โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชะวากทะเล

ดัชนี ชะวากทะเล

ริเวณปากชะวากทะเล ชะวากทะเลบริเวณปากน้ำรีโอเดลาปลาตา (Río de la Plata) อเมริกาใต้ ชะวากทะเลบริเวณปากแม่น้ำนิท (Nith River) สกอตแลนด์ ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงลักษณะชะวากทะเล บริเวณปากแม่น้ำแอมะซอน ชะวากทะเล (Estuary) คือ บริเวณส่วนล่างของปากแม่น้ำที่มีความกว้างมากจนมีลักษณะคล้ายอ่าว ตอนบนของชะวากทะเลนั้นจะตอบแหลมเป็นรูปกรวยและจะค่อยขยายขนาดออกไปเมื่อเข้าหาในส่วนที่เป็นทะเลมากขึ้น บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีการผสมกันระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม เนื่องจากเป็นพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำยุบตัวลงสู่แนวชายฝั่งทะเลจึงได้รับอิทธิพลของน้ำทะเล ตัวอย่างของชะวากทะเลในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง, ปากแม่น้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี และปากแม่น้ำชุมพร จังหวัดชุมพร โดยชะวากทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ อ่าวเซนต์ลอว์เรนซ์ ในประเทศแคนาดา ที่มีความกว้างถึง 145 กิโลเมตร ชะวากทะเล เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีแม่น้ำหรือลำธารไหลผ่านเชื่อมต่อลงสู่ทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างสภาพแวดล้อมแบบทางน้ำและสภาพแวดล้อมแบบทะเล จึงทำให้พื้นที่ในบริเวณนี้ได้รับทั้งอิทธิพลจากทะเลอันได้แก่ น้ำขึ้น - น้ำลง, คลื่นและการไหลเวียนของน้ำเกลือ รวมถึงอิทธิพลจากแม่น้ำอันได้แก่ ตะกอนและการไหลเวียนของน้ำจืด ซึ่งการที่มีน้ำจืดและน้ำเค็มไหลเวียนแบบนี้นั้นส่งผลให้พื้นที่ชะวากทะเลประกอบด้วยธาตุอาหารที่สำคัญจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดได้ ชะวากทะเลที่พบในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นชะวากทะเลที่เกิดขึ้นในช่วงยุคโฮโลซีน (Holocene) โดยการไหลท่วมของแม่น้ำหรือการกัดเซาะจากธารน้ำแข็งในช่วงที่มีก่รเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในช่วงประมาณ 10,000 - 12,000 ปีที่ผ่านมา และการจำแนกลักษณะของชะวากทะเลนั้นจะอาศัยลักษณะทางธรณีสัณฐานหรือรูปแบบการไหลของน้ำในการจำแนก ซึ่งหมายถึงการจำแนกเป็นอ่าว (Bay) หรือลากูน (Lagoon) เป็นต้น ชะวากทะเลเป็นพื้นที่มีประชากรมาอาศัยอยู่จำนวนมาก คือประมาณร้อยละ 60 จากประชากรทั้งหมดของโลกที่ชอบอาศัยตามแนวชายฝั่งทะเลและชะวากทะเล เป็นผลให้พื้นที่ชะวากทะเลนี้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆได้แก่ การตกตะกอนของตะกอนจากการพังทลายของหน้าดินเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มความเข้มข้นของปริมาณสารเคมีในระบบนิเวศจากสิ่งปฏิกูลและมูลสัตว์ (Eutrophication) มลพิษจากโลหะหนัก, สารพีซีบีเอส (PCBs), ธาตุกัมมันตรังสีและสารประกอบไฮโดรคาร์บอนจากสิ่งปฏิกูล และแนวกั้นน้ำหรือเขื่อนที่ใช้ในการควบคุมปริมาณการไหลของน้ำ.

10 ความสัมพันธ์: ลากูนสมัยโฮโลซีนอ่าวจังหวัดชุมพรจังหวัดระนองจังหวัดจันทบุรีธาตุน้ำจืดน้ำเค็มแม่น้ำกระบุรี

ลากูน

ลากูนบาลอสในเกาะครีต ลากูน หรือ ทะเลสาบน้ำเค็มชายฝั่ง (lagoon) คือแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่แบ่งแยกจากทะเลโดยเกาะสันดอนหรือแนวปะการัง โดยอยู่ขนานกับชายฝั่ง ส่วนมากจะมีทางเปิดสู่ทะเล โดยมากแล้วจะแบ่งเป็นลากูนชายหาดและลากูนอะทอลล์ โดยแยกแยะด้วยทรายและกรว.

ใหม่!!: ชะวากทะเลและลากูน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยโฮโลซีน

อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศโลกในสมัยโฮโลซีน โฮโลซีน (Holocene) เป็นสมัย (epoch) ทางธรณีวิทยา ที่เริ่มขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของไพลสโตซีน (11,700 ปีก่อนปัจจุบัน ตามปีปฏิทิน) มาจนถึงปัจจุบัน สมัยโฮโลซีนเป็นส่วนหนึ่งของยุคควอเทอร์นารี โดยนับตั้งแต่ปลายยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด ชื่อโฮโลซีน มาจากรากศัพท์ภาษากรีก ὅλος (holos แปลว่า ทั้งหมด) และ καινός (kainos แปลว่า ใหม่) ซึ่งแปลว่า "ใหม่ทั้งหมด" ได้รับการบัญญัติโดยสภาธรณีวิทยาสากล ในปี..

ใหม่!!: ชะวากทะเลและสมัยโฮโลซีน · ดูเพิ่มเติม »

อ่าว

อ่าวไทย อ่าว (Bay) หมายถึงส่วนพื้นที่ของทะเลที่ล้อมรอบโดยแผ่นดินใกล้เคียง คลื่นทะเลในอ่าวมักจะสงบกว่าทะเลหรือมหาสมุทรที่อยู่ภายนอกเนื่องจากแผ่นดินต้านแรงคลื่นและแรงลมบางส่วนเอาไว้ อ่าวมีลักษณะที่เว้าโค้งเป็นรูปต่างๆ กัน ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะนิยมเรียกอ่าวตามลักษณะที่เกิดขึ้นเช่น "อ่าวเขาควาย" จะมีลักษณะชายหาดที่งุ้มเหมือนเขาควาย "อ่าวมะนาว" มีลักษณะของทะเลที่เว้าเข้าไปในแผ่นดินเป็นรูปมะนาว เวิ้งน้ำขนาดใหญ่สามารถเรียกว่าอ่าว (bay, gulf) ทะเล (sea) บึงหรือทะเลสาบ (lake) ในขณะที่อ่าวขนาดเล็กที่เว้าเข้าตามชายฝั่ง (coast) รูปร่างโค้งรีและทางออกแคบเรียกว่าหาด (cove) ซึ่งมักจะมีชายหาดหรือหาดทราย (beach) อยู่ภายในเป็นบริเวณกว้าง ถ้าฝั่งสูงชันโดยตลอดอาจเรียกว่าฟยอร์ด (fjord) พบได้ตามเขตขั้วโลก อ่าวถูกสร้างขึ้นได้ทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์ โดยธรรมชาติเกิดจากน้ำทะเลที่เข้ามาท่วมระหว่างแนวเทือกเขาใต้ทะเลและบนแผ่นดิน หรือการกัดเซาะแนวชายฝั่ง ซึ่งส่วนที่กัดเซาะได้ง่ายจะเว้าลึกเข้าไปมากกว่าส่วนที่กัดเซาะยาก เมื่อนานเข้าก็ทำให้เกิดอ่าวขึ้น สำหรับฟยอร์ดเกิดจากการเคลื่อนตัวและการกัดเซาะของธารน้ำแข็ง และโดยมนุษย์คือการก่อสร้างสิ่งกีดขวางเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณโดยรอบที่ไม่ได้ป้องกันจะถูกกัดเซาะเป็นเวิ้งน้ำ.

ใหม่!!: ชะวากทะเลและอ่าว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชุมพร

มพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ใน พ.ศ. 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงนี้ชนชาติจาม แห่งราชอาณาจักรจามปา ถูกชาวเวียดนามรุกราน ชาวจามกลุ่มนี้อพยพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ปรากฏว่ามี "อาสาจาม" ในแผ่นดินนี้ เพื่อการขยายอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งต้องมารักษาด่านเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี และตั้งชาวจาม เป็นเจ้าเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถในการรบ ที่มีชื่อเสียง เช่น กองอาสาจาม เป็นทหารชั้นดี มีวินัย เชี่ยวชาญการเดินเรือ รับใช้ราชสำนักมานาน และเก่งการค้ามาหลายพันปี และต่อมาระหว่าง ปี พ.ศ. 2173 - 2199 ในแผ่นดิน พระเจ้าปราสาททองแห่งราชอาณาจักกรุงศรีอยุธยา ได้กวาดต้อนชาวเมืองแถง หรือ (เดียนเบียนฟู) อยู่ในประเทศเวียดนาม และชาวเมืองพงสาลี อยู่ในประเทศลาว มาเป็นพลเมือง เมืองชุมพร เมืองปะทิว(อำเภอปะทิว) เพื่อทำการเกษตรกรรม และเมืองท่าการค้าสำคัญ ตั้งแต่นั้นมา เดิมชาวจามนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พ.ศ. 1400 นับถือศาสนาพุทธมหายาน และเมื่อค้าขายกับอาหรับก็นับถือ ศาสนาอิสลาม แต่ชาวจามที่มาอยู่เมืองชุมพร ต่อมานับถือ ศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม ประเพณี เหมือนกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 500 -600 ปี ที่ชาวจาม เข้าปกครองเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้จนแทบจะไม่เหลือวัฒนธรรมเดิมเลย เช่น ข้าวต้มใบพ้อ ที่ใช้ในงานมงคล เช่นเดียวกับชาวมุสลิม บ้านกาลอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ก็สูญหายไม่ได้ใช้ในงานมงคลแล้ว.

ใหม่!!: ชะวากทะเลและจังหวัดชุมพร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดระนอง

ระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2,141,250 ไร่ มีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศพม่าและทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 169 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตร ระนองเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ เดิมเป็นหัวเมืองขนาดเล็กขึ้นกับเมืองชุมพร คำว่าระนองเพี้ยนมาจากคำว่า แร่นอง เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดมีแร่อยู่มากม.

ใหม่!!: ชะวากทะเลและจังหวัดระนอง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดจันทบุรี

ังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 6,388 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล ในส่วนของพื้นที่ป่าไม้มีประมาณ 3 ใน 10 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา และสระแก้วทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดตราดและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดระยองและชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 238 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดจันทบุรีอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด โดยอาชีพที่ประชากรในจังหวัดนิยมประกอบอาชีพมากที่สุดคือเกษตรกรรมและประมง และศาสนาที่มีการนับถือมากที่สุดในจังหวัดคือศาสนาพุท.

ใหม่!!: ชะวากทะเลและจังหวัดจันทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: ชะวากทะเลและธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: ชะวากทะเลและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเค็ม

น้ำเค็ม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ชะวากทะเลและน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำกระบุรี

แม่น้ำกระบุรี หรืออีกชื่อหนึ่งของคนในท้องถิ่นว่า แม่น้ำปากจั่น ภาษาพม่าเรียก แม่น้ำจัน (မြစ်ကြီးနား, BGN/PCGN: myitkyina) เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า มีความยาวตลอดสายประมาณ 60 กิโลเมตร บางแห่งว่า 95 กิโลเมตร บางแห่งว่า 125 กิโลเมตร มีต้นน้ำมาจากเทือกเขาตะนาวศรี ไหลผ่านพื้นที่อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง แม่น้ำสายนี้มีลักษณะพิเศษทางภูมิประเทศที่เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า ชะวากทะเล หมายถึงบริเวณปากแม่น้ำมีระยะห่างระหว่างฝั่งทั้งสองค่อย ๆ ขยายกว้างออกไปจนเป็นอ่าว อันเกิดจากแผ่นดินมีการยุบตัวลง มีอิทธิพลน้ำเค็มจากทะเลเข้าไปได้ สองฝั่งแม่น้ำจึงมีสภาพนิเวศแบบป่าชายเลนไปตลอดจนถึงเขตอำเภอละอุ่น บริเวณปากคลองละอุ่นจึงเริ่มเป็นบริเวณที่แม่น้ำมีความกว้างเป็นปรกติ โดยมีความกว้างสุด 6 กิโลเมตร ก่อนออกสู่ทะเลนั้นก็มีลำน้ำสาขาไหลออกสู่แม่น้ำกระบุรี คือ คลองบางหมี คลองขี้นาค คลองลำเลียง คลองบางสองรา คลองบางใหญ่เหนือ คลองบางใหญ่ คลองละอุ่น คลองจิก คลองหลุมถ่าน คลองเส็ตกวด และคลองหินช้าง ประชาชนทั้งสองฝั่งแต่เดิมเป็นคนพื้นเมืองปักษ์ใต้ หมู่บ้านที่อยู่ตรงข้ามกับอำเภอกระบุรี (เมืองตระในอดีต) คือหมู่บ้านหมาราง หมู่บ้านตลิ่งชัน ขึ้นกับเมืองมะลิวัลย์ ซึ่งแต่เดิมเป็นดินแดนของราชอาณาจักรสยาม ได้เสียให้แก่อังกฤษไปในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อมกับเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี แม่น้ำสายนี้ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี.

ใหม่!!: ชะวากทะเลและแม่น้ำกระบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Estuary

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »