โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ

ดัชนี ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ

อนเฟเดอเรชันส์คัพ (Confederations Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลที่จัดขึ้นทุกสี่ปีโดยฟีฟ่า เป็นการแข่งขันระหว่างทีมที่ชนะเลิศจากแต่ละภูมิภาคทั่วโลก (เอเชียนคัพ แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ โกลด์คัพ โคปาอเมริกา โอเอฟซีเนชันส์คัพ และ ยูโร) พร้อมทั้งทีมที่ชนะฟุตบอลโลกครั้งล่าสุดและทีมเจ้าภาพในปีถัดไป ซึ่งจะมีทั้งหมด 8 ทีม โดยเริ่มแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ในชื่อ คิงฟาฮัดคัพที่จัดขึ้นที่ซาอุดีอาระเบีย และในปี พ.ศ. 2540 ทางฟีฟ่าได้มาเป็นผู้จัดการการแข่งขันทั้งหมด แผนที่ของทีมประเทศต่าง ๆ กับผลงานที่ดีที่สุด ผู้ชนะครั้งล่าสุดคือทีมชาติบราซิล โดยได้มีการจัดขึ้นก่อนฟุตบอลโลก 2014 ที่จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล และในปี พ.ศ. 2560 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพจะจัดขึ้นที่ประเทศรัสเซีย ก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018.

26 ความสัมพันธ์: ฟุตบอลฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลทีมชาติบราซิลฟุตบอลโลกฟุตบอลโลก 2014ฟุตบอลโลก 2018ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2005ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017พ.ศ. 2535พ.ศ. 2540พ.ศ. 2560การยิงลูกโทษสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศประเทศบราซิลประเทศรัสเซียประเทศซาอุดีอาระเบียแอฟริกาคัพออฟเนชันส์โกลด์คัพโกลเดนโกลโอเอฟซีเนชันส์คัพโคปาอเมริกาเอเชียนคัพเจ้าภาพฟุตบอลโลก

ฟุตบอล

ฟุตบอล หรือ ซอกเกอร์ เป็นกีฬาประเภททีมที่เล่นระหว่างสองทีมโดยแต่ละทีมมีผู้เล่น11คน โดยใช้ลูกบอล เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก โดยจะเล่นในสนามหญ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ สนามหญ้าเทียม โดยมีประตูอยู่กึ่งกลางที่ปลายสนามทั้งสองฝั่ง เป้าหมายคือทำคะแนนโดยพาลูกฟุตบอลให้เข้าไปยังประตูของฝ่ายตรงข้าม ในการเล่นทั่วไปผู้รักษาประตูจะเป็นผู้เล่นเพียงคนเดียวที่สามารถใช้มือหรือแขนกับลูกฟุตบอลได้ ส่วนผู้เล่นอื่นๆจะใช้เท้าในการเตะลูกฟุตบอลไปยังตำแหน่งที่ต้องการ บางครั้งอาจใช้ลำตัว หรือ ศีรษะ เพื่อสกัดลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่กลางอากาศ โดยทีมที่พาลูกฟุตบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนเท่ากันให้ถือว่าเสมอ แต่ในบางเกมที่เสมอกันในช่วงเวลาปกติแล้วต้องการหาผู้ชนะจึงต้องมีการต่อเวลาพิเศษ และ/หรือยิงลูกโทษขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของรายการแข่งขันนั้นๆ โดยกฎกติกาการเล่นสมัยใหม่จะถูกรวบรวมขึ้นในประเทศอังกฤษ โดย สมาคมฟุตบอลอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2406 ได้กำเนิดกติกาฟุตบอลขึ้นเพื่อเป็นแนวทางกติกาการเล่นในปัจจุบัน ฟุตบอลในระดับนานาชาติจะถูกวางระเบียบโดยฟีฟ่า ซึ่งรายการแข่งขันที่มีเกียรติสูงสุดในระดับนานาชาติคือการแข่งขันฟุตบอลโลกซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอล · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (European Football Championship) หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า ฟุตบอลยูโร เป็นการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญที่สุดของทีมชาติในทวีปยุโรป ซึ่งจัดขึ้นทุก 4 ปีโดยสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) และจะห่างจากการแข่งขันฟุตบอลโลกของฟีฟ่า 2 ปี เริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ในชื่อรายการว่า ยูโรเปียนเนชันส์คัพ (European Nations Cup) จากแนวคิดของ อองรี เดอโลเนย์ เลขาธิการสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศสขณะนั้น ทั้งนี้การแข่งขัน 5 ครั้งแรก มีทีมชาติร่วมแข่งขัน รอบสุดท้ายเพียง 4 ประเทศ ต่อมาตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) เปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น ยูโรเปียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และในครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) มีทีมชาติเข้าแข่งรอบสุดท้าย เพิ่มเป็น 8 ประเทศ ส่วนการแข่งขันนัดชิงลำดับที่สาม ยกเลิกไปในครั้งที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) จากนั้นในครั้งที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) เพิ่มจำนวนเป็น 16 ประเทศ ในรอบสุดท้าย และในครั้งที่ 15 ซึ่งจะจัดขึ้นปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) ทีมชาติในรอบสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นเป็น 24 ประเทศ สำหรับการแข่งขันครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) จัดการแข่งขันที่สาธารณรัฐโปแลนด์และประเทศยูเครน.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลทีมชาติบราซิล

ฟุตบอลทีมชาติบราซิล (Seleção Brasileira de Futebol) เป็นตัวแทนฟุตบอลจากประเทศบราซิล อยู่ภายใต้การควบคุมของสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล และเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในโลก ซึ่งชนะเลิศฟุตบอลโลก 5 ครั้ง ทีมชาติบราซิลมีชื่อเล่นของทีมว่า "เซเลเซา" (Seleção) ซึ่งแปลว่า การคัดเลือกหรือบุคคลที่เลือกมาแล้ว แต่ชื่อที่รู้จักโดยทั่วไปและแฟนฟุตบอลชาวไทยนิยมเรียกคือ "แซมบา" (Samba).

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลทีมชาติบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลโลก

ฟุตบอลโลก หรือ ฟุตบอลโลกฟีฟ่า (FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศโดยมีชุดทีมชาติชายร่วมเข้าแข่งในกลุ่มสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) การแข่งขันจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี เริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 ใน ฟุตบอลโลก 1930 ยกเว้นในปี..

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลโลก · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลโลก 2014

ฟุตบอลโลก 2014 (2014 FIFA World Cup; Copa do Mundo da FIFA 2014) เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 20 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศบราซิลระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน–13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นครั้งที่สองที่บราซิลได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันดังกล่าว โดยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 ทำให้บราซิลกลายเป็นประเทศที่ 5 ที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกสองครั้งต่อจากเม็กซิโก อิตาลี ฝรั่งเศส และเยอรมนี เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้นับตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ที่ประเทศอาร์เจนตินา เป็นครั้งแรกที่มีจัดการแข่งขันนอกทวีปยุโรปสองครั้งติดต่อกัน และยังเป็นครั้งแรกที่มีจัดการแข่งขันในซีกโลกใต้สองครั้งติดต่อกัน (ก่อนหน้านี้ ฟุตบอลโลก 2010 จัดในประเทศแอฟริกาใต้) นอกจากนี้ ฟีฟ่าก็ได้ใช้เทคโนโลยีโกลไลน์เป็นครั้งแรกในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย FIFA.com.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลโลก 2014 · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลโลก 2018

ฟุตบอลโลก 2018 (2018 FIFA World Cup; Чемпионат мира по футболу 2018) เป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก ที่จะจัดขึ้นในปี..

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟุตบอลโลก 2018 · ดูเพิ่มเติม »

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 (2003 FIFA Confederations Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติคอนเฟเดอเรชันส์คัพ จัดโดยฟีฟ่า ในปี..

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 · ดูเพิ่มเติม »

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2005

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2005 (อังกฤษ: 2005 FIFA Confederations Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติคอนเฟเดอเรชันส์คัพ จัดโดยฟีฟ่า ในปี พ.ศ. 2548 ที่ประเทศเยอรมนี โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 29 มิถุนายน.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2005 · ดูเพิ่มเติม »

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 (2009 FIFA Confederations Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ครั้งที่ 8 โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 28 มิถุนายน 2009 ที่ แอฟริกาใต้ ก่อนที่จะมีการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ในปีถัดไป.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 · ดูเพิ่มเติม »

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013 (2013 FIFA Confederations Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติคอนเฟเดอเรชันส์คัพ จัดโดยฟีฟ่า ในปี..

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013 · ดูเพิ่มเติม »

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 (2017 FIFA Confederations Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ครั้งที่ 10 โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม ที่ประเทศรัสเซีย ก่อนที่จะมีการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018ในปีถัดไป.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2535

ทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและพ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและพ.ศ. 2540 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2560

ทธศักราช 2560 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2017 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและพ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

การยิงลูกโทษ

ทีมไอวอรีโคสต์ (ชุดสีส้ม) กำลังยิงลูกโทษ การยิงลูกโทษ เป็นการตั้งเตะทำคะแนนในการแข่งขันฟุตบอล โดยลูกฟุตบอลจะอยู่ในตำแหน่งหน้าประตูห่างมาเป็นระยะ 12 หลา (ประมาณ 11 เมตร) โดยมีผู้รักษาประตูคนเดียวเท่านั้นที่อยู่ในตำแหน่งที่ป้องกันได้ ในการแข่งขันฟุตบอลจะมีการยิงลูกโทษสองลักษณะคือ ลักษณะแรกการยิงลูกโทษระหว่างการแข่งขัน เกิดจากที่ผู้เล่นในฝ่ายรับทำฟาล์วผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตั้งแต่ภายในเขตโทษ โดยผู้ที่ยิงลูกโทษจะมีสิทธิยิงได้หนึ่งครั้งโดยเมื่อยิงเสร็จแล้วจะปล่อยให้เกมเล่นต่อตามปกติ ในลักษณะที่สองคือการยิงลูกโทษภายหลังจากหมดเวลาการแข่งขัน และทั้งสองฝ่ายมีคะแนนเท่ากัน จะทำการยิงลูกโทษในการตัดสินผู้ชนะ โดยการยิงลูกโทษลักษณะนี้จะ เริ่มต้นโดยผู้ยิงฝ่ายละ 5 คน สลับกันยิงลูกโทษ โดยถ้าไม่สามารถตัดสินกันได้ให้มีการยิงต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผู้ชน.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและการยิงลูกโทษ · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ

หพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Fédération Internationale de Football Association) หรือ ฟีฟ่า (FIFA) เป็นองค์กรที่ดำเนินการในกีฬาฟุตบอลระหว่างประเทศ และเป็นองค์กรกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบัน สำนักงานตั้งอยู่ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซาอุดีอาระเบีย

ซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia; السعودية) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (المملكة العربية السعودية) เป็นรัฐอาหรับในเอเชียตะวันออกกลาง กินอาณาบริเวณกว้างขวางในคาบสมุทรอาหรับ มีพื้นที่ประมาณ 2,149,690 ตารางกิโลเมตร ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโลกอาหรับรองจากประเทศแอลจีเรีย ประเทศซาอุดีอาระเบียมีพรมแดนติดประเทศจอร์แดนและอิรักทางเหนือ ประเทศคูเวตทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศกาตาร์ บาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทางตะวันออก ประเทศโอมานทางตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศเยเมนทางใต้ เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งติดทั้งทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย และภูมิประเทศส่วนใหญ่ประกอบด้วยทะเลทรายแห้งแล้ง อยู่อาศัยไม่ได้ หรือธรณีสัณฐานไม่อุดม พื้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบียสมัยใหม่ประกอบด้วยสี่ภูมิภาคสำคัญ ได้แก่ ฮิญาซ นัจญด์ และบางส่วนของอาระเบียตะวันออกและอาระเบียใต้ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียก่อตั้งในปี 2475 โดย พระเจ้าอิบนุ ซะอูด (King Ibnu Saud) พระองค์ทรงรวบรวมสี่ภูมิภาคเข้าเป็นรัฐเดี่ยวผ่านชุดการพิชิตเริ่มตั้งแต่ปี 2445 ด้วยการยึดรียาด บ้านบรรพบุรุษแห่งราชวงศ์ซะอูดของพระองค์ นับแต่นั้น ประเทศเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นเผด็จการสืบสายโลหิตที่ปกครองตามแบบอิสลาม ขบวนการศาสนาวะฮาบีย์ภายในนิกายซุนนีย์ถูกเรียกว่า "ลักษณะเด่นของวัฒนธรรมซาอุดีอาระเบีย" บ้างเรียกประเทศซาอุดีอาระเบียว่า "ดินแดนสองมัสยิดศักดิ์สิทธิ์" โดยหมายถึง อัลมัสยิดอัลฮาราม (Al-Masjid al-Haram) ในมักกะฮ์ และอัลมัสยิดอันนาบาวี (Al-Masjid al-Nabawi) ในมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นสองมัสยิดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนาอิสลาม แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย มีประชากร 28.7 ล้านคน สัญชาติซาอุดีอาระเบีย 20 ล้านคน และ 8.7 ล้านคนเป็นชาวต่างประเทศ มีการค้นพบปิโตรเลียมในปี 2481 และประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกแต่ต่อไปน้ำมันคงไร้ความหมาย โดยควบคุมน้ำมันสำรองใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก ราชอาณาจักรจัดอยู่ในเศรษฐกิจรายได้สูงของธนาคารโลกโดยมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง และเป็นประเทศอาหรับประเทศเดียวที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ จี 20 ทว่า เศรษฐกิจซาอุดีอาระเบียมีความหลากหลายน้อยที่สุดในสภาความร่วมมืออ่าว ราชอาณาจักรเป็นอัตตาธิปไตยราชาธิปไตยและฟรีดอมเฮาส์จัดว่า "ไม่เสรี" ประเทศซาอุดีอาระเบียมีรายจ่ายทางทหารสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และในปี 2553–2557 SIPRI พบว่าประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ประเทศซาอุดีอาระเบียถือว่าเป็นอำนาจภูมิภาคและปานกลาง นอกเหนือจากสภาความร่วมมืออ่าว ราชอาณาจักรยังเป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมืออิสลามและโอเปคและนอกจากนี้ยังเริ่มมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลอีกด้ว.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและประเทศซาอุดีอาระเบีย · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาคัพออฟเนชันส์

แอฟริกันคัพออฟเนชันส์ (African Cup of Nations) หรือบางทีเรียกว่า แอฟริกันเนชันส์คัพ (African Nations Cup ย่อว่า ANC) เป็นการแข่งขันสำหรับทีมชาติที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกาจัดขึ้นโดยสมาพันธ์ฟุตบอลแอฟริกา (CAF) โดยเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ · ดูเพิ่มเติม »

โกลด์คัพ

Winners of the CONCACAF Gold Cup up to 2015 คอนคาแคฟโกลด์คัพ (CONCACAF Gold Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลของทีมชาติในคอนคาแคฟ จากทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และประเทศหมู่เกาะจากแคริบเบียน โดยเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) ภายใต้ชื่อ คอนคาแคฟแชมเปียนชิพ (CONCACAF Championship) โดยจัดขึ้นแทนการแข่งขันซีซีซีเอฟแชมเปียนชิพ ที่เป็นการแข่งขันเดิมที่จำกัดเฉพาะประเทศในอเมริกากลางและจากหมู่เกาะในแคริบเบียน การแข่งขันจัดขึ้นจนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและโกลด์คัพ · ดูเพิ่มเติม »

โกลเดนโกล

กลเดนโกล (Golden goal) หรือ กฎประตูทอง เป็นกติกาในกีฬาฟุตบอลไว้ตัดสินหาผู้ชนะในช่วงต่อเวลาพิเศษ 30 นาที ในเกมที่ต้องตัดสินผลแพ้ชนะ และในเกมนั้นผลประตูเสมอกันในช่วงเวลาปกติ (90 นาที) ปัจจุบันกฎนี้ไม่ถูกใช้ในเกมการแข่งขันของฟีฟ่าอีกต่อไปแล้ว ถ้าใช้กฎโกลเดนโกล ในช่วงต่อเวลาพิเศษอีกครึ่งละ 15 นาทีนั้น ถ้าทีมไหนยิงประตูได้ก่อน ทีมนั้นจะเป็นผู้ชนะทันทีโดยไม่ต้องแข่งขันต่อ แต่ถ้ายังยิงประตูกันไม่ได้จนหมดเวลา ก็จะเข้าสู่ช่วงยิงลูกโทษเพื่อหาผู้ชนะ กฎนี้ถูกคิดขึ้นโดยฟีฟ่าใน ค.ศ. 1993 โดยใช้แทนคำว่า ซัดเดน เดธ (sudden death) เนื่องจากมีความหมายที่ค่อนข้างไปในทางลบ กฎนี้ถูกใช้ครั้งแรกในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 และฟุตบอลโลก 1998 การแข่งขันครั้งแรกที่มีการยิงโกลเดนโกลคือ นัดระหว่างออสเตรเลียกับอุรุกวัย ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1993 ในรอบก่อนรองชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนโลก สำหรับการแข่งขันสำคัญที่ตัดสินกันด้วยโกลเดนโกลคือรอบชิงชนะเลิศของยูโร 1996 โดยครบ 90 นาทีเสมอที่ 1-1 ครั้นในช่วงต่อเวลาพิเศษ โอลิเวอร์ เบียร์ฮอฟฟ์ ผู้เล่นของเยอรมนี ได้ยิงโกลเดนโกลเอาชนะสาธารณรัฐเช็ก ไป 2-1 คว้าแชมป์ไปครอง กฎโกลเดนโกลมีจุดหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเล่นแบบรวดเร็วและชาญฉลาด และหลีกเลี่ยงการตัดสินด้วยจุดโทษ แต่ได้รับเสียงวิจารณ์ว่าทำให้ทีมเล่นฟุตบอลแบบเน้นการป้องกันมากขึ้น เพื่อลดโอกาสความพ่ายแพ้ ส่วนในประเทศไทย มีโกลเดนโกลเกิดขึ้นในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ ระหว่างทีมชาติไทย ภายใต้การคุมทีมนัดแรกของ ปีเตอร์ วิธ กุนซือชาวอังกฤษคนแรก กับทีมชาติเกาหลีใต้ ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย โดยครบ 90 นาทีเสมอที่ 1-1 ครั้นในช่วงต่อเวลาพิเศษนาทีที่ 95 ดุสิต เฉลิมแสน เขี่ยฟรีคิกสั้นๆ ให้ ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล ยิงไกลแบบเต็มข้อเข้าไปเป็นโกลเดนโกลให้ไทยผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศได้เป็นครั้งแรกด้วยการเอาชนะเกาหลีใต้ไปได้ 2-1 ใน ค.ศ. ​2002 ยูฟ่าได้นำกฎซิลเวอร์โกลมาใช้แทน โดยจะคล้ายกับกฎโกลเด้นโกล แต่จะไม่หยุดเกมเมื่อมีทีมยิงประตูได้ โดยจะเล่นจนจบครึ่งแรกของการต่อเวลาพิเศษแทน ในปี ค.ศ. ​2004 ทางฟีฟ่าได้ยกเลิกกฎโกลเดนโกลหลังจบการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 ที่ประเทศโปรตุเก.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและโกลเดนโกล · ดูเพิ่มเติม »

โอเอฟซีเนชันส์คัพ

อเอฟซีเนชันส์คัพ (OFC Nations Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลของทีมชาติในโอเอฟซีจากโอเชียเนีย เริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกใน พ.ศ. 2539 โดยจัดขึ้นแทนการแข่งขันโอเอฟซีคัพที่ก่อตั้งใน พ.ศ. 2516 และถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2523.

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและโอเอฟซีเนชันส์คัพ · ดูเพิ่มเติม »

โคปาอเมริกา

ปาอเมริกา (Copa America) เป็นการแข่งขันฟุตบอลนานาชาติของทวีปอเมริกา จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2459 การแข่งขันเกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอจากสาเหตุต่างๆ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต..

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและโคปาอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียนคัพ

อเชียนคัพ (AFC Asian Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลในทวีปเอเชีย จัดโดย สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ซึ่งผู้ชนะการแข่งขันจะได้รับตำแหน่งแชมป์เปียนของเอเชียนคัพ การจัดการแข่งขันจัดขึ้นทุก 4 ปี โดยเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) และจัดต่อเนื่องทุก 4 ปี จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและเอเชียนคัพ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าภาพฟุตบอลโลก

ลโก้ของฟีฟ่า แผนที่เจ้าภาพฟุตบอลโลกระหว่าง ค.ศ. 1930-2022 เขียว: หนึ่ง; เขียวเข้ม: สอง; เขียวอ่อน: มีแผน ประเทศ 16 ประเทศที่ได้เป็น เจ้าภาพฟุตบอลโลก ซึ่งได้จัดการแข่งขันมา 20 ครั้ง ในการแข่งขันฟุตบอลโลกตั้งแต..

ใหม่!!: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพและเจ้าภาพฟุตบอลโลก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Confederations CupFIFA Confederations Cupคอนเฟเดอเรชันส์คัพ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »