โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรดไฮโดรคลอริก

ดัชนี กรดไฮโดรคลอริก

รเจนคลอไรด์โอเวน กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดย "จาเบียร์ เฮย์ยัน" (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ. 1800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น วีนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต พอลิยูลิเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจนลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl.

27 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2343พลาสติกกรดกรดกระเพาะอาหารกรดคลอริกกรดซัลฟิวริกกรดไฮโดรฟลูออริกกรดไฮโดรโบรมิกการกัดกร่อนการดูดซึมการปฏิวัติอุตสาหกรรมสารละลายสารประกอบสารประกอบอินทรีย์อุตสาหกรรมการผลิตของเหลวคลอรีนตันน้ำ (โมเลกุล)โทลูอีนไดไอโซไซยาเนตโซดาไฟโซเดียมคลอไรด์ไฮโดรเจนไฮโดรเจนคลอไรด์ไฮโดรเจนไอโอไดด์เจลาตินเดอะ บีเอ็มเจ

พ.ศ. 2343

ทธศักราช 2343 ตรงกับคริสต์ศักราช 1800 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและพ.ศ. 2343 · ดูเพิ่มเติม »

พลาสติก

ลาสติก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบของยานพาหน.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและพลาสติก · ดูเพิ่มเติม »

กรด

กรด (อังกฤษ: acid, มาจากภาษาละติน acidus/acēre หมายถึง "เปรี้ยว") เป็นสสารซึ่งทำปฏิกิริยากับเบส โดยทั่วไป กรดสามารถระบุได้ด้วยรสเปรี้ยว,สมบัติทำปฏิกิริยากับโลหะอย่างแคลเซียม และเบสอย่างโซเดียมคาร์บอเนต กรดที่ละลายน้ำมี pH น้อยกว่า 7 โดยที่กรดจะแรงขึ้นตามค่า pH ที่ลดลง และเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นแดง ตัวอย่างทั่วไปของกรด รวมไปถึง กรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู), กรดซัลฟิวริก (ในแบตเตอรีรถยนต์), และกรดทาร์ทาริก (ในการทำขนม) ดังสามตัวอย่างข้างต้น กรดสามารถเป็นได้ทั้งสารละลาย ของเหลวหรือของแข็ง สำหรับแก๊ส อย่างเช่น ไฮโดรเจนคลอไรด์ ก็เป็นกรดได้เช่นกัน กรดแรงและกรดอ่อนเข้มข้นบางตัวมีฤทธิ์กัดกร่อน แต่มีข้อยกเว้น เช่น คาร์บอรีนและกรดบอริก นิยามกรดโดยทั่วไปมีสามนิยาม ได้แก่ นิยามอาร์เรเนียส นิยามเบรินสเตด-ลาวรี และนิยามลิวอิส นิยามอาร์เรเนียสกล่าววว่า กรดคือ สสารที่เพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในสารละลาย นิยามเบรินสเตด-ลาวรีเป็นการขยายขึ้น คือ กรดเป็นสสารซึ่งสามารถทำหน้าที่ให้โปรตอน กรดส่วนมากที่พบในชีวิตประจำวันเป็นสารละลายในน้ำ หรือสามารถละลายได้ในน้ำ และสองนิยามนี้เกี่ยวเนื่องที่สุด สาเหตุที่ pH ของกรดน้อยกว่า 7 นั้น เป็นเพราะความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนมากกว่า 10-7 โมลต่อลิตร เนื่องจาก pH นิยามเป็นลอการิทึมลบของความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไออน ดังนั้น กรดจึงมี pH น้อยกว่า 7 ตามนิยามเบรินสเตด-ลาวรี สารประกอบใดซึ่งสามารถให้โปรตอนง่ายสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นกรด ตัวอย่างมีแอลกอฮอล์และเอมีน ซึ่งมีหมู่ O-H หรือ N-H ในทางเคมี นิยามกรดลิวอิสเป็นนิยามที่พบมากที่สุด กรดลิวอิสเป็นตัวรับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ตัวอย่างกรดลิวอิส รวมไปถึงไอออนลบโลหะทั้งหมด และโมเลกุลอิเล็กตรอนน้อย เช่น โบรอนฟลูออไรด์ และอะลูมิเนียมไตรคลอไรด์ ไฮโดรเนียมไอออนเป็นกรดตามทั้งสามนิยามข้างต้น ที่น่าสนใจคือ แม้แอลกอฮอล์และเอมีนสามารถเป็นกรดเบรินเสตด-ลาวรีได้ตามที่อธิบายข้างต้น ทั้งสองยังทำหน้าที่เป็นเบสลิวอิสได้ เนื่องจากอะตอมออกซิเจนและไนโตรเจนมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรด · ดูเพิ่มเติม »

กรดกระเพาะอาหาร

แผนภาพการควบคุมการหลั่งกรดกระเพาะ กรดกระเพาะ (Gastric acid) คือ สิ่งคัดหลั่งจากกระเพาะอาหาร โดยมีองค์ประกอบส่วนใหญ่ คือ กรดไฮโดรคลอริก นอกจากนี้ ยังพบโปแตสเซียมคลอไรด์และโซเดียมคลอไรด์อีกบ้างเล็กน้อย หมวดหมู่:กรด หมวดหมู่:ระบบทางเดินอาหาร หมวดหมู่:สารน้ำในร่างกาย.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรดกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

กรดคลอริก

กรดคลอริก (Chloric acid) มีสูตรเคมีว่า HClO3 เป็นกรดออกโซ (กรดที่ประกอบด้วยธาตุออกซิเจน) ของคลอรีน และถือว่าเป็นสารประกอบเกลือคลอเรตตัวแรกในลำดับที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ กรดคลอริกเป็นกรดแก่ มีค่าคงที่สมดุลของกรด (pKa) ประมาณ −1 และยังเป็นตัวรับอิเล็กตรอน (oxidant) อีกด้ว.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรดคลอริก · ดูเพิ่มเติม »

กรดซัลฟิวริก

กรดกำมะถัน หรือ กรดซัลฟิวริก (sulfuric acid หรือ sulphuric acid) มีสูตรเคมีว่า H2SO 4 เป็นกรดแร่ (mineral acid) แก่ ละลายได้ในน้ำในทุกความเข้มข้น ค้นพบโดย จาเบียร์ เฮย์ยัน (Jabir Ibn Hayyan) นักเคมีชาวอาหรับ พบว่ากรดซัลฟิวริกมีประโยชน์มากมายและเป็นสารเคมีที่มีการผลิตมากที่สุด รองจากน้ำ ในปี..

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรดซัลฟิวริก · ดูเพิ่มเติม »

กรดไฮโดรฟลูออริก

กรดไฮโดรฟลูออริก เป็นสารละลายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ในน้ำ แม้ว่าจะมีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างแรงและยากแก่การใช้งาน กรดนี้เป็นเพียงกรดอ่อนเท่านั้น กรดไฮโดรฟลูออริกใช้เป็นแหล่งของฟลูออรีนในการสังเคราะห์สารประกอบต่างๆ ทั้งยาและพอลิเมอร์ เช่น เทฟลอน คนทั่วไปรู้จักกรดไฮโดรฟลูออริกในฐานะกรดกัดแก้ว เพราะกรดชนิดนี้ทำปฏิกิริยากับซิลิกอนไดออกไซด์ได้.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรดไฮโดรฟลูออริก · ดูเพิ่มเติม »

กรดไฮโดรโบรมิก

กรดไฮโดรบอมิก (hydrobromic acid) เป็นสารละลายของแก๊สไฮโดรเจนโบรไมด์ ลักษณะของแก๊สโบรมีนคือ มีสีแดงแกมน้ำตาล ทำลายเยื่อบุตาและระบบทางเดินหายใจ กรดไฮโดรบอมิกเป็นกรดที่สามารถกัดกร่อนรุนแรง มีค่า pH ประมาณ 1 ลักษณะของกรดไฮโดรโบมิก เป็นกรดที่อยู่ในจำพวก ไฮโดร (กรดที่มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ อโลหะและของเหลว) สมการเกิดกรดไฮโดรบอมิก คือ.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและกรดไฮโดรโบรมิก · ดูเพิ่มเติม »

การกัดกร่อน

นิม การกัดกร่อนโลหะที่พบได้บ่อย การกัดกร่อน (corrosion) หมายถึงภาวะซึ่งวัตถุหรือสิ่งประดิษฐ์ทางด้านวิศวกรรมทำปฏิกิริยากับสภาพแวดล้อม ทำให้ให้เกิดการเสื่อมสภาพของวัตถุนั้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำการทำงานหรือวัตถุประสงค์การใช้งานลดลง.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและการกัดกร่อน · ดูเพิ่มเติม »

การดูดซึม

การดูดซึม (absorption) ในทางเคมี คือปรากฏการณ์หรือกระบวนการทางเคมีหรือฟิสิกส์ ที่อะตอม, โมเลกุลหรือไอออนเข้าไปในส่วนที่เป็นเนื้อในของวัสดุที่เป็นแก๊ส, ของเหลวหรือของแข็ง การดูดซึมนั้นเป็นกระบวนการที่แตกต่างจากการดูดซับ (adsorption) เพราะในการดูดซึม โมเลกุลที่ถูกดูดซึมจะไปอยู่ในปริมาตรของวัสดุ ส่วนการดูดซับ โมเลกุลที่ถูกดูดซับจะไปอยู่ที่ผิวของวั.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและการดูดซึม · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

รงงานปั่นด้ายในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ภาพ ''เหล็กและถ่านหิน'' โดยวิลเลียม เบลล์ สกอตต์, ค.ศ. 1855-60 การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) คือช่วงเวลาตั้งแต..

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและการปฏิวัติอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สารละลาย

รละลายเกลือแกงในน้ำ ในทางเคมี สารละลาย (solution) คือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีสสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าเป็นตัวละลาย ละลายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวทำละลาย ตัวอย่างเช่น ไม่เพียงแต่ของแข็งที่สามารถละลายในของเหลว เหมือนเกลือหรือน้ำตาลที่ละลายในน้ำ (หรือแม้แต่ทองคำที่ละลายในปรอทแล้วเกิดเป็นอะมัลกัม (amalgam)) แต่ก๊าซก็สามารถละลายในของเหลวได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจนสามารถละลายในน้ำได้.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและสารละลาย · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบ

น้ำ ถือเป็นสารประกอบทางเคมีอย่างหนึ่ง สารประกอบ เป็นสารเคมีที่เกิดจากธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมารวมตัวกันโดย พันธะเคมีด้วยอัตราส่วนของส่วนประกอบที่แน่นอน ตัวอย่าง เช่น ไดไฮโรเจนโมน็อกไซด์ หรือ น้ำ มีสูตรเคมีคือ H2Oซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม ในสารประกอบอัตราส่วนของส่วนประกอบจะต้องคงที่และตัวชี้วัดความเป็นสารประกอบที่สำคัญคือ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะแตกต่างจาก ของผสม (mixture) หรือ อัลลอย (alloy) เช่น ทองเหลือง (brass) ซูเปอร์คอนดักเตอร์ YBCO, สารกึ่งตัวนำ อะลูมิเนียม แกลเลียม อาร์เซไนด์ (aluminium gallium arsenide) หรือ ช็อคโกแลต (chocolate) เพราะเราสามารถกำหนดอัตราส่วนของ ของผสมได้ ตัวกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสารประกอบที่สำคัญคือ สูตรเคมี (chemical formula) ซึ่งจะแสดงอัตราส่วนของอะตอมในสารประกอบนั้น ๆ และจำนวนอะตอมในโมเลกุลเดียว เช่น สูตรเคมีของ อีทีน (ethene) จะเป็นC2H4 ไม่ใช่ CH2) สูตรไม่ได้ระบุว่าสารประกอบประกอบด้วยโมเลกุล เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง, NaCl) เป็น สารประกอบไอออนิก (ionic compound).

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและสารประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบอินทรีย์

มีเทนเป็นหนึ่งในสารประกอบอินทรีย์ที่เรียบง่ายที่สุด สารประกอบอินทรีย์ หมายถึง สารประกอบเคมีที่อยู่ในสถานะใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ที่ประกอบด้วยโมเลกุลคาร์บอน ยกเว้นสารประกอบบางชนิดที่ไม่จัดว่าเป็นสารประกอบอินทรีย์แม้ว่าจะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบก็ตาม ตัวอย่างเช่น สารประกอบคาร์ไบน์, คาร์บอเนต, ออกไซด์ของคาร์บอนและไซยาไนด์ เช่นเดียวกับอัญรูปของคาร์บอน อย่างเช่น เพชรและแกรไฟต์ ซึ่งถูกจัดเป็นสารประกอบอนินทรีย์ ความแตกต่างระหว่างสารประกอบคาร์บอนที่เป็นสารประกอบ "อินทรีย์" และ "อนินทรีย์" นั้น ถึงแม้ว่า "จะมีประโยชน์ในการจัดระเบียบวิชาเคมีอย่างกว้างขวาง...

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและสารประกอบอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

อุตสาหกรรมการผลิต

อรมัน, circa 1975). อุตสาหกรรมการผลิต (manufacturing) คือ การผลิตสินค้า เพื่อการใช้หรือขายโดยมี เครื่องจักร อุปกรณ์ การดำเนินการทางเคมีและชีวะ และ คนงาน เป็นส่วนร่วมในการผลิต อุตสาหกรรมการผลิต สามารถหมายถึง การประกอบกิจกรรมของมนุษย์ ตั้งแต่ หัตถกรรม ไปจนถึง เทคโนโลยีขั้นสูง โดยปกติจะใช้กับการผลิตแบบอุตสาหกรรม ซึ่ง วัตถุดิบ นั้นถูกเปลี่ยนไปเป็น ผลิตภัณฑ์ ในระดับอุตสาหกรรม โดยผลิตภัณฑ์เหล่านั้น อาจจะถูกใช้สำหรับการผลิตของสิ่งของอย่างอื่นที่มีความซับซ้อนมากกว่า เช่น อากาศยาน ของใช้ในครัวเรือน รถยนต์ หรือ ขายให้กับ ผู้ขายส่ง ผู้ที่จะขายให้กับ ผู้ค้าปลีก ซึ่งจะขายต่อให้กับผู้ใช้ หรือ ผู้บริโภค การผลิต นั้นเกิดขึ้นในทุกๆระบบเศรษฐกิจ ปกติแล้วในเศรษฐกิจตลาดเสรีนั้น การผลิตจะมุ่งไปในการ การผลิตมวลรวม ของ ผลิตผล เพื่อขายสู่ ผู้บริโภค ในราคาที่มีกำไร ใน ระบบเศรษฐกิจแบบระบบรวมอำนาจการผลิต นั้น ส่วนใหญ่แล้วการผลิตได้ถูกนำโดยรัฐเพื่อจัดหา ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง ใน เศรษฐกิจแบบผสม นั้น การผลิตส่วนหนึ่งนั้นเกิดขึ้นภายใต้กฎข้อบังคับกฎข้อบังคับ ของรัฐบาล.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและอุตสาหกรรมการผลิต · ดูเพิ่มเติม »

ของเหลว

รูปทรงของของเหลวเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ ของเหลว (Liquid) เป็นสถานะของของไหล ซึ่งปริมาตร จะถูกจำกัดภายใต้สภาวะคงที่ของอุณหภูมิและความดัน และรูปร่างของมันจะถูกกำหนดโดยภาชนะที่บรรจุมันอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นของเหลวยังออกแรงกดดันต่อภาชนะด้านข้างและบางสิ่งบางอย่างในตัวของของเหลวเอง ความกดดันนี้จะถูกส่งผ่านไปทุกทิศทาง ถ้าของเหลวอยู่ในระเบียบของสนามแรงโน้มถ่วง ความดัน pที่จุดใด ๆ สามารถแสดงเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ ที่ซึ่ง \rho เป็น ความหนาแน่น ของของเหลว (ซึ่งกำหนดให้คงที่) และ z คือความลึก ณ จุดใต้พื้นผิวของเหลวนั้น สังเกตว่าในสูตรนี้กำหนดให้ความดันที่ผิวบนเท่ากับ 0 และไม่ต้องคำนึงถึง ความตึงผิวของเหลวมีลักษณะเฉพาะของ แรงตึงผิว (surface tension) และ แรงยกตัว (capillarity) โดยทั่วไปของเหลวจะขยายตัวเมื่อถูกความร้อนและหดตัวเมื่อถูกความเย็น วัตถุที่จมอยู่ในของเหลวจะมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า แรงลอยตัว (buoyancy) ของเหลวเมื่อได้รับความร้อนจนถึง จุดเดือด จะเปลี่ยนสถานะเป็น ก๊าซ และเมื่อทำให้เย็นจนถึง จุดเยือกแข็งมันก็จะเปลี่ยนสถานะเป็น ของแข็ง โดย การกลั่นแยกส่วน (fractional distillation) ของเหลวจะถูกแยกจากกันและกันโดย การระเหย (vaporization) ที่ จุดเดือด ของของเหลวแต่ละชนิด การเก เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน การเคลื่อนที่ของแต่ละโมเลกุลจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของโมเลกุลอื่นที่อยู่ใกล้เคียง โมเลกุลที่อยู่ตรงกลางได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลอื่นที่อยู่ล้อมรอบเท่ากันทุกทิศทุกทาง ส่วนโมเลกุลที่ผิวหน้าจะได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลที่อยู่ด้านล่างและด้านข้างเท่านั้น โมเลกุลที่ผิวหน้าจึงถูกดึงเข้าภายในของเหลว ทำให้พื้นที่ผิวของของเหลวลดลงเหลอน้อยที่สุด จะเห็นได้จากหยดน้ำที่เกาะบนพื้นผิวที่เรียบและสะอาดจะมีลักษณะเป็นทรงกลมซึ่งมีพื้นที่ผิวน้อยกว่าน้ำที่อยู่ในลักษณะแผ่ออกไป ของเหลวพยายามจัดตัวเองให้มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุด เนื่องจากโมเลกุลที่ผิวไม่มีแรงดึงเข้าทางด้านบน จึงจะมีเสถียรภาพน้อยกว่าโมเลกุลที่อยู่ตรงกลาง การลดพื้นที่ผิวเท่ากับเป็นการลดจำนวนโมเลกุลที่ผิวหน้า จึงทำให้ของเหลวเสถียรมากขึ้นในบางกรณีของเหลวมีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ผิว โดยที่โมเลกุลที่อยู่ด้านในของของเหลวจะเคลื่อนมายังพื้นผิว ในการนี้โมเลกุลเหล่านั้นต้องเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่อยูรอบ ๆ หรือกล่าวว่าต้องทำงาน งานที่ใช้ในการขยายพื้นที่ผิวของของเหลว 1 หน่วย เรียกว่า ความตึงผิว (Surface tension).

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและของเหลว · ดูเพิ่มเติม »

คลอรีน

ลอรีน (Chlorine) (จากภาษากรีกว่า Chloros แปลว่าสี "เขียวอ่อน") เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 17 และสัญลักษณ์ Cl เป็นแฮโลเจน พบในตารางธาตุ ในกลุ่ม 17 เป็นส่วนของเกลือทะเลและสารประกอบอื่น ๆ ปรากฏมากในธรรมชาติ และจำเป็นต่อสิ่งมีชวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์ด้วย ในรูปของก๊าซ คลอรีนมีสีเขียวอมเหลือง มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ 2.5 เท่า มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และเป็นพิษอย่างร้ายแรง เป็นตัวออกซิไดซ์ ฟอกขาว และฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและคลอรีน · ดูเพิ่มเติม »

ตัน

ตัน เป็นหน่วยวัดมวล มีความหมายได้ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและตัน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ (โมเลกุล)

น้ำมี สูตรเคมี H2O, หมายถึงหนึ่ง โมเลกุล ของน้ำประกอบด้วยสองอะตอมของ ไฮโดรเจน และหนึ่งอะตอมของ ออกซิเจน เมื่ออยู่ในภาวะ สมดุลพลวัต (dynamic equilibrium) ระหว่างสถานะ ของเหลว และ ของแข็ง ที่ STP (standard temperature and pressure: อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นของเหลวเกือบ ไม่มีสี, ไม่มีรส, และ ไม่มีกลิ่น บ่อยครั้งมีการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ว่ามันเป็น ตัวทำละลายของจักรวาล และน้ำเป็นสารประกอบบริสุทธิ์ชนิดเดียวเท่านั้นที่พบในธรรมชาติทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและน้ำ (โมเลกุล) · ดูเพิ่มเติม »

โทลูอีนไดไอโซไซยาเนต

ทลูอีนไดไอโซไซยาเนต (toluene diisocyanate: TDI) เป็นไดไอโซไซยาเนตที่มีโครงสร้างแบบวงอะโรมาติก ประกอบด้วยไอโซเมอร์สำคัญสองแบบที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเชิงเทคนิคได้แก่ 2,4-TDI และ 2,6-TDI ซึ่งการผลิตส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะของผสม 80% 2,4-TDI และ 20% 2,6-TDI TDI เป็นไดไอโซไซยาเนตที่ถูกผลิตขึ้นอย่างสูงในตลาดโลก คือสูงถึง 34.1% ใน..

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและโทลูอีนไดไอโซไซยาเนต · ดูเพิ่มเติม »

โซดาไฟ

ซดาไฟ หรือคอสติกโซดา (caustic soda) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า คือ "สารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นของแข็งสีขาว ดูดความชื้นดีมาก ละลายน้ำได้ดี ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำสบู่ เส้นใยเรยอน" โซดาไฟถูกใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและโซดาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมคลอไรด์

ซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride, สูตรเคมี: NaCl) มีชื่อที่เรียกทั่วไปดังนี้ เกลือแกง หรือ ฮาไลต์ เป็นสารประกอบเคมี โซเดียมคลอไรด์เป็นเกลือที่มีบทบาทต่อความเค็มของมหาสมุทร และของเหลวภายนอกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เป็นส่วนประกอบหลักในเกลือที่กินได้ มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหาร.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและโซเดียมคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจน

รเจน (Hydrogen; hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด-เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม มีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง..

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนคลอไรด์

Submit to get this template or go to:Template:Chembox.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและไฮโดรเจนคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนไอโอไดด์

รเจนไอโอไดด์ (HI) เป็นสารประกอบขนาดสองอะตอม สารละลายของ HI เรียกว่ากรดไอโอไฮโดรอิก (iohydroic acid) หรือ กรดไฮโดรไอโอดิก (hydroiodic acid) มีฤทธิ์เป็นกรดแก่ อย่างไรก็ตามไฮโดรเจนไอโอไดด์นั้นมีสถาะเป็นก๊าซที่สภาวะมาตรฐานแต่กรดไอโอไฮโดรอิกเป็นสารละลาย HI ใช้ในการสังเคราะห์สารอินทรีย์และอนินทรีย์โดยเป็นแหล่งของไอโอดีนและใช้ในการทำปฏิกิริยารีดักชัน.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและไฮโดรเจนไอโอไดด์ · ดูเพิ่มเติม »

เจลาติน

ลาติน (gelatin) มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า gélatine เป็นของแข็งโปร่งแสง ไม่มีสี เปราะ และแทบไม่มีรสชาติ ได้มาจากการแปรรูปคอลลาเจน (collagen) ที่มีอยู่ในผิวหนัง กระดูก รวมทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของสัตว์ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่นิยมนำมาทำการผลิต เจลาตินจัดอยู่ในกลุ่มอาหาร มี E number คือ E441 มีการนำเจลาตินมาใช้ในการเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น เครื่องสำอาง ยา อาหาร และฟิล์มถ่ายรูป โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเจลาตินโดยเจลาตินส่วนนี้เรียกว่า edible gelatin ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารชนิดต่างๆ เช่น ขนมหวาน ไอศครีม โยเกิร์ต เป็นต้น ตลาดที่ใหญ่รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตยาโดยใช้เจลาตินในการเคลือบเม็ดยาและผลิตเป็นแคปซูล ทั้งชนิดแคปซูลแข็งและแคปซูลนิ่ม เจลาตินเป็นโปรตีนที่ได้การไฮโดรไลซ์คอลลาเจนด้วยความร้อนหรือใช้สารอื่นช่วย เช่น กรดหรือเบส ทำให้โครงสร้างคอลลาเจนถูกทำลายและเปลี่ยนแปลงเป็นสารเจลาติน ในการสลายพันธะในคอลลาเจน ส่วนประกอบหลักที่พบในเจลาตินเป็นสายเกลียวของ α β และ γ วัตถุดิบในการสกัดเจลาตินคือกระดูก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และลำไส้บางส่วนของสัตว์เช่น โคกระบือ สุกร และม้า เป็นต้น พันธะระหว่างโมเลกุลของคอลลาเจนถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่จัดเรียงตัวได้ง่ายขึ้น เจลาตินหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อนและแข็งตัวกลับเมื่อได้รับความเย็น เจลาตินสามารถก่อเจลแบบกึ่งของแข็งร่วมกับน้ำ เมื่อละลายเจลาตินในน้ำจะได้สารละลายที่มีความหนืดสูงและก่อเจลเมื่อทำให้เย็น องค์ประกอบทางเคมีของเจลาตินแทบจะเหมือนคอลลาเจนเริ่มต้น เจลาตินเป็นสารประเภท Heterogenous polypeptide ที่ผสมกันระหว่าง  α-Chain (one chain) β-Chain (two α-Chain covalent crosslink) และ γ-chain (three α-Chain covalent crooslink)ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน 50.5% ออกซิเจน 25.2% ไนโตรเจน 17% ไฮโดรเจน 6.8% ซึ่งเกิดจากการสูญเสียสภาพตามธรรมชาติหรือสกัดจากคอลลาเจนที่สามารถหาได้จาก กระดูก หนังสัตว์เช่น หมู วัว ปลา โดยการใช้กรดและความร้อนเพื่อทำให้คอลลาเจนเสียสภาพและมีโมเลกุลเล็กลงจนกลายเป็นเจลาติน ดังนั้นโครงสร้างของเจลาตินจึงมีความคล้ายกับคอลลาเจน หรือกล่าวคือเป็นโมโนเมอร์ของคอลลาเจน (Collagen monomer) เรียกว่าโทรโปคอลลาเจน (Tropocollagen) เกิดจากพันธะโพลีเปปไทด์ 3 สายพันกันเป็นเกลียว (Triple helix) ที่มีหมู่อะมิโนจำนวนมาก.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและเจลาติน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ บีเอ็มเจ

The BMJ เป็นวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน โดยเป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปที่เก่าที่สุดวารสารหนึ่งในโลก โดยดั้งเดิมเรียกว่า British Medical Journal ซึ่งย่อลงเหลือ BMJ ในปี 2531 และเปลี่ยนเป็น The BMJ ในปี 2557 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์โดย BMJ Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของสมาคมการแพทย์อังกฤษ (British Medical Association) หัวหน้าบรรณาธิการคนปัจจุบันคือ พญ.

ใหม่!!: กรดไฮโดรคลอริกและเดอะ บีเอ็มเจ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hydrochloric acidHydrogen chlorideกรดเกลือไฮโดรคลอริกแอซิด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »