแรงกดต่อสายสะดือ หากการคลอดทารกล้มเหลว ทารกจะขาดอากาศและเลือดมาเลี้ยงและสมองทารกจะถูกทำลายหรือทารกอาจถึงแก่ชีวิตได้ อัตราการเสียชีวิตของทารกในภาวะนี้อยู่ราวร้อยละ 11-17 ซึ่งเป็นสถิติที่เก็บในการคลอดในโรงพยาบาลและมีการส่งต่อผู้ป่วยรวดเร็วในประเทศพัฒนาแล้ว มีรายงานถึงการไม่มีผู้เสียชีวิตเลยในผู้ป่วย 24 รายที่ได้รับการช่วยเหลือโดยการใส่น้ำเกลือเข้าไป 500 มิลลิลิตรทางสายสวนปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะของมารดาเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะโป่งและดันส่วนนำของทารกให้ลอยสูงขึ้น และช่วยลดแรงกดต่อสายสะดือที่ย้อ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและสายสะดือย้อย · ดูเพิ่มเติม »

สูติศาสตร์

ูติศาสตร์ (Obstetrics; มาจากภาษาละติน obstare การเตรียมพร้อม) เป็นศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่เกี่ยวกับการดูแลผู้หญิงและทารกระหว่างการตั้งครรภ์, การคลอด, และระยะหลังคลอด ส่วนการผดุงครรภ์ (Midwifery) นั้นจะไม่อาศัยทักษะการศัลยศาสตร์ สูติแพทย์ส่วนมากมักจะเป็นแพทย์นรีเวชวิทยาด้วย ดูที่สูตินรีเวชวิทยา (Obstetrics and gynaecology) ระยะการตั้งครรภ์โดยเฉลี่ยของมนุษย์คืออายุครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 38 สัปดาห์นับจากวันปฏิสนธิ แบ่งออกเป็นสามไตรม.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและสูติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำ

ในระบบไหลเวียนโลหิต หลอดเลือดดำ (vein) เป็นหลอดเลือดที่นำพาเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ หน้าที่หลักของหลอดเลือดดำคือการขนส่งเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจากเนื้อเยื่อกลับเข้าสู่หัวใจ ยกเว้นหลอดเลือดดำจากปอด (pulmonary vein) และหลอดเลือดดำอัมบิลิคัล (umbilical vein) ที่ขนส่งเลือดที่มีออกซิเจนสูง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

อาการ

ในทางการแพทย์ อาการ มีความหมายสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกายและสุขภาพใจดังนี้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและอาการ · ดูเพิ่มเติม »

อาการแสดง

อาการแสดง (Medical sign) เป็นสิ่งบ่งชี้ที่สังเกตเห็นได้โดยปราศจากอคติ (objectivity) หรือลักษณะที่สามารถตรวจพบได้โดยแพทย์ระหว่างการตรวจร่างกายผู้ป่วย อาการแสดงอาจเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยตรวจไม่พบแต่ไม่ได้ให้ความสนใจ แต่สำหรับแพทย์แล้วมันมีความหมายมาก และอาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะความผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุของอาการในผู้ป่วย ตัวอย่างเช่นในภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจะมีอาการนิ้วปุ้ม (clubbing of the fingers; ซึ่งอาจเปนอาการแสดงของโรคปอดและโรคอื่นๆ อีกมากมาย) และ arcus senilis.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและอาการแสดง · ดูเพิ่มเติม »

อาเจียน

อาเจียน เป็นอาการขับออกซึ่งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในท้องอย่างเฉียบพลันออกทางปาก และบางครั้งทางจมูกด้วย การอาเจียนที่ไม่พึงประสงค์เกิดมาจากหลายสาเหตุตั้งแต่เยื่อบุกระเพาะอักเสบ หรือ ได้รับสารพิษ จนไปถึงเนื้องอกในสมอง เมารถเมาเรือ หรือแม้กระทั่งมาจากความดันในกะโหลกสูง อาการที่อยากจะอาเจียนเรียกว่าอาการคลื่นไส้ อาการนี้มักจะเกิดก่อนการอาเจียน แต่ไม่ได้แปลว่ามีอาการนี้แล้วจะต้องอาเจียนเสมอไป ยาแก้อาเจียนอาจจะต้องใช้ระงับการอาเจียนในรายที่มีอาการหนักมาก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและอาเจียน · ดูเพิ่มเติม »

ถุงน้ำคร่ำอักเสบ

เยื่อคอเรียนและแอมเนียนอักเสบ (chorioamnionitis) หรือถุงน้ำคร่ำอักเสบ เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มทารกหรือถุงน้ำคร่ำได้แก่เยื่อคอเรียน และแอมเนียน (ถุงน้ำคร่ำ) จากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียเจริญจากช่องคลอดขึ้นไปสู่มดลูก และมักพบร่วมกับการคลอดยาวนาน ความเสี่ยงของการเกิดถุงน้ำคร่ำอักเสบจะเพิ่มสูงขึ้นทุกครั้งที่มีการตรวจภายใน ทั้งในช่วงแรกของการตั้งครรภ์และระยะคลอด หมวดหมู่:สูติศาสตร์ หมวดหมู่:การอักเสบ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและถุงน้ำคร่ำอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

ทารก

ทารก (infant) คือ เด็กแบเบาะ หรือ เด็กเล็กๆ โดยทั่วไปหมายถึงเด็กอายุระหว่าง 1 เดือนขึ้นไป จนถึง 1-2 ปี ทารกอายุน้อยกว่า 1 เดือน เรียกว่า ทารกแรกเกิด (newborn, neonate) เด็กอายุ 1-2 ปีขึ้นไป อาจเรียกว่า เด็กวัยหัดเดิน (toddler) เด็กที่อยู่ในครรภ์ เรียกว่า ทารกในครรภ์ (fetus).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและทารก · ดูเพิ่มเติม »

ทุพโภชนาการ

ทุพโภชนาการ (malnutrition) เป็นภาวะซึ่งเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารไม่สมดุลกัน โดยอาจมีสารอาหารบางอย่างได้รับไม่เพียงพอ เกิน หรือผิดสัดส่วน ผลอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางโภชนาการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับว่าสารอาหารที่ได้รับนั้นขาดหรือเกิน องค์การอนามัยโลกกล่าวถึงทุพโภชนาการว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณสุขของโลก การปรับปรุงสารอาหารถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นรูปแบบการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มาตรการฉุกเฉินมีทั้งการจัดสารอาหารรองที่ขาดโดยใช้ผงกระแจะ (sachet powder) เสริมอาหาร เช่น เนยถั่ว หรือผ่านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรง แบบจำลองการบรรเทาทุพภิกขภัยได้มีการใช้เพิ่มขึ้นโดยกลุ่มช่วยเหลือ ที่เรียกร้องให้ส่งเงินหรือคูปองเงินสดแก่ผู้หิวโหยเพื่อจ่ายชาวนาท้องถิ่น แทนที่จะซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค ซึ่งมักกำหนดโดยกฎหมาย เพราะจะเสียเงินไปกับค่าขนส่ง มาตรการระยะยาวรวมถึงการลงทุนในเกษตรกรรมสมัยใหม่ในที่ซึ่งขาดแคลน เช่น ปุ๋ยและชลประทาน ซึ่งกำจัดความหิวโหยได้อย่างใหญ่หลวงในประเทศพัฒนาแล้ว อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกตำหนิหน่วยงานของรัฐที่จำกัดชาวนาอย่างรุนแรง และการขยายการใช้ปุ๋ยถูกขัดขวางโดยกลุ่มสิ่งแวดล้อมบางกลุ่ม.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและทุพโภชนาการ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อ

้อ หรือ ข้อต่อ (Joints) ในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกัน ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีหลายแบบ และสามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะโครงสร้าง และคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและข้อต่อ · ดูเพิ่มเติม »

ครรภ์มานน้ำ

รรภ์มานน้ำ (polyhydramnios, polyhydramnion, hydramnios) เป็นภาวะที่มารดาที่ตั้งครรภ์มีปริมาณของน้ำคร่ำในถุงน้ำคร่ำมากกว่าปกติ อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ของการตั้งครรภ์ได้ ทั่วไปมักวินิจฉัยจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและครรภ์มานน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

คีม

ีม เครื่องมือประเภทมือจับชนิดหนึ่งมี 2 ขาคล้ายกรรไกร ใช้สำหรับ คีบ จับ ตัด ดัด งอโค้ง ของต่างมือ ตามประเภทการใช้งานของคีมประเภทต่าง ๆ วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่ทำด้วยเหล็ก หากเป็นคีมชนิดที่ใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าจะมีด้ามหุ้มเป็นพลาสติกที่เป็นฉนวนไฟฟ้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและคีม · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ปรสิต

ปรสิต (parasite) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยผู้อื่นหรือเซลล์ชนิดอื่นเป็นที่พักอาศัยและแหล่งอาหาร และบางครั้งทำร้ายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์นั้นหรือเซลล์ภายในจนเจ็บป่วยหรือถึงกับเสียชีวิต เช่น การอาศัยอยู่สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำในร่างกายมนุษย์ ตัวอย่าง พยาธิ เป็นต้น.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและปรสิต · ดูเพิ่มเติม »

น้ำคร่ำอุดหลอดเลือด

วะน้ำคร่ำอุดหลอดเลือด เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ที่พบน้อยและยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด เกิดจากการที่มีน้ำคร่ำ หรือเส้นผม หรือเศษชิ้นเนื้อต่างๆ ของทารกหลุดเข้าสู่กระแสเลือดของมารดาผ่านทางรกในขณะคลอดและทำให้เกิดอาการแพ้ ภาวะนี้ทำให้เกิดความล้มเหลวในระบบหัวใจและปอด ทำให้เกิดภาวะเลือดแข็งตัว และเป็นอันตรายถึงชีวิตแก่มารดาได้ ในปี พ.ศ. 2484 Steiner และ Luschbaugh อธิบายภาวะน้ำคร่ำอุดหลอดเลือดเป็นครั้งแรก หลังจากพบเศษชิ้นเนื้อของทารกในเส้นเลือดปอดของมารดาที่เสียชีวิตขณะคลอด ข้อมูลปัจจุบันจาก National Amniotic Fluid Embolus Registry ทำให้เชื่อว่ากลไกการเกิดโรคนี้คล้ายคลึงกับภาวะแพ้รุนแรงมากกว่าภาวะเส้นเลือดอุดตัน ทำให้มีการเสนอให้ใช้คำว่า กลุ่มอาการแพ้รุนแรงจากการตั้งครรภ์ (Anaphylactoid syndrome of pregnancy) ขึ้นใช้แทนคำเดิม เนื่องจากในมารดาที่มีอาการและอาการแสดงเข้ากันได้กับภาวะน้ำคร่ำอุดหลอดเลือดนั้นไม่ได้พบเศษชิ้นเนื้อของทารกหรือน้ำคร่ำในเส้นเลือดปอดเสมอไป การวินิจฉัยภาวะน้ำคร่ำอุดหลอดเลือดมักได้จากการชันสูตรโดยพบเซลล์สความัสของทารกในเส้นเลือดปอดของมารดา อย่างไรก็ดี เซลล์สความัสของทารกก็พบได้บ่อยในเส้นเลือดของมารดาที่ไม่มีอาการ สำหรับในมารดาที่มีอาการรุนแรงมากนั้นการพบเซลล์สความัสของทารกในตัวอย่างเลือดที่ได้จาก distal port ของ pulmonary artery catheter ถือว่าทำให้นึกถึงภาวะน้ำคร่ำอุดหลอดเลือดแต่ไม่ใช่เกณฑ์การวินิจฉัย การวินิจฉัยในปัจจุบันใช้การวินิจฉัยโดยการคัดออกที่มีพื้นฐานอยู่บนอาการแสดงทางคลินิก โดยยังต้องนึกถึงสาเหตุอื่นที่ทำให้มี hemodynamic instability ด้ว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและน้ำคร่ำอุดหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

แฝดติดกัน

แฝดติดกัน (Conjoined twins) คือ แฝดร่วมไข่ซึ่งมีร่างกายติดกันมาแต่กำเนิด แฝดติดกันมีโอกาสในการเกิดตั้งแต่ 1 ใน 50,000 คน ถึง 1 ใน 200,000 คน โดยพบมากในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และแอฟริกา ประมาณครึ่งหนึ่งของแฝดติดกันเสียชีวิตตั้งแต่ตอนคลอด และอีกส่วนหนึ่งรอดชีวิตจากการคลอดแต่มีความผิดปกติทางร่างกาย โอกาสรอดชีวิตโดยรวมของแฝดติดกันมีประมาณร้อยละ 25 ประมาณร้อยละ 70 - 75 ของแฝดติดกันเป็นเพศหญิง มีทฤษฏี 2 ทฤษฎีที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับการเกิดแฝดติดกัน ทฤษฎีที่เก่าแก่และเป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดคือ การแบ่งแยกตัว (fission) หมายถึง ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วแยกออกจากกันไม่สมบูรณ์ ทฤษฎีที่สอง คือ การหลอมรวม (fusion) หมายถึง ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วแยกออกจากกันได้สมบูรณ์ แต่เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) ไปเจอกับเซลล์ต้นกำเนิดที่เหมือนกันในแฝดอีกคนหนึ่ง และหลอมรวมแฝดทั้งสองเข้าด้วยกัน แฝดติดกันที่มีชื่อเสียงที่สุดน่าจะเป็นแฝดสยามอิน-จัน (พ.ศ. 2354 - 2417) ที่รู้จักกันในชื่อ "แฝดสยาม" (Siamese Twins) อิน-จันมีลำตัวติดกันตั้งแต่หน้าอกและใช้ตับร่วมกัน การผ่าตัดแยกแฝดติดกันแบบอิน-จันสามารถทำได้ค่อนข้างง่ายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและแฝดติดกัน · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและโรค · ดูเพิ่มเติม »

โรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก

โรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก (eclampsia) เป็นภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ซึ่งเกิดขึ้นเฉียบพลันและเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้มีอาการชักแบบเกร็งกระตุก ส่วนใหญ่พบในมารดาที่มีโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชักอยู่ก่อนแล้ว ทั้งสองภาวะเรียกรวมๆ ว่าโรคพิษแห่งครรภ์ หรือครรภ์เป็นพิษ Category:สูติศาสตร์ Category:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:อาการบวม มีโปรตีนในปัสสาวะ และความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ การคลอด และในระยะหลังคลอด pl:Nadciśnienie tętnicze w ciąży#Rzucawka.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและโรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก · ดูเพิ่มเติม »

โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก

รคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก (Preeclampsia) คือกลุ่มอาการทางการแพทย์ที่มีลักษณะคือเกิดมีภาวะความดันเลือดสูงและภาวะปัสสาวะมีโปรตีนในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกินกว่า 20 สัปดาห์ และไม่มีความดันเลือดสูงมาก่อน แบ่งออกเป็นชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชักมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากการที่มีสารที่สร้างจากรกที่พัฒนาผิดปกติไปทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดของมารดา อาการที่รุนแรงหลายอย่างของโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชักเกิดจากการมีความเสียหายต่อเซลล์เยื่อบุของอวัยวะต่างๆ ของมารดา รวมถึงไต และตั.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและโรคติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

ไตเสียหายเฉียบพลัน

วะไตเสียหายเฉียบพลัน (acute kidney injury, AKI) หรือเดิมใช้ชื่อว่าภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure, ARF) คือภาวะซึ่งร่างกายมีการสูญเสียการทำงานของไตอย่างเฉียบพลัน มีสาเหตุหลากหลายตั้งแต่ภาวะปริมาตรเลือดต่ำทุกแบบ การได้รับสารซึ่งเป็นอันตรายต่อไต การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ และสาเหตุอื่นๆ การวินิจฉัยภาวะไตเสียหายเฉียบพลันอาศัยลักษณะเฉพาะของผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การมีระดับของยูเรียไนโตรเจนในเลือดและครีแอทินีนขึ้นสูง หรือการตรวจพบว่าไตผลิตปัสสาวะออกมาได้น้อยกว่าปกติ ภาวะไตเสียหายเฉียบพลันสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น ภาวะเลือดเป็นกรดเหตุเมตะบอลิก ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ยูเรียคั่งในเลือด เสียสมดุลของปริมาณสารน้ำในร่างกาย และส่งผลต่อระบบอวัยวะอื่นๆ การให้การรักษาทำได้โดยให้การรักษาประคับประคอง เช่น การบำบัดทดแทนไต และการรักษาภาวะซึ่งเป็นสาเหต.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและไตเสียหายเฉียบพลัน · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

หวานระหว่างตั้งครรภ์ (gestational diabetes, gestational diabetes mellitus, GDM) คือภาวะที่หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้เป็นเบาหวานอยู่ก่อน เกิดมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าปกติในขณะตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดครรภ์เป็นพิษ โรคซึมเศร้า และมีโอกาสต้องผ่าตัดคลอดสูงขึ้น ทารกที่เกิดจากมารดาที่มีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงที่จะมีขนาดตัวใหญ่ผิดปกติ น้ำตาลต่ำหลังเกิด และตัวเหลืองได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้ทารกเสียชีวิตก่อนคลอดได้ ในระยะยาวทารกเหล่านี้มีโอกาสสูงกว่าคนทั่วไปที่จะมีภาวะอ้วนหรือเกิดเบาหวานชนิดที่สองขึ้นได้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

เชิงกราน

งกราน (pelvis) เป็นโครงสร้างกระดูกของร่างกายที่อยู่ปลายล่างของกระดูกสันหลัง จัดเป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton) กระดูกเชิงกรานประกอบด้วยกระดูกสะโพก (hipbone), กระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrum), และกระดูกก้นกบ (coccyx) กระดูกสะโพกประกอบด้วยกระดูกย่อยๆ 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกปีกสะโพก (ilium), กระดูกก้น (ischium), และกระดูกหัวหน่าว (pubis) กระดูกปีกสะโพกเป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดและเป็นส่วนบนสุด กระดูกก้นเป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังเยื้องด้านล่าง และกระดูกหัวหน่าวเป็นส่วนหน้าของกระดูกสะโพก กระดูกสะโพก 2 ชิ้นจะมาเชื่อมกันทางด้านหน้าเป็นแนวประสานหัวหน่าว (symphysis pubis) และเชื่อมด้านหลังกับกระดูกใต้กระเบนเหน็บ เชิงกรานจะประกอบกันเป็นเบ้าของข้อต่อสะโพก เกิดเป็นกระดูกโอบรยางค์ล่าง (หรือรยางค์หลัง).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและเชิงกราน · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เลือดออก

เลือดออกหรือการตกเลือด (bleeding, hemorrhage, haemorrhage) คือภาวะที่มีการเสียเลือดจากระบบไหลเวียน อาจเป็นการตกเลือดภายในหรือภายนอก ออกจากช่องเปิดตามธรรมชาติเช่นช่องคลอด ปาก จมูก หู ทวารหนัก หรือออกจากแผลเปิดที่ผิวหนังก็ได้ หมวดหมู่:เลือด หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและเลือดออก · ดูเพิ่มเติม »

เอ็น

อ็น หรือ เอ็นยึด (ligament) เป็นคำกว้างๆ หมายถึง กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียว เห็นได้ชัดและไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลาย ทั้งนี้เอ็นมีความหมายถึงโครงสร้างได้ 3 ชนิด โดยทั่วไปเอ็นหมายถึงเนื้อเยื่อเส้นใยที่ยึดระหว่างกระดูก เรียกว่า "เอ็นข้อต่อ" (articular ligament, articular larua) "เอ็นเส้นใย" (fibrous ligaments) หรือ "เอ็นแท้" (true ligaments) นอกจากนี้ เอ็น อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

เต้านม

ต้านม (breast) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผู้หญิงอยู่บริเวณหน้าอกทั้งสองข้าง เต้านมของเด็กหญิงจะแบนราบ และจะพัฒนาขยายขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงเริ่มเป็นวัยรุ่น เต้านมใช้สำหรับป้อนนมเด็ก โดยเมื่อผู้หญิงมีลูกเต้านมจะผลิตน้ำนม การแสดงเต้านมในที่สาธารณะจะถูกห้ามตามกฎหมายในขณะที่บางสถานที่จะสามารถแสดงได้ เต้านมหรือหน้าอก ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงถึงความเป็นผู้หญิง ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบัน สามารถแก้ไขตกแต่งลักษณะภายนอกของเต้านมให้มีลักษณะตามต้องการได้ เช่น การศัลยกรรมหน้าอกให้ใหญ่ขึ้นหรือทำให้เล็กลง การเปลี่ยนรูปทรงให้สวยงามขึ้น การลดการหย่อนคล้อยลง ทั้งนี้การจะทำการศัลยกรรมหน้าอกนั้น จำเป็นต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) เป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก รหัสได้ถูกจัดทำขึ้นแตกต่างกันถึง 155,000 รหัสและสามารถติดตามการวินิจฉัยและหัตถการใหม่ๆ ดังจะเห็นจากรหัสที่เพิ่มขึ้นจากฉบับก่อนหน้า ICD-9 ที่มีอยู่เพียง 17,000 รหัส งานจัดทำ ICD-10 เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2526 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดและICD-10 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ICD-10 Chapter XV: Pregnancy, childbirth and the puerperiumICD-10 บท OICD-10 บท O: สูตินรีเวชICD-10 บท O: สูตินารีเวช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »