โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กิ้งก่าสวน

ดัชนี กิ้งก่าสวน

กิ้งก่าสวน หรือ กิ้งก่าบ้านหัวน้ำเงิน หรือ กิ้งก่าหัวสีฟ้า (Oriental garden lizard, Eastern garden lizard, Changeable lizard) เป็นกิ้งก่าที่อยู่ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ชนิดหนึ่ง มีลักษณะลำตัวปกคลุมด้วยเกล็ดสันชี้มาด้านหลังในลักษณะเฉียงขึ้น มีหนามหลังตา 1 อัน หนามบริเวณเหนือเยื่อหู 2 อัน เยื่อหูปรากฏชัด ด้านหน้าของไหล่มีรอยพับของผิวหนังซึ่งภายในปกคลุมด้วยเกล็ดสีดำ ขนาดของเกล็ดลำตัวเท่ากัน ลำตัวสีเขียวถึงน้ำตาลเทา หัวด้านบนสีน้ำตาล มีแถบดำพาดตั้งแต่บริเวณจมูกมาถึงท้ายทอยเหนือเยื่อหู ริมฝีปากบนสีขาว คางและเหนียงสีเทาดำ หลังมีแถบสีน้ำตาล 6 แถบพาดขวางลำตัว หางมีแถบสีเทาสลับกับดำพาดขวาง พบกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, เนปาล, อินเดีย, มัลดีฟส์, จีนตอนกลางและตอนล่าง, ฮ่องกง, ตลอดจนทั่วทุกภูมิภาคในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ จัดเป็นกิ้งก่าชนิดที่พบได้บ่อยและง่ายที่สุด มีการขยายพันธุ์ที่ง่าย ลูกวัยอ่อนมักอาศัยเลี้ยงตัวเองในพุ่มไม้เตี้ย ตัวเต็มวัยมักอยู่ตามเรือนยอด หรือโคนต้น อาศัยเกาะหากินตามต้นไม้ที่ไม่ใหญ่มากนัก หรือมีลักษณะเป็นพุ่ม พบได้หลากหลายพื้นที่อาศัย เช่น ป่าทุ่งหญ้า, ทุ่งหญ้าน้ำขัง และสวนใกล้บ้าน หรือตามสวนสาธารณะ กินแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร และก็เป็นอาหารของคนในบางพื้นที่ ในต้นปี พ.ศ. 2551 มีข่าวปรากฏว่ามีการค้นพบกิ้งก่าชนิดใหม่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน โดยมีส่วนคอสีม่วงออกแกมน้ำเงิน แท้จริงแล้วเมื่อได้รับการตรวจสอบ พบว่าเป็นกิ้งก่าชนิดนี้นั่นเอง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายในประเทศไท.

21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2551กิ้งก่าวงศ์กิ้งก่าวงศ์ย่อยกิ้งก่าสวนสาธารณะสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ป่าคุ้มครองสัตว์เลื้อยคลานสีดำอันดับกิ้งก่าและงูฮ่องกงประเทศมัลดีฟส์ประเทศอัฟกานิสถานประเทศอินเดียประเทศปากีสถานประเทศเนปาลแมลงเพศชายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน

พ.ศ. 2551

ทธศักราช 2551 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2008 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและพ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่า

กิ้งก่า (Lizard, Iguana, Gecko, Skink; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: จั๊กก่า; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: กะปอม) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อย Lacertilia หรือ Sauria ในอันดับใหญ่ Squamata หรือ อันดับกิ้งก่าและงู โดยสัตว์ในอันดับนี้รวมถึงงูที่อยู่ในอันดับย่อย Serpentes ด้วย เหตุที่จัดอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะมีลักษณะร่วมบางประการมากถึง 70 อย่าง คำว่า "Lacertilia" มาจากภาษาละตินคำว่า "lacerta" ในความหมายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วกิ้งก่ามี 4 ขา มีเกล็ดปกคลุมลำตัว แต่บางสกุลหรือบางชนิดก็ไม่มีขาหรือมีแต่ก็เล็กมากจนสังเกตได้ยาก เช่น จิ้งเหลนด้วง ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) หรือในวงศ์ Amphisbaenidae กิ้งก่าโดยมากแล้วเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินแมลงและสัตว์ขาปล้องเป็นหลัก แต่สำหรับในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วงศ์เหี้ย (Varanidae) จะกินสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย แต่ขณะที่บางชนิด เช่น อีกัวน่าเขียว (Iguana iguana) ที่พบในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ กินพืชและผักเป็นอาหารหลัก กิ้งก่าพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือและทวีปแอนตาร์กติกา แถบขั้วโลกใต้ มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงเกือบ 3 เมตร ในมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ที่หนักได้ถึงเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับย่อยนี้ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 19 วงศ์ ประมาณ 555 สกุล รวมทั้งหมดราว 4,184 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะมีการสำรวจค้นพบชนิดใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี โดยวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด คือ Scincidae ที่มีประมาณ 1,000 ชนิด รองลงไป คือ Gekkonidae หรือ ตุ๊กแกกับจิ้งจก มีประมาณ 900 ชนิด ส่วนในวงศ์ Agamidae ก็มีประมาณเกือบ 500 ชน.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและกิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กิ้งก่า

วงศ์กิ้งก่า (Dragon lizards, Old Wolrd lizards, ชื่อวิทยาศาสตร์: Agamidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อยกิ้งก่า วงศ์หนึ่ง ที่มีจำนวนสมาชิกมากและมีความหลากหลายมาก ประมาณเกือบ 500 ชนิด จนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) มีลักษณะโดยรวม คือ มีขา 4 ข้างเห็นชัดเจน มีเกล็ดปกคลุมด้านหลังและด้านท้องของลำตัว เกล็ดมีขนาดเล็กเรียงตัวซ้อนเหลื่อมกันหรือต่อเนื่องกัน ไม่มีกระดูกในชั้นหนัง กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปตัวอักษรที และกระดูกไหปลาร้ามีรูปร่างโค้ง มีหางยาว แต่โดยทั่วไปน้อยกว่า 1.4 เท่าของความยาวจากปลายจมูกถึงรูก้น ไม่สามารถสะบัดหางให้หลุดจากลำตัวได้ ยกเว้นในสกุล Uromystax พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีตุ่ม ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับพื้นผิวกระดูกโดยตรง กระดูกพเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปเอเชีย, แอฟริกา, ออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ออกลูกเป็นไข่ มีเพียงบางสกุลเท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว สำหรับในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาทิ ตะกอง (Physignathus cocincinus) ซึ่งเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ พบได้ในป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำในป่า เช่น น้ำตก ในภูมิภาคอินโดจีน, กิ้งก่าบินคอแดง (Draco blanfordii), กิ้งก่าสวน (Calotes mystaceus), หรือ แย้เส้น (Leiolepis belliana) ที่พบได้ทั่วไปตามพื้นดินภาคอีสาน.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและวงศ์กิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยกิ้งก่า

วงศ์ย่อยกิ้งก่า (Agamid lizards, Old world arboreal lizards; ชื่อวิทยาศาสตร์: Agaminae) เป็นวงศ์ย่อยของกิ้งก่าในวงศ์ Agamidae เป็นวงศ์ย่อยที่มีจำนวนสมาชิกหลากหลายที่สุดของวงศ์นี้ มีประมาณ 52 สกุล 421 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีช่องเปิดบริเวณแอ่งเบ้าตาใหญ่ และมีช่องเปิดบริเวณกล่องหูใหญ่ มีความยาวของลำตัวแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตรจนถึง 1.1 เมตร บางชนิดก็มีส่วนหางที่ยาวมาก รูปร่างมีแตกต่างกันตั้งแต่อ้วนป้อมและขาสั้นในสกุล Moloch และเรียวยาวและขายาวในสกุล Sitana เกล็ดปกคลุมลำตัวในหลายชนิดเปลี่ยนสภาพเป็นโครงสร้างอื่น เช่น กิ้งก่าแผงคอ (Chlamydosaurus kingii) ที่เป็นแผงคอที่สามารถกางแผ่ออกได้เมื่อตกใจหรือขู่ศัตรูให้กลัว หรือเป็นหนามในสกุล Moloch และ Acanthosaura โครงสร้างเหล่านี้เป็นลักษณะแตกต่างระหว่างเพศของหลายชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นดินหรือบนต้นไม้หรือแม้แต่ใช้ชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำ อย่าง ตะกอง (Physignathus cocincinus) ที่มีพฤติกรรมอาศัยในป่าดิบชื้นที่ใกล้แหล่งน้ำในป่า เช่น ลำธารหรือน้ำตก ว่ายน้ำเก่งมาก แต่ไม่มีชนิดใดที่อาศัยอยู่ในโพรงดิน ในสกุล Draco ที่พบในป่าดิบในแหลมมลายู ที่มีแผ่นหนังข้างลำตัวกางออกเพื่อร่อนได้ในอากาศ ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางวัน และเปลี่ยนอุณหภูมิในร่างกายให้อบอุ่นขึ้นด้วยการนอนผึ่งแดด บางสกุล เช่น Agama มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นสังคม และมีการจัดลำดับในสังคมด้วย กินอาหารโดยเฉพาะสัตว์ขาปล้องเป็นอาหาร โดยรอให้เหยื่อเข้ามาหาเอง ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในโพรงดินหรือทราย แต่ในสกุล Phrynocephalus ตกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและวงศ์ย่อยกิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

สวนสาธารณะ

วนลุมพินี สวนสาธารณะใจกลางกรุงเทพมหานคร สวนสาธารณะ หมายถึงบริเวณสาธารณะที่ภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จัดให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนตามชุมชนและเมืองต่างๆ โดยรัฐเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดูแลรักษา ปัจจุบัน การจัดที่พักผ่อนหย่อนใจถือเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่สวนสาธารณะในความหมายนี้ อาจจัดสร้างโดยเอกชนแล้วอุทิศให้แก่ประชาชนก็ได้.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและสวนสาธารณะ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ป่าคุ้มครอง

ัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ตามบัญชีแนบท้าย กฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง..

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกิ้งก่าและงู

อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและอันดับกิ้งก่าและงู · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมัลดีฟส์

มัลดีฟส์ (Maldives; ދިވެހިރާއްޖެ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมัลดีฟส์ (Republic of Maldives; ހިވެދި ގުޖޭއްރާ ޔާއްރިހޫމްޖު) เป็นประเทศที่มีพื้นที่ประกอบด้วยหมู่เกาะปะการังจำนวนมากในมหาสมุทรอินเดีย และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียและประเทศศรีลังก.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและประเทศมัลดีฟส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน

ตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน ตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อวันที่ 28 กันยายน..

ใหม่!!: กิ้งก่าสวนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Calotes mystaceusCalotes versicolorกะปอมกิ้งก่าหัวสีฟ้ากิ้งก่าบ้านหัวน้ำเงิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »