โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แคลเซียมซัลเฟต

ดัชนี แคลเซียมซัลเฟต

แคลเซียมซัลเฟต (calcium sulfate) เป็นสารเคมีที่ใช้ในห้องทดลองและงานอุตสาหกรรม ในรูปแอนไฮดรัสเป็นของแข็งใช้เป็นตัวดูดความชื้น (desiccant) ในห้องทดลอง โดยมีชื่อเรียกว่า ดรายเออไรต์® เฮมิไฮเดรต รู้จักกันดีในชื่อของ ปลาสเตอร์ออฟปารีส, ขณะที่ ไดไฮเดรต เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีชื่อว่ายิปซัม.

3 ความสัมพันธ์: ยิปซัมสตรอนเชียมซัลเฟตแมกนีเซียมซัลเฟต

ยิปซัม

ปซัม (Gypsum) (CaSO4·2H2O) หรือเรียกว่าเกลือจืด เป็นแร่อโลหะที่มีความเปราะมากมีสีขาว ไม่มีสีหรือสีเทา มักมีสีเหลือง แดง หรือน้ำตาล เป็นมลทินปนอยู่ มีความวาวคล้ายแก้ว มุก หรือไหม ความแข็ง 2 ความถ่วงจำเพาะ 2.7 เนื้อแร่โปร่งใสจนกระทั่งโปร่งแสง อาจเรียกชื่อต่างกันออกไปตามลักษณะของเนื้อแร่ คือ ชนิดซาตินสปาร์ (satinspar) เป็นแร่ยิปซัมลักษณะที่เป็นเนื้อเสี้ยน มีความวาวคล้ายไหม ชนิดอะลาบาสเทอร์ (alabaster) มีเนื้อเป็นมวลเม็ดอัดกันแน่น และชนิดซีลีไนต์ (selenite) ใสไม่มีสี เนื้อแร่เป็นแผ่นบางโปร่งใส เกิดจากแร่ที่ตกตะกอนในแอ่งที่มีการระเหยของน้ำสูงมากและต่อเนื่อง ทำให้น้ำส่วนที่เหลือมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “อีแวพอไรต์ (evaporites) ” จะสามารถตกตะกอนออกมาตามลำดับความสามารถในการละลาย (solubility) ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากพวกคาร์บอเนต (carbonates) ซัลเฟต (sulphates) และเฮไลด์ (halides) การกำเนิด แร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดเล็กๆ สมานแน่น เรียกว่า “อะลาบาสเตอร์ (alabaster) ” ซึ่งมิได้เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันในสภาพการณ์ปฐมภูมิจากการระเหยของน้ำ แต่เกิดจากการเติมน้ำ (rehydration) ให้กับช่วงบนสุดของมวลแอนไฮไดรต์ จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ชนิดแร่ ยิปซัมในประเทศไทยมีประวัติที่ค่อนข้างซับซ้อน และการศึกษาธรณีวิทยาแหล่งแร่พบว่า เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงชนิดแร่ไปมา ระหว่างยิปซัมกับแอนไฮไดรต์ (CaSO4) หลายครั้ง (Utha-aroon and Ratanajarurak, 1996) ก่อนจะมีสภาพเช่นในปัจจุบัน.

ใหม่!!: แคลเซียมซัลเฟตและยิปซัม · ดูเพิ่มเติม »

สตรอนเชียมซัลเฟต

ตรอนเชียมซัลเฟต (Strontium sulfate) เป็นเกลือซัลเฟตของสตรอนเชียม มันเป็นผงผลึกสีขาวและเกิดขึ้นในธรรมชาติเป็นแร่เซเลสไทน์ และเป็นคุณภาพที่ละลายน้ำได้ในน้ำที่มีขอบเขตของ1 ส่วนใน 8,800 มันเป็นที่ละลายน้ำได้ในเจือจางกรดไฮโดรคลอริก และกรดไนตริกและประเมินค่าละลายน้ำได้ในการแก้ไขปัญหาคลอไรด์ด่าง (เช่น โซเดียมคลอไรด์).

ใหม่!!: แคลเซียมซัลเฟตและสตรอนเชียมซัลเฟต · ดูเพิ่มเติม »

แมกนีเซียมซัลเฟต

แมกนีเซียมซัลเฟต (อังกฤษ: magnesium sulfate) เป็นสารประกอบเคมีของแมกนีเซียม มีสูตรเคมีคือ MgSO4 มักอยู่ในรูปของเฮปต้า ไฮเดรต เริ่มแรกโดยการเคี่ยวน้ำแร่ (mineral water) จนงวดและแห้งที่เมืองยิปซัม (Epsom) ประเทศอังกฤษ และต่อมาภายหลังเตรียมได้จากน้ำทะเลและพบในแร่หลายชนิด เช่น ซิลิซีอัสไฮเดรตออฟแมกนีเซียม (siliceous hydrate of magnesia) แมกนีเซียมซัลเฟตในรูปมีน้ำ 7 โมเลกุลเรียกดีเกลือฝรั่งได้มาจากการทำนาเกลือโดยจะตกผลึกปนมากับดีเกลือไทย ในตำรับยาโบราณใช้เป็นยาถ่าย ยาขับน้ำดี และใช้แก้พิษตะกั่ว.

ใหม่!!: แคลเซียมซัลเฟตและแมกนีเซียมซัลเฟต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CaSO4Calcium sulfateCalcium sulphateแคลเซียม ซัลเฟต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »