โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เคลด

ดัชนี เคลด

แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ (Cladogram) หรือพงศาวลีของกลุ่มสิ่งมีชีวิต โดยลำต้น (เส้นตั้ง) ที่ฐานแต่ละฐานจะเป็นบรรพบุรุษร่วมกันสุดท้ายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นลูกหลานภายในพุ่มไม้ที่อยู่เหนือลำต้นนั้น ๆ กลุ่มย่อยสีน้ำเงินและสีแดง (ซ้ายและขวาสุด) เรียกว่า clade เพราะเป็นกลุ่ม "จากชาติพันธุ์เดียว" (monophyletic) โดยแต่ละกลุ่มจะมีบรรพบุรุษร่วมกันที่ฐาน ส่วนกลุ่มย่อยสีเขียวไม่เรียกว่า clade เพราะเป็นกลุ่ม paraphyletic และไม่รวมเอากลุ่มย่อยสีน้ำเงินแม้จะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษร่วมกันซึ่งอยู่ที่ฐานของกลุ่มสีเขียว เคลด (clade จาก κλάδος, klados แปลว่า "สาขา") เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่รวมเอาบรรพบุรุษที่มีร่วมกันและลูกหลานของมันทั้งหมด โดยแสดงเป็น "สาขา" เดียวจากต้นไม้ชีวิต บรรพบุรุษร่วมกันอาจเป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งหน่วย กลุ่มประชากร สปีชีส์ (ไม่ว่าจะสูญพันธุ์ไปแล้วหรือยังมีอยู่) เป็นต้น จนไปถึงระดับอาณาจักร เคลดเป็นโครงสร้างซ้อนใน คือจะมีเคลดภายในเคลดเพราะสาขาใหญ่หนึ่ง ๆ จะแยกออกเป็นสาขาย่อย ๆ การแยกออกจะสะท้อนให้เห็นถึงประวัติวิวัฒนาการ เพราะแสดงกลุ่มประชากรที่แยกจากกันแล้ววิวัฒนาการแยกกันต่างหาก ๆ เคลดจะมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) ในทศวรรษ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา วิธีการศึกษาแบบแคลดิสติกส์ (คือใช้แนวคิดแบบเคลด) ได้ปฏิวัติการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต และได้แสดงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการที่น่าทึ่งใจระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ โดยมีผลเป็นนักอนุกรมวิธานพยายามหลีกเลี่ยงการให้ชื่อกับหน่วยที่ไม่ใช่เคลด คือหน่วยที่ไม่ได้มาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic).

39 ความสัมพันธ์: ชาลส์ ดาร์วินชิปมังก์การสูญพันธุ์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามการแผ่ปรับตัวมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์มดมนุษย์ลอริสลีเมอร์วิวัฒนาการวิวัฒนาการชาติพันธุ์วิวัฒนาการเบนเข้าวงศ์แอลลิเกเตอร์สมมติฐานสัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์ปีกสัตว์เลื้อยคลานสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสิ่งมีชีวิตสปีชีส์อันดับวานรอันดับสัตว์ฟันแทะอันดับจระเข้อาณาจักร (ชีววิทยา)อนุกรมวิธานจระเข้ทาร์เซียร์ความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์คาโรลัส ลินเนียสซากดึกดำบรรพ์ประชากรแมลงแคลดิสติกส์ไดโนเสาร์เอป

ชาลส์ ดาร์วิน

ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Darwin FRS; 12 กุมภาพันธ์ 1809 – 19 เมษายน 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี..

ใหม่!!: เคลดและชาลส์ ดาร์วิน · ดูเพิ่มเติม »

ชิปมังก์

ปมังก์ (chipmunk) เป็นกระรอกขนาดเล็กสกุลหนึ่ง อยู่ในสกุล Tamias จัดเป็นกระรอกดินจำพวกหนึ่ง กระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ และบางชนิดพบได้ในทวีปเอเชียตอนบนและตะวันออก ชิปมังก์มีลักษณะคล้ายกับกระเล็น (Tamiops spp.) ซึ่งเป็นกระรอกต้นไม้และพบได้ในเอเชียอาคเนย์ คือ เป็นกระรอกขนาดเล็ก และมีลายแถบเป็นริ้วสีขาวและดำคล้ำลากผ่านบริเวณใบหน้าทั้งสองด้าน, หลัง และหาง สีขนตามลำตัวจะแตกต่างกันออกไปตั้งแต่สีเทาจนถึงสีน้ำตาลออกแดงต่างกันตามแต่ชนิด ขนาดโดยเฉลี่ย ความยาวลำตัวประมาณ 8–11.5 นิ้ว มีหางที่มีขนเป็นพวงฟูต่างจากกระเล็น ความยาวประมาณ 3–4 นิ้ว นอกจากนี้แล้วชิปมังก์ยังมีกระพุ้งแก้มที่ใช้สำหรับเก็บอาหารได้อีกด้วย ชิปมังก์จะสร้างโพรงในระดับต่ำกว่าพื้นดิน ทางเข้าจะมีการปิดบังไว้ใต้ก้อนหินหรือพุ่มไม้ต่าง ๆ เป็นอย่างดี แม้จะอยู่ในโพรงแล้วก็ตาม ชิปมังก์ก็ยังเป็นสัตว์ที่ตื่นตัวตลอดเวลา มีการระแวดระวังภัยสูง เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลาย แต่ส่วนมากจะเป็น ลูกไม้ชนิดต่าง ๆ แม้กระทั่งลูกไม้ที่มีเปลือกแข็ง, ถั่ว, เมล็ดพืช, ข้าว, ไข่นก, แมลง แม้กระทั่งเห็ดรา มีฤดูผสมพันธุ์ ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิของทุกปี ตัวเมียจะออกลูกครอกละ 2–8 ตัว ลูกชิปมังก์จะอยู่กับพ่อแม่เป็นเวลา 2 เดือนและหลังจากนั้นจะจากไปหาอาหารด้วยตนเอง หลังจากผ่านไป 5 เดือน ชิปมังก์วัยอ่อนจะเจริญเติบโตจนมีขนาดตัวโตเต็มวัย ในช่วงฤดูหนาวที่อากาศหนาว อาหารหายาก จะเข้าสู่การจำศีลด้วยการนอนอยู่นิ่ง ๆ ในโพรงของตัวเอง จนกว่าจะถึงฤดูร้อน ชิปมังก์มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 2–3 ปี.

ใหม่!!: เคลดและชิปมังก์ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: เคลดและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: เคลดและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: เคลดและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

การแผ่ปรับตัว

ในชีววิทยาวิวัฒนาการ การแผ่ปรับตัว (adaptive radiation) เป็นกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลายอย่างรวดเร็วจากสปีชีส์บรรพบุรุษเดียว กลายเป็นรูปแบบต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปทำให้เกิดทรัพยากร เกิดอุปสรรค หรือเกิดวิถีการดำรงชีวิตที่เป็นไปได้ใหม่ ๆ กระบวนการจะเป็นเหตุการเกิดสปีชีส์และการปรับตัวทางฟีโนไทป์ของสปีชีส์หลากหลาย ที่กลายมีรูปร่างสัณฐานและสรีรภาพที่ต่างกัน โดยเริ่มจากบรรพบุรุษเดียวกันเร็ว ๆ นี้ ตัวอย่างหนึ่งก็คือนกสปีชีส์ต่าง ๆ ในวงศ์ย่อย Carduelinae (Hawaiian honeycreepers) ที่พบในหมู่เกาะฮาวาย คือผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ นกได้ปรับตัวอย่างรวดเร็วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จนมีรูปร่างสัณฐานที่หลากหลาย มีงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับกระบวนการนี้เพราะมันมีผลที่น่าทึ่งใจต่อความหลากหลายของประชากรสิ่งมีชีวิต แต่ก็ยังต้องมีงานวิจัยต่อ ๆ ไปเพื่อให้เข้าใจอย่างสมบูรณ์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการ การศึกษาทั้งทางทฤษฎีและทางหลักฐานต่างก็มีประโยชน์ด้วยกันทั้งสอง แม้แต่ละอย่างก็มีข้อเสียเหมือนกัน และเพื่อให้ได้ความรู้มากที่สุด วิธีการศึกษาทั้งสองแบบต้องนำมารวมกัน.

ใหม่!!: เคลดและการแผ่ปรับตัว · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์

ในตัวมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley.) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ตั้งอยู่ในเมืองเบิร์กลีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองซานฟรานซิสโก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) และเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดในบรรดากลุ่มมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์มีชื่อเสียงในหลากหลายด้านเช่น ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ รวมถึงมีการค้นพบไซโคลตรอน (cyclotron) โดย เออร์เนสต์ ลอว์เรนซ์ และมีการค้นพบธาตุเคมี 17 ธาตุใหม่ การพัฒนาอินเทอร์เน็ต การพัฒนายูนิกซ์ BSD และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกลำดับที่ 4 สำหรับการจัดอันดับของ ของปี 2012 และ อันดับที่ 5 สำหรับการจัดมหาวิทยาที่มีชื่อเสียงของ ของปี 2013 สำหรับนักศึกษาที่อาศัยอยู่ใน California จะมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนและค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 12,876 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี (ปี พ.ศ. 2555) ส่วนนักศึกษาปริญญาตรีที่มาจากที่อื่นจะมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนและค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 35,754 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี (ปี พ.ศ. 2555) ในปี..

ใหม่!!: เคลดและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

มด

มด เป็นมดในมด Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: เคลดและมด · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: เคลดและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอริส

ลอริส (Loris) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานรหรืออันดับไพรเมตวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lorisinae จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ Lorisidae หรือลิงลม สมาชิกในวงศ์ย่อยนี้ล้วนแต่เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบและป่าประเภทอื่น ๆ รวมถึงป่าเสื่อมโทรมหรือชายป่าใกล้กับชุมชนของมนุษย์ในภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น อินเดีย, ศรีลังกา, ปากีสถาน, เนปาล จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในส่วนที่เป็นผื่นแผ่นดินใหญ่ และส่วนที่เป็นหมู่เกาะต่าง ๆ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน โดยใช้ชีวิตและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก มีความสามารถปีนป่ายต้นไม้ในส่วนต่าง ๆ ได้เก่ง มีการทรงตัวที่ดีเยี่ยม มีลักษณะเด่นคือ มีดวงตาที่กลมโตขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน ใช้สำหรับการมองในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินสัตว์เล็ก ๆ เช่น แมงหรือแมลงต่าง ๆ, สัตว์เลื้อยคลาน, ไข่นกหรือลูกนก หรือกระทั่งนกขนาดเล็กที่โตเต็มตัวหรือค้างคาว หรือแม้กระทั่งทาก เป็นอาหารหลัก และจะกินพืช เช่น ยางไม้, ลูกไม้, ผลไม้, ใบไม้ เป็นอาหารรองลงไป ลิงลมตัวเมียบางครั้งจะทิ้งลูกอ่อนไว้ในรังเมื่อออกไปหากิน สามารถผลิตพิษได้จากสารเคมีที่คล้ายน้ำมันที่หลั่งมาจากนิ้วมือและข้อศอกผสมกับน้ำลาย พิษนี้มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อ แม้แต่ลิงลมวัยอ่อนหรือขนาดเล็กก็มีพิษนี้แล้ว แม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัดว่ามีไวส้เพื่ออะไร แต่ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งเป็นการกำจัดปรสิตที่มาเกาะตามขน หรือป้องกันตัวจากสัตว์ใหญ่กว่า เช่น หมี หรืออุรังอุตังที่กินลิงลมเป็นอาหาร.

ใหม่!!: เคลดและลอริส · ดูเพิ่มเติม »

ลีเมอร์

ลีเมอร์ (Lemur) เป็นอันดับฐานของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับไพรเมตหรือลิง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lemuriformes ลักษณะโดยรวมของลีเมอร์ คือ มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับลิง แต่ทว่ามีส่วนหัวคล้ายหมาจิ้งจอก คือ มีจมูกและปากแหลมยาว มีดวงตากลมโต ขนหนาฟู มีหางยาวเป็นพวงเหมือนกระรอก โดยลีเมอร์เป็นไพรเมตที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Prosimian ซึ่งรวมถึงลิงลม, กาเลโก และทาร์เซีย เพราะมีสายวิวัฒนาการที่ใกล้เคียงกัน จากการศึกษาทางดีเอ็นเอ ซึ่งคำว่า "Prosimian" นั้น มีความหมายว่า "ก่อนลิง" คำว่า "ลีเมอร์" แปลงมาจากคำว่า Lemures ในเทพปกรณัมโรมันหมายถึง "ดวงวิญญาณ, ผี หรือปีศาจ" ขนาดโดยทั่วไปโดยเฉลี่ยของลีเมอร์ขนาดเท่าแมว น้ำหนักตัวประมาณ 9 กิโลกรัม โดยที่ชนิดที่มีขนาดเล็กมีรูปร่างใกล้เคียงกับหนู มีการกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์ทางชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกที่เดียวเท่านั้น เหตุเพราะสันนิษฐานว่า ที่เกาะแห่งนี้ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ ทำให้สัตว์หลายชนิดมีการวิวัฒนาการเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ และไม่มีสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่คอยคุกคาม โดยอาศัยอยู่ในป่าดิบ บนต้นไม้ใหญ่ หากินในเวลากลางวัน และนอนหลับในเวลากลางคืน โดยที่สันนิษฐานอีกว่า บรรพบุรุษของลีเมอร์ เดินทางมายังเกาะมาดากัสการ์ด้วยกอพรรณพืชหรือต้นไม้เมื่อ 60 ล้านปีก่อน โดยลีเมอร์ได้วิวัฒนาการตัวเองแยกมาเป็นชนิดต่าง ๆ จากถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกัน เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง อันเป็นผลจากการที่น้ำท่วมเกาะ ก่อให้เกิดเป็นเกาะแก่งต่าง ๆ มากมาย และลีเมอร์ชนิดต่าง ๆ ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวและถูกจำกัดในเรื่องอาหาร จากพายุไซโคลนที่พัดถล่มในมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก โดยเชื่อว่าบรรพบุรุษของลีเมอร์นั้นแรกเริ่มมีขนาดเล็ก และอาจเกาะกับต้นไม้ลอยน้ำมาในรูปแบบของการจำศีลMadagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: เคลดและลีเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: เคลดและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการชาติพันธุ์

ในชีววิทยา วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogenetics จากคำกรีก φυλή, φῦλον - phylon, phylon.

ใหม่!!: เคลดและวิวัฒนาการชาติพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการเบนเข้า

วิวัฒนาการเบนเข้า (Convergent evolution) คือการวิวัฒนาการแบบที่สิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้มีบรรพบุรุษร่วมกัน แต่มีลักษณะที่วิวัฒนาการได้ผลลัพธ์ที่คล้ายกัน แต่ต้องกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายที่ใช้ในการสังเกต และเปรียบเทียบกลไกการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้น ปีกเป็นตัวอย่างวิวัฒนาการเบนเข้าที่ยอดเยี่ยม แมลงบินได้ นก และค้างคาว ต่างมีวิวัฒนาการการบินที่อิสระ แต่มาบรรจบกันตรงคุณลักษณะที่มีประโยชน์นี้.

ใหม่!!: เคลดและวิวัฒนาการเบนเข้า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แอลลิเกเตอร์

วงศ์แอลลิเกเตอร์ (Alligator, Caiman; ชื่อวิทยาศาสตร์: Alligatoridae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ (Crocodylia) ที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ที่แยกออกจากวงศ์ Crocodylidae หรือวงศ์ของจระเข้ทั่วไป โดยวงศ์แอลลิเกเตอร์ปรากฏขึ้นมายุคครีเตเชียสเป็นครั้งแรก และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากเดิมมากนักจนถึงปัจจุบันจนอาจเรียกว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่งก็ว่าได้ รูปร่างและลักษณะของวงศ์แอลลิเกเตอร์ จะแตกต่างจากจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae คือ ปลายปากมีลักษณะคล้ายตัวอักษรยู (U) เมื่อหุบปากแล้วฟันที่ขากรรไกรล่างจะสวมเข้าไปในร่องของขากรรไกรบนจึงมองไม่เห็นฟันของขากรรไกรล่าง ส่วนปลายของขากรรไกรล่างซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ห่างจากแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลาเป็นช่องกว้าง กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกชิ้นยาวอยู่ทางด้านหน้าและยื่นเลยช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีสารเคอราติน ไม่มีต่อมขจัดเกลือบนลิ้น แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Alligatorinae คือ แอลลิเกเตอร์อเมริกัน (Alligator mississippiensis) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด พบได้ในสหรัฐอเมริกาอย่างกว้างขวาง และแอลลิเกเตอร์จีน (A. sinensis) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก พบได้เฉพาะพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีในภาคตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น และ Caimaninae ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อสามัญว่า "จระเข้เคแมน" ซึ่งพบได้ตั้งแต่อเมริกากลางจนถึงทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะมีขนาดเล็ก โดยแต่เดิมนั้น แอลลิเกเตอร์มีจำนวนสมาชิกของวงศ์มากกว่านี้ แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ซึ่งปัจจุบันในสองวงศ์ย่อยนี้รวมกันแล้วมีจำนวนเพียง 8 ชนิดเท่านั้น.

ใหม่!!: เคลดและวงศ์แอลลิเกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐาน

มมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร😔.

ใหม่!!: เคลดและสมมติฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)

สัณฐานวิทยา (morphology) หมายถึง การศึกษารูปพรรณสัณฐานของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะรูปร่างของดอกไม้ หรือ การจัดเรียงตัวของใบ หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: เคลดและสัณฐานวิทยา (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: เคลดและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: เคลดและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: เคลดและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: เคลดและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: เคลดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เคลดและสิ่งมีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: เคลดและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับวานร

อันดับวานร หรือ อันดับไพรเมต (Primate) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันได้แก่ สัตว์จำพวกลีเมอร์, ลิง และลิงไม่มีหาง ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย มีชื่อสามัญเรียกกันโดยทั่วไปว่า ไพรเมต จึงกล่าวได้ว่าสามารถพบไพรเมตได้ทั่วโลก โดยไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแอฟริกา, ตอนล่างของทวีปเอเชีย, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่จะพบไพรเมตอยู่เพียงไม่กี่ชนิดในแถบตอนเหนือของทวีปเอเชีย จนถึงตอนเหนือของญี่ปุ่น หรือตอนเหนือของอเมริกา และเม็กซิโก โดยที่ไม่พบในทวีปยุโรป และทวีปออสเตรเลีย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Primates.

ใหม่!!: เคลดและอันดับวานร · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์ฟันแทะ

อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.

ใหม่!!: เคลดและอันดับสัตว์ฟันแทะ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับจระเข้

อันดับจระเข้ (Crocodile, Gharial, Alligator, Caiman) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crocodilia หรือ Crocodylia ที่รู้จักกันดีในชื่อของ "จระเข้" โดยอันดับนี้ปรากฏขึ้นมาบนโลกมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียส (84 ล้านปีมาแล้ว) จนถึงปัจจุบัน เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีแผ่นแข็งและหนาปกคลุมลำตัวคล้ายเกล็ด แผ่นแข็งที่ปกคลุมลำตัวด้านหลังมีกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ในชั้นหนังซึ่งในหลายชนิดมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องด้วย แผ่นแข็งของวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีแอ่งทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัสได้ ส่วนของปลายหัวยื่นยาวและมีฟันอยู่ในแอ่งของขากรรไกร ตามีแผ่นหนังโปร่งใสคลุมทับขณะดำน้ำ หางมีขนาดใหญ่ ขามีขนาดใหญ่แต่สั้นและแข็งแรงและมีแผ่นหนังเรียกว่าพังผืดยิดติดระหว่างนิ้ว ใช้ในการว่ายน้ำ ในวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีต่อมขจัดเกลืออยู่บนลิ้น เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) ปัจจุบันพบทั้งหมด 25 ชนิด แต่ในบางข้อมูลอาจจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกันหมด แต่แบ่งออกมาเป็นวงศ์ย่อย โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันระห่างสกุล Tomistoma กับ สกุล Gavialis เพราะการวิเคราะห์ทางกายภาคจัดว่า Tomistoma นั้นอยู่ในวงศ์ Crocodylidae แต่การวิเคราะห์ทางโมเลกุล พบว่าใกล้เคียงกับสกุล Gavialis ที่อยู่ในวงศ์ Gavialidae มากกว่า (ในบางข้อมูลอาจจะยังจัดให้อยู่ในวงศ์ Crocodylidae) เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่หากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีสภาพของร่างกายใช้ชีวิตได้ดีเมื่ออยู่ในน้ำ กล่าวคือ ช่องเปิดจมูกอยู่ทางด้านบนตรงส่วนปลายสุดของส่วนหัวที่ยื่นยาวและช่องเปิดจมูกมีแผ่นลิ้นปิดได้อยู่ใต้น้ำ อุ้งปากมีเพดานปากทุติยภูมิเจริญขึ้นมาจึงแยกปากออกจากโพรงจมูกได้สมบูรณ์ โพรงจมูกทางด้านท้ายสุดของเพดานปากทุติยภูมิมีแผ่นลิ้นปิดเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถหายใจได้เมื่ออยู่ในน้ำขณะที่คาบอาหารอยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีแผ่นเยื่อแบ่งแยกช่องอกออกจากช่องท้องซึ่งแผ่นเยื่อนี้ทำหน้าที่เหมือนกะบังลมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ต่างกัน ปอดจึงมีถุงลมที่เจริญกว่าปอดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า หัวใจมี 4 ห้องและมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับหัวใจของสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสัตว์ในชั้นที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์เช่นกัน แต่การปะปนกันของเลือดยังคงเกิดขึ้นบ้างทางช่องตรงตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงซีสทีมิกซ้ายและหลอดเลือดแดงซิสทีมิกขวาทอดข้ามกัน และสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไปเฉพาะสมองได้ขณะดำน้ำ ขณะอยู่บนบกแม้ไม่คล่องเท่าอยู่ในน้ำ แต่ก็เดินหรือวิ่งได้ดี โดยจะใช้ขายกลำตัวขึ้น และมีรายงานว่า จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Crocodylus johnsoni) สามารถกระโดดเมื่ออยู่บนบกได้ด้วย ภาพของสัตว์ในอันดับจระเข้ชนิดต่าง ๆ เมื่อเทียบกับมนุษย์ (สีแดง & สีส้ม-สูญพันธุ์ไปแล้ว) ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในดินหรือทรายริมตลิ่งที่ปะปนด้วยพืชจำพวกหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ปกคลุม หรือในบางพื้นที่อาจวางไข่ในแหล่งน้ำหรือพื้นที่เปิดโล่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนกระทั่งฟักออกมา ซึ่งมีความรักและผูกพันต่อลูกมาก ซึ่งเป็นลักษณะการดูแลลูกของสัตว์ในอันดับอาร์โคซอร์ เช่นเดียวกับสัตว์ปีกและไดโนเสาร์ การกำหนดเพศของตัวอ่อนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางอุณหภูมิ อาหารส่วนมากเป็นสัตว์น้ำ แต่ก็อาจจะกินสัตว์อย่างอื่นหรือแม้กระทั่งสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ โดยมีมักหากินในเวลากลางคืน โดยลากลงไปในน้ำและใช้วิธีกดให้เหยื่อจมน้ำตายก่อนแล้วจึงกิน นับเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อสูงมากจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก และพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าโกงกาง แม้ส่วนใหญ่จะอาศัยและหากินในน้ำจืดเป็นหลักก็ตาม.

ใหม่!!: เคลดและอันดับจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักร (ชีววิทยา)

ในชีววิทยา, อาณาจักร เป็นระดับหรือหมู่ที่ใหญ่เกือบที่สุดของสิ่งมีชีวิต ใช้ในการการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิตในโลก นักอนุกรมวิธานมีความเห็นในการจัดหมวดหมู่แตกต่างกันไป เช่น แบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร 6 อาณาจักร หรือ 8 อาณาจักร (แคมป์เบลล์, 1996) ซึ่งระบบที่เป็นที่นิยมใช้ในอดีตและปัจจุบันระบบหนึ่งคือระบบ 5 อาณาจักร ส่วนอีกระบบที่เริ่มแพร่หลายและคาดว่าจะได้รับความนิยมต่อไป คือระบบ 6 อาณาจักร 3 โดเมน.

ใหม่!!: เคลดและอาณาจักร (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: เคลดและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้

ระเข้ (Crocodile, อีสาน: แข้) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crocodylidae อยู่ในอันดับจระเข้ (Crocodilia) มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาว ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ 4 ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตำแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ชัดกับแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลามีนมีก้านชิ้นสั้นอยู่ทางด้านหน้าและไม่ถึงช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นไม่มีสารเคอราติน ต่อมขจัดเกลือบนลิ้นมีขนาดใหญ่ มีก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา" ซึ่งจะแตกต่างออกไปตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน" ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้ำ จระเข้ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาาหร เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้ จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว กล่าว คือ เมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขณะอยู่ใต้น้ำและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของอุ้งปาก นอกจากนี้แล้วจระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการบดอาหารด้วย แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 14 ชนิด พบได้ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของทุกทวีปทั่วโลก นับว่ามีจำนวนสมาชิกมากและหลากหลายที่สุดของอันดับจระเข้ที่ยังพบคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ มักอาศัยบริเวณป่าริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ เพราะหากินในน้ำเป็นหลัก บางชนิดหรือบางพื้นที่อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำใกล้ทะเล ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ จระเข้บึง หรือ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis), อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii) ซึ่งมิได้ถูกจัดอยู่ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: เคลดและจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

ทาร์เซียร์

วีดีโอคลิปทาร์เซียร์ไม่ทราบชนิด ทาร์เซียร์ (tarsier) หรือ มามัก (mamag) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในอันดับไพรเมตที่วิวัฒนาการมาจากยุคไอโอซีนจนมาถึงยุคปัจจุบัน ที่มีรูปร่างลักษณะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก มีเพียงวงศ์เดียว คือ Tarsiidae และสกุลเดียวเท่านั้น คือ Tarsius.

ใหม่!!: เคลดและทาร์เซียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์

วามเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ (Scientific consensus) หรือ มติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ เป็นข้อตัดสิน จุดยืน และความเห็น โดยรวม ๆ ของชุมชนนักวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง คำว่า มติส่วนใหญ่ หมายถึงการเห็นพ้องกันโดยทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่ความเป็นเอกฉันท์ นักวิทยาศาสตร์จะถึงมติส่วนใหญ่ได้ก็ต้องอาศัยงานประชุม กระบวนการตีพิมพ์ (เช่นหนังสือหรือวารสารวิทยาศาสตร์) การทำงานทดลองซ้ำ (ที่ได้ผลอย่างเดียวกันโดยผู้อื่น) และกระบวนการทบทวนระดับเดียวกัน ซึ่งรวมกันมีผลเป็นสถานการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ในสาขานั้น บ่อยครั้งสามารถรู้ได้ว่าอะไรเป็นมติส่วนใหญ่ แต่การบอกบุคคลอื่น ๆ นอกสาขาว่า มีมติส่วนใหญ่ อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะว่า การอภิปรายที่เป็นเรื่องธรรมดาของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ อาจจะปรากฏต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นการต่อสู้กัน บางครั้ง จะมีสถาบันวิทยาศาสตร์ที่พิมพ์คำแถลงการณ์เกี่ยวกับจุดยืน เพื่อที่จะสื่อสารใจความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นหนึ่ง จากบุคคลภายในไปยังกลุ่มบุคคลภายนอก ในกรณีที่ไม่มีข้อโต้เถียงกันมากในประเด็นใต้การศึกษา การถึงมติส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา อาจจะมีการอ้างถึงมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ในการอภิปรายทั่วไปหรือทางการเมือง เกี่ยวกับประเด็นที่ยังเป็นเรื่องโต้เถียงยังไม่ยุติในมวลชน แต่ความจริงไม่ใช่เรื่องที่ยังตกลงกันไม่ได้ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ เช่นประเด็นเรื่องวิวัฒนาการ หรือเรื่องการฉีดวัคซีนรวมแบบ MMR ที่ไม่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ รวมทั้งออทิซึม หรือเรื่องโลกร้อน.

ใหม่!!: เคลดและความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: เคลดและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: เคลดและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประชากร

ประชากร หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน วิชาพลศาสตร์ประชากร ศึกษาโครงสร้างประชากรทั้งในแง่ของขนาด อายุ และเพศ รวมถึงภาวะการตาย พฤติกรรมการสืบพันธุ์ และการเพิ่มของประชากร ประชากรศาสตร์ ศึกษาพลศาสตร์ประชากรของมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาประชากรในด้านสังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ประชากรนั้นต้องถือสัญชาติในรัฐที่ตนอยู่ แตกต่างจากบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐ เช่น คนที่มาเปลี่ยนเที่ยวบินที่ประเทศไทย และ ต้องมีสิทธิพิเศษเหนือประชากรที่มาจากรัฐอื่น หากอยู่ในดินแดนของรัฐนั้น ตามสายโลหิต หรือตามสิทธิที่จะได้รับตามรัฐธรรมนูญ ความหนาแน่นประชากร คือ จำนวนคนหรือสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยพื้นที่ พื้นที่ใดมีความหนาแน่นประชากรสูง แสดงว่ามีจำนวนประชากรมาก หมวดหมู่:สังคม * หมวดหมู่:ประชากร id:Penduduk#Penduduk dunia.

ใหม่!!: เคลดและประชากร · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: เคลดและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

แคลดิสติกส์

แคลดิสติกส์ (Cladistics จากคำกรีก κλάδος, klados, แปลว่า สาขา) เป็นวิธีการจัดหมวดหมู่ทางชีวภาพ ที่จัดสิ่งมีชีวิตตามลักษณะที่มีร่วมกันซึ่งสามารถสาวไปยังบรรพบุรุษร่วมกันล่าสุด (most recent common ancestor) โดยที่บรรพบุรุษก่อนหน้านั้นไม่มี ดังนั้น สมาชิกของกลุ่มจึงสมมุติว่ามีประวัติร่วมกันและมองว่าเป็นญาติที่ใกล้ชิด เทคนิคและการตั้งชื่อของแคลดิสติกส์ยังได้ประยุต์ใช้ในศาสตร์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น วิวัฒนาการของวัฒนธรรมมนุษ.

ใหม่!!: เคลดและแคลดิสติกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

ใหม่!!: เคลดและไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอป

อป หรือ ลิงไม่มีหาง (Ape) เป็นไพรเมตที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ Hominoidea ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 วงศ์ เอป คือ ลิงที่ไม่มีหาง มีแขนที่ยาวกว่าลิงในวงศ์อื่น ๆ มีนิ้วที่ใช้ในการหยิบจับและใช้ประโยชน์คล้ายคลึงกับมนุษย์มากกว่าสัตว์ในอันดับลิงใด ๆ สามารถเดินตัวตรงได้ สันนิษฐานว่าเอปนั้นวิวัฒนาการมาจากลิงโลกเก่า เอปในปัจจุบันมีเพียง 4 จำพวกเท่านั้น พบในทวีปแอฟริกา และเอเชียแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ชิมแปนซี, กอริลลา, อุรังอุตัง และชะนี จากการศึกษาสารพันธุกรรมพบว่า กอริลล่าและชิมแปนซีมีความใกล้ชิดทางสายวิวัฒนาการกับมนุษย์มากกว่าเอปที่พบในทวีปเอเชีย ซึ่งได้แก่ ชะนีและอุรังอุตัง ซึ่งมีจำนวนโครโมโซม 48 อัน ในขณะที่มนุษย์มี 46 อัน โดยเฉพาะชิมแปนซีนั้น มีหมู่โลหิตแบ่งได้เป็น A, B, O เช่นเดียวกับมนุษย์ และจากหลักฐานทางชีววิทยาระดับโมเลกุลพบว่าดีเอ็นเอของมนุษย์มีความคล้ายกันกับชิมแปนซีถึงร้อยละ 98.4 นอกจากนี้แล้วจากหลักฐานดังกล่าวยังทำให้สันนิษฐานได้ว่าบรรพบุรุษของมนุษย์ วิวัฒนาการแยกจากลิงไม่มีหางเมื่อประมาณ 7.5-4 ล้านปีที่ผ่านมา ซึ่งลิงไม่มีหางจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาดมากกว่าสัตว์จำพวกใด ๆ ในโลก.

ใหม่!!: เคลดและเอป · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Clade

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »