โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทดสอบด้วยความเย็นร้อน

ดัชนี การทดสอบด้วยความเย็นร้อน

ในการแพทย์ การทดสอบด้วยความเย็นร้อน (at, caloric testing, caloric stimulation, Caloric reflex test) เป็นการทดสอบระบบการทรงตัว/หลอดกึ่งวงกลม/ก้านสมอง/สมองใหญ่/vestibulo-ocular reflex และสามารถใช้ช่วยวินิจฉัยเนื้องอกเส้นประสาทแบบ vestibular schwannoma (acoustic neuroma) โดยใส่น้ำเย็นหรืออุ่น หรือเป่าลมเย็นหรืออุ่น เข้าที่ช่องหูภายนอกทีละข้าง เป็นการทดสอบที่พัฒนาขึ้นโดยแพทย์โสตวิทยาชาวออสโตร-ฮังการี Robert Bárány ผู้ต่อมาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ปี..

26 ความสัมพันธ์: พยากรณ์โรคกลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่การวินิจฉัยทางการแพทย์ก้านสมองภาวะละเลยกึ่งปริภูมิภาวะเสียสำนึกความพิการมิลลิลิตรรอยโรคระบบการทรงตัวระบบประสาทกลางรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์สมองใหญ่หลอดกึ่งวงกลมหูหูชั้นในอัมพาตอาการรู้สึกหมุนองศาเซลเซียสความเชื่อถือได้ความเจ็บปวดคอประสาทสมองนักโสตสัมผัสวิทยาแพทยศาสตร์แพทย์โคม่า

พยากรณ์โรค

พยากรณ์โรค (prognosis) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงการอธิบายผลที่น่าจะเกิดขึ้นของโรค มีความแม่นยำมากเมื่อใช้กับประชากรขนาดใหญ่ เช่นอาจกล่าวว่า "ผู้ป่วยช็อคเหตุติดเชื้อ 45% จะเสียชีวิตใน 28 วัน" ได้โดยมั่นใจ เพราะงานวิจัยได้ศึกษามาแล้วว่าผู้ป่วยจำนวนเท่านี้เสียชีวิตจริง อย่างไรก็ดีเป็นการยากกว่ามากที่จะนำพยากรณ์โรคเช่นนี้มาใช้กับผู้ป่วยคนหนึ่งๆ โดยยังต้องการข้อมูลอื่นๆ อีกมาก เพื่อจะหาว่าผู้ป่วยรายนี้อยู่ในกลุ่ม 45% ที่จะเสียชีวิต หรือ 55% ที่จะรอดชีวิต พยากรณ์โรคที่สมบูรณ์นั้นควรประกอบไปด้วยเวลา ความสามารถในการประกอบกิจวัตร และรายละเอียดของการดำเนินโรค เช่น แย่ลงเรื่อยๆ มีอาการรุุนแรงเป็นครั้งๆ หรือมีอาการรุนแรงเฉียบพลันไม่สามารถพยากรณ์ได้ เป็นต้น หมวดหมู่:อภิธานศัพท์แพทย์.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและพยากรณ์โรค · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่

กลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่ (phantom limb syndrome) คืออาการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าอวัยวะที่ขาดหายไปหรือถูกตัดไปนั้นยังคงติดอยู่กับร่างกาย และเคลื่อนไหวสอดคล้องกับอวัยวะอื่น ๆ ผู้รับการตัดอวัยวะ 60-80% ยังมีความรู้สึกของอวัยวะที่ถูกตัดไปอยู่ ความรู้สึกนี้ส่วนใหญ่เป็นความรู้สึกเจ็บปวด ความรู้สึกหลงผิดว่าอวัยวะยังคงอยู่นี้อาจเกิดกับอวัยวะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แขนขาก็ได้ เช่น เต้านม ฟัน ตา เป็นต้น แขนขาที่ถูกตัดไปนั้นมักถูกรู้สึกว่าสั้นลงกว่าปกติ อยู่ในท่าทางที่ผิดรูปและเจ็บปวด ส่วนใหญ่อาการเจ็บปวดนี้มักเป็นมากขึ้นเมื่อมีความเครียด ความกังวล หรืออากาศเปลี่ยนแปลง อาการเจ็บปวดมักเป็น ๆ หาย ๆ และมีความถี่และความรุนแรงลดลงเมื่อเวลาผ่านไป.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและกลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่ · ดูเพิ่มเติม »

การวินิจฉัยทางการแพทย์

การวินิจฉัยทางการแพทย์เป็นวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งสาเหตุซึ่งเป็นโรคหรือความผิดปกติ รวมถึงความเห็นอันได้มาจากกระบวนการนั้น เกณฑ์การวินิจฉัยหมายถึงผลรวมระหว่างอาการ อาการแสดง และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แพทย์ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำวินิจฉัยที่ถูกต้อง.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและการวินิจฉัยทางการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

ก้านสมอง

ก้านสมอง (Brainstem) เป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังและล่างของสมอง เชื่อมระหว่าง สมองใหญ่ กับ ไขสันหลัง ประกอบด้วย เมดดูล่าออปลองกาต้า พอนส์ และมิดเบรน ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์นิวเคลียสของเส้นประสาทสมอง หมวดหมู่:ประสาทสรีรวิทยา หมวดหมู่:ก้านสมอง หมวดหมู่:สมอง.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและก้านสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ

วะละเลยกึ่งปริภูมิ หรือ ภาวะละเลยข้างเดียว (Hemispatial neglect หรือ hemiagnosia หรือ hemineglect หรือ unilateral neglect หรือ spatial neglect หรือ unilateral visual inattentionUnsworth, C. A. (2007). Cognitive and Perceptual Dysfunction. In T. J. Schmitz & S. B. O’Sullivan (Eds.), Physical Rehabilitation (pp. 1149-1185). Philadelphia, F.A: Davis Company. หรือ hemi-inattention หรือ neglect syndrome) เป็นภาวะทางประสาทจิตวิทยาที่เมื่อมีความเสียหายต่อซีกสมองด้านหนึ่ง ความบกพร่องในการใส่ใจ (attention) และการรู้สึกตัว (awareness) ในปริภูมิด้านหนึ่งของกายก็เกิดขึ้น ภาวะนี้กำหนดโดยความไม่สามารถที่จะประมวลผลและรับรู้ตัวกระตุ้นทางด้านหนึ่งของกายหรือสิ่งแวดล้อม ที่ไม่ได้มีเหตุมาจากความบกพร่องทางความรู้สึก ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิโดยมากมีผลในกายด้านตรงข้ามกับซีกสมองที่เกิดความเสียหาย (คือมีรอยโรค) แต่ว่า กรณีที่มีผลในด้านเดียวกันกับรอยโรคในสมองก็มีอยู่เหมือนกัน.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียสำนึกความพิการ

วะเสียสำนึกความพิการ (Anosognosia) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีความพิการหรือบกพร่องแต่ไม่รับรู้หรือปฏิเสธความบกพร่องของตนเอง ภาวะนี้พบได้แม้กระทั่งในผู้พิการสายตาหรืออัมพาต ผู้ที่ตั้งชื่อโรคนี้เป็นคนแรกคือนักประสาทวิทยาชื่อ โจเซฟ บาบินสกี (Joseph Babinski) ในปี..

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและภาวะเสียสำนึกความพิการ · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิลิตร

มิลลิลิตร เป็นหน่วยวัดปริมาตร มีขนาดเท่ากับ 0.001 ลิตร 1 มิลลิลิตร มีค่าเท่ากั.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและมิลลิลิตร · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและรอยโรค · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการทรงตัว

ห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) ของหูด้านขวา ประกอบด้วย '''คอเคลีย''' (cochlea) เป็นอวัยวะปลายประสาทของระบบการได้ยิน ส่วนอวัยวะรับความรู้สึกของระบบการทรงตัวรวมทั้ง '''หลอดกึ่งวงกลม''' (semicircular ducts) ซึ่งทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหวแบบหมุน (คือความเร่งเชิงมุม) '''saccule''' และ '''utricle''' ทำหน้าที่รับรู้ความเร่งเชิงเส้น คอเคลียและ vestibular system ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก ระบบการทรงตัว (vestibular system) เป็นระบบรับความรู้สึกที่ให้ข้อมูลสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการกำหนดรู้การทรงตัว (equilibrioception หรือ sense of balance) และการรู้ทิศทางของร่างกายภายในปริภูมิ (spatial orientation) ระบบการทรงตัวพร้อมกับคอเคลียซึ่งเป็นส่วนของระบบการได้ยิน เป็นส่วนประกอบของห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายมีทั้งแบบหมุนและแบบเลื่อน ระบบการทรงตัวจึงมีส่วนประกอบสองอย่างเหมือนกัน คือ ระบบหลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal) ซึ่งบอกการเคลื่อนไหวแบบหมุน และระบบ otoliths ซึ่งบอกความเร่งในแนวเส้น ระบบการทรงตัวโดยหลักจะส่งข้อมูลไปยังโครงสร้างประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา เช่นการเคลื่อนไหวแบบ vestibulo-ocular reflex ซึ่งจำเป็นในการเห็นที่ชัดเจน และไปยังกล้ามเนื้อที่ทำให้สามารถทรงตัวไว้ได้ ระบบการทรงตัวมีบทบาทในเรื่อง.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและระบบการทรงตัว · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Nobelpriset i fysiologi eller medicin, Nobel Prize in Physiology or Medicine) จัดโดยมูลนิธิโนเบล มีการมอบทุกปีให้แก่การค้นพบที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตและแพทยศาสตร์ รางวัลโนเบลสาขาดังกล่าวเป็นหนึ่งในห้าสาขา ริเริ่มในปี..

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมองใหญ่

ทเลนเซฟาลอน (Telencephalon) เป็นส่วนของสมองส่วนหน้า เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ของสมองซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือ สมองใหญ่ ในทางเทคนิค เทเลนเซฟาลอนหมายถึงซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemispheres) และโครงสร้างเล็กๆ อื่นๆ ภายในสมอง สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดในการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอ เจริญมาจากโปรเซนเซฟาลอน.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและสมองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดกึ่งวงกลม

หลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal, semicircular duct) เป็นท่อกึ่งวงกลม 3 ท่อที่เชื่อมต่อกันภายในหูชั้นในแต่ละข้าง คือ.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและหลอดกึ่งวงกลม · ดูเพิ่มเติม »

หู

หู เป็นอวัยวะของสัตว์ที่ใช้การดักคลื่นเสียง เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทการได้ยิน สัตว์แต่ละประเภทจะมีตำแหน่งหูที่แตกต่างกันออกไป.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและหู · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นใน

หูชั้นใน หูชั้นใน (inner ear, internal ear, auris interna) เป็นหูชั้นในสุดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีหน้าที่ตรวจจับเสียงและการทรงตัว ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มันจะประกอบด้วยกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) ซึ่งเป็นช่อง ๆ หนึ่งในกระดูกขมับของกะโหลกศีรษะ เป็นระบบท่อที่มีส่วนสำคัญสองส่วน คือ.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและหูชั้นใน · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาต

อัมพาต คือ อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาเป็นต้นตายไปกระดิกไม่ได้ ตรงกันข้ามกับอัมพฤกษ์ที่อวัยวะร่างกายเพียงอ่อนแรง.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและอัมพาต · ดูเพิ่มเติม »

อาการรู้สึกหมุน

อาการรู้สึกหมุน (vertigo) เป็นอาการเวียนศีรษะแบบหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวทั้งที่จริงๆ แล้วไม่มีการเคลื่อนไหว อาการนี้เป็นผลจากความผิดปกติของระบบควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน อาจพบร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ยืนหรือเดินลำบากได้ อาการรู้สึกหมุนนี้อาจแบ่งได้เป็นสามแบบ คือ แบบที่ 1 objective คือผู้ป่วยรู้สึกว่าวัตถุต่างๆ หมุนรอบตัวเอง แบบที่ 2 subjective คือผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองกำลังมีอาการเคลื่อนไหว และแบบที่ 3 pseudovertigo (อาการรู้สึกหมุนเทียม) คือรู้สึกว่ามีการหมุนอยู่ข้างในศีรษะ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการรู้สึกหมุนคืออาการหมุนเป็นระยะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าชนิดไม่ร้าย การกระทบกระเทือนที่ศีรษะ และไมเกรนของระบบควบคุมการทรงตัว สาเหตุอื่นๆ ที่พบไม่บ่อยเท่าเช่นโรคเมนิแยร์ และเส้นประสาทควบคุมการทรงตัวอักเสบ เป็นต้น การดื่มสุราก็สามารถทำให้มีอาการรู้สึกหมุนได้ การหมุนตัวหลายๆ รอบ เช่นการละเล่นของเด็ก ก็สามารถทำให้เกิดอาการรู้สึกหมุนชั่วคราวได้จากการที่ของเหลวในหูชั้นในยังคงมีการเคลื่อนไหว ("กระฉอก") จากแรงเฉื่อยจากการหมุนได้.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและอาการรู้สึกหมุน · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อถือได้

ในการวัดทางสถิติและทางจิตวิทยา คำว่า ความเชื่อถือได้ (Reliability) เป็นความคงเส้นคงวาโดยทั่วไปของวิธีการวัด/การทดสอบอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเชื่อถือได้ ถ้าให้ผลคล้าย ๆ กันภายใต้สถานการณ์ที่ตรงกัน หรือว่า "เป็นลักษณะของเซ็ตค่าวัด/ค่าทดสอบเซ็ตหนึ่ง ที่สัมพันธ์กับความคลาดเคลื่อนโดยสุ่มเนื่องจากวิธีการวัด เป็นความคลาดเคลื่อนที่อาจรวมอยู่ในค่าวัด ค่าวัดที่เชื่อถือได้สูงจะแม่นยำ ทำซ้ำได้ และคงเส้นคงวาจากการวัดครั้งหนึ่งเทียบกับอีกครั้งหนึ่ง นั่นก็คือ ถ้าวิธีการทดสอบอย่างเดียวกันใช้ซ้ำกับกลุ่มทดสอบ ก็จะได้ผลโดยหลักเหมือนกัน สัมประสิทธิ์ความน่าเชื่อถือที่มีค่าต่าง ๆ ตั้งแต่ 0.00 (ผิดพลาดมาก) จนถึง 1.00 (ไม่มีความผิดพลาด) ปกติจะใช้บ่งค่าผิดพลาดที่มีในค่าวัด" ยกตัวอย่างเช่น ค่าวัดน้ำหนักและความสูงของคนบ่อยครั้งเชื่อถือได้ดีมาก หมวดหมู่:การวัดทางจิตวิทยา หมวดหมู่:การทดสอบทางจิตวิทยา หมวดหมู่:สาขาของจิตวิทยา หมวดหมู่:คุณภาพชีวิต หมวดหมู่:การวิจัยตลาด หมวดหมู่:การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ หมวดหมู่:สถิติศาสตร์ หมวดหมู่:จิตวิทยา en:Reliability.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและความเชื่อถือได้ · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บปวด

วามเจ็บปวด (Pain) เป็นความทุกข์ทางกายที่เกิดเพราะสิ่งเร้าที่รุนแรงหรืออันตราย แต่เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ที่เป็นอัตวิสัย การนิยามมันจึงเป็นเรื่องยาก องค์การมาตรฐานสากล International Association for the Study of Pain (IASP) ได้กำหนดนิยามที่ใช้อย่างกว้างขวางว่า "ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น" Derived from ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ความเจ็บปวดพิจารณาว่าเป็นอาการของโรคที่เป็นเหตุ ความเจ็บปวดปกติจะจูงใจให้บุคคลถอยตัวออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เสียหาย ให้ปกป้องรักษาอวัยวะที่บาดเจ็บเมื่อกำลังหาย และให้หลีกเลี่ยงประสบการณ์คล้าย ๆ กันในอนาคต ความเจ็บปวดโดยมากจะหายไปเองเมื่อหมดสิ่งเร้าอันตรายและเมื่อแผล/การบาดเจ็บหายดี แต่ก็อาจคงยืนต่อไปได้ ความเจ็บปวดบางอย่างสามารถเกิดแม้เมื่อไม่มีสิ่งเร้าอันตราย ไม่มีความเสียหาย และไม่มีโรค ในประเทศพัฒนาแล้ว ความเจ็บปวดเป็นเหตุสามัญที่สุดให้คนไข้หาหมอ มันเป็นอาการสามัญที่สุดในโรคต่าง ๆ และสามารถบั่นทอนคุณภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตของคนไข้ ยาแก้ปวดธรรมดา ๆ ใช้ได้ในกรณี 20-70% ปัจจัยทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งการได้ความช่วยเหลือจากสังคม การสะกดจิต ความตื่นเต้น หรือเครื่องล่อความสนใจต่าง ๆ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความทุกข์เนื่องจากความเจ็บปว.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

คอ

อ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีรยางค์หลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยกศีรษะออกจากลำตัว.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและคอ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสมอง

้นประสาทสมอง ประสาทสมอง (cranial nerve หรือ cerebral nerve) เป็นเส้นประสาทที่เกิดจากสมองและก้านสมองโดยตรง ตรงข้ามกับประสาทไขสันหลังซึ่งเกิดจากไขสันหลังหลายปล้อง ประสาทสมองเป็นทางเชื่อมของสารสนเทศระหว่างสมองและหลายบริเวณ ส่วนใหญ่คือศีรษะและคอ ประสาทไขสันหลังลงไปถึงกระดูกสันหลังส่วนคอที่หนึ่ง และประสาทสมองบทบาทสัมพันธ์กันเหนือระดับนี้ ประสาทสมองมีเป็นคู่และอยู่ทั้งสองข้าง ประสาทสมองในมนุษย์มีสิบสองหรือสิบสามเส้นแล้วแต่แหล่งที่มา ซึ่งกำหนดชื่อด้วยตัวเลขโรมัน I–XII และมีการกำหนดเลขศูนย์ให้ประสาทสมองเส้นที่ 0 (หรือประสาทปลาย) ตามลำดับที่มีจุดกำเนิดจากสมองส่วนหน้าไปถึงด้านหลังของสมองและก้านสมอง ประสาทปลาย ประสาทรับกลิ่น (I) และประสาทตา (II) กำเนิดจากสมองใหญ่หรือสมองส่วนหน้า ส่วนอีกสิบคู่ที่เหลือกำเนิดจากก้านสมอง ประสาทสมองเป็นองค์ประกอบของระบบประสาทนอกส่วนกลาง โดยยกเว้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (ประสาทตา) ซึ่งมิใช่ประสาทส่วนปลายแท้จริงแต่เป็นลำเส้นใยประสาทของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เชื่อมจอตากับนิวเคลียสงอคล้ายเข่าข้าง (lateral geniculate nucleus) ฉะนั้น ทั้งประสาทตาและจอตาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง แกนประสาทนำออกของประสาทอีกสิบสองเส้นที่เหลือทอดออกจากสมองและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทนอกส่วนกลาง ปมประสาทกลางของประสาทสมองหรือนิวเคลียสประสาทสมองกำเนิดในระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากในก้านสมอง.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและประสาทสมอง · ดูเพิ่มเติม »

นักโสตสัมผัสวิทยา

นักโสตสัมผัสวิทยา (Audiologist) มีหน้าที่ทดสอบการได้ยินและหาสาเหตุของความผิดปรกติในการฟัง รับผิดชอบการบริหารจัดการและการบำบัดการสูญเสีย การได้ยินและความผิดปรกติในการสื่อสารอื่นๆ โดยไม่ใช้.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและนักโสตสัมผัสวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์

แพทย์ (physician, doctor) หรือภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบท อาจเรียกแพทย์ว่า "หมอใหญ่" เพื่อกันสับสนกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทางด้านสาธารณสุข แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่น.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

โคม่า

ม่า (Coma) คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวมากกว่า 6 ชั่วโมง โดยความไม่รู้สึกตัวนี้คือ ปลุกไม่ตื่น กระตุ้นด้วยความรู้สึกเจ็บ แสง เสียง แล้วไม่ตอบสนอง ไม่มีวงจรหลับ-ตื่น ตามปกติ และไม่มีการเคลื่อนไหวที่มาจากความตั้งใจ ในทางการแพทย์จะถือว่ามีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างโคม่าที่เกิดขึ้นเองหรือเป็นจากตัวโรค กับโคม่าจากการใช้ยา (induced coma) โดยแบบแรกเกิดขึ้นจากสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมทางการแพทย์ ส่วนแบบหลังเป็นความตั้งใจทางการแพทย์ เช่นอาจทำเพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟูเองในสภาวะดังกล่าว ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่าจะไม่มีความตื่นโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถมีสติรับรู้ความรู้สึก ไม่สามารถพูด หรือได้ยิน หรือเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วการที่คนคนหนึ่งจะมีสติรับรู้ได้ จะต้องมีการทำงานที่เป็นปกติของสมองส่วนสำคัญสองส่วน ได้แก่ เปลือกสมอง และก้านสมองส่วนเรติคูลาร์แอคทิเวติงซิสเต็ม (RAS) ความเสียหายต่อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนข้างต้นจะทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโคม่าได้ เปลือกสมองเป็นส่วนของเนื้อเทาที่มีนิวเคลียสของเซลล์ประสาทรวมกันอยู่หนาแน่น มีหน้าที่ทำให้เกิดการรับรู้ นำสัญญาณประสาทสัมผัสส่งไปยังเส้นทางทาลามัส และกระบวนการอื่นๆ ของสมอง รวมถึงการคิดแบบซับซ้อน ส่วน RAS เป็นโครงสร้างที่ดั้งเดิมกว่า อยู่ในก้านสมอง ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือเรติคูลาร์ฟอร์เมชัน (RF) บริเวณ RAS ของสมองมีทางประสาทที่สำคัญอยู่สองทาง คือทางขาขึ้นและทางขาลง ประกอบขึ้นมาจากเซลล์ประสาทชนิดที่สร้างอะเซติลโคลีน ทางขาขึ้น หรือ ARAS ทำหน้าที่กระตุ้นและคงความตื่นของสมอง ส่งผ่าน TF ไปยังทาลามัส และไปถึงเปลือกสมองเป็นปลายทาง หาก ARAS ทำงานไม่ได้จะทำให้เกิดโคม่า คำว่าโคม่านี้มาจากภาษากรีก κῶμα แปลว่า การหลับลึก ผู้ป่วยที่อยู่ในอาการโคม่าจะยังถือว่ามีชีวิต เพียงแต่จะสูญเสียความสามารถที่จะตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมตามปกติไป สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลังการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ นอกจากนั้นก็อาจเป็นผลต่อเนื่องจากโรคอื่นได้ เช่น การติดเชื้อในสมอง เลือดออกในสมอง ไตวายขั้นรุนแรง น้ำตาลในเลือดต่ำ สมองขาดออกซิเจน เป็นต้น.

ใหม่!!: การทดสอบด้วยความเย็นร้อนและโคม่า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

COWS caloric testCaloric reflex testCaloric stimulationCaloric testCaloric testingVestibular caloric stimulationการทดสอบรีเฟล็กซ์ด้วยความเย็นร้อน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »