โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาขี้ตัง

ดัชนี ปลาขี้ตัง

ปลาขี้ตัง หรือ ปลาตะกรับ (Scats) เป็นปลาน้ำเค็มสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะกรับ (Scatophagidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Scatophagus (/สะ-แคท-โท-ฟา-กัส/) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) คือ รูปร่างกลมและแบนข้างมาก แต่จะงอยปากไม่ยื่นยาว ปากเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งแหลมคม รวมถึงก้านครีบก้น ซึ่งก้านครีบดังกล่าวมีสารพิษ ที่อาจตำหรือแทงถูกมือของผู้ที่จับต้องได้ แต่ทว่าก็ก่อให้เกิดพิษน้อยมาก จำแนกออกได้เป็น 2 ชน.

12 ความสัมพันธ์: การสูญพันธุ์วงศ์ปลาผีเสื้อวงศ์ปลาตะกรับสมัยอีโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดอันดับปลากะพงคาโรลัส ลินเนียสปลาที่มีก้านครีบปลาตะกรับ

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาผีเสื้อ

วงศ์ปลาผีเสื้อ (วงศ์: Chaetodontidae, Butterflyfish, Bannerfish, Coralfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในชั้นปลากระดูกแข็ง อันดับปลากะพง (Perciformes) ประกอบไปด้วยสมาชิกแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 10 สกุล พบประมาณ 114 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง มีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไว มีสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม มีพฤติกรรมอาศัยเป็นฝูงหรือเป็นคู่ในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค เป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาศัยการแทะกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตามแนวปะการัง ส่วนในเวลากลางคืนจะอาศัยหลับนอนตามโพรงหินหรือปะการัง และจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู ซึ่งในหลายชนิดและบางสกุล จะมีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่คล้ายดวงตาอยู่บริเวณท้ายลำตัวเพื่อล่อหลอกให้ศัตรูสับสนได้อีกด้วยคล้ายกับผีเสื้อที่เป็นแมลง มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับปลาในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด ด้วยความสวยงามและรูปร่างที่น่ารัก จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในบางชนิดสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ หลายชนิดเลี้ยงได้ไม่ยากนัก ขณะที่บางชนิดที่เลี้ยงได้ยาก สำหรับในน่านน้ำไทยพบปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus), ปลาผีเสื้อทอง (Chaetodon semilarvatus), ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Forcipiger flavissimus), ปลาโนรีเกล็ด (Heniochus diphreutes) เป็นต้น โดยจะพบในด้านทะเลอันดามันมากกว่าอ่าวไทย ซึ่งปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนั้น ในอดีตเมื่อเริ่มมีการอนุกรมวิธาน ด้วยลักษณะปากที่ยื่นยาวทำให้มีความเข้าใจผิดว่า สามารถพ่นน้ำจับแมลงได้เหมือนเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด โดยความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1764 เมื่อมีการส่งตัวอย่างปลาในยังกรุงลอนดอนเพื่อลงรูปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ปรากฏเป็นภาพของปลาผีเสื้อนกกระจิบ และถูกบรรยายว่าสามารถพ่นน้ำจับแมลงกินเป็นอาหารได้ จึงถูกกล่าวอ้างต่อมาอย่างผิด ๆ อีกนาน.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังและวงศ์ปลาผีเสื้อ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะกรับ

วงศ์ปลาตะกรับ (Scat, Butterfish, Spadefish) เป็นวงศ์ปลาน้ำเค็มในอันดับ Perciformes ใช้ชื่อวงศ์ว่า Scatophagidae (/สแคท-โต-ฟา-กิ-ดี้/) มีรูปร่างทั่วไปแบนข้างมาก เกล็ดละเอียดเป็นแบบสากมือ และติดแน่นกับลำตัว ครีบหลังตอนแรกเป็นครีบแข็ง ครีบหลังตอนหลังจะอ่อนนุ่ม ก้านครีบหลังก้านแรกเป็นครีบแข็งและชี้ไปด้านหน้า ครีบหางตัดตรงและมีก้านครีบจำนวนมาก ตามลำตัวจะมีจุดสีดำหรือลวดลายกระจายไปทั่วต่างกันไปตามสกุลและสายพันธุ์ มีฟันที่เพดานปากและขากรรไกร ไม่มีหนามบนกระดูกโอเปอร์คัลและกระดูกพรีโอเปอร์คัล มีเส้นข้างลำตัวโค้งและสมบูรณ์ เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลเขตอบอุ่น พบตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, ทะเลแดง, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ซูลาเวซี, อินโดนีเซีย ตลอดจนถึงโซนโอเชียเนีย พบในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว คือ ปลาตะกรับ (Scatophagus argus) โดยปกติแล้วปลาในวงศ์นี้จะสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้ แต่จะวางไข่ในที่น้ำเค็มแบบน้ำทะเล มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีทั้งหมด 4 ชนิด ใน 2 สกุล ซึ่งทั้งหมดนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม หรือตกเป็นเกมกีฬาและรับประทานเป็นอาหารในบางประเทศ โดยแบ่งออกเป็น สกุล Scatophagus.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังและวงศ์ปลาตะกรับ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังและสมัยอีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาขี้ตังและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ด

อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ด หรือ อันดับย่อยปลาขี้ตัง (Surgeonfish) อันดับย่อยของปลาทะเลกระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acanthuroidei ปลาในอันดับย่อยนี้ ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ปลาขี้ตังเบ็ด, ปลาขี้ตัง, ปลาค้างคาว เป็นต้น บางชนิดสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังและอันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ด · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาขี้ตังและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะกรับ

ำหรับปลาตะกรับอย่างอื่น ดูที่: ปลาตะกรับ ปลาตะกรับ (Spotted scats, Green scats, Common scats, Argusfishes) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะกรับ (Scatophagidae) มีรูปร่างสั้น ด้านข้างแบนและกว้างมาก หัวทู่ ปากเล็ก หางมน เกล็ดเป็นแบบสากขนาดเล็ก สีพื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันมากอาจเป็นสีเขียว, สีเทาหรือสีน้ำตาล ครึ่งบนของลำตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดำพาดขวางหลายแนวและแตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัวดูล้ายเสือดาว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา ปลาตัวผู้จะมีหน้าผากโหนกนูนกว่าตัวเมียแต่ขนาดลำตัวจะเล็กกว่าเล็กน้อย เส้นก้านครีบหลังชิ้นที่ 4 จะยาวที่สุด ขณะที่ตัวเมียเส้นก้านครีบหลังเส้นที่ 3 จะยาวที่สุด ก้านครีบแข็งที่หลังรวมถึงที่ท้องมีความแข็งและมีพิษแบบอ่อน ๆ เป็นอันตรายได้เมื่อไปสัมผัสถูกก่อให้เกิดความเจ็บปวด บริเวณส่วนหัวของตัวเมียบางตัวจะเป็นสีแดง โดยลักษณะดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อปลามีความยาวมากกว่า 4 นิ้วขึ้นไป ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 38 เซนติเมตร ปลาตะกรับเป็นปลาทะเลที่สามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้ โดยปกติจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลใกล้ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางตั้งแต่ตะวันออกกลาง, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออกไปจนถึงเขตโอเชียเนีย สำหรับปลาในบางพื้นที่มีความหลากหลายทางสีมาก เช่น ปลาบางกลุ่มจะมีลายพาดสีดำเห็นชัดเจนตั้งแต่ส่วนหัว และลำตัวมีสีแดงเข้มจนเห็นได้ชัด ถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยที่มีชื่อเรียกว่า "ปลาตะกรับหน้าแดง" (S. a. var. rubifrons) เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นกลุ่ม กินอาหารได้ทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก นิยมตกเป็นเกมกีฬาและใช้รับประทานเป็นอาหารเป็นที่นิยมอย่างมากโดยเฉพาะในภาคใต้ สามารถนำไปปรุงเป็นแกงส้มแต่เมื่อรับประทานต้องระวังก้านครีบ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้วย โดยในที่เลี้ยง ปลาตะกรับเป็นปลาที่สามารถทำความสะอาดตู้ได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถกินตะไคร่น้ำและสาหร่ายบางชนิดได้ แต่เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวพอสมควร ปัจจุบันกรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วด้วยวิธีการผสมเทียม โดยฤดูผสมพันธุ์มีตั้งแต่เดือนสิงหาคม-พฤษภาคม ของอีกปีหนึ่ง ชื่ออื่น ๆ เรียกว่า "ปลากระทะ" หรือ "ปลาแปบลาย" ในภาษาใต้เรียกว่า "ปลาขี้ตัง" และชื่อในแวดวงปลาสวยงามจะเรียกว่า "ปลาเสือดาว" ตามลักษณะลวดลายบนลำตัว แต่ปลาตะกรับมีครีบหลังและครีบก้นที่มีหนามแหลม ซึ่งอาจแทงถูกมือมนุษย์ได้ โดยมักจะเกิดขึ้นเมื่อปลดปลาออกจากเครื่องมือประมง แต่ก่อให้เกิดพิษน้อยมาก.

ใหม่!!: ปลาขี้ตังและปลาตะกรับ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CacodoxusScatophagus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »